Continue reading “Evolution of Molecular Methods and Their Application in Food Diagnostics”
Technology of Coated Chocolate in Bakery, Ice Cream and Confectionery Products
Health & Wellness for Aging Society – สูงวัยอย่างมีคุณภาพและคุณค่า
จากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าผู้สูงวัยที่อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีจำนวน 11,312,447 คน คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของประชากรไทย มีการคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2573 คนไทยที่อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์จะมีมากกว่าร้อยละ 25 แต่ในหลายประเทศผู้สูงวัยหมายถึงบุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่ความเสื่อมของร่างกายตามธรรมชาติปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน มีโรคที่เกิดจากความเสื่อมตามวัยได้ องค์การอนามัยโลกให้คำจำกัดความผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะดีว่าเป็นผู้สูงอายุที่มีโรคน้อย แม้มีโรคก็มีสุขภาพดี โดยมีร่างกายแข็งแรง คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง จิตใจผ่องใสและเป็นสุข ดูแลตนเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น เข้าสังคมและร่วมกิจกรรมในสังคมได้ จัดเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพและคุณค่า
รายงานในปี พ.ศ.2557 พบว่า ร้อยละ 70 (10.5 ล้านปี จากทั้งหมด 14.9 ล้านปี) ของปีสุขภาวะที่คนไทยสูญเสีย เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (non-communication diseases) โดยโรคที่พบเป็นสาเหตุบ่อยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์และอัมพาต โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง กลุ่มโรค NCDs ทั้งหมดเกิดจากคนไทยดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งการกิน การอยู่ แบบคนเมืองมากขึ้น นั่นคือ บริโภคอาหารปริมาณมาก แต่สัดส่วนและคุณภาพไม่เหมาะสม มีไขมัน น้ำตาลและเกลือปริมาณมาก มีการเคลื่อนไหวร่างกาย และกิจกรรมออกแรงน้อยลง ชีวิตเต็มไปด้วยความเครียด รีบเร่งและแข่งขัน แวดล้อมด้วยมลพิษ ยาสูบ แอลกอฮอล์ และสิ่งเสพติด
ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อทุกวัย เริ่มตั้งแต่ทารกในครรภ์ มารดาต้องเรียนรู้และดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างถูกต้อง เพื่อให้มีสุขภาพดี มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม ประมาณ 12-15 กิโลกรัม ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ การบริโภคและกิจกรรมออกแรงที่มารดาทำจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของทารกในครรภ์ ถ้ามารดาน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาก บางคนมากเกิน 20 กิโลกรัม ทารกอาจมีน้ำหนักตัวแรกเกิดมากเกินไป หรือถ้ามารดาน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยไป ทารกอาจมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ทำให้มีความเสี่ยงขณะคลอดและสุขภาพที่ไม่ดีในอนาคต นอกจากนี้มารดาต้องนำสิ่งที่เรียนรู้ในขณะตั้งครรภ์มาเลี้ยงดูลูกให้เติบโตและพัฒนาตามวัย รวมทั้ง ควรดูแลความเป็นอยู่ของคนในครอบครัวเพื่อให้ปลอดจากโรคเรื้อรัง NCDs ด้วย
ในวัยเรียน เด็กควรได้เรียนรู้การกินการอยู่ที่ถูกต้องจากโรงเรียนและทำได้จริง สอดคล้องกับการเลี้ยงดูที่บ้าน เมื่อเป็นผู้ใหญ่จึงดูแลตนเองได้และในที่สุดสามารถดูแลครอบครัวให้กินดีอยู่ดี วัยผู้ใหญ่หรือเมื่อเริ่มทำงานเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตที่สำคัญเพราะเป็นช่วงเวลาของการสร้างฐานะ สร้างครอบครัว และความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน นอกจากนี้ เป็นช่วงชีวิตที่โรคเรื้อรัง NCDs มักก่อตัวขึ้นโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากระยะเริ่มแรกของโรคเรื้อรังไม่แสดงอาการใดๆ สัญญาณเริ่มแรกของโรคเรื้อรังที่เห็นง่ายวัดง่าย คือ น้ำหนักตัว รอบเอว และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น คนที่การกินการอยู่ไม่เหมาะสมโรคเรื้อรังจะก่อตัวเร็วขึ้น หากไม่รู้ตัวไม่ได้รับการแก้ไขหรือรักษา โรคจะเป็นมากขึ้น จนแสดงอาการและความเจ็บป่วยออกมาชัดเจน ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาและติดตามต่อเนื่อง มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในขณะที่ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ถ้าวัยเรียนหรือวัยผู้ใหญ่สุขภาพไม่ดี มีโรคเรื้อรังเกิดขึ้น จะเป็นผู้สูงวัยที่เป็นภาระต้องรับการดูแลรักษาและความช่วยเหลือตลอดไป
จากรายงานการศึกษาพยากรณ์อายุคาดเฉลี่ยที่มีสุขภาวะของประชากรไทย โดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี พ.ศ.2558 ค่าอายุเฉลี่ยของคนไทยเท่ากับ 74.8 ปี แต่ค่าอายุเฉลี่ยที่มีสุขภาพดีของคนไทยเท่ากับ 68.2 ปี นั่นคือ ก่อนเสียชีวิตคนไทยอยู่โดยมีสุขภาพไม่ดีนานถึง 6.6 ปี ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งควรเป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ คือ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีคุณภาพและคุณค่าตามลักษณะที่กล่าวข้างต้น ดังนั้น จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวดูแลสุขภาพตั้งแต่เยาว์วัย โดยต้องสร้างสุขภาวะดีตลอดอายุขัย เพื่อคนไทยมีชีวิตอยู่โดยปีที่มีสุขภาพไม่ดีน้อยลง ไม่ให้ประเทศชาติต้องแบกรับภาระด้านต่างๆ ของโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นในวัยทำงานหรือเมื่อสูงวัยมากเกินไป ความคาดหวังให้ประเทศไทยมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ สังคมไทยและชาติไทยมีความมั่นคงอย่างยั่งยืนจึงจะเป็นจริงได้
โดย: ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิง วรรณี นิธิยานันท์
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
See What’s New in the Star Items November 2019
“Beyond the Packaging” The 3rd Food & Beverage Packaging Conference
งานประชุมวิชาการด้านบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม Food & Beverage Packaging Conference: Beyond the Packaging ครั้งที่ 3 เปิดประตูต้อนรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่เข้าร่วมประชุมวิชาการมากกว่า 300 คน ตอบรับเทรนด์บรรจุภัณฑ์และงานพิมพ์แห่งอนาคตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
Food & Beverage Packaging Conference: Beyond the Packaging จัดขึ้นภายในงานแสดงสินค้า Pack Print International 2019 ณ ไบเทค บางนา โดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท บี มีเดีย โฟกัส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดทำนิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์ และ Messe Dusseldorf Asia โดยนำเสนอเนื้อหาการบรรยายที่ครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในทุกมิติ อาทิ ภาพรวมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เทรนด์บรรจุภัณฑ์อาหารระดับโลก วัสดุและคุณสมบัติที่สำคัญของบรรจุภัณฑ์ การรีไซเคิลพลาสติก ตลอดจนบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ แถมท้ายด้วยเทคนิคและกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มให้ปังอย่างมืออาชีพ
Beyond the Packaging เป็นเวทีกลางที่สมบูรณ์แบบที่สุดในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของวงการบรรจุภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญสู่ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนผู้ที่สนใจ เพื่อขยายขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยดึงดูดความสนใจจากผู้เข้าร่วมงามจำนวน 360 คน
“The 3rd Food & Beverage Packaging Conference: Beyond the Packaging” welcome more than 300 food and beverage entrepreneurs attending the conference in respond to learn about new trend on packaging and printing industry in the Asia-Pacific region in the future.
Food & Beverage Packaging Conference: Beyond the Packaging was held in conjunction with the Pack Print International 2019 at Bitec, Bangna, in collaboration with Be Media Focus (Thailand) Co., Ltd., the publisher of Food Focus Thailand Magazine and Messe Dusseldorf Asia. The conference presented knowledge covering the food and beverage packaging industry in all dimensions, such as on the overview of the food and beverage packaging industry, global food packaging trend, materials and important qualifications of packaging, plastic recycling, intelligent packaging, as well as techniques and strategies to create a famous and successful branding for food and beverage products like a professional.
With the great 360 participants this year, Beyond the Packaging is the most perfect platform for exchanging knowledge in the packaging industry from experts to entrepreneurs, food and beverage product manufacturers, packaging material manufacturers, packaging manufacturers. The conference also creates an opportunity to those who are interested in the industry in a bid to increase competitiveness for entrepreneurs both in domestic and international levels.
Shortcomings of Molecular (Nucleic acid-based) Techniques in Food Safety Microbiology
ร่วมแสดงความคิดเห็น U Share V Care เดือน พฤศจิกายน 2562
Winner of U Share V Care SEPTEMBER 2019
Batters and Coatings Add Daring Flavors to Varying Textures
High-tech Indoor Farming – A Key to fixing Dubai’s Food Supply
Indoor farming หรือสวนผักในอาคารกำลังเกิดขึ้นมากมายในหลายประเทศ โดยเริ่มต้นจากเป็นแหล่งวัตถุดิบพืชผักที่มีอายุการเก็บเกี่ยวไม่ยาวนานสำหรับบริโภคในชุมชน และขยายผลจนสร้างรายได้ให้ประเทศ หรืออาจกลายเป็นทางออกสำหรับการจัดการด้านซัพพลายเชนอาหารของในบางประเทศเช่นกัน
สำหรับประเทศที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทะเลทรายอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นต้องเผชิญกับความท้าทายของสภาพภูมิอากาศร้อนและไม่ค่อยมีฝนตก จึงไม่ค่อยเอื้ออำนวยให้ประเทศนี้เป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารเท่าใดนัก แถมยังพึ่งพาการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศเป็นส่วนมากด้วย นครใหญ่สุดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างดูไบแม้เป็นเมืองที่เฟื่องฟูด้วยเศรษฐกิจและการลงทุน แต่ร้อยละ 80 ของสินค้าอาหารนั้นนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าอาหารของดูไบ การนำเทคโนโลยีการเกษตรแบบ Indoor farming มาใช้จึงกลายเป็นทางออกที่กำลังน่าจับตามองของเมืองนี้เพื่อให้สามารถผลิตอาหารบางส่วนได้เอง และกระจายต่อไปยังเชนร้านอาหารได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น
Indoor farming…ทำได้จริงหรือ?
Indoor farming หรือการทำสวนผักในอาคารมักออกแบบให้เป็นสวนระบบปิดที่ควบคุมความชื้น อุณหภูมิ การให้น้ำ แสง และสภาพภูมิอากาศให้สามารถปลูกพืชผักได้มากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นผักใบเขียว ผักสลัดหลากหลายชนิดไปจนถึงเห็ดและมะเขือเทศ โดยอาศัยวัสดุเก่าเหลือทิ้ง เช่น กล่องส่งของ หรือเครื่องบดเก่ามาเป็นภาชนะสำหรับปลูก มีทั้งแบบในอาคารหรือใช้พื้นที่ที่แต่ก่อนไม่เคยใช้ประโยชน์อย่างดาดฟ้าบนอาคารเป็นที่ตั้งเรือนเพาะปลูก เป็นต้น ส่วนผลผลิตที่ได้นั้นก็สามารถเก็บเกี่ยวแล้วนำไปใช้ในชุมชน ร้านอาหาร หรือส่งขายไปยังชุมชนใกล้ๆ ได้ในระยะเวลาสั้นๆ และมีผลผลิตที่แน่นอนตลอดทั้งปีด้วย นอกจากนี้ การทำ Indoor farming ยังมีข้อดีคือ ไม่มีตัวแปรสำคัญทางสภาพอากาศที่แปรปรวนหรือภาวะโลกร้อน อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืชหรือสารเคมีกำจัดวัชพืช ในบางกรณีไม่จำเป็นต้องใช้ดินสำหรับเพาะปลูกด้วยซ้ำไป
ปัจจุบัน กลุ่มธุรกิจที่ให้บริการด้าน Indoor farming เป็นธุรกิจสนับสนุนที่มีบทบาทสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการระบบแสง ระบบการให้น้ำ ระบบปรับสภาวะอากาศ ไปจนถึงระบบควบคุมแบบอัตโนมัติและเซ็นเซอร์ต่างๆ โดยในตลาดโลกผู้ที่ให้บริการในธุรกิจดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา และในแถบยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และเยอรมนี โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศเหล่านี้จากข้อจำกัดด้านภูมิอากาศที่หนาวเย็น ไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกผักและผลไม้บางชนิด รวมถึงระยะทางการขนส่งผักและผลไม้จากแหล่งเพาะปลูกไปยังร้านค้าที่มีระยะไกล ก่อให้เกิดการเน่าเสียของผักและผลไม้ระหว่างการขนส่ง ส่งผลให้เกิดการมุ่งพัฒนาระบบการเพาะปลูกพืชที่สามารถเพาะปลูกที่ใดก็ได้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
อ้างอิง:
www.cnbc.com/2019/10/02/high-tech-indoor-farming-seen-as-key-to-fixing-dubais-food-supply.html
www.fastcompany.com/40420610/has-this-silicon-valley-startup-finally-nailed-the-indoor-farming-model
Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)