เทคนิคการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงาน เพื่อการผลิตอาหารปลอดภัยอย่างยั่งยืน
รองศาสตราจารย์ ดร.สุดสาย ตรีวานิช
Associate Professor Sudsai Trevanich, Ph.D.
Department of Food Science and Technology
Faculty of Agro-Industry, Kasetsart University
fagisstn@ku.ac.th
การปฏิบัติหรือพฤติกรรมของพนักงานมีผลต่อความปลอดภัยอาหาร แต่การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติหรือพฤติกรรมของพนักงานไม่ใช่เรื่องง่าย วิธีการทั่วไปที่โรงงานอาหารนิยมใช้เพื่อให้พนักงานเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยอาหารแล้วส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติหรือพฤติกรรม เช่น การฝึกอบรม และการตรวจติดตามการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาความไม่ปลอดภัยอาหารจากการปนเปื้อนอันตรายต่างๆ ยังคงเกิดขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การปฏิบัติหรือพฤติกรรมของพนักงาน ยกตัวอย่างเช่น การปนเปื้อน Listeria monocytogenes ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ของบริษัทผู้ประกอบการขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศแคนาดา ส่งผลทำให้ผู้บริโภคเสียชีวิตรวม 23 คน จากการทำงานของคณะกรรมการสืบสวนจากหน่วยงานรัฐ ได้มีข้อแนะนำ 57 ข้อให้กับผู้ประกอบการดังกล่าวนำไปเป็นแนวทางเพื่อการปฏิบัติแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ คณะกรรมการชุดดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นว่าการมุ่งเน้นด้านความปลอดภัยอาหารของบริษัทยังไม่เพียงพอทั้งก่อนและระหว่างการเกิดปัญหา และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บริษัทต้องสร้าง Food safety culture โดยเฉพาะ Positive food safety culture ให้เกิดเป็นรูปธรรม
Yiannas Frank กล่าวไว้ว่า การประยุกต์ใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Science) มีส่วนช่วยในการจัดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติหรือพฤติกรรมของพนักงาน เพื่อให้ผลิตอาหารปลอดภัยอย่างยั่งยืน หรือสรุปไว้สั้นๆ ว่า “ความปลอดภัยอาหาร = พฤติกรรม” การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงานให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะที่ดี ให้เกิดอย่างสม่ำเสมอ เป็นประจำ และต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาเป็นสิ่งสำคัญ พนักงานต้องมีการปฏิบัติเป็นไปแบบอัตโนมัติ หลายปีที่ผ่านมา มีงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรมจำนวนมาก และสามารถนำมาปรับใช้หรือประยุกต์ใช้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานในโรงงานอาหารได้เพื่อให้ผลิตอาหารปลอดภัย ซึ่งการประยุกต์หลักการจากงานวิจัยดังกล่าวไม่ต้องลงทุนเป็นเงินจำนวนมาก แต่ต้องมีความเข้าใจ และสามารถปรับใช้หรือเปลี่ยนแปลงนำมาใช้ เพื่อให้เกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงพฤติกรรมของพนักงานเพื่อการผลิตอาหารปลอดภัย หรือให้เกิด Food safety culture ขึ้นในองค์กร
Employee practice or employee behavior affects food safety. Yet, changing the employee practice or behavior is not easy. General methods that food factories use to help employees understand and recognize the importance of food safety and result in changing in practices or behaviors are such as training and monitoring of employee performance. However, food safety problems from various contamination hazards still occur. One of major reasons is the employee practice or behavior. For instance, a contamination of Listeria monocytogenes in meat products of a large enterprise in Canada caused 23 dead. Following the work of the government’s investigative committee, they provided 57 recommendations for this enterprise to use as guidelines and solve the problems. Moreover, the committee also reflected that this enterprise less concerned on food safety for the time before the problem had occurred or during the problem had been occurred. The company seriously need to establish a food safety culture, especially positive food safety culture as a concrete plan.
Yiannas Frank said that the application of behavioral science helps manage the change of practice or behavior of employees in order to produce safe food sustainably or it can be summarized that “Food safety = behavior” to change the behavior of employees to be in compliance with good hygiene principles consistently on regularly and constantly is important. Employees must have automated practices. Several years ago, there are many science researches on behavior, which can be used or applied for changing the behavior of employees in the food factory in order to produce safe food. The applying of principles from research is no need to invest a lot of money, but we have to understand and be able to use or adapt to create outcome or improve employee behavior for safe food production or to create food safety culture in the organization.