สถาบันอาหาร เร่งยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารด้วยนวัตกรรม

สถาบันอาหาร เร่งยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารด้วยนวัตกรรม

ชู 2 โครงการเด่น พุ่งเป้าตลาดอาหารอนาคต (Future Food) มูลค่า 1.96 แสนล้านบาท

 

สถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม เผยความคืบหน้า 2 โครงการเด่นช่วงครึ่งปีแรก 2562 หนุนผู้ประกอบการยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มุ่งพัฒนาผู้ประกอบการ 250 ราย สู่นักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ (New Food Warrior 2019) อย่างต่อเนื่อง ผ่าน “โครงการยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร โดยนำมาตรฐาน ผลิตภาพ และนวัตกรรม เป็นเครื่องมือในการเพิ่มขีดความสามารถนักรบอุตสาหกรรมพันธุ์ใหม่ ประจำปี 2562” เน้นส่งเสริมกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารอนาคต(Future Food)  ชี้ปี 62 คาดมีมูลค่าตลาดในประเทศไม่น้อยกว่า 1.96 แสนล้านบาทต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.3 ทั้งจัดกิจกรรมโรดโชว์ต่อยอดสร้างโอกาสทางการตลาดผลักดัน 4 ผลิตภัณฑ์ไฮไลต์ ทอดมันกุ้งไข่ขาว ขนมธัญพืช 7 ชนิด ข้าวหุงสุกเร็วผสมธัญพืช และผงกล้วยผสมผงถั่วขาวพร้อมดื่ม ภายใต้ “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ” แจงภาพรวมส่งออกอาหารของไทย 5 เดือนแรกปี2562(ม.ค.–พ.ค.) มีมูลค่า 435,217 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ด้านนำเข้ามีมูลค่า 166,581 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.9

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า ในช่วงครึ่งปีแรก 2562 ที่ผ่านมา สถาบันอาหาร ได้ร่วมกับ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) ดำเนินโครงการยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร โดยนำมาตรฐาน ผลิตภาพ และนวัตกรรม เป็นเครื่องมือในการเพิ่มขีดความสามารถนักรบอุตสาหกรรมพันธุ์ใหม่ ประจำปี 2562 โดยมีวัตถุประสงค์ในการยกระดับผลิตภาพการผลิต และส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ได้เริ่มดำเนินกิจกรรมดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนก.พ. ที่ผ่านมา จากการเปิดรับสมัครผู้ประกอบการอาหารทั่วประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี ให้เข้าร่วมโครงการจำนวน 250 ราย เพื่อเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านการบริหารจัดการธุรกิจแนวใหม่ แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ การปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อการออกแบบธุรกิจยุคดิจิทัล การออกแบบคุณค่า รวมถึงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้วยการยกระดับองค์ความรู้สู่อุตสาหกรรม 4.0 และกระบวนการเพื่อการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การยกระดับผลิตภาพด้วยกระบวนการ Lean Process และเทคนิคกลยุทธ์การตลาดในยุค Cashless Society เป็นต้น

 

ขณะนี้ได้คัดเลือกผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาต่อยอดเชิงลึกสู่นักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่จำนวน 25 กิจการเพื่อเข้ารับคำปรึกษาในการยกระดับผลิตภาพและปรับกระบวนการดำเนินธุรกิจในประเด็นที่ยังเป็นจุดอ่อนของกิจการโดยทีมที่ปรึกษาเข้าดำเนินการให้คำปรึกษารายกิจการ ณ สถานประกอบการ  และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้หลักสูตรการพัฒนานักรบผู้สร้างคุณค่าเพิ่ม(Creating Value Warriors) โดยมีกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายนักรบ ได้แก่ Team Building, Study Visit และ Knowledge Sharing เป็นต้น

“ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกในปี 2562 จำนวน 25 ราย เป็นผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารอนาคต (Future food) 4 กลุ่มสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ (Health Food / Functional Food) 19 กิจการ กลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารอินทรีย์ (Organics) 4 กิจการ กลุ่มผู้ผลิตอาหารทางการแพทย์ (Medical food) 1 กิจการ และกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสารสกัดสมุนไพร (Food Supplementary & Herb Extract) 1 กิจการ โดยแต่ละรายจะได้รับการยกระดับในด้านต่างๆ เพื่อให้พร้อมแข่งขันในระดับสากลมากขึ้น เช่น บริษัท บ้านโป่งโนวิเทจ จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารทางแพทย์ ยกระดับด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง (Digital Marketing) เพื่อขยายช่องทางการจำหน่ายให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มมากขึ้น บริษัท นราห์ อินดัสตรี จำกัด ผู้ผลิตชาและอาหารเสริมจากพืชสมุนไพรออร์แกนิค ยกระดับด้านกระบวนการผลิตด้วย Lean Process การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร บริษัท อินทัชธนกร จำกัด ผู้ผลิตบิสกิตเพื่อสุขภาพ จากน้ำนมถั่วเหลืองเพื่อทดแทนเนย และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากถั่วเหลือง ยกระดับด้านการเพิ่มมูลค่าจากถั่วเหลือง บริษัท ซีซ่า ฟูดส์ จำกัด ยกระดับด้านกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้อบแห้ง บริษัท ไทยอินโนฟู้ด จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แหนม ไส้กรอก พรีไบโอติก ยกระดับด้านการจัดการกระบวนการผลิตด้วย Lean Process เพื่อลดความสูญเสีย เป็นต้น ซึ่งจะดำเนินกิจกรรมดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2562 นี้”

 

นายยงวุฒิ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้สถาบันอาหารยังได้จัดทำ “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ” โดยร่วมกับผู้ประกอบการยกระดับอาหารแปรรูปและเกษตรแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้นวัตกรรมใหม่(Food Innovation for Anti-Aging) มุ่งให้ได้รับการพัฒนาในเชิงพาณิชย์ จัดทำผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบเสร็จเรียบร้อยแล้วรวม 4 ผลิตภัณฑ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเป้าหมายหลายแห่งเพื่อจัด “กิจกรรมต่อยอดเพิ่มโอกาสทางการตลาดและสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภคเป้าหมาย”  ล่าสุดได้นำผลิตภัณฑ์ไปแนะนำในงานประชุมที่รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ในโครงการโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังและสัปดาห์โภชนาการให้ความรู้ผู้ป่วย ญาติ และผู้สนใจ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด  สามารถสนองตอบความต้องการของผู้สูงอายุ และผู้ใส่ใจดูแลสุขภาพได้เป็นอย่างดี  ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ “ทอดมันกุ้งไข่ขาว” โดยบริษัท บีเลิฟเนอร์สซิ่งโฮม  จำกัด จ.นครสวรรค์ เก็บรักษาแบบแช่เย็น/แช่เยือกแข็ง เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการโปรตีนในมื้ออาหารหลัก ย่อยง่าย ได้พลังงาน รับประทานง่ายไม่มีกลิ่นคาว ในอนาคตมีแผนจะจับมือกับศูนย์ดูแลสุขภาพ/ผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศ และเปิดเป็นร้านอาหารให้บริการอาหารไข่ขาวที่มีความหลากหลายทั้งคาว-หวาน

ผลิตภัณฑ์ “ขนมธัญพืช 7 ชนิด” โดยบริษัท ไทยฟู้ดส์ทูโก  จำกัด จ.กำแพงเพชร อาหารว่างที่ประกอบด้วยธัญพืช รวม 7 ชนิด ได้แก่ ถั่วแดงเมล็ดเล็ก ถั่วแดงเมล็ดใหญ่ ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วดำ ลูกเดือยและข้าวเหนียวดำ ผ่านกระบวนการให้ความร้อนต้มเคี่ยวทั้งวันจนได้เนื้อสัมผัสนุ่ม เคี้ยวง่าย อุดมด้วยโปรตีนและใยอาหารสูง เก็บรักษาแบบแช่เยือกแข็ง มีแผนจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทานแบบเย็นคล้ายไอศกรีมต่อไป แนวโน้มมุ่งทำตลาดกลุ่มลูกค้าที่ให้บริการ catering ฟิตเนส ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และร้านค้าสุขภาพ  ผลิตภัณฑ์ “ข้าวหุงสุกเร็วผสมธัญพืช” โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดกมลไท เกษตรภัณฑ์  จ.อุทัยธานี ผลิตจากข้าวไรซ์เบอร์รี่  เผือกหอม มันแครอท และฟักทองที่ปลูกโดยเกษตรกร ปลอดสารเคมี  ผ่านการทำให้สุกและอบแห้งเหมาะสำหรับหุงเป็นทั้งข้าวสวยและข้าวต้มใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ก็หอม นุ่ม พร้อมรับประทาน ได้คุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งผู้ประกอบการได้พัฒนาต่อยอดปรับเปลี่ยนเป็นการใช้ข้าว กข.43 ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมากยิ่งขึ้น เพราะเป็น Low GI และผลิตภัณฑ์ “ผงกล้วยผสมผงถั่วขาวพร้อมดื่ม” โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดทุ่งโพธิ์พืชผล จ.พิจิตร เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดผง  ที่มีส่วนผสมหลักคือผงกล้วยและถั่วขาวผง ที่ชงดื่มง่าย ได้ประโยชน์  สามารถผสมกับเครื่องดื่มที่ชื่นชอบ  แทนครีมเทียม แต่ได้ประโยชน์ด้านการเคลือบกระเพาะ ช่วยระบบขับถ่ายและควบคุมน้ำหนัก ซึ่งได้รับการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี หลังจากนี้จะทยอยแนะนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปสู่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายในวงกว้างต่อไป

“สำหรับภาพรวมการส่งออกอาหารของไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2562 (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่า 435,217 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 166,581 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.9  ในส่วนของตลาดอาหารอนาคต (Future Food) ในประเทศ คาดว่าในปี 2562 จะมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1.96 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จากปี 2561 และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยอาหารฟังก์ชันนัลคือกลุ่มหลักที่มีส่วนแบ่งตลาดกว่าร้อยละ 60 รองลงมาคือกลุ่มผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพ กลุ่มอาหาร free-from เช่น ปราศจากเนื้อสัตว์ ปราศจากกลูเตน  และอาหารอินทรีย์ แนวโน้มการเติบโตของอาหารอนาคตในตลาดส่งออกที่มีศักยภาพสูงในหลายประเทศ  เช่น ญี่ปุ่น และจีน ก็มีทิศทางเดียวกัน ผู้ประกอบการจึงไม่ควรมองข้ามการผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ โดยการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารต่างๆ มาใช้ในการผลิต เพื่อเป็นการยกระดับสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรสู่อาหารแปรรูปในรูปแบบอาหารอนาคตอย่างมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในตลาดส่งออกต่อไป”

 

Europe’s Most Comprehensive Platform for Natural Solutions and Organic Ingredients Now Bigger than Ever

This year’s Food ingredients Europe & Natural ingredients, Europe’s leading trade show for food and beverage ingredients, will reflect the “green” consumer trend even stronger than before. As more and more companies focus on natural ingredients and organic provenance, exhibition organiser Informa Markets has more than doubled the size of the event’s Organic Pavilion. In addition, the natural ingredients zone has grown by more than 50 percent. Fi Europe & Ni 2019 will take place from 3 to 5 December in Paris.

Currently, around 100 companies from all over the world have secured their spot for Fi Europe & Ni natural ingredients zone – including the agar specialist Setexam (Morocco), natural vanilla expert Eurovanille (France), the flavour house Enrico Giotti (Italy) and plant ingredients manufacturer Peruvian Nature (Peru). Trade visitors looking for natural alternatives will find what they are looking for both in this specialised area – and beyond.

The Organic Pavilion, with over 50 exhibitors already confirmed such as oleoresins and extracts producer Jean Gazignaire (France), import/export trader DO-IT (Netherlands) and natural fibre specialist Interfiber (Poland), offers an excellent overview of the immense diversity of organic quality alternatives that now exist.

In addition, Fi Europe & Ni will provide an extensive range of information and education opportunities on a variety of natural and organic topics. For instance, within the free-to-access Organic Spotlight trade visitors can gain insights into the latest trends in the organic sector, as well as regulatory issues and market analyses. The “Plant-based Experience” will focus on plant alternatives in particular: together with NGO ProVeg International, an extensive programme featuring live cooking events, lectures and innovation tours has been created. Meanwhile, the Fi Conference will focus on innovative concepts for clean labels, amongst other key areas.

The “green consumer” as an engine for the market

In 2019, the “green consumer” has already influenced two categories of Innova Market Insights’ top ten trends: while the “The Plant Kingdom” charts the increasing market for plant alternatives, “The Green Appeal” outlines current consumer demand for sustainability – stretching from responsible sourcing via upcycling ingredients and strategies against food waste to eco-friendly packaging solutions.

 

Although the claim “natural” has no exact definition – contrary to the term “organic” – all major analysts agree that there is growing market for natural alternatives.

 

Besides products that are free from artificial additives, colourants and flavours, and minimally processed foods and drinks, this also includes GMO-free solutions. According to the Mintel Global New Products Database, natural product claims appeared on 29% of global food and drink launches between September 2016 and September 2017.

Julien Bonvallet, Brand Director of Fi Europe & Ni comments: “When the first exhibitors ventured into the arena of natural alternatives – at that time primarily in the field of colours and flavours – we knew straightaway that this was a major trend and created dedicated specialised zones and content hubs to showcase the latest developments. In 2007, we officially added an integrated natural ingredients exhibition to our show: since then, Fi Europe has added the Ni to its name. Now, we can justifiably say that for almost any challenge they face, visitors to Paris will be able to choose between a standard and a natural solution.”

 

 

www.figlobal.com/

สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย จับมือ อินโดรามา เวนเจอร์ส และสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล สำรวจพฤติกรรมการใช้ขวดพลาสติกของคนไทยเพื่อส่งเสริมการใช้ขวดพลาสติกรีไซเคิลอย่างปลอดภัย

กรุงเทพฯ, 1 กรกฎาคม 2562

สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย โดยการสนับสนุนจาก กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ร่วมกับ บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส ประกาศความร่วมมือเร่งผลักดันให้มีการพิจารณาแก้กฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้สามารถนำขวดบรรจุเครื่องดื่มที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล หรือ Recycled PET (rPET) มาใช้ได้ในประเทศไทย โดยล่าสุดได้ร่วมมือกับศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทย มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการสำรวจพฤติกรรมการใช้ขวดเครื่องดื่มพลาสติกของผู้บริโภคชาวไทย โดยเฉพาะพฤติกรรมการนำขวดเครื่องดื่มไปใช้หลังการบริโภคที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาแนวทางที่เหมาะสมในการกำกับดูแล เก็บรวบรวม การผลิตและใช้ขวด rPET อันจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน โดยที่ผู้บริโภคยังสามารถมั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ขวด rPET ได้

นายวีระ อัครพุทธิพร อุปนายก และ ประธานกรรมการบริหาร ของ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย กล่าวถึงความร่วมมือดังกล่าวว่า “ในฐานะศูนย์กลางการประสานความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สมาคมฯ ตระหนักถึงบทบาทในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก โดยเฉพาะในส่วนของบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ซึ่งแม้จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เครื่องดื่มต่างๆ ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างสะอาด ปลอดภัย และได้คุณภาพมาตรฐาน แต่หากไม่ได้รับการจัดการหลังการบริโภคที่เหมาะสมแล้ว บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ก็จะกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบในวงกว้างได้ ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์จำเป็นต้องใช้ขวดพลาสติกที่ผลิตใหม่ทั้งหมด เนื่องจากกฎหมายห้ามไม่ให้นำพลาสติกใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่กับบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสกับอาหาร ซึ่งข้อห้ามนี้ครอบคลุมถึงพลาสติกที่ผ่านการกระบวนการรีไซเคิลอย่าง rPET แล้ว อันทำให้สมาชิกของเราไม่สามารถลดปริมาณการใช้พลาสติกผลิตใหม่ในส่วนนี้ลงได้”

ปัจจุบัน กฎหมายในประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล หรือ rPET อย่างไรก็ตาม ในช่วงปีที่ผ่านมา หลายภาคส่วนได้ตื่นตัวถึงความจำเป็นและประโยชน์ของการผลิตและใช้ขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มที่ทำจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลในไทยกันมากขึ้น โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้แต่งตั้งคณะทำงานทบทวนแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปัจจุบัน ฉบับที่ 295 พ.ศ.2548 ข้อ 8 ที่ระบุว่า “ห้ามมิให้ใช้ภาชนะบรรจุที่ทำขึ้นจากพลาสติกที่ใช้แล้วบรรจุอาหาร เว้นแต่ใช้เพื่อบรรจุผลไม้ชนิดที่ไม่รับประทานเปลือก” ทั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้ศึกษาข้อมูลทางวิชาการและแนวปฏิบัติในต่างประเทศเกี่ยวกับการนำเม็ดพลาสติกรีไซเคิลมาผลิตเป็นขวดเครื่องดื่มใหม่มาได้ระดับหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะทำงานฯ มีความเห็นว่า การกำกับดูแลในส่วนนี้จำเป็นจะต้องมีการศึกษาสภาพปัญหาและพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยอย่างแท้จริง จึงได้เห็นชอบให้ศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทย มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล รับหน้าที่เป็นผู้ศึกษาในเรื่องนี้ ภายใต้การสนับสนุนของสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสมาชิกอันได้แก่ กลุ่มธุรกิจ
โคคา-โคล่า ในประเทศไทย บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ตลอดจนพันธมิตรของสมาคมฯ คือ บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส ซึ่งเป็นผู้ผลิตขวด PET รายใหญ่ที่สุดในโลกด้วย

รศ. ดร. ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต ที่ปรึกษา ศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทย (TRAC) และที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ขยะพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก โดยสถานการณ์ในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียนอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติก โดยเฉพาะขวดเครื่องดื่มที่เป็นพลาสติก PET นั้น มีสมบัติที่ดีหลายประการ ทั้งทนทาน น้ำหนักเบา และราคาถูก เราจึงพบว่าผู้บริโภคส่วนหนึ่งมักนำขวด PET เหล่านี้กลับมาใช้ซ้ำหลังการบริโภคเครื่องดื่ม ซึ่งบางครั้งก็นำไปใส่น้ำยาทำความสะอาดหรือสารเคมีอื่นๆ ที่เป็นอันตราย อันอาจทำให้เกิดความกังวลในการนำขวดดังกล่าวมารีไซเคิลได้ ดังนั้นการจะอนุญาตให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลในไทย จึงต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อให้ทราบข้อมูลว่าความเสี่ยงในการปนเปื้อนมีมากน้อยเท่าใดและมีสารชนิดใดที่จำเป็นต้องมีการตรวจประเมินบ้าง โดยทีมวิจัยของสถาบันฯ นำโดย ผศ.ดร. ชนิพรรณ บุตรยี่ จะเข้ามาดำเนินการศึกษาในเรื่องนี้ ตลอดจนประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก rPET สำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากประเทศชั้นนำที่ใช้พลาสติกรีไซเคิลอย่างแพร่หลาย หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการพิจารณา เพื่อพัฒนาเป็นแนวทางการประเมินความปลอดภัยของเม็ดพลาสติกรีไซเคิล rPET เพื่อนำมาผลิตเป็นขวดเครื่องดื่มใหม่ในไทยต่อไป”

นายริชาร์ด โจนส์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร ความยั่งยืน และทรัพยากรบุคคล บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวเสริมว่า “ในฐานะผู้ผลิตพลาสติก PET รายใหญ่ที่สุดของโลก อินโดรามา เวนเจอร์ส ตระหนักดีถึงบทบาทในการส่งเสริมการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืนและปลอดภัย เราสนับสนุนความร่วมมือครั้งนี้ เพราะเราเชื่อมั่นเช่นกันว่าบรรจุภัณฑ์ PET มีส่วนสำคัญในการทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มถึงมือผู้บริโภคได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ด้วยคุณสมบัตินี้เองจึงทำให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้อย่างกว้างขวาง และการใช้บรรจุภัณฑ์จาก rPET จะมีส่วนช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการต้องพึ่งพิงพลาสติกที่ผลิตใหม่แต่เพียงอย่างเดียว ในฐานะผู้ส่งออก rPET เราสามารถยืนยันได้ว่าเทคโนโลยีในการทำความสะอาดและกำจัดสิ่งสกปรกในกระบวนการรีไซเคิลในปัจจุบันมีความก้าวหน้ามาก ได้มาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก และหลายประเทศมีการใช้บรรจุภัณฑ์ผลิตจาก rPET อย่างปลอดภัยมาเป็นเวลานานแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา หลายประเทศในสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ฉะนั้น ประเทศไทยเองก็น่าจะได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราเห็นด้วยว่าการพิจารณาแก้กฎหมายจะต้องดำเนินงานตามหลักวิชาการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะเกิดความปลอดภัยกับผู้บริโภคอย่างแท้จริง”

ในปี 2561 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการผลิตขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มออกสู่ตลาดในประเทศมากกว่า 185,000 ตัน และมีเพียงไม่ถึงครึ่งที่ถูกจัดเก็บ และนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างเหมาะสม ส่วนขวดพลาสติกที่เหลือต้องถูกนำไปฝังกลบ และบางส่วนก็เล็ดลอดออกสู่สภาวะแวดล้อม จนทำให้ปัญหาขยะพลาสติกเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมลำดับต้นๆ ของโลกในปัจจุบัน การอนุญาตให้สามารถใช้ rPET ในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจึงเป็นหนึ่งในหลายๆ มาตรการที่ประเทศไทยสามารถดำเนินการเพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้ได้

“ความร่วมมือกันของผู้ผลิตเครื่องดื่มระดับแนวหน้าซึ่งอันที่จริงก็เป็นคู่แข่งกันในตลาด กับผู้ผลิตขวดพลาสติกระดับโลก และสถาบันการศึกษาชั้นนำถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงจุดยืนและความมุ่งมั่นที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น สมาคมฯ มั่นใจว่าหากการปรับเปลี่ยนกฎหมายตามแนวทางดังกล่าวแล้ว จะทำให้เกิดการตื่นตัวของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยครั้งใหญ่ และหวังว่าจะมีหลากหลายภาคส่วนเข้ามาให้การสนับสนุนเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกผลิตใหม่ แก้ไขปัญหาขยะพลาสติกได้อย่างยั่งยืนต่อไป” นายวีระ กล่าวสรุป

ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลการผลิตขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่ม จากรายงานเกี่ยวกับห่วงโซ่คุณค่า หรือแวลูเชนของขวดพลาสติก PET และกระป๋องอะลูมิเนียม ในประเทศไทย โดย จีเอ เซอร์คูลาร์

FAO ชื่นชมแนวคิดตัด Contact transmission ของเชื้อ ผ่านการสร้างศูนย์ฆ่าเชื้อ ส่วน OIE ให้การยอมรับความร่วมมือ Pubic Private Partnership ของไทย ในการร่วมเปิดศูนย์ฆ่าเชื้อสระแก้ว

สระแก้ว, 7 มิถุนายน 2562 – พิธีเปิด “ศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะบรรทุกสินค้าปศุสัตว์” ตามความร่วมมือระหว่างสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริเวณด่านกักกันสัตว์ กรมปศุสัตว์ จุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน ตำบลคลองหาด อำเภอคลอง จังหวัดสระแก้ว

กรมปศุสัตว์ นำโดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตว์แพทย์สรวิศ ธานีโต เป็นประธานในพิธีและรับมอบศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะบรรทุกสินค้าปศุสัตว์ ตามโครงการความร่วมมือกรมปศุสัตว์และภาคเอกชนผู้เลี้ยงสุกร โดยมีตัวแทนจากทั้งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การโรคระบาดสัตว์เข้าร่วมในพิธี

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้กล่าวในพิธีเปิดว่า “วันนี้นับเป็นการบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างยอดเยี่ยม ขอบคุณทั้ง FAO และ OIE ที่สนับสนุนความช่วยเหลือทางวิชาการและคำแนะนำต่างๆ ในการเฝ้าระวังป้องกัน ด้วยดีเสมอมา”

คุณสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้กล่าวถึงการระบาดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา มีการระบาดจากจีนตอนเหนือ ไล่ลงมาที่ประเทศเวียดนามและกัมพูชา โดยตลอดเวลา สมาคมฯ และกรมปศุสัตว์ร่วมมือกันมาตลอด ให้ความรู้เรื่องโรค ระบบ Bio-security ตลอดจนความร่วมมือจากภาคเอกชนในการสร้างศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะขนส่งสินค้าปศุสัตว์ ขอบคุณสมาคมผู้เลี้ยงสัตว์กัมพูชา และที่ต้องขอบคุณอย่างยิ่ง คือ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่สนับสนุนทุนในการสร้างศูนย์ที่สระแก้วแห่งนี้ พวกเราจะต้องร่วมมือกันต่อไปเพื่อความยั่งยืนของผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศ

ดร.วันทนีย์ กัลล์ประวิทธ์ จาก FAO ได้กล่าวว่า “การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของโลกอย่างมาก ยินดีที่เห็นความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนในเมืองไทย ขอบคุณกรมปศุสัตว์ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ราชการส่วนท้องถิ่น กองกำลังทุกภาคส่วน ที่ร่วมมือกันป้องกันโรค นับตั้งแต่การระบาดครั้งแรกในเอเชีย”

Dr.Ronello Abila จาก OIE กล่าวว่า “ยินดีที่ได้มาพบเห็นความร่วมมือกันในลักษณะของ Public Private Partnership ที่มีประสิทธิภาพสูงมากของทั้งภาครัฐและเอกชนไทยในครั้งนี้ นับเป็นแบบอย่างที่ดีในระดับนานาชาติสำหรับประเทศที่ยังไม่มีการระบาด”

ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ดังกล่าวจะเป็นจุดผ่านแดนหลักในการส่งสุกรมีชีวิตสู่ประเทศกัมพูชา ปัจจุบันเฉลี่ยวันละ 1,500-2,000 ตัว ซึ่งการผลิตสุกรของกัมพูชาในปัจจุบันยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภค(โดยประมาณ 8,000-10,000 ตัวต่อวัน ตามการประเมินของสมาคมผู้เลี้ยงสัตว์กัมพูชา)

ปัจจุบัน นโยบายกรมปศุสัตว์ได้ให้ความสำคัญต่อระบบความปลอดภัยทางชีวภาพกับฟาร์มสุกรในทุกขนาดในประเทศไทย และยังให้การสนับสนุนการเฝ้าระวังป้องกันกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยการระบาดในประเทศกัมพูชาถือว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมพื้นที่ในการระบาดได้อย่างยอดเยี่ยมที่สามารถควบคุมการระบาดและจำกัดพื้นที่เพียงจังหวัดรัตนคีรีซึ่งมีพื้นที่ติดชายแดนตอนใต้ของประเทศเวียดนาม เท่านั้น

จากการรายงานล่าสุดขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน – 3 มิถุนายน 2562 ประเทศกัมพูชามีการระบาดเพียง 9 ครั้ง ในพื้นที่ 2 เขต 1 จังหวัด เท่านั้น

สำหรับศูนย์ฯ ในลักษณะเดียวกันตามโครงการความร่วมมือระหว่างกรมปศุสัตว์กับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ อีก 3 แห่ง จะมีการเปิดอย่างเป็นทางการที่จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดนครพนม ในวันที่ 13 และ 14 มิถุนายน 2562 ตามลำดับ ส่วนที่ด่านเชียงแสน จังหวัดเชียงรายจะเปิดเป็นลำดับสุดท้าย

ดร.วันทนีย์ จาก FAO ได้ฝาก 3 ประเด็นให้กับผู้เลี้ยงสุกรสำหรับหนึ่งสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น และเกิดขึ้นแล้ว ที่อาจจะเป็นความเสี่ยงที่หลายคนคิด แต่ยังไม่ดำเนินการ ประกอบด้วย
1. เตรียมพื้นที่ Compartment เพื่อรองรับกรณี “เกิด” ในสิ่งที่ไม่อยากให้เกิด เพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหารทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
2. อยากให้ติดตามเครือข่ายการใช้เศษอาหารเลี้ยงสุกร ที่ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ไม่อาจมองข้ามได้
3. การเลี้ยงหมูป่าที่กลายเป็นหมูพเนจร อาจเป็นสาเหตุแห่งการฝังตัวของเชื้ออย่างยาวนานได้

See What’s New in the Star Items July 2019

พบกับผลิตภัณฑ์ดาวเด่น เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ส่วนผสมอาหาร และอื่นๆ ที่น่าสนใจ…ได้ที่นี่ CLICK

How to Produce the High Quality Dried Rice Noodles

การผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวอบแห้งที่มีคุณภาพดี

โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาวิตรี รัตนสุมาวงศ์
Assistant Professor Savitree Ratanasumawong, D.M.S.
Department of Food Science and Technology
Faculty of Agro-Industry, Kasetsart University
fagistt@ku.ac.th

ก๋วยเตี๋ยวเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเส้นที่ทำจากข้าวที่นิยมรับประทานในประเทศไทยและประเทศในแถบเอเชีย เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ดีต้องมีสีขาว มีความเหนียว นุ่ม ไม่มีกลิ่นอับ

ในประเทศไทยนิยมบริโภคก๋วยเตี๋ยวทั้งในรูปของเส้นสด ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ และเส้นกึ่งแห้ง ได้แก่ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก ส่วนเส้นก๋วยเตี๋ยวอบแห้งนั้นนิยมส่งออกขายไปยังต่างประเทศ เนื่องจากมีน้ำหนักเบาและมีอายุการเก็บรักษาที่นานนับปี ในปัจจุบันความต้องการเส้นก๋วยเตี๋ยวอบแห้งในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเติบโตของตลาดผลิตภัณฑ์ปราศจากกลูเตน เนื่องจากเส้นก๋วยเตี๋ยวทำจากข้าวเป็นหลักจึงปราศจากกลูเตนโดยธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม การปรุงเส้นก๋วยเตี๋ยวอบแห้งต้องใช้เวลานานในการคืนรูป และเนื้อสัมผัสของเส้นที่แข็งกว่าเส้นสด นอกจากนี้ยังมักพบปัญหาความสม่ำเสมอของเส้น อันเนื่องมาจากความแปรปรวนของวัตถุดิบและกระบวนการผลิต ดังนั้น เพื่อให้ได้เส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีคุณภาพดีจึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมทั้งคุณภาพของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้

1. วัตถุดิบ
ก) ข้าว: ควรเลือกใช้ข้าวพันธุ์ที่มีปริมาณแอมิโลสสูงมากกว่าร้อยละ 25 ขึ้นไป เนื่องจากแอมิโลสเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่เป็นโครงสร้างหลักของเส้นและทำให้เส้นเกิดความยืดหยุ่น อย่างไรก็ตาม ข้าวแต่ละพันธุ์ถึงแม้จะมีปริมาณแอมิโลสใกล้เคียงกัน แต่ก็อาจให้ลักษณะเนื้อสัมผัสของเส้นที่แตกต่างกันได้ เนื่องจากปัจจัยอื่นในข้าวที่แตกต่างกัน เช่น โครงสร้างละเอียดของสตาร์ช หรือปริมาณโปรตีน สำหรับปริมาณโปรตีนในข้าวควรมีปริมาณต่ำ เพื่อให้ได้เส้นก๋วยเตี๋ยวที่นุ่มและผิวไม่กระด้าง นอกจากนี้ อายุของข้าวที่นำมาใช้ก็มีผลต่อความแข็งและความยืดหยุ่นของเส้นก๋วยเตี๋ยว โดยปกติควรใช้ข้าวเก่าที่มีอายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 12 เดือน (Ratanasumawong, 2016) อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงข้าวที่ใช้ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวมักเป็นข้าวหักซึ่งมีการผสมกันของข้าวหลายพันธุ์ รวมถึงอายุของข้าวที่นำมาสีอาจจะแตกต่างกัน ทำให้เกิดความแปรปรวนของคุณภาพของเส้นก๋วยเตี๋ยว หากสามารถควบคุมความแปรปรวนในส่วนนี้ได้ก็จะทำให้ได้เส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีคุณภาพสม่ำเสมอมากขึ้น

Rice noodles are among many rice products popular in Thailand and many Asian countries. Good quality rice noodles possess white in color, elastically soft, and musty-free.

Among Thais, rice noodles are preferred in their various sizes and forms, ranging from the freshly made kind such as wide rice noodles (sen-yai), to the semi-dried kind, such as rice stick noodles (sen-lek). Dried rice noodles, though, are more preferable as exports, due to their light weight and longer shelf life. At present, the demand for dried rice noodles in foreign countries has been constantly increasing as a result of an ever-growing market for gluten-free products. Made mainly from rice flour, rice noodles are naturally gluten-free. However, when cooking, certain length of time is required to cook the dried noodles back to their original texture, which is understandably harder than that of fresh noodles. Another problem found, regarding dried noodles, is the inconsistency of the noodle strands, which is the result of the variability of raw materials and production process. In order to get good quality noodles, then, controls on raw materials quality and production process have to be closely monitored.

1. Raw Materials
A) Rice: Use only rice varieties that contain 25% of amylose or greater. Amylose is the integral part that constitutes noodles’ main structure and elasticity. However, even rice varieties that have almost similar percentage of amylose can yield noticeably different texture to the noodles, owing to other particular factors in the rice itself, such as fine structure of starch, and its protein content. Preferably, rice used in noodles production should contain low percentage of protein so that the resulting noodles have soft and smooth texture. Another factor affecting the hardness and elasticity of noodles is the age of rice. The optimum age of rice used in making good noodles should be within 4-12 months old (Ratanasumawong, 2016) However, in normal practice, rice used in making noodles is mostly broken and a mixture of wide varieties and ages which triggers to the inconsistency of noodles quality. If these variances can be effectively controlled, noodles produced will be of consistent quality.

 

Renewable Energy and Alternative Energy

พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก

โดย: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
กระทรวงพลังงาน
Department of Renewable Energy Development and Energy Efficiency
Ministry of Energy

Full article TH-EN 

กระทรวงพลังงานได้วางกรอบแผนบูรณาการพลังงานแห่งชาติ ที่ให้ความสำคัญใน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความมั่นคงทางพลังงาน ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม โดยในแผนบูรณาการพลังงานแห่งชาติ กระทรวงพลังงานได้ทบทวนการจัดทำแผนพลังงาน 5 แผนหลักในช่วงปี พ.ศ.2558-2579 ที่สอดคล้องกับรอบของการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งหนึ่งในแผนพลังงาน 5 แผนหลัก คือ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan; AEDP2015)

การพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากนโยบายส่งเสริมการผลิตการใช้พลังงานทดแทน โดยการใช้งานจะอยู่ในรูปของพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ ในปี 2557 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานทดแทนทั้งสิ้น 9,025 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.6 หรือคิดเป็นร้อยละ 11.9 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย โดยการใช้พลังงานทดแทนจะอยู่ในรูปของพลังงานความร้อนมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของการใช้พลังงานทดแทนทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ เชื้อเพลิงชีวภาพ และไฟฟ้า โดยในปี 2557 การใช้พลังงานความร้อน คิดเป็นร้อยละ 64 เชื้อเพลิงชีวภาพ และไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 19.7 และ 16.3 ตามลำดับ

Ministry of Energy has developed the Thailand Integrated Energy Blueprint (TIEB) with focus on energy security, economy and ecology. In the TIEB, Ministry of Energy has reviewed five energy master plans during the year 2015-2036 in consistent with the national economic and social development plan. One of the five master plans is the Alternative Energy development Plan (AEDP2015).

The development of renewable energy in Thailand increased steadily. It was a result of the government promotion policy. Productions of renewable energy are in the form of electricity, heat and biofuels. In 2014, the total renewable energy consumption was at 9,025 thousand tons of oil equivalent (ktoe), up 9.6% from the previous year. It shares at 11.9% of final energy consumption. The renewable energy is highly consumed in the form of heat. It is about 60% of the total renewable energy consumption, followed by biofuels and electricity. In 2014, the utilization of renewable energy in the form of heat, biofuel and electricity are 64%, 19.7%, and 16.3% of total renewable energy consumption, respectively.

 

Novel Processing Technologies for Liquid Foods

Translated and Compiled By:
กองบรรณาธิการ
นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์
Editorial Team
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

จากความต้องการของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจในสุขภาพกันมากขึ้น โดยเน้นการบริโภคอาหารที่มีความสดใหม่ คุณภาพสูง และดีต่อสุขภาพ ทั้งยังต้องปราศจากวัตถุกันเสีย และปลอดภัยต่อการบริโภค ล้วนส่งผลให้นวัตกรรมของเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมอาหาร

นอกจากนี้ จากกระแสรักสุขภาพ การใช้ส่วนผสมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สี กลิ่นรส หรือวัตถุกันเสียที่มาจากธรรมชาติยังเป็นส่วนกระตุ้นให้เกิดการวิจัยด้านนวัตกรรมการผลิตอาหารที่มีประสิทธิภาพในการทำลายจุลินทรีย์ ในขณะเดียวกันต้องรักษาคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติ และคงคุณลักษณะ คุณภาพ และคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารไว้ได้อีกด้วย

การปรับปรุงคุณภาพอาหารให้ดีขึ้นเป็นเป้าหมายหลักของการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม นวัตกรรมการผลิตอาหาร เช่น กระบวนการความดันสูง (High Pressure Processing; HPP) สนามไฟฟ้าแบบพัลส์ (Pulsed Electric Field; PEF) และพลาสมาเย็น จึงเป็นเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มและมีศักยภาพที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารต่อไป

The need for novel processing technologies in the food industry is a direct result of consumer demand for fresh, high quality and healthy products that are free from chemical preservatives and yet are safe.

The trend towards the use of “natural” ingredients, (colors, flavors or preservatives) although technically challenging, has created the need for research into milder and more energy efficient but equally effective processing technologies that are able to preserve the structure and thus, function and benefits of novel ingredients whilst at the same time maintaining the nutritional and other food product qualities.

Improvement of product quality has always been the main goal of food and beverage manufacturers. Novel processing technologies such as high-pressure processing (HPP), pulsed electric field (PEF) and cold plasma are thought to be among the most promising of novel technologies.

 

Food Safety: Process Control and Cleaning Practice

ความปลอดภัยของอาหาร: การควบคุมกระบวนการผลิตและการล้างทำความสะอาด

โดย: สุดารัตน์ ฉายโฉมเลิศ
Sudarat Chaichomlert
Professional of Virus and Serology
Betagro Science Center Co., Ltd.
sudaratc@betagro.com

Full article TH-EN

ผู้บริโภคในประเทศที่พัฒนาแล้วมีความตื่นตัวในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของอาหาร เพราะอันตรายในอาหารเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นและไม่สามารถสัมผัสได้ แต่อาจมีโทษต่อร่างกายถึงแก่ชีวิต ดังนั้นจึงมีการนำมาตรฐาน GMP และ HACCP มาใช้ในการควบคุมการผลิต

มาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร หรือ HACCP เป็นหัวใจสำคัญเพื่อให้การผลิตอาหารเป็นไปตามมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานความปลอดภัยอาหารโลก Global Food Safety Initiative (GFSI) ซึ่งไม่เพียงแต่ความสะอาดปลอดภัยของเครื่องมือ ชิ้นส่วน วัตถุดิบเท่านั้น การทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกวิธีถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับการดำเนินธุรกิจ นอกเหนือจากความสะอาดและความปลอดภัยของผู้บริโภคแล้วยังสามารถยืดอายุของสินค้าที่วางจำหน่าย (Shelf life) ได้อีกด้วย

In developed countries, consumers are wide-awake of health and food safety. For the reason that food hazards are invisible to the eye or contacted, but could be fatal to the body, GMP and HACCP standards therefore are used to control the production process.

Food safety standards or HACCP is a key for food production in compliance with standard requirements, especially the Global Food Safety Initiative (GFSI). Not only sanitizing equipment, parts, and raw materials stands safe and sound, but a proper cleaning process of such tools and related equipment is also a very important part of food business operations. To become more than cleanliness and safety of consumers, it can also extend the shelf life of finished products.

 

What should we know about aroma and flavor for application purposes in foods?

เรื่องที่เราควรรู้เกี่ยวกับกลิ่นและกลิ่นรสเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในอาหาร

โดย:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทาวุธ สรรพวรสถิตย์
Assistant Professor Inthawoot Suppavorasatit, Ph.D.
Department of Food Technology, Faculty of Science, Chulalongkorn University
Deputy Dean, School of Agricultural Resources, Chulalongkorn University

Full article TH-EN

ในโลกของการตลาด กลิ่นและกลิ่นรสถือเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากเป็นปัจจัยแรกๆ ที่ผลักดันให้เกิดการยอมรับผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งหากกลิ่นหรือกลิ่นรสไม่ดีเพียงพอ ผู้บริโภคอาจจะตัดสินใจที่จะไม่กลืนอาหารนั้น หรือเลือกที่จะไม่ซื้อ หรือเมื่อซื้อไปแล้วอาจจะไม่ซื้ออีกก็เป็นได้

รู้หรือไม่ว่า…กลิ่นและกลิ่นรสนั้นไม่เหมือนกัน เมื่อพูดถึงการรับรู้ของมนุษย์ กลิ่นและกลิ่นรสมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน การรับรู้กลิ่นจะใช้จมูก แต่การรับรู้กลิ่นรสจะเกิดขึ้นเมื่อนำอาหารเข้าปากไปแล้วเท่านั้น โดยระหว่างกลืนอาหาร สารระเหยให้กลิ่นรสจะระเหยผ่านขึ้นไปโพรงจมูกระหว่างที่เราหายใจออก หรือจะเรียกกลิ่นรสอีกอย่างได้ว่า กลิ่นที่ได้รับผ่านทางการกินอาหาร ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงการรับรู้กลิ่นรส จะหมายถึง การรับรู้ที่มีการรวมองค์ประกอบของทั้งกลิ่น รสชาติ และความรู้สึกอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายในปากระหว่างการรับประทาน เช่น ความร้อน ความเย็น ความเจ็บปวด และอื่นๆ และเมื่อพูดถึงคำนิยามของคำว่ากลิ่นและกลิ่นรสนั้น อาจจะมีคำนิยามได้เป็น 2 นิยามหลักๆ โดยขึ้นกับมุมมองของผู้ให้คำนิยามนั้น ผู้ผลิตอาหารจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการแปรรูป หรือการสร้างกลิ่นหรือกลิ่นรสระหว่างกระบวนการแปรรูปและการเตรียมอาหาร

In the world of food marketing, aroma and flavor of foods are important since they are driving force of acceptability of the products. If the aroma or flavor are not good enough, consumer might decide not to ingest or not to buy the product or buy it just only one time, no second time.

Do you know that aroma and flavor are difference? In term of perception, aroma and flavor are totally difference. Aroma is perceived by nose. On the other hands, flavor is perceived after the food is put in the mouth, the volatile flavor compounds are vaporized through nasal cavity during exhale (aroma by mouth). Therefore, the perception of flavor is the combination of aroma, taste, and sensation (e.g. hot, cold, pain, and others) in the mouth during consumption. In term of definitions of aroma and flavor depend on definer’s viewpoints. Food producers need to consider the changes that may be happened during processing or the formation of aroma or flavor during processing and preparation.