Category: News
กระแสออร์แกนิกออสเตรเลียมาแรง-ไทยสบช่องส่งออกสินค้าเจาะตลาดอาหาร
‘พาณิชย์’ การันตี 237 โรงงานอาหารปลอดภัยจากโควิด-ปลื้มยอดส่งออกครึ่งปีทะลุ 441,000 ล้านบาท
Turnover in 2021 Snack Business Projected to Shrink 4.0% amid Eroding Consumer Purchasing Power.
Colours by Europe. Tastes of Excellence.
ชู “ธงโภชนาการ” จัดอาหารเด็กวัยเรียนในยุคโควิด-19 เสริมทัพลูกเรียนออนไลน์
อาหารและโภชนาการ “เด็กวัยเรียน” ถือเป็นเรื่องสำคัญ ด้วยปัจจุบันภาวะสังคมเปลี่ยนแปลงไป เด็กบางคนพออายุครบ 3 ปี ก็เข้าโรงเรียนกันแล้ว ดังนั้น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือสถานรับเลี้ยงเด็กจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องอาหารและโภชนาการ ซึ่งจำเป็นต้องมีบุคลากรดูแลจัดการอาหารให้มีคุณค่าทางสารอาหารและพลังงานเพียงพอ
ผศ.พัทธนันท์ ศรีม่วง อาจารย์ด้านอาหารและโภชนาการ โครงการละออพลัส โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ กล่าวถึงพฤติกรรมการบริโภคของเด็กวัยเรียนว่า ถ้าเด็กไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ จะขาดสารอาหารบางชนิด ก่อให้เกิดโรคได้ ขณะเดียวกันถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป แน่นอนจะเกิดภาวะโภชนาการเกิน น้ำหนักตัวมาก ทำให้เป็นโรคอ้วนได้ ยิ่งในยุคปัจจุบันเด็กวัยนี้มีภาวะสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงอาหารได้ และรูปแบบอาหารเปลี่ยนแปลงไป หากเด็กๆ อ้วนตั้งแต่วัยเรียน และไม่สามารถควบคุมเรื่องน้ำหนักได้ พอโตเป็นผู้ใหญ่ก็อาจทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ส่งผลต่อสมรรถนะการทำงาน ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างมาก อีกทั้งประสิทธิภาพการทำงานยังด้อยลงกว่าเดิม
“ในอดีตมักเกิดปัญหาขาดอาหารเป็นหลัก แต่ปัจจุบันพบว่าทิศทางปัญหาเปลี่ยนไป พบเด็กอ้วนมากขึ้น โดยในปี 2562 จากการสำรวจของกองโภชนาการ กรมอนามัย พบว่าเด็กอ้วนมีเปอร์เซ็นต์เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เด็กส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ก็พบว่าขาดสารอาหารเรื้อรังจำนวนมากขึ้น ส่วนกลุ่มเด็กผอมมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน”
ผศ.พัทธนันท์ กล่าวอีกว่า ในช่วงปี 2551-2560 มีเด็กไทยช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น อายุระหว่าง 10-19 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวาน สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กไทยติดรสหวาน มาจากกลุ่มเครื่องดื่มที่มีอิทธิพลมาก แม้จะสั่งห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มน้ำอัดลมภายในโรงเรียน แต่หน้าโรงเรียนยังมีจำหน่ายอยู่ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ เป็นที่นิยมในกลุ่มเด็ก เช่น ชานมไข่มุก บริโภค 1 แก้ว ให้พลังงานสูงถึง 600 กิโลแคลอรี น้ำตาลไม่ต่ำกว่า 10 ช้อนชา ขณะที่เด็กวัยเรียนควรได้รับน้ำตาลเพียงวันละ 4 ช้อนชาเท่านั้น ส่วนเด็กอีกกลุ่มไม่ได้บริโภครสหวาน แต่ผู้ปกครองให้รับประทานกลุ่มข้าว-แป้งปริมาณมาก เมื่อร่างกายได้รับแล้วเปลี่ยนเป็นน้ำตาล จะส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการค่อนข้างมาก โดยโรคอ้วนจะส่งผลต่อชีวิตเด็ก ไม่ว่าจะเป็น นอนกรน หยุดหายใจ ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ ความดันโลหิตสูง สมาธิสั้น ผลการเรียนเปลี่ยนไป และถ้าเป็นนานๆ จะกระทบต่อหัวใจและปอด ถ้าลูกอ้วนให้ปรับวิถีชีวิตใหม่เข้าสู่วิถีสุขภาพ ที่สำคัญทุกคนในบ้านต้องปฏิบัติเหมือนกัน เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่เด็ก
ผศ.พัทธนันท์ เปิดเผยว่า พฤติกรรมโภชนาการเด็กไทยในวัยเรียน มีดังนี้ 1. ไม่รับประทานผัก-ผลไม้ บางรายปฏิเสธรับประทานผัก ถึงขั้นอาเจียนออกมา ครอบครัวนับเป็นสาเหตุสำคัญ ต้องให้ความร่วมมือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก 2. ไม่รับประทานอาหารเช้า ยิ่งช่วงวิกฤตโควิด-19 เด็กบางคนตื่นสาย ไม่ต้องไปโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่ work from home ทำงานที่บ้าน กว่าจะตื่นครบทั้งครอบครัวอาจเลยเวลารับประทานมื้อเช้าไปแล้ว 3. บริโภคขนมขบเคี้ยวและเบเกอรี 4. รับประทานอาหารประเภทผัด ทอด และกะทิ และ 5. รับประทานตามกลุ่มเพื่อนตามความนิยมวัฒนธรรมอาหารแบบตะวันตก
“เด็กอายุ 6-8 ปี มีความต้องการพลังงาน 1,400 กิโลแคลอรีต่อวัน ขณะที่เด็กอายุ 9-12 ปี มีความต้องการพลังงาน 1,700 กิโลแคลอรีต่อวัน ใน 1 วันเด็กวัยเรียนควรรับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ ทั้งข้าว-แป้ง เนื้อสัตว์ ผักต่างๆ ผลไม้ และไขมัน-น้ำมัน ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกรับประทานอะไร ตัวเองก็ต้องรับประทานด้วย จะมีผลต่อเด็ก” ผศ.พัทธนันท์ กล่าว
ผศ.พัทธนันท์ แนะนำอีกว่า ปัจจุบันสิ่งที่ควรเรียนรู้ คือ “ธงโภชนาการ” จัดอาหารให้ถูกต้องเหมาะสมกับเด็กในวัยเรียน โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย จัดทำธงโภชนาการสำหรับเด็กอายุ 6-13 ปี ควรบริโภคดังนี้ ข้าว-แป้ง วันละ 8 ทัพพี ผัก วันละ 4 ทัพพี ผลไม้ วันละ 3 ส่วน นม 1-2 แก้ว และเนื้อสัตว์ วันละ 6 ช้อนโต๊ะรับประทานข้าว โดยถ้าแบ่งย่อยรายละเอียดให้ลึกลงไป เด็กอายุ 6-9 ปี ควรรับประทานสารอาหารต่อวัน ดังนี้ นมสด 1-2 แก้ว ไข่ 1 ฟอง ข้าว-แป้งอื่นๆ 6 ทัพพี เนื้อสัตว์ปรุงสุก 5-6 ช้อนโต๊ะ ผลไม้ตามฤดูกาล มื้อละ 1 ส่วน ผักใบเขียวและอื่นๆ 1 ถ้วยตวง ไขมัน-น้ำมันพืช 1-2 ช้อนโต๊ะ ส่วนเด็กอายุ 10-12 ปี ควรรับประทานสารอาหารต่อวัน ดังนี้ นมสด 1-2 แก้ว ไข่ 1 ฟอง ข้าว-แป้งอื่นๆ 5-6 ทัพพี เนื้อสัตว์ปรุงสุก 6-7 ช้อนโต๊ะ ผลไม้ตามฤดูกาล มื้อละ 1 ส่วน ผักใบเขียวและอื่นๆ 1 ถ้วยตวง ไขมัน-น้ำมันพืช 1-2 ช้อนโต๊ะ หากได้รับอาหารไม่เหมาะสม อาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กวัยนี้
ผศ.พัทธนันท์ กล่าวถึงแนวทางการจัดอาหารสำหรับเด็ก มีดังนี้ 1. เด็กต้องได้รับอาหารครบทั้ง 3 มื้อ 2. การปฏิเสธอาหารประเภทผักในเด็กเล็ก ให้เลือกผักไม่มีกลิ่นฉุน รสชาติไม่จัดจ้าน 3. ปรุงอาหารรสชาติจืด เน้นประกอบอาหารด้วยการต้ม นึ่ง อบ แทนการทอด 4. ชิ้นอาหารมีความเหมาะสมกับเด็ก 5. ไม่ให้บริโภคขนมกรุบกรอบ ขนมรสหวาน และน้ำหวานทุกชนิดก่อนรับประทานอาหารมื้อหลัก 6. อาหารว่างระหว่างมื้อเน้นผลไม้ แทนขนมกรุบกรอบและของทอด หรือจัดอาหารว่าง 200-250 กิโลแคลอรีต่อวัน 7. ควรจัดอาหารให้มีความหลากหลาย กระตุ้นความอยากรับประทานอาหาร 8. ฝึกสุขนิสัยที่ดี ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ตักข้าวและกับข้าวให้พอดี รับประทานอาหารให้หมดจาน หลังรับประทานอาหารเสร็จ รู้จักเก็บภาชนะให้เรียบร้อย
ปิดท้ายที่แนวทางการจัดอาหารกลางวันในโรงเรียน ผศ.พัทธนันท์ กล่าวว่า เด็กอนุบาล (อายุ 3-5 ปี) ควรบริโภคข้าว-แป้ง วันละ 1.5 ทัพพี เนื้อสัตว์ 1.5-2 ช้อนโต๊ะ ผัก 0.5-1 ทัพพี ผลไม้ 0.5-1 ส่วน นม 1 แก้ว ไขมัน-น้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ ส่วนเด็กประถมศึกษา 1-3 (อายุ 6-9 ปี) ข้าว-แป้ง 2 ทัพพี เนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ ผัก 1 ทัพพี ผลไม้ 1 ส่วน นม 1 แก้ว ไขมัน-น้ำมัน 1.5 ช้อนโต๊ะ และเด็กประถมศึกษา 4-6 (10-12 ปี) ข้าว-แป้ง 3 ทัพพี เนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ ผัก 1 ทัพพี ผลไม้ 1 ส่วน นม 1 แก้ว ไขมัน-น้ำมัน 2 ช้อนโต๊ะ
หลายบ้านคุณพ่อคุณแม่กลุ้มใจ ลูกในวัยเรียนอ้วนน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก ดังนั้น ควรหมั่นดูแลจัดอาหารให้ถูกตามหลักโภชนาการ ยิ่งช่วงวิกฤตโควิด-19 เด็กต้องเรียนออนไลน์อยู่บ้าน ยิ่งต้องใส่ใจก่อนจะสายเกินแก้ จนส่งต่อร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสติปัญญาเด็กด้วย
จากแนวทางการจัดอาหารสำหรับเด็กวัยเรียนดังที่กล่าวมานี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาสูตรอาหารสำหรับเด็กวัยเรียน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาประเทศไทยของเราต่อไป…เพราะเด็กในวันนี้ คือผู้ใหญ่ในวันหน้า…และพวกเขาคืออนาคตของชาติ
METTLER TOLEDO พร้อมปลดล็อคและเพิ่มศักยภาพแก่ผู้ประกอบการ ด้วย LIVE WEBINAR เต็มรูปแบบ
พบกับ Live Webinar (สัมมนาออนไลน์) จาก Mettler-Toledo ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2564 ที่พร้อมมอบความรู้และเทคนิคด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำงานของผู้ประกอบการทุกท่าน แบบส่งตรงถึงที่ทำงาน หรือถึงบ้านของท่านในช่วง WFH นี้ ทั้งทีมงานและวิทยากรที่มีประสบการณ์ ได้คัดสรรหัวข้อสัมมนาอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคนิคการใช้งานเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพและได้รับผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด หรือหัวข้อพิเศษจากฝ่ายบริการที่จะมาแนะนำวิธีการตรวจเช็คเครื่องมือ เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องมือให้ยาวนานยิ่งขึ้น นอกจากเนื้อหาความรู้แล้ว ยังมีกิจกรรมและเกมสนุกๆ ชิงรางวัล พร้อมช่วงของการถาม-ตอบ ซึ่งทางวิทยากรผู้บรรยายแต่ละหัวข้อพร้อมตอบคำถามของท่านแบบเรียลไทม์ในช่วงไลฟ์ทันที
📅 ตารางโปรแกรมเว็บบินาร์ประจำเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2564
21 ก.ค. การติดตั้งและการเลือกใช้งานเครื่องมือ pH และ Conductivity
24 ส.ค. การออกแบบระบบเครื่องชั่งรถบรรทุกใต้ Silo/Hopper เพื่อลดความเสี่ยงจากการสัมผัสเชื้อ COVID-19
8 ก.ย. การวิเคราะห์ความผิดพลาดจากการชั่งน้ำหนักตามมาตรฐาน IS017025
13 ก.ย. ระบบการควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์หาปริมาณความชื้นอย่างมีประสิทธิภาพ
14 ก.ย. การวิเคราะห์หาค่า DOBI และแนวทางการลดขั้นตอนและเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยเครื่อง UV/VIS
รายละเอียดเพิ่มเติมแต่ละหัวข้อ คลิก www.mt.com
หรือเพิ่มเพื่อน Line Official Account: @MTTH
เปิดรับลงทะเบียนวันนี้ รับจำนวนจำกัด
New technology!! from FOOMA JAPAN 2021 for helping virtual tour’s buyer to look around for products in the event.
New kind of blue found in cabbage could replace synthetic food dye
ชี้ช่อง e-Commerce รุกตลาดออนไลน์ พิชิตธุรกิจฮาลาลยุค New Normal
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จับมือศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าฮาลาลไทย และเครือข่ายธุรกิจ Moc Bizclub จัดงานสัมมนาการสร้างและพัฒนาศักยภาพ e-Commerce หลักสูตรก้าวถูกทิศ พิชิตธุรกิจฮาลาล ยุค New Normal ภายใต้โครงการเพิ่มโอกาสการค้าด้วย e-Commerce เพื่อพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เดินหน้าส่งเสริมผู้ประกอบการสินค้าฮาลาลค้าออนไลน์ โดยมี ผศ. ดร.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด รองผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายพิชิต รังสิมันต์ นายกสมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าฮาลาลไทย นายสรยุทธ อังคณานุกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้าน e-Commerce และนายสยาม ทรัพย์สีทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพ ให้เกียรติร่วมบรรยาย
การปรับตัวธุรกิจฮาลาล
นายพิชิต เปิดประเด็นการปรับตัวธุรกิจฮาลาลเพื่อเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ผ่านทางแพลตฟอร์มต่างๆ ว่า สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการควรคำนึงและใส่ใจ คือ การทำสินค้าให้มีคุณภาพ ถ้าเป็นธุรกิจอาหารก็ต้องมีรสชาติอร่อย ถูกปากชาวบ้าน ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ดูแล้วน่าสนใจ น่ารับประทาน ช่วยเพิ่มราคาสินค้าได้ แม้ผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SMEs จะมีทุนน้อย สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจอาหารฮาลาล คือ ความซื่อสัตย์ ใส่ใจเลือกวัตถุดิบ ทำอาหารสะอาด ถูกหลักอนามัย สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค
ตอบรับเทรนด์การส่งอาหารเดลิเวอรี
ด้าน ผศ. ดร.นิฟาริด กล่าวว่า ในยุคโควิด-19 การส่งอาหารเดลิเวอรีได้รับความนิยมสูงมาก บางร้านมีเครื่องหมาย Clean Food Good Taste รับรอง ในขณะที่บางร้านไม่มี เรื่องนี้ภาครัฐควรเข้าไปดูแลตรวจสอบอย่างจริงจัง และในอนาคตควรเพิ่มคำว่า Safe in Transformation เข้าไปด้วย เพื่อให้ครอบคลุมครบทุกวงจร โดยหัวใจหลักของสินค้าเพื่อการบริโภคเน้นเรื่องความปลอดภัยและรสชาติอร่อย หากผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องการอยากจะเปิดตลาด อาจใช้วิธีการส่งสินค้าตัวอย่างไปให้ผู้บริโภคได้ลองชิม หรือแนะนำสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งผู้ประกอบการหน้าใหม่ควรใส่ความคิดสร้างสรรค์ กล้านำเสนอสิ่งใหม่ นำสิ่งที่เคยทำไปต่อยอดพัฒนาขยายสินค้าให้มีความหลากหลายแปลกใหม่มากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องติดตามความเคลื่อนไหวในแวดวงร้านค้าต่างๆ เพื่อรู้เขารู้เรา นำข้อมูลไปปรับปรุงการให้บริการ เพิ่มการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า สร้างความไว้ใจให้มากยิ่งขึ้น
ยุคนี้คอนเทนต์ต้องโดน
นายสรยุทธ กล่าวว่า ปัจจุบันไม่มีแพลตฟอร์มใดดีที่สุด เพราะผู้บริโภคมีความหลากหลาย แต่ละร้านควรมีมากกว่า 1 แพลตฟอร์ม และต้องมีความเคลื่อนไหวทางโซเชียลมีเดียอย่างสม่ำเสมอ พร้อมตอบคำถามลูกค้าตลอดเวลา ที่สำคัญต้องหมั่นศึกษารายละเอียดคู่แข่ง ลองเอาคอนเทนต์เราไปเปรียบเทียบ โดยให้คิดว่าเป็นเหมือนการทำหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ควรมีทั้งประเภทข้อความที่โพสต์ประจำกับข้อความเนื้อหาพิเศษ เพื่อเพิ่มความหลากหลายและคุมโทนการโพสต์ อย่างน้อยควรลงข้อความวันละ 2 รอบ ยิ่งช่วงวิกฤตโควิด-19 ถนนธุรกิจทุกสายย้ายไปอยู่บนมือถือ คอนเทนต์สินค้าที่จะขายได้ต้องอ่านผ่านมือถือรู้เรื่อง โดยทั่วไปเน้นประเด็นไม่เยอะ สั้นๆ กระชับ แต่ถ้าเป็นเรื่องเด่นพิเศษที่น่าสนใจ ผู้อ่านก็อยากติดตามเข้าไปอ่านเนื้อหายาวๆ ต่อได้ รวมทั้งต้องพยายามมองหาลูกค้ามากกว่า 1 กลุ่ม ร้านใดเคยขายอาหารทั่วไปควรลองหันมาขายอาหารฮาลาลเพิ่มขึ้น พร้อมกับลองสื่อสารข้อมูลผ่านทางโลกออนไลน์ จากนั้นทำการเก็บข้อมูลลูกค้าก่อนนำไปวิเคราะห์เพื่อผลิตเป็นคอนเทนต์
รายเล็กก็ผลิตคอนเทนต์เองได้
ปิดท้ายที่ นายสยาม กล่าวว่า ธุรกิจขนาดเล็กที่มีงบประมาณไม่มาก ก็สามารถผลิตคอนเทนต์โดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ อย่างโทรศัพท์มือถือ ไว้ถ่ายภาพนิ่งและทำคลิปวิดีโอลงในสื่อออนไลน์ ผู้ประกอบการรายเล็กต้องสามารถเป็นเอเจนซีโฆษณาได้ด้วยตนเอง ทำตั้งแต่ Account Executive คนทำหน้าที่ดูแล จัดการ และบริหารลูกค้า รวบรวมข้อมูลทั้งหมดของธุรกิจ ศึกษารายละเอียดคู่แข่ง กำหนดคอนเทนต์ว่าต้องการสื่ออะไร จากนั้นต้องเป็น Creative นำไอเดียมาคิดต่อยอดว่าควรจะนำเสนอคอนเทนต์อย่างไรให้ตอบโจทย์ และเลือกมีเดียที่จะใช้สื่อออกไป ก่อนที่ Art Director จะเอาสิ่งที่ครีเอทีฟคิดมาคุมเนื้อหาไม่ให้หลุดคอนเซ็ปท์ จากนั้นไปจบที่การทำโปรดักชัน ถ่ายภาพนิ่ง ถ่ายคลิปวิดีโอและตัดต่อ หากมีงบประมาณไม่มาก ก็ต้องทำเองทุกขั้นตอน อาจทำผ่านแอปพลิเคชันง่ายๆ บนโทรศัพท์มือถือ ทำพอให้ใช้กับงานที่ลงในสื่อออนไลน์ได้
สำหรับจุดมุ่งหมายการสร้างคอนเทนต์เพื่อขายสินค้าบนโลกออนไลน์ มีอยู่ 5 ประการ ได้แก่
- 1. Brand awareness การสร้างคอนเทนต์เพื่อการรับรู้ เหมาะสำหรับการเปิดตัวสินค้าใหม่
- 2. Brand Loyalty การสร้างคอนเทนต์เพื่อตอกย้ำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ หรือสร้างความจงรักภักดีให้กับตัวสินค้า
- 3. Follow up การสร้างคอนเทนต์ให้คนไปติดตามรายละเอียดของสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ
- 4. Sale การสร้างคอนเทนต์เพื่อเน้นขายสินค้าเพียงอย่างเดียว
- 5. Cycle repurchase การสร้างคอนเทนต์เพื่อให้ผู้บริโภคอยากกลับมาซื้อสินค้าซ้ำ
ทั้งหมดเป็นความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง โดยเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลทั้งรายเล็กและรายใหญ่ที่ต้องการแสวงหาตลาดในช่วงเกิดวิกฤตโควิด-19 ที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป หันมาเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัวพัฒนาศักยภาพ นำ e-Commerce ไปใช้ประกอบธุรกิจ โดยอาศัย Digital Economy เป็นเครื่องมือช่วยผลักดันขยายโอกาสและช่องทางการตลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ขยายธุรกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล