ร่วมแสดงความคิดเห็น U Share V Care เดือนกุมภาพันธ์ 2561

ร่วมแสดงความคิดเห็น U Share V Care ลุ้นรับของกำนัล Gift Voucher S&P worth THB 500 จำนวน 2 รางวัล

ลุ้นรางวัลกับเราได้ตามลิงก์ด้านล่างเลย อย่าลืมกรอกให้ครบ..นะคะ

https://goo.gl/forms/R6cE8aPNlDfamCo73

Characterization of vegetable oils by DSC

การจำแนกน้ำมันพืชด้วยวิธี DSC

 

โดย:              บริษัท เมทเล่อร์-โทเลโด (ประเทศไทย) จำกัด

Mettler-Toledo (Thailand) Limited

 Full article (TH-EN)

Differential Scanning Calorimetry หรือกระบวนการ DSC เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สสารต่างๆ ในงานวิจัย การพัฒนาสินค้า และการควบคุมคุณภาพ กระบวนการตกผลึกของไขมันและน้ำมันเองก็ได้รับการศึกษาภายใต้กระบวนการ DSC มาเป็นเวลาหลายปีแล้วเช่นกัน บทความนี้จะนำเสนอกระบวนการที่น่าสนใจในการใช้กระบวนการ DSC ในการจำแนกน้ำมันพืช โดยน้ำมันพืชนั้น (หรือไขมันจากพืช ขึ้นอยู่กับความข้นของสสาร) เป็นสารประกอบจากพืชที่ได้จากการนำเมล็ดพันธุ์พืชหรือผลไม้ผ่านกระบวนการคั้น และ/หรือ สกัดด้วยตัวทำละลายแล้วนำไปกลั่นเพื่อแยกตัวทำละลายออก น้ำมันที่ได้มีส่วนประกอบหลักเป็นไตรกลีเซอไรด์ ในเชิงเคมีไตรกลีเซอไรด์เป็นสารประกอบไตร-เอสเตอร์ ที่ก่อตัวขั้นจากกระบวนการเอสเทอริฟิเคชันของกลีเซอรอลเข้ากับกรดคาร์บอกซิลิค (กรดไขมัน) ในน้ำมันธรรมชาติ ไตรกลีเซอไรด์จะประกอบไปด้วยกรดไขมันหลากหลายชนิด ซึ่งทำให้น้ำมันมีส่วนผสมของไตรกลีเซอไรด์ที่หลากหลาย ยิ่งไปกว่านั้น น้ำมันยังมีส่วนผสมของสารกึ่งไตรกลีเซอไรด์ (เช่น mono- และ diglycerides) และองค์ประกอบอื่นๆ (เช่น phospholipids, sterols, vitamins, ฯลฯ) ซึ่งขึ้นอยู่กับที่มาของน้ำมันและกระบวนการผลิต

 

กระบวนการตกผลึกของไขมันหรือน้ำมันนั้นถือเป็นเรื่องอ่อนไหวต่อองค์ประกอบในน้ำมัน และสามารถวัดได้ง่ายผ่านกระบวนการ DSC ซึ่งกราฟที่ได้จากตัวอย่างน้ำมันที่ผ่านการทดลองนั้นจะเป็นเสมือนลายนิ้วมือของน้ำมันแต่ละชนิด ที่จริงแล้วกระบวนการ DSC นั้นยังเป็นเครื่องมือที่ดีในการแยกความแตกต่างระหว่างน้ำมันแต่ละชนิด เช่น การแยกระหว่างน้ำมันที่ผ่านกระบวนการกลั่นและน้ำมันจากธรรมชาติ

FIRN: Food Innovation and Regulation Network

ส่งเสริมนวัตกรรมทางอาหาร เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ก้าวไกลสู่ตลาดโลก

 

โดย:    กองบรรณาธิการ

Editorial Team

Food Focus Thailand Magazine

Full article (TH-EN)

เป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมอาหารถูกระบุให้เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ที่จะผลักดันไปสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” โดยมุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมเข้ามาพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มแล้ว เราสามารถนำนวัตกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ในหลายๆ ด้าน อาทิ การพัฒนากระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

 

แต่หลายครั้งหลายคราที่ผู้ประกอบการหลายรายลงแรงทุ่มเท ทุ่มทุน ไปกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่…แต่กลับไม่สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นออกสู่ตลาดได้ เนื่องด้วยขาดความรู้ความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์และกฎระเบียบในการขออนุญาตขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร หรือหากมีความรู้ ความเข้าใจ ก็ยังไม่ตรงประเด็น อีกทั้งแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก็มีความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกัน…เมื่อลงเรือลำเดียวกัน แต่พายไปกันคนละทิศละทาง…ก็ยากที่จะถึงฝั่ง หรือถึงฝั่งได้ แต่ก็ทุลักทุเลเต็มที…

 

การจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สุดล้ำออกสู่ตลาด จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อขออนุญาตผลิตอาหารในระดับอุตสาหกรรม ให้ตรงกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข รวมถึงวิธีการประเมินหลักฐานทางวิชาการเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องของอาหารปลอดภัย และการประเมินประสิทธิผลที่มีการกล่าวอ้างทางสุขภาพ จึงจะสามารถดำเนินการผลิตได้ อย่างไรก็ตาม ความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์และกฎระเบียบในการขออนุญาตของแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นมีไม่เท่าเทียมกัน จึงส่งผลให้เกิดการดำเนินงานและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

 

สองหน่วยงานผนึกกำลังซ่อมเพื่อสร้าง

ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบการสื่อสารข้อมูลให้กระจายอย่างทั่วถึง และให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ทางหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ผนึกกำลังความร่วมมือกับสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ขึ้น และมีการจัดตั้งหน่วยงานกลางในชื่อ Food Innovation and Regulation Network (FIRN) เพื่อทำหน้าที่ประสานงาน สื่อสาร รวมไปถึงฝึกอบรมให้แก่ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยโครงการ FIRN ได้รับทุนสนับสนุนจากเมืองนวัตกรรมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ

 

ปฏิรูป…..ถือคัมภีร์เล่มเดียวกัน

ศูนย์กลางเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพนี้จะพร้อมตอบโจทย์การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารด้วยนวัตกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ที่น่าสนใจก็คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร การขออนุญาตผลิตภัณฑ์เชิงสุขภาพ กฎระเบียบและประกาศต่างๆ ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะเป็นการบูรณาการข้อมูลสู่ทุกภาคส่วนในรูปแบบข้อมูลที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับข้อมูลไปดำเนินการต่อได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

 

นอกจากนี้ การพัฒนาทักษะและขีดความสามารถของบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาหลักฐานการขออนุญาตก็มีความจำเป็นเช่นกัน เพื่อที่จะได้มีจำนวนผู้เชี่ยวชาญให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ โดยจะมีกระบวนการฝึกอบรม การจัดกิจกรรมทางวิชาการ ทั้งนี้ มีเป้าหมายร่วมกันในการปรับปรุงเกณฑ์การขออนุญาตของไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานนานาชาติ

Interroll Thailand ขยายสู่โรงงานแห่งใหม่ทีใหญ่และทันสมัยกว่า

แซนต์ แอนโตนิโอ, สวิตเซอร์แลนด์, 8 มกราคม 2561 – เนื่องด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นของระบบขนถ่ายและลำเลียงวัสดุจากกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้อินเตอร์โรลต้องเพิ่มกิจกรรมธุรกิจในประเทศไทยในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ ล่าสุดอินเตอร์โรลได้ประกาศเพิ่มพื้นที่การผลิตและพื้นที่สำนักงานในประเทศไทยซึ่งมีโครงการขยายให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 15 เดือนนับจากนี้ โดยจะย้ายจากโรงงานในปัจจุบันที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เฟส 8 ไปยังสถานที่ใหม่ในเฟส 10 ซึ่งการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่จะเริ่มขึ้นในไตรมาสแรกของปี พศ.2561 และจะแล้วเสร็จในต้นไตรมาสที่สองของปี พศ.2562

“โรงงานแห่งใหม่นี้จะเป็นโรงงานที่ทันสมัย เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีระดับสูง และมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น การขยับขยายครั้งนี้จะทำให้เราสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อย่างมากด้วยการนำระบบการผลิต One Piece Flow มาใช้” คุณไกรสร นาคะพงศ์ กรรมการผู้จัดการของ อินเตอร์โรล (ประเทศไทย) กล่าวพร้อมเสริมว่า “ตลาดที่เติบโตขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเมียนมา ได้แสดงให้เห็นถึงความต้องการอย่างชัดเจนในผลิตภัณฑ์ของเรา สำหรับลูกค้าและผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา การขยับขยายโรงงานครั้งนี้หมายถึง การให้บริการที่ดียิ่งขึ้นและการส่งมอบสินค้าที่รวดเร็วขึ้น สำหรับพนักงานของเราทั้งในปัจจุบันและในอนาคต มันคือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น”

ทั้งนี้ โรงงานแห่งใหม่จะประกอบไปด้วยพื้นที่การผลิตประมาณ 4,800 ตารางเมตร และพื้นที่สำหรับสำนักงานอีกราว 700 ตารางเมตร

 

www.interroll.co.th

 

อย.จับมือ ดูปองค์ เปิดตัวคลิปออนไลน์ครั้งแรกหวังส่งเสริม SMEs ไทยใช้วัตถุเจือปนอาหารอย่างถูกต้อง

กรุงเทพฯ, 10 มกราคม 2561 – สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข นำโดย ดร.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร ร่วมกับ Yongjing Li, Ph.D., Regional President, Asia Pacifc, DuPont Nutrition & Health จัดทำและเผยแพร่คลิปออนไลน์ หวังให้ SMEs ไทยใส่ใจการใช้วัตถุเจือปนอาหารอย่างเหมาะสม

ดร.ทิพย์วรรณ เปิดเผยถึงสถานการณ์การใช้วัตถุเจือปนอาหารในประเทศว่า “อย. ได้มีแผนการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพของอาหาร ในส่วนของวัตถุกันเสียที่ใช้ในอาหาร พบว่าในปี 2556 และ 2557 จำนวนทั้งสิ้น 900 และ 825 ตัวอย่าง พบข้อบกพร่องเรื่องวัตถุกันเสียจำนวน 90 และ 88 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 10 และ 11 ตามลำดับ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการทางกฎหมายพร้อมทั้งแนะนำผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องแล้ว ทั้งนี้ อย. ได้อนุญาตให้มีการใช้วัตถุกันเสียในอาหารบางชนิด เพื่อป้องกันความเสื่อมเสียของอาหารเนื่องจากการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยีสต์ และรา โดยผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้วัตถุกันเสียตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม นอกจากนี้ อาหารทั่วไปจะต้องมีการแสดงฉลากตามประกาศ

กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ”

“เนื่องจากความปลอดภัยของอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อผู้บริโภค บริษัท ดูปองท์ จำกัด นำโดยแผนกอาหารและสุขภาพเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับ อย. ผลิตสื่อความรู้เกี่ยวกับการใช้วัตถุเจือปนอาหารอย่างปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขยาดย่อม โดยหวังว่าสื่อคลิปออนไลน์ดังกล่าวนี้จะช่วยสร้างความตระหนักในความปลอดภัยของอาหารอันจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอาหารต่อไปในอนาคต” คุณสิทธิเดช ศรีประเทศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดูปองท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

คลิปดังกล่าวได้รวบรวมประเด็นด้านความปลอดภัยที่ผู้ประกอบการควรทราบซึ่งเปิดตัวด้วยเรื่อง “การใช้วัตถุกันเสีย” และ “การแสดงฉลากของอาหาร” โดยมีแผนการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ โทรทัศน์ และสื่อนิตยสารอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนการขยายความร่วมมือไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เพื่อหวังให้เกิดความตระหนักรู้และส่งเสริมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่ปลอดภัยทั่วทั้งภูมิภาค

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าชมคลิปทั้งสองเรื่องได้แล้วที่ YouTube โดยใส่คำค้นหาว่า “Food additive using for THAI SME”

www.fda.moph.go.th, www.dupont.co.th, www.danisco.com

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จับมือสถาบันอาหาร ติวเข้ม SMEs เพิ่มผลิตภาพ – ยกระดับมาตรฐานอาหารแปรรูป

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม จัดอบรมเอสเอ็มอีอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป หวังเพิ่มผลิตภาพให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีความพร้อมขอยื่นรับรองมาตรฐานด้านอาหารได้ในระดับสากล

 

นางอารยา ดำรงศักดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการจัดการธุรกิจ กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิด “กิจกรรมการพัฒนาเอสเอ็มอีเพื่อเพิ่มผลิตภาพหรือเตรียมความพร้อมการขอการรับรองมาตรฐานสากล” ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ร่วมกับสถาบันอาหารจัดขึ้น ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ปีงบประมาณ 2561 ในช่วงเช้ามีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “บทบาทของ อย. กับมาตรฐานเชิงพาณิชย์ผลิตภัณฑ์อาหารแห่งอนาคต” โดยนางสาวจิรารัตน์  เทศะศิลป์ นักวิชาการอาหารและยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกำหนดมาตรฐานสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และชี้แจงข้อมูลรายละเอียดโครงการโดยผู้เกี่ยวข้อง มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสาขาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ทั้งในภาคการผลิต การบริการ และการค้าของไทย เข้ารับการอบรมจำนวน 92 คน โดยมี ดร.วิเชียร ฤกษ์พัฒนกิจ ที่ปรึกษาสถาบันอาหาร และคณะให้การต้อนรับ ณ ศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย ถนนอรุณอมรินทร์

 

นางอารยา ดำรงศักดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการจัดการธุรกิจ กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและสถาบันอาหาร ได้จัดทำกิจกรรมดังกล่าวขึ้น เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาเอสเอ็มอีในสาขาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ให้มีผลิตภาพเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ขณะเดียวกันก็เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของสถานประกอบการในการขอรับรองมาตรฐานสากลทางด้านอาหาร โดยอาศัยกระบวนการให้คำปรึกษาเชิงลึก จากทีมที่ปรึกษาที่มีความรู้และประสบการณ์เฉพาะทางจากสถาบันอาหาร  มีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิต การบรรจุภัณฑ์ และการตลาด

 

กิจกรรมดังกล่าวหวังสร้างเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการให้มีผลิตภาพเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถขอรับรองมาตรฐานสากลทางด้านอาหาร อาทิ ลดของเสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 3  ลดต้นทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 6  เพิ่มมูลค่ายอดขายไม่น้อยกว่าร้อยละ 9 และเตรียมความพร้อมให้เอสเอ็มอีในการยื่นขอการรับรองมาตรฐานสากลทางด้านอาหาร ได้แก่ GMP, HACCP, IFS, ISO 22000 หรือ FSSC 22000 เป็นต้น

 

www.nfi.or.th

10 Top Tips for Life Science Laboratory Efficiency

10 สุดยอดเทคนิคสู่การเป็นห้องปฏิบัติการชีววิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ

By: Sarah Thomas

www.selectscience.net

 

Translated by: กองบรรณาธิการ

Editorial Team

Food Focus Thailand Magazine

Full article (TH-EN)

 

เนื่องจากชีววิทยาศาสตร์คือการศึกษาเรื่องสิ่งมีชีวิตและระบบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตในทุกๆ แง่มุม ถือเป็นศาสตร์ที่จะค้นพบตัวแปรได้มากที่สุดในบรรดาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ตัวแปรในการทดลองยังหมายความรวมถึงการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อการทำงานภายในห้องปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพ โดยปฏิบัติได้ ดังนี้

1. จัดสรรหน้าที่ให้เหมาะกับความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน
ทีมที่ทำงานต้องมีความเป็นผู้นำ ศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง ฝึกฝนและมีเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถทำตามวัตถุประสงค์ได้อย่างสำเร็จ

2. ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมทางนวัตกรรม
การกล้าที่จะตั้งคำถามและกระตุ้นคนรอบข้างให้รู้จักการถาม เช่น ทำไมจึงต้องใช้วิธีการนี้? ทำให้เกิดหลักการทดลองใหม่ๆ และควรวางแผนฝึกฝนทบทวนขั้นตอนการทดลองเสมอๆ เพื่อไม่ให้เกิดความวอกแวกในขณะปฏิบัติงานจริง

3. จัดพื้นที่การทำงานให้มีการสูญเปล่าน้อยที่สุด
เริ่มต้นจัดวางสิ่งของที่ใช้อยู่เป็นประจำให้อยู่ในที่ที่หยิบจับใช้ได้ง่าย และปฏิบัติตามขั้นตอนการทดลองใหม่ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจและเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานอย่างเป็นระบบ

4. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
การแบ่งสรรความรับผิดชอบในการทำงานภายในห้องปฏิบัติการ ทั้งการดูแลด้านความสะอาดและการทดลองอย่างเป็นระบบ

5. ตั้งต้นทำงานจากวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
เมื่อทราบวัตถุประสงค์ของการทำงานและตั้งต้นทำย้อนจากหลังมาหน้าได้ก็จะช่วยประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากในการออกแบบขั้นตอนการทำงาน และยังทำให้ทราบว่าจะต้องใช้ตัวอย่างอะไรบ้าง

6. บริหารจัดการคลังสารเคมีและเวชภัณฑ์
แทนที่จะเติมพื้นที่ว่างทั้งหมดของคลังเก็บของให้เต็มไปด้วยสารเคมีหรือเวชภัณฑ์ต่างๆ ให้หันมาไตร่ตรองถึงสิ่งที่มีอยู่ก่อนเพื่อที่จะนำออกมาใช้

7. วางแผนการจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการล่วงหน้า
การจัดทำตารางการสั่งซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการจะทำให้ง่ายที่จะรู้ว่าใครต้องการอะไร และเมื่อใดที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อจะได้เกิดการวางแผนการจัดซื้อล่วงหน้าอย่างเหมาะสม

8. มองหาอุปกรณ์และเครื่องมือวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานกว่าเดิม
ในทุกๆ ปีจะเห็นว่ามีสินค้าในห้องปฏิบัติการออกมาใหม่ๆ มากมาย ลองมองหาชิ้นที่จะเข้ามาช่วยให้การทำงานในห้องปฏิบัติการรวดเร็วขึ้นและได้ผลการทดลองที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

9. ให้คิดว่าการลงทุนในอุปกรณ์และเครื่องมือวิเคราะห์คือการลงทุนระยะยาว
การเลือกซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือวิเคราะห์สำหรับห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่ปิเปตไปจนถึงเครื่องวิเคราะห์ HPLC ควรได้รับการพิจารณาให้เหมือนว่าเป็นการลงทุน หากมีงานที่ต้องวิเคราะห์ทดสอบเข้ามาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในหนึ่งปี ต้องพิจารณาว่าอุปกรณ์และเครื่องมือวิเคราะห์ที่กำลังใช้อยู่นี้จะยังตอบสนองต่อความต้องการใช้งานของเราอยู่หรือไม่?

10. บำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือวิเคราะห์
หากไม่มีการบริการบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือวิเคราะห์ให้เป็นปกติอาจเกิดข้อผิดพลาดและสร้างความเสียหายให้กับผลการทดลองที่ต่อเนื่องอื่นๆ ในแผนการทดลองทั้งหมดได้

Food Industry Outlook 2018

สถานการณ์ธุรกิจเกษตรและอาหารในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

 

By:  สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม

        National Food Institute, Ministry of Industry

Full article TH-EN

มีรายงานฉบับล่าสุด Food Industry Outlook 2018 จากการแถลงข่าวร่วม 3 องค์กรเศรษฐกิจด้านธุรกิจเกษตรและอาหาร โดยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันอาหาร ได้เปิดเผยข้อมูลภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทยปี 2560 และแนวโน้มปี 2561

 

สถานการณ์ธุรกิจเกษตรและอาหาร ปี 2560

ภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2560 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 สำหรับการส่งออกคาดว่าจะมีปริมาณ 32.5 ล้านตัน มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4.5 และร้อยละ 5.3 ตามลำดับ ลดลงเล็กน้อยจากตัวเลขประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะส่งออกได้ 33.0 ล้านตัน มูลค่า 1.03 ล้านบาท เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักหลายรายการลดลงกว่าที่คาด

 

กลุ่มประเทศ CLMV ยังคงเป็นตลาดส่งออกอาหารอันดับ 1 ของไทย มีสัดส่วนร้อยละ 16.6 รองลงมา ได้แก่ ญี่ปุ่นร้อยละ 13.5 อาเซียนเดิมร้อยละ 11.6 สหรัฐอเมริการ้อยละ 10.6 แอฟริการ้อยละ 9.3 จีนร้อยละ 9.0 สหภาพยุโรปร้อยละ 6.0 ตะวันออกกลางร้อยละ 4.2 โอเชียเนียร้อยละ 3.3 สหราชอาณาจักรร้อยละ 3.0 และเอเชียใต้ร้อยละ 1.6 โดยตลาดส่งออกหลักของไทยส่วนใหญ่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า ยกเว้นตลาดอาเซียนเดิม (ASEAN-5) ลดลงร้อยละ 10.7 ตามปริมาณการส่งออกสินค้าหลัก อาทิ น้ำตาลทราย และแป้งมันสำปะหลังที่ลดลง สหรัฐอเมริกาลดลงร้อยละ 2.3 จากการส่งออกสับปะรดกระป๋องและปลาทะเลแช่แข็งที่หดตัวลง และสหราชอาณาจักรลดลงร้อยละ 10.9 จากการเผชิญภาวการณ์ชะลอตัวทางเศรษฐกิจและการแข็งค่าของค่าเงินปอนด์เทียบบาท

 

กลุ่มสินค้าดาวเด่นของไทยในอนาคต

คุณยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า “แม้ว่าสินค้าส่งออกหลักหลายรายการจะชะลอตัวลง แต่ก็มีสินค้าส่งออกกลุ่มใหม่ๆ ที่ขยายตัวสูงและคาดว่าจะเป็นกลุ่มสินค้าดาวเด่นของไทยในอนาคต ได้แก่ กลุ่มผลไม้สดไม่รวมผลิตภัณฑ์มะพร้าว ปัจจุบันมีมูลค่าตลาด 72,340 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5 ปีล่าสุด (เพิ่มขึ้นร้อยละ 23) เครื่องดื่มชูกำลัง 22,520 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10) ผลิตภัณฑ์เบเกอรี 13,533 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 11) นม 10,469 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่รวมวิตามิน 3,201 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6) และไอศกรีม 2,122 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5) โดยสินค้าส่วนใหญ่มีตลาดหลักอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน”

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารไทย ปี 2561

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2560 ในอัตราร้อยละ 7.0 มีมูลค่าส่งออก 1.07 ล้านล้านบาท โดยสินค้าที่คาดว่าจะมีมูลค่าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ข้าว ไก่ น้ำตาลทราย กุ้ง และทูน่ากระป๋อง ส่วนสินค้าที่คาดว่าจะมีมูลค่าขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มะพร้าว (เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6) อาหารพร้อมรับประทาน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0) กุ้ง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3) น้ำตาลทราย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8) เครื่องปรุงรส (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8) ไก่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6) และน้ำผลไม้ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6)

 

ทั้งนี้ ในก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมอาหาร คือการผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรมตามนโยบายของรัฐ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอาหาร โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC ที่ภาครัฐ สถาบันอาหาร รวมทั้งสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกันผลักดันให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อผลสำเร็จเป็นรูปธรรม

หยั่น หว่อ หยุ่น รับมอบใบรับรองผ่านมาตรฐานนานาชาติจาก BSI

สถาบันมาตรฐานอังกฤษ BSI มอบใบรับรองระบบมาตรฐาน ISO 14001:2015, OHSAS 18001:2007 และ ISO 50001:2011 ให้แก่ บริษัท หยั่น หว่อ หยุ่น จำกัด ผู้ผลิตซอสถั่วเหลืองที่มีคุณภาพและได้รับการยอมรับไปทั่วโลกรายแรกของไทย ภายใต้แบรนด์ “เด็กสมบูรณ์” โดยทั้งสองโรงงานผลิตที่ผ่านการรับรองในครั้งนี้คือโรงงานสมุทรสาคร และโรงงานระยอง

มาตรฐานสากลสำหรับระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐานสากลสำหรับสถานประกอบการนี้จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรเกิดการจัดการพลังงานอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร และเพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก

www.bsigroup.com/en-th