Countless Partnerships for Innovative & Sustainable Protein System; Towards Healthy People and Nature

“คุณวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บรรยายพิเศษในหัวข้อ “Countless Partnerships for Innovative & Sustainable Protein System Towards Healthy People and Nature” ในงาน “Tackle Climate Crisis Together for a Resilient Agri-Food System Reception 2022” จัดโดยสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทยโดยมี “คุณแร็มโก ฟัน ไวน์คาร์เดิน” เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย “นายสัตวแพทย์ไค๊ส์ เตอนิสเซิ่น” อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเกษตร พร้อมด้วยตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนชั้นนำของไทยและเนเธอร์แลนด์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร เกษตรอุตสาหกรรม ตลอดจนคณาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องด้านเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงสื่อมวลชนร่วมรับฟังการบรรรยายดังกล่าว ณ สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565

คุณวสิษฐ กล่าวถึง ปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และการเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารที่มีผลต่อความมั่นคงด้านอาหารในอนาคต ทุกคนต้องร่วมมือกัน และพัฒนาเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

            ในฐานะที่เบทาโกรเป็นบริษัทอาหารชั้นนำระดับสากล (World-class Branded Food Company) ที่มีห่วงโซ่คุณค่าครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่เกษตรกร คู่ค้า ลูกค้า ผู้ประกอบการอาหาร รวมถึงผู้บริโภค จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการธุรกิจให้มีความยั่งยืนตลอด Ecosystem โดยมีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ด้วยการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG (Environment Social และ Governance) ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล พร้อมทั้งตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ตัวอย่างการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน เช่น

          – การใช้ระบบโซลาร์เซลล์เป็นพลังงานสะอาดเพื่อลดการใช้ไฟฟ้า และลดการเกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ โดยเบทาโกรได้ผ่านการรับรองคาร์บอนฟุตพรินท์ (Carbon Footprint Organization; CFO) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
          – การใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน โดยบรรจุภัณฑ์ของ S-pure นั้น เป็นแบรนด์แรกของประเทศไทยที่พัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์จาก Eco-Fiber รวมทั้งยังมีถาดกระดาษเพื่อลดการใช้พลาสติกอีกด้วย
          – การจัดการระบบน้ำและน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้หลักการ 5Rs ได้แก่ Rethink Reduce Repair Reuse และ Recycle โรงงานของเบทาโกร จำนวน 34 โรงงาน ใช้ระบบการจัดการน้ำตามหลัก 5Rs และสามารถลดการใช้น้ำลง ร้อยละ 7 ในปี 2563 (จากเป้าหมาย คือ ร้อยละ 5)
          – การจัดการของเสีย เบทาโกรมุ่งลดปริมาณของเสีย โดยจัดทำตารางการตรวจสอบของเสีย และมีแผนการปรับปรุงการลดของเสียในกระบวนการผลิต รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงการลดของเสียอีกด้วย โดยองค์กรมีเป้าหมายในการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ มากกว่าร้อยละ 95
          – การจัดการด้านคุณภาพและมาตรฐานของอาหาร เบทาโกรมีระบบควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการผลิตอาหารสัตว์สู่การเลี้ยงสัตว์ รวมถึงจากโรงงานผลิตอาหารไปจนถึงจุดจำหน่ายสินค้า โดยเบทาโกรมีระบบการจัดการคุณภาพ (Betagro Quality Management; BQM) ระบบตรวจสอบย้อนกลับ และการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพ

เบทาโกรเชื่อว่าประชาชนต้องมีทางเลือก และสามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยมากขึ้น ในราคาที่เป็นธรรม เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญในชีวิต และเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ขอบคุณรูปภาพและเนื้อหาบางส่วน จาก https://www.betagro.com

ลิ้มรสสุดยอดเมนูแห่งอนาคต จากงาน APEC2022

“อาหารอนาคต” คือ “อาหารเพื่อความยั่งยืนของโลก” เพราะ การผลิตอาหารแบบเดิมนั้นมีข้อจำกัดด้านพื้นที่ ทรัพยากรที่ใช้เลี้ยงสัตว์ อย่างน้ำและอาหาร รวมถึงสิ่งแวดล้อม อีกไม่นานมนุษย์ต้องเผชิญกับ “ภาวะขาดแคลนอาหาร” อย่างรุนแรง เนื้อสัตว์แบบเดิมจะผลิตได้น้อย และไม่เพียงพอต่อความต้องการ อาหารอนาคตจะกลายเป็นคำตอบที่มาแทนที่อาหารดั้งเดิม สิ่งที่ตอบโจทย์นี้ได้ดีที่สุด คือ การคิดหาแหล่งอาหารใหม่ ตลอดจนนำนวัตกรรม เทคโนโลยี มาพัฒนาจากอาหารธรรมดาให้กลายเป็น “อาหารแห่งอนาคต (Future Food)” ที่เพิ่มผลผลิตได้เร็วกว่า ใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงน้อยกว่าการทำปศุสัตวแบบเก่า ลดการใช้ทรัพยากรอาหารในการเลี้ยง ที่สำคัญอาหารนั้นยังให้คุณค่าทางโภชนาการสูง และส่งผลดีต่อความยั่งยืนของโลก เพราะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดการสร้างขยะเหลือทิ้ง (Zero Waste) จากกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เนื่องจากขยะมีส่วนในการเพิ่มก๊าซมีเทนที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนขึ้น

จากการที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในงานประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคที่ผ่านมา กรมประชาสัมพันธ์ได้จัดการแข่งขันเมนูแห่งอนาคต ในโครงการ “Future Food for Sustainability” ภายใต้แนวคิด BCG Economy เพื่อต้อนรับผู้นำ  21 เขตเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยี จนพัฒนาเป็น “อาหารแห่งอนาคต” ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า และแก้ไขปัญหาโลกร้อนจากการผลิตอาหาร รวมไปถึงแก้ไขวิกฤติการขาดแคลนอาหารในระยะยาวได้ ซึ่งอาหารอนาคตถือว่าเป็น Mega Trend ที่มีมูลค่าสูงถึง 122,927 ล้านบาท และจะเติบโตขึ้นอีก 2 เท่า ในปี 2025 โดยเกณฑ์ตัดสินเมนูที่ผ่านเข้ารอบนั้น ได้แก่ แหล่งที่มาของวัตถุดิบ ตลอดจนรสชาติ รูปลักษณ์ และเนื้อสัมผัส คุณประโยชน์ที่ได้รับ รวมไปถึงความเป็นไปได้ในธุรกิจ สามารถตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนอาหารได้ ซึ่งเมนูอาหารแห่งอนาคตที่ผ่านเข้ารอบนั้น ต่างก็มีแนวคิดที่น่าสนใจ เช่น การใช้วัตถุดิบอาหารในท้องถิ่นที่เพาะปลูกด้วยแนวเกษตรอินทรีย์ ไม่พึ่งพาสารเคมี การเลือกใช้เนื้อเทียม (Plant based protein) จากโปรตีนทางเลือกที่หลากหลาย เช่น พืช เห็ด และธัญพืชต่างๆ การหาแหล่งวัตถุดิบอาหารใหม่ๆ ที่ให้สารอาหารสูง เช่น แมลง และสาหร่าย การเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการเพื่อเสริมสุขภาพในด้านต่างๆ หรือแนวคิด (Zero Waste Cooking) ที่คำนึงถึงการลดขยะเหลือทิ้งจากขั้นตอนการผลิตอาหาร โดยเมนูทั้ง 21 เมนูที่ผ่านเข้ารอบนั้น มีจุดขายและตรงกับแนวคิดของโครงการที่น่าสนใจ และผ่านกระบวนการคัดเลือกผลงานมากว่า 3 เดือน โดย วันที่ 13 ธันวาคม 2565 ได้ประกาศผลการแข่งขันกิจกรรมรังสรรค์เมนูอาหาร Plate to Planet และจัดพิธีมอบรางวัลกิจกรรมแข่งขันรังสรรค์เมนูอาหาร Plate to Planet ดังนี้

รางวัลที่ 1 เมนูขนมชั้นในอนาคต-ขนมชั้นสูตรลดน้ำตาล เสริมใยอาหารและโพรไบโอติก

ขนมชั้นนวัตกรรมใหม่ รูปทรงดอกบัวให้กลิ่นและรสน้ำตาลสด เป็นสูตรลดน้ำตาลมากถึง 40% ด้วยเทคนิคสลับชั้นหวานและจืด โดยลิ้นยังคงรับรสหวานดังเดิม เสริฟพร้อมครัมเบิ้ลมะพร้าวที่เสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์พิเศษ มีใยอาหารสูง ราดด้วยซอสโปรตีนทำจากมะพร้าว สีชมพูของขนมทำมาจากสารสกัดเปลือกแก้วมังกรที่เสถียรต่อความร้อน ช่วยลด Food-Waste ในกระบวนการผลิตได้

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ขนมไข่ผำชูกำลัง Wolffia Power Energy Dessert

มูสเต้าหู้ไข่ผำ เจลลี่น้ำผึ้งไข่ผำ กราโนล่า ครีมเต้าหู้ผำสด สูตรไม่มีเจลาตินจากสัตว์ ขนมไข่ผำชูกำลัง ซึ่งโดยทั่วไปขนมหวานแบบมูสมักมีเจลาตินจากสัตว์ ขนมทั่วไปก็ไม่ค่อยมีโปรตีน ส่วนผสมมักมีแค่ เนย ไข่ และแป้ง ส่วนเต้าหู้ในท้องตลาดก็ไม่ได้มีผลิตภัณฑ์แนวคิดแบบใหม่ เป็นที่มาของการแปรรูปเต้าหู้อาหารโปรตีนสูงให้เป็นมูสขนมหวานที่มี Functional จาก Super food ที่ให้โปรตีน วิตามิน กรดอะมิโนและสารอาหารสูงไม่ต่างจากเนื้อสัตว์และผักสลัด

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ProTim Magket

เป็นไอศกรีมสไตล์แมกนัมที่มีส่วนผสมหลักจากโปรตีนจิ้งโกร่ง นมข้าวถั่ว และกระทิ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนและวิตามินบีสูง ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยสามารถทานได้ มีคุณค่าทางอาหาร มีรสชาติที่อร่อย เป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นการใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืน ส่วนในมุมมองระดับอุตสาหกรรมนั้น สามารถจำหน่ายเป็นรูปแบบแท่งสำเร็จรูป และยังสามารถต่อยอดเป็นผงสำเร็จรูปเพื่อความสะดวกสำหรับผู้บริโภคเพื่อให้สามารถนำไปใช้ทำเป็นขนมหวานทานเองได้

รางวัล Popular Vote คาร์โบนาร่าด้วยไข่จากพืช (Vegan Cabonara)

เมนู Carbonara ที่ผลิตจากพืช 100% สำหรับสปาเกตตี้เส้นสดเลือกใช้วัตถุดิบที่ให้ค่า Gi ต่ำ มีส่วนผสมของข้าว กข 43 และผำจากฟาร์ม​ Flo Wolffia ที่ให้วิตามิน B12 สูง ตอบโจทย์คนไม่ทานเนื้อสัตว์ ส่วนซอสครีมเข้มข้นได้จากพืชผัก นมข้าวไทยกับธัญพืช​แทนนมข้าวโอ๊ตหรือนมอัลมอนด์​ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นำมาผัดกับ Whole-Food Smoked Mushroom Guanciale​/Bacon ที่ทำจากเห็ดรมควันจากไม้ไทย ใช้ไข่แดงจากพืชผักและดอกไม้ไทย มีโปรตีน​สูงใกล้เคียงไข่ไก่ รสชาติเข้มข้น ไม่มีคอเลสเตอรอล​ เลือกใช้ชีสหมักโดยมีกลิ่นหอมธรรม​ชาติจากมอลต์ข้าวไทยและธัญพืช​

นอกจากนี้ยังมีเมนูอื่นๆ ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายที่น่าสนใจมากมาย เช่น เมนูห่อหอมดวงใจ (ห่อหมก Vegan Ready to Eat) ห่อหมก Vegan ชนิดผง (Ready To Cook) ที่เปลี่ยนรูปลักษณ์ห่อหมกจากเดิมให้เป็นแบบผงที่ให้รสชาติอร่อยและเนื้อสัมผัสที่ดี เมื่อคืนรูปจากผงแล้วได้ห่อหมกที่มีความสดใหม่เหมือนนึ่งออกจากเตา สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ เมนูโครเก็ตพะแนงแพลนเบส ใช้มันเทศแทนมันฝรั่ง เลือกใช้โปรตีนทดแทนจาก ขนุน เห็ด ธัญพืช เมนูซาชิมิคอลลาเจนจากเกล็ดปลา ผสานคุณค่าไฮยารูรอนิคจากเห็ดหูหนูขาว เลือกใช้เกล็ดปลาที่เป็นของเหลือจากกระบวนการแปรรูปปลามาผลิตเป็นซาซิมิที่มีคอลลาเจน ฯลฯ

จะเห็นได้ว่าแต่ละเมนูนั้นตอบโจทย์ถึงความยั่งยืนอาหารที่จะช่วยสร้างภาวะโภชนาการแก่ทุกคนและคนรุ่นหลังต่อไป  ซึ่ง “อาหารอนาคต” นั้นจำเป็นจะต้องคำนึงถึงความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ มีประโยชน์ต่อสังคม และไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับสินค้าจากอาหารเหลือทิ้งสู่อาหารอนาคตที่มีมูลค่าสูง ที่สำคัญตรงกับคอนเซปต์ที่ว่า “ดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ และดีต่อโลก

สามารถติดตามข้อมูลเมนูอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้ที่: https://futurefoodapec.com

Asia International Hemp Expo 2022 ศูนย์รวมความต้องการเกี่ยวกับกัญชง ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานทั้งไทยและต่างประเทศจำนวนมาก

Continue reading “Asia International Hemp Expo 2022 ศูนย์รวมความต้องการเกี่ยวกับกัญชง ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานทั้งไทยและต่างประเทศจำนวนมาก”

Dramatically simplified workflow, easy-to-read plates and fewer presumptive positive colonies
to confirm

The Thermo Scientific Listeria Precis Methods “the most efficient culture-based workflows for testing foods and environmental samples for Listeria”

Continue reading “Dramatically simplified workflow, easy-to-read plates and fewer presumptive positive colonies
to confirm”

Presentation Slides: Building a Competitive Advantage in Food Industry with Uncompromised Food Safety

Interroll Seminar 2023
Building a Competitive Advantage in Food Industry with Uncompromised Food Safety
สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยความปลอดภัยอาหารอย่างเหนือชั้น
13th December 2023 @ Novotel Bangkok Suvarnabhumi Airport

นวัตกรรมการออกแบบระบบขนถ่ายตามหลักสุขอนามัยเพื่อเพิ่มความปลอดภัยสูงสุด

โดย Ing. Stephan Kronholz, Ph.D.
Vice President Hygienic Solutions
Interroll Group

ขับเคลื่อนแนวทางการปฏิบัติและจัดการอาหารปลอดภัยตลอดโซ่อุปทาน

สร้างความได้เปรียบการแข่งขันในตลาดโลกด้วยการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร

โดย ดร. เจษฎา ทิพย์มณเฑียร
สาขาการจัดการโลจิสติกส์ (นานาชาติ)
วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังFSPCA Lead Instructor

Improvement of “Bee-free honey” in the world’s first

การพัฒนา “น้ำผึ้งที่ปราศจากผึ้ง 100%” รายแรกของโลก

Fooditive ผู้บุกเบิกส่วนผสมจากพืชในประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งเป้าที่จะผลิต “น้ำผึ้งที่ปราศจากผึ้ง (Bee-Free Honey) 100%” เป็นรายแรกของโลก เริ่มทดลองในระดับอุตสาหกรรมเป็นแห่งแรกในช่วงปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ โดยใช้วิธีการผลิตแบบชีวภาพ ช่วยลดความกังวลด้านสวัสดิภาพสัตว์ เพิ่มความยั่งยืน เพราะการผลิตน้ำผึ้งในเชิงพาณิชย์นั้นอาจเป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพสัตว์ของผึ้งในฟาร์ม โดยเฉพาะ ขั้นตอนการผสมเกสรที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคผึ้ง และนำไปสู่การลดลงของประชากรผึ้งได้

การผลิตน้ำผึ้งที่ปราศจากผึ้ง ผลิตโดยการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพที่ได้รับการจดสิทธิบัตรเช่นเดียวกับการสร้าง Casein Vegan ที่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ไปเมื่อปีที่แล้ว โดยการคัดลอก DNA ของน้ำผึ้งลงในยีสต์สายพันธุ์ที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะ เมื่อผ่านการเลี้ยงด้วยอาหารและหมักเพื่อจำลองกระบวนการเมตาบอลิซึมที่เกิดขึ้นในกระเพาะอาหารของผึ้ง ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับน้ำผึ้งที่ผลิตจากผึ้ง ตั้งแต่รสชาติ สี และความหนืด รวมไปถึงคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยการทดลองผลิตในห้องปฏิบัติการซึ่งใช้ถังหมักขนาด 1,000 ลิตร และส่งตัวอย่างไปให้ลูกค้าได้ทดสอบผลิตภัณฑ์อีกด้วย

Moayad Abushokhedim ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Fooditive กล่าวไว้ว่า “เป้าหมายของเราคือการจัดหาน้ำผึ้งที่ปราศจากผึ้ง 100% เป็นรายแรกของโลกโดยไม่ลดทอนทั้งรสชาติ คุณภาพ หรือราคา รวมถึงกระบวนการดัดแปลงพันธุกรรมของเราที่เป็นที่ยอมรับก่อนหน้า คือ Casein Vegan เราเชื่อว่ากระบวนการนี้เป็นก้าวสำคัญในการปฏิวัติความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมอาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพที่สามารถเลียนแบบผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้ หรือแม้แต่การปรับปรุงส่วนผสมจากพืชด้วยกระบวนการวิศวกรรมชีวภาพ”

ตลาดน้ำผึ้งทั่วโลกคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 5.2% ระหว่างปี 2565-2573 เนื่องจากความต้องการที่มากขึ้นของผู้บริโภคที่ต้องการลดการใช้น้ำตาลทรายขาว และเน้นการใช้ส่วนผสมที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น ซึ่งน้ำผึ้งนั้นอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และแคลเซียม อีกทั้งยังมีประโยชน์ทางการแพทย์ โดยมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านจุลชีพ และต้านมะเร็ง

Fooditive is a plant-based ingredient manufacturer in the Netherlands. Dutch plant-based ingredients pioneer Fooditive will begin large-scale production trials of the world’s first 100% bee-free honey in the New Year. By mass-producing bio-identical honey will address consumer concerns about animal welfare and sustainability. The development of Fooditive’s bee-free honey has been driven by concerns that common apicultural management practices in commercial beekeeping can be detrimental to the welfare of farmed honeybees and wild bee species that together play a vital role in pollination, increasing the risk of disease that can lead to colony collapse and declining wild populations.

Leveraging the same patented biotech process already used to create Fooditive’s revolutionary vegan casein, which was launched last year, honey DNA is copied into a proprietary strain of yeast. When fed with nutrients and precision-fermented to replicate the metabolic processes that occur in the honeybee’s stomach, this yields a product with the same characteristics and functionality of bee-produced honey – from taste, color, and viscosity to its health benefits. The production trials will recreate the lab-proven concept in 1,000-litre fermenters, with samples to be made available for potential customers to test out in their own applications.

Fooditive founder and CEO Moayad Abushokhedim said: “Our goal is to provide the world’s first 100% bee-free honey with no compromise on taste, quality or price. The process of genetic sequence modification used in our honey already has an established track record with our vegan casein. We believe our process will be the stepping stone for a revolutionary advancement in the food and biotechnology industries, enabling any animal product to be mimicked and even improved by bioengineering plant-based ingredients.”

The global honey market is expected to grow at a CAGR of 5.2% between 2022 and 2030 due to increased demand from consumers who want to reduce white sugar use and focus on more nutritious ingredients. Honey is rich in vitamins, minerals, and calcium and also has medical applications, displaying anti-inflammatory, antioxidant, antimicrobial, and anti-cancer activity.