การจัดการคลังสินค้า และความสำคัญ

คลังสินค้าก็เปรียบเสมือนบ้านของสินค้าทำหน้าที่เก็บและรักษาสินค้า บ้านก็มีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นในแต่ละวัน คลังสินค้าก็เช่นกันมีทั้งกิจกรรมหลักและกิจกรรมย่อยเที่เกิดขึ้น

การจัดการคลังสินค้าเป็นคำรวมระหว่าง “การจัดการ” คือการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิผล กับ “คลังสินค้า” คือสถานที่ที่เก็บรักษาสินค้าในปริมาณมากเพราะฉะนั้นการจัดการคลังสินค้าคือกระบวนการการบูรณาการทรัพยากรต่างๆเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมคลังสินค้าเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ความสำคัญของการจัดการคลังสินค้า นอกจากจเป็นที่จัดเก็บวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อย่างต่อเนื่องแล้ว ยังช่วยรักษาความต้องการในตลาดและการกระบวนผลิตให้มีความสมดุลกัน เนื่องจากความต้องการในตลาดไม่แน่นอนแต่การผลิตมีความแน่นอน อีกทั้งยังทำหน้าที่รวบรวมสินค้าต่างชนิดจากโรงงานหลายๆ แห่ง เอามาไว้ที่เดียวกัน ก่อนจะส่งต่อให้ตรงกับความต้องการของตลาด

กิจกรรมหลักในงานคลังสินค้า

ในแต่ละคลังสินค้ามีความแตกต่างกันในระบบงานย่อยๆ แต่กิจกรรมหลักๆในคลังสินค้าก็ไม่แตกต่างกันโดยแบ่งได้ 4 กิจกรรมหลักๆดังนี้

  • งานรับสินค้า (Good recipient ) กิจกรรมต่างๆที่ปฏิบัติในขณะที่สินค้าส่งมายังคลังสินค้าเพื่อการจัดเก็บโดยมีกิจกรรมย่อยดังนี้
    1. การตรวจพิสูจน์ทราบ เป็นการปฏิบัติเพื่อรับรองความถูกต้องในเรื่อง ชื่อ แบบหมายเลข สินค้าคืออะไร ใช้ทำอะไรหรือข้อมูลอื่นๆที่จำเป็น
    2. การตรวจสภาพ ตรวจสภาพ จำนวนและคุณสมบัติของสินค้าถูกต้องตามเอกสารการส่งหรือไม่
    3. การตรวจแยกประเภท สินค้าบางอย่างต้องแยกประเภทเพื่อสะดวกในการรักษา
  • งานจัดเก็บสินค้า (Bulk storage) การขนย้ายสินค้าจากพื้นที่รับสินค้าเข้าไปยังตำแหน่งจัดเก็บและจัดวางสินค้าให้เป็นระเบียบ รวมถึงการบันทึกเอกสารเก็บรักษาที่เกี่ยวข้อง เช่น บัตรตำแหน่งเก็บป้ายประจำกองสินค้า และพิจารณาเครื่องมือยก (Forklift) ให้เหมาะสมกับลักษณะสินค้าตัวนั้นๆ
  • งานดูแลรักษา (Stock maintain) เป็นภาระรับผิดชอบผู้เก็บรักษาสินค้า ป้องกันความเสียหาย สูญหายเสื่อมสภาพ สภาพอากาศและการทำลายของสัตว์และแมลง รวมทั้งป้องกันการการโจรกรรมจากพนักงานในคลังสินค้าหรือบุคคลภายนอก ประกอบด้วยงานย่อยต่างๆดังนี้
    1. การตวจสภาพ จะต้องมีการตรวจสภาพด้วยสายตาประจำวัน ตรวจละเอียดตามระยะเวลา
    2. การถนอม สินค้าบางประเภทย่อมต้องการถนอมตามระยะเวลา เช่น สินค้าที่อาจเกิดสนิม
    3. การตรวจสอบ คือการตรวจนับสินค้าที่เก็บรักษาให้ตรงสอบยอดกับบัญชี
  • งานจัดส่งสินค้า (Goods dispatch) มีขั้นตอนย่อยดังนี้
    1. การเอาออกจากที่เก็บ (Picking) เป็นการเลือกเอาสินค้าจากพื้นที่ต่างๆรวมกันพื้นที่จัดส่ง
    2. การบรรจุหีบพอหรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้มั่นคงแข็งแรงป้องกันความเสียหายในการขนส่งไปยังจุดหมายปลายทาง
    3. การทำเครื่องหมาย เช่น ชื่อสินค้า จำนวนน้ำหนัก ปริมาตร ข้อความระบุว่าแตกง่าย ห้ามโยน
    4. การบรรทุกและการส่งมอบ นำสินค้าจากพื้นที่ที่จัดส่งไปที่มียานพาหนะขนส่งจอดรอรับอยู่ และต้องมีเอกสารส่งมอบสินค้ากับผู้ขนส่งสินค้า เมื่อได้ส่งมอบแล้ว ได้สิ้นสุดกิจกรรมของการคลังสินค้า

กิจกรรมหลักในงานคลังสินค้า คนส่วนใหญ่อาจมองว่าเป็นงานที่ง่ายแค่เก็บสินค้าแต่ที่จริงแล้วมีรายละเอียดและกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน ต้องมีความรับผิดชอบต่อสินค้าทุกชิ้นที่เก็บ ถ้าสูญหายหรือเสียหายก็คือค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เพิ่มขึ้น

การบูรณาการระบบในคลังสินค้ายุคใหม่ ในปัจจุบัน เพื่อการจัดการและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เช่น การนำเทคโนโลยี RFID มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า

องค์ประกอบของ RFID มีอยู่ 3 ส่วนด้วยกันได้แก่ ส่วนแรกคือทรานสปอนเดอร์หรือป้าย (TransponderหรือTag) จะประกอบด้วยเสาอากาศและไมโครชิปสำหรับบันทึกข้อมูล ส่วนที่สองคือ เครื่องอ่าน เขียน ข้อมูลภายในป้าย(Interrogator หรือTag)  โดยอาศัยคลื่นความถี่วิทยุในการทำงาน ส่วนที่สาม คือระบบประยุกต์การใช้งาน ระบบฐานข้อมูล ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละองค์กรณ์

ลักษณะ RFID มีอยู่ 2 แบบคือ Active Tag เป็นชนิดที่มีแบตเตอรีอยู่ภายใน จึงสามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ มีอายุการใช้งานตามอายุของแบตเตอรี่เป็นชนิดที่มีกำลังส่งสูง และสามารถทำงานได้ดีในบริเวณที่มีสัญญาณรบกวน และ  Passive Tag เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมมากกว่า มีอายุการใช้งานไม่จำกัด เนื่องจากไม่ได้ใช้แบตเตอรี่ และอาศัยพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากการเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล้กไฟฟ้า จะมีปัญหาเมื่อนำไปใช้งานในสถานที่มีสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี RFID ในปัจจุบันก็ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการนำมาใช้ในการจัดการคลังสินค้าในปัจจุบัน และสามารถส่งเสริมประสิทธิภาพในคลังสินค้าได้อย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น การใช้ในการบันทึกแหล่งผลิตอาหาร จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หากมีเหตุการณ์ที่มีสารปนเปื้อนในอาหาร จะทำให้เราทราบได้อย่างแน่ชัดว่ามาจากแหล่งผลิตใด ทำให้เราแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงหากมีการบันทึกข้อมูลยาภายในโรงพยาบาลอย่างชัดเจน จะทำให้การเลือกใช้ยาได้เหมาะสมตามข้อบ่งชี้และข้อห้ามของผู้ป่วย รวมทั้งสามารถดูอายุยาเพื่อป้องกันการใช้ยาหมดอายุ เป็นต้น

 

โดย บริษัท เบทเตอร์แพค จำกัด

Interroll intensifies exchange of expertise with digital channels

 

Interroll เพิ่มการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญ ผ่านช่องทางดิจิตัล

21 เมษายน 2563 เซนต์ แอนโตนิโน การแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์เพียงแค่คลิ๊กเมาท์ Interroll กำลังขยายความเชื่อมโยงกับลูกค้า ทั้งในแนวกว้างและลึก ด้วยบริการใหม่ๆทางออนไลน์ โดยจากนี้เป็นต้นไป ลูกค้าสามารถเข้าจองและรับการฝึกอบรม หรือรับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญได้อย่างง่ายดายผ่านทางอินเตอร์เน็ต และยังสามารถเข้าถึงวิดิโอสั้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมต่างๆได้อีกด้วยนับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าที่สำคัญที่ Interroll Academy นำเสนอ ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา ได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนและเบื้องหลังของการถ่ายทอดความรู้ระหว่างเหล่าพนักงาน ลูกค้า และพันธมิตรธุรกิจ โปรแกรมการเรียนรู้ ที่นำเสนอโดย ศูนย์ฝึกอบรมและความร่วมมืออย่างกว้างขวาง(Group-wide Training and Collaboration Center) ช่วยสร้างความมั่นใจต่อการผนวกรวมอย่างไร้รอยต่อของวิธีการเรียนรู้ เทคนิค และเอกสารคู่มือ ด้วยวิธีการเหล่านี้ สิ่งที่ได้เรียนรู้จะถูกนำไปปฏิบัติและต่อยอดอย่างมีประสิทธิภาพ Interroll Academy มีการประสานความร่วมมือกับองค์กรระดับแนวหน้าของโลก เช่น สถาบัน Fraunhofer Institute for Material Flow and Logistics ในด็อทมุนด์ เยอรมนี และ สถาบัน Krauthammer

ด้วยระบบการเรียนการสอนแบบ E-learning ที่นำเสนอโดย Interroll Academy ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาการฝึกอบรมทางออนไลน์ได้จากทุกที่ทุกเวลา ตัวอย่างหนึ่งของหัวข้อการฝึกอบรมคือ โปรแกรมออกแบบเลย์เอาท์ ซึ่งเป็นโปรแกรมการออกแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับโซลูชั่นการไหลของวัสดุอีกหนึ่งความเป็นไปได้ของการแลกเปลี่ยนโนว์ฮาว ที่รวดเร็ว ครอบคลุม และตรงกลุ่มเป้าหมาย คือการจองออนไลน์สำหรับรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญอย่างส่วนตัว เช่น การปรึกษาปัญหาด้านเทคนิคหรืออุตสาหกรรม นอกจากนี้ คลิปวิดิโอสั้นที่เต็มไปด้วยความรู้ ก็ทำให้ผู้ที่สนใจได้รับข้อมูลและความรู้สำคัญๆเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ เช่น อาหาร หรือ แฟชั่น

“นอกจากเราจะให้ความมั่นใจต่อลูกค้าและพันธมิตรธุรกิจ ในด้านคุณภาพ ความรวดเร็ว และความสะดวกในผลิตภัณฑ์และบริการจาก Interroll เรายังรักษาคำมั่นสัญญาในโลกติจิตัลอีกด้วย ด้วยการเพิ่มช่องทางการมีปฏิสัมพันธ์ ที่ทำให้ลูกค้าและพันธมิตรของเราสามารถเข้าถึงความเชี่ยวชาญของเราได้มากขึ้น และสะดวกยิ่งขึ้น”  กล่าวโดย มร. Jens Karolyi, Senior Vice President Corporate Marketing & Culture แห่ง  Interroll Group

 

 

Sant’Antonino, Switzerland. April 21, 2020. Exchange of information and experience at the click of a mouse: Interroll is expanding and deepening interactive contact with its customers with new online services. From now on, training events for customers can be easily booked and conducted via the Internet, meetings with experts can be organized, and short videos on important industry topics can be accessed.

 

An important cornerstone of the new offering is the Interroll Academy, which for many years has been the driving force behind the transfer of knowledge between employees, customers and partners. The integrated learning programs offered by the Group-wide training and collaboration center ensure a seamless combination of different learning methods, techniques and materials. In this way, what has been learned can be optimally deepened and applied. The Interroll Academy cooperates with leading organizations such as the Fraunhofer Institute for Material Flow and Logistics in Dortmund, Germany, and Krauthammer.

With the new e-learning offering by the Interroll Academy, users can access online training content from anywhere at any time. One example of the range of programs on offer is the user training course on the Interroll Layout designer, the popular planning software for the user-friendly design of complete material flow solutions.

Another possibility for a fast, targeted and worldwide exchange of know-how is the online booking of personal expert discussions, for example on technical or industry-specific issues. In addition, informative short videos—educational clips—provide interested parties with a quick introduction to topics that affect important industries such as the food or fashion industry.

“Our customers and partners rely on quality, speed and simplicity from Interroll. We consistently deliver on this promise in the digital world as well. By further expanding our channels for virtual interaction, they can now access our expertise even more easily and enter into a professional exchange with us,” explains Jens Karolyi, Senior Vice President Corporate Marketing & Culture of the Interroll Group.

สถาบันอาหารเผยโควิด-19 พลิกโฉมแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารในเอเชีย

18 พ.ค. 2563 – สถาบันอาหาร เผยแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารในเอเชียเปลี่ยน ชี้โควิด-19 เป็นตัวเร่งสำคัญ ผู้บริโภคต้องการอาหารที่มีนวัตกรรมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายรูปแบบต่างๆ  ส่วนอาหารพร้อมปรุง อาหารพร้อมรับประทาน อาหารที่มีอายุเก็บรักษานาน และอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและดีต่อสุขภาพมีอัตราเติบโตสูง  ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมการซื้ออาหารกลับไปรับประทานที่บ้านมากขึ้น เกิดกิจกรรมการปรุงอาหารรับประทานเองมากขึ้น และนิยมซื้อทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็น New Normal แนะผู้ประกอบการแปรรูปอาหารของไทยต้องปรับกลยุทธ์ตอบโจทย์ตลาดให้ทัน สร้างช่องทางจำหน่ายแบบออนไลน์อย่างจริงจัง จับมือพันธมิตรด้านขนส่ง สร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้า คุณภาพและความปลอดภัย สถาบันอาหารพร้อมดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่ม SME ในระยะสั้นด้วยการมอบสิทธิประโยชน์ เพื่อบรรเทาภาระของผู้ประกอบการ เช่น ส่วนลดในการใช้บริการด้านต่างๆ ทั้งยังคงสนับสนุนผู้ประกอบการในเกือบทุกภาคทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการที่หลากหลาย

นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (Food Intelligence Center) สถาบันอาหาร ได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคและอุตสาหกรรมอาหารในเอเชียช่วงสถานการณ์โควิด-19  พบว่า ผู้บริโภคมีความต้องการอาหารที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ซึ่งจะเป็นโอกาสของแบรนด์ต่างๆ ในการสร้างสินค้านวัตกรรมที่จะช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันของโรคในอนาคต เช่น ผู้บริโภคเวียดนาม นิยมรับประทานกระเทียมดำ เพื่อช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย หรือผู้บริโภคฟิลิปปินส์ นิยมรับประทานผลิตภัณฑ์จากมะรุมและน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มากขึ้น ส่วนผู้บริโภคสิงคโปร์มีความต้องการวิตามินซีและวิตามินรวมมากขึ้น 3-5 เท่า สำหรับในญี่ปุ่น โรงงานแปรรูปอาหารต่างๆ หันมาเน้นช่องทางค้าปลีกเพื่อผู้บริโภคโดยตรงมากกว่าป้อนช่องทางธุรกิจบริการอาหารต่างๆ อาหารที่มีอายุเก็บรักษานานมียอดขายเติบโดมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเครื่องดื่ม เป็นต้น

ที่เกาหลีใต้ บริษัท CJ CheilJedang บริษัทชั้นนำเกาหลีใต้ด้านอาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ ได้เผยแพร่ผลงานวิจัย “2020 HMR Trend” หลังเกิดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ว่าชาวเกาหลีใต้เน้นการประหยัดระยะเวลาในการเตรียมอาหาร โดยรับประทานอาหารที่บ้านมากขึ้นราวร้อยละ 83 ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีก่อน มีการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอาหารพร้อมรับประทานที่เติบโตขึ้นกว่าร้อยละ 46.4 เช่น สินค้าอาหารที่ใช้การทอดอย่างเดียว หรือที่ใช้ไมโครเวฟอุ่น รวมถึงสินค้า Meal Kit ที่ใช้วิธีปรุงแค่เทส่วนประกอบอาหารทั้งชุดลงไปในหม้อและต้มอย่างเดียว  ขณะเดียวกันยังเกิดพฤติกรรมรับประทานอาหารมื้อดึกหรือมือที่ 4 เพิ่มมากขึ้น เรียกว่า “4th Meal” อาหารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ สินค้าไก่แช่แข็ง เช่น ไก่ทอด ไก่นักเก็ต นอกจากนี้ยังมีเกี๊ยวซ่าแช่แข็ง ไส้กรอก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวพร้อมรับประทาน ลูกชิ้น เบเกอรี่แช่แข็ง เป็นต้น โดยผู้บริโภคยังให้ความสำคัญเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดีต่อสุขภาพแม้ว่าราคาจะสูงก็ตาม

ด้านบริษัทวิจัย Nielsen สำรวจความคิดเห็นผู้บริโภค 11 ประเทศในเอเชีย หลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 86 ในจีน จะรับประทานอาหารที่บ้าน รองลงมาคือ ฮ่องกง ร้อยละ 77 และมาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้ ร้อยละ 62  โดยพบว่ามูลค่าค้าปลีกอาหารในเอเชียมีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 20-25 ต่อสัปดาห์ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา

นางอนงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดอาหารในเอเชียมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กลายเป็นตลาดที่บ่มเพาะสินค้านวัตกรรมมากขึ้น วิถีชีวิตผู้บริโภคที่กลายเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ธุรกิจบริการจัดส่งอาหาร(Food Delivery) เติบโตขึ้น สถานการณ์โควิด-19 กำลังเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดการซื้อกลับไปรับประทานที่บ้านและเกิดกิจกรรมการปรุงอาหารรับประทานเองมากขึ้น เช่น ในญี่ปุ่นและไทย พฤติกรรมนี้จะกลายเป็นเรื่องปกติของวิถีการใช้ชีวิตแบบใหม่(New Normal) โดยเป็นการสั่งซื้อผ่านออนไลน์มากขึ้นด้วย

            “การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคทำให้ธุรกิจการให้บริการอาหาร ธุรกิจค้าปลีก และผู้ผลิตอาหารจำเป็นต้องปรับตัว และเมื่อมีสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่ง ผู้ประกอบการ แปรรูปอาหารยิ่งต้องปรับกลยุทธ์ของตนอย่างรวดเร็ว จึงจะตอบสนองทันต่อความต้องการ การสร้างช่องทางจำหน่ายแบบออนไลน์อย่างจริงจังกลายเป็นโอกาสของธุรกิจขนาดเล็กที่เข้าถึงได้ง่ายเพราะต้นทุนไม่สูง และต้องหาพันธมิตรมาช่วยเรื่องการจัดส่งสินค้า แต่สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือการสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ ในสถานที่ผลิต และการให้ข้อมูลผู้บริโภคเพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของอาหาร เชื่อว่าทุกคนจะผ่านวิกฤตนี้ไปได้หากพร้อมปรับตัว”

นางอนงค์ กล่าวว่าในส่วนของสถาบันอาหารได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มกลุ่ม SME ในระยะสั้นด้วยการมอบสิทธิประโยชน์ เพื่อบรรเทาภาระของผู้ประกอบการในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เช่น ส่วนลดในการใช้บริการศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่วนลดในการใช้บริการห้องปฏิบัติการวิเคราะห์  ส่วนลดในการใช้บริการตรวจสอบหรือรับรองระบบ และส่วนลดในการใช้บริการฝึกอบรมแก่บุคลากร โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำหลักสูตรออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการในการเตรียมความพร้อมที่จะดำเนินธุรกิจหากสภาพการค้าเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนผู้ประกอบการในเกือบทุกภาคทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการต่างๆ อาทิ “โครงการสร้างความเข้มแข็ง เครือข่ายผลิตและแปรรูปผลไม้ เกษตรอินทรีย์เกษตรปลอดภัยครบวงจรด้วยระบบคุณภาพและนวัตกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภาคตะวันออก” ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และสระแก้ว เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยให้คำปรึกษาเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และตรวจวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยอาหาร

“โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มศักยภาพสู่ตลาดสากลปี 2563” ดำเนินการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ธุรกิจเพื่อต่อยอดเป็นการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยชุมชน เน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรด้านมาตรฐานบริการและสินค้าเพื่อลดจุดอ่อนสร้างจุดแข็ง และให้คำปรึกษาเชิงลึกพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ “โครงการ SME Regular Level ปี 2563”  ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ฉลากโภชนาการแบบไทยและต่างประเทศ ตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ(สินค้าปลอดภัย) หรือสอบเทียบเครื่องมือวัด  “โครงการเตรียมความพร้อมอุตสาหกรรมอาหารสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในกระบวนการผลิต”  “โครงการพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมสู่ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป” ในพื้นที่ จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส  “โครงการการเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมสมุนไพรปี 2563”  ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา และสตูล  “โครงการยกระดับและเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องเชิงสุขภาพ” ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี พังงา ชุมพร ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง  พัทลุง  สงขลา และสตูล และโครงการพัฒนาช่องทางการตลาดเชิงลึกสำหรับผู้ประกอบการ SME ปี 2563  เป็นต้น

ทั้งนี้ผู้ประกอบการ SME หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่างๆ สามารถสอบถามรายละเอียด หรือขอรับบริการที่เกี่ยวข้องได้ที่สถาบันอาหาร โทร. 02 422 8688 หรือติดตามข่าวสารเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ www.nfi.or.th และทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ NFI SmartClub

MT FOOD SYSTEMS LAUNCHES AR TECHNOLOGY AMIDST COVID-19 OUTBREAK

 

เอ็มที ฟู้ดซิสเทมส์เปิดตัวเทคโนโลยีเออาร์ท่ามกลางโรคระบาดโควิด-19

 

การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้หลายคนมีโอกาสความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีร่วมมือกันปฏิบัติงานผ่านทางไกล เช่น Skype, Zoom และ Team Viewer มากขึ้น เทคโนโลยีเหล่านี้ดูเหมือนจะมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อวิถีปฏิบัติแบบใหม่ในหลายภาคอุตสาหกรรมเนื่องด้วยนโยบายจำกัดการเดินทางหรือแม้กระทั่งการปิดประเทศในพื้นที่หลายแห่งของโลก

“วิกฤตครั้งนี้ทำให้เราต้องปรับตัวเข้ากับวิธีปฏิบัติงานแบบใหม่ท่ามกลางนโยบายเว้นระยะห่างทางสังคม เราจึงตัดสินใจลงทุนนำเทคโนโลยีเออาร์ (ความเป็นจริงเสริม) มาใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้าของเรา เราควรเปลี่ยนวิกฤตนี้ให้เป็นโอกาสในการทดสอบศักยภาพศูนย์ทดลองของเราและผลักดันให้เทคโนโลยีทดลองสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง ความพยายามนี้จะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญของเราในสาขาต่าง ๆ อย่างฝ่ายวิศวกรรมและฝ่ายทำนุบำรุงสามารถนำความรู้มาปรับใช้ได้ในหลายพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่นั้น ๆ ด้วยตัวเอง ทีมงานให้บริการของเราพร้อมที่จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่แก่ลูกค้าของเราผ่านระบบทางไกลเพื่อช่วยแก้ปัญหาในทุกกรณี” คุณเชษฐ เมฆทวีกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มที ฟู้ด ซิสเทมส์ จำกัด อธิบาย

“ในช่วงแรกเราจะนำเทคโนโลยีเออาร์มาใช้กับเครื่องจักรหลัก ๆ ของเราก่อน หลังจากนั้นเราจะค่อย ๆ พัฒนาเทคโนโลยีนี้และประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรอื่น ๆ ที่เหลือในธุรกิจของเรา สุดท้ายแล้วเครื่องจักรทุกเครื่องของบริษัทก็จะมีเทคโนโลยีเออาร์ติดตั้งอยู่ครบทุกเครื่อง นี่คือเป้าหมายของเราและเราหวังว่าจะทำให้มันเป็นจริงได้เร็วที่สุดเท่าที่เราจะเป็นไปได้ สุดท้ายนี้เราขออวยพรให้ผู้ประกอบอาชีพด้านอาหารและเครื่องดื่มทุกท่านโชคดี ขอให้ทุกท่านปลอดภัยและเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันครับ” คุณเชษฐ เมฆทวีกูล กล่าวสรุป

 

The COVID-19 pandemic has already led many people to become acquainted with remote collaboration technologies such as Skype, Zoom, and Team Viewer. These technologies seem to be increasingly more essential for the new norms in many industries as most parts of the world are going into lockdown, or even shutdown in some countries.

“This crisis has forced us to adjust to new ways of working among the social distancing campaigns, so we have decided to invest in and adopt AR (Augmented Reality) technology for the sake of our customer’s highest benefit. We should take the crisis as an opportunity to trial our test center and make experimental technologies more applicable in a real-world scenario. This will allow our highly skilled experts in fields such as engineering and maintenance to apply their knowledge in multiple locations without having to travel physically. Our service team will do its best to promptly support the customers via remote access for all troubleshooting cases.” explained Mr.Chej Mektaveekul, Managing Director of MT Food Systems Co., Ltd.

“Initially, AR technology will be applied to our core machines. However, we will then gradually develop the technology and apply it to the rest in our business, and eventually all MTFS machines will be AR-equipped. This is our aim, and we wish to make it happen as soon as we can. Finally, we wish all the food and beverage professionals all the best. Stay safe, and we will get through this crisis together.” wrapped up Mr.Mektaveekul.

ซีอีโอของสตาร์บัคส์เชื่อมั่นว่า ผู้คนล้วนต้องการ “Third Place” อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

เควิน จอห์นสัน ประธานกรรมการบริหาร ของสตาร์บัคส์ ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงลูกค้าและพนักงาน หรือ ที่สตาร์บัคส์เรียกว่า “พาร์ทเนอร์” ทั่วโลก หลังจากที่ร้านสาขาในสหรัฐอเมริกาได้ทยอยกลับมา “เปิดให้บริการอย่างรับผิดชอบ” (responsibly re-opened) อีกครั้งเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา

ในขณะที่ผู้คนทั่วโลกเริ่มออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน สตาร์บัคส์พร้อมเข้าสู่กลยุทธ์ “now normal” ซึ่งเป็นคำที่สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมในการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาของสตาร์บัคส์ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า โดยยังคงคำนึงถึงและให้ความสำคัญต่อสุขอนามัยและความปลอดภัยของลูกค้าและพาร์ทเนอร์เป็นหลักสำคัญ

“ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ผู้คนทั้งโลกต่างต้องรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ภาพแห่งพลังความร่วมมือร่วมใจของมวลมนุษยชาติ ภาพของผู้คนที่เสียสละทำงานเพื่อส่วนรวม อีกทั้งความกล้าหาญ ความมุ่งมั่นตั้งใจ และทัศนคติเชิงบวกของทุกคน คือแรงบันดาลใจและแรงผลักดันให้พวกเราทุกคนก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้” คุณเควินกล่าว

“หลังจากที่พวกเราในอเมริกาต้องอยู่บ้านมาเป็นเวลากว่า 7 สัปดาห์ เราได้ติดตามสถานการณ์ ปรับตัวอย่างรวดเร็ว และเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ยุค now normal” คุณเควินกล่าว “และเมื่อทุกคนเริ่มทยอยออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน เราต่างโหยหาและต้องการกลับมามีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน อย่างไรก็ตาม ลูกค้ายังคงต้องการประสบการณ์ที่ปลอดภัย คุ้นเคย และสะดวกสบาย ดังนั้น เราจะนิยามอนาคตของสตาร์บัคส์ไปตามความต้องการของลูกค้า และสังคมที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา โดยคำนึงถึงสุขอนามัยและความปลอดภัยเป็นอันดับแรก”

“สตาร์บัคส์มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ Third Place หรือ บ้านหลังที่สาม ของผู้คน เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ลูกค้าต้องการ นั่นคือ ความปลอดภัย ความคุ้นเคย และความสะดวกสบาย” คุณเควินกล่าว “คำว่า บ้านหลังที่สาม นี้นับเป็น mindset ของสตาร์บัคส์ เป็นเหมือนความรู้สึกอบอุ่นสบายใจที่เราส่งมอบให้ลูกค้าทุกคนในทุกที่ และคงไม่มีช่วงเวลาใดที่ บ้านหลังที่สาม จะสำคัญมากไปกว่าเวลานี้อีกแล้ว เพราะเป็นเวลาที่ทุกคนอยากกลับมาพบเจอ พูดคุย และเยียวยาหัวใจในช่วงเวลาที่ขาดหายไป”

“และในช่วงของการปรับตัวนี้ สตาร์บัคส์ยังคงให้ความสำคัญกับพันธกิจของเราเหมือนเช่นเคย ในการเป็นเสมือนแรงบันดาลใจและหล่อหลอมจิตวิญญาณให้กับมวลมนุษย์ กับนโยบาย ครั้งละแก้ว ครั้งละบุคคล และครั้งละชุมชน”

สำหรับสตาร์บัคส์ ประเทศไทย ก็ยึดถือแนวทางที่ประธานกรรมการบริหารได้วางไว้ และพร้อมปรับเปลี่ยนแนวทางที่อาจมีความแตกต่างจากเดิม โดยจะคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้าและพาร์ทเนอร์ (พนักงาน) เป็นสำคัญ และเพื่อสืบสาน
พันธกิจของการเป็น บ้านหลังที่สาม ของลูกค้าเช่นเคย ร้านบางสาขาของสตาร์บัคส์ได้เริ่มกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในสัปดาห์นี้ และเริ่มให้บริการที่นั่งแบบเว้นระยะห่างเฉพาะบางสาขา ตามแนวทางและมาตรการล่าสุดจากรัฐบาล นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถเลือกซื้อเครื่องดื่มแก้วโปรดผ่านบริการเดลิเวอรี่ใน Grab และ Foodpanda อีกทั้งช่องทางไดรฟ์ ทรูว์และบริการ Call & Pick Up ที่ลูกค้าสามารถโทรสั่งเครื่องดื่มให้มาส่งที่รถได้เช่นกัน

ลูกค้าสามารถคลิกไปที่ www.facebook.com/StarbucksThailand เพื่อตรวจสอบสาขาที่ให้เปิดให้บริการ หรือคลิกอ่านจดหมายฉบับเต็มจาก เควิน จอห์นสัน ได้ที่เว็บไซต์ Starbucks Stories & News

PepsiCo launched 2 new websites to move into DTC Game

According to foodindustryexecutive, PepsiCo is now getting into the DTC game. Daily online sales for grocery jumped 110% in April, according to Adobe’s Digital Economy Index (DEI). This is, of course, due to the current pandemic, which is driving e-commerce across the board.

But will it last? That’s the question.

Some big packaged food companies are acting like they think it might, including PepsiCo, which recently launched two new websites: PantryShop.com and Snacks.com.

Small brands have been selling their products directly for a while now, but the fact that larger producers are jumping on the bandwagon suggests this new channel might be here to stay.

“One suspects D2C may become a new normal as both shoppers and producers alike realize its benefits – after all, who wants to lug heavy cans of food around the supermarket and then get them home, which is perhaps something Kraft Heinz considered when it launched its D2C service for bundles of baked beans and soups in April,” wrote GlobalData Food Correspondent Simon Harvey in an email to Food Industry Executive.

Harvey’s comment highlights an important aspect of the new DTC initiatives: they’re selling product bundles. Kraft Heinz uses the bundle model at the DTC store it currently runs in the UK, offering packs of canned foods, sauces, and baby foods.

PepsiCo followed suit. As of this writing, PantryShop.com has seven bundles available, including the Everyday Pantry Pack and the Rise and Shine Pack, both available in standard and family sizes. Snacks.com offers individual bags of Frito Lay products, but requires a minimum order of $15, which makes them much less of an impulse purchase.

It’s early days, so it’s unclear how much these new DTC ventures will impact traditional grocery shopping, either in-store or online. Current thinking is that the impact will be minimal. “D2C platforms are not expected to replace existing channels, at least among the big food manufacturers anyway, but are more intended to be complementary to them,” Harvey said.

As with all of the other changes that the pandemic has brought on, we’ll just have to wait and see.

Ministry of Commerce launched intensive courses “Smart Farmer” to boost up e-commerce skills

 

พาณิชย์ เร่งกระตุ้นภาคการเกษตรเปิดหลักสูตรเร่งรัด “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” อัพสกิลเกษตรกรไทย ขายออนไลน์ตรงถึงผู้บริโภค ฝ่าวิกฤตโควิด-19

13 พฤษภาคม 2563, กรุงเทพฯ – กระทรวงพาณิชย์ ผนึกกำลังภาครัฐและเอกชนออกมาตรการช่วยเหลือและสร้างโอกาสให้กับเกษตรกรไทยในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยการส่งเสริมความรู้ด้านการส่งออกและทักษะการขายบนแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ ภายใต้การสัมมนาหลักสูตร “Smart Farmer ออนไลน์สู่ตลาดโลก” พร้อมติดอาวุธ 2 เรื่องสำคัญให้กับเกษตรกรไทย ได้แก่ 1) การให้ความรู้ด้านการส่งออกเบื้องต้นสำหรับเกษตรกรเพื่อผลักดันการส่งออก และ 2) การผลักดันเกษตรกรเข้าสู่การค้าออนไลน์ที่เหมาะสม การจัดสัมมนานี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2563 ณ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน

 

หนึ่งในนโยบายและแผนงานที่สำคัญของกระทรวงพาณิชย์ คือ การเร่งส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งและเร่งสนับสนุนการส่งออก โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตร กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จึงได้จัดโครงการสัมมนาหลักสูตร “Smart Farmer ออนไลน์สู่ตลาดโลก” ในรูปแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันชาวนาและเกษตรกรไทยรุ่นใหม่ให้ได้เรียนรู้เรื่องการส่งออก จากการที่ได้รับทราบถึงปัญหาของชาวนาและเกษตรกรไทยรุ่นใหม่นั้น พบว่ากลุ่มดังกล่าวมีความต้องการที่จะรับทราบความรู้เบื้องต้นในการส่งออก เนื่องจากที่ผ่านมา ชาวนาและเกษตรกรไทยรุ่นใหม่ได้มีการส่งออกบ้างแล้ว แต่ยังไม่ทราบวิธีการส่งออกที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในเรื่องของขั้นตอนและกฎระเบียบต่างๆ ที่จำเป็น รวมทั้งเรียนรู้เรื่องการค้าออนไลน์อย่างครบวงจร พร้อมยกระดับให้ก้าวสู่การค้าระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการดังกล่าวประกอบด้วยหลักสูตรที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยมีรายได้ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว พร้อมด้วยแนวทางการค้าระหว่างประเทศและการส่งออกบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อีกทั้งยังมีการเรียนรู้แนวทางจากกูรูด้านเกษตรและการค้าออนไลน์กับแนวทางการแปลงร่างให้เกษตรกรไทยผันตัวสู่ “Smart Farmer” ที่ก้าวสู่ตลาดต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

การจัดสัมมนาครั้งนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 100 ราย จากจังหวัดต่างๆ ได้แก่ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น และจังหวัดอื่นๆ ครอบคลุมเกษตรกรจากกลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูป (อาทิ ผงข้าวชงพร้อมดื่ม ซีเรียลจากข้าว ไอศกรีมผลไม้ เป็นต้น) กลุ่มสินค้าข้าว (อาทิ ข้าวหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอร์รี ข้าวเหนียว กข.6 เป็นต้น) กลุ่มสินค้าปศุสัตว์ (อาทิ ผู้เลี้ยงสุกร ผู้เลี้ยงไก่) กลุ่มสินค้าผลไม้และผัก (อาทิ มะม่วง ผักสวนครัว) และกลุ่มสินค้าอื่นๆ (อาทิ ผ้าพื้นเมืองที่ทำด้วยไหม น้ำซอส เป็นต้น)

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานในสังกัดได้เร่งรัดจัดทำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ด้วยการจัดโครงการ “Thai Fruits Golden Months: ไทยช่วยไทย ชาวสวนอยู่ได้ ประเทศไทยอยู่รอด” สนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าเกษตรเข้าไปขายในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำของไทย ได้แก่ Thailandpostmart, Shopee, Lazada, JD Central, Jatujakmall, Cloudmall, The Hub Thailand และ Octorocket.asia ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการ

 

สำหรับด้านตลาดต่างประเทศ ได้ปรับแผนและภารกิจในการกระจายผลไม้ โดยปรับรูปแบบกิจกรรมต่างๆ จากรูปแบบเดิมเป็นรูปแบบออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายผลไม้ไทย และเร่งรัดการส่งออกผลไม้เชิงรุก โดยจะร่วมมือกับ Tmall (จีน) Bigbasket (อินเดีย) Khaleang.com (กัมพูชา) Aeon (ญี่ปุ่น) Amazon (สิงคโปร์และสหรัฐอเมริกา) และ Lotte (เกาหลีใต้) เป็นต้น รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายออนไลน์กับเว็บไซต์พันธมิตรในตลาดอาเซียน จีน และยุโรป และเพิ่มกิจกรรมเจรจาธุรกิจผ่านทางออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ส่งออกไทยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้จัดทำหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพและผลักดันผู้ประกอบการกลุ่มสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพให้ก้าวเข้าสู่การค้าออนไลน์ยุคใหม่และการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเติมองค์ความรู้ที่จำเป็น เช่น การส่งออก การใช้ระบบดิจิทัลเพื่อเป็นเครื่องมือในการค้าขาย เพื่อช่วยเปลี่ยนเกษตรกรแบบดั้งเดิมให้เป็นเกษตรยุคดิจิทัลได้ในอนาคต

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) ได้ที่ www.nea.ditp.go.th หรือ www.ditp.go.th หรือ www.facebook.com/nea.ditp หรือ Call Center 1169

UPDATE: Global CPG retail’s marketplace movements amid COVID-19

According to MINTEL, utilizing the Mintel Field Services network, we’re taking a deeper dive into the consumer packaged goods (CPG) retail landscape as the COVID-19 pandemic evolves around the world, focusing on the in-store and online shopping experiences. Here, we take a look at some of the global developments and initiatives grocery retailers around the world are rolling out in the midst of the current crisis.

 

Global: Panic buying has been present in the vast majority of markets

One of the first signs of concern in markets affected by COVID-19 is panic buying/stockpiling. This is something that has affected 61% of markets covered by the field evaluators. Such behaviors are currently most prevalent in Europe and the US – the current hotbeds of the outbreak.

 

EMEA: retail is adapting to increased online demand, some still struggling

In Europe, grocery retailers are gradually adapting and innovating to overcome the new challenges presented by COVID-19, including changes in consumer behavior. Stockpiling is easing and availability is improving, although some products remain out of stock. Online shopping remains popular, with services continuing to struggle to meet the demand. Even retailers like Aldi, at least in the UK, have moved into online food for the first time as a reaction.

 

Retail initiatives

Italian supermarket Esselunga has been swamped by demand but is putting a priority on older shoppers with free delivery to those over age 65. In France, the global supermarket chain Carrefour is offering express online delivery for nurses and other healthcare workers.

 

British grocery retailer Tesco has rolled out safety measures at the local store level including social distancing, staff protection, and disinfectants for trolleys.

 

Commentary of a field evaluator in the UK

“Shopping behaviour in the UK has switched from the ‘preparation behaviours’ to now settling into the ‘new-normal’. Availability is improved from the early days of the outbreak but there are still gaps on some shelves for high-demand products. Consumers are shopping more locally, with a boost to convenience stores and those close to living areas. Traffic to larger stores slowed as customers limit time in-store and avoid crowded spaces. Demand remains high for online deliveries, with retailers giving priority to existing, older and at-risk shoppers. As retailers react to the challenges of social distancing, one-in-one out queuing has become common and in larger stores one-way systems have been introduced to manage customer flow. To protect staff, personal protective equipment, such as masks and gloves, are becoming more common whilst plastic barriers have been erected around checkouts.”

 

Americas: in-store shopping preferred over online, each presenting challenges

In the Americas, field evaluators were reporting signs of panic buying through the end of Apri. Some 27% reported panic buying in general, while 24% said it was impeding their shopping ability. This is happening in-store and online, which could be causing cross-channel traffic.

 

Our research shows that consumers who try to shop in-store first but are unable to get what they want, will look to other stores before succumbing to alternative brands. They may switch to the online channel out of convenience, or out of fear of going into too many stores for safety reasons.

 

If online customers are faced with out-of-stock inventory issues or cannot get a delivery time slot, they may resort to going into stores to find what they want. They may even be cautious about trying to order groceries online again, especially if they are first-timers or if their initial experience was disappointing and frustrating.

 

Amazon has even had to prioritize current customers for online grocery ordering, putting any new customers on a waiting list. The retailer is rolling out digital tools that will allow a first-come, first-served spot in line so consumers don’t need to keep checking to see if a time slot has opened up.

 

Retail initiatives

Colombian startup Rappi is piloting deliveries by robots as a safe way of transporting restaurant orders to people quarantined at home – in conjunction with digital payments.

 

In Brazil, Carrefour has frozen the price of 200 private label products and is offering personal shoppers for consumers to pick up purchases in a drive-through format.

 

Commentary of a field evaluator in the US

Americans are still worried, as evidenced by panic buying at double the rate observed in the region overall. High demand is resulting in limitations on desired items, both in-store and online. Items are out-of-stock or stores are implementing restrictions on the number of items allowed per person. Retailers recognize the worry and the need for protection for both employees and customers and are responding with increased actions aside from the basics (eg hand sanitizer, social distancing) such as lines to enter stores and an ask for customers to wear a face mask when shopping in-store. Even so, innovation and supply hasn’t stopped: nearly 70% of field evaluators cite that new products have launched. This may reflective of the supply chain improving, but it’s also possible brands/retailers have prioritized new product launches for health/wellness or other essential items.

 

APAC: compulsory measures as some markets open, contactless delivery on the rise

While life is gradually returning to normal in some East Asian markets (eg China and South Korea), some Southeast Asian markets (eg India, Philippines, Singapore, and Indonesia) are imposing extended lockdowns. Wearing a mask in public is now a compulsory measure in most markets; grocery retailers and consumers are used to precautionary measures to ensure the safety of staff and customers.

 

Contactless delivery has also been introduced by many grocery retailers in Asia to help regain the confidence of online deliveries. Despite the growing demand in online grocery shopping, the continued lockdowns have had a negative impact on the delivery of online orders in India, the Philippines, and Indonesia.

 

Retail initiatives

The Central Food Hall supermarket chain in Bangkok s employing cleaning robots with UV-C disinfecting lights, approved innovation by the World Health Organization (WHO), to sanitize the stores and eliminate the spread of germs, including the novel coronavirus.

 

In the Philippines, 7-Eleven launched take-home packs of ‘Big Bites’ hotdog and siopao for a limited time. The home packs target consumers who want affordable merienda (‘light meal’) or a midnight snack without traveling all the way to the store during the quarantine.

 

Commentary of a field evaluator in China

“As China is now gradually transitioning out of the COVID-19 crisis, the lifting of the lockdown and relaxation of movement shows that grocery shopping is getting back to normal. Despite consumers still needing to wear masks when shopping in stores, the general attitude is that life is getting back to normal. Online channels and online to offline retailers are gaining in popularity recently. The rise of live stream commerce is the most interesting trend as it is expanding to the food and drink category.”

OFFICIAL: The New Dates of Fi Asia 2020 Scheduled in December 2020

Informa Markets and PT Pamerindo Indonesia, the organizer of Fi Asia 2020 has taken the decision to reschedule the events originally scheduled for 9-11 September, with the new dates confirmed for 9-11 December 2020 at Jakarta International Expo (JI Expo), Jakarta, Indonesia. The decision was made following extensive consultation with the relevant authorities and stakeholders and following the recent travel restrictions and uncertainty due to COVID-19.

We believe these revised dates will allow more time for normality and confidence to return to the marketplace, ease travel restrictions, and provide all-around better conditions for exhibitors and visitors to engage. The Fi Asia team will reach out to all participants regarding detailed arrangements in due course.
We wish to thank those who participate and support Fi Asia 2020 and we greatly appreciate your patience and understanding. Our sole focus remains to provide an event of enhanced quality, with more exhibitors and qualified trade buyers to make your participation a huge success. We also recognize the importance of maintaining business as usual in this climate, and with this in mind, we are continuing to work on new ways to stay connected and bring greater value to the Fi Asia community. We look forward to seeing you again in December.

Should you have any questions or concerns, please contact the Fi Asia Team at:
E: Nureen.c@informa.com / T: +66 97 028 8000

Please follow official channels for updated information:
• Website: www.fiasia-indonesia.com
• Facebook: www.facebook.com/fi-Asia

ASIA FRUIT LOGISTICA reschedules to November

 

Singapore/Berlin, 7 May 2020 – ASIA FRUIT LOGISTICA is rescheduling to 18-20 November 2020 in Singapore to ensure a successful trade show for every exhibitor and visitor coming from all over the world.

“We’ve come to this decision after a long, detailed, and very careful assessment of the situation with our exhibition venue partner and the authorities in Singapore as well as with key people in the international fresh produce business,” says Will Wollbold, Commercial Director of Global Produce Events (GPE), the organiser of ASIA FRUIT LOGISTICA.

“We want to help the global fresh fruit and vegetable industry to reconnect in Asia in 2020,” explains Wollbold. “Registration numbers from all over the world for ASIA FRUIT LOGISTICA 2020 are good and broad. But in light of COVID-19 we believe it is right for exhibitors and visitors alike that we reschedule to mid-November. This will give themmore than six months from now to plan their participation.”

The Singapore Tourism Board (STB) welcomes the move. “ASIA FRUIT LOGISTICA is truly a significant platform for the global fresh produce industry, and we’re pleased to host the event at Singapore EXPO on 18-20 November 2020,’ said Mr Andrew Phua, Executive Director of Exhibitions and Conferences, STB. “We understand Global Produce Events’ decision to reschedule ASIA FRUIT LOGISTICA, and are committed to working closely with them towards a successful show. We remain confident in Singapore’s strong reputation as a preferred destination for business events, and look forward to welcoming our delegates to Singapore.”

Singapore is a very reassuring location for ASIA FRUIT LOGISTICA, Asia’s premier event for the international fresh fruit and vegetable business.

“Singapore is applying some of the strictest health and safety measures to fight this pandemic, including state of the art technology which we want to make available to our exhibitors and trade visitors,” said Wollbold, “And let’s not forget that Singapore is a key global transport hub with one-flight connections from hundreds of cities around the world. It means it’s so much easier to come here.”

Singapore was also the location of the first-ever ASIAFRUIT CONGRESS in 1998. The one-day conference event will now take place at Singapore EXPO on Tuesday 17 November 2020.

For more information on exhibiting at ASIA FRUIT LOGISTICA, please contact:
Organising Team by email: info@gp-events.com, telephone: +66 2 941 4600 or visit www.asiafruitlogistica.com