โพรไบโอติกส์สายเดี่ยวรุ่นใหม่…ความหวังของการลดน้ำหนักด้วยการควบคุมความอยากอาหาร

บริษัทด้านชีววิทยาสัญชาติฝรั่งเศส TargEDys® ประกาศผลลัพธ์ที่เป็นบวกในการทดลองทางคลินิกกับโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ Hafnia alvei HA4597™ เพื่อการลดน้ำหนักด้วยการควบคุมความอยากอาหาร

ปารีส – TargEDys® ประกาศความสำเร็จในการศึกษาวิจัยทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดข้อมูลสองทาง และควบคุมด้วยยาหลอกในศูนย์วิจัยหลายแห่งเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งทดลองในผู้เข้าร่วมการศึกษา 229 ราย เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ Hafnia alvei HA4597™ ในการลดน้ำหนักด้วยการควบคุมความอยากอาหาร โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรูอ็องนอร์มังดี โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยรูอ็อง และ INSERM ค้นพบว่า เอนเทอร์โรแบคทีเรีย เช่น Hafnia alvei HA4597™ สามารถผลิตโปรตีน (ClpB) ซึ่งเลียนแบบฮอร์โมนความอิ่ม alpha-MSH เนื่องจากโปรตีนดังกล่าวสามารถชักนำกลไกการควบคุมความอยากอาหารได้ที่ระดับรอบนอกและระดับศูนย์กลาง การศึกษาวิจัยก่อนการทดสอบในมนุษย์กับ Hafnia alvei HA4597™ แสดงให้เห็นถึงผลการป้องกันโรคอ้วน เช่น ลดน้ำหนัก ลดมวลไขมัน รวมถึงลดการรับประทานอาหาร และมีผลบวกต่อระดับน้ำตาลในเลือดและภาวะดื้อต่ออินซูลิน

ทีมวิจัยได้ยืนยันข้อมูลก่อนการทดลองในมนุษย์นี้ด้วยการทดลองทางคลินิก โดยการศึกษาวิจัยนี้ดำเนินการศึกษากับผู้เข้าร่วมการวิจัยที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งกำหนดด้วยดัชนีมวลกายระหว่าง 25 และ 30 กก./ตร.ม. ผู้เข้าร่วมการวิจัยได้รับการแบ่งเป็นสองกลุ่ม ทั้งคู่ได้รับอาหารแบบแคลอรีต่ำ โดยกลุ่มหนึ่งได้รับโพรไบโอติกส์ Hafnia alvei HA4597™ ส่วนอีกกลุ่มได้รับยาหลอก การวิจัยนี้บรรลุผลลัพธ์หลักที่เกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนัก โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในเชิงสถิติเป็นประโยชน์ต่อโพรไบโอติกส์ เมื่อเทียบสัดส่วนของผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ลดน้ำหนักร่างกายได้อย่างน้อย 3% ใน 12 สัปดาห์ สำหรับผลลัพธ์รองอื่นๆ กลไกการออกฤทธิ์ที่เสนอได้รับการยืนยันโดยการเพิ่มความรู้สึกอิ่มอย่างมีนัยสำคัญในเชิงสถิติ นอกจากนี้ โพรไบโอติกส์ให้ผลลดรอบสะโพกได้มากกว่ายาหลอกอีกด้วย เฉพาะ Hafnia alvei HA4597™ เท่านั้นที่ส่งผลต่อระดับคลอเลสเตอรอลและลดภาวะน้ำตาลในเลือดได้มากขึ้นมากกว่าผู้ที่ได้รับยาหลอก สุดท้าย Hafnia alvei HA4597™ แสดงผลที่เหนือกว่ายาหลอกจากการประเมินสรรพคุณโดยรวมที่ทั้งแพทย์ผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมการวิจัยรับรู้

“ผลลัพธ์เหล่านี้แสดงประสิทธิผลที่มีนัยสำคัญหลังจากผ่านไป 2 เดือน ซึ่งได้รับการสนับสนุนในเดือนที่ 3 กลไกการออกฤทธิ์ที่อธิบายในการวิจัยก่อนการทดลองในมนุษย์ได้รับการยืนยัน” Pierre Dechelotte ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษาทางคลินิกแสดงความเห็น

Gregory Lambert ซีอีโอและรองประธานฝ่ายวิจัยและพัฒนาของ TargEDys® กล่าวว่า “นี่คือผลผลิตแรกของโพรไบโอติกส์สายเดี่ยวรุ่นใหม่ ที่สนับสนุนด้วยกลไกการออกฤทธิ์ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ของไมโครไบโอมในแกนลำไส้และสมอง และได้รับการพิสูจน์ประสิทธิผลทางคลินิกในระยะสั้น

“ความสำเร็จของการศึกษาวิจัยทางคลินิกนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำหรับ TargEDys® การยืนยันทางคลินิกของการค้นพบในระยะก่อนการทดลองในมนุษย์ทั้งหมดจะส่งเสริมการเปิดตัวเครือข่ายพันธมิตรทางการค้าระหว่างประเทศสำหรับการส่งเสริมการค้าโซลูชันเชิงโภชนาการที่ไม่เหมือนใครของเรา ซึ่งมีวางจำหน่ายแล้วในชื่อ EnteroSatys™” Jean-Frederic Laville ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่ง กล่าว

ทั้งนี้ ผลการศึกษาวิจัยจะได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม: www.targedys.com

แก้กฎหมายอนุญาตใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลเพื่อลดปริมาณพลาสติกเกิดใหม่

ผู้แทนกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย เข้าพบ นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข- เพื่อหารือแนวทางในการร่วมผลักดันปรับปรุงกฏหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้มีการนำพลาสติกรีไซเคิล Recycled PET (rPET) มาใช้ในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มได้ พร้อมเผยผลวิจัยโดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่พบว่าประเทศไทยสามารถดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ หากใช้แนวทางการประเมินความปลอดภัยที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น แนวทางของสหรัฐอเมริกาหรือสหภาพยุโรป ร่วมกับการมีกฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตต้องผ่านการทดสอบเพื่อพิสูจน์ว่า กระบวนการผลิตสามารถขจัดสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางกลุ่มฯ เชื่อมั่นว่าแนวทางดังกล่าวจะช่วยลดการใช้พลาสติกเกิดใหม่ ส่งเสริมการรีไซเคิล และแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกได้อย่างยั่งยืน

จากการที่สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยได้ขานรับหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางในการส่งเสริมให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้เนื่องจากมีข้อห้ามตามกฎหมายนั้น นายวีระ อัครพุทธิพร อุปนายก และ ประธานกรรมการบริหาร สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย ได้เปิดเผยว่า “จากการทำงานในช่วงที่ผ่านมา สมาคมฯ พบว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนหนึ่งยังไม่มั่นใจถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค สืบเนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการคัดแยกวัสดุรีไซเคิลออกจากขยะทั่วไปอย่างเป็นระบบ และผู้บริโภคส่วนหนึ่งนำเอาขวดเครื่องดื่มที่ใช้แล้วไปบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food products)  ทำให้เกิดข้อกังวลว่าจะเกิดการปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ฉะนั้น สมาคมฯ จึงสนับสนุนให้สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินความปลอดภัยในเรื่องนี้  ซึ่งน่ายินดีที่ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าพฤติกรรมการใช้ขวด PET ซ้ำของคนไทยมิได้น่าเป็นห่วงอย่างที่คิดกัน หากภาครัฐสามารถปรับเปลี่ยนกฎหมายให้มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยที่ชัดเจน รวมถึงกำกับดูแลให้ผู้ผลิตทุกรายต้องผ่านการทดสอบเพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่ากระบวนการผลิตขวดจากพลาสติกรีไซเคิลสามารถขจัดสิ่งปนเปื้อนได้ ก็จะช่วยลดการใช้พลาสติกเกิดใหม่และส่งเสริมการรีไซเคิลให้มากขึ้นอีกด้วย”

ผศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้าโครงการการศึกษาข้อมูลสำหรับการประเมินความปลอดภัย เพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก กล่าวถึงรายงานผลการศึกษาว่า ทางคณะผู้วิจัยได้สำรวจพฤติกรรมการนำขวดเครื่องดื่มไปใช้หลังการบริโภคของคนไทยที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ 70% มักนำขวด PET มาใช้ซ้ำ โดยเติมน้ำดื่มหรือเครื่องดื่ม (69%)  สำหรับประเด็นสารอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหาร ที่อาจปนเปื้อนในขวด PET นั้น เห็นว่า ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีที่สามารถกำจัดสารปนเปื้อนเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับการนำกลับมาบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งรายงานฉบับนี้ ได้มีการแนะนำแนวทางการกำหนดค่าประเมินความปลอดภัยไว้แล้ว ทั้งนี้ เสนอว่าในเบื้องต้นผู้ผลิตรีไซเคิลพลาสติก (rPET) ควรมีการควบคุมแหล่งที่มา (Feedstock) และประเภทของพลาสติกที่จะนำมารีไซเคิล เพื่อผลิตเป็นขวดเครื่องดื่ม และภาชนะบรรจุอาหาร โดยจะต้องสามารถแสดงที่มาของพลาสติก ผลการทดสอบการกำจัดสารปนเปื้อนในกระบวนการรีไซเคิล ซึ่งอ้างอิงแนวทางการประเมินความปลอดภัยและการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก rPET ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (USFDA) หรือหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority – EFSA)

ขณะนี้ทางสถาบันฯ ได้นำเสนอข้อเสนอ (ร่าง) แนวทางการประเมินความปลอดภัย และการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกสำหรับประเทศไทยดังกล่าว ให้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และคณะทำงานของ อย.  เพื่อใช้เป็นแนวทางพิจารณาแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 295 พ.ศ.2548 ข้อ 8 ที่ระบุว่า “ห้ามมิให้ใช้ภาชนะบรรจุที่ทำขึ้นจากพลาสติกที่ใช้แล้วบรรจุอาหาร เว้นแต่ใช้เพื่อบรรจุผลไม้ชนิดที่ไม่รับประทานเปลือก” ทั้งนี้เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้สามารถใช้ขวดบรรจุเครื่องดื่มที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล (Recycled PET) ได้

นายสมศักดิ์ สิทธิชาญคุณะ เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกฯ มุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกตามโรดแมปการจัดการขยะพลาสติกปี 2561-2573 ของรัฐบาล ที่ต้องการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 100% ภายในปี 2570 โดยนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือ Circular Economy  ไปปรับใช้ มุ่งเน้น “Reduce-Reuse-Recycle” เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งการรีไซเคิล ถือเป็นหัวใจหลัก ดังนั้นหากมีการผลักดันให้เกิดการนำพลาสติกรีไซเคิลกลับมาใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหารหรือเครื่องดื่ม ก็จะเป็นการลดขยะพลาสติกได้อย่างแท้จริง เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีการใช้พลาสติกประเภท PET เป็นจำนวนมาก คิดเป็นสัดส่วน 80-90% ของปริมาณการใช้พลาสติก PET ทั้งหมด ซึ่งในหลายๆ ประเทศได้มีการนำพลาสติกรีไซเคิล (rPET) มาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มได้สำเร็จแล้ว แต่ว่าในประเทศไทย ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีข้อห้ามตามกฎหมาย ทั้งที่เรามีโรงงานผู้ผลิตพลาสติกรีไซเคิล (rPET) และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัยได้มาตรฐานระดับสากล กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกฯ จึงเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การเปิดโอกาสให้สามารถนำพลาสติกรีไซเคิลมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่มจะเป็นการลดขยะจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว และเป็นอีกก้าวสำคัญของประเทศไทยในการขับเคลื่อนการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ซึ่งจะสอดคล้องกับสิ่งที่รัฐบาลได้วางโรดแมปไว้ในการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน”

สำหรับโครงการศึกษาประเมินความปลอดภัยเพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก พร้อมการสำรวจพฤติกรรมหลังการบริโภคของผู้บริโภคชาวไทย ซึ่งจัดทำโดยสถาบันโภชนการ มหาวิทยาลัยมหิดลนั้นได้รับการสนับสนุนจากสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย โดยการสนับสนุนจาก กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ร่วมกับ บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส

EU Rules Applicable to the Authorization and Placing on the Market of Novel Foods and Traditional Foods Coming from non-EU Countries

ทางกระทรวงสุขภาพและการคุ้มครองผู้บริโภคประจำคณะกรรมาธิการยุโรปจัดการอบรมระดับภูมิภาคขึ้น เมื่อวันที่ 1821 กุมภาพันธ์ 2563 ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ภายใต้โครงการ “Better Training for Safer Food” โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎระเบียบว่าด้วยการขออนุญาตและการวางจำหน่ายอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ (Novel Foods) รวมถึงอาหารท้องถิ่นซึ่งนำเข้ามาจากประเทศนอกกลุ่มสมาชิก

คณะกรรมาธิการยุโรปได้พัฒนาชุดกฎหมายที่มีความครอบคลุม ซึ่งควบคุมกระบวนการการขออนุญาตสำหรับอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ มีการให้คำจำกัดความอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่หรือ Novel Foods ว่าเป็นอาหารที่ไม่มีประวัติการบริโภคภายในภูมิภาคยุโรปก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายสำหรับอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ (Regulation (EC) No 258/97)

กระทรวงสุขภาพและความปลอดภัยด้านอาหารประจำคณะกรรมาธิการยุโรป (DG SANTE) ได้จัดการอบรมระดับภูมิภาคขึ้นเป็นระยะเวลาสามวัน โดยมีตัวแทนผู้เข้าร่วมงานจำนวน 34 คน จาก 10 ประเทศภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (กัมพูชา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย เวียดนาม) ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการอบรมนั้นจะเป็นเจ้าหน้าที่จากองค์กรระดับประเทศที่ยืนยันถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยการวางจำหน่ายอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่และอาหารท้องถิ่น

คณะผู้เชี่ยวชาญระดับโลกและระดับภูมิภาคจำนวนห้าท่านจะรับหน้าที่เป็นผู้จัดการอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้เกิดกิจกรรมที่ประสานความร่วมมือกับคู่ค้าที่มิใช่ประเทศสมาชิกในเรื่องของอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ ทำให้ผู้คนทราบถึงกฎระเบียบของสหภาพยุโรปที่มีอยู่เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นเข้าใจมากยิ่งขึ้น และสามารถนำกฎระเบียบดังกล่าวไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกฎระเบียบดังกล่าวนี้จะนำมาบังคับใช้กับการขออนุญาตและการวางจำหน่ายอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ในตลาดของสหภาพยุโรป

โดยการอบรมนี้ถือเป็นชุดการอบรมเริ่มต้นของการอบรมในระดับภูมิภาคที่จัดขึ้นเก้าครั้ง เริ่มตั้งแต่ปี 2563 ไปจนถึง 2564 ในแอฟริกา (เซเนกัลและเอธิโอเปีย) ละตินอเมริกา (อาร์เจนตินาและคอสตาริกา) เอเชีย (อินเดีย ไทย และจีน) ตะวันออกกลาง (จอร์แดน) และยุโรป (มอลโดวา) ภายใต้โครงการ BTSF ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมจำนวน 300 คนจาก 68 ประเทศ

กฎระเบียบเกี่ยวกับอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ (EU) 2015/2283 (NFR) ที่แก้ไขในครั้งนี้ครอบคลุมหมวดหมู่อาหารที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น (เพิ่มขึ้นจาก 4 ประเภทในกฎระเบียบเก่าเป็น 10 ประเภท) หมวดหมู่ใหม่ที่กำหนดไว้ภายใต้ข้อ 3 ของ NFR ได้แก่ อาหารที่มีหรือประกอบด้วยสัตว์ หรือชิ้นส่วนของสัตว์ (เช่น แมลง) วัตถุดิบที่มาจากแร่ จุลินทรีย์ที่มาจากการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ สัตว์และพืช และอนุภาคนาโนเชิงวิศวกรรม ลักษณะใหม่อีกอย่างหนึ่งของ NFR คือขั้นตอนที่ระบุในข้อ 4 ที่ว่าผู้ประกอบธุรกิจอาหารต่างๆ จะสามารถยื่นคำร้องขอการลงความเห็นจากประเทศสมาชิกเกี่ยวกับสถานะอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ของอาหารหรือส่วนผสมชนิดหนึ่งได้ โดยกระบวนการดังกล่าวนี้มีรายละเอียดอยู่ใน Commission Implementing Regulation (EU) 2018/456

NFR ได้ขับเคลื่อนกระบวนการขออนุญาตอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ให้เป็นขั้นตอนแบบรวมศูนย์ ซึ่งทำให้เกิดกระบวนการที่ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ประกอบธุรกิจอาหารต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎระเบียบสามารถเข้าใจได้โดยง่าย อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ข้อกำหนดทางวิทยาศาสตร์และการจัดการสำหรับการขอวางจำหน่ายอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่นั้นได้ระบุไว้ใน Commission Implementing Regulation (EU) 2017/2469

นอกจากนี้ อีกเรื่องหนึ่งที่ NFR ได้กล่าวถึงคือกระบวนการ “ยื่นความประสงค์” สำหรับอาหารท้องถิ่นที่มาจากประเทศนอกกลุ่มสมาชิก กระบวนการนี้มีการชี้แจงรายละเอียดไว้ใน Commission Implementing Regulation (EU) 2017/2468 ทำให้ผู้สมัครสามารถส่งเอกสารผ่านระบบการส่งเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ของคณะกรรมาธิการได้ โดยเอกสารดังกล่าวจะแสดงถึงอาหารท้องถิ่นที่บริโภคโดยประเทศนอกกลุ่มสมาชิกมาเป็นเวลาอย่างน้อย 25 ปี ในกรณีที่ EFSA หรือประเทศสมาชิกไม่มีข้อโต้แย้งด้านความปลอดภัยแล้ว คณะกรรมาธิการจะรับเรื่องและอนุญาตให้มีการวางจำหน่าย รวมถึงเพิ่มรายชื่ออาหารดังกล่าวเข้าในยูเนียนลิสต์ (Union List) อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งด้านความปลอดภัยแล้ว ผู้สมัครอาจถอนการยื่นความประสงค์ดังกล่าว หรือนำส่งเอกสารฉบับเต็มผ่านขั้นตอนปกติแทนก็ได้ ทั้งนี้ EFSA ได้จัดทำข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดเตรียม และการยื่นความประสงค์ หรือเอกสารสมัครที่จะยื่นเพิ่มเติมสำหรับอาหารท้องถิ่นที่มาจากประเทศนอกกลุ่มสมาชิกไว้แล้ว

——————————————————————————————————————–

เกี่ยวกับ BTSF

BTSF คือ โครงการอบรมที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการยุโรป โดยมีเนื้อหาครอบคลุมกฎหมายทางด้านอาหารและอาหารสัตว์ สุขภาพและสวัสดิภาพของสัตว์ รวมถึงกฎระเบียบด้านความสมบูรณ์ของพรรณพืชที่บังคับใช้ทั้งในประเทศสมาชิกและในประเทศนอกกลุ่มสมาชิก ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ec.europa.eu/food/safety/btsf_en

The Yoom tomato is the FRUIT LOGISTICA Innovation Award of the Year

This year’s FRUIT LOGISTICA Innovation Award (FLIA) goes to the tomato “Yoom™” from the company Syngenta Seeds. With around 30 per cent of the votes, it is the clear winner in the competition to determine the best innovation in the international fruit and vegetable industry. Visitors to FRUIT LOGISTICA had two days to vote on the award.

The Dutch company Syngenta won the FLIA before in 2012, for its red snack pepper “Angello”. The Yoom tomato won voters over with its outer and inner values: depending on the hours of sunlight, its colour ranges from purple to black. What remains constant is its high vitamin, mineral and antioxidant content as well as its sweet-sour and tangy flavour, also known as “umami”.

“We are very pleased to have won this award again, because FRUIT LOGISTICA is the most important convention for the fresh fruit industry. In five minutes the world will know more about our product, because everyone follows the information from FRUIT LOGISTICA. This will be a major boost for our product. And the award is a great acknowledgment of our work as well as a wonderful motivation for our team,” says Jérémie Chabanis, EAME Food Chain Manager Vegetable and Specialties at Syngenta.

The silver FLIA goes to Polish company Silbo for its certified fruit and vegetable packaging with water-based dyes and adhesives (“Compostable, Flexible, Printed, Packaging”). It is completely compostable, making it especially sustainable.

The bronze FLIA was also awarded to sustainable packaging: the “SoFruMiniPak® Eco View” from SoFruPak Witold Gai from Poland. It seals quickly, is made from renewable resources, ensures good ventilation and optimised cooling, and is 100 per cent biodegradable.

 

 

กสอ. – สถาบันอาหาร – จ.มิเอะ ฉลอง 1 ปี ศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ-ประเทศไทย เร่งต่อยอดเทคโนโลยีรับเกษตรอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปโต

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมกับสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม และจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น จัดสัมมนาใหญ่ “ผ่าความลับอาหารมิเอะ เสน่ห์เติมเต็มประสบการณ์ผู้บริโภคไทย” ฉลองความสำเร็จ 1 ปี “ศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ-ประเทศไทย” ณ ศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย สถาบันอาหาร ยกขบวนวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารแปรรูป และผู้ประกอบธุรกิจอาหารชื่อดังจากจังหวัดมิเอะ ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ผู้ประกอบการไทยแบบครบวงจร พร้อมนำสินค้าอาหารขึ้นชื่อมาให้ชิม และสาธิตการปรุง เดินหน้าชูจุดแข็งด้านวัตถุดิบของ 2 ประเทศ ตั้งเป้าดันผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารร่วมกัน หวังสร้างเครือข่ายทางธุรกิจในอนาคต สอดรับแนวโน้มตลาดส่งออกอาหารแปรรูปพุ่ง เผยปี 2562 ไทยมีสัดส่วนส่งออกกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50.5 มีมูลค่า 517,877 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 5.2  ขณะที่กลุ่มสินค้าเกษตรวัตถุดิบมีสัดส่วนลดลงอยู่ที่ร้อยละ 49.5  มีมูลค่า 507,623 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 11.5

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวในพิธีเปิดงานสัมมนา “ผ่าความลับอาหารมิเอะ เสน่ห์เติมเต็มประสบการณ์ผู้บริโภคไทย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการฉลองความสำเร็จ 1 ปีของการจัดตั้ง “ศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ-ประเทศไทย” ว่า งานวันนี้ถือเป็นการสานต่อความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่าง 3 หน่วยงานด้วยกัน ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) สถาบันอาหาร และจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มต้นจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ-ประเทศไทย (Mie-Thailand Innovation Center) เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา โดยได้ติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับการแปรรูปอาหารที่ได้รับจากบริษัท ซูเอฮิโระ อีพีเอ็ม (SUEHIRO EPM) ประเทศญี่ปุ่น เพื่อช่วยยกระดับผู้ประกอบการไทยในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารต้นแบบ ให้มีศักยภาพและเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน สามารถมุ่งไปสู่เวทีระดับโลกได้ แม้ปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกจะมีความผันผวน แต่สินค้าอาหารก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต เพียงแต่ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวให้ทันความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค ซึ่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีจะสามารถเข้ามาตอบโจทย์ดังกล่าวได้

“ความร่วมมือระหว่างจังหวัดมิเอะกับประเทศไทยในครั้งนี้ จะเป็นการสนับสนุนให้การส่งออกกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปของไทยมีความหลากหลายด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดียิ่งขึ้น เชื่อว่าจะมีส่วนผลักดันให้การส่งออกกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปของไทยเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ในอนาคตทางศูนย์ฯ มีแผนช่วยเหลือผู้ประกอบการในด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอย่างต่อเนื่อง  เตรียมเปิดให้บริการเช่าใช้เครื่องมือต่างๆ ภายในศูนย์ฯ รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารร่วมกัน โดยอาศัยจุดแข็งของกันและกัน เช่น การแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยี  การแลกเปลี่ยนวัตถุดิบของไทยและจ.มิเอะ ญี่ปุ่น เพื่อยกระดับการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น”

นายวะตะรุ มุระคามิ อธิบดีกรมการจัดหางานและเศรษฐกิจ จังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ-ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นฐานในความร่วมมือทางอุตสาหกรรมระหว่างไทยและจังหวัดมิเอะ และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของกันและกัน ในวันพิธีเปิดศูนย์ฯ ได้มีการมอบเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ (Twin Screw Extruder) ซึ่งใช้สำหรับแปรรูปอาหาร ให้แก่สถาบันอาหาร เพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยได้

โดยภายในงานผู้แทนจากจังหวัดมิเอะได้บรรยายเกี่ยวกับสิ่งที่น่าสนใจและการแปรรูปอาหารของจังหวัดมิเอะ ส่วนในช่วงบ่าย มีการสาธิตและชิมสินค้าอาหารของจังหวัดมิเอะ เช่น เนื้อวัวอิกะ (Iga beef) หอยนางรมอุระมุระ (Uramura oyster) ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อปลา (Ise kamaboko) และอาหารจานเคียงสำหรับร้านอาหาร นอกจากนี้ยังจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของจังหวัดมิเอะ อาทิ ผลิตภัณฑ์ซอสถั่วเหลือง จากบริษัท ยามาโมริ (Yamamori) ส้ม Nanki Mie Mandarin และนอกจากนั้น ยังมีผลิตภัณฑ์น้ำส้ม ชาอิเสะ (Ise tea) สาหร่ายทะเลอาโอะสะ (Aosa nori) ที่มีการผลิตมากที่สุดในญี่ปุ่น  และเหล้าสาเก เป็นต้น

ความร่วมมือระหว่างจังหวัดมิเอะกับประเทศไทย จะช่วยยกระดับและพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม และจะเป็นจุดสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรมของทั้ง 2 ประเทศ ที่จะช่วยให้เกิดความร่วมมือที่ขยายวงไปในด้านการค้า การลงทุน รวมถึงการท่องเที่ยวระหว่างกันได้ต่อไปในอนาคต

นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในระยะ 1  ปีที่ผ่านมา ศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ-ประเทศไทย หนึ่งในเครือข่ายของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) ได้ให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปอาหารจากวัตถุดิบของไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในหลากหลายรูปแบบ ให้บริการทดลองผลิตสินค้าต้นแบบ ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารแปรรูปมาอย่างต่อเนื่อง โดยสถาบันอาหารได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป จำนวน 120 ราย สร้างมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยให้แก่วัตถุดิบทางการเกษตรได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ได้จัดให้มีกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) โดยนำคณะผู้ประกอบการไปร่วมกิจกรรมที่จังหวัดมิเอะ และสร้างเครือข่ายกับผู้ซื้อของประเทศญี่ปุ่น

“นอกจากนี้สถาบันอาหารยังได้ทดลอง วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับนักวิจัยของ บริษัท ซูเอฮิโระ  อีพีเอ็ม (SUEHIRO EPM) ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เครื่องจักรแปรรูปอาหารภายในศูนย์ฯ นำข้าวหอมมะลิมาพัฒนาเป็นขนมขบเคี้ยวข้าวหอมมะลิอบกรอบรสชาติต่างๆ เช่น รสต้มยำกุ้ง รสมะม่วง รสธัญพืช และนำไปจัดแสดง พร้อมทดสอบชิมในงาน THAIFEX 2019 ซึ่งได้รับผลตอบรับดีจากผู้ที่มาเยี่ยมชม”

งาน “ผ่าความลับอาหารมิเอะ เสน่ห์เติมเต็มประสบการณ์ผู้บริโภคไทย” ครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อฉลองความร่วมมือครบรอบ 1 ปี ในการดำเนินงานของศูนย์ฯ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และร้านอาหาร เข้าร่วมงานเป็นจำนวน 150 คน จาก 94 หน่วยงาน

อนึ่ง ในปี 2562 ทีผ่านมา ไทยมีการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการส่งออกสินค้าเกษตรวัตถุดิบที่มีสัดส่วนลดลง พบว่า ไทยส่งออกสินค้าในกลุ่มอาหารแปรรูปมูลค่า 517,877 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 จากปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.5 เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนร้อยละ 46.2 ขณะที่การส่งออกอาหารในกลุ่มสินค้าเกษตรวัตถุดิบมีมูลค่า 507,623 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.5 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.5 ลดลงจากสัดส่วนร้อยละ 53.8  เฉพาะกลุ่มสินค้าอาหารพร้อมรับประทาน ในปี 2562 การส่งออกมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 คาดว่าในปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 5.5 และจะมีมูลค่าการส่งออกราว 7,086 ล้านบาท

FHA-Food & Beverage and ProWine Asia (Singapore) 2020 to be postponed

Informa Markets is postponing the inaugural FHA-Food & Beverage event to a later date due to global travel concerns in light of the latest developments regarding the Novel Coronavirus (COVID-19) situation.

The event was originally scheduled to take place from 31 March – 3 April 2020 at Singapore Expo. ProWine Asia (Singapore) 2020, held alongside FHA-Food & Beverage, co-organised by Messe Dusseldorf Asia and Informa Markets, will also be postponed. The decision, which was taken after extensive industry consultations, aims to safeguard the safety and well-being of industry players and employees.

Mr. Martyn Cox, Event Director, Hospitality, Food & Beverage – Singapore, Informa Markets, said, “The safety and well-being of our exhibitors, event attendees and staff are our top priority. There has been signs of community spread and local authorities have issued advisories to avoid large crowds, as a result we expect event attendance to be affected. With these concerns in mind, we have made the decision to postpone FHA-Food & Beverage and ProWine Asia (Singapore) 2020.

“Our focus now is to provide our exhibitors, event partners and registered visitors with the support they require as a result of this decision. We will continue to work in partnership with the relevant government authorities and agencies and take all further measures in accordance with the latest advisories published by the Singapore Ministry of Health (MOH), the Ministry of Manpower and the Singapore Tourism Board.”

Ms. Beattrice J. Ho, Project Director, ProWine Asia (Singapore), Messe Düsseldorf Asia, added, “We would also like to take this opportunity to thank all exhibitors and partners for supporting the exhibitions and are committed to working towards the best possible outcome. We are working actively with all partners to find a suitable alternative date.”

Mr. Alvin Lim, Executive Director, Brand and Customer Experience, SingEx Holdings, said, “Given the latest developments on COVID-19 in Singapore, and the health and safety risk concerns among the community thereof, Singapore EXPO & MAX Atria respects the decision made to postpone FHA-Food & Beverage and ProWine Asia (Singapore) 2020. Customer-centricity is at the heart of our business; we will continue to work together with Informa Markets, Messe Düsseldorf Asia, and our valued event partners to see through this predicament. We are part of a global meetings, incentives, conferences and exhibitions (MICE) industry that has always stood together and shown great support for each other – and it is with this that we trust in the industry’s resilience and ability to bounce back from whatever setbacks this outbreak may bring.”

“We understand the decision by Informa Markets to postpone FHA-Food & Beverage and ProWine Asia (Singapore) 2020 in light of the COVID-19 situation. During this challenging period, the health and safety of locals, visitors and industry partners remain our priority. We are staying vigilant, strengthening our defences and monitoring the situation closely. STB stands firmly by our MICE industry, and we will work closely with organisers, industry stakeholders and relevant government agencies to support the continued success of both events,” said Mr. Andrew Phua, Director, Exhibitions and Conferences, Singapore Tourism Board.

We will announce the new dates shortly and will be in touch with all confirmed exhibitors to discuss their participation at FHA-Food & Beverage and ProWine Asia (Singapore). The FHA and ProWine Asia (Singapore) team will reach out to all participants regarding further logistics and planning.

Participants may also contact enquiry@foodnhotelasia.com and info@prowineasia.com for urgent assistance.

“We seek industry’s understanding and support of this decision. Safety is our first priority followed by creating the best possible environment for our industry and partners to conduct business, which includes carefully timing the best revised arrangements. In working with Singapore Expo & MAX Atria and other event partners to confirm revised dates, we stay focused on our goal to deliver a great customer experience for both the rescheduled events,” said Mr. Cox.

 

More information: www.fhafnb.com/event-notice-140220

 

Food & Drink Trends and New Opportunities for Cheese (Ep.2) Cheese Brands Starting Green Conversations

เทรนด์อาหารและการประยุกต์ใช้ชีสให้ออกรส! (ตอนที่ 2) นำเสนออีกด้านหนึ่งของการปรับตัวของอุตสาหกรรมชีสเพื่อตอบรับกับเทรนด์ Sustainability  ที่มาแรงต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยเทรนด์ Sustainability เป็นเทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความยั่งยืนซึ่งต้องการความร่วมมือกันทุกภาคส่วนตลอดทั้งซัพพลายเชน

จากรายงานในวารสารทางด้านวิทยาศาสตร์โดย Ellen Mac, Arthur Foundation แห่งวารสาร Science Magazine ให้ข้อมูลว่าทั่วโลกจะมีขยะพลาสติกโดยเฉลี่ยทิ้งลงทะเลมากถึง 8 ล้านตันต่อปีเลยทีเดียว และภายในปี 2050 จะมีปริมาณขยะพลาสติกสะสมมากขึ้นๆ ซึ่งอาจจะมากกว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในมหาสมุทรเลยก็ว่าได้

จากความน่ากังวลด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ทุกภูมิภาคทั่วโลกได้ให้ความสนใจและตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น รวมถึงประเทศไทยด้วย ความตระหนักที่สำคัญอย่างเห็นได้ชัดก็คือ อย่างน้อยผลิตภัณฑ์ต้องไม่ไปสิ้นสุดที่การทำลายสิ่งแวดล้อม โดยในหลายประเทศได้พยายามลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกลง หรืออย่างบ้านเราก็มีมาตรการไม่แจกถุงพลาสติกในห้างค้าปลีกหรือร้านค้า และผู้ผลิตหลายรายก็หันมาเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติมากขึ้น เช่น การใช้ใบตองห่ออาหาร หรือภาชนะที่ทำจากพืช เป็นต้น

It’s banana leaves (Thailand) ในซูเปอร์มาร์เก็ต Rimping Supermarket มีการใช้ใบตองมาห่อผักที่ขายภายในห้าง

Yakult ditches straw (Malaysia, Singapore) ยาคูลท์ที่จำหน่ายในมาเลเซียและสิงคโปร์ได้ยกเลิกการแพ็กหลอดพลาสติกไปพร้อมกับผลิตภัณฑ์ โดยส่งเสริมให้ผู้บริโภคดื่มนมจากขวดแทนการใช้หลอด

การสำรวจโดยมินเทลพบว่าผู้บริโภคคนไทยร้อยละ 46 ตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ในขณะที่ประเทศอินโดนีเซียผู้บริโภคร้อยละ 64 เลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตในท้องถิ่นมากกว่าเพราะลดมลภาวะด้านการขนส่ง ด้านผู้บริโภคออสเตรเลียร้อยละ 34 ก็ให้ความสำคัญกับการพิจารณาแหล่งผลิตที่มีความยั่งยืนด้วย

Cheese Brands Starting Green Conversations

สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตชีสในช่วงปีที่ผานมา ผู้ผลิตประมาณร้อยละ 4 เริ่มมีการพูดถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่การไม่ใช้สารเคมีในการผลิต การใช้ส่วนผสมที่เป็นของท้องถิ่นเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ หรือโรงงานสีเขียว รวมถึงการหันมาใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์ ซึ่งสะท้อนถึงการปลูกและการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สหกรณ์ Organic Valley หรือสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาซึ่งมีชาวนาเป็นเจ้าของนั้นได้เป็นผู้ริเริ่มสร้างแนวทางของสินค้าอินทรีย์ที่ทรงอิทธิพล ทั้งยีงมีแบรนด์สินค้าที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ปัจจุบันมีสมาชิกเป็นครอบครัวเกษตรกรที่ผลิตผลิตผลอินทรีย์หลายประเภท และเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าอินทรีย์มากมาย อาทิ ผลิตภัณฑ์นม และชีส

นอกจากนี้ ผู้ผลิตชีสทั่วโลกก็ต่างมีแนวทางด้านสิ่งแวดล้อมและสามารถกล่าวอ้างไปกับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ทั้งยังเป็นทางเลือกด้านความยั่งยืนที่มีแนวโน้มได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น อาทิ

“Do Less Harm” แนวทางการลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ผลิตภัณฑ์ชีส Edeka Bio ซึ่งเป็นแบรนด์ชีสชื่อดังจากเยอรมนีนั้นเป็นหนึ่งในผู้ผลิตชีสที่หันมาให้ความสนใจกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ในกระบวนการผลิตระดับต้นน้ำที่ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ในฟาร์มโคนม และในกระบวนการผลิตชีสก็ยังมีการลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

“Going Local” แนวทางการผลิตที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ผู้ผลิตชีสหลายแบรนด์เริ่มต้นใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วยการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นเพื่อลดมลภาวะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างการขนส่ง Grünländer Cheese แบรนด์ผู้ผลิตชีสจากประเทศเยอรมนีก็เช่นกันได้มีนโยบายในการใช้น้ำนมภายในภูมิภาคมากขึ้นเพื่อละระยะทางการขนส่งวัตถุดิบจากที่ไกลๆ

“100% Green Energy” แนวทางการใช้พลังงานสีเขียวเต็มรูปแบบ ผู้ผลิตชีสจากประเทศอังกฤษ Wyke Farms Cheddar เป็นหนึ่งในผู้ผลิตชีสที่มีแนวทางการใช้พลังงานที่ยั่งยืนในกระบวนการผลิต โดยแนวทางดังกล่าวเป็นรูปแบบการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน และของเสียที่เกิดขึ้นสามารถนำมาผลิตและใช้เป็นแหล่งพลังงานใหม่ได้ ทำให้สามารถผลิตพลังงานสีเขียวได้ 100%

อันที่จริงแล้วแนวทางด้านความยั่งยืนถือเป็นเทรนด์หนึ่งที่จะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตแทบทุกกลุ่ม เนื่องจากมีความเกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริโภคมีการตอบรับกับเทรนด์ดังกล่าวนี้ที่เห็นได้ชัดก็คือเรื่องการลดการใช้พลาสติก อย่างไรก็ตาม แนวทางด้านความยั่งยืนก็อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มโดยรวมไม่น้อยเนื่องจากพลาสติกนั้นเป็นวัสดุบรรภัณฑ์ที่ให้ผลดีในด้านการปกป้องและรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารได้อย่างดี นวัตกรรมของพลาสติกย่อยสลายได้ หรือพลาสติกชีวภาพจึงดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ได้รับการยอมรับจากทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งแนวทางดังกล่าวก่อให้เกิดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกมากมายในปัจจุบัน เชื่อว่าในไม่ช้านวัตกรรมบรรจุภัณฑ์จะช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและนำพาความยั่งยืนมาสู่โลกเราต่อไป


Special thanks to U.S. Cheeses – Effective Cheese Application Ideas for Successful New Product Development. Food & Drink Trends and New Opportunities for Cheese by Mintel. U.S. Dairy Export Council.

Compiled and Translated By: Pimchanok Kanoklawan

 

“Foodtech” ธรรมศาสตร์ ผนึก KCG เปิดตัวนวัตกรรมซูเปอร์ฟู้ด Riceberry Spread

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SCI-TU) จับมือกับ บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (KCG) เปิดตัวนวัตกรรมซูเปอร์ฟู้ด “ไรซ์เบอร์รีสเปรด” (Riceberry Spread) แยมข้าวไรซ์เบอร์รีน้ำตาลต่ำที่มาพร้อมคุณประโยชน์ทางโภชนาการสูงและกระตุ้นระบบขับถ่าย

จากแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่เร่งรีบและอาจจะพลาดมื้ออาหารที่สำคัญ ทีมวิจัยนำโดย ดร.สุธีรา วัฒนกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้พัฒนาซูเปอร์ฟู้ด “ไรซ์เบอร์รีสเปรด” หรือแยมข้าวไรซ์เบอร์รีน้ำตาลต่ำ โดยมีส่วนผสมของวัตถุดิบหลัก 4 ชนิด คือ 1) แป้งข้าวไรซ์เบอร์รีทำจากข้าวไรซ์เบอร์รีออร์แกนิก โดยมูลนิธิโครงการเพื่อนพึ่งภาฯ 2) น้ำมัลเบอร์รีที่อุดมด้วยสารแอนโธไซยานินซึ่งช่วยในเรื่องต้านอนุมูลอิสระ 3) น้ำเชื่อมพรีไบโอติกจากแก่นตะวันที่มีคุณสมบัติให้พลังงานน้อย ประกอบด้วยฟรุกโทโอลิโกแซคคาไรด์ (Fructo-oligosaccharides; FOS) ซึ่งเป็นใยอาหารและพรีไบโอติก และ 4) นมสดช่วยเพิ่มกลิ่นรสและเนื้อสัมผัส

ทั้งนี้ แยมข้าวดังกล่าวมีลักษณะคล้ายแยมทั่วไป มีความข้นหนืด แต่มีกลิ่นหอมของแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี และมัลเบอร์รี พร้อมบรรจุผลิตภัณฑ์ในขวดหรือถุงและฆ่าเชื้อด้วยวิธีการ Pasteurization ทำให้สามารถเก็บได้นานมากกว่า 6 เดือนที่อุณหภูมิห้อง เพื่อให้สะดวกต่อการเก็บรักษา พกพาและรับประทาน ผลิตภัณฑ์มีทั้งในรูปแบบทาขนมปัง/แซนด์วิชเพื่อเป็นมื้อเช้า หรือรับประทานเป็นอาหารว่างคู่กับกล้วย หรือเลือกดื่มคู่กับนมร้อนสักแก้ว

ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังได้รับความร่วมมือจากทีมนักวิจัยร่วมสาขาฯ คือ ดร.กฤติยา เขื่อนเพชร อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และทีมนักวิจัยของ รศ.ดร.สาโรจน์ ศิริศันสนียกุล คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการสนับสนุนองค์ความรู้และวัตถุดิบ คือ น้ำเชื่อมพรีไบโอติกจากแก่นตะวันเพื่อทำการวิจัยและพัฒนา

ทั้งนี้ได้มีพิธีลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย เรื่อง “สูตรและกระบวนการผลิตไรซ์เบอร์รีสเปรด” ระหว่าง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีผู้บริหารทั้ง 2 หน่วยงานและพันธมิตรเข้าร่วมจำนวนมาก ณ อาคารโดมบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ในโอกาสนี้ได้แนะนำผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารตอบโจทย์ผู้บริโภคภายใต้โครงการ “ทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารทางประสาทสัมผัส” โดยความร่วมมือกับศูนย์ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และ KCG การประเมินคุณภาพอาหารตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญจะทำการวิเคราะห์ผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5 มิติ คือ การมองเห็น การได้กลิ่น การรับรส การสัมผัส และการได้ยิน เพื่อแยกแยะผลิตภัณฑ์ว่ามีความเหมือนหรือต่าง ค้นหาความต้องการผู้บริโภคได้ วิเคราะห์ข้อมูลความชอบและการยอมรับผลิตภัณฑ์อาหารของผู้บริโภค ฯลฯ เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยภาคธุรกิจตัดสินใจ และนำไปสู่แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค สร้างโอกาสทางการตลาดที่เหนือกว่าบริษัทคู่แข่ง ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้ในอนาคต

FHA-HoReCa 2020 Postponed to Later Date in Light of Ongoing Coronavirus Situation but FHA-Food & Beverage to Take Place as Planned

Informa Markets, the organiser of FHA-HoReCa, today announced that it will postpone the event to 13-16 July 2020 at Singapore Expo due to the evolving 2019 novel coronavirus situation. The decision was made following extensive consultations with exhibitors & industry partners and considering the knock-on effects on the wider HoReCa industry as a direct consequence of the significant impact to international travel during this period. FHA-HoReCa was scheduled to be held at Singapore Expo from 3-6 March 2020.

The event is an expansion from the comprehensive international food and hospitality biennial trade event in the region, Food&HotelAsia (FHA). FHA is returning to Singapore this year as two dedicated shows – FHA-HoReCa and FHA-Food & Beverage. The former seeks to bring together an extensive line-up of leading hospitality suppliers in the region while the latter is Asia’s largest international event for the food and beverage industry.

FHA-Food & Beverage will take place as planned from 31 March – 3 April 2020 at Singapore Expo. Serving a wide range of industry segments including retail, wholesale, e-commerce and foodservice, the FHA-Food & Beverage event remains robust in the current climate and visitor pre-registrations continue to pour in.

Mr Martyn Cox, Event Director for FHA-HoReCa and FHA-Food & Beverage at Informa Markets, said, “Postponing FHA-HoReCa was a difficult decision but a necessary one, considering the effects on the wider HoReCa industry in Asia. We are now focused on working closely with our exhibitors, event partners and registered visitors to ensure that we offer them the necessary support required as a result of this decision.”

“Moving forward, we will continue to work with the local authorities and take all measures in accordance with the latest advisories published by the Singapore Ministry of Health, the Ministry of Manpower and the Singapore Tourism Board. Our sole focus remains, that is to deliver high quality experiences for our participants attending FHA-HoReCa and FHA-Food & Beverage,” Mr Cox added.

“We are working closely with Informa Markets, industry stakeholders and the relevant government agencies, and are committed to supporting the continued success of both FHA-HoReCa and FHA-Food & Beverage. There is as yet no evidence of widespread community transmission of the novel coronavirus in Singapore and most of our events are still proceeding as planned with added precautions, which is in line with the latest advisory from MOH. Our MICE industry continues to operate and remains open for business. Nonetheless, we will continue to stay vigilant, strengthen our defences, and prepare for all scenarios. The health and safety of locals, visitors and industry partners remain a priority and we are monitoring the situation closely,” said Mr Andrew Phua, Director of Exhibitions and Conferences, Singapore Tourism Board.