สกสว. จับมือ มูลนิธิข้าวไทยฯ หนุนชาวนาไทยก้าวไกลในยุคดิจิทัล

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และภาคีองค์กรพันธมิตร จัดการประชุมเวทีข้าวไทย ปี 2562 เรื่อง “การปรับตัวของชาวนาไทยสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล” ณ ห้องประชุมสุธรรมอารีกุล อาคารสารสนเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิข้าวไทยฯ กล่าวเปิดงาน ซึ่งการจัดประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสวงหาความร่วมมือในการกำหนดทิศทาง รวมทั้งสร้างยุทธศาสตร์เศรษฐกิจข้าวและชาวนาไทยภายใต้ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

ในการประชุมในครั้งนี้ได้มีการเสวนาเรื่องการปรับตัวของชาวนาไทยจากชาวนามืออาชีพที่มาถ่ายทอดประสบการณ์และความสำเร็จจากการนำเทคโนโลยีทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการทำนา ไม่ว่าจะเป็นการใช้โดรน นวัตกรรมแอพพลิเคชันบนมือถือ และนวัตกรรมระบบเซ็นเซอร์ เพื่อใช้ในการผลิตข้าว การตรวจวัด การควบคุม การถ่ายภาพ และการวิเคราะห์ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้กับชาวนา รวมทั้งยังทำให้ชาวนาไทยก้าวไปสู่การเป็น Smart farmer ได้

นอกจากนี้ ยังได้มีการแนะนำแอพพลิเคชันบนมือถือเพื่อชาวนา ได้แก่ ‘ไลน์บอทโรคข้าว’ เป็นแอพพลิเคชันที่พัฒนาโดยนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการวินิจฉัยและให้คำแนะนำการควบคุมโรคข้าว ‘คลินิกข้าว RD’ เป็นกลุ่มไลน์ทางการที่เพิ่มโอกาสให้ชาวนาเข้าถึงเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว และยังให้บริการตอบคำถามปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้าว และ ‘รีคัลท์’ แอพพลิเคชันเพื่อพยากรณ์ฝนเป็นรายแปลงอย่างแม่นยำ

ทั้งนี้ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยยกระดับและปรับฐานภาคการผลิตข้าวของไทยจะเป็นการสนับสนุนให้ชาวนาก้าวไปสู่การเป็นมืออาชีพ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้กับการประกอบอาชีพการทำนาได้อย่างยั่งยืน

 

 

Italian packaging machinery sets record turnover of more than 8 billion euros

According to the preliminary figures published by the Ucima Research Department, the sector has continued to grow during 2019 (up 1.8% on 2018), reporting positive performances both in Italy and in foreign markets.

 

The Italian packaging machinery industry continues to grow, its total turnover exceeding the record figure of 8 billion euros registered in 2019.

According to the preliminary figures published by the Research Department of Ucima (Italian packaging machinery manufacturers’ association), the sector has seen 1.8% growth this year.

Specifically, the Italian market has grown by a further 3.2% to a total of 1.713 billion euros following last year’s excellent results, partly achieved thanks to the government’s Industry 4.0 incentives. Exports, which account for 78.6% of total turnover, also rose by 1.4% to 6.293 billion euros. The available disaggregated data reveal particularly high levels of performance for exports of Italian technologies to three macro regions: Asia (+12.7%), EU (+6.5%) and Africa/Oceania (+3%).

“We are satisfied and proud of this latest achievement, which demonstrates that our industry is solid and dynamic, capable of establishing itself at a global level and fully exploiting the development of international markets and all our client sectors,” commented Enrico Aureli, chairman of UCIMA. “But there is no room for complacency as we are facing tough challenges, increasingly fierce competition and highly unstable scenarios.”

The forecasts for 2020 therefore remain cautious. Areas of concern include the continued geopolitical turbulence in a number of markets, tariffs and trade tensions at an international level, and the failure of the Italian government’s policies to adequately address companies’ growth needs.

“According to the macroeconomic forecasts, global GDP growth will continue to decelerate, and at a sectoral level order acquisition is currently less positive than in the past,” concluded Aureli. “We therefore believe that 2020 may be a year of consolidation after a period of strong and uninterrupted growth in recent years. But we remain optimistic about our sector’s medium and long term growth prospects.”

The Future of Packaging: Long-Term Strategic Forecast to 2028

According to research by Smithers in The Future of Packaging: Long-Term Strategic Forecast to 2028, between 2018 and 2028 the global packaging market is set to expand by almost 3% per annum, reaching over $1.2 trillion.

The global packaging market has increased by 6.8% from 2013 to 2018. Most of this growth has come from less developed markets, as more consumers move to urban locations and subsequently adopting westernized lifestyles. This has boosted a demand for packaged goods, which worldwide has been accelerated by the e-commerce industry.

Many drivers are having a significant influence on the global packaging industry. The four key trends that will play out across the next decade:

Economic and demographic growth

General expansion in the global economy is expected to continue over the next decade, boosted by growth in emerging consumer markets. There is the prospect for short-term disruptions from the impact of Brexit, and any heightening of tariffs wars between the US and China. In general, however, incomes are expected to rise, increasing consumer income for spending on packaged goods.

The global population will expand and especially in key emerging markets, like China and India, the rate of urbanization will continue to grow. This translates into increasing consumer incomes for spending on consumer goods, as well as exposure to modern retail channels and the aspiration among a strengthening middle class to engage with global brands and shopping habits.

Rising life expectancy will lead to aging of the population – especially in key developed markets, like Japan – will increase demand for healthcare and pharmaceutical products. Simultaneously there is a need for easy opening solutions and packaging adapted to the needs of elders.

Another key phenomenon of 21st century living has been the rise in number of single-person households; this is pushing demand for goods packaged in smaller portion sizes; as well as more convenience like reasealability or microwavable packaging.

Sustainability

Concern over the environmental impact of products is an established phenomenon, but since 2017 there has been a revived interest in sustainability focused specifically on packaging. This is reflected in central government and municipal regulations, consumer attitudes and brand owner values communicated via packaging.

The EU has pioneered this area with its drive towards circular economy principles. There is a particular focus on plastic waste, and as a high-volume, single-use item plastic packaging has come under particular scrutiny. A number of strategies are advancing to address this, including substituting to alternative materials, investing in the development of bio-based plastics, designing packs to make them easier to process in recycling, and improving recycling and processing of plastic waste.

As sustainability has become a key motivator for consumers, brands are increasingly keen for packaging materials and designs that demonstrably show their commitment to the environment.

With up to 40% of food produced worldwide not eaten – minimizing food waste is another key goal for policy makers. It is an area where modern packaging technology can have a major impact. For example, modern flexible formats like high-barrier pouches and retort cooking add extra shelf-life to foods, and can be especially beneficial in less developed markets where a refrigerated retail infrastructure is missing. Much R&D is going into improving packaging barrier technology, including the integration of nano-engineered materials.

Minimizing food losses also supports the wider use of intelligent packaging to cut waste within distribution chains and reassure consumers and retailers on the safety of packaged foods.

Consumer trends

The global market for online retailing continues to grow rapidly, driven by penetration of the Internet and smartphones. Consumers are increasingly buying more goods online. This will continue to increase through to 2028 and will see an elevated demand for packaging solutions – especially corrugated board formats – that can safely ship goods through the more complex distribution channels.

More people are consuming products such as food, beverages, pharmaceuticals on-the-go. This is increasing demand for packaging solutions that are convenient and portable, with the flexible plastics sector one main beneficiary.

In line with the move to single-person living, more consumers – especially younger age groups – are inclined to go shopping for groceries more frequency, in smaller quantities. This has driven growth within the convenience store retailing, as well as boosting demand for more convenient, smaller size formats.

Consumers are taking a greater interest in their own health matters, leading to healthier lifestyles. Therefore, this is boosting demand for packaged goods, such as healthy foods and beverages (e.g. gluten-free, organic/natural, portion controlled) alongside non-prescription medicines and nutritional supplements.

Brand owner trends

The internationalization of many brands within the fast-moving consumer goods industry continues to rise, as companies seek out new high-growth sectors and markets. Increased exposure westernized lifestyles will accelerate this process in key growth economies through to 2028.

E-commerce and the globalization of international trade is also stimulating a demand among brand owners for components, like RFID labels and smart tags, to protect against counterfeit goods, and enable better monitoring of their distribution.

Industry consolidation in merger and acquisition activity in end-use sectors such as food, beverages, cosmetics, is also forecast to continue. As more brands come under the control of one owner, their packaging strategies are likely to become consolidated.

The 21st Century consumer is less brand loyal. This is simulating an interest in customised or versioned packaging and packaging solutions that can create an impact with them. Digital (inkjet and toner) printing is providing a key means to do this, with higher throughput printers dedicated for packaging substrates now seeing their first installations. This further aligns with the desire for integrated marketing, with packaging providing a gateway to link into social media.

—————————————————————————————————————————————

Source: www.smithers.com/resources/2019/feb/future-packaging-trends-2018-to-2028

Quality and Transparent Sourcing Drive Millennial Food Choices, According to New Whole Foods Market Survey

Quality drives millennial food shopping, and they are willing to pay more for it, according to a new Whole Foods Market survey. Eighty percent of millennials value quality when it comes to food shopping, and nearly 70 percent are willing to spend more money on high quality foods.

These findings are part of a new survey released today that examines millennial food, health and grocery shopping preferences, which was conducted independently by YouGov on behalf of the retailer. The national online survey sampled 1,006 adults between the ages of 22 and 37 in the U.S.

Another trend that emerged is more informed purchasing decisions. A majority of millennials want to know where their food comes from and how it is sourced. Transparency in food sourcing is important to more than 65 percent of millennials, particularly for fresh meat and seafood. More than half of millennials will pay more for products that have adopted animal welfare standards and prefer to buy those responsibly sourced.

 

Food labeling and ingredient transparency are also key factors in millennials’ choices: Compared to five years ago, nearly 70 percent of millennials read labels more closely. More than 60 percent are more concerned about additives and growth hormones. Ultimately, half of millennials buy more organic products than they did five years ago.

Nearly seven in ten millennials spent more on food than on travel in the past year. A majority of millennials surveyed considered themselves to be “adventurous” eaters when it comes to food, and more than 60 percent make an effort to cook new dishes. More than six out of ten millennials try to eat healthy daily. Plant-based and unprocessed foods are becoming more popular with 63 percent of millennials trying to incorporate them into their diets.

Over the past year, nearly half of millennials have tried a special diet, such as Keto and dairy-free. Fifty-two percent restrict ingredients due to health reasons.  More than half of millennials found that maintaining an alternative diet is often inconvenient so are willing to pay more for convenient, ready-made meals that are healthy and high quality.

Sixty percent are aware of the implications their food choices have on the environment. About half actively seek out food and beverages made of less packaging and plastic.

 

Survey Methodology

The total unweighted sample size was 1,006 U.S. adults aged 22 – to 37-years-old who passed an occupation security screening. The online survey was conducted from August 5 to August 9, 2019. About half of the sample identified as parents.

—————————————————————————————————————————————-

Source:

Whole Foods Market: https://media.wholefoodsmarket.com

 

IFF Health to Enter Strategic Collaboration With BY-HEALTH

IFF Health, Shanghai, announces a strategic partnership for R&D of anti-aging ingredients with BY-HEALTH Co., a leading Chinese maker of dietary supplements and raw materials. This multinational, Asia-Pacific company was founded in 2002 and has adhered to a differentiated global quality strategy for a long time.

According to the World Health Organization, by 2050 the global population of people over the age of 60 will more than double to 2 billion. Economic stresses and increasingly better health and nutrition will combine to keep these seniors working and active. Moreover, the population of those living past 80 years is projected to nearly triple to almost half a billion. Yet the biology of aging minds and bodies can’t be denied.

While the senior population continues to grow and consumers are living longer, 57% of global consumers expect to be fit and healthy in old age, according to Euromonitor. To keep the healthy but aging balance required, it is paramount to focus on developing ingredients and technologies that truly support this rapidly expanding demographic.

Together, IFF Health and BY-HEALTH are researching the production and international development of true, science-based anti-aging ingredient formulations. The formulations will have special focus on fighting cellular oxidative stress, support of intracellular health such as of the mitochondria, and telomerase research. Telomeres are the repetitive nucleotide sequences that cap chromosomes and protect them from deterioration or from fusing with neighboring chromosomes and preventing healthy cell replication and turnover. They have been identified as being key factors in the process of aging.

“Our purpose at IFF Health demands more than just being a healthy ingredients company,” says Raimund Hoenes, PhD, General Manager IFF Health. “This requires a committed partner to put uncommon sense to work in order to reinvent and refocus our industry. But more than giving consumers new products to support their healthy lifestyle, it’s also about how we deliver that capacity. BY-HEALTH’s focus on innovative research and development matches our commitment to quality, safety, science, and innovation. We’re honored to partner with BY-HEALTH and look forward to a fruitful collaboration.”

As a collaborative effort committed to, and driven by, scientific research, the IFF Health and BY-HEALTH teams will investigate ingredient synergies that will not only be marked by high efficacy but superior applicability to better-for-you food and beverage applications.

BY-HEALTH is known for establishing the first fully “transparent” manufacturing facility in the Chinese health food industry, and one of the most advanced production bases worldwide for vitamins and dietary supplements, exercising the strictest quality control. The factory is open to the public, its global raw materials are fully traceable, and the production process visible. The facility employs some 200 detection points of internal control to carry out production under standards that surpass national standards, all in order to ensure customer confidence and provide the highest quality products.

Plant-based Milk Trend in London: ชาวอังกฤษนิยมผลิตภัณฑ์นมจากพืชเพิ่มขึ้น

จากผลการสำรวจของ Mintel พบว่าผู้บริโภคชาวอังกฤษกำลังให้ความนิยมผลิตภัณฑ์นมที่ผลิตจากพืชเพิ่มขึ้น ได้แก่ อัลมอนต์ ข้าวโอ๊ต มะพร้าว และถั่ว จากการสำรวจในช่วง 3 เดือน (ธ.ค.-ก.พ. 2562) พบว่าร้อยละ 23 ของชาวอังกฤษนิยมบริโภคนมที่ผลิตจากพืช โดยเป็นสถิติที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

อย่างไรก็ดี แม้ว่านมที่ผลิตจากพืชจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น แต่ยังมีสัดส่วนทั้งปริมาณและมูลค่าไม่มากนัก คือคิดเป็นเพียงร้อยละ 4 และร้อยละ 8 ของนมทั้งหมดในปี 2561 เนื่องจากการนำผลิตภัณฑ์นมจากพืชมาใช้ปรุงอาหารและเครื่องดื่มร้อนยังมีข้อจำกัด โดยมีเพียงร้อยละ 25 ของผลิตภัณฑ์นมจากพืชเท่านั้นที่ถูกนำมาใช้ในการประกอบอาหาร เมื่อเทียบกับร้อยละ 42 ของผลิตภัณฑ์นมวัว สำหรับกลุ่มเครื่องดื่มร้อน พบว่าผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นมจากพืชทำเครื่องดื่มร้อนคิดเป็นร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับผู้ใช้นมวัวในการทำเครื่องดื่มร้อนซึ่งมีร้อยละ 82 อย่างไรก็ตาม ชาวอังกฤษร้อยละ 21 เชื่อว่านมที่ผลิตจากถั่วช่วยเพิ่มรสชาติให้เครื่องดื่มมากกว่านมวัว ทั้งนี้ ตลาดผลิตภัณฑ์นมจากพืชยังมีโอกาสที่จะเติบโตเพิ่มขึ้น โดยร้อยละ 65 ของผู้ใช้นมจากพืชยินดีที่จะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์นมจากพืชเพื่อเป็นทางเลือกในการปรุงอาหาร

Photo: valeria_aksakova 

นอกจากนี้ การวิจัยของ Mintel ยังพบว่า ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์นมได้ให้ความสำคัญกับจริยธรรมและสิ่งแวดล้อมในการผลิต โดยร้อยละ 33 ของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นมในการประกอบอาหารและเครื่องดื่มมีความสนใจเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของสินค้าว่ามีส่วนประกอบของพลาสติกรีไซเคิลหรือไม่ ในขณะที่ร้อยละ 27 ของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นมให้ความสนใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจฟาร์มนมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และร้อยละ 15 ให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพของสัตว์

Emma Clifford ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ทางเลือกการบริโภคผลิตภัณฑ์นมจากพืชได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่การครองตลาดหลัก โดยการเติบโตดังกล่าวมีปัจจัยสำคัญมาจากการที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อสุขภาพ จริยธรรม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีรสนิยมการบริโภคที่ชื่นชอบความหลากหลาย นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงไปสู่กระแสการบริโภคสินค้าที่ผลิตจากพืชซึ่งมีราคาที่สูงนั้น จะมีส่วนช่วยในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตลาดในภาพรวม ทั้งนี้ ผู้บริโภคมีความสนใจที่จะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นมจากพืชที่นำมาใช้/ปรุงอาหารให้เหมาะกับการบริโภคในโอกาสต่างๆ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาใช้ผลิตภัณฑ์นมจากพืชมากขึ้น

ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน เปิดเผยว่า จากกระแสรักสุขภาพและมีความชื่นชอบในการบริโภคสินค้าเครื่องดื่มที่มีนวัตกรรมและความหลากหลาย ทำให้ชาวอังกฤษหันมานิยมผลิตภัณฑ์นมจากพืชทดแทนผลิตภัณฑ์นมจากสัตว์มากขึ้น ได้แก่ อัลมอนต์ ข้าวโอ๊ต มะพร้าว และถั่ว ซึ่งมีแนวโน้มที่จะครองตลาดหลักในอนาคต ในขณะที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการปลูกธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าว มะพร้าว จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะขยายการส่งออกสินค้าดังกล่าวมายังตลาดสหราชอาณาจักรได้มากขึ้น

ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์นมที่ผลิตจากพืชมายังตลาดสหราชอาณาจักร ควรศึกษาและพัฒนาสินค้าให้มีนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า รวมถึงการผลิตและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่คำนึงสิ่งแวดล้อม และจริยธรรมทางการค้า ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในสหราชอาณาจักร

————————————————————————————————————————————–

ที่มา:

Mintel.com

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน

กว่างซีฯ ชูไทย หุ้นส่วนยุทธศาสตร์: เชื่อมโยงเส้นทางการค้า การลงทุน ร่วมส่งเสริมสินค้าเกษตร

จากการมาเยือนไทยของ นายฉิน ลู่เพ่ย รองประธานเขตกว่างซีฯ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ได้มีการนำเสนอประเด็นความร่วมมือระหว่างไทยกับกว่างซีฯ 3 เรื่องสำคัญ ซึ่งมีผลต่อการเชื่อมโยงเส้นทางการค้า การลงทุน และการร่วมส่งเสริมสินค้าเกษตร

ความเป็นหุ้นส่วนเชื่อมโยงการค้าการลงทุน นายฉิน ลู่เพ่ยเปิดเผยว่า รัฐบาลจีนได้กำหนดเส้นทางท่าเรือชินโจวให้เป็นข้อต่อยุทธศาสตร์เชื่อมการขนส่งสินค้าเข้าสู่จีนตะวันตก โดยมีเส้นทางรถไฟ จากชายฝั่งตะวันออกไปยังจีนตอนใน ซึ่งเส้นทางนี้จะมีไทยเป็นส่วนหนึ่งของจิ๊กซอว์เชื่อมจีน-อาเซียน ทั้งทางบก-ผ่านด่านเมืองผิงเสียง และทางทะเล จากท่าเรือแหลมฉบังสู่ท่าเรือชินโจว การเชื่อมโยงนี้จะทำให้เกิดความสะดวกในการขนส่งสินค้า และเกิดการร่วมลงทุนระหว่างกัน พร้อมกันนี้ ไทยได้ขอให้จีนช่วยดูแลและคุ้มครองนักธุรกิจไทยในกว่างซีฯ รวมทั้งส่งเสริมนักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจีนเน้นย้ำว่าปัจจุบันจีนมีการปรับปรุงนโยบายด้านการลงทุนให้สอดคล้องกับต่างประเทศและมีความต่อเนื่อง รัฐบาลกว่างซีฯ ยินดีให้การคุ้มครองนักลงทุนไทยและให้การสนับสนุนให้นักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในไทยทั้งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ตามข้อเสนอของฝ่ายไทย

หนึ่งในความเป็นหุ้นส่วนเชื่อมโยงการค้า การลงทุน ที่สามารถดำเนินการได้ทันที ได้แก่ ความร่วมมือด้านสินค้าเกษตร ซึ่งไทยได้เสนอความร่วมมือในสินค้าผลไม้และรังนก โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมีกำหนดจัดเทศกาลผลไม้ไทยทั่วจีน และใช้นครหนานหนิงเป็นเมืองตั้งต้นของการจัดงานในช่วงเดือนเมษายน 2563 ก่อนดำเนินการในเมืองต่างๆ อีก 9 เมือง หลังจากที่ได้เคยจัดงานไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือนตุลาคมที่นครหนานหนิง และได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี ทั้งนี้ รัฐบาลกว่างซีแจ้งว่า ยินดีสนับสนุน และเข้าร่วมพิธีเปิดงานในวันที่ 25 เมษายน 2563 พร้อมช่วยประชาสัมพันธ์การจัดงานดังกล่าว อีกทั้ง ยินดีให้ไทยเข้าไปใช้สิทธิประโยชน์จากเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อดำเนินการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยเฉพาะรังนกไทย

สำหรับการเดินทางครั้งนี้  รองประธานเขตกว่างซีฯ ยังมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความร่วมมือด้านการเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศกับไทย ซึ่งรัฐบาลจีนได้กำหนดให้ปีหน้าเป็นปีเศรษฐกิจดิจิตอลจีน-อาเซียน และเห็นว่า ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะสนับสนุนนโยบายทั้งสองด้านของจีน และยังได้ดำเนินโครงการ Topthai flagship store ซึ่งเป็นการนำสินค้าไทยพรีเมียมไปจำหน่ายบนช่องทางออนไลน์ของจีน

Italian Cuisine Week ครั้งที่ 4: การศึกษาด้านอาหาร…รสชาติแห่งวัฒนธรรม”

สำนักงานพาณิชย์อิตาเลียน หน่วยงานรัฐบาลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาธุรกิจของบริษัทสัญชาติอิตาเลียนในต่างประเทศและส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติในประเทศอิตาลี จัดงาน “Italian Cuisine Week ครั้งที่ 4” ในประเทศไทย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ภายใต้แนวคิด “Food Education: A Taste of Culture การศึกษาด้านอาหาร…รสชาติแห่งวัฒนธรรม”

ในโอกาสนี้ สำนักงานพาณิชย์อิตาเลียนได้เผยแพร่หนังสือ “Italian Cuisine in Thailand: Discovering Italy in 20 Regions” คู่มือเพื่อการค้นหาอาหารอิตาเลียนชั้นเลิศในประเทศไทย โดยสำนักงานฯ ได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้นเป็นพิเศษเพื่อส่งเสริมการจัดงานสัปดาห์อาหารครั้งนี้โดยเฉพาะ

ในค่ำคืนแห่ง “ออสปิตาลิตา อิลาเลียนา (Ospitalita’ Italiana)” ที่กรุงเทพฯ ครั้งนี้ บริษัทสัญชาติอิตาเลียน 7 แห่งได้จัดแสดงและนำเสนอรสชาติอาหารแนวใหม่แก่บรรดาผู้เข้าร่วมงานที่บริเวณโต๊ะจัดแสดงผลิตภัณฑ์ อาทิ เมนูเนื้อตัดเย็น (โคลด์คัต) อาหารแป้งแบบปลอดกลูเตน ผักดอง กรานาเสิร์ฟกับทรัฟเฟิล ไวน์ต่าง ๆ เครื่องดื่มสปิริต (อมาโร) ซึ่งนำเสนอโดย สำนักงานพาณิชย์อิตาเลียน กรุงเทพฯ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารและไวน์แนวใหม่เหล่านี้จะถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบโดยเชฟจากร้านอาหารซึ่งใช้รังสรรค์เมนูพิเศษเพื่อผู้เข้าร่วมงานนี้โดยเฉพาะ

นอกจากนี้ยังมีโซนการจัดแสดงสินค้าจากบริษัทสัญชาติอิตาเลียนที่ตกแต่งอย่างสวยงามและการลิ้มลองอาหารรสเลิศมากมาย ในโอกาสนี้ หอการค้าไทย-อิตาเลี่ยน ก็ได้จัดพิธีมอบรางวัล Awarding Ceremony at Ospitalita’ Italiana เพื่อยกย่องร้านอาหารอิตาเลียนชั้นเยี่ยม 20 แห่งในประเทศไทย ซึ่งผ่านการคัดเลือกตามมาตรฐานที่เคร่งครัดที่กำหนดโดยสถาบันวิจัยด้านการท่องเที่ยวอิตาเลียน (Italian Institute for Research in Tourism: INSART) โดยได้มีการกำหนดมาตรฐานอันเข้มงวดทั้ง 10 ด้าน ได้แก่ อัตลักษณ์และความโดดเด่นในแบบอิตาเลียน (Identity and Italian Distinctiveness) การรับรองแขก (Reception) การจัดวางที่เหมาะสม (Mise en place) ครัว (Kitchen) รายการอาหาร (Menu) การนำเสนออาหาร (Gourmet offer) รายการไวน์ (Wine list) การใช้น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์พิเศษ (Extra Virgin Olive Oil) ประสบการณ์และคุณสมบัติ (Experience and competence) และการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการคุ้มครองถิ่นกำเนิดและการคุ้มครองแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (PDO and PGI products)

มร.จูเซปเป ลามัคเคีย ผู้อำนวยการสำนักงานพาณิชย์อิตาเลียน กรุงเทพฯ กล่าวว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้จัดเทศกาลในครั้งนี้ซึ่งเราหวังว่าจะสามารถเผยแพร่ความเป็นอิตาลีให้เป็นที่รู้จักในเมืองไทย ทั้งในด้านเมนูอาหาร ศิลปะ วัฒนธรรม และแนวทางการปรุงอาหาร งานครั้งนี้จะนำเสนอเมนูอาหารจากอิตาลีมากมาย รวมถึงไวน์ชั้นเยี่ยมแก่ผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน”

Italian Festival Thailand 2019 ถือเป็นเทศกาลระยะยาว โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา สำนักงานพาณิชย์อิตาเลียนได้เฉลิมฉลองความเป็น “อิตาลี” ผ่านการจัดอีเว้นท์หลายรูปแบบ สำหรับงานสัปดาห์อาหารครั้งนี้สำนักงานพาณิชย์อิตาเลียนได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับตราสินค้าชั้นนำสัญชาติอิตาเลียนและร้านอาหารชั้นเลิศมากกว่า 20 รายในประเทศไทย เพื่อให้งาน “Italian Cuisine Week ครั้งที่ 14” นำเสนอเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมอาหารอิตาเลียนให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมากยิ่งขึ้น

Top Trends Driving the Meat Industry in 2020 – Ep. 3 Sustainability

ความต้องการของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยซึ่งส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหารในหลายๆ ด้าน ที่ผ่านมาในต่างประเทศให้การยอมรับและมีความต้องการมากขึ้นที่จะทราบข้อมูลที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์อาหาร โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์พร้อมปรุง เวลาเราไปซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตในกลุ่มสินค้าแบบเดียวกัน หากสินค้าแบรนด์ใดที่ให้ข้อมูลที่มาที่ไปกับผู้บริโภคได้ ผู้บริโภคก็รู้สึกยินดีที่จะซื้อสินค้านั้นมากกว่าแบรนด์อื่น ในอีกทางหนึ่งเทรนด์สุขภาพและคลีนลาเบลก็ยังคงเป็นเทรนด์ฮิตที่ฝังลึกลงไปในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคมากขึ้นด้วยเช่นกัน

แม้อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์แปรรูปจะเผชิญกับความท้าทายมากมายจากความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค แต่ความท้าทายสำคัญที่กำลังมีความเคลื่อนไหวมากขึ้นเรื่อยๆ ในวงการอุตสาหกรรมอาหารขณะนี้นั่นก็คือ เทรนด์ด้านความยั่งยืนที่มาพร้อมกับผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนื้อสัตว์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิฐพร วังใน ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลเทรนด์สำคัญเรื่องความยั่งยืนของอุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์ในงานสัมมนา Food Focus Thailand Roadmap 49: Meat & Poultry Edition 2019 # Trend & Ideation ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

ต้องยอมรับว่าเรื่อง Sustainability หรือความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์แปรรูปนั้นเกี่ยวเนื่องถึงผลิตภัณฑ์ Plant-based meat หรือผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนื้อสัตว์ที่ใช้วัตถุดิบจากพืช เนื่องจากทุกวันนี้กระแส Plant-based meat ยิ่งใหญ่มาก อย่างไรก็ตาม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามเทรนด์นี้ยังต้องอาศัยการบูรณาการจากหลายๆ ฝ่ายด้วย

ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนื้อสัตว์แบ่งเป็น

Animal cell culture คือ การเพาะเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื้อสัตว์ในห้องปฏิบัติการ

Non-animal cell culture คือ การเพาะเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อ แต่ไม่ได้ใช้เนื้อเยื่อสัตว์ เช่น การนำโปรตีนจากเชื้อราหรือแบคทีเรียมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้เจริญขึ้นไปเรื่อยๆ

Recombinant protein คือ การเพาะเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับการใช้เอนไซม์ทางเทคโนโลยีชีวภาพมาสร้างเนื้อเยื่อเพื่อให้เกิดเนื้อเยื่อคล้ายเนื้อเยื่อสัตว์

Alternative protein ซึ่งเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ นั่นก็คือ Plant-based meat คือการใช้โปรตีนจากพืชมาทำให้เหมือนเนื้อสัตว์ จะเห็นว่าแบรนด์ผู้นำในตอนนี้อย่าง Beyond Meat ก็นำโปรตีนจากพืชมาทำผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนื้อสัตว์ได้หลากหลาย

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้ให้ประสบความสำเร็จต้องคำนึงถึงการเลือกใช้โปรตีนทดแทน โดยเฉพาะโปรตีนพืชซึ่งมีมากมายหลายชนิด มีการวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดเปิดเผยว่า หากคุณจะต้องเลือกแห่งโปรตีนจากพืชเพื่อมาทดแทนจากสัตว์มันก็พอมีไกด์ไลน์อยู่บ้าง แต่จริงๆ แล้วนับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งถ้าเราเปรียบเทียบโปรตีนสัตว์กับโปรตีนพืช เช่น โปรตีนถั่วเหลือง กับเวย์โปรตีนจากนม โปรตีนจากพืชส่วนใหญ่มีโครงสร้างที่ซับซ้อนและมักจะเชื่อมต่ออยู่กับสารอื่นๆ เช่น ไขมัน ดังนั้น การสกัดโปรตีนพืชออกมาจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก และการใช้ Solvent ในการสกัดมากเกินไปก็อาจส่งผลให้โปรตีนเกิดการเสียสภาพและสูญเสียคุณสมบัติไป นอกจากนี้ ถ้าเปรียบเทียบโปรตีนสัตว์กับโปรตีนพืชพบว่า โปรตีนพืชมักจะมีคุณสมบัติเชิงหน้าที่ที่แย่กว่าโปรตีนจากสัตว์ เช่น ละลายได้น้อยกว่า เกิดอิมัลชันได้น้อยกว่า เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของการผลิตผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์

อย่างไรก็ตาม หากคุณจะต้องหาแหล่งของโปรตีนใหม่ที่ยั่งยืน ควรจะเลือกโครงสร้างของโปรตีนให้คล้ายๆ กันกับโครงสร้างของโปรตีนจากเนื้อสัตว์เพื่อทำให้คุณสมบัติเชิงหน้าที่ไม่ต่างกันมากนัก

ยกตัวอย่าง Beyond Meat ทำจากโปรตีนจากถั่ว (Pea) ในขณะที่ Impossible Burger นั้นทำมาจากโปรตีนถั่วเหลือง (Soy) จากการสำรวจและเปรียบเทียบความชอบของผู้บริโภคนั้นพบว่า Beyond Meat ได้รับการตอบรับที่ดีกว่า จากการวิเคราะห์อินกรีเดียนท์พบว่าในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์มีฮีโมโกลบินซึ่งเมื่อมีการย่างจะทำให้เนื้อสัตว์มีความชุ่มของเนื้อ โดยผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ของ Impossible Burger นั้นพบว่ามีโปรตีนชนิดหนึ่งในรากถั่ว ชื่อว่า Soy Leghemoglobin ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนไมโอโกลบินในเนื้อสัตว์ เมื่อผู้ผลิตนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ทำให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะปรากฏที่ดี

อย่างไรก็ตาม ในการผลิตโปรตีนจากพืชเพื่อทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์นั้นต้องใช้อินกรีเดียนท์มากมายจึงเหมือนกับว่าการผลิตอาหารที่เติมแต่งส่วนผสมจำนวนมาก ซึ่งในทางปฏิบัติการผลิตอาหารใดก็ตามควรตั้งอยู่บนความสมดุลและความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค