Take a Look at the Quality Milk Production. One of the Most Complete Automation Technologies in Vietnam.

พาชมแหล่งผลิตนมคุณภาพ ภายใต้การใช้เทคโนโลยีระบบออโตเมชันที่สมบูรณ์แบบที่สุดในเวียดนาม

โดย: พิมพ์ชนก กนกลาวัณย์
Pimchanok Kanoklawan
Senior Journalist
Food Focus Thailand Magazine

Full article TH-EN

บริษัทหุ้นส่วนนมกู๋จี ณ เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม คือหนึ่งในผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีความน่าสนใจในด้านของการบริหารจัดการและการนำเทคโนโลยีระบบออโตเมชันเข้ามาพัฒนาการผลิตแบบครบวงจร โดยบริษัทฯ ถือกำเนิดจากการทำเกษตรออร์แกนิก แล้วขยายธุรกิจไปสู่ฟาร์มโคนมออร์แกนิก จนกระทั่งต่อยอดเป็นโรงงานขนาดกลางที่ผลิตและจัดจำหน่ายนมสดพาสเจอร์ไรส์ โยเกิร์ต เเละชานมบรรจุขวดที่มีความทันสมัยแห่งหนึ่งในเมืองโฮจิมินห์

บริษัทหุ้นส่วนนมกู๋จี ได้เริ่มต้นธุรกิจบนพื้นที่ราว 125 ไร่ สำหรับการผลิตสินค้าเกษตรที่หลากหลายและครบวงจร เริ่มจากโรงเรือนเพาะเห็ด สวนกล้วยไม้ สวนผักและผลไม้ ฟาร์มโคนม แกะ แพะ และเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรสำหรับนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจได้มาเยี่ยมชม โดยเพื่อเป็นการต่อยอดธุรกิจฟาร์มโคนม บริษัทฯ ได้ก่อตั้งโรงงานผลิตนมสดพาสเจอร์ไรส์ โยเกิร์ต เเละชานมบรรจุขวดขึ้นในปี 2556 โดยได้รับการออกแบบ ผลิต และติดตั้งเครื่องจักรระบบออโตเมชันแบบครบวงจรจาก บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) ผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิศวกรรมอาหารและเครื่องดื่มจากประเทศไทย

จุดที่ 1 โรงเรือนเพาะเห็ดต้นแบบ
“ทุกกิจกรรมภายในฟาร์มดำเนินการตามระบบเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด” คุณเหงียน ถิ ทู เฮือง เจ้าของบริษัทหุ้นส่วนนมกู๋จี กล่าวกับนิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์ พร้อมกับเล่าถึงธุรกิจทั้งหมดว่า “เราเริ่มต้นธุรกิจจากการเพาะเห็ดจำหน่าย โดยมีพ่อค้าจากพื้นที่ใกล้เคียงมารับซื้อไปจำหน่ายต่อและส่วนหนึ่งเราจำหน่ายที่หน้าร้านของเราเอง ต่อมาได้เพิ่มมูลค่าเห็ดด้วยการนำมาอบแห้ง ปรุงรส และเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น หลายคนตามมาซื้อถึงหน้าฟาร์ม และเป็นจุดเริ่มต้นที่เราเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาชมโรงเรือนเพาะเห็ดด้วย” ปัจจุบันที่นี่มีการเพาะเห็ดหลากหลายชนิด อาทิ เห็ดนางฟ้าภูฎาน ขอนขาว นางรม และหลินจือ โดยถัดจากโรงเรือนเพาะเห็ดก็จะเป็นพื้นที่ของสวนกล้วยไม้ สวนผักและผลไม้ อีกทั้งยังมีพื้นที่บางส่วนสำหรับปลูกหญ้าซึ่งกินพื้นที่ยาวไปจนถึงฟาร์มโคนม แกะ แพะ เลยทีเดียว

Cu Chi Milk Joint Stock Company Limited in Ho Chi Minh City, Vietnam is one of the most interesting agricultural and food producers in the field of management and automation technology for the development of integrated production. The company was found as organic farming. After that it has expanded to an organic dairy farm, and become one of the most modern medium-sized dairy producer and distributor for pasteurized milk, yoghurt and bottled milk tea in Ho Chi Minh City.

Cu Chi Milk Joint Stock Company Limited has started its business on 125 rai of land for producing a various agricultural product, doing integrated farming for mushroom cottage, orchid garden, fruit and vegetable farms, dairy cows, goats and sheep, while the place is also opened as an agricultural tourist attraction for tourists and interested visitors. In order to promote its dairy business, the company has established a dairy production plant for producing pasteurized milk, yogurt and bottled milk tea in 2013. The factory has been designed and installed with high technology automation machineries by Patkol Public Company Limited, leading company in engineering business of food and beverage production process and cooling system from Thailand.

First Stop: The Flagship Mushroom Cottage
“All activities within the farm are carried out in accordance with the organic farming system,” Mrs. Nguyen Thi Thu Huong, co-owner of Cu Chi Milk Joint Stock Company Limited said to Food Focus Thailand magazine. “We have started the mushroom farming business by merchandising our products to traders in nearby areas. Later on, The company has increased value-added for mushroom by making various products such as dried mushroom, and cooked mushroom. Our products then have become more recognized so that many people come to the farm by themselves and that it was a great start to a farm visit activity. Many kinds of mushrooms are growing here in current such as Bhutan mushroom, white mushroom, oyster mushroom, and Lingzhi or Reishi mushroom. Next to the mushroom cottage are orchid garden, and vegetables and fruits plantation areas, while some part of the farm is for growing grasses and for feeding dairy cows, sheep, and goats.”

Winning the Hearts of Seniors: Putting Care in Packaging

ชนะใจตลาดผู้สูงวัย ด้วยความใส่ใจในบรรจุภัณฑ์

โดย: คุณรัตนศิริ ติลกสกุลชัย
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด
บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด

Full article TH-EN

เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งหมายถึงบุคคลที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป อย่างเต็มรูปแบบในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้านี้ โดยตามติดเพื่อนบ้านในทวีปเอเชีย อย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็กำลังปรับตัวเพื่อรับมือกับความต้องการที่เปลี่ยนไป และการบริการใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นมา

ข้อมูลจากการสำรวจล่าสุดเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของผู้สูงวัย 27 ประเทศทั่วโลก1 โดยเน้นการศึกษาเกี่ยวกับเทรนด์ของอาหาร รวมถึงผลกระทบของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อการตัดสินใจ เพื่อเป็นโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ผลิตรายต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย พบว่า ร้อยละ 59 ของผู้ที่อายุเกิน 60 ปี ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มสำหรับสินค้าที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงวัยโดยเฉพาะ และร้อยละ 88 มองว่า “คุณค่าของสินค้า” เทียบได้กับ “คุณภาพของสินค้า” นอกจากนั้น ผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังมีกำลังใช้จ่ายสำหรับแบรนด์ที่ออกแบบมาเพื่อพวกเขาได้ เช่น ในอเมริกา ผู้สูงวัยในช่วง 55-64 ปี มีกำลังใช้จ่ายสูงกว่ากลุ่มที่อายุน้อยกว่า 25 ปี ถึงสองเท่าตัว

เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายที่มาพร้อมกับอายุของผู้บริโภคกลุ่มนี้ ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์และวงการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจึงจำเป็นจะต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคสูงวัยที่มีพฤติกรรมในการบริโภคแตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ เช่น ผู้สูงวัยซื้อสินค้าบ่อยครั้งขึ้น ในหลากหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์มากขึ้น เลือกที่จะซื้อสินค้าในร้านขนาดเล็กใกล้บ้าน มีความภักดีต่อผลิตภัณฑ์ ทั้งยังต้องการสินค้าที่คุณภาพสูงยิ่งขึ้น ผู้บริโภคกลุ่มนี้มองหาสินค้าและบริการที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตนอย่างเฉพาะเจาะจง และใช้เงินถึงร้อยละ 20 ไปกับเรื่องของอาหารและเครื่องดื่ม ในขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่อายุน้อยกว่า 60 ปีใช้เงินกับเรื่องดังกล่าวเพียงร้อยละ 18 เท่านั้น
It’s become common knowledge that within less than 10 years, Thailand will officially gain the classification of an ‘aging society,’ referring to the growing proportion of the nation’s population aged over 60. This trend is also being seen throughout neighboring countries in Asia such as Japan, South Korea, and Singapore. With this challenge of evolving demands and requests for new services by older generations, both the public and private sector have been investing their efforts into defining necessary adaptations and products to cater to the ever-growing senior populations.

To analyze this growing market and their unique needs, a study1 focused upon senior citizens worldwide has been conducted. The study investigated senior consumer trends in food, packaging and shopping experience to identify product opportunities for producers, based on insights from 27 countries, including Thailand.

Findings show that 59% of those over 60 are willing to pay extra for products that are specially designed for the elderly, and 88% equate product ‘value’ with ‘high quality,’. And this age segment was also shown to have the revenue to pay for those brands that cater to them. For example, in America, the disposable income of those aged 55-64 is twice that of the under 25s, per a Euromonitor/AT Kearney survey.

Safety & Sanitary Challenges in Factory

สุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรซึ่งรับผิดชอบในการทำความสะอาดในโรงงาน

โดย: ปิยะจิตต์ เลาหะกุลไพศาล
Piyajit Loahakunphaisal
Lead Auditor
SGS (Thailand) Limited

Full article TH-EN

Safety and Sanitary Challenges in Factory คือ สุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรซึ่งรับผิดชอบในการทำความสะอาดในโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานผลิตอาหารนั้นงานสุขาภิบาลหรือการทำความสะอาดเป็นสิ่งที่ควบคู่กัน การจะผลิตสินค้าให้ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะต้องมาจากการทำความสะอาดที่ถูกวิธี แต่ในความเป็นจริงแล้วพบว่ามีโอกาสเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้จากการทำความสะอาดเช่นกัน อันเนื่องมาจากความประมาท จากข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2558 พบว่าโรงงานผลิตอาหารประสบอันตรายจากการทำงานสูงสุดเป็นอัน 5 ของประเทศไทยจากธุรกิจทุกประเภท ซึ่งทำให้เกิดการเสียชีวิต ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หยุดงานเกิน 3 วัน หยุดงานไม่เกิน 3 วัน เป็นต้น ดังนั้น เราจะป้องกันเหตุอันตรายอันมีสาเหตุจากความประมาทในการปฏิบัติงานได้อย่างไร?

อุบัติเหตุที่เกิดจากกิจกรรมทำความสะอาด เช่น พนักงานทำความสะอาดเครื่องจักรในขณะที่เครื่องจักรยังทำงานอยู่ส่งผลให้เครื่องจักรหนีบหรือบาดอวัยวะ ขาดการติดป้ายเตือนระหว่างดำเนินกิจกรรมดังกล่าว การไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล แว่นตาป้องกันสารเคมี ถุงมือ ผ้ากันเปื้อน รองเท้านิรภัย หมวกคลุมผม ผ้าปิดจมูก และหน้ากากป้องกันสารเคมี ทำให้เกิดการกระเด็นของสารทำความสะอาดและสารฆ่าเชื้อสัมผัสกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยตรง การไม่ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติที่ทางองค์กรจัดทำขึ้นมาทำให้เกิดอุบัติเหตุกับอวัยวะของร่างกาย ขาดการอบรมพนักงานผู้ทำงานให้เข้าใจถึงวิธีการส่งผลให้ทำความสะอาดด้วยความประมาท และการไม่กำกับดูแลของหัวหน้างานทำให้พนักงานปฏิบัติงานผิดขั้นตอนเป็นต้น

จะป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุได้อย่างไร ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจอุปกรณ์และรายการทำความสะอาด กำหนดขั้นตอนการทำความสะอาด อบรมพนักงานให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ จัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดให้เหมาะสม กำหนดเทคนิควิธีการสำหรับการทำความสะอาดที่มีความเสี่ยง ภายใต้กรอบอนุสัญญาองค์ การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 187 และจัดทำการวิเคราะห์ความเสี่ยง

Safety and sanitary challenges in factory are employee health and personnel safety that is responsible for cleaning in factory especially safety and sanitation challenges in the food factory are consider concurrently. Good manufacturing practice in food factory is of suitable cleaning. However, there might be an accident caused by cleaning practice occurred due to carelessness. How should be protected carelessness in factory? According to the data in 2015, the food factory faced the 5th highest hazard in Thailand for all types of food industry that could affect life, disability, organ lost, over-3-day absence injuries, less than 3-day injuries, etc.

Accidents always occurs during cleaning workplace, for exemples; the staff got an injure while cleaning a machine which was operating. There is no lockout/tagout machine or equipment in order to perform maintenance or cleaning. Working without appropriate personal protective equipment such as goggles, chemical-resistant gloves, apron, safety shoes, cap, mask and respirator causes a splash of cleaning agents and disinfectants to any part of your body directly. Not following safety working procedures, and principles introduced at the workplace to cause an accident with the organs of the body. Employees’ are not trained about how to maintain a safe and healthy workplace, in clouding how to ware and use safety gear and equipment when required or appropriate. And lack supervision of supervisor in term of sanitary practice.

How to protect an accident? First, you must understand about listing of equipment and list of cleaning item. Identify cleaning program plan, on-the-job training all relevant employee to ensure that all employee should be awareness and competence. Prepare cleaning equipment required appropriate. Determine cleaning program technique base on risk assessment under code of practice follow ILO Convention 187-Promotional Framework for Occupational Safety and Health Convention, 2006. And established risk assessment.

Alcohol Series as Disinfectants

สารฆ่าเชื้อกลุ่ม Alcohol Series

โดย: สหัส รัตนะโสภณชัย
Sahas Ratanasoponchai
Assistant Vice President: Hygiene Business
Betagro Group

Full article TH-EN

ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทั่วไป เรามักใช้แอลกอฮอล์ 70% ในการฉีดพ่นฆ่าเชื้อเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งพ่นใส่มือ เพื่อให้ไม่มีเชื้อโรคอยู่ แต่ในความเป็นจริงยังพบว่าการฆ่าเชื้อนั้นไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ซึ่งอาจมีหลากหลายสาเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพของแอลกอฮอล์ลดลง ทั้งจากปริมาณเชื้อที่มีอยู่ ความชื้นของอุปกรณ์เอง หรือชนิดของเชื้อนั้นๆ ที่ไม่ตอบสนองต่อแอลกอฮอล์ ถ้าเป็นเช่นนั้นจะมีสารใดอีกบ้างที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ได้ระบุว่า การใช้แอลกอฮอล์ 70% เพียงอย่างเดียวนั้นมีประสิทธิภาพไม่เท่ากับการใช้สารประกอบร่วม ตัวอย่างสารประกอบร่วมในสูตรสารทำความสะอาดที่พบบ่อยและมีงานวิจัยรองรับว่ามีประสิทธิภาพ ได้แก่

1. แอลกอฮอล์ + กรดแลคติก (Alcohol + Lactic acid)
2. แอลกอฮอล์ + กรดอะซิติก (Alcohol + Acetic acid)
3. แอลกอฮอล์ + ไลโซไซม์ (Alcohol + Lysozyme)
4. แอลกอฮอล์ + พอลิไลซีน (Alcohol + Polylysine)
5. แอลกอฮอล์ + ไคโตซาน (Alcohol + Chitosan)

Most of food factories use 70% alcohol to spray on tools and equipment, or even on hands to disinfect microorganisms, but in reality, it is not perfectly sterilized. Ineffectiveness of alcohol can result from numbers of factors either the amount of the decease, the humidity of the device itself or the type of germs not responded to alcohol. If so, what kind of substance can help to resolve this problem?

Many studies have indicated that 70% alcohol alone is not as effective as using in combination with other compounds. For instance, common compounds that have been proven by a research for an effective cleaning are;

• Alcohol + Lactic acid
• Alcohol + Acetic acid
• Alcohol + Lysozyme
• Alcohol + Polylysine
• Alcohol + Chitosan

The “Product Effect” Reduces the Sensitivity of Traditional Metal Detectors

รู้หรือไม่? ตัวผลิตภัณฑ์สามารถส่งผลกระทบให้เกิดความผิดพลาดในเครื่องตรวจจับโลหะได้

Full article TH-EN

เครื่องตรวจจับโลหะสามารถทำงานได้ดีที่สุดกับผลิตภัณฑ์แห้ง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์แห้งไม่จำเป็นต้องปราศจากความชื้น แต่โดยทั่วไปมักจะมีระดับความชื้นต่ำ ซึ่ง “ผลิตภัณฑ์แห้ง” ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์อาหารและยาซึ่งตอบสนองต่อการตรวจสอบของเครื่องตรวจจับโลหะได้ดีเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่จัดการได้ง่ายและไม่สร้างสัญญาณเท็จหรือสัญญาณที่คลุมเครือ

ในทางกลับกันผลิตภัณฑ์เปียกมักทำให้เกิด “ผลกระทบจากตัวผลิตภัณฑ์” (Product effect) ซึ่งหมายความว่าองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์สามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ และสร้างการรบกวนทางคลื่นแม่เหล็กภายในอุโมงค์ของเครื่องตรวจจับโลหะ

ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในน้ำเกลือเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด น้ำเกลือสามารถนำไฟฟ้าได้ดี แต่ไม่มีคุณสมบัติทางแม่เหล็กสูงเท่ากับเหล็ก ในทางเทคนิคอาจกล่าวได้ว่าน้ำเกลือมี “สภาพซึมผ่านได้” ทางแม่เหล็กต่ำ ซึ่งหมายความว่าผลกระทบจากแม่เหล็กจะน้อยกว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นภายในเหล็กอย่างมาก แต่เครื่องตรวจจับโลหะเป็นอุปกรณ์ที่มีความไวในการตรวจจับโลหะชิ้นเล็กๆ ภายในผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ในระดับสูง หากน้ำเกลือมีปริมาณมากพออาจสร้างผลกระทบจากแม่เหล็กเท่ากับผลกระทบจากโลหะชิ้นเล็ก และนี่คือจุดที่ผลกระทบจากตัวผลิตภัณฑ์อาจกลายเป็นปัญหา ซึ่งหมายความว่าตัวผลิตภัณฑ์เองสามารถสร้างการรบกวนภายในสนามแม่เหล็กได้เท่ากับการรบกวนที่เกิดขึ้นจากเศษโลหะปลอมปน

ในการปฏิบัติงานจริง ผลกระทบจากตัวผลิตภัณฑ์ส่งผลให้ความไวในการตรวจสอบลดลง เนื่องจากเครื่องตรวจจับโลหะไม่สามารถแยกแยะระหว่างผลกระทบทางแม่เหล็กซึ่งเกิดจากตัวผลิตภัณฑ์เอง กับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโลหะปลอมปนที่มีขนาดเล็กได้ สำหรับผู้จัดการสายการผลิต ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ท้าทาย: ผู้จัดการสายการผลิตต้องเลือกระหว่างการลดความไวในการตรวจจับ และปล่อยให้มีสิ่งปลอมปนขนาดใหญ่ผ่านได้โดยไม่มีการตรวจจับ (ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค) หรือรักษาระดับความไวและใช้เครื่องตรวจจับโลหะที่ให้ผลการคัดแยกที่ผิดพลาดมากขึ้น (คัดสินค้าดีส่วนหนึ่งทิ้ง – ประสิทธิภาพโดยรวมของการผลิตลดลง)

Metal detectors have traditionally worked best on what are known as dry products. Dry products aren’t necessarily completely moisture-free – although they do typically have low levels of moisture. ‘Dry’ is a catch-all term for food and pharmaceutical products that respond well to inspection by a metal detector. They’re easy products to work with because they don’t generate false or ambiguous signals.

Wet products exhibit something called a ‘product effect.’ This means that an element of the product is capable of conducting electricity and creating a magnetic disturbance within the aperture of the metal detector.

A product packed in brine is a good example. Salt water is a good conductor of electricity. Luckily it’s not as easily magnetised as iron – in technical language, it has low magnetic ‘permeability’ – which means that the magnetic effect is much less than that generated within a piece of iron. But metal detectors are highly sensitive items of equipment designed to detect tiny pieces of metal in a big product. If the volume of salt water is large enough, it will create a magnetic effect that’s as strong as that created by a small piece of metal. That’s when the product effect becomes a problem. It means that the product itself can create as big a disturbance in the magnetic field as would be created by a flake of metal contaminant.

In practical terms, the product effect reduces inspection sensitivity because the metal detector cannot distinguish between the magnetic effects caused by the actual product and those caused by metal contaminants smaller than a critical size. For production line managers, it’s a dilemma: do they accept reduced sensitivity and let relatively larger contaminants through undetected (compromising consumer safety) or maintain sensitivity and live with a metal detector that registers more false rejects (compromising OEE (Overall Equipment Effectiveness))?

How to choose the right pipe, coupling and hose for food and beverage industry

การเลือกท่อ ข้อต่อและสายยางสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

By: Jitpanu Srichaisantikul
Marketing Manager
Toyox Trading Thailand Co., Ltd.

Full article TH-EN

เราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า “ความสะอาด”คือ หัวใจสำคัญของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้นท่อ ข้อต่อและสายยางที่ใช้ในการลำเลียงวัตถุดิบ ซึ่งต้องสัมผัสอาหารและเครื่องดื่มโดยตรง จึงสำคัญ ต้องไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน แล้วสิ่งใดบ้างที่เราต้องนำมาพิจารณาเพื่อใช้เลือกท่อ ข้อต่อและสายยางสำหรับกระบวนการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
1.วัสดุของท่อ ข้อต่อและสายยาง คือ สิ่งสำคัญอันดับแรกที่เราต้องนำมาพิจารณา เราควรเลือกวัสดุที่ไม่มีสารพิษปนเปื้อน ถ้าเป็นโลหะต้องมั่นใจว่าไม่มีโลหะหนักเป็นพิษปนเปื้อน หรือมีโอกาสเป็นสนิม ถ้าเป็นพลาสติกหรือยางจะต้องไม่เสียสภาพเมื่อสัมผัสกับอาหารและเครื่องดื่ม ต้องไม่มีสารประกอบปนเปื้อนที่เป็นพิษอยู่ในเนื้อของวัสดุ ถ้าจะให้มั่นใจได้ ก็ต้องมีเอกสารรับรองมาตรฐานอาหารรับรอง เช่น FDA, JFSL หรือ BfR
2.โครงสร้างของท่อ ข้อต่อ และสายยาง ต้องได้มาตรฐาน ต้องเรียบ ลื่น ไม่เป็นร่องหรือหลุมที่ทำความสะอาดได้ยาก ซึ่งจะกลายเป็นจุดสะสมของเชื้อโรคได้ สำหรับท่อโลหะ รอยต่อของท่อ ควรจะเรียบเสมอ ไม่เป็นรอยตะเข็บ ข้อต่อต้องเรียบ ไม่เป็นร่อง สายยางต้องทนแรงดันได้ ไม่บวม หรือมีรอยแตกรั่วที่อาจจะทำให้เชื้อโรคเข้าไปปนเปื้อนได้
3.ข้อต่อที่ใช้เชื่อมต่อระบบท่อกับสายยาง ปัญหาการปนเปื้อนส่วนใหญ่จะเกิดจากจุดนี้ง่ายที่สุด เราควรหลีกเลี่ยงข้อต่อที่ทำความสะอาดได้ยาก เสี่ยงต่อการปนเปื้อน เช่น แบบเกลียวขัน แต่ควรเลือกใช้ข้อต่อที่ทำความสะอาดได้ง่าย เช่น ข้อต่อเฟอร์รูลที่ไม่มีเกลียวขัน ข้อต่อเฟอร์รูลที่ใช้กันมีอยู่หลายมาตรฐาน แต่ที่นิยมกันมากๆจะเป็นมาตรฐาน SMS กับ DIN สำหรับข้อต่อเฟอร์รูลที่ใช้กับสายยางจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ แบบย้ำถาวรกับแบบถอดประกอบได้ ซึ่งทั้ง 2 แบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันดังนี้

It is undeniable that “hygiene” is a key in food and beverage processing industry. Hence, equipment that directly touches the food like pipe, coupling and hose that are used in the transfer of raw materials must prevent any possible contaminations. We will now look at some factors you need to consider when choosing pipe, coupling, and hose for food and beverage processing.

• 1. Material – The material which makes pipe, coupling and hose is the first thing we need to consider. We should select the equipment that is made of non-toxic material. If it is metal, ensure that it is not heavy metal contaminated or rusty. In case of plastic or rubber, the material should not be damaged when contact with food and beverage, and does not contain toxic substance. To be sure, the material should be certified with food standards such as FDA, JFSL or BfR.

• 2. Structure – The structure of pipe, coupling and hose must be standard, smooth, flow, and flawless without grooves that may cause trouble in the cleaning process. Small gap can be a source of dirty. Metal pipe and coupling should be smooth and seamless, while the hose should be pressure resistant.Do not be swell, and cracked. In order to avoid contaminations from micro-organisms.

3. Coupling – Coupling connecting pipe system to hose system can easily be contaminated. We should avoid coupling that is difficult to clean, and contagion risky, e.g. threaded coupling. However, we should choose easily cleaning coupling for instance non-threaded ferrule coupling. There are many standards of ferrule coupling, but the most popular standards are SMS and DIN. Ferrule coupling for hose can be divided into 2 types; permanent, and reusable coupling ferrule.

Halal Food & Halal Ingredients

โดย: บริษัท บีเจซี สเปเชียลตี้ส์ จำกัด
BJC Specialties Co., Ltd.

Full article TH-EN

ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้บริโภคที่เป็นมุสลิมอยู่ประมาณ 2,000 ล้านคน จากประชากรโลกกว่า 7,000 ล้านคน โดยประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย (ร้อยละ 12.7 ของประชากรมุสลิมทั่วโลก) ปากีสถาน (ร้อยละ 11.0) อินเดีย (ร้อยละ 10.9) บังกลาเทศ (ร้อยละ 9.2) และอียิปต์ (ร้อยละ 4.9)

อาหารฮาลาล (Halal Food) หมายถึง อาหารหรือผลิตภัณฑ์ซึ่งอนุมัติตามบัญญัติศาสนาอิสลามให้มุสลิมบริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้

อาหารฮาลาลไทยได้รับความนิยมในอินโดนีเซียมาก จนเรียกกันว่า Bangkok Product เพราะผู้บริโภคมั่นใจในเรื่องรสชาติ คุณภาพ และมาตรฐาน ผู้ประกอบการจึงไม่อาจมองข้ามตลาดอาหารฮาลาลได้ ดังนั้นเพื่อรองรับความต้องการอาหารฮาลาลของโลกและเพื่อครองส่วนแบ่งตลาดนี้ ผู้ผลิตอาหารของไทยจึงต้องจัดหาวัตถุดิบที่ได้รับการรับรองฮาลาลมาเป็นส่วนประกอบในสูตร

มูลค่าตลาดอาหารฮาลาลทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 150,000–200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีการเติบโตมากกว่า ร้อยละ 20 ต่อปี โดยประเทศไทยส่งออกสินค้าอาหารไปยังกลุ่มประเทศมุสลิม (องค์การความร่วมมืออิสลาม หรือ Organization of Islamic Cooperation; OIC) มีมูลค่ากว่า 5,112.36 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 17.14 จัดเป็นอันดับที่ 13 ของโลก โดยตลาดส่งออกสินค้าฮาลาลขนาดใหญ่ 5 อันดับแรก ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไนจีเรีย เบนิน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

Nowadays, there are about 2 billion Muslim people around the global from the total of more than 7 billion world’s population. The top five countries that have highest numbers of Muslim population are included Indonesia (which are accounted by 12.7% of the world’s Muslim population), following by Pakistan (11.0%), India (10.9%), Bangladesh (9.2%) and Egypt (4.9%).

Halal food refers to food or products approved by Islamic law for Muslims consumption or utilization.

The value of the Halal food industry worldwide is worth approximately between USD 150 billion to USD 200 billion. This figure has grown continuously for more than 20% each year. Thailand as one of the world’s major food exporters exports food to Muslim countries (Organization of Islamic Cooperation; OIC) worth more than USD 5.11 billion, accounting by 17.14% from the total trading amount of Halal food in the global. Thailand is the world’s 13th largest Halal food suppliers. The top five Halal food export markets are Indonesia, Malaysia, Nigeria, Benin, and the United Arab Emirates or UAE.

Halal food from Thailand is very popular in Indonesia. Indonesian people called Thai Halal food as “Bangkok Product” because consumers are confident in taste, quality and standards. Food enterprises, thus, should not overlook this Halal food market. To serve high demand of Halal food in the global, and to increase the market share in the market, Thai food manufacturers should seek for raw materials and ingredients with having Halal certificated for their food production.

How good hygiene practices contribute to laboratory safety and quality of results?

การรักษาสุขอนามัยที่ดีส่งผลต่อความปลอดภัยในห้องทดลองและคุณภาพของผลการทดลองอย่างไร?

By: Dr. Deepak Bhanot
lab-training.com

Full article TH-EN

สุขอนามัยเป็นเรื่องสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานทุกแห่ง ความสำคัญยิ่งเพิ่มมากขึ้น เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ในห้องทดลอง เพราะความปลอดภัยและคุณภาพของผลการทดลองนั้น สัมพันธ์โดยตรงกับมาตรฐานสุขอนามัยส่วนบุคคลมาตรการการรักษาความปลอดภัยในห้องทดลองก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ไร้อุบัติเหตุได้อย่างไม่ต้องสงสัย แต่การปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดีช่วยส่งเสริมให้ความสามารถในการผลิตสูงขึ้น และส่งผลต่อสุขภาพของเจ้าหน้าที่ในห้องทดลอง

การดูแลรักษาความสะอาดที่ดี
การดูแลรักษาความสะอาดที่ดีและวินัยในการใช้ห้องทดลองนั้นต้องปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งแวดล้อมในห้องทดลองนั้นปลอดภัย หากต้องการคงมาตรฐานความปลอดภัยให้อยู่ในระดับสูง การรักษาความสะอาดในเรื่องต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้
• ความสะอาดทั่วไปในห้องทดลอง เช่น โต๊ะทำงาน สถานที่เก็บรักษาและบริเวณที่ใช้งาน
• ความสะอาดด้านในและรอบ ๆ บริเวณเครื่องวัดน้ำหนักเพื่อหาความสมดุล
• การจัดโต๊ะทำงานให้มีที่กว้างมากพอ ผ่านการวางแผนที่เหมาะสมและการปฏิบัติงานที่ดี
• ให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดสสารที่หกให้ห้องทดลอง
• ปฏิบัติตามคำแนะนำ เมื่อต้องกำจัดของเสียและตัวอย่างต่างๆ ในห้องทดลอง หลังจากการวิเคราะห์
• ไม่ควรจัดเก็บสารเคมีตามลำดับตัวอักษร แต่ควรคำนึงถึงความเข้ากันได้ของสารเคมีเหล่านั้น ก่อนการจัดเก็บทุกครั้ง
• ควรทำความสะอาดชุดปฏิบัติงานในห้องทดลองอยู่เสมอ และจัดเก็บชุดปฏิบัติงานแยกจากเสื้อผ้าประเภทอื่น เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสิ่งแปลกปลอม

Hygiene is essential in all workplace environments. It assumes even greater significance in laboratory as both safety and quality of results are in direct relation to standards of personal hygiene. Laboratory safety measures undoubtedly contribute to an accident free environment but good hygiene practices supplement it with higher productivity and health of laboratory workers.

Good Housekeeping
Good housekeeping and laboratory discipline go hand-in-hand to ensure safe working laboratory environment. Good housekeeping cannot be over looked if high safety standards are to be maintained and it includes:

• General cleanliness of laboratory areas such as workbenches, storage areas and utility areas.
• Cleanliness inside and around weighing balances
• Ample free space on workbenches through proper planning and execution of tasks
• Priority on cleaning of laboratory spills
• Adoption of recommended practices for disposal of laboratory waste and samples after analysis
• Alphabetical storage of chemicals is not a recommended practice but instead always keep compatibility of chemicals in mind before storage.
• Laboratory safety wear should be washed regularly and separately from other garments to avoid cross – contamination

Modern Drying Technology

การอบแห้งด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่

โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์
Assistant Professor Rittichai Assawarachan, Ph.D.
Head of Drying and Dehydration Technology Research Unit
Food Engineering Program, Faculty of Engineering and Agro-Industry
Maejo University
rittichai.assawarachan@gmail.com

Full article TH-EN

การอบแห้งเป็นกระบวนการแปรรูปที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์อาหารมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน โดยการลดปริมาณความชื้นหรือน้ำอิสระ (Water activity) ให้ต่ำในระดับที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และการทำงานของเอนไซม์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพในอาหาร นอกจากนี้ การลดความชื้นหรือปริมาตรของอาหารยังช่วยลดค่าใช้จ่ายและสะดวกในการเก็บรักษาและการขนส่งอีกด้วย

ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งในรูปแบบของการผสมผสาน (Hybrid drying) เช่น การใช้พลังงานความร้อนผสมกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการใช้พลังงานความร้อนผสมผสานกับพลังงานกล เพื่อช่วยเร่งอัตราการถ่ายเทมวลความชื้นออกจากผลิตภัณฑ์ภายใต้อุณหภูมิต่ำ ซึ่งทั้งสองกลไกของการอบแห้งแบบผสมผสานนี้จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการถ่ายเทมวลความชื้นออกจากผลิตภัณฑ์เป็นไปอย่างรวดเร็ว และสามารถรักษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของผลิตภัณฑ์อาหารให้มีคุณภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารอบแห้งที่ได้จะยังคงกลิ่นรสและคุณค่าทางโภชนาการไว้ใกล้เคียงกับผลผลิตสด

Kuda และ Mujumdar (2009) ได้รวบรวมเอกสารทางวิชาการ และสรุปประเด็นของการทำแห้งแบบผสมผสาน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การผสมผสานลักษณะการถ่ายเทความร้อนรวมกัน (Combined modes of heat transfer) การทำแห้งแบบหลายขั้นตอน (Multistage dryers) และการทำแห้งร่วมกับการอบแห้งต่างๆ (Multiprocessing dryers)

Drying is a process that allows food products to have an extended shelf life by reducing the moisture or lowering the water activity to a level that can inhibit the growth of microorganisms and enzyme activity that affect the quality of the food. In addition, the dehumidification or reducing volume of food helps decrease costs and provides convenient transportation and storage of goods.

The recent development of drying technologies runs toward a new hybrid drying approach, such as the use of thermal energy together with electromagnetic waves or the use of thermal energy combined with mechanical energy to accelerate the mass transfer rate of moisture from the product under low temperature. Both of this hybrid drying mechanisms result in a rapid mass transfer of moisture from the product and that can maintain the physical and chemical properties of food products to quality. The dried food products will remain flavorful and nutritious as close as fresh produces.

Kuda and Mujumdar (2009) have compiled academic papers and summarize the combination of drying, which can be divided into 3 categories: Combined modes of heat transfer, Multistage dryers, and Multiprocessing dryers.

Making “Thai Beef Cattle” Premium Goods for Neighbouring Markets

ปั้น “โคเนื้อไทย” เป็นสินค้าอุตสาหกรรมพรีเมียมรุกตลาดเพื่อนบ้าน

โดย: นิตยสาร ฟุ้ด โฟกัส ไทยแลนด์
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

อุตสาหกรรมโคเนื้อของไทย แม้ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่ถือได้ว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกัน และรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยที่ผ่านมาก็ได้ให้การสนับสนุนมาโดยตลอด เดิมการเลี้ยงโคของไทยเป็นการเลี้ยงเพื่อใช้งานในการทำการเกษตรเป็นหลัก เมื่อใช้งานจนหมดอายุจึงปลดจำหน่ายเป็นโคเนื้อ ต่อมาเมื่อมีการนำเครื่องจักรกลทางการเกษตร เช่น เครื่องไถดิน พรวนดิน หรือนวด ซึ่งง่ายต่อการดูแลและใช้งานได้ตลอดเวลามาใช้มากขึ้น ทำให้การใช้โคเพื่องานทำการเกษตรลดน้อยลงเป็นลำดับ ปัจจุบันรูปแบบการเลี้ยงโคได้เปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงเพื่อจำหน่ายเป็นโคเนื้อ ทั้งนี้เพราะความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากความต้องการของประชากรในประเทศเองและของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ลักษณะการเลี้ยงจะเป็นการเลี้ยงครั้งละหลายๆ ตัว และมีรูปแบบเป็นฟาร์มมากขึ้น ในขณะเดียวกันรัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ และเป็นโครงการหนึ่งในแผนปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร โดยหวังจะให้การเลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อทดแทนการลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังข้าวนาปีในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม อาจกล่าวได้ว่าจากปริมาณความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการส่งเสริมจากรัฐทำให้ในปัจจุบันเกษตรกรหันมาเลี้ยงโคเนื้อเพื่อการค้ากันมากขึ้น

โคเนื้อที่เลี้ยงในประเทศไทยแต่เดิมเป็นพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งขนาดค่อนข้างเล็ก ขนสั้นเกรียนมีหลายสี มีน้ำหนักน้อยประมาณ 200-350 กิโลกรัม สามารถหากินและเติบโตจากการหาหญ้ากินตามธรรมชาติโตช้าแต่มีความต้านทานโรคเมืองร้อนได้ดีมีสัดส่วนการเลี้ยงประมาณร้อยละ 67.5 ระยะต่อมา มีการนำโคพันธุ์ดีจากต่างประเทศเข้ามาผสมกับโคพันธุ์พื้นเมือง เพื่อให้ได้โคลูกผสมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังคงมีความต้านทานโรคเมืองร้อน ซึ่งพันธุ์ที่นิยมและเหมาะสมที่สุดทั้งด้านใช้แรงงานและให้เนื้อ คือ พันธุ์บราห์มัน ปัจจุบันนิยมเลี้ยงพันธุ์ออสเตรเลียบราห์มัน และอเมริกันบราห์มัน ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ทางรัฐให้การส่งเสริม มีสัดส่วนร้อยละ 29 นอกจากนี้ยังมีการนำพันธุ์โคอื่นๆ เข้ามาผสมกับโคพื้นเมืองเพิ่มขึ้น ซึ่งมีคุณสมบัติให้เนื้อโดยตรงและสามารถเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมของไทยได้ดี คือ พันธุ์ชาร์โรเล่ส์ ลิมูซีน และเฮียฟอร์ด มีสัดส่วนร้อยละ 3.5 ผลผลิตโคเนื้อในประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยช่วงปี 2547– 2551 ประมาณร้อยละ 4.2 ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดภายในประเทศ โดยยังผลิตได้น้อยกว่าความต้องการเล็กน้อย แต่ในช่วงที่ผ่านมาเนื้อโคคุณภาพสูงยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าโคจากต่างประเทศทุกปี

Thai beef cattle industry, despite its relatively small net worth, is as important as other industries. All the previous governments have been supportive of the industry. Originally, Thai cattle is purposely for farming, and only until the cattle retires then it is sold to slaughterhouses. The use of farming machineries, such as plowing and disking machines, which are easy to maintain and use, had gradually reduced the importance of cows in Thai farming. Nowadays, Thai cattle has shifted its focus to beef cattle, as demands for meat consumption from locals and tourists increased. The characteristic of the cattle has also changed from small, individual cattle into a large farm operation. The government also promotes beef cattle and put the industry in the agriculture reform plan in the hope that the industry would bring farmers regular income and would replace off-season rice farming in inappropriate areas. It can be said that the increasing demands for meat and the promotion policy from the Thai government encourage farmers to turn to commercialise beef cattle progressively.

The majority of cattle in Thailand is a native breed. The cow is quite small, with short hair in many colours, and weights around 200-350 kg. They can eat naturally grown grass, but slowly grow and has good resistance to tropical diseases. Approximately 67.5% of Thai cattle is the native cow. Later on, breeders tried to mix foreign breeds with the native breed in order to have a bigger but tropical diseases resistant cow. Brahman breed was chosen as it is suitable for farm works and yield beef. Nowadays, the Australian Brahman and American Brahman are two main breeds that are popularly raised in Thailand, taking 29% of the national herd, and are promoted by the government. Still, there are attempts to mix other foreign breeds with native cows for beef and toleration to live in Thai environment. Cattle breeds such as Charolais, Limousin, and Hereford, are brought in and take around 3.5% of the national herd. Productivity from beef cattle industry increases every year, and growth rate in 2004 – 2008 is around 4.2%. This is not yet enough – slightly too low – for local demands, and high-quality beef must be imported every year.