นวัตกรรมการแปรรูปอาหารและสมุนไพร สู่ Thailand 4.0

สมาคมเครื่องจักรกลไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการอบแห้งแบบพ่นฝอย ร่วมด้วยบริษัท ยูโร เบสท์ เทคโนโลยี จำกัด ได้จัดงานสัมมนาครั้งที่ 40: นวัตกรรมการแปรรูปอาหารและสมุนไพร สู่ Thailand 4.0 ขึ้น ณ ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการอบแห้งแบบพ่นฝอย โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา

ในโอกาสนี้ นายแพทย์มรุต ได้กล่าวถึงเป้าหมายของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกว่ามีสามประการ ได้แก่ ประการที่หนึ่ง การสรรหาและรักษาวัตถุดิบสมุนไพรไทย โดยมีเป้าประสงค์ให้สมุนไพรได้รับการปลูกในประเทศไทย ใช้ในประเทศไทย และส่งออกไปยังต่างประเทศโดยแปรรูปให้อยู่ในรูปของสารสกัด นอกจากนี้หากสามารถผลิตขึ้นได้ภายในประเทศจะเป็นการลดการนำเข้าจากต่างประเทศได้ ประการที่สอง สืบสานองค์ความรู้ของการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้คงอยู่ และประการที่สาม คือ การต่อยอดให้เป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ

ด้านอาจารย์ณัฐ เตรียมชัยศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูโร เบสท์ เทคโนโลยี จำกัด และอาจารย์พิเศษ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับชุดเครื่องจักรแปรรูป ได้แก่ เครื่องสกัดความเร็วสูง (Hi-speed extractor) เครื่องระเหยข้น (Hi-nutrition evaporator) เครื่องอบแห้งแบบพ่นฝอย (Hi-yield spray dryer) และเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย (Hi-yield essential oil distiller) พร้อมทั้งพาชมการสาธิตผลิตผงแห้งด้วยเทคโนโลยีของเครื่องอบแห้งแบบพ่นฝอย และเครื่องจักรแปรรูปต่างๆ โดยได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และสมุนไพร กว่า 60 ท่าน

น้ำตาล 0% เทรนด์ใหม่สำหรับคนอยากกินอร่อยแบบไม่รู้สึกผิด

HAPe Stevia หญ้าหวาน น้ำตาล 0% …
#กินอร่อยแบบแฮปปี้ ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำตาลอีกต่อไป

คุณธัญยธรณ์ โสดากุล หรือคุณพีท ซีอีโอ หนุ่มไฟแรงจากบริษัท บุญถึง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย HAPe Stevia หญ้าหวาน สารสกัดจากธรรมชาติที่สามารถทดแทนความหวานเทียบเท่าน้ำตาลได้เผยถึงเทรนด์สุขภาพและแนวคิดที่ทำให้เขาลุกขึ้นมาทำธุรกิจที่จะมาปฏิวัติความอร่อย

“ปัจจุบันคนไทยเราป่วยด้วยโรค NCDs (Non-communicable Diseases) หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกว่า 14 ล้านคนทั่วประเทศไทย หรือเกือบ 20% ของประชากรชาวไทย ซึ่งโรค NCDs เหล่านี้เป็นโรคที่เรียกได้ว่าอันตรายพอๆ กับโรคติดต่อเลยทีเดียว และอัตราการเสียชีวิตจากโรค NCDs ในไทยก็สูงถึงประมาณ 300,000 คนต่อปี (ข้อมูลอัพเดทล่าสุดจากองค์การอนามัยโลกในปี 2016) หรือเรียกได้ว่ามีคนไทยเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนี้ชั่วโมงละ 34 คนเลยทีเดียว  ซึ่งถ้าเราสามารถหาทางป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้นกับตัวเราเองและคนรอบข้างได้ ก็จะเป็นเรื่องทีดีมาก การกินถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรค NCDs การกินอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง หรือสารสังเคราะห์ให้ความหวานมากจนเกินไป อาจทำให้เราต้องเผชิญกับโรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือถ้าร้ายแรงมากก็อาจจะเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งถ้าเราหันมาดูแลเรื่องการกินมากขึ้น ใส่ใจมากขึ้น เริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อน และค่อยๆ ดูแลคนรอบข้าง และคนรู้จัก ก็จะสามารถช่วยคนเหล่านั้นลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรค NCDs ได้” คุณธัญยธรณ์ กล่าว

“ผมมีแนวคิดว่า อยากจะทำให้อัตราการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคเบาหวาน ในหมู่คนไทย มีอัตราการเสียชีวิตที่ลดลง จากในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น จากร้านอาหารและของหวานที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทย โดยข้อมูลล่าสุดนั้นอัตราการเสียชีวิต จากโรคเบาหวานของคนไทยสูงถึง 12,000 คนต่อปี ซึ่งภายใน 5 ปีนี้ ทาง HAPe และพันธมิตรร้านอาหารและร้านค้าหวังว่าอัตราการป่วยเป็นโรคเบาหวานของ คนไทย ในปี 2567 จะลดเหลือเพียง 10,000 คนต่อปี เตรียมบอกลาน้ำตาลในเลือดกันได้เลย หากเราหันมาใส่ใจในเรื่องการกินมากขึ้น และ HAPe Stevia หญ้าหวาน น้ำตาล 0% ขอเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานของคนไทย” คุณธัญยธรณ์ กล่าว

HAPe Stevia หญ้าหวาน น้ำตาล 0% วัตถุดิบจากธรรมชาติที่ให้ความหวาน 6 หยด เทียบเท่าน้ำตาล 2 ช้อนชา หรือเรียกได้ว่าเราสามารถลดแคลอรีจากการเปลี่ยนมาบริโภคหญ้าหวานแทนน้ำตาล ได้ถึง 60 กิโลแคลอรี

———————————————————————————————————————————-

Reference:

www.gamapserver.who.int/gho/interactive_charts/ncd/mortality/total/atlas.html

www.hfocus.org/content/2016/11/12992

Top Trends Driving the Meat Industry in 2020 – Ep.1 Transparency

ส่องเทรนด์อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกที่น่าสนใจจากงานสัมมนา Food Focus Thailand Roadmap 49: Meat & Poultry Edition 2019 # Trend & Ideation ซึ่งได้นำเสนอแนวโน้มและเทรนด์ฮิตในวงการอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค กระแสรักษ์โลก โปรตีนจากพืช และอีกหลากหลายความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามอง

Transparency, Natural, Sustainability3 เทรนด์สำคัญต่อไปนี้ได้รับการถ่ายทอดโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิฐพร วังใน ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้แชร์ข้อมูลด้านเทรนด์สำคัญในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกภายใต้การวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค และวิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์ที่พร้อมตอบโจทย์ด้านนวัตกรรม…มาดูกันว่าวงการอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และผู้บริโภคเขามองอะไรในปี 2020 นี้…

Transparency ความโปร่งใส

ในทุกวันนี้ ถ้าเราเลือกได้…เวลาเราไปซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตในกลุ่มสินค้าแบบเดียวกัน เช่น เนื้อสัตว์ตัดแต่งพร้อมปรุง หากสินค้าแบรนด์ใดที่ให้ข้อมูลที่มาที่ไปกับเราได้เราก็รู้สึกยินดีที่จะซื้อสินค้านั้นมากกว่าแบรนด์อื่น ซึ่งการให้ข้อมูลว่าเนื้อหมูนี้มาจากโรงงานใด เลี้ยงอย่างไร มาจากฟาร์มใด มีการขนส่งมาอย่างไร เหล่านี้เป็นสิ่งที่แสดงถึงที่มาที่ไปของสินค้าที่ผู้บริโภคสามารถรับรู้ได้

จากการสำรวจผู้บริโภคเมื่อปี 2018 พบว่าผู้บริโภค 75% หันมาเลือกซื้อสินค้าที่พวกเขาสามารถทราบถึงข้อมูลและความโปร่งใสของสินค้าแม้ว่าสินค้านั้นจะมีราคาสูง ดังนั้น การให้ข้อมูลกับผู้บริโภคจึงเป็นโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้ทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม Transparency มักมาคู่กับคำว่า Traceability แต่ในส่วนของ Traceability หรือการตรวจสอบย้อนกลับนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตจะมองเพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ย้อนกลับไปเพื่อดูที่มาที่ไป แต่ถ้าในมุมมองของผู้บริโภคนั้น Transparency หรือความโปร่งใส่จะมองทั้งระบบ คล้ายกับนำจิ๊กซอ Traceability มาต่อกันเป็นภาพใหญ่ ฉะนั้นสองคำนี้มักจะถูกพูดไปด้วยกัน ดังนั้น การทำข้อมูล Traceability ที่ถูกต้องเพื่อให้เกิด Transparency หรือความโปร่งใสในมุมของผู้บริโภคจะนำไปสู่กระบวนการผลิตอาหารที่ปลอดภัย และที่สำคัญคือสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าที่ปลอดภัย

การทำระบบ Traceability ที่ประสบความสำเร็จจะอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลขนาดใหญ่ หรือระบบคลาวด์ที่มีการเก็บข้อมูลตั้งแต่ฟาร์มจนถึงมือผู้บริโภคอย่างเป็นระบบ เช่น ในซูเปอร์มาร์เก็ตกรุงวอชิงตันพบว่าก่อนที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจเลือกซื้อหมูสดแพ็กนั้น ผู้บริโภคจะพิจารณาเรื่องความโปร่งใสของเนื้อหมูสดที่แพ็กในถาด โดยสิ่งที่ผู้บริโภคสนใจก็คือ เนื้อหมูนี้ผ่านการเลี้ยงมาอย่างไร มีการใช้ยาปฏิชีวนะหรือมีกระบวนการแปรรูปมาอย่างไร…

มาดูทางด้านการทำระบบความโปร่งใส่กันบ้าง…การทำระบบ Transparency เริ่มจากอะไร?

การทำระบบ Transparency เริ่มจากฟาร์ม โดยเกษตรกรจะเป็นผู้เก็บข้อมูลการเลี้ยงสัตว์ เช่น ประเภท สายพันธ์สัตว์ที่เลี้ยง เพศ อายุ น้ำหนัก ถัดมาคือการบันทึกข้อมูลของสัตวแพทย์ที่มาให้ยา ฉีดวัคซีน และข้อมูลการให้อาหารสัตว์โดยนักสัตวบาล ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะเก็บบันทึกไว้ในระบบคลาวด์ จนมาถึงโรงเชือดก็จะเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เช่น น้ำหนัก ภาวะผิดปกติใดใดหรือไม่ จนกระทั่งมาถึงโรงงานผลิตจะเก็บข้อมูลต่อเนื่องไปอีกว่าเนื้อหมูที่ผ่านกระบวนการเข้ามานั้นมาจากไหน แปรรูปเป็นอะไรออกไป ข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกบันทึกและรวบรวมในระบบซึ่งสามารถพิมพ์ออกมาในรูปแบบ QR code ติดบนสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับไปได้

Transparency หรือความโปร่งใสของสินค้าอาหารได้รับความสนใจมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคยุโรปที่เลือกพิจารณาสินค้าจากความโปร่งใสของสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อมากขึ้น … Transparency จึงเป็นเทรนด์สำคัญที่มีผลต่อการผลิตสินค้าและเป็นช่องทางที่ผู้ผลิตจะสามารถใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้

2020: The Year of Inulin?

The prebiotic fiber inulin is having its moment in the sun thanks to strong consumer desire for less sugar, for more protein and for products that support digestive wellness, says food and beverage consultant Julian Mellentin.

“The confluence of the protein, low-sugar and digestive wellness trends is causing inulin to power ahead,” says Mellentin, whose new report 10 Key Trends in Food, Nutrition and Health 2020 highlights the key consumer trends driving growth in the industry.

“Inulin has become a success as a natural sugar replacer, used in an ever-growing number of products, and its presence means that companies can also flag up the enhanced fiber content on the label,” he adds.

Sugar reduction plus more protein is a big driver – as pioneered by brands like Halo Top ice-cream, which grew from nothing to $350 million in retail sales in five years on the back of offering these twin benefits.

“Protein is now a ‘permission to indulge’ ingredient, increasingly widely used in ice-creams and desserts – where it is often paired with inulin,” Mellentin says.

Sales of breakfast cereals have suffered in recent years, both from the lower sugar and lower carb trends, but many brands are discovering that they can gain sales in a challenging market by using inulin to offer both a digestive wellness benefit and a low sugar promise – “two of the biggest consumer growth trends,” says Mellentin.

Troo Granola, for example, uses inulin syrup in its products because it serves both as a prebiotic fiber and a sweetener, giving a more appealing taste to consumers while keeping the sugar low.

Source: instagram.com/eattroo

“For companies who choose to use inulin in their brands for digestive benefits, a big plus is that it delivers a ‘feel-the benefit’ effect – one of the most compelling reasons for someone to keep buying a product and one of the biggest marketing advantages you can have,” says Mellentin.

“These benefits have caused demand for inulin to surge – the number of products launched that feature inulin doubled between 2012 and 2019,” he adds.

Here are three examples:

Source: drinkkoia.com

In the US, Koia’s plant-based keto-friendly drink range uses a combination of monkfruit and “chicory root fiber” to deliver a no-added-sugar product that’s high in protein.

Mondelez-backed Uplift Foods products use inulin as a ‘transporter’ for probiotics and flag up 0g of sugar on pack.

In the UK, Graham’s Family Dairy’s Graham’s Goodness ice-cream is “an ‘indulgent’ ice-cream that you can enjoy without the guilt!”. The salted caramel flavor for example, has (per 450ml tub) 22g of protein and 320 calories (with a calorie count front and centre of the pack) – roughly a quarter the calories of regular ice-cream. The brand is lower in sugar, resulting in about 8g of fiber per pack. Sales have out-stripped the company’s expectations, with consumers buying as many as six or eight tubs of product in each shop.

Designed by Freepik

What is inulin?

Inulin is a type of soluble fiber found in many fruits and vegetables, such as bananas, onions, wheat and chicory root. It is made up of chains of fructose molecules that are linked together in a way that cannot be digested by the small intestine. Instead, it travels to the lower gut, where it functions as a powerful prebiotic. But few brands mention the term ‘prebiotic’ on their label. The name “prebiotics” has been a problem because consumers don’t know what they are – and confuse them with the better known “probiotic”. Sometimes brands refer to their prebiotic ingredients by their source, such as ‘chicory’ or ‘chicory root’, in an effort to avoid confusion and make a connection to their natural origin.

—————————————————————————————————————————————-

Find out more at new-nutrition.com.

Sugar Reduction Hits the Sweet Spot

Sugar reduction remains a central topic in the media and among consumers and opportunities for reducing sugar intake are taking a number of directions as companies address evolving concerns and demands.

Strategies for reducing sugar intake feature a combination of sugar reduction, sugar substitution and moving beyond sweetness to alternative tastes. These methods are often supported by a combination of functional formulations and blends, next generation sweeteners and other technological developments.

In an Innova Market Insights survey, sugar reduction is a popular option for the three in five US consumers in an Innova Market Insights survey who would rather cut back on sugar than consume artificial sweeteners. Sugar-related claims continue to grow and increasingly take on more prominent on-pack positionings.

In the US, for example, 8% of all new food and beverage launches tracked by Innova Market Insights in 2018 featured a sugar reduction claim. Claims of no added sugar were most prominent, accounting for 42% of all sugar-related claims, ahead of sugar-free (36%) and low sugar (27%). Although the low sugar claim is smallest in terms of its share of launches, it is also the fastest growing with an NPD CAGR of 17% over the 2014 to 2018 period.

Sugar reduction can be achieved in a number of ways, including removing or reducing the amount of added sugar, replacing part of the sugar formulation with non-nutritive sweeteners and/or using innovative processing technologies, such as “aeration” to increase perceived sweetness, slow straining milk to remove sugar prior to yogurt making, or using enzymes to convert simple sugars to fibers in juices.

Designed by Freepik

Interest in sugar substitution has also driven the rising use of sweeteners, particularly non-nutritive ones derived from nature, such as stevia, monk fruit and thaumatin. Allulose, which also occurs naturally in small quantities in a variety of sweet foods such as figs, can also be manufactured synthetically.

The April 2019 announcement by the FDA that allulose did not have to be included in total and added sugar counts in US nutritional labeling has also cleared the way for much higher levels of use and a potential move mainstream. Levels of patent activity indicate current interest in the use of allulose, rising 42% in 2018 over 2017, while global NPD in food and beverages featuring the ingredient had an average annual growth of 45% over the 2014 to 2018 period, although from a low base.

Companies are also looking at alternative ingredients such as coffee cherries as a potential stealth reducer of sugar in foods containing chocolate. Upcycled coffee cherries can be used to reduce the amount of sugar in finished products by emulating flavor in highlighting the cocoa notes, so that less cocoa powder is needed.

Another approach to sugar reduction is to use alternative flavor notes, such as bitter, sour or spicy, exploiting interest in novel and unconventional flavors to reduce the demand for sweetness overall. Interest in botanicals and their health benefits is also rising and may likewise encourage consumers to move away from more sugar laden foods; the use of botanical flavors for food and drinks NPD is expanding and can be seen across a whole range of different categories.

————————————————————————————————————————————

For further information: innovamarketinsights.com

Sprite Switching from Green to Clear PET bottles in Southeast Asia

โคคา-โคล่า ประกาศเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ “สไปรท์” ใช้ขวดพลาสติกใสแทนขวดสีเขียวในอาเซียน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเพื่อผลักดันการตามเก็บและรีไซเคิลขวดพลาสติกพีอีทีหลังดำเนินการแล้วในหลายประเทศแถบยุโรป

เดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี สานต่อความมุ่งมั่นเดินหน้าผลักดันการรีไซเคิลขวดพลาสติกครั้งสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการประกาศเปลี่ยนมาใช้ขวดพลาสติกพีอีทีแบบใส แทนการใช้ขวดพลาสติกสีเขียวในเครื่องดื่ม “สไปรท์” เพื่อให้สามารถนำขวดพลาสติกเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ต่อไป การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นหลังจากกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่าในยุโรป ประสบความสำเร็จในการยกเลิกใช้ขวดพลาสติกสีเขียวสำหรับสไปรท์แล้ว และเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ โครงการของโคคา-โคล่า ภายใต้วิสัยทัศน์ World Without Waste ในระดับโลก

 

บีลินดา ฟอร์ด ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสาร และความยั่งยืน บริษัท โคคา-โคล่า ประจำภูมิภาคอาเซียนกล่าวว่า “โคคา-โคล่าได้เริ่มเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์สไปร์ทเป็นขวดพลาสติกใสในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ส่วนประเทศอื่นๆ จะทยอยเปลี่ยนในปี 2563 ซึ่งการยกเลิกการใช้ขวดพลาสติกสีเขียวอันเป็นเอกลักษณ์ของสไปรท์จะช่วยให้สามารถนำขวดพลาสติกพีอีทีเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น”

การประกาศของโคคา-โคล่าในครั้งนี้มีขึ้นในระหว่างการประชุมนานาชาติ SEA of Solutions: Partnership Week for Marine Plastic Pollution Prevention จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และสำนักงานประสานงานทางทะเลภูมิภาคเอเชียตะวันออก (COBSEA) ในระหว่างวันที่ 11-14 พฤศจิกายน ที่ศูนย์การประชุมแห่งสหประชาชาติ กรุงเทพฯ โดยมีผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ เยาวชน และชุมชน กว่า 500 คน เข้าร่วมเพื่อหารือแก้ไขปัญหาขยะทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง

อาชวิน สุบรามาเนียม ประธานบริหารและผู้ก่อตั้ง GA Circular บริษัทที่ปรึกษาซึ่งมุ่งมั่นผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า “ผลการศึกษาใน 6 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่า การเปลี่ยนมาใช้ขวดพลาสติกพีอีทีแบบใสแทนการใช้ขวดพลาสติกสีช่วยเพิ่มมูลค่าบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคได้เป็นอย่างมาก จึงสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไม่รู้จบ และเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งการยกเลิกใช้บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดพลาสติกพีอีทีแบบสีคือข้อเสนอแนะสำคัญในรายงานการเร่งสร้างแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจากบรรจุภัณฑ์ขวดพีอีทีหลังการบริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับใหม่ เราจึงขอชื่นชมการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงของโคคา-โคล่าในครั้งนี้”

ทั้งนี้ เครื่องดื่มสไปรท์จำหน่ายในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติกสีเขียวที่ผู้บริโภครู้จักดีมาตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2511

“เราทุกฝ่ายตระหนักดีว่าปัญหาขยะจากขวดพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วน โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยความร่วมมือจากพันธมิตร ซึ่งโคคา-โคล่าได้เริ่มดำเนินการเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาแล้ว แม้ว่าหนทางจะยังอีกไกล แต่เราก็มุ่งมั่นที่จะเดินหน้าให้วิสัยทัศน์ World Without Waste เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม คือสามารถเก็บบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของโคคา-โคล่ากลับมารีไซเคิลให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์” บีลินดา กล่าวเสริม

ภายใต้วิสัยทัศน์ World  Without Waste โคคา-โคล่ามีเป้าหมายจัดเก็บบรรจุภัณฑ์เพื่อนำกลับมารีไซเคิลในปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่จำหน่ายออกสู่ตลาดให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อน พ.ศ.2573

นอกจากนี้ โคคา-โคล่ายังพร้อมที่จะประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณการจัดเก็บและรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน โดยยังให้คำมั่นในที่ประชุม SEA of Solutions ว่าจะร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ (Packaging Recovery Organisations  หรือ PROs) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในประเทศเวียดนามเป็นแห่งแรก ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ตามด้วยประเทศอื่นๆ ในปีเดียวกัน

 

—————————————————————————————————————————————-

ติดตามรายงานฉบับใหม่ของ GA Circular เรื่อง Full Circle: Accelerating the circular economy for post-consumer PET bottles in Southeast Asia สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://gacircular.com/full-circle

An Ice Cream for Every Occasion…Riding the Fitness Trend (END)

เทรนด์การรับประทานไอศกรีมตลอดทุกช่วงเวลานั้นเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตไอศกรีมสามารถสร้างความแปลกใหม่ในกลุ่มของผลิตภัณฑ์ไอศกรีมได้ ทั้งสำหรับเป็นอาหารว่างในช่วงเวลากลางคืน (An Ice Cream for Every Occasion…Nighttime Ice Cream) หรือสแน็กรับวันใหม่ในมื้ออาหารเช้า (An Ice Cream for Every Occasion…Better-for-you Ice Cream for Breakfast) รวมถึงในช่วงเวลาการออกกำลังกาย

สำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพนอกจากเรื่องอาหารการกินที่ต้องใส่ใจแล้ว การออกกำลังกายหรือเข้าฟิตเนสก็ดูจะสิ่งที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลให้ผลิตภัณฑ์อาหารหลายๆ กลุ่มเข้ามาทำตลาดเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่ออกกำลังกายและเข้าฟิตเนสกันอย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ไอศกรีม…

 

เทรนด์ไอศกรีม…อาหารว่างที่กินได้ทุกช่วงเวลา – Riding the Fitness Trend 

อาจดูเป็นเรื่องที่ขัดกับความรู้สึกของผู้ที่ออกกำลังกาย แต่ในประเทศจีนพบว่าผู้บริโภคกลุ่มที่นิยมออกกำลังกายส่วนใหญ่มองหาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีการเติมวิตามิน หรือกลุ่มอินกรีเดียนท์ที่ช่วยเพิ่มพลังงาน และให้โปรตีนกับร่างกายอย่างเพียงพอเหมาะสมกับทั้งช่วงก่อนและหลังออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคไม่เพียงให้ความสนใจในกลุ่มนมและเครื่องดื่มเพิ่มพลังงานเท่านั้นแต่ยังมีความนิยมไปถึงผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ เช่น ไอศกรีม ซึ่งนิยมรับประทานในช่วงอากาศร้อน จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างของคนจีนโดยมินเทลนั้นยังพบด้วยว่าไอศกรีมจัดเป็นของว่างยอดนิยมอันดับ 3 ของคนจีนด้วย

จากรายงาน Mintel Global New Products Database (GNPD) ยังได้ระบุว่าผู้บริโภคทั่วโลกส่วนใหญ่ให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ไอศกรีมและโยเกิร์ตแช่แข็งทั้งในรูปแบบ Dairy และ Plant-based ที่มีส่วนผสมของโปรตีนสูง หรือให้พลังงานที่จำเป็นกับร่างกาย ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ความสนใจในสุขภาพ ความนิยมออกกำลังกาย จึงคาดว่าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้จะมีโอกาสเติบโตในตลาดทั่วโลกมากขึ้น ดังนั้น ไอศกรีมในรูปแบบของอาหารว่างสำหรับนักกีฬาก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกอีกต่อไป

IG: aliveicecream

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโปรตีนสูงรสวานิลลาสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย เช่น Alive High Protein Vanilla Flavoured Iced Dessert Lollies ของประเทศเยอรมนี ออกแบบมาเป็นอาหารว่างสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย มีน้ำตาลน้อย ให้โปรตีนสูงถึง 6.3 กรัม หนึ่งแท่งให้พลังงาน 65 กิโลแคลอรี โดยเป็นอาหารว่างหลังการออกกำลังกายเพื่อฟื้นคืนพลังงานให้ร่างกายได้อย่างดี นอกจากนี้ยังมีในรูปแบบไอศกรีมโปรตีนสูงแบบถ้วย AL!VE Protein Ice Cream Cup ซึ่งมีสองรสชาติ ได้แก่ รสถั่วช็อกโกแลต หนึ่งถ้วยมีปริมาณโปรตีนสูงถึง 33 กรัม และรสชาติใหม่ที่ถูกใจสาวๆ อย่างราสเบอร์รีชีสเค้ก หนึ่งถ้วยมีปริมาณโปรตีน 30 กรัม นอกจากนี้ยังมีในรูปแบบกรีกสไตล์โยเกิร์ตรสพีชผสมมูสลี่ที่เติมเต็มรสชาติและเพิ่มใยอาหารที่เป็นประโยชน์กับร่างกายเข้าไปอีก

IG: aliveicecream

กลับไปที่สหรัฐอเมริกา อีกผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจในกลุ่มไอศกรีมและโยเกิร์ตแช่แข็งสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายก็คือ PowerICE Hydration Popsicles ลักษณะคล้ายๆ กับน้ำแข็งแท่ง แต่ผลิตภัณฑ์ PowerICE Hydration Popsicles นั้นออกแบบมาให้เป็นอาหารว่างสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายหนักๆ โดยเฉพาะ เหมาะสำหรับนักวิ่งมาราธอน นักปั่นจักรยาน นักปีนเขา ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวช่วยให้ร่างกายได้รับอิเล็กโทรไลต์และคาร์โบไฮเดรตทดแทนส่วนที่เสียไปได้อย่างรวดเร็ว ช่วยคืนความชุ่มชื้นให้ร่างกาย ทำให้ร่างกายเย็นลงหลังออกกำลังกายมาหนักๆ ผลิตภัณฑ์ PowerICE Hydration Popsicles มีปริมาณโพแทสเซียมถึง 20 มิลลิกรัม และโซเดียม 25 มิลลิกรัม จึงตอบโจทย์นักวิ่งและผู้ที่ออกกำลังกายที่ต้องการชดเชยทั้งการสูญเสียเหงื่อและอิเล็กโทรไลต์

ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ไอศกรีมสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายนั้นมักน้นที่ส่วนผสมที่ให้โปรตีนสูง ทั้งนี้ก็เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของร่ายกาย รวมถึงผลิตภัณฑ์ในกลุ่มชดเชยการสูญเสียเหงือซึ่งสามารถสร้างความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มได้อย่างน่าสนใจ และทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนของผลิตภัณฑ์ที่วงการอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกได้พัฒนาขึ้นเพื่อตอบรับกับเทรนด์และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างน่าสนใจ

 

Souce: www.mintel.com/blog/food-market-news/an-ice-cream-for-every-occasion?utm_campaign=11020065_Mintel%20newsletter%20-%20Global%20-%2031%2F10%2F2019&utm_medium=email&utm_source=dotm&dm_i=2174,6K74X,PFFSFX,Q33CR,1

—————————————————————————————————————————————–

An Ice Cream for Every Occasion…Nighttime Ice Cream (Ep. 1 )

An Ice Cream for Every Occasion…Better-for-you Ice Cream for Breakfast (Ep.2)

An Ice Cream for Every Occasion…Riding the Fitness Trend (END)

An Ice Cream for Every Occasion…Better-for-you, Ice Cream for Breakfast (Ep.2)

การกินไอศกรีมในทุกช่วงเวลาของผู้บริโภคทั่วโลกเปิดโอกาสสำหรับผู้ผลิตไอศกรีมให้สามารถเลือกจับกลุ่มตลาดและผู้บริโภคเป้าหมายได้ชัดเจนมากขึ้น และยังสามารถสร้างความแปลกใหม่ในกลุ่มของผลิตภัณฑ์ไอศกรีมทั้งรสชาติ ส่วนผสม เพื่อเป็นอาหารว่างในทุกช่วงเวลาไม่เว้นแม้แต่ช่วงเวลากลางคืน (An Ice Cream for Every Occasion…Nighttime Ice Cream) ไอศกรีมอาหารเช้า รวมถึงไอศกรีมสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย (An Ice Cream for Every Occasion…Riding the Fitness Trend ) ด้วย โดยทุกช่วงเวลาสามารถสร้างความแปลกใหม่ให้ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมเข้าไปมีส่วนร่วมกับพฤติกรรมการกินและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคได้อย่างน่าสนใจ

เทรนด์ไอศกรีม…อาหารว่างที่กินได้ทุกช่วงเวลา – Better-for-you, Ice Cream for Breakfast

จากงานวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นโดยศาสตราจารย์ Yoshihiko Koga แห่งมหาวิทยาลัย Tokyo’s Kyorin University ระบุว่าการกินของเย็นๆ หลังจากตื่นนอนในตอนเช้านั้นจะกระตุ้นการทำงานของสมอง เพิ่มความกระฉับกระเฉง ตื่นตัว และเพิ่มความสามารถทางอารมณ์ได้ดี โดยศาสตราจารย์ Koga ได้วิเคราะห์ผลการทดลองทางคลินิกหลายชุดที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของสมองหลังจากรับประทานอาหารต่างๆ ที่อุณหภูมิต่างกันในตอนเช้า และพบว่าผู้ที่กินไอศกรีมเป็นอย่างแรกจะมีการเพิ่มขึ้นของคลื่นอัลฟาความถี่สูง ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มความตื่นตัวของสมอง และลดภาวะความตึงเครียดทางอารมณ์

อย่างไรก็ตาม ปริมาณแคลอรีที่เพิ่มขึ้นพร้อมๆ กับปริมาณน้ำตาลก็ดูไม่ใช่เรื่องน่ายินดีเท่าไรนัก ความเย็นของไอศครีมและระดับน้ำตาลอาจทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าแต่อาจไม่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งเมื่อเชื่อมโยงกับอาหารเช้าแล้ว ทางเลือกที่เป็นไปได้และมีโอกาสเติบโตในตลาดตามเทรนด์ผู้บริโภคในขณะนี้เห็นจะเป็นแนวทางของผลิตภัณฑ์ไอศกรีมที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยลง เพิ่มส่วนผสมที่มีคุณค่าสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของสมอง และให้พลังงานที่เพียงพอสำหรับจะเป็นมื้อเช้า

Halo Top แบรนด์ไอศกรีมที่โด่งดังมากๆ ในสหรัฐอเมริกาได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ไอศกรีมอาหารเช้าที่มาพร้อมการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีไปในตัว หลักๆ ก็คือเน้นว่ามีโปรตีนสูง ใยอาหารสูง และเติมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เหมาะอย่างยิ่งที่จะรับประทานในมื้ออาหารเช้าเพื่อให้ร่างกายได้รับคุณประโยชน์อย่างเต็มที่

IG: halotopcreamery

อีกแบรนด์ที่กำลังได้รับความนิยมก็คือ Snow Monkey จากสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะไอศกรีมรสชาติ Cinnamon Superfood Ice Treat ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ไอศกรีมที่น่าสนใจและคาดว่าจะเข้ามาเจาะตลาดกลุ่มผู้บริโภคสายรักสุขภาพได้ดีทีเดียว โดยเป็นไอศกรีมที่ผลิตจากโปรตีนจากพืช Plant-based ice cream ทั้งยังมีส่วนผสมของซูเปอร์ฟู้ด ซูเปอร์ฟรุ๊ต และเมล็ดธัญพืช สำหรับส่วนผสมหลักซึ่งให้พลังงานยาวนาน เรียกว่ากินแล้วอยู่ท้องได้เลยก็คือกล้วยที่อุดมด้วยสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้โปรตีนมากกว่ากินไข่ 3 ฟอง วิตามินซีสูงกว่าบลูเบอร์รี 150 ผล ทั้งยังมีธาตุเหล็กมากกว่าผักโขมดิบ 25 ถ้วย…

IG: eatsnowmonkey

อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ในลักษณะนี้ผู้ผลิตสามารถเพิ่มเติมส่วนผสมอื่นๆ เช่น โยเกิร์ต โอ๊ต และกราโนล่า เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ไอศกรีมให้ตอบโจทย์กับช่วงมื้อาหารเช้าได้หลากหลายตามเทรนด์ผู้บริโภค รวมถึงยังสามารถพัฒนาสูตรและรูปแบบให้เป็นพกพาได้ รับประทานง่าย หรือทำเป็นบาร์ซีเรียลไอศกรีม หรือแซนด์วิชไอศกรีม ก็จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจและเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคได้มากขึ้น

ไอศกรีมแซนด์วิช Pingwich Banana Ice Cream and Oatmeal Raisin Cookie Ice Cream Sandwich จากประเทศบราซิล ผลิตจากคุกกี้ข้าวโอ๊ตและลูกเกดซึ่งเป็นรูปแบบของไอศกรีมโฮมเมดที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ อีกตัวอย่างคือ Choice Frozen Yogurt Plus จากประเทศอิสราเอล คือไอศกรีมโยเกิร์ตที่เคี้ยวกรุบกรอบได้เพลิดเพลินไปกับส่วนผสมกราโนล่าและวอลนัท ทั้งยังเคลือบด้วยช็อกโกแลตอีกชั้น เรียกว่าสร้างความแปลกใหม่ในมื้อเช้าได้แบบไม่ซ้ำใครกันไปเลย…

IG: pingwich

 

Source: www.newsweek.com/why-eating-ice-cream-breakfast-good-you-study-524356

www.iflscience.com/health-and-medicine/no-probably-shouldnt-eat-ice-cream-breakfast/

www.mintel.com/blog/food-market-news/an-ice-cream-for-every-occasion?utm_campaign=11020065_Mintel%20newsletter%20-%20Global%20-%2031%2F10%2F2019&utm_medium=email&utm_source=dotm&dm_i=2174,6K74X,PFFSFX,Q33CR,1

—————————————————————————————————————————————-

An Ice Cream for Every Occasion…Nighttime Ice Cream (Ep. 1 )

An Ice Cream for Every Occasion…Better-for-you Ice Cream for Breakfast (Ep.2)

An Ice Cream for Every Occasion …Riding the Fitness Trend (END)

An Ice Cream for Every Occasion…Nighttime Ice Cream (Ep.1)

ทุกวันนี้เชื่อว่าหลายๆ คนเลือกไอศกรีมเป็นสแน็กที่กินได้ทุกช่วงเวลา แม้แต่ตอนที่อากาศหนาวๆ การกินไอศกรีมยังกลายเป็นเรื่องสนุกสำหรับใครหลายคน รวมถึงบางคนเลือกกินไอศกรีมแก้เครียดก็มี…มินเทลได้สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศอังกฤษพบว่า 3 ใน 4 ของผู้บริโภคไอศกรีมนั้นให้ความเห็นว่าไอศกรีมคืออาหารว่างที่พวกเขากินได้ตลอดเวลาไม่จำกัดช่วงเลย ในขณะที่ทางฝั่งเอเชียนั้นผู้บริโภคจัดอันดับให้ไอศกรีมเป็นของหวานยอมนิยมอันดับที่ 3 ซึ่งพวกเขาจะซื้อมารับประทานก็ต่อเมื่ออยากรู้สึกผ่อนคลาย

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนี้เปิดโอกาสสำหรับผู้ผลิตไอศกรีมได้จับกลุ่มตลาดและผู้บริโภคเป้าหมายอย่างเฉพาะมากขึ้น โดยสามารถสร้างความแปลกใหม่ในกลุ่มของผลิตภัณฑ์ไอศกรีมได้ทั้งเป็นอาหารว่างในช่วงเวลากลางคืน หรือสแน็กรับวันใหม่ในมื้ออาหารเช้า (An Ice Cream for Every Occasion…Better-for-you Ice Cream for Breakfast) รวมถึงในช่วงเวลาการออกกำลังกาย (An Ice Cream for Every Occasion…Riding the Fitness Trend) ด้วย โดยทุกช่วงเวลาสามารถสร้างความแปลกใหม่ให้ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมเข้าไปมีส่วนร่วมกับพฤติกรรมการกินและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคได้อย่างลงตัว

เริ่มต้นด้วยช่วงเวลากลางคืน นอกจากนมอุ่นๆ ก่อนเข้านอนแล้ว…ไอศกรีมจะสร้างความน่าสนใจได้อย่างไรบ้าง

เทรนด์ไอศกรีม…อาหารว่างที่กินได้ทุกช่วงเวลา – Nighttime Ice Cream

ตัวอย่างแรกคือผลิตภัณฑ์ไอศกรีม Nightfood ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์ตัวเองได้ชัดเจนตามชื่อเลยว่าเป็นของกินตอนกลางคืนหรือกินก่อนนอนได้นั่นเอง ไอศกรีม Nightfood มาในแนวเป็นมิตรกับการนอนหลับ คือช่วยให้หลับสบาย “Sleep-friendly” โดยมีส่วนผสมของโปรตีน กรดอะมิโน และเอนไซม์ที่มีส่วนช่วยให้หลับสบายคลายความเครียด ทั้งยังมีแล็กโทสต่ำ รวมถึงมีใยอาหาร และเป็นสูตรน้ำตาลน้อย รสชาติไฮไลท์ที่วางตลาดแล้วตอนนี้ คือ Cherry Eclipse ซึ่งเป็นไอศกรีมรสเชอร์รีหวานซ่อนเปรี้ยวแบบลงตัว โดยสารสำคัญของเชอร์รีนั้นจะช่วยกระตุ้นฮอร์โมนเมลาโทนินซึ่งช่วยให้หลับสบาย และเตรียมว้าวกับรสชาติใหม่ “Plant-based” ที่เตรียมมากระชากความสนใจของคนรักไอศกรีมกันต่อไปในปี 2020 ได้เลย

Nightfood, USA

ไม่เพียงแต่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น บริษัทและแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลกก็ต่างกำลังก้าวเข้าสู่เทรนด์อาหารเพื่อการผ่อนคลายในลักษณะเดียวกันนี้บ้างแล้ว คาดว่าในอนาคตเราจะเริ่มเห็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์นมที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับการรับประทานในยามค่ำคืนอีกมากมายทีเดียว

อีกตัวอย่างพาไปที่ประเทศจีน ที่นี่มีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มโปรตีน Soda Tiger Nut Vegetable Protein Beverage ที่แนะนำสำหรับรับประทานในช่วงเวลาก่อนนอนเช่นกัน เครื่องดื่มโปรตีนชนิดนี้จะช่วยเรื่องการทำงานของกระเพาะอาหารให้ดีขึ้นในเวลาที่คุณหลับ อีกตัวอย่างในตลาดเอเชีย คือโยเกิร์ต Meiji Yogurt for Night Time ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพัฒนามาเพื่อเป็นอาหารว่างก่อนเข้านอน โดยมีแคลอรีลดลงจากสูตรปกติถึง 44% และไขมันเพียง 16% เท่านั้นเอง

Soda Tiger Nut Vegetable Protein Beverage, China

Meiji Yogurt for NightTime, Japan

 

Source: An Ice Cream for Every Occasion Report, Sam Moore, Global Food & Drink Analyst, Mintel

www.mintel.com/blog/food-market-news/an-ice-cream-for-every-occasion?utm_campaign=11020065_Mintel%20newsletter%20-%20Global%20-%2031%2F10%2F2019&utm_medium=email&utm_source=dotm&dm_i=2174,6K74X,PFFSFX,Q33CR,1

—————————————————————————————————————————————–

An Ice Cream for Every Occasion…Nighttime Ice Cream (Ep. 1 )

An Ice Cream for Every Occasion…Better-for-you Ice Cream for Breakfast (Ep.2)

An Ice Cream for Every Occasion …Riding the Fitness Trend (END)

 

Original Belgian Fries เผยยอดนำเข้ามันฝรั่งจากเบลเยียมพุ่ง สะท้อนความนิยมบริโภคมันฝรั่งทอดและผลิตภัณฑ์มันฝรั่งอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นำเข้ามันฝรั่งแช่แข็งกว่า 50,000 ตันใน 6 เดือนแรกของปี 2562

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 ไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารจากมันฝรั่งจากเบลเยียมแล้วเกือบ 3,000 ตัน สะท้อนความนิยมบริโภคมันฝรั่งทอดและผลิตภัณฑ์มันฝรั่งอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในปีแล้วไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์จากมันฝรั่งจากเบลเยียมมากถึง 8,262 ตัน ซึ่งเติบโตเกือบ 100% จากปริมาณการนำเข้า 4,543 ตัน ในปี 2552

นอกจากนี้ภูมิภาคอาเซียนกลายเป็นตลาดเป้าหมายขนาดใหญ่สำหรับผู้ผลิตมันฝรั่งชาวเบลเยียมตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ เป็นตลาดที่กำลังเติบโตสำหรับผลิตภัณฑ์จากมันฝรั่งที่มาจากประเทศใจกลางยุโรป โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 ประเทศในภูมิภาคนี้นำเข้ามันฝรั่งแล้วกว่า 50,000 ตัน

ผู้ผลิตสินค้าจากมันฝรั่งรายใหญ่ที่สุดของเบลเยียม ได้แก่ อกริสโต, บาร์ทส โพแทโต คัมปะนี, แคลร์เบาท์ โพแทโทส์, อีโคฟรอสต์ และมีดิเบล ซึ่งล้วนเป็นวิสาหกิจตครอบครัวที่ส่งผลิตภัณฑ์จากมันฝรั่งไปทั่วโลก

เพื่อส่งเสริมการบริโภคเบลเจี้ยน ฟรายส์ ในภูมิภาคนี้ ออริจินัล เบลเจี้ยน ฟรายส์ (Original Belgian Fries) จึงได้สนับสนุนการประกวด “Back to Basic” ในงาน Thaifex 2019 ที่ผ่านมา โดยมีเชฟกว่า 1,300 คนร่วมลงแข่งขันตลอด 5 วันของการจัดการประกวด เชฟแต่ละคนต้องเตรียมท็อปปิ้งและเครื่องจิ้มประเภทละ 2 อย่างเพื่อรับประทานคู่กับมันฝรั่งทอดรสเยี่ยมสไตล์เบลเจี้ยน

เชฟทิพปภา พุทธลา จากวิทยาลัยเทคโนโลยีครัววันดี ชนะรางวัลเหรียญเงิน (สำหรับเชฟที่ทำคะแนนได้ 80.00 – 89.99) ด้วยคะแนน 80.00 คะแนน ซึ่งเมนูที่ขนะใจกรรมการครั้งนี้ก็คือสตูว์หมูซอสบาร์บีคิว (ท็อปปิ้งสไตล์ตะวันตก) และซอสมายองเนสส้ม (เครื่องจิ้มสไตล์ตะวันตก) ปลาหมึกทอดไข่เค็ม (ท็อปปิ้งสไตล์เอเชีย) และน้ำจิ้มซีฟู้ดมายองเนส (เครื่องจิ้มสไตล์เอเชีย)

 

Additional Information

VLAM (Flanders’ Agricultural Marketing Board) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ส่งเสริมการขาย การเพิ่มมูลค่า การบริโภค และภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และบริการทางการเกษตรกรรมของชาวเบลเยียม พืชสวน การประมง และภาคการเกษตรอาหารในประเทศเบลเยียม และต่างประเทศ

Belgapom คือสมาคมของอุตสาหกรรมการค้าและแปรรูปมันฝรั่งของเบลเยียม ก่อตั้งขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ให้แก่ผู้ค้าเมล็ดพันธุ์มันฝรั่ง ผู้ค้ามันฝรั่งเพื่อการบริโภค ผู้ค้ามันฝรั่งก่อนแบ่งบรรจุ ผู้ส่งออก อุตสาหกรรมมันฝรั่งปอกเปลือก และอุตสาหกรรมแปรรูปมันฝรั่ง | www.belgapom.be