VICTAM และ VIV ผนึกกำลังจัดงาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia 2020

VICTAM และ VIV ผนึกกำลังจัดงาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia 2020 เปิดตัวงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ สุขภาพและโภชนาการสัตว์ครบวงจรครั้งแรกของเอเชีย ระหว่างวันที่ 24- 26 มีนาคม 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค นำเสนอเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์ สารอาหารและโภชนาการสัตว์ตลอดจนสุขภาพสัตว์แบบเต็มรูปแบบ พร้อมตอบโจทย์ผู้เข้าเยี่ยมชมงานอย่างครบวงจร

การจับมือกันประกาศการเป็นพันธมิตรจัดงานในครั้งนี้ นับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารสัตว์ เมล็ดพันธุ์ เวชภัณฑ์สัตว์ พันธุ์สัตว์ และห้องปฏิบัติการ ซึ่งงานก่อนหน้านี้ VIV Health & Nutrition Asia วางแผนที่จะจัดงานในช่วงเดือนมกราคม 2563 และ VICTAM Asia มีกำหนดจัดงานในเดือนมีนาคม 2563 เช่นเดียวกัน

Sebastian Van Den Ende ผู้จัดการทั่วไป VICTAM International เปิดเผยถึงโอกาสในความร่วมมือของการจัดงานแสดงสินค้าครั้งนี้ว่า “การนำเสนอรูปแบบการจัดงานแบบคู่ขนาน ซึ่งจัดทั้งสองงานในเวลาเดียวกัน สถานที่เดียวกัน โดยผู้จัดงานสองรายที่มีชื่อเสียงระดับโลกนั้นเป็นกลยุทธ์ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ประกอบการและผู้เข้าชมงานที่จะได้รับประสบการณ์การชมงานทั้งสองงานภายในครั้งเดียว โดยเราเชื่อมั่นว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดงานของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งแน่นอนว่าไทยมีตลาดการค้าที่มีศักยภาพในด้านการลงทุน ผู้ซื้อ และผู้แทนจำหน่ายที่มีคุณภาพ งานแสดงสินค้าครั้งนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะสร้างแพลตฟอร์มทางธุรกิจในระดับนานาชาติโดยเฉพาะเอเชีย ซึ่งถือเป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว”

ทางด้าน Heiko M.Stutzinger เสริมว่า “บทสรุปของการหารือในครั้งนี้ นำมาสู่ข้อตกลงความร่วมมือทางการจัดงานระหว่างทั้งสองผู้จัด ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นและเชื่อมั่นว่าตลาดปศุสัตว์ของภูมิภาคเอเชียยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง การจัดงานครั้งนี้จะเป็นการผนึกนวัตกรรมด้านเครื่องจักรการผลิตจากผู้จัดแสดงสินค้าทั่วโลก และไฮไลท์สำคัญคือการอัปเดตข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ด้านโภชนาการอาหารสัตว์ที่จะมาร่วมแชร์เทรนด์ระดับโลกซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมดังกล่าว นอกจากนี้เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจอย่างมืออาชีพ”

การรวมกันของเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์กับสารเติมแต่ง

Heiko M.Stutzinger กล่าวเพิ่มเติมว่า “ทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสแบ่งปันมุมมองการทำงานและความต้องการในการพัฒนาการจัดงานแสดงสินค้าเพื่อให้บริการกับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และโปรตีนจากสัตว์อย่างเต็มที่ ซึ่งการร่วมกันจัดงานครั้งนี้ ก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจของตลาดส่วนผสมอาหารและสารปรุงแต่งที่กำลังเป็นภาคธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วและมีอุปทานมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทาง VIV ตระหนักถึงความสำ คัญของธุรกิจนี้ จึงนำมาสู่การสร้างงานแสดงสินค้าที่มุ่งเน้นทางด้านสุขภาพสัตว์ สำหรับอุตสาหกรรมโปรตีนสัตว์ ซึ่งรวมถึงความสำคัญของการใช้เวชภัณฑ์ และสารต่างๆ ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนแนวคิดการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ไข่ ปลา และนม”

“เมื่อประมาณ 20 ปี ที่แล้ว ทั้ง VICTAM และ VIV เคยตัดสินใจร่วมกันจัดสองงานเข้าด้วยกันที่ยุโรป ในนาทีสุดท้ายเพื่อสู้กับวิกฤตการณ์โรคระบาดในสัตว์ ซึ่งในขณะนั้นปฏิกริยาการตอบรับจากคนในอุตสาหกรรมก็ไม่ได้ออกมาในเชิงลบ ผมคิดว่าเราจะได้เห็นการตอบรับในเชิงบวกเช่นเดียวกัน ในการร่วมกันจัดงานครั้งนี้ที่กรุงเทพ ในปี 2563” Sebas van den Ende กล่าว

ในโอกาสนี้ คุณกนกพร ดำรงกุล ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมการแสดงสินค้านานาชาติ TCEB ได้เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมของการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศไทยว่า “ธุรกิจการจัดแสดงสินค้านั้นยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปีนี้และทุกงานที่กำลังจะเกิดขึ้นก็เป็นช่องทางของการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาคได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส n-CoV นั้น ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมและชี้แจงมาตรการแนวทางการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้การจัดงานเป็นไปตามแผนอย่างดีที่สุด และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เข้าร่วมงาน”

ในโอกาสนี้ ศ.สพ.ญ. ดร. อัจฉริยา ไศละสูต ผู้อำนวยการ FAVA Secretariat Office เปิดเผยถึงโอกาสการติดเชื่อไวรัส n-CoV ในสัตว์ว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นในสัตว์ โดยเชื้อดังกล่าวทำให้เกิดโรคท้องเสียในสุกร และอย่างไรก็ตามก็มีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ได้

นอกจากความร่วมมือจัดงานครั้งแรกในเอเชียแล้ว ทั้ง VICTAM International และ VIV Worldwide ยังสานต่อความร่วมมือยกระดับการจัดงานแสดงสินค้าครั้งสำคัญ VICTAM International exhibition และ VIV Europe 2022 ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2565 ณ Jaarbeurs เมืองอูเทรคต์ (Utrecht) ประเทศเนเธอร์แลนด์

เทรนด์ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์กลุ่มประเทศนอร์ดิกส์

จากการรายงานสถานการณ์การตลาดโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน ซึ่งมีพื้นที่ดูแลประเทศเดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ เปิดเผยภาพรวมตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์ พบว่ากลุ่มสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์เป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง จึงมีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยที่สูง ประกอบกับประชากรมีความนิยมอุปโภคบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทั้งกลุ่มสินค้าอาหารและไม่ใช่อาหาร

ภาพรวมตลาดกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์พบว่ามีอัตราการอุปโภคบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ต่อหัวประชากรสูงที่สุดในโลก นำโดยเดนมาร์ก และสวีเดน ทั้งนี้ สินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดครอบคลุมเกือบทุกสินค้า ไม่ว่าจะเป็นข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว เนื้อสัตว์ ปลาและอาหารทะเล ขนมขบเคี้ยว ผักและผลไม้สดและแปรรูป ผักและผลไม้อบแห้ง เครื่องดื่ม ชา กาแฟ น้ำผลไม้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ซอสและเครื่องปรุงรส อาหารสำหรับเด็กอ่อนและทารก เป็นต้น

สถานการณ์การแข่งขันและคู่แข่งที่สำคัญของไทย

จากสถานการณ์และความต้องการของตลาดนับว่าเป็นโอกาสให้กับผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มของไทยโดยเฉพาะผู้ที่มุ่งมั่นเจาะตลาดผู้บริโภคเฉพาะทาง ทั้งนี้ คู่แข่งสำคัญสำหรับตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์นั้นคือสินค้าที่มาจากกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์เอง เนื่องจากกระแสความนิยมการอุปโภคบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดนี้มีสูง กลุ่มผู้ผลิต หน่วยงานรัฐ และเอกชนจึงมุ่งลงทุนและพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ทั้งนี้ ในปี 2561 เดนมาร์กนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์รวมทั้งหมด 578 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์รวมทั้งสิ้น 442 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเดนมาร์กใช้พื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์รวม 279,299 เฮกตาร์ (คิดเป็นร้อยละ 8.6 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด) ฟาร์มเนื้อสัตว์เกษตรอินทรีย์รวม 4.23 ล้านตัว (กลุ่มปศุสัตว์ สุกร สัตว์ปีก และอื่นๆ) ทั้งนี้ มูลค่าตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในร้านค้าปลีกในเดนมาร์กมีมูลค่ารวม 1.93 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยกลุ่มสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายมากที่สุดคือ กลุ่มนมสด ชีส และไข่ รองลงมาได้แก่ กลุ่มผัก ผลไม้ และข้าว ขนมปัง เส้นพาสต้า แป้งทำอาหาร กลุ่มเนื้อสัตว์ที่มีมูลค่าการซื้อขายมากที่สุดในร้านค้าปลีกคือ เนื้อวัว แฮมและไส้กรอก (Cold cut meat and poultry) เนื้อสุกร และเนื้อไก่

ทางด้านสวีเดนนั้น จากข้อมูลล่าสุดปี 2560 สวีเดนมีพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์รวมประมาณ 477,685 เฮกตาร์ (คิดเป็นร้อยละ 19.2 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด) นอร์เวย์ 48,000 เฮกตาร์ (คิดเป็นร้อยละ 4.8 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด) ฟินแลนด์ 240,600 เฮกตาร์ (คิดเป็นร้อยละ 11.4 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด) และไอซ์แลนด์ มีพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 0.4ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้ การทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์จะมีหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละประเทศ ได้แก่ Danish Agriculture & Food Council, Swedish Board of Agriculture, Norwegian Agricultural Counseling และ Finnish Food Safety Authority Evira โดยฟินแลนด์มีฟาร์มเนื้อสัตว์เกษตรอินทรีย์รวม 959 แห่ง ซึ่งส่วนมากผลิตนมเกษตรอินทรีย์ มีฟาร์มผลิตเนื้อสุกรเกษตรอินทรีย์จำนวน 14 แห่ง ฟาร์มผลิตเนื้อสัตว์ปีกเกษตรอินทรีย์จำนวน 3 แห่ง ฟาร์มผลิตไข่ไก่เกษตรอินทรีย์ 48 แห่ง

โอกาสและความท้าทายของสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทย

แม้ว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์จากประเทศไทยจะยังไม่ได้เป็นที่รู้จักในตลาดกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์มากนัก  แต่สินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ที่มีโอกาสขายได้ในตลาดกลุ่มดังกล่าว ได้แก่ ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว เนื้อสัตว์ ปลาและอาหารทะเล ขนมขบเคี้ยว ผักและผลไม้สดและแปรรูป ผักและผลไม้อบแห้ง น้ำผลไม้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ซอสและเครื่องปรุงรส อาหารสำหรับเด็กอ่อนและทารก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสำคัญที่ส่งผลให้สินค้าเกษตรอินทรีย์จากประเทศไทยบางกลุ่มยังไม่เป็นที่เชื่อถือในตลาดมากนัก เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป เนื่องจากมีส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง รวมถึงการสร้างแบรนด์สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีความสำคัญ รวมทั้งการจัดหาเอกสารรับรองจากมาตรฐานนานาชาติเพื่อให้คู่ค้าสามารถวางใจได้ในมาตรฐานของสินค้าไทยด้วย

ด้านปัจจัยสนับสนุนพบว่ากระแสความนิยมการบริโภคสินค้าจากท้องถิ่นได้กลายมาเป็นหนึ่งในแนวโน้มการบริโภคที่สำคัญในปัจจุบัน เนื่องจากกระแสการลดภาวะโลกร้อนที่ภาคการขนส่งเป็นส่วนหนึ่งในปัญหานี้ ผู้บริโภค ร้านค้าปลีก ภัตตาคาร และผู้นำเข้าจึงหันมานิยมจับจ่ายซื้อของจากท้องถิ่นที่สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ลดการใช้พลังงานในการขนส่ง รวมทั้งลดปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากการขนส่งด้วย

แนวทางการขยายตลาดและลู่ทางการจำหน่าย

ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในด้านคุณภาพสินค้า เนื่องจากสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดกลุ่มประเทศ นอร์ดิกส์โดยทั่วไปจะมีราคาเฉลี่ยสูงกว่าราคาสินค้าทั่วไปร้อยละ 20 ผู้นำเข้าและผู้บริโภคจึงคาดหวังว่าจะได้รับสินค้าที่ดีมีคุณภาพด้วย และควรพัฒนาเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นวัตกรรมการบรรจุภัณฑ์ที่ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง มีมาตรฐานสูง และสามารถเก็บสินค้าได้เป็นเวลานาน

นอกจากนี้ ควรศึกษาข้อมูลเครื่องหมายทางการค้าตราสัญลักษณ์เกษตรอินทรีย์ในกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์ที่ได้รับการยอมรับ และใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยปัจจุบันมี 5 ตราสัญลักษณ์ด้วยกันตามแต่ละประเทศ และยังสามารถใช้ EU Organic logo ได้ด้วย ทั้งนี้ จากการสำรวจประชากรกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์โดย Nordic Swan Ecolabel กว่า 9 ใน 10 คนรู้จัก Nordic Swan Ecolabel และกว่าครึ่งนึงมองหาสัญลักษณ์นี้เมื่อซื้อสินค้า ดังรูปด้านล่าง

เครื่องหมายอาหารเกษตรอินทรีย์ในเดนมาร์ก (Danish Organic Logo) สวีเดน (KRAV) นอร์เวย์ (Debio) กลุ่มประเทศนอร์ดิกส์ (Nordic Swan Ecolabel) สำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มิใช่อาหารและยุโรป (EU Organic logo) (เรียงจากซ้ายไปขวา)

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Danish Organic Logo http://en.mfvm.dk/focus-on/organic-denmark/danish-organic-logo/ KRAV www.krav.se Debio https://debio.no/english/ Nordic Swan Ecolabel www.nordic-ecolabel.org และ EU Organic logo https://ec.europa.eu/agriculture/organic/index_en

ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ส่งออกและผู้ที่สนใจขยายตลาดกลุ่มประเทศดังกล่าวควรเตรียมการจัดทำข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อประโยชน์สำหรับการค้าออนไลน์ โดยผู้นำเข้า/ร้านค้าปลีกรายใหญ่หลายแห่งมีระบบการลงทะเบียนข้อมูลผู้ส่งออก/suppliers ออนไลน์ผ่านเวปไซต์ของตนเอง เช่น บริษัท S – Group ฟินแลนด์ https://s-ryhma.fi/en/for-suppliers บริษัท ICA Gruppen AB สวีเดน ซึ่งทำให้สะดวก รวดเร็ว การติดต่อมีประสิทธิภาพ และได้รับข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของตนมากขึ้น

หากผู้ส่งออกต้องการส่งอีเมล์ถึงบริษัทผู้นำเข้า/ร้านค้าปลีกในกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์เพื่อแนะนำสินค้าและบริษัทของตน สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากปริมาณอีเมล์จากผู้ส่งออกจากทั่วโลกที่บริษัทผู้นำเข้าได้รับแต่ละวันมีจำนวนมหาศาล จึงควรเขียนอีเมล์ที่สั้น กระชับใจความ มีข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจการสั่งซื้อ เช่น รายละเอียดสินค้า/บริษัท รูปภาพสินค้า เพื่อสร้างความสนใจและน่าดึงดูดในการติดต่อกลับเพื่อทำธุรกิจร่วมกันในอนาคต

ผู้ส่งออกควรเน้นกลยุทธ์โดยการพัฒนารูปแบบสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มสูง รวมทั้งพัฒนาหีบห่อบรรจุภัณฑ์ให้มีขนาดกับพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น ชาวนอร์ดิกส์นิยมรับประทานข้าวเป็นครั้วคราว ขนาดบรรจุที่ได้รับความนิยมในตลาดคือ 1 กิโลกรัม อาจช่วยให้สินค้าสามารถขยายตลาดเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น

นอกจากนี้ จากประเด็นความนิยมสินค้าที่ลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) การให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาที่เป็นธรรมแก่ผู้ผลิต (Fair price) และการมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายสามารถช่วยเพิ่มอำนาจการซื้อให้เพิ่มมากขึ้น

—————————————————————————————————————————————–

ที่มา: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน

With 2,500+ Exhibitors Participate, the Scale of HOTELEX 2020 is Expected to Reach 230,000 m²

The HOTELEX Shanghai is a leading trade show of hospitality and catering industry. The exhibit categories including catering equipment, tableware, coffee & tea, food & beverage, bakery, ice cream, wine & spirits, and catering accessories. The HOTELEX Shanghai 2019 covered 230,000 m² exhibiting space with 2,567 domestic and overseas exhibitors from all over the world. During the 4 days exhibition, there were 159,267 professional buyers have visited the HOTELEX Shanghai 2019. Visitors were from 123 countries and regions around the world, including 5,502 overseas visitors.

The opening ceremony of HOTELEX 2019

159,267 visitors attended in four days

10 professional forums and 20 industry events and performances would be held during the HOTELEX 2020, focusing on the frontier topics in the hotel and catering industry, delivering trend products and new ideas for the entire industry, discussing new products and business opportunities. The famous industry events including the coffee championships series authorized by World Coffee Events. On the purpose of propelling industry development, the show also dedicated to launching industry forums targeting customized industry solutions, having experienced speakers share business stories and operation strategies.

Shanghai Coffee & Foodie Festival

The Shanghai Coffee & Foodie Festival would be held at the same time, relies on the exhibition platform to create a coffee & gourmet show with more than 100 specialty cafes and popular street foods, which allowed visitors to enjoy coffee and foods from all over the world in one place.

The HOTELEX Shanghai 2020 will be held on 29 March – 1 April 2020, and will continue to improve soft power and focusing on service, trying to create an attractive exhibition environment that provides an interactive experience for visitors.

For further details please go to https://en.hotelex.cn/shanghai-exhibition/

 

 

สภาอุตสาหกรรมฯ-สภาหอการค้าฯ-สถาบันอาหาร เผยส่งออกอาหารปี 62 หดตัว 3.8% ลุ้นปี 63 ฝ่าปัจจัยเสี่ยง ตรึงเป้า 1 ล้านล้านบาท

3 องค์กรเศรษฐกิจด้านธุรกิจเกษตรและอาหาร นำโดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมแถลงข่าวเผยข้อมูลภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทยปี 2562 และแนวโน้มปี 2563

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กลาง) นายพจน์  อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (ซ้าย) และนางอนงค์  ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม (ขวา)

นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าในการประสานความร่วมมือของ 3 องค์กร ในส่วนของสถาบันอาหารจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินงานของ ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร หรือ Food Intelligence Center โดยมีสภาอุตสาหกรรมฯ และสภาหอการค้าฯ ร่วมบูรณาการข้อมูล พบว่าในปี 2562 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี โดยลดลงร้อยละ 2.0 การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 57.8 ลดลงจากร้อยละ 58.7 ในปีก่อน เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศที่อ่อนตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ  รายได้ครัวเรือนลดลง  และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับภาคการส่งออกที่หดตัวลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว เงินบาทแข็งค่า และราคาส่งออกสินค้าอาหารที่ลดลงกระทบต่อรายได้เข้าประเทศ

ด้านการส่งออกอาหารของไทยในปี 2562 มีมูลค่า 1,025,500 ล้านบาท หรือ 33,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวลงร้อยละ 3.8 ในรูปเงินบาท แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2  ในรูปดอลล่าร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 401,300 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 0.1 โดยสินค้าอาหารส่งออกหลัก 6 รายการที่มีมูลค่าลดลง ได้แก่ ข้าว (-22.0%) น้ำตาลทราย (-13.7%) ปลาทูน่ากระป๋อง (-6.0%) แป้งมันสำปะหลัง(-2.8%) กุ้ง (-9.2%) และสับปะรด (-15.7%) ส่วนสินค้า 4 รายการที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไก่ (+0.8%)  เครื่องปรุงรส (+4.0%)  มะพร้าว (+3.8%) และอาหารพร้อมรับประทาน (+4.6%) ซึ่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การแข็งค่าของเงินบาทและราคาอาหารโลกที่ปรับตัวลดลงเป็น 3 ปัจจัยหลักที่ฉุดมูลค่าส่งออกสินค้าอาหารไทยให้ลดต่ำลง

“ในปี 2562 ที่ผ่านมา จีนก้าวขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกอาหารอันดับที่ 1 ของไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แทนที่กลุ่มประเทศ CLMV โดยไทยส่งออกสินค้าอาหารไปจีนมูลค่า 150,749  ล้านบาท  มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.7 ของมูลค่าการส่งออกอาหารทั้งหมด มีสินค้าส่งออกหลักที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าผักและผลไม้ ไก่สดแช่แข็ง รวมถึงกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง หากพิจารณาจากตลาดส่งออกหลักทั้ง 7 ตลาด ได้แก่ จีน CLMV ญี่ปุ่น อาเซียนเดิม สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (MENA) จะพบว่ามีเพียงตลาดจีน (+34.0%) MENA (+3.7%) และสหรัฐอเมริกา (+0.5%)  ที่มีการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น โดยตลาดจีนและสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มสูงขึ้นเกิดจากอานิสงส์ที่ไทยได้รับจากสงครามการค้าระหว่างทั้งสองชาติ ส่วนตลาดอื่นๆ หดตัวลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยภาพรวมการค้าอาหารโลกในปี 2562 ประเมินว่ามีมูลค่าราว 1.318 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวลงร้อยละ 0.6

จากข้อมูลโดยสถาบันอาหาร พบว่าแนวโน้มการส่งออกอาหารไทยปี 2563 ในรูปเงินเหรียญสหรัฐคาดว่าจะมีมูลค่าส่งออกราว 34,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4  ส่วนในรูปเงินบาทคาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ระหว่าง 1,022,610 – 1,061,000 ล้านบาท โดยมีโอกาสหดตัวลงร้อยละ 0.3 จนถึงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5  เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ และค่าเงินบาทมีโอกาสเคลื่อนไหวได้  2 ทิศทาง ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทอยู่ระหว่าง  29.30 – 30.40 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และเศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 3.4  กลุ่มสินค้าที่คาดว่ามูลค่าส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว (+0.5%) ไก่ (+8.0%) ปลาทูน่ากระป๋อง (+6.3%) แป้งมันสำปะหลัง (+6.4%) กุ้ง (+4.2%) เครื่องปรุงรส(+7.5%)  มะพร้าว (+6.0%)  สับปะรด (+7.0%)  และอาหารพร้อมรับประทาน (+5.5%) ส่วนที่คาดว่าจะลดลง คือ น้ำตาลทราย (-5.0%)

สำหรับปัจจัยสนับสนุนสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2563 ได้แก่ 1) เศรษฐกิจโลกในปี 2563  ค่อยๆ ฟื้นตัวจากสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนที่ลดความตึงเครียดลง 2) จีนมีความต้องการนำเข้าสินค้าอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากขึ้นหลังเกิดการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร 3) มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่กำลังจะจัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงครึ่งปีหลังจะทำให้เกิดความต้องการสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น  4) เศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากการได้รับแรงหนุนจากแผนงานรัฐบาลปี 2563  

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบ ได้แก่ 1)  ต้นทุนการผลิตและการขนส่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามราคาพลังงาน หากสงครามระหว่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกาปะทุและลุกลาม  2) ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ Brexit เพราะจะเกิดความไม่ชัดเจนเรื่องกฎเกณฑ์สินค้า เงื่อนไขการค้า 3) ภัยแล้งจะกระทบทำให้ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรวัตถุดิบในประเทศลดลง ราคาปรับตัวสูงขึ้น กระทบต้นทุนอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป 4) สินค้าอาหารของไทยบางรายการได้รับผลกระทบจากการถูกสหรัฐอเมริกาตัด GSP โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารสำเร็จรูปจำพวกพาสต้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เกี๊ยว เป็นต้น 5) ภัยคุกคามจากการขยายตัวของสินค้าอาหารที่ผลิตจากพืชทดแทนเนื้อสัตว์ (Plant-based food product) ที่มีต่ออุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และอาหารทะเล

“การที่ค่าเงินบาทมีโอกาสเคลื่อนไหวได้ 2 ทิศทาง จึงอาจเป็นได้ทั้งปัจจัยสนับสนุน หรืออาจเป็นปัจจัยเสี่ยง คือ 1) มีแนวโน้มอ่อนค่าตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนผ่อนคลายลง ทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนในเงินบาท และ 2) แนวโน้มแข็งค่าขึ้นหากเครื่องชี้วัดด้านเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาออกมาแข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการของภาคธุรกิจ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ที่บ่งชี้กำลังซื้อ ตลาดแรงงานและตัวเลขตำแหน่งงานใหม่ รวมทั้งตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลงไปทุกๆ 1 บาทต่อเหรียญสหรัฐ จะทำให้มูลค่าส่งออกอาหารไทยเปลี่ยนแปลงไปประมาณ 35,000 ล้านบาท”

ตลาดผู้บริโภคมิลเลนเนียลในสหรัฐอเมริกา

รายงานจากทูตพาณิชย์ประจำเมืองไมอามี สหรัฐอเมริกา เปิดเผยผลการสำรวจโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้าไทย โดยพบว่ากลุ่มผู้บริโภคที่น่าสนใจคือกลุ่มผู้บริโภค Millennials ซึ่งคาดว่าจะเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง มีอิทธิพลต่อการบริโภคสูง และกำลังจะเข้ามาแทนที่กลุ่มประชากร Generation X และ Baby Boomer ที่กำลังเข้าสู่วัยเกษียณ ซึ่งหากผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทยได้ศึกษาและวางแผนการเจาะตลาดให้ดี ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้น

นางสาวนิธิมา ศิริโภคากิจ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองไมอามี กล่าวว่า
กลุ่มประชากร Millennials มีอายุระหว่าง 23-38 ปี เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง เพราะอยู่ในวัยทำงาน และมีรายได้ค่อนข้างมั่นคง โดยลักษณะการบริโภคจะแตกต่างจากผู้บริโภคกลุ่มอื่น มีลักษณะการใช้ชีวิตสัมพันธ์กับเทคโนโลยี แอปพลิเคชัน สื่อสังคมออนไลน์ มักบริโภคข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตและโซเซียลมีเดีย และนิยมซื้อสินค้าทางออนไลน์ ซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือสินค้าที่ช่วยพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น

สำหรับผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทยที่สนใจทำตลาดเจาะผู้บริโภคกลุ่มนี้ควรศึกษารายละเอียดความต้องการในการบริโภคสินค้าและบริการให้ตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งปัจจุบันสามารถแบ่งความสนใจออกได้ประมาณ
10 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแคมปิ้ง กลุ่มสุขภาพ กลุ่มการท่องเที่ยว กลุ่มนักชิม กลุ่มกาแฟ กลุ่มอาหารแช่แข็ง กลุ่มเครื่องดื่มปราศจากน้ำตาลและแคลอรี กลุ่มต้นไม้ประดับ กลุ่มสินค้าเครื่องประทินผิว และกลุ่มยานพาหนะ

โดยช่องทางในการขยายตลาดพบว่าช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางในการสื่อสารและทำตลาดผู้บริโภคกลุ่ม Millennials ได้ดีที่สุด เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มนี้มีลักษณะนิสัยให้ความสำคัญกับความสะดวกสบาย มักจะเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และไม่ค่อยชอบเสียเวลาเพื่อเดินทางไปเลือกซื้อสินค้าตามร้านค้าปลีกทั่วไป และหากสินค้ามีจุดเด่นในการรับผิดชอบต่อสังคม การรักษาสิ่งแวดล้อม ก็มักจะบอกต่อในกลุ่มเพื่อนและคนรู้จักให้ทดลองใช้ ซึ่งจะเป็นผลดีในการทำการตลาดแบบบอกต่อ และมีผลดีที่ไม่ต้องใช้งบประชาสัมพันธ์มาก ทำให้สินค้ามีโอกาสเพิ่มขึ้น

—————————————————————————————————————————————–

ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th

 

Introducing the Romer Labs® APAC Solutions Centre – Analytical Services, Technical Support and Training Programs for the Food and Feed Industry

With the APAC Solutions Centre, Romer Labs® extends its capabilities in mycotoxins and allergen testing for the food and feed industry. The new Solutions Centre combines analytical services, enhanced technical support and customized training programs to help food and feed safety professionals remain productive, efficient and compliant.

Romer Labs, a leading provider of diagnostic solutions for the agricultural, food and feed industries, is announcing the opening its APAC Solutions Centre in Singapore. The new Centre extends the company’s capabilities in three important areas: analytical services, technical support and customer training programs.

The APAC Solutions Centre features new facilities for food allergen testing. Romer Labs can now serve the region with analytical services that cover gluten and the broadest range of allergenic analytes on the market. The Centre also brings augmented mycotoxin testing methods with screening services such as Multi-Mycotoxin Analysis 50+, which gives specific information on any of more than 50 mycotoxins in a sample in one report.

To complement these new capabilities, the Centre also provides enhanced technical support: sample validation, troubleshooting and insight into best practices are all available. Romer Labs experts provide advice to help customers remain productive and compliant with local and international regulations.

The APAC Solutions Centre is also introducing a new service to the region: customized training programs. Workshops, webinars and personalised instruction are all designed to adapt to how, where and how often customers test. Romer Labs issues training certificates and other documentation that may be necessary for audits and accreditations.

Yong Wee Liau, Managing Director, Romer Labs APAC: “For years, we have prided ourselves on being an extension of our customers’ lab. With the Romer Labs APAC Solutions Centre, we aim to go beyond that by being with our customers every step of the way. The new Centre has been designed with their needs in mind to help them meet their food and feed safety goals.”

Food & Drink Trends and New Opportunities for Cheese (Ep.1)

เทรนด์อาหารและการประยุกต์ใช้ชีสให้ออกรส! (ตอนที่ 1)

สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ชีสในบทบาทของอินกรีเดียนท์นั้นนับว่ามีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้มีรสชาติหลากหลายและน่าสนใจสำหรับผู้บริโภค

จากข้อมูลการวิจัยโดยมินเทลเกี่ยวกับเทรนด์อาหารและเครื่องดื่ม และแนวทางการประยุกต์ใช้ชีสในระดับอุตสาหกรรม พบว่าในประเทศไทยชีสถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มมากขึ้นจากร้อยละ 2.6 เติบโตไปที่ร้อยละ 3.7 และจะยังคงค่อยๆ เติบโตไปอีกอย่างต่อเนื่อง โดยชีสมักเข้ามามีบทบาทมากที่สุดในประเภทอุตสาหกรรมอาหารพร้อมรับประทาน อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น ก๋วยเตี๋ยว รวมถึงกลุ่มสินค้าประเภทสลัด แซนด์วิช เป็นต้น รองลงมาคือกลุ่มเนื้อสัตว์แปรรูป เบเกอร์รี สแน็ก และไอศกรีม

การนำชีสมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มควรต้องคำนึงถึงความเข้ากันได้ของชีสและผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อนำชีสมาใช้เป็นอินกรีเดียนท์ได้อย่างเหมาะสม และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน ลองมาดูว่าเทรนด์อาหารและความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคมีส่วนผลักดันให้เกิดความหลากหลายของการนำชีสมาเป็นส่วนผสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่น่าสนใจได้อย่างไรบ้าง…

เทรนด์อาหารและการประยุกต์ใช้ชีสให้ออกรส! (ตอนที่ 1) นำเสนอเทรนด์เรื่อง Elevated Convenience คือเทรนด์ที่ว่ากันด้วยเรื่องความสะดวกสบาย…

สำหรับผู้บริโภคนั้นคือการมองหาผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นมากกว่าความสะดวกในการรับประทาน เช่น อาหารเช้าที่รับประทานง่ายและสะดวกพกพาไปทันที (Grab & Go Breakfast) จากการวิจัยโดยมินเทลพบว่าผู้บริโภคร้อยละ 26 มีความต้องการอาหารเช้าประเภท Grab & Go มากขึ้นจากปี 2560 ที่มีเพียงร้อยละ 18 โดยเฉพาะผู้บริโภคในสังคมเมืองที่เร่งรีบ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารเช้าในรูปแบบพร้อมรับประทานยังต้องมีคุณค่าสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพด้วย โดยร้อยละ 56 ของผู้บริโภคในสังคมเมืองให้ความสำคัญกับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ครบถ้วน และใช้ส่วนผสมอาหารธรรมชาติ ซึ่งเป็นเทรนด์ความต้องการที่ยังคงทรงอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อและเป็นความต้องการอันดับต้นๆ ของผู้บริโภคที่ไม่ควรมองข้าม

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคกว่าร้อยละ 67 ก็ให้ความสนใจกับความแปลกใหม่ของรสาติที่ไม่ซ้ำใคร การเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ในการรับประทานอาหารก็จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการรสชาติที่หลากหลายของผู้บริโภคได้ ในประเทศญี่ปุ่นมีการเปิดตัว Potato Farm Jaga Rimuse Potato Set ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สแน็กที่ไม่มีการปรุงแต่งรสชาติ แต่สามารถสร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภคแบบที่ให้ผู้บริโภคได้เลือกผสมผงปรุงรสกับสแน็กเอง โดยในแพ็กจะมีซอสและผงปรุงรสชาติต่างๆ เช่น ผงโรยรสชาติชีส ข้าวโพด สาหร่าย เป็นต้น

Potato Farm Jaga Rimuse Potato Set (Japan) ในหนึ่งกล่องมีมันฝรั่งที่ไม่ปรุงแต่งกลิ่นรสมาให้ 4 ซอง โดยมาพร้อมกับผงปรุงรสชาติ 4 รสชาติ เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือก Mix & Match รสชาติเองได้ตามใจชอบ

นอกจากนี้ยังมีเทรนด์ย่อยที่น่าสนใจในเรื่องความสะดวกสบาย นั่นก็คือเรื่อง Food Service/Food Delivery ในรูปแบบออนไลน์ ตามแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยี ซึ่งทำให้คนเข้าถึงสินค้าผ่านสมาร์ทโฟน ดังนั้น ในบทบาทของสินค้าอาหารและเครื่องดื่มก็ควรให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ที่สามารถสื่อสารและเป็นช่องทางในการเข้าถึงสินค้าครั้งต่อๆ ไปของผู้บริโภคได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

Bring Cheese to Main Meal

จากเทรนด์ดังกล่าวพบว่าแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโดยใช้ชีสเป็นส่วนผสมนั้นควรชูจุดเด่นของสารอาหารที่สำคัญในชีสและคุณประโยชน์ทางด้านสุขภาพ ประกอบกับการพัฒนารสชาติให้อร่อย มีความหลากหลายและน่าสนใจ ที่สำคัญคือมีความสะดวกในการรับประทาน พกพาไปได้ทุกที่ ซึ่งชีสสามารถช่วยสร้างความแปลกใหม่ให้กับเมนูอาหารเดิมๆ มีความน่าสนใจได้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์สแน็กอาหารเช้าและกลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพ จากการสำรวจโดยมินเทลพบว่ากลุ่มผู้บริโภคในเอเชียมองหาความแปลกใหม่ของรสชาติอาหาร อีกทั้งการสร้างประสบการณ์ในการกินก็ยังคงมีอิทธิพลอย่างต่อเนื่องในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารของพวกเขา

Mochi + cheese – Uchi Café Mochees Chewy Cheese Mochi Rice Cakes (Japan) โมจิใส้ครีมชีส อีกหนึ่งความแปลกใหม่ของรสชาติที่โด่งดังมากในประเทศญี่ปุ่น

Korean mixed with Mexican – Ottogi Real Mexican Rice Burrito with Bulgogi (South Korea) บูร์ริโต หรืออาหารแบบเม็กซิโกที่ใช้ส่วนผสมเป็นเนื้อย่างสไตล์เอเชีย และใช้ชีสมอสซาเรลลาในการสร้างความแปลกใหม่ของรสชาติ เป็นผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานที่เพียงอุ่นร้อนด้วยไมโครเวฟก็สามารถรับประทานได้เลย และยังสะดวกพกกพาด้วย

Pizza-bun – Or caled piza-man (Japan) ซาลาเปาไส้พิซซ่า โดยที่ไส้พิซซ่านั้นทำมาจากชีสและซอสมะเขือเทศ ส่วนความแปลกใหม่ของรสชาติคือความเข้ากันของเนื้อแป้งซาลาเปานุ่มๆ และชีสเยิ้มๆ ของใส้พิซซ่านั่นเอง

ในยุโรปผู้บริโภคเน้นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีสารอาหารทางโภชนาการครบถ้วนเป็นสำคัญ รองลงมาคือความสะดวกในการรับประทาน หรือปรุงเองได้ไม่ยุ่งยาก และผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายก็กำลังมีแนวโน้มเติบโตเป็นที่น่าจับตามอง

เช่นเดียวกับผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเน้นความสะดวกสบายในการรับประทานอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารเช้า Ore-Ida Just Crack an Egg Protein Packed Scramble Kit ที่มีส่วนผสมจัดเตรียมมาพร้อมในบรรจุภัณฑ์สำหรับปรุงรับประทานเอง เพียงฉีกซองและทำตามขั้นตอนการปรุงง่ายๆ ก็สามารถรับประทานได้เลย ผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภควัยทำงานที่ไม่มีเวลาเตรียมอาหารเช้าแต่ยังคงมีความต้องการอาหารเช้าที่อุดมด้วยคุณประโยชน์ทางโภชนาการ

Ore-Ida Just Crack an Egg Protein Packed Scramble Kit เซ็ททำไข่คนหรือ Scrambled Eggs ที่มีการนำเชดด้าชีสมาเป็นส่วนผสมสำคัญร่วมด้วยไส้กรอกหมู และเบคอน เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเช้าที่เน้นให้พลังงานและโปรตีนที่จำเป็นกับร่างกาย เพียงแค่ตอกไข่ลงไป 1 ฟองและเตรียมตามขั้นตอนง่ายๆ โดยใช้ไมโครเวฟก็สามารถรับประทานได้เลย

Aldi’s Parmesan Crisps เวเฟอร์กรุบกรอบทำจากพาเมซานชีสและส่วนผสมคุณภาพจากธรรมชาติ ไม่เติมแต่งกลิ่นรส ปราศจากกลูเตน และไม่มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาล เป็นผลิตภัณฑ์สแน็กพร้อมปรุงที่สามารถทำเองได้ง่ายๆ โดยใช้ไมโครเวฟ

อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีวางจำหน่ายแล้วในตลาดต่างประเทศและได้รับความสนใจจากผู้บริโภคอย่างมาก สำหรับตลาดในประเทศไทย มินเทลคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์อาหารเช้าแบบพร้อมรับประทานลักษณะดังกล่าวนี้ก็จะมีโอกาสเติบโตได้มากถึงร้อยละ 7.4 ภายในปี 2567 จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ผลิตอาหารพร้อมรับประทานที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยใช้ชีสเป็นวัตถุดิบหลัก เนื่องจากผู้บริโภคไม่เพียงแต่มองหาความสะดวกรวดเร็วในการเตรียมอาหารเท่านั้น แต่ยังมีความใส่ใจคิดถึงสุขภาพและโภชนาการตลอดจนการเปิดประสบการณ์ด้านรสชาติอาหารด้วย


Special thanks to U.S. Cheeses – Effective Cheese Application Ideas for Successful New Product Development. Food & Drink Trends and New Opportunities for Cheese by Mintel. U.S. Dairy Export Council.

Compiled and Translated By: Pimchanok Kanoklawan

 

คีวิท อินสแตนท์ มิลค์ แคพ พาวเดอร์…อินกรีเดียร์นต้อนรับเทรนด์อาหารโลก โดยฟรีสแลนด์คัมพิน่า อินกรีเดียนท์

ตอบรับกระแสที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคทั่วโลกอย่าง เทรนด์ Personalize it yourself conveniently หรือทำแบบง่ายๆ ในสไตล์คุณ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างให้การยอมรับ และเป็นหนึ่งในสามเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มมีมาแรง

จากรายงานเทรนด์อาหารปี 2019-2020 ที่จัดทำขึ้นโดยฟรีสแลนด์คัมพิน่า อินกรีเดียนท์ พบว่าการค้าในยุคปัจจุบันควรเพิ่มความมีเอกลักษณ์โด่ดเด่น และมีเมนูหลากหลาย นอกจากนี้ยังต้องมีความเป็นซิกเนเจอร์อยู่ในตัว

ผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะคนกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) และคนเจนซี (Generation Z) ต่างมองหาประสบการณ์การบริโภคที่แปลกใหม่ ทั้งในด้านรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ซึ่งสิ่งแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี ก็คือรูปลักษณ์ของอาหารและเครื่องดื่มที่พวกเขาสามารถถ่ายรูปหรือวีดีโอ และนำไปแชร์ให้ผู้คนบนโลกออนไลน์ดูได้ ผ่านทางบล็อก วล็อก (Vlogs) หรืออินสตาแกรม

คุณเทรซี่ จอย ฟอร์ตู นักการตลาดส่วนงานบริการด้านอาหาร ฟรีสแลนด์คัมพิน่า อินกรีเดียนท์ ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจส์ กล่าวถึงเทรนด์ของอาหารและเครื่องดื่มในอนาคต และความสำคัญของ Personalization ไว้ว่า “ถ้าความหลากหลายคือสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีสีสัน Personalization ก็จะทำให้ผู้บริโภคที่เป็นคนเจนซีกลับมาซื้อสินค้าและบริการอีก ยกตัวอย่างเช่น การโรยเกล็ดน้ำตาล เทน้ำเชื่อม หรือใส่มาร์ชเมลโลว์หวานลงไปในเครื่องดื่ม ทำให้ผู้บริโภคสามารถจับคู่เครื่องดื่มให้เข้ากับอารมณ์ที่เปลี่ยนไปในแต่ละวันได้ และผลิตภัณฑ์ทำฟองครีมชนิดผงนี้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ประสบการณ์การบริโภคน่าตื่นเต้นขึ้นกว่าเดิม”

สร้างสรรค์ สะดวก และประหยัดต้นทุน

ผลิตภัณฑ์ทำฟองครีมชนิดผง คีวิท คือการผสมผสานระหว่างความคิดสร้างสรรค์และความสะดวกสบาย จนได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลงตัว ช่วยตอบโจทย์เทรนด์การทำเครื่องดื่มในปัจจุบันได้อย่างดี ซึ่งรสชาติและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ทำฟองครีมชนิดผง คีวิท สามารถเข้ากันได้กับเครื่องดื่มและขนมหวานหลากหลายประเภท สร้างความแปลกใหม่และแตกต่างได้อย่างน่าสนใจ ผลิตภัณฑ์สามารถละลายได้ทั้งในน้ำหรือนม ทั้งแบบร้อนหรือเย็นตามความต้องการ โดยสามารถเลือกสไตล์การชงให้ฟองครีมเป็นแบบเลเยอร์แยกชั้นที่สวยงาม หรือจะเป็นเลเยอร์ในสไตล์ลาเต้ก็สามารถทำได้ และยังสามารถนำไปผสมได้ทั้งในเครื่องดื่ม อาทิ ชา กาแฟ ช็อคโกแลตเย็น น้ำผลไม้ และของหวาน เพื่อเพิ่มความหลากหลายของรสชาติ และเนื้อสัมผัสให้เมนูนั้นๆ แถมยังช่วยต่อยอดจินตนาการในการสร้างสรรค์อีกหลากหลายเมนู เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคอีกด้วย นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังจะทำหน้าที่เสริมรสชาติและความสวยงามน่ารับประทานของเมนูเครื่องดื่มและของหวานยอดนิยมทั้งหลาย สร้างความประทับใจให้แก่ผู้บริโภคเมื่อรับประทาน

Source: www.frieslandcampinaingredients.com

See What’s New in the Star Items January 2020

พบกับผลิตภัณฑ์ดาวเด่น เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ส่วนผสมอาหาร และอื่นๆ ที่น่าสนใจ…ได้ที่นี่