ขอขอบคุณสำหรับการเข้าเยี่ยมชมบูธแสดงสินค้าของ METTLER TOLEDO ในงาน PROPAK ASIA 2023

จบลงแล้วอย่างสวยงาม สำหรับงาน ProPak Asia 2023 เมื่อวันที่ 14-17 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา ทางMETTLER TOLEDO ขอขอบคุณจากใจจริงสำหรับทุกท่านที่ได้เข้าเยี่ยมชมบูธและให้ความสนใจในสินค้า รวมถึงงานบริการหลังการขายและงานสอบเทียบของบริษัทฯ นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลา 4 วันของการจัดแสดงสินค้า METTLER TOLEDO ยังมีความยินดีและดีใจอย่างยิ่งที่ได้กลับมาพบปะกับทุกท่านอีกครั้ง ซึ่งในปีนี้บูธของ METTLER TOLEDO ได้จัดการนำเสนอสินค้าและบริการภายใต้ธีมที่มีชื่อว่า Boost Your Productivity โดยนำเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาช่วยเพิ่มผลผลิต เร่งประสิทธิภาพการทำงานให้รวดเร็วขึ้นและยังคงให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำ พร้อมทั้งยังมีกิจกรรมให้ได้ร่วมสนุกเพื่อรับของรางวัลสุดพิเศษอีกด้วย บริษัทฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะให้ความสนใจและมั่นใจในสินค้าและบริการของ METTLER TOLEDO เช่นนี้ตลอดไป แล้วพบกันใหม่ในงาน ProPak Asia 2024   

สนใจรับข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและงานบริการด้านการสอบเทียบ สอบถามข้อมูลได้ที่: 0 2723 0300,
Line OA: @mtth, www.mt.com หรือติดตามข่าวสารของทางบริษัทฯ ผ่านทุกช่องทาง social mediaของ        Food Focus Thailand

“FOOMA JAPAN 2023”
Exhibition of Food Processing
Accelerating the Growth of the Food Industry

“FOOMA JAPAN 2023”
งานแสดงเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร
เร่งการเติบโตภาคอุตสาหกรรมอาหาร

ผ่านไปแล้วด้วยความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่สำหรับงานแสดงเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารที่ครบวงจรที่สุดในเอเชีย “FOOMA JAPAN 2023” ครั้งที่ 46 เมื่อวันที่ 6-9 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา ณ Tokyo Big Sight กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมี The Japan Food Machinery Manufacturers’ Association เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ภายใต้หัวข้อ “Accelerate FOOMA” และมีบริษัทต่างๆ นำเครื่องจักรและเทคโนโลยีมาร่วมจัดแสดงถึง 969 บริษัท รองรับการผลิตอาหารตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

          งานนี้ได้รวบรวมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารมาไว้ในงานเดียว ได้แก่ เครื่องจักรผลิตอาหารเทคโนโลยีที่ช่วยรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ การจัดการด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยอาหาร รวมถึงหุ่นยนต์และ IoT ที่ใช้ในสายการผลิต ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก โดยผู้เข้าชมงานสามารถสัมผัสประสบการณ์ผ่านการสาธิตการทำงานจริงของเครื่องจักรได้ภายในงาน จึงเป็นงานแสดงสินค้าที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการผลิต ส่งผลให้บรรยากาศภายในงานมีความคึกคักและน่าตื่นเต้น จึงคุ้มค่าในการเข้ามาเยี่ยมชมงานในครั้งนี้ และไม่แปลกใจเลยที่ในปีนี้มีชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติเข้ามาร่วมงานมากถึง 106,104 คน

          ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารในประเทศไทยค่อนข้างคุ้นเคยกับเครื่องจักรและเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นมาเป็นเวลานาน โดยเครื่องจักรของประเทศญี่ปุ่นได้รับการยอมรับกันดีว่ามีคุณภาพและความปลอดภัยสูง ง่ายต่อการบำรุงรักษา และมีราคาเครื่องจักรที่เหมาะสม พร้อมกับมีการฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้แก่ผู้ใช้งานอีกด้วย โดยเรามีความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่น ว่าสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดของเสีย รักษาคุณภาพในการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทย และในฐานะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ที่สุดในโลก จึงสนใจเข้าร่วมงานนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเรากำลังมองหาเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับตลาดโลก โดยภายในงานได้มีการพูดคุยกับผู้เข้าชมงานและผู้จัดแสดงงานชาวไทย พบว่างานในปีนี้ มีผู้เข้าเยี่ยมชมงานที่มีศักยภาพเป็นจำนวนมากและเต็มไปด้วยการแสดงเทคโนโลยีขั้นสูง นอกจากนี้ ระบบคิวอาร์โค้ดที่ใช้ในพื้นที่จัดแสดงยังช่วยให้ผู้เข้าชมงานสามารถเข้าสู่งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และผู้แสดงสินค้ายังสามารถเก็บข้อมูลผู้เข้าชมงานผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อทดแทนการใช้นามบัตรที่อาจมีการสูญหายในภายหลังได้อีกด้วย

          ในพิธีเปิดงานได้มีการปราศรัยโดย Mr. Yukio Okawara ประธานจาก The Japan Food Machinery Manufacturers’ Association และได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ Mr. Tsuneyuki Minami ประธานคณะกรรมการผู้จัดงาน FOOMA JAPAN 2023 และรองประธานสมาคมฯ ได้กล่าวว่า “ในปีนี้ทางผู้จัดงานต้องการเพิ่มศักยภาพในการหาคู่ค้าและการจับคู่ทางธุรกิจ ภายใต้หัวข้องาน “Accelerate FOOMA” ที่ต้องการเร่งธุรกิจอาหารให้เติบโต จึงส่งผลให้ปีนี้ได้รับการตอบรับที่ดีมากขึ้นจากทั้งผู้ร่วมจัดแสดงงานและผู้เข้าชมงาน โดยประเทศญี่ปุ่นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ทำให้จำนวนแรงงานลดลงเป็นอย่างมาก ดังนั้น เครื่องจักรและเทคโนโลยีจึงเข้ามามีส่วนช่วยในการทดแทนแรงงาน และสิ่งที่น่าสนใจ คือ ผู้ประกอบการในโซนสตาร์ทอัปได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 29 บริษัท จึงได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานที่กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจ โดยงานในครั้งนี้ ผู้จัดงานคาดหวังว่าจะมีการขยายตัวแทนจำหน่ายไปยังประเทศต่างๆ มากขึ้น โดยในปีหน้า จะมีการเพิ่มบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้เข้าร่วมงานที่สามารถหาคำตอบได้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาการจัดแสดงงานอีกด้วย”

          นอกจากนี้ Mr. Junichi Hayashi ประธาน Kanto Kongoki Industrial Co., Ltd. และกรรมการผู้จัดการ Fmak (Thailand) Co., Ltd. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักรผลิตเบเกอรีในประเทศไทย และรองประธานคณะกรรมการสมาคม The International Affairs ได้กล่าวว่า “ในปีนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ผลิตในกลุ่มเบเกอรีและขนมต่างๆ ทั้งจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศต่างๆ ในเอเชีย เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีและจีน โดย Kanto Kongoki Industrial เป็นผู้จำหน่ายเครื่องผสมแป้งที่มีการพัฒนาและออกแบบระบบการผสมให้มีความทั่วถึงและสม่ำเสมอ พร้อมกับระบบความปลอดภัยของเครื่องจักรที่สามารถรองรับมาตรฐานการผลิตของโรงงานได้เป็นอย่างดี”

            อีกทั้งในช่วงค่ำของการจัดงานวันแรกยังได้มีพิธีมอบรางวัล FOOMA Awards ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรอาหาร พร้อมเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจและสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบความปลอดภัยอาหารต่อไป

          ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ (The Grand Prize) ได้แก่ Belt Optical Sorter” จาก Satake Corporation ซึ่งเป็นเครื่องคัดแยกสิ่งแปลกปลอมสำหรับวัตถุดิบจำพวกเมล็ด เช่น ซีเรียลและถั่วชนิดต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ โดยใช้เทคโนโลยีการตรวจจับแบบเอกซ์เรย์ผนวกกับ AI ที่ตรวจจับความผิดปกติทางกายภาพทั้งลักษณะปรากฎภายนอก ได้แก่ สี จุดด่างดำและขนาดที่ผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐาน รวมถึงความผิดปกติจากด้านในที่มีลักษณะเป็นโพรงและเป็นเม็ดไม่สมบูรณ์ โดยการใช้แรงดันลมในการคัดแยกผลิตภัณฑ์ที่ผิดปกติออกจากตัวเครื่อง

          ส่วนรางวัลรองชนะเลิศ (Special Prize) ได้แก่ “Bento Tray Supply and Rice Serving Line” จาก “Suzumo Machinery Co., Ltd.” เครื่องจักรสำหรับไลน์ขึ้นรูปข้าวเพื่อบรรจุลงในกล่องเบนโตะ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยออกแบบรูปทรงข้าวได้หลากหลายตามรูปทรงของกล่องเบนโตะ พร้อมควบคุมน้ำหนักต่อถาดได้อย่างแม่นยำ ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตและลดการเสียหายของเมล็ดข้าวได้

          นอกจากนี้ ผู้ที่ไม่สะดวกเข้าร่วมงานในช่วงจัดแสดง ยังสามารถเข้าชมเครื่องจักรและเทคโนโลยีเสมือนจริงผ่านบริการ “ทัวร์เสมือนจริง 360 องศา” ผ่านสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ได้ โดยสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ทางการของ FOOMA JAPAN 2023: https://www.foomajapan.jp/int/

FOOMA JAPAN ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 4 มิถุนายน ถึงวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เตรียมรอพบกับการจัดแสดงโซลูชันการแก้ปัญหาล่าสุดและรูปแบบความก้าวหน้าของเครื่องจักรผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารได้ใน FOOMA JAPAN 2024

          The 46th “FOOMA JAPAN 2023”, hosted by The Japan Food Machinery Manufacturers’ Association, the most comprehensive food processing exhibition in Asia, was held between June 6-9, 2023, at Tokyo Big Sight in Tokyo, Japan, with great success, under this year’s theme “Accelerate FOOMA”. The exhibition was participated by 969 leading companies in which leading machinery and technology supported upstream processes right down the entire food production line.

          The technology showcased in the event includes various categories: food machinery, quality maintenance products, sanitation management, food safety, as well as robotics, IT, and IoT in the production line, which received huge interest. Visitors had great opportunities to experience the next generation of technology through the actual operation demonstration of machinery at the show. As a result, the event was energetic, exciting, comprehensive, and worth visiting, so it was not a surprise that 106,104 people from Japan and foreigners attended the event this year.

          Food manufacturers and distributors in Thailand have been quite familiar with Japanese machinery and technology for a long time. We accept its high quality, safety, well-maintenance support, practical training, and reasonable price. We also trust its technology to increase efficiency, reduce waste, maintain quality, and create added value for Thailand’s food and beverage products. As one of the biggest food producers, we are highly interested in attending this event since we cannot stop looking for state-of-the-art food processing technology to increase our competitiveness in the global market. As discussed with Thai visitors and exhibitors during the event, they found this year’s event more packed with qualified visitors and advanced technology showcases. In addition, the QR code system used in the show ground was convenient for visitors to enter the event quickly, and exhibitors can keep visitor information by scanning to avoid losing business cards.

          The opening ceremony was honored with a speech by Mr. Yukio Okawara, the Chairperson of The Japan Food Machinery Manufacturers’ Association. In this exhibition, had an exclusive interview with Mr. Tsuneyuki Minami, Chairperson of the FOOMA JAPAN 2023 Exhibition Committee as well as the Vice Chairperson of the Association. Mr. Minami stated, “This year, the organizer aims to increase the potential of seeking additional business partners under the “Accelerate FOOMA” theme, which focuses on accelerating the food business industry. As a result, this year’s event has been well received by both exhibitors and visitors. Japan is now approaching an aging society causing the number of active laborers to decrease dramatically. Therefore, machinery and technology have been applied extensively to assist the labor discrepancy. Moreover, the Startup Zone also features additional entrepreneurs from up to 29 more companies, and the startup zone garners increasing attention from visitors in the early stages of starting their own enterprises. From this event, the organizers expect to expand the number of dealers to even more countries. Next year, the addition of consulting services to facilitate an all-in-one solution to attending exhibitors within the exhibition period.”

          In addition, Mr. Junichi Hayashi, President of Kanto Kongoki Industrial Co., Ltd. and Managing Director of Fmak (Thailand) Co., Ltd., which is a machinery maintenance service provider for the bakery industry in Thailand, as well as the Vice Chairman of the International Affairs Committee from the association, said, “This year, the event has been well received by manufacturers in the bakery and confectionery sector, both from Japan and other countries in Asia, such as Taiwan, Hong Kong, Korea, and China.” Kanto Kongoki Industrial is a supplier of dough mixers that has developed and designed a comprehensive and consistent mixing system, along with a safety system that can support the factory’s production standards effectively.

          On the evening of the first day of the event, an awards ceremony was also organized to present the FOOMA Awards. This is the second year in which awards are given to promote research and development of food machinery technology, as well as propagate and generate participation among interested parties in developing future food safety systems.

          The Grand Prize winner for this year was the “Belt Optical Sorter” from Satake Corporation, a foreign matter precise sorting machine for grain-based materials such as cereals and nuts, through the use of X-ray and AI technology to detect external physical defectiveness, such as sub-standard colors, dark spots, and sizes, as well as internal defectiveness such as hollowness and flawed grains. Air pressure is then used to separate the defective products from the production line.

          The second prize (Special Prize) went to “Bento Tray Supply and Rice Serving Line” from Suzumo Machinery Co., Ltd., which invented the machine for forming and molding rice balls into bento boxes. The advanced technology allows producers to design a variety of innovative rice ball shapes in accordance with the shape of the bento box while simultaneously providing precise control over the tray’s weight which help to increase production capacity and reduce damage to the rice grains.

          Furthermore, those who were unable to attend the event could view the types of machinery and technology through a “Virtual Tour of the Exhibition in 360-Degree” on their smartphones and computers by visiting FOOMA Japan 2023’s official website at: https://www.foomajapan.jp/int/

          The next FOOMA JAPAN event will be held from Tuesday, June 4th to Friday, June 7th, 2024. Stay tuned and explore the latest solutions and advancements in food production and processing machinery at the next FOOMA JAPAN 2024 event.

55 บริษัทอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำจากไทย คว้ารางวัล Superior Taste Award 2023
จากสถาบัน International Taste Institute เวทีประเมินรสชาติอาหารระดับโลก

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา สถาบัน International Taste Institute ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัล “Superior Taste Award 2023” โดยได้มอบกว่า 124 รางวัล ให้แก่ 55 บริษัททั่วประเทศไทย อาทิ

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) คว้า 17 รางวัล ในหมวดหมู่เนื้อสัตว์และอาหารจากเนื้อสัตว์ที่ผ่านการหมักหรือปรุงสุก (ชาร์กูว์ทรี)

บริษัท ไทย สพิริท อินดัสทรี จำกัด คว้า 11 รางวัล สินค้าประเภท “เบียร์-ไซเดอร์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”

และ บริษัท ยูนิเวอร์แซล ฟู้ด จำกัด (มหาชน) กับ 6 รางวัลในหมวดน้ำผลไม้และผลิตภัณฑ์ทดแทนนม

โดยผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ผ่านการประเมินรสชาติอย่างเข้มงวดจากสถาบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก สะท้อนถึงการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิตในด้านคุณภาพและรสชาติของผลิตภัณฑ์ 

รางวัล Superior Taste Award 2023

รางวัล Superior Taste Award เป็นเครื่องหมายการันตีรสชาติอาหารและเครื่องดื่มที่ผ่านการทดสอบและประเมิน จนได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยเชฟมืออาชีพและซอมเมอลิเยร์ชั้นนำ ในปีนี้มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย Superior Taste Award จำนวน 2,574 รายการ ซึ่งผ่านการประเมินกระบวนการรับรสและแปลความหมายตามเกณฑ์ประสาทสัมผัส อันประกอบด้วย ได้เห็น ได้กลิ่น ได้ทานอาหาร ได้ลิ้มลองและสัมผัส โดยต้องมีผลคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 70% เท่านั้นจึงจะได้รับพิจารณาเพื่อรับรางวัล พร้อมระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาอย่างดี สมดุล และอร่อย

ผู้ได้รับรางวัล Prestige Awards ทั้ง 103 ราย

นอกจากนี้ สถาบัน International Taste Institute ยังยกย่องผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าออกมาได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับคะแนนยอดเยี่ยมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี และในปี 2566 นี้ บริษัทของคนไทยที่สามารถคว้ารางวัลอันทรงเกียรตินี้มาได้ คือ บริษัท ทิปโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด ที่คว้า 4 รางวัล ในหมวดสินค้ากลุ่มน้ำผลไม้ บริษัท บอนกาแฟ จำกัด คว้า 1 รางวัลในหมวดสินค้ากลุ่มกาแฟ และ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ได้รับ 1 รางวัลในหมวดสินค้ากลุ่มพาสต้า-บะหมี่-ข้าว-ธัญพืช โดยผู้ที่ได้รับรางวัล Prestige Awards นี้มีทั้งหมด 103 ราย ประกอบด้วย รางวัล Crystal Taste Awards จำนวน 77 รางวัลและ รางวัล Diamond Taste Awards จำนวน 26 รางวัล

 

ผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่มาพร้อมคุณภาพและความอร่อย

เพื่อเป็นการชักชวนผู้บริโภคให้เปลี่ยนไปลองใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกจากพืช ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องจัดการกับหนึ่งในอุปสรรคหลักของการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ นั่นคือประสบการณ์ด้านรสชาติ ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ทางเลือกจากพืช เช่น เบอร์เกอร์หรือนักเก็ตทดแทนเนื้อสัตว์ ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับนมหรือชีส และผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับอาหารทะเลอีกด้วย โดยข้อมูลของสถาบัน International Taste Institute แสดงให้เห็นว่า คุณภาพของผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

ในโอกาสนี้ มร.อลัน โคซอน (Alan Coxon) ประธานคณะกรรมการฝั่งเชฟของสถาบัน International Taste Institute ได้กล่าวว่า “เป็นเรื่องดีที่เราได้เห็นว่าบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเลือกจากพืชมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ คณะกรรมการประทับใจมากกับคุณภาพโดยรวมของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในปีนี้ สินค้าบางรายการที่เราประเมินมีความใกล้เคียงกับโปรตีนจากสัตว์มาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านกลิ่น รสชาติ และเนื้อสัมผัส”

 

ทำให้โลกนี้เต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารที่เป็นเลิศ

คณะกรรมการของสถาบัน International Taste Institute ประกอบด้วยเชฟและซอมเมลิเยร์ชื่อดังจากทั่วโลกซึ่งเป็นตัวแทนของสมาคมอาหารชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นเชฟมิชลินสตาร์ หรือผู้ชนะจากการแข่งขันจากเวทีนานาชาติ ทุกคนล้วนมีความหลงใหลในอาหารและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพร่วมกัน

พร้อมกันนี้ มร.เอริก เดอ สโปลแบร์ช (Eric de Spoelberch) ประธานบริหารสถาบัน International Taste Institute กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับใบสมัครเข้าร่วมการตัดสินเป็นจำนวนมากจากเชฟและซอมเมลิเยร์ทั่วโลก ทำให้เราสามารถรวบรวมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพได้เป็นจำนวนมากเพื่อช่วยและสนับสนุนผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มให้ยกระดับรสชาติความอร่อยให้กับผลิตภัณฑ์ของตน สอดคล้องกับพันธกิจของเราในการทำให้โลกใบนี้เต็มไปด้วยของอร่อย”

สำหรับรายชื่อของผู้ผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัล สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ www.taste-institute.com

ภารกิจระดับโลก “ไก่ไทยจะไปอวกาศ”
CPF ผู้นำยกระดับมาตรฐานไก่ไทย สู่ มาตรฐานระดับอวกาศ อีกความภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ประกาศภารกิจเตรียมส่งไก่ไทยไปพิชิตอวกาศ ในโครงการ Thai food – Mission to Space เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โดยได้ดำเนินโครงการวิจัยร่วมกับสองพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอวกาศจากประเทศสหรัฐอเมริกา NANORACKS LLC และ บจก. มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี หรือ MU Space ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอวกาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยภารกิจเตรียมส่งไก่ไทยไปพิชิตอวกาศครั้งนี้ ไก่ไทยต้องผ่านการรับรองความปลอดภัยมาตรฐานอวกาศ (Space Food Safety Standard) ซึ่งก็คือมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารขั้นสูงระดับเดียวกับที่นักบินอวกาศสามารถบริโภคได้

นอกจากนี้ ภายในงานดังกล่าวมีการจัดเวทีเสวนา Thai food – Mission to Space เชิญกูรูจากไทยและต่างประเทศ มาร่วมเสวนา เพื่อขับเคลื่อนการพลิกโฉมอาหารไทยไปไกลสู่อวกาศ ด้วยความปลอดภัยมาตรฐานอวกาศในหลากหลายประเด็น ซึ่งในงานเสวนาประกอบด้วย Mr. Michael Massimino อดีตนักบินอวกาศ NASA, Miss Vickie Kloeris นักวิทยาศาสตร์การอาหารที่เคยทำงานในห้องวิจัยของ NASA, รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, น.สพ.สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์, ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และนายอาจวรงค์ จันทมาส นักสื่อสารวิทยาศาสตร์และพิธีกรรายการดัง ”ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์”

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหารซีพีเอฟ เปิดเผยว่าการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย สู่มาตรฐานอวกาศครั้งนี้ เกิดจากความเชื่อมั่นว่าเนื้อไก่ของซีพีเป็นหนึ่งในแบรนด์เนื้อสัตว์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงที่สุดในโลก จึงตั้งเป้าหมายใหญ่ที่จะพิชิตมาตรฐาน Space Food Safety Standard ให้เป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของคนไทยในโครงการ Thai food – Mission to Space

“ซีพีเอฟ ตระหนักและให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและคุณภาพของอาหารอย่างที่สุด เมื่อได้พันธมิตรที่เชี่ยวชาญ อย่าง NANORACKS LLC และ MU Space มาร่วมดำเนินโครงการ Thai food – Mission to Space ที่จะปฏิบัติภารกิจร่วมกับ “ศูนย์วิจัยด้านอาหารอวกาศของสหรัฐ” สิ่งนี้จะเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย เพราะเป็นครั้งแรกที่อาหารจากประเทศไทยจะได้รับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับนี้ นับเป็นการแสดงศักยภาพขั้นสูงของนวัตกรรมเทคโนโลยีและความปลอดภัยการผลิตเนื้อไก่ของไทย และที่สำคัญ คือ การยืนยันว่าคนไทยทุกคนได้บริโภคไก่ที่ปลอดภัยในระดับเดียวกับที่องค์กรระดับโลกยอมรับ” นายประสิทธิ์กล่าว

ด้าน Mr. Michael James Massimino อดีตนักบินอวกาศ NASA ร่วมบอกเล่าประสบการณ์การใช้ชีวิตในสภาวะไร้น้ำหนักและกล่าวว่า อาหารที่นักบินอวกาศต้องรับประทานนั้น ความปลอดภัยไร้สารตกค้างเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะจะส่งผลต่อสุขภาพนักบินอวกาศในระยะยาว และสารอาหารที่เหมาะสมก็มีผลอย่างมากต่อมวลกระดูกและกล้ามเนื้อของนักบินแต่ละคน ดังนั้น อาหารหมวดโปรตีนจึงต้องมีการจัดเตรียมเป็นพิเศษ และที่ผ่านมาอาหารส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบอาหารแห้ง (Dehydrate food) ที่ต้องเติมน้ำลงในอาหาร หรือแบบพร้อมทาน (Ready-to-eat) ด้วยเทคโนโลยีรีทอร์ท (Retort) ที่สามารถแกะแล้วบริโภคได้ทันที แต่สิ่งที่ต่างกับขณะที่อยู่บนพื้นโลก คือ ลักษณะของอาหารและซอสต่างๆ จะมีความข้นเหนียว เพื่อให้ติดกับช้อนและสามารถบริโภคได้สะดวก หรือบริโภคจากบรรจุภัณฑ์ได้เลย และอีกสิ่งที่แตกต่าง คือ เรื่องการรับรสและกลิ่นของอาหารที่ลดลง ทำให้เรารับรู้รสชาติอาหารได้น้อยลง อาหารประเภทสไปซี่ฟู้ดจึงเป็นที่นิยมในหมู่นักบิน

ส่วน Miss Vickie Kloeris นักวิทยาศาสตร์การอาหารที่เคยทำงานในห้องวิจัยของ NASA มานานกว่า 34 ปี และเป็นผู้จัดการระบบอาหารสำหรับเที่ยวบินแรกสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) กล่าวว่า อาหารที่จะถูกส่งขึ้นไปกับนักบินอวกาศนั้น ต้องครบถ้วนทั้งด้านความปลอดภัยและโภชนาการ โดยมีเกณฑ์กำหนดจาก NASA ที่เข้มงวดมากกว่าอาหารที่ขายทั่วไป เพราะในอวกาศเป็นสถานที่ห่างไกลโรงพยาบาลและหมอมากที่สุด นักบินอวกาศจึงต้องปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนให้ได้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องได้รับสารอาหารที่เหมาะสมอย่างครอบคลุมตรงตามความต้องการของร่างกายของนักบินแต่ละบุคคล สำหรับโครงการ Thai food – Mission to Space นั้น จากการที่ได้ไปดูงานวิจัยที่ห้องแล็บและวิธีการเลี้ยงไก่ของ CPF ทำให้รู้สึกประทับใจในมาตรฐานการผลิตเนื้อสัตว์ที่สูงมากของไทย ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าเนื้อไก่ ซีพี นั้นปลอดสารปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ สารเคมีตกค้างและเชื้อโรคปนเปื้อน ที่จะสามารถพิชิตมาตรฐานอวกาศ ตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยในระดับที่ NASA กำหนด และแน่นอนว่าอาหารไทยขึ้นชื่อเรื่องความอร่อยติดอันดับโลก หากมีการส่งไก่จากไทยในเมนูแบบไทยขึ้นไปบนสถานีอวกาศเป็นครั้งแรกนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีของนักบินอวกาศบนนั้นแน่นอน

ทั้งนี้ ซีพีเอฟได้รับมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยด้านอาหารระดับนานาชาติสูงสุดถึง 6 มาตรฐาน โดยล่าสุด ยังเป็นบริษัทรายแรกในอาเซียนที่มีมาตรฐานการผลิตอาหารของตนเอง (CPF Food standard; PS 7818: 2018) โดยการสนับสนุนจาก BSI หรือสถาบันมาตรฐานอังกฤษ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เกิดจากการบูรณาการมาตรฐานสากลหลายๆ มาตรฐานเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย HACCP(CODEX), ISO 9001, ISO 22000 รวมถึง กฎระเบียบภายในและต่างประเทศ ตลอดจนมาตรฐานความปลอดภัยอาหารของสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งอังกฤษ (BRC) การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี (GHP) ระบบการจัดการสวัสดิภาพสัตว์เพื่อส่งออก และสามารถตรวจสอบย้อนกลับตลอดห่วงโซ่การผลิตได้ 100% ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ขณะที่มาตรฐานอวกาศ จะต้องผ่านกระบวนการตรวจเชื้อโรค สารตกค้าง ความปลอดภัย และคุณภาพด้านอาหารต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ของ Space Food Lab ซึ่งมีการตรวจสอบมากกว่า 40 การตรวจสอบ

ที่มา: pr@cpf.co.th

ก.เกษตรฯ –กรมปศุสัตว์ – ซีพีเอฟ ร่วมปล่อย “เป็ดแปรรูป” ตู้ปฐมฤกษ์ ของไทยไปออสเตรเลีย
ตอกย้ำความมั่นใจในมาตรฐานสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลก

Continue reading “ก.เกษตรฯ –กรมปศุสัตว์ – ซีพีเอฟ ร่วมปล่อย “เป็ดแปรรูป” ตู้ปฐมฤกษ์ ของไทยไปออสเตรเลีย
ตอกย้ำความมั่นใจในมาตรฐานสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลก”