Brainstorming for 20 Year National Food Industry Plan

ระดมสมองโค้งสุดท้ายผลักดันแผนอุตสาหกรรมอาหารแห่งชาติ 20 ปี

โดย: สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม
The National Food Institute, The Minister of Industry

Full article TH-EN

กระทรวงอุตสาหกรรม ผนึกภาครัฐ-เอกชนกว่า 40 หน่วยงาน จัดเวทีระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิทุกภาคส่วน เร่งทำแผนการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560 – 2579) โดยสถาบันอาหาร ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานแกนกลางประสานและสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการต่างๆ และได้ดำเนินการจัดทำนโยบายและแผนการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560 – 2579) เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะรัฐมนตรี ภายใต้ความเชื่อมโยงของแผนพัฒนาและแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง ตลอดจนประเด็นหลักที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศใน 20 ปีข้างหน้า

เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารในส่วนของกิจกรรมกลางน้ำเป็นสำคัญ และชี้นำแนวทางการพัฒนาในอนาคตที่ควรให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง การจัดทำแผนดังกล่าวจึงเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนในหลายรูปแบบ อาทิ การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานปฏิบัติ หน่วยสนับสนุน หน่วยนโยบาย การประชุมเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) และการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการในระดับประเทศและระดับพื้นที่ พร้อมได้อัญเชิญ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาควบคู่ไปกับอนาคตของประเทศที่กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประชารัฐร่วมใจ ประเทศไทยเป็นครัวของโลก”

Thai Ministry of Industry encompassed public – private of more than 40 relevant agencies for a brainstorming forum to deliberate ideas for the drafting of the first National Food Industry Promotion and Development Plan (AD 2560-2579). The National Food Institute heretofore acts as a central coordinating and supporting the work of the various committees. The Institute has been preparing the first National Food Industry Promotion and Development Plan which to be forwarded to the attention of the Minister of Industry and the Cabinet. The plan has been prepared in line with the relevant national plan and development policies such as the National Economic and Social Development Plan, Ministry’s Strategic Plans, as well as the significant issues expecting to be an impact on the country development over the next 20 years.

In order to solve the problems of mainly the midstream food industry and to provide guidelines for future developments which should be focused continuously. The opportunity is open for various sectors to take part in the planning process in many ways, such as interviewing stakeholders, experts, operations, supporting and policy divisions, including Focus Group meeting and running brainstorming ideas on the problems and needs nationally and locally. By adhering the Royal initiative, the “Sufficiency Economy philosophy” is a model for the development, along with the future of the country according to its vision statement “A Confederate State-Civil Society Thailand Becomes the Kitchen of the World”

Leveraging Thai SMEs to Penetrate Indonesia Market The Treasure of Halal Market

ยกระดับ SMEs ไทย ฝ่าด่านอินโดนีเซีย ขุมทรัพย์ตลาดสินค้าฮาลาล

โดย: สำนักพัฒนาตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชีย
ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทยในอาเซียน
Office of AEC and Asian Trade Development
AEC Business Support Center

Full article TH-EN

เป็นที่ทราบกันดีว่าในอาเซียนนั้นมีประชากรมุสลิมอยู่ประมาณ 400 ล้านคน และกว่า 3 ใน 4 ส่วนหรือประมาณ 251 ล้านคน เป็นประชากรจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีฐานประชากรมุสลิมมากที่สุดในอาเซียนและมากที่สุดในโลก ไม่เพียงเท่านี้ อินโดนีเซียยังมีความน่าพิสมัยประการหนึ่งโดยเมื่อแง้มประตูเข้าสู่กรุงจาการ์ตาก็จะพบทำเลที่ตั้งเชิงกลยุทธ์เป็นชายฝั่งตะวันตกของเกาะชวากับหมู่เกาะน้อยใหญ่ทั้ง 17,000 เกาะ เป็นขุมทรัพย์ที่ผู้ประกอบการต้องการจะเข้ามาเจาะตลาดสินค้าฮาลาลสักครั้งกันทุกคนโดยสภาพเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในปี 2558 แม้ด้านการส่งออกจะลดลงเนื่องจากต้องประสบกับปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และผลจากความต้องการสินค้าของประเทศเป้าหมายลดลงรวมถึงกระแสของสินค้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักปรับราคาลดลงต่อเนื่องแต่กลับกันสำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจอินโดนีเซียปี 2559 นั้นมีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากรัฐบาลอินโดนีเซียพยายามออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ (Economic Stimulus Packages) อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นชุดที่ 6 แล้ว

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 6
สาระสำคัญของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 6 นั้น จะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นภาษีสำหรับการลงทุนในอินโดนีเซียในเขตเศรษฐกิจพิเศษและนักลงทุนสามารถลดหย่อนภาษีได้ประมาณร้อยละ 20-100 นานถึง 25 ปี ซึ่งการลดหย่อนภาษีนี้จะช่วยดึงดูดนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมของประเทศได้เป็นอย่างดี
นักลงทุนต่างชาติยังได้รับอนุญาตให้มีอสังหาริมทรัพย์เป็นของตนเองในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และสามารถนำเข้าวัตถุดิบได้โดยไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่มีข้อจำกัดว่านักลงทุนนั้นต้องลงทุนอย่างต่ำ 500 พันล้านรูเปีย หรือประมาณ 37 ล้านเหรียญสหรัฐ และมูลค่าในการลงทุนนี้จะทำให้สามารถลดหย่อนภาษีได้ 15 ปี และถ้าลงทุน 1 ล้านล้านรูเปีย จะสามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 25 ปี อินโดนีเซียมีความชัดเจนว่าธุรกิจต่างชาติที่ใช้สิทธิประโยชน์จากอัตราภาษีข้างต้นจะต้องเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นอกจากนี้ สินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตในเขตเศรษฐกิจพิเศษจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อขายสินค้าในตลาดภายในประเทศ รวมถึงธุรกิจการท่องเที่ยว ร้านอาหาร และบันเทิงที่ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้จะได้รับการลดหย่อนภาษีการบันเทิงประมาณร้อยละ 50-100

It is well known that there are approximately 400 million Muslim population in ASEAN, and three-fourth of the number, around 251 million, are Indonesian. Indonesia, both in ASEAN and global level, has the largest Muslim population. Indonesia also has the secret admiration point, as when you reach the country’s capital, Jakarta, you would realize that you were standing on a strategic point connecting West Java coast to over 17,000 islands. The city is indeed the treasure for every enterprises who wish to penetrate Halal market. The economy of Indonesia in 2015 was facing with decreasing exports due to the stagnating global economy and diving demand from trade partners. Moreover, the country’s main export product, coal and natural gas, had faced with declining commodity price. However, the outlook for 2016 appears that the Indonesian economy should improve after the government launched various economic stimulus packages continuously, and until now, the 6th package has been installed.

Indonesia’s 6th Stimulus Package
The main purpose of the 6th stimulus package involves tax incentives to encourage investment in Indonesia’s Special Economic Zones (SEZs). Investors can apply for up to 20-100% tax deduction for 25 years. It is expected that the incentives should attract investors in industrial sector to Indonesia. Foreign investors are allowed to own property in the SEZs and can import raw material with the exemption of Value Added Tax (VAT). However, the condition is that the investor must invest in Indonesia for no less than 500 billion rupiah, or around 37 million USD, to be qualified for the tax incentive for 15 years. And if the investment capital reaches 1 trillion rupiah, the investor is qualified for a tax deduction incentive for 25 years. The government has also stated clearly that it favors large industry. Industrial goods produced in the SEZs shall be exempt from VAT when the products are sold for domestic market. Moreover, tourism businesses, restaurants, and entertainment businesses based in the SEZs would also be qualified for entertainment tax deduction for up to 50-100%.