Southeast Asia’s F&B Industry: Thriving or Dying?

สถานการณ์ของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: รุ่ง? หรือ ร่วง?

โดย: Mathias Kuepper
Managing Director
Koelnmesse Pte. Ltd.

Full article TH-EN

จากบทความฉบับล่าสุดโดย World Economic Forum for ASEAN ได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2593 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่กว่า 600 ล้านคน จะมีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ส่งผลให้มีการส่งออกระดับภูมิภาคเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 15 และเกิดการจ้างงานด้านเกษตรกรรมมากกว่า 4.5 ล้านรายการภายในปี 2568 การขยายตัวดังกล่าวนี้กำลังนำผลประโยชน์มหาศาลมาสู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในไม่ช้า และขณะเดียวกันก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างเอาจริงเอาจังรวมถึงผลที่อาจเกิดขึ้นกับระบบการจัดหาอาหารในระดับภูมิภาคได้

จากรายงายนี้ชวนให้สงสัยว่าสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจนั้นจะยังคงรองรับกับสถานการณ์ดังกล่าวได้อีกนานเท่าใดเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ดังนั้น ผู้ผลิตอาหารทั่วโลกและทั้งภูมิภาคควรจะต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพให้ดีขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและยกระดับเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร ซึ่งไม่เพียงต้องใช้เวลานานแต่ยังต้องมีการลงทุนอย่างมีศักยภาพด้วยเช่นกัน เพื่อให้ตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืน แต่หากยังไม่มีการจัดการในเรื่องเหล่านี้ก็อาจจะเกิดภัยคุกคามด้านความมั่นคงทางอาหารในอนาคตได้

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มก่อให้เกิดความตึงเครียดด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไร?
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในภูมิภาคขนาดใหญ่ที่ประสบความสำเร็จและมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากที่สุด คาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้านั้นจะมีจำนวนประชากรชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้นกลายเป็นกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ หรือมีขนาดเป็นสองเท่าประมาณ 400 ล้านคนภายในปี 2560 ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสิงคโปร์คาดการณ์ว่าประชากรกลุ่มนี้อาจจะมีมากถึงร้อยละ 60 ของภูมิภาคเลยทีเดียว

In a recent article released by the World Economic Forum on ASEAN, Southeast Asia, home to more than 600 million people, is expected to see food demand increase by as much as 40% by 2050, increasing the region’s exports by 15% and creating up to 4.5 million new agriculture jobs by 2025. While this brings numerous short-term benefits to the region’s developing economies, it will undeniably place heavy strains on the environment and the regional food supply system.

This begs the question – how long can the environment and economy hold out to meet our needs? In order to sustainably meet these challenges, food producers around the world and in the region would have to improve physical infrastructures, leverage technologies and upgrade farming techniques which are not only time-consuming but potentially costly as well. Yet without it, the future of our food security would be further threatened.

How are evolving patterns of F&B consumption putting strains on the environment?
Southeast Asia is increasingly being acknowledged as one of the most successful and economic super-region in the world. As we continue our rapid expansion into the next five years, a huge middle class will emerge – more than double in size to exceed 400 million by 2020. The Economic Development Board of Singapore forecasts that this demographic will make up 60% of the region’s population.

Thailand to be Processed Food Manufacturing Hub Thai-Japanese Business Matching to Boost Exports to ASEAN, India, and the Middle East

ปั้นไทยเป็นฐานผลิตสินค้าอาหารแปรรูป
จับคู่ธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น บูมตลาดส่งออกอาเซียน อินเดีย และตะวันออกกลาง

โดย: กองบรรณาธิการ
Editorial Team
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ผนึกองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือเจโทร กรุงเทพฯ ทำบันทึกแสดงเจตจำนง (Memorandum of Intent; MOI) เริ่มต้นความร่วมมือในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารของไทยและญี่ปุ่น ครอบคลุมการนำเข้า-ส่งออก การร่วมทุน การให้คำปรึกษา การจับคู่ธุรกิจ และการขยายกิจการของผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น ชูกลยุทธ์หลักด้วย “Food Value Chain” หวังผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าอาหารแปรรูปที่มีคุณภาพ พุ่งเป้าการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน อินเดีย และตะวันออกกลางในอนาคต

คุณยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การลงนามในบันทึกแสดงเจตจำนงกับเจโทรครั้งนี้ เพื่อความชัดเจนของกลุ่มเป้าหมายการให้บริการที่กว้างขวางขึ้น ได้แก่ ผู้ผลิตสินค้าอาหารของไทยและญี่ปุ่นที่ต่างต้องการส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่นหรือประเทศไทย หรือต้องการร่วมลงทุนเป็นพันธมิตรกับบริษัทท้องถิ่นของแต่ละประเทศ หรือต้องการขยายธุรกิจในญี่ปุ่นหรือประเทศไทย รวมถึงต้องการนำสินค้าอาหารส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตอีกด้วย แบ่งเป็นการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว 2 ด้านด้วยกัน คือ 1) ด้านการให้บริการข้อมูลและคำปรึกษา อาทิ ข้อมูล กฎ ระเบียบ มาตรฐานสินค้าอาหาร ขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออก ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยอาหารและมาตรการใหม่ๆ ข้อมูลด้านการตลาดและแนวโน้ม และการตรวจสอบสินค้าอาหารโดยห้องปฏิบัติการทดสอบ เป็นต้น 2) ด้านการจัดสัมมนาเชิงวิชาการในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ รวมถึงการจับคู่ธุรกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น

อนึ่ง ในปี 2559 ไทยส่งออกสินค้าอาหารไปญี่ปุ่นคิดเป็นมูลค่าราว 1.32 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ของไทย รองจากกลุ่มประเทศอาเซียน สินค้าหลักที่สามารถเติบโตได้ดี อาทิ ไก่ กุ้ง ทูน่ากระป๋อง อาหารพร้อมรับประทาน และสับปะรดกระป๋อง เป็นต้น สำหรับในไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นด้วยมูลค่า 33,064 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.4

The National Food Institute (NFI), Ministry of Industry, and Japan External Trade Organization (JETRO), Bangkok, jointly sign a Memorandum of Intent (MOI) as an initial collaborative effort to stimulate Thai-Japanese food industry. The MOI covers imports, exports, joint ventures, consultancy, business matching, and Thai-Japanese business expansion. Highlighted is the main “Food Value Chain” strategy, with an aim to turn Thailand into an efficient manufacturing hub for processed food to be exported to ASEAN countries, India, and the Middle East.

Mr.Yongvut Saovapruk, President of the National Food Institute, Ministry of Industry, says the MOI is aimed to serve clearer target groups such as Thai-Japanese food manufacturers that mutually need to import and export their products, overseas companies planning to establish joint venture projects with local partners, those aiming for business expansion in Thailand or Japan, and food exporters targeting other countries while relying on Thailand as a production hub. The services are classified into 2 categories: 1) Data and consultancy services providing information regarding rules, regulations, food standards, import-export procedures, food safety regulations, new measures, trend and marketing information, and lab-based food analysis 2) Organization of academic seminars addressing food business issues to boost up the potential of entrepreneurs and to facilitate Thai-Japanese business matching.

In 2016, Thailand’s total food export to Japan increased by 8%YoY to THB 132 billion, with Japan as the country’s second biggest export market after ASEAN. Top performing products included chicken, shrimps, canned tuna, ready-to-eat food, and canned pineapple. In the first quarter of 2017, Thailand grossed THB 33,064 million in food export to Japan, expanding by 8.4%.

TIP Report 2017 Thailand’s Tier 2 Watch List Status Unchanged Limited Impact, Fishery Still Rising

TIP Report 2017
คงสถานะไทยที่ระดับ Tier 2 Watch List
ผลกระทบอยู่ในวงจำกัด ส่งออกประมงไทยยังขยายตัวได้

Full article TH-EN

กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา คงสถานะไทยในระดับ Tier 2 Watch List ต่อเนื่องจาก ปี 2559 ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ 2560 (TIP Report 2017) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา หลังจากพิจารณาแล้วพบว่าไทยยังไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่เพิ่มขึ้น ในการแก้ปัญหาด้านแรงงาน

ผลจากการปรับเพิ่มสถานะของไทยจาก Tier 3 ขึ้นเป็น Tier 2 Watch List ในปี 2559 นั้น ส่งผล ทางตรงต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นในสินค้า ส่งออกของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ประมง (หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ถูกจับตาในประเด็นปัญหาด้านแรงงาน) และเป็นแรงหนุนทางอ้อมร่วมกับปัจจัยบวกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จ ในการแก้ปัญหาโรคตายด่วนในกุ้ง (EMS) และการ-เพิ่มขึ้นของอุปทานปลาทูน่าโลกอันเกิดจากการเพิ่มจำนวนเรือของประเทศแหล่งจับปลาและการเข้าไปลงทุนของผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยในประเทศที่เป็นแหล่งวัตถุดิบ ซึ่งส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงของไทยในปี 2559 กลับมาขยายตัวเป็นบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงของไทยในปี 2560 ไปยังสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้าประมงอันดับ 1 ของไทยจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องเป็น ปีที่ 2 ด้วยอานิสงส์จากการฟื้นตัวของการผลิต สินค้าส่งออกหลักทั้งกุ้งและทูน่ากระป๋อง และ ผลทางภาพลักษณ์จากสถานการณ์ด้านแรงงาน ที่ไม่ได้ด้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา จากการที่สหรัฐ-อเมริกาคงสถานะของไทยในระดับ Tier 2 Watch List ต่อเนื่องเป็นปีที่สองติดต่อกัน เนื่องจากการจัดสถานะใน TIP Report ของสหรัฐอเมริกาไม่ได้มี การกำหนดมาตรการแทรกแซงทางการค้าไว้ ดังนั้น ผลจากการจัดสถานะดังกล่าวน่าจะมีผลกระทบ ทางตรงต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทยจำกัด นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนทางด้านฤดูกาลจากการที่ผลผลิตกุ้งจะเริ่มออกสู่ตลาดจำนวนมากในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนเป็นต้นไป ทำให้คาดว่าในปี 2560 การส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงของไทย ไปยังสหรัฐอเมริกาจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0-5.0 ด้วยมูลค่าประมาณ 1,417-1,445 ล้านเหรียญสหรัฐ และหนุนให้การส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงของไทยในภาพรวมสำหรับปี 2560 มีการขยายตัวที่ร้อยละ 2.5-4.0 ด้วยมูลค่าประมาณ 5,790-5,875 ล้านเหรียญสหรัฐ

The US Department of State maintained Thailand’s Tier 2 Watch List placement in their 2017 Trafficking in Persons (TIP) Report released on June 27th because findings showed that Thailand had made little progress in addressing labor issues in the fishery industry.

In 2016, The Thai fishery industry resumed growth for the first time in four years, thanks to a number of factors. Among them were Thailand’s upgraded status to Tier 2 Watch List, from Tier 3, which directly helped improve our image and confidence toward Thai exports, in particular, fishery products (one of Thai products that have been closely monitored due specifically to certain labor issues). Other factors included our success in tackling the shrimp EMS disease outbreak, increased tuna supplies globally after leading countries in marine fishery bolstered the size of their fishing fleets and because of major Thai investments into countries with abundant fishery resources.

In 2017, KResearch believes that Thailand’s fishery product exports to the US – our largest fishery product export market – will grow for the second year, supported by a recovery in our shrimp and canned tuna exports, and the fact that labor issues in the Thai fishery industry have not worsened since 2016, given our status at Tier 2 Watch List. Since the TIP Report does not in itself involve any trade intervention, any direct impact on Thai fishery product exports should be minimal. As more Thai shrimp supplies will enter the market from May to June, it is expected that Thai fishery product exports to the US will have grown 3.0-5.0% to some USD 1.417-1.445 billion in 2017, which would bring our full-year fishery product export growth to 2.5-4.0% to around USD 5.790-5.875 billion.

Clean Label Starch Solution for Bakery: Steamed Cake

ดร.จุฑารัตน์ โกวิทยา
Chutarat Kowittaya, Ph.D.
Assistant Food InnovationManager
chutarat@smscor.com

คุณภุมริน หอมทอง
Poomarin Homtong
Assistant Food Innovation Manager
poomarin@smscor.com
SMS Corporation

Full article TH-EN

ในยุคที่เศรษฐกิจขยายตัว ผู้คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เร่งรีบขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะที่มีการแข่งขันสูง จึงมีเวลาในการจัดเตรียมและรับประทานอาหารน้อยลง ฉะนั้นอาหารที่สะดวกพร้อมรับประทาน อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ในบรรจุภัณฑ์จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ เนื่องจากตอบโจทย์ด้านความสะดวก (Convenience) อาทิเช่น รับประทานได้ง่าย พกพาสะดวก และหาซื้อง่าย ด้วยปัจจัยเชิงบวกนี้ จึงส่งผลให้ธุรกิจเบเกอรี่เติบโตขึ้นทุกปีและยังมีแนวโน้มเติบโตต่อไปอีก ในภาวะที่มีการแข่งขันสูง สิ่งสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการให้โตขึ้น คือ การพัฒนาสินค้าให้มีจุดเด่นทั้งด้านความสะดวกและด้านสุขภาพ ควบคู่กับการปรับสินค้าให้มีรูปแบบที่แปลกใหม่ แต่ยังคงมีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่ดี \

Steamed Cake เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคนี้ได้เป็นอย่างดี จนได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศจีนและญี่ปุ่น มีจุดเด่น คือ ใช้การนึ่งแทนการอบ จึงดีต่อสุขภาพเหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้าหรือเป็นอาหารว่างรองท้อง Steamed cake มีลักษณะคล้าย Sponge cake แต่มีเนื้อแน่น (Dense) นุ่ม (Soft) และยืดหยุ่น (Elastic) กว่า หัวใจสำคัญที่ช่วยให้ Steamed cake มีเนื้อสัมผัสที่ดีถูกใจผู้บริโภค คือ แป้งดัดแปร (Modified starch) และวัตถุเจือปนอาหาร (Food additive)

แต่ในปัจจุบัน กระแส Clean Label Food กำลังมาแรงจนทำให้ผู้ประกอบการต้องหันมาปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่เริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพและให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารการกินที่ปลอดภัยกันมากขึ้น ผู้บริโภคเชื่อว่าอาหารที่ติดฉลาก Clean label ปลอดภัย มีคุณภาพสูง และดีต่อสุขภาพ เนื่องจากใช้ส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติที่ผู้บริโภคคุ้นเคยในการผลิต ปราศจากสารเคมีและสารสังเคราะห์ จึงเป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่จะต้องปรับสูตรสินค้าให้ปลอดสารปรุงแต่ง (Additive free) หรือปราศจากวัตถุเจือปนอาหารที่มีเลข E-number โดยที่คุณภาพของสินค้ายังคงเดิม

In an economic expansion era, most people are forced to speed up their lifestyle to match with highly competitive society. Many people have less time to prepare and eat food. Therefore, ready-to-eat meal such as bakery products in packages present as new opportunities for entrepreneurs, because of the convenience it offers e.g. easy to eat, easy to carry, and easy to find. With these positive factors, bakery industry growth surges years after years and will continue to grow. In a highly competitive environment, the key to boost sales for entrepreneurs is to develop products that offer convenience and health qualities, along with modifying the look of the products to be outstanding, with good taste and delicate texture at the same time.

Steamed Cake is another bakery product that answers to the demand of consumers these days. The cake receives great feedback in China and Japan. Its main feature is that instead of being baked, it is steamed! This distinctive characteristic makes the cake good for consumers in all ages and suitable to be eaten for breakfast and coffee-break snack. Steam cake is rather similar to sponge cake, dense, soft, and elastic, but the heart of its charm lies on modified starch and food additives.

But nowadays, Clean Label Food trend is so strong that many entrepreneurs need to readjust their marketing strategy following many consumers who are turning to healthier and safer eating habits. Consumers believe that food with clean label is safe, high quality, healthy, uses natural ingredients familiar to them and lacks chemicals and synthetic substances. This poses as a challenge for bakery entrepreneurs who need to adjust their recipes to be free from food additives or substances listed with e-number, while retain the products’ quality.

Clean Label Struggle: Natural Colors in Beverage

 

สีจากธรรมชาติ…เทรนด์สู่ฉลากสะอาดในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม

By: Judy Ng
Senior Application Technologist
SGP NCD RAC

Translated by: รอชื่อภาษาไทย
Monrarm Intarasiri
Business Development Manager
AS Sales, NCD TH

อิทธิพลของเทรนด์ฉลากสะอาด (Clean label) นั้นเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่แสดงฉลากสะอาดกำลังเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอาหารจึงจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันต่อเทรนด์ดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังมีความสนใจเกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น เริ่มจากการหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ไปจนถึงการสรรหาอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จะเห็นได้ว่ารูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปประกอบกับความใส่ใจในการเลือกบริโภคที่มากขึ้นนั้นส่งผลต่อการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง

จากการรายงานโดย Mintel ในปี 2559 พบว่าร้อยละ 32 ของผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มอัดก๊าซมีความกังวลเกี่ยวกับส่วนผสมสังเคราะห์ในเครื่องดื่ม และร้อยละ 20 ให้ความเห็นว่าเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมอาหารจากธรรมชาติจะทำให้พวกเขาตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2563 ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่แสดงฉลากสะอาดจะมีมูลค่าเพิ่มสูงถึง 180 พันล้านเหรียญสหรัฐ

สีผสมอาหาร: วิวัฒนาการแห่งการยอมรับ
เนื่องจากผู้ผลิตเริ่มที่จะพัฒนาสูตรอาหารให้สามารถแสดงฉลากสะอาดได้เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และวัตถุดิบอาหารชนิดแรกที่ผู้ผลิตมักเริ่มที่จะเปลี่ยนเพื่อให้ได้ฉลากสะอาด คือ สีผสมอาหาร

สีผสมอาหารถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยช่วยให้อาหารและเครื่องดื่มเหล่านั้นมีความสวยงามน่าดึงดูด สีสันสดใสใกล้เคียงธรรมชาติ และเพื่อทดแทนสีที่สูญเสียไปในกระบวนการผลิตอาหาร นอกจากนี้ สีสันที่สวยงามยังเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าด้วย ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์การอาหารจึงใช้ทั้งสีธรรมชาติและสีสังเคราะห์ในการให้สีกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม

ที่ผ่านมา สีสังเคราะห์นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตอาหาร เนื่องจากสีสังเคราะห์มักจะไม่ได้รับผลกระทบจากกระบวนการผลิตหรือจากส่วนผสมอื่นๆ และสีที่ได้นั้นจะเป็นไปตามที่ผู้ผลิตต้องการให้เกิดความโดดเด่นและดึงดูดสายตาผู้บริโภคตลอดอายุการเก็บรักษา เนื่องจากการรักษาคุณภาพของสินค้านั้นคือหัวใจสำคัญของผู้ผลิตอาหารในการรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์และความซื่อสัตย์ที่มีต่อผู้บริโภค

เมื่อผลิตภัณฑ์ที่แสดงฉลากสะอาดได้รับกระแสตอบรับที่ดีมากขึ้น ก็จะเห็นว่ามีการเลิกใช้สีสังเคราะห์และความต้องการใช้สีจากธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นแทน โดยเฉพาะสีที่ผลิตมาจากผักและผลไม้ซึ่งผ่านขั้นตอนที่น้อยที่สุด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นธรรมชาติ และมีความเป็นฉลากสะอาดมากกว่าเดิม

The influence of the clean label movement has been felt by almost every facet of the industrial food industry, and the beverage segment is no exception. The demand for clean label beverage alternatives only continues to grow and manufacturers have to evolve. Consumer concerns have expanded from avoiding known allergens to seeking out foods and beverages believed to promote healthier lifestyles. This massive shift in priorities is redefining the food and beverage industry.

In 2016, Mintel found of consumers who drink carbonated soft drinks and/or sparkling beverages 32% were concerned about artificial ingredients and 20% stated the use of all-natural ingredients greatly influenced their purchase selection. It is estimated that by 2020 global sales of clean label food and beverage products could reach $180 billion.

Colorants: An Evolution of Perception
As manufacturers begin to reformulate to meet the clean label needs of their consumer base, certain fundamental issues must be addressed — one such area is colorants.

Colors are widely used in the food and beverage industries to make food and beverage products more appealing, correct natural variations in colors, and replace color lost in processing. Color is often the major contributor in purchasing decisions made by consumers. Food scientists will use an array of products to achieve the desired color attributes for a specific food or beverage item- ranging from natural to artificial.

Previously, artificial colors have been easy to use and are in general not affected by other ingredients or production processes. Beverage producers want their product to be attractive throughout the entire shelf-life. Consistency is key for food companies to maintain their brand image and integrity.

While the clean label base has grown, we are also seeing the push to move away from artificial colors. Coloring agents of natural origin (which are minimally processed and products of fruit or vegetable juice) are in high demand. These alternatives are considered “natural” or “cleaner” than their chemical and artificial counter parts.

Clean Label in Processed Meat & Poultry Products

ความท้าทายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปภายใต้เทรนด์ “คลีนลาเบล”

โดย: Yung-Cheng Chang
Veos Group
IPS.TSQA@gmail.com

Full article TH-EN

ปัจจุบันการแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหารมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องมาจากความระมัดระวังและความเอาใจใส่เกี่ยวกับอาหารที่เพิ่มมากขึ้นของผู้บริโภค การผลิตอาหารภายใต้แนวคิดคลีนลาเบล (Clean label) ได้กลายเป็นงานสำคัญสำหรับผู้ผลิต โดยทั่วไปคลีนลาเบลให้ความหมายในเชิงของความชัดเจน การปราศจากวัตถุเจือปน และสามารถเข้าใจได้ง่ายของฉลากอาหาร หรืออาจหมายรวมถึงผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ไม่มีการแต่งเติมสารสังเคราะห์หรือเคมีใดๆ ดังนั้น ความท้าทายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่ใช่เพียงแค่นำสารสังเคราะห์เช่นวัตถุกันเสียหรือวัตถุแต่งกลิ่นรสออกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการนำส่วนประกอบใดๆ ที่มีเลขรหัสวัตถุเจือปนอาหาร (E-number) เช่น สีผสมอาหาร สารให้ความคงตัว อิมัลซิไฟเออร์ หรือสารปรับปรุงเนื้อสัมผัสออกด้วย

จากข้อมูลโดย Zion Market research รายงานว่ามูลค่าทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปในปี 2016 ที่ผ่านมามีมูลค่ารวมถึง 714 พันล้านเหรียญสหรัฐ และบทความเรื่อง Meat and Poultry: US Retail Market Trends and Opportunities ซึ่งได้ตีพิพม์ใน Packaged Facts, Rockville, Md ยังได้รายงานว่าผู้ผลิตเนื้อและสัตว์ปีกแปรรูปต่างตื่นตัวและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในเรื่องของคลีนลาเบล โดยการจัดหาผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่เป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ผลิตภัณฑ์ที่มีลดการใช้สารกันสีย หรือวัตถุเจือปน หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารเลย “ผู้บริโภคต่างมองหาผลิตภัณฑ์คลีนลาเบลซึ่งบนฉลากอาหารจะปราศจากข้อมูลวัตถุเจือปนอาหาร” David Sprinkle ผู้อำนวยการวิจัย Packaged Facts กล่าว

เป็นที่ทราบกันดีว่าโปรตีนเป็นแหล่งของสารอาหาร และมีคุณสมบัติเชิงหน้าที่จากธรรมชาติ โดยคุณสมบัติเชิงหน้าที่ดังกล่าวนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของโปรตีนที่จะนำมาใช้ โปรตีนจากเนื้อสัตว์สามรถเข้ากันได้ดีกับส่วนผสมที่ใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ทั้งในด้านของสี กลิ่น และการช่วยปรับปรุงเนื้อสัมผัส อีกทั้งยังปราศจาก E-number สารก่อภูมิแพ้ และสารที่ได้จากการตัดแต่งทางพันธุกรรม

The processing food industry has been put to a challenge since the increasing consumer awareness of the food product. The term “Clean label” therefore become an important task nowadays for the food manufacturers to achieve. The clean label in generous is a sense of clear, clean and understandable declaration of processed food product. It may also stand for natural product without artificial ingredients or chemicals. The challenge of formulation not only is to take out the artificial preservatives or flavors, also to remove the ingredients with E-number that helps for coloring, stabilizing, emulsifying, texturizing and so on.

Processed meat industry with an economic value of USD 714 billion in 2016 (Zion Market research). According to Meat and Poultry: US Retail Market Trends and Opportunities, a recently published report from Packaged Facts, Rockville, Md., meat and poultry processors are responding to consumer demands for clean label products by providing more organic options and products with fewer additives or preservatives or none at all. “Consumers are looking for products with clean labels that provide the free-from information,” said David Sprinkle, research director for Packaged Facts.

Protein has long been recognized by its nutritional and functional benefit. Depending on the physical function of the kinds of protein, they help to provide the benefit that processed meat manufactures are looking for. One of the best known natural protein sources is the meat itself. The meat protein is the closest protein ingredient to meat in terms of amino acid profile, and the texture, color as well as flavor that it can provide. Meat proteins have NO E-number, they are natural, allergen free and GMO free.

Clean label starches and flakes

ผลิตภัณฑ์สตาร์ชและมันฝรั่งเกล็ดที่เป็นมิตรต่อฉลาก

โดย: เกอร์เบน เมอร์ซิ่ง
Gerben Meursing
Managing Director
Emsland Asia Food Innovation Corp., Ltd.
info@emsland-group.de

Full article TH-EN

แนวโน้มของผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้วัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค จากข้อมูลการวิจัยตลาดของบริษัทอินโนวามาร์เก็ตอินไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ 10 เทรนด์ของอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และสารอาหารต่างๆ ในระดับโลก พบว่าในปี 2558 เรื่อง ‘’From clean to clear label’’ เป็นเทรนด์ที่ติดอยู่ใน 10 อันดับจากการวิจัยตลาดดังกล่าว ซึ่งหมายถึงการแสดงรายละเอียดในฉลากที่ชัดเจน ไม่มีสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ ไม่มีสารตัดต่อทางพันธุกรรม และมีส่วนประกอบที่มาจากธรรมชาติ และกระแสความนิยมในด้านนี้ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในปี 2559 โดยอยู่ในหัวข้อ ‘’Free from All’’ โดยทางบริษัทอินโนวามาร์เก็ตอินไซต์ยังได้กล่าวเพิ่มเติมไว้ว่า การบริโภคอาหารที่มาจากธรรมชาติเป็นกระแสที่จะนำเรากลับไปสู่ความเป็นธรรมชาติ
สืบเนื่องจากความต้องการอาหารที่ปราศจากวัตถุเจือปนในอาหารนั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ ความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณสมบัติและหน้าที่ของสตาร์ชและมันฝรั่งเกล็ด (Flakes) ด้วยกระบวนการผลิตทางกายภาพ ที่เป็นมิตรต่อฉลากและสามารถประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารได้หลากหลายจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนผสมอาหารนวัตกรรมกลุ่มนี้ได้ถูกปล่อยสุ่ตลาดและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

ในอุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์สตาร์ชและมันฝรั่งเกล็ดแบบที่เป็นมิตรต่อฉลาก ถูกนำไปใช้อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการทำหน้าที่ด้านความข้นหนืด ปรับปรุงเนื้อสัมผัสให้คงที่ อีกทั้งยังมีความคงทนในกระบวนการผลิต ซึ่งจากคุณสมบัติที่กล่าวมานั้นถือเป็นลักษณะปรากฏที่ดีของผลิตภัณฑ์อาหาร
นอกจากนี้แล้วการใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสตาร์ชและมันฝรั่งเกล็ดแบบที่เป็นมิตรต่อฉลาก1ยังช่วยให้นักวิจัยและพัฒนาสามารถคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเหมือนกันกับการใช้แป้งดัดแปร

The trend for label-friendly products continues to grow and is playing an increasing role in the purchase decisions of consumers. The market research company Innova Market Insight releases every year the Top Ten Trends for global food, beverage and nutrition industry. In 2015 the top trend was „From Clean to Clear Label” which means transparency in labelling, non-allergen, non-GMO and using ingredients like our “grandmothers” used in the kitchen. This trend is continuing in 2016 and is extended by the trend „Free from All“ Innova Market Insight stated that, The “clean eating” trend is inspiring a back to basics approach.”

Due to the growing demand for food that is free of additives, works on the development of functional native starches with application-friendly properties has been intensively conducted.

In the food industry, clean label starches and flakes are used in many foodstuffs in which they have a positive effect on a variety of functions such as thickening behavior, texture as well as stability tolerance and process tolerance. This guarantees an excellent appearance of food.
Using clean label starches and potato flakes1 allows developer creating food products with similar quality than using modified starches.

Clean Label The Booming Trend

 

Clean Label อีกหนึ่งกระแสที่มาแรง
โดย: กองบรรณาธิการ
Editorial Team
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

เมื่อผู้บริโภคในยุคดิจิทัลสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลของสินค้าอาหารที่พวกเขาจะซื้อบริโภคได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น นั่นหมายถึงพวกเขาสามารถทราบถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการบริโภควัตถุดิบสังเคราะห์และสารเคมีปรุงแต่งต่างๆ…และบางทีพวกเขาก็อยากจะกลับสู่ความเป็นธรรมชาติดังเช่นในอดีต

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย ระบุว่าความนิยมในอาหารที่มีส่วนช่วยดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสนใจเป็นลําดับต้นๆ โดยตัวอย่างของกระแสดังกล่าวในไทย คือ Clean Food หรืออาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อย สําหรับในตลาดโลกจากการประเมินโดย Innova Market Insights ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและรวบรวมข้อมูลด้านอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก พบว่า Clean Label และ Free-From Food เป็นคุณสมบัติที่ผู้บริโภคในซีกโลกตะวันตกมองหา ทั้งนี้ ไม่ใช่กระแสใหม่ แต่กําลังจะเป็นกระแสหลักที่ได้รับความสนใจในตลาดต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“Clean Label” มีนิยามที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ แต่โดยทั่วไปมักหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบหรือเครื่องปรุงจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีหรือสารสังเคราะห์ อาทิ วัตถุปรุงแต่งกลิ่น รส และสี ขณะที่บางหน่วยงานขยายขอบเขตของ Clean Label ไปถึงฉลากที่ผู้บริโภคอ่านแล้วเข้าใจ เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลมากพอต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า และสามารถประเมินคุณค่าของอาหารได้ตรงกับความต้องการ

ปัจจุบันอาหาร Clean Label ได้รับความนิยมในหลายภูมิภาคของโลกตามความต้องการอาหารปลอดสารปรุงแต่งหรืออาหารธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ในสหราชอาณาจักร TESCO มีการพิมพ์รายชื่อสารปรุงแต่งที่ไม่ต้องการให้ผสมในอาหารที่จำหน่ายใน TESCO ส่งให้แก่ซัพพลายเออร์ เพื่อให้ผลิตอาหาร Clean Label ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ส่วนในสหรัฐอเมริกาในปี 2557 พบว่าผลิตภัณฑ์อาหารธรรมชาติมีมูลค่าสูงถึง 30 พันล้านเหรียญสหรัฐ เช่นเดียวกับในยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชีย ที่ผู้บริโภคมองหาอาหารธรรมชาติและหลีกเลี่ยงวัตถุปรุงแต่งอาหารแม้ที่เคยเป็นส่วนประกอบที่ได้รับความนิยมมากในอดีตอย่างสารให้ความหวานสังเคราะห์

When consumers in the digital era can conveniently and rapidly access the information about their food, it means they can also find out easily about the consequences of their consumption of synthetic chemicals … and sometimes they wish to return to the natural way like in the past.

The Export-Import Bank of Thailand (EXIM Bank) revealed that healthy food is a priority to many consumers, especially clean food or minimally processed food in case of Thailand. Meanwhile, in the global market, Innova Market Insights – a global research and information company focuses on food and beverage industry – found that clean label and free-from food are the property that western consumers are looking for. Though the trend is not new, but it is becoming mainstream in many markets constantly.
“Clean Label” yields different definitions in each country, but generally, the term refers to products that use natural materials or natural ingredients, and are free from chemical and synthetic substances such as colouring agent and flavouring agent. Meanwhile, some agencies expand the meaning of clean label to cover comprehensive and understanding label giving consumers enough information to purchase, and ability to evaluate nutrition facts to match their demands.
Currently, clean label has become popular in many regions of the world thanks to the growing demand for free from additives or natural food. In the United Kingdom, TESCO prints out a list of unwanted food additives they wish to abolish from food on their shelves, and sent to the suppliers to make clean label food responsive to the consumers demand. In the United States, natural food market was worth USD 30 billion in 2014. The similar trend is happening in Europe, Australia and Asia, where consumers are looking for natural and free-from additives food, despite the fact that those additives were very much beloved in the past, such as artificial sweeteners.
According to a consumer survey conducted by one of the leading company in organic and non-GMO food ingredients, an additive that consumers are trying to avoid most is High Fructose Corn Syrup (HFCS). This explains why plant-based sweeteners are growing, especially stevia. Japan is the first country that commercially launches stevia, and is a country that consumes the biggest amount of stevia. Stevia dominates the Japanese sweetener market with 40% market share. Zenith International, the international advisor company in food and beverage industry, assessed that stevia sales will reach USD 578 million in 2017.

Food Industry and the Need to Adjust for the Ever-changing Future

อุตสาหกรรมอาหาร…ต้องปรับเปลี่ยนเพื่ออนาคตประเทศ

โดย: กองบรรณาธิการ
Editorial Team
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

ยุคโลกไร้พรมแดนที่เทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตได้ย่อทุกส่วนจากทั่วทุกมุมโลกให้ใกล้กันเพียงปลายนิ้ว ได้ส่งผลให้วิถีการใช้ชีวิตและวิถีการดำเนินธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างคาดไม่ถึง อุตสาหกรรมอาหารก็เช่นกันที่ผู้ประกอบการต่างต้องปรับเปลี่ยนและพร้อมรับมือ…ไม่ว่าคุณจะเป็นหน้าเก่าที่แสนเก๋าในเกมการแข่งขัน หรือหน้าใหม่ป้ายแดงที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความฝันและแรงบันดาลใจอันล้นเหลือ…

นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์ ได้รับเกียรติเข้าร่วมงานเสวนา Dinner Talk ภายใต้หัวข้อ “อนาคตอุตสาหกรรมอาหารไทย ยุค 4.0” เมื่อวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา จัดโดยสมาคมนักศึกษาเก่าคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในโอกาสนี้ คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วี ฟู้ดส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท วี ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้เกียรติพูดคุยถึงแนวโน้มกระแสโลกตลอดจนมุมมองต่อประเทศไทย 4.0 และอุตสาหกรรมอาหาร 4.0 ไว้อย่างน่าสนใจ

“ถ้าผู้ประกอบการเข้าใจและตระหนักถึงแนวโน้มของกระแสโลกที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนในยุค 4.0 นั่นจะเป็นบันไดขั้นแรกที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามโจทย์และความต้องการของผู้บริโภค” คุณอภิรักษ์กล่าว พร้อมเสริมว่าแนวโน้มของกระแสโลก หรือ Global Mega Trend ล้วนเกี่ยวข้องกับวิถีการใช้ชีวิต และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรต่อไร่ หรือแม้แต่การขาดแคลนอาหาร

“หากถามว่าประเทศใดในโลกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด หลายท่านอาจค้นหาคำตอบจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) หรือรายได้ต่อหัว แต่องค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศในสังกัดสหประชาชาติได้ประกาศออกมาแล้วว่าดัชนีชี้วัดที่ดีที่สุดก็คือ ประเทศไหนมีค่าอายุเฉลี่ยของประชากรสูงที่สุด หรือพูดง่ายๆ ก็คือประเทศใดที่ประชากรมีอายุยืนมากที่สุด เพราะนั่นหมายถึงประชากรในประเทศนั้นมีความสมดุลทั้งในการใช้ชีวิตและการทำงาน” คุณอภิรักษ์เปิดประเด็น

In the borderless world of today where digital technology and internet have minimized and delivered everything from every corner of the world to the touch of convenience at our fingertips, people’s lifestyles and business approaches have drastically and inarguably changed in many unprecedented ways. Food industry is of no exception. Operators need to be quick to adapt and prepare to tackle this fast changing world head on, whether you be the veteran and seasoned old player, or the fresh new face filled to the brim with dreams, visions, and inspirations.

Food Focus Thailand magazine was honored to participate in the Dinner Talk discussion forum on the topic of “Future of Food Industry in Thailand 4.0 Era”, on Friday, June 16, 2017. The forum was jointly organized by the Alumni Association of, and the Faculty of Agro-Industry, Chiang Mai University. The forum was granted honor by Mr.Apirak Kosayodhin, Chairman & CEO of V Foods Corporation Co., Ltd. and V Foods (Thailand) Co., Ltd. as a guest speaker on the subject about global mega trend, to share his valued perspectives on Thailand 4.0 and Food Industry 4.0.

“It is vital for the operators in this industry to recognize and understand the impact of the ever-changing global trends on the lifestyles of people in the age of 4.0. This is essentially the first step for the operators towards the right R&D approaches to truly answer the needs and lifestyles of the consumers” said Mr.Apirak

He further mentioned that the Global Mega Trend is all about lifestyles, as well as all the changes on this planet, whether they be the climate change, drought–with effects on ago-productivity (Yield per Rai)–, or even famine.

“When asked which country in the world is the most successful, many of you here may look for an answer in the numbers of countries’ Gross Domestic Product (GDP), or Per capita income. In fact, the World Health organization or WHO, which is one of the international organizations under the United Nations, has suggested that the best index for national success is the high average age of the national populations. To put it simply: countries with the highest average age are the most successful countries. This is because it reflects the good living conditions of the populations, with work and pleasure balanced out nicely”, remarked Mr.Apirak.

ASEAN…to seek for resolutions for creating sustainability food and agricultural policies for regional food security

ข้อเสนอแนะในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านระบบอาหาร-เกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาค

 

โดย: โครงการระบบอาหาร-เกษตรแบบยั่งยืนแห่งอาเซียน
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)
ASEAN Sustainable Agrifood Systems
Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH
rojana.manowalailao@giz.de

Full article TH-EN

ปริมาณอาหารที่ผลิตได้มากขึ้นไม่ได้ทำให้ประเทศหรือภูมิภาคนั้นๆ ถูกเรียกว่ามีความมั่นคงทางอาหาร แต่ความมั่นคงทางอาหารหมายรวมถึงความปลอดภัยของอาหาร ความสามารถในการเข้าถึงอาหาร และผู้บริโภคสามารถเลือกอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับตน

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับความท้าทายด้านความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการอย่างต่อเนื่อง จากรายงานความไม่มั่นคงทางอาหารของโลก ในปี 2558 โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แม้จำนวนคนขาดสารอาหารจะลดลงยอ่างต่อเนื่องในช่วงสองปีที่ผ่านมา ยังคงมีประชากรมากกว่า 1 ใน 9 ของโลกที่ยังคงทุกข์ทรมานเพราะความหิวโหย ทั้งนี้จำนวนคนที่ขาดสารอาหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งทำให้คนยากจนและคนที่ด้อยโอกาสมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การเพิ่มจำนวนของกลุ่มคนมีฐานะในภูมิภาคอาเซียน กอปรกับการเติบโตของจำนวนประชากรทำให้เกิดความกดดันในด้านความต้องการอาหาร การใช้ทรัพยากรและเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภค ราคาอาหารที่สูงและผันผวน และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตทางการเกษตรและการอนุรักษ์พื้นที่ทางการเกษตร จากการทำเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และการอพยพย้านถิ่นฐานของแรงงานจากชนบทสู่เมือง ถือเป็นความกดดันต่อความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการในระยะยาว

แต่สำหรับในอีก 35 ปีข้างหน้า คาดว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 9 พันล้านคน และการเพิ่มผลผลิตทางอาหารจำเป็นต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 เป็นอย่างน้อยเพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของประชากรโลกทั้งหมดในอนาคตได้

The higher amount of food production does not mean a country or region has food security. The food security refers to a condition related to food safety, and individual’s accessibility to food, while consumers can choose foods that are nutritional and appropriate to their health.

Southeast Asia has been facing challenges on food security and nutrition. Based on the State of Food Insecurity in the World 2015 by the United Nations Food and Agriculture Organization (FAO), despite the total number of undernourished people has fallen in the past two years, over one in nine people in the world were still suffering from hunger. In South-Eastern Asia, the number of undernourished people has continued its steady decline by about 50 percent over the last decade due to overall inclusive growth, with more of the poor and vulnerable sharing the benefits.

Increasing affluence in ASEAN accompanied by population growth puts pressure on food demand and resources competition as well as change consumption patterns. High and volatile food prices, impact of climate change on agriculture, and the conservation of agricultural lands to industrial areas and migration of labour from rural to urban areas are also considered as long-term pressures on food security and nutrition.

According to the United Nations, food production will need to increase by at least 60% over the next 35 years to provide food security for the 9 billion people expected to be living on the planet
increasing populations while protecting depleting natural resources at the Regional Knowledge Sharing Consultation “Sustainable Agrifood Systems for Food Security and Sustainable Development in the ASEAN Region” held today in May 2017.