“พาณิชย์” แนะโอกาสทองส่งออกปลาหมึก “ซึรึเมะอิกะ” ไทยเข้าสู่ญี่ปุ่น

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.) กระทรวงพาณิชย์ เผยประมงญี่ปุ่นจับปลาหมึก “ซึรึเมะอิกะ” ได้น้อยลง และรัฐบาลยังกำหนดโควต้าจับจนทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลน แนะไทยใช้โอกาสนี้ผลักดันส่งออกปลาหมึกไทยเข้าไปเพิ่มส่วนแบ่งตลาด พร้อมขอให้เข้มงวดเรื่อง IUU เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อสินค้าไทย

นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ได้รายงานถึงโอกาสการส่งออกปลาหมึก “ซึรึเมะอิกะ” หรือปลาหมึกบิน ของไทยเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น หลังจากได้สำรวจความต้องการในตลาดแล้วพบว่า ขณะนี้ญี่ปุ่นประสบปัญหาการขาดแคลนปลากหมึกซึรึเมะอิกะ เพราะชาวประมงญี่ปุ่นจับปลาหมึกชนิดนี้ได้ลดลง เพราะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล ทำให้ปลาหมึกโตช้า และยังมีการเข้ามาจับปลาหมึกของเรือประมงต่างชาติทั้งเกาหลีเหนือและจีนเพิ่มขึ้น ทำให้ประมงญี่ปุ่นจับได้น้อยลง

ทั้งนี้ ผลจากการที่ปลาหมึกซึรึเมะอิกะเข้าสู่ตลาดน้อยลงทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาขายส่งอยู่ที่ 564 เยนต่อกิโลกรัม (กก.) หรือประมาณ 164 บาทต่อ กก. เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 80 จากเมื่อ 2 ปีก่อนหน้า และยังส่งผลให้ร้านอาหารที่ใช้ปลาหมึกในการประกอบอาหารมีรายได้ลดลง และหันไปใช้สัตว์น้ำประเภทอื่นทดแทน

ขณะเดียวกัน กรมประมงญี่ปุ่น ยังได้มีมาตรการกำหนดโควต้าจับปลาหมึกซึรึเมะอิกะ ปีงบประมาณ 2561 (เม.ย. 2561-มี.ค. 2562) ให้เหลือเพียง 97,000 ตัน เพื่อให้ปลาหมึกได้มีโอกาสแพร่พันธุ์มากขึ้น และเพิ่มปริมาณการนำเข้าปลาหมึกซึรึเมะอิกะจากต่างประเทศในปี 2561 เป็น 87,000 ตัน เพื่อลดผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบ และยังมีแนวโน้มว่าญี่ปุ่นอาจต้องเพิ่มโควต้านำเข้าอีกในเร็วๆ นี้

“ผลจากความต้องการปลาหมึกซึรึเมะอิกะที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ทำให้เป็นโอกาสสำหรับปลาหมึกไทย โดยไทยสามารถส่งออกปลาหมึกมงโกอิกะหรือหมึกกระดองไปยังญี่ปุ่น ภายใต้ความตกลง JTEPA (ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น) ได้ เพราะญี่ปุ่นเก็บภาษีนำเข้าเป็นศูนย์แล้ว แต่สำหรับปลาหมึกซึรึเมะอิกะและปลาหมึกอื่นๆ ญี่ปุ่นเก็บภาษีนำเข้าระหว่างร้อยละ 3.5-5 ซึ่งขณะนี้ ไทยกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาให้ญี่ปุ่นลดภาษีนำเข้าในกลุ่มปลาหมึกเพิ่มเติมอยู่ หากทำสำเร็จจะช่วยสนับสนุนการส่งออกและสร้างแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการไทย”

อย่างไรก็ตาม ในการส่งออกปลาหมึกไปยังตลาดญี่ปุ่น ผู้ประกอบการไทยต้องมีการกำกับดูแลเกี่ยวกับการประมง เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการทำประมงที่ผิดกฎหมาย การประมงที่ขาดการรายงาน และการประมงที่ขาดการควบคุม (IUU) เพราะนอกจากจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการส่งออกของอุตสาหกรรมประมงของไทยแล้ว ยังเป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีความยั่งยืนต่อไปด้วย

ในปี 2560 ญี่ปุ่นมีการนำเข้าปลาหมึกซึรึเมะอิกะ ปริมาณ 93,069 ตัน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ชิลี และเปรู ปริมาณ 44,744 ตัน , 14,744 ตัน และ 11,593 ตันตามลำดับ และนำเข้าจากไทยเป็นลำดับที่ 9 ปริมาณ 85 ตัน โดยปลาหมึกซึรึเมะอิกะที่ไทยส่งออกไปยังญี่ปุ่น มีทั้งรูปแบบปลาหมึกสดและปลาหมึกแปรรูป

หนุน SME คลัสเตอร์มะพร้าวในงาน TI Expo 2018

3 สิงหาคม 2561

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) นายวชิระ แก้วกอ ผู้อำนวยการฝ่ายประสานเครือข่ายผู้ให้บริการ SMEs สสว. ร่วมด้วยนางนิตยา พิระภัทรุ่งสุริยา รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร และนางอรวรรณ แก้วประกายแสงกูล ที่ปรึกษาสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมเครือข่าย SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าวที่เข้าร่วมงาน Thailand Industry Expo 2018 (TI Expo2018) ณ บูธสถาบันอาหาร อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ภายในงานมีผู้แทนเครือข่ายจากกลุ่มคลัสเตอร์ Best Coconut (สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี) กลุ่มคลัสเตอร์พร้าวหอมสามพราน (นครปฐม) และกลุ่มคลัสเตอร์ Coco Inter Prachin (ปราจีนบุรี) นำสินค้ามาจัดแสดงและจำหน่าย เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2561 ในกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าวและกล้วย ซึ่งสถาบันอาหารได้รับมอบหมายจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ดำเนินการ

Beverage Idea: Let’s see what’s hitting the shelves?

ไอเดียแจ่มๆ ของเครื่องดื่มแจ๋วๆ

  

Translated and Compiled By: Editorial Team

Food Focus Thailand Magazine

editor@foodfocusthailand.com

 

Full article TH-EN

จับตามองเครื่องดื่มทั้งแบบผสมและไม่ผสมแอลกอฮอล์…แนวไหนที่โดน…จนต้องโหนกระแส

Vita Coco เปิดตัวน้ำมะพร้าว ‘bubbles with benefits’ มาใน 4 รสชาติ คือ เกรพฟรุต เลมอนจิงเจอร์ ราสเบอร์รี่ไลม์ และเสาวรสผสมสับปะรด รสซ่าๆ สร้างความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า และยังเป็นอิเล็กโทรไลต์ ลดการเกิดภาวะขาดน้ำจากการสูญเสียเหงื่อตามแบบฉบับของน้ำมะพร้าว

Coca-Cola ฉีกความแตกต่างจาก Coca-Cola Classic ด้วยการนำเสนอเครื่องดื่มใสๆ รสเลมอน ปราศจากแคลอรี ในชื่อ Coca-Cola Clear ที่ประเทศญี่ปุ่น ผลิตภัณฑ์น้องใหม่นี้เปิดตัวในช่วงฤดูร้อน นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะเจาะ เนื่องจากเครื่องดื่มอัดแก็สจะเติบโตดีในหน้าร้อน และสร้างมูลค่าตลาดได้มากกว่าในฤดูหนาวถึง 1.5 เท่า

หากอยากผ่อนคลายสบายๆ ลองจิบ ALO® เครื่องดื่มจากว่านหางจระเข้ที่ใช้วัตถุดิบจากใบว่านหางจระเข้แท้ๆ ปลูกในไร่แบบยั่งยืนในประเทศไทย ผสมผสานกับน้ำผลไม้ และส่วนผสมชั้นดี อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และกรดอะมิโนต่างๆ ALO® ครองตำแหน่งเครื่องดื่มจากว่านหางจระเข้พร้อมดื่มอันดับหนึ่งในสหรัฐอเมริกา

ชาหมัก (Kombucha) นับเป็นยาอายุวัฒนะมาแต่โบร่ำโบราณ ด้วยส่วนผสมของโพรไบโอติก ดีต่อระบบลำไส้และช่วยระบบการย่อยอาหาร มีคุณสมบัติสร้างความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และขับสารพิษ ชาหมักเป็นที่รู้จักกันในฐานะซูเปอร์ดริงก์ที่ช่วยส่งเสริมระบบประสาทและระบบการย่อยอาหาร

From non-alcoholic drinks to alcoholic beverage, keep an eye on some of the new products hitting the shelves around the world.

Coconut water brand Vita Coco has launched a sparkling collection in four flavors: grapefruit, lemon ginger, raspberry lime and pineapple passionfruit. Dubbed ‘bubbles with benefits,’ the sparkling line is a delicious blend of carbonated water and coconut water, providing the tingly refreshment of a sparkling drink with the functionality, electrolytes and hydration of coconut water.

Coca-Cola has launched a transparent drink called Coca-Cola Clear in Japan. Coca-Cola Clear is a lemon flavor zero calorie drink: with the recipe omitting the caramel coloring used in Coca-Cola Classic. Coca-Cola Japan says the launch has been timed for the summer months when novelty is required in an increasingly competitive market, with the summer carbonated beverage market around 1.5 times bigger than in winter.

 Want a drink that gives back to your body with every sip? Say Hi to ALO®, aloe vera drinks made from real aloe vera pulp and juice ensuring goodness that is straight from the leaf – never from powder – blends it with real fruit juice and other fine ingredients. Aloe vera comes from a sustainable farm in Thailand.

 

An ancient elixir that has been enjoyed for centuries. Liberty Kombucha is full of healthy, living bacteria known as probiotics. These are great for your gut, aid in digestion and are known to have energizing, detoxifying and healing properties.

Effective Inspection…Metal-Free Bulk Goods

การตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ…นำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดโลหะได้อย่างแน่นอน

บริษัท เมทเล่อร์-โทเลโด (ประเทศไทย) จำกัด
Mettler-Toledo (Thailand) Limited
MT-TH.CustomerSupport@mt.com

Full article TH-EN

ความจำเป็นในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนของโลหะก่อนการจัดส่งหรือเข้าสู่กระบวนการผลิต มีความสำคัญมากขึ้นสำหรับผู้ผลิตสินค้าอาหารปริมาณมากในปัจจุบัน เครื่องตรวจจับโลหะสมัยใหม่สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ชนิดผงและชนิดเม็ดในกระบวนการผลิตตามขั้นตอนต่างๆ แต่ก็มีคำถามว่า เครื่องตรวจสอบการปนเปื้อนโลหะนั้นควรจะตั้งอยู่ที่ใด

 

ผู้ผลิตอาหารที่มีการผลิตในปริมาณมากหลายรายกำลังเปลี่ยนขั้นตอนตรวจสอบคุณภาพโดยพยายามโอนหน้าที่รับผิดชอบส่วนนี้ให้กับซัพพลายเออร์ที่ส่งวัตถุดิบให้พวกเขา ซึ่งหมายความว่าซัพพลายเออร์เหล่านนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตผงแป้งหรือวัสดุผงเม็ดอื่นๆ ต้องแบกรับความกดดันที่เพิ่มขึ้นในการรับรองว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขานั้นต้องปราศจากสิ่งปลอมปน

 

ทั้งนี้ เนื่องจากมีวิธีตรวจสอบคุณภาพที่ดีที่สุดได้หลายวิธี ซัพพลายเออร์วัตถุดิบเหล่านี้จึงต้องทำการตัดสินใจครั้งสำคัญในการกำหนดตำแหน่งที่จะเป็นจุดควบคุมวิกฤติในกระบวนการผลิตเพื่อรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจ

 

The need to inspect products for metal contaminants prior to shipping or processing is becoming more important for bulk-food manufacturers. Modern metal detectors can inspect powders and granular products at various stages in the production process, but where should inspection equipment be situated?

 

Many bulk-food processors are changing quality procedures to place responsibility on their suppliers for raw-material integrity. That means handlers of bulk powder and granular materials are under increased pressure to certify that their products are contaminant-free.

 

With several options of where to inspect for optimum quality, bulk material suppliers need to make important decisions. We can help you determine where to establish critical control points in your process to ensure optimum product quality and maximize business performance.

The Most Recently Enforced Food Regulations The Notification of the Ministry of Public Health (No.386) B.E.2560 (2017) Re: The Requirements for Production Processes, Production Equipment, Storage, and Labeling of such Fresh Fruits or Vegetables (Good Manufacturing Practice for Fresh Fruits and Vegetables)

กฎระเบียบด้านอาหารล่าสุดที่มีผลบังคับใช้
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ.2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก

โดย: สำนักอาหาร
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุข

Bureau of Food
Food and Drug Administration
Ministry of Public Health
food@fda.moph.go.th

Full article TH-EN

ผักและผลไม้สดเป็นอาหารที่มีความสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก ได้แนะนำว่าการบริโภคผักและผลไม้สดประมาณวันละ 400-600 กรัม สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แต่ก็พบปัญหาการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้สดหลายชนิดเกินค่ามาตรฐานอยู่เป็นระยะ

 

ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการกำกับดูแลและยกระดับผักและผลไม้สดให้มีคุณภาพและความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคตลอดห่วงโซ่ กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ.2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดีสำหรับสถานที่ผลิต (คัดและบรรจุ) และระบบตามสอบย้อนกลับ (Traceability) ไปหาแหล่งปลูก โดยนำร่องกับผักและผลไม้สดบางชนิดที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค และใช้กลไกการตลาดเป็นตัวขับเคลื่อน โดยกำหนดให้โรงคัดบรรจุซึ่งเป็นผู้รับซื้อผักหรือผลไม้สดต้องมีมาตรการการคัดเลือกวัตถุดิบจากแหล่งเพาะปลูกที่มีระบบการควบคุมการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างปลอดภัย

Fresh fruits and vegetables (FFVs) are very important to human health as well as national economy. The Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO) and the World Health Organization (WHO) recommend a daily intake of 400-600 grams of FFVs, which can help reduce risks of non-communicable diseases (NCDs). However, contamination of FFVs by pesticide residues is currently a major concern in Thailand because the amount occasionally found in many samples exceeds the acceptable level.

 

In order to improve the control system and ensure the quality and safety of FFVs for consumers of the entire supply chain, the Notification of the Ministry of Public Health (No.386) B.E.2560 (2017) Re: The Requirements for Production Processes, Production Equipment, Storage and Labeling of such Fresh Fruits or Vegetables was signed by the Ministry of Public Health on 2 August 2017 (B.E.2560) and will be fully enforced by 26 August 2018 (B.E.2561). The purpose of this regulation is to provoke the packing house to consider Good Manufacturing Practices (GMP) that will help control microbial, physical and chemical hazards associated with all stages of the production of FFVs from receipt and inspection of raw materials to distribution of finished products including label and recording for traceability. This regulation will be fully implemented on packing house where pack some types of FFVs that are commonly consumed and found pesticide residues.

Development of Healthy Drink Products

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

By: วิมลศรี พรรธนประเทศ
Wimonsri Phantanaprates
Researcher
Expert Center of Innovative Health Food (INNOFOOD)
Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR)
wimonsri@tistr.or.th

Full article TH-EN

 

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในปี 2559 ระบุว่า ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. อาหารที่บริโภคเพื่อการดำรงชีวิต (Food for Life)
  2. อาหารที่บริโภคเพื่อความบันเทิง (Food for Fun)
  3. อาหารที่บริโภคเพื่อจุดประสงค์เชิงหน้าที่ (Food for Function)

 

ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค จึงเกิดเป็นอาหารประเภทใหม่ๆ ซึ่งเป็นการผสมผสานของอาหาร 3 ประเภท ดังกล่าว ได้แก่

  1. อาหารที่บริโภคเพื่อการดำรงชีวิตเชิงหน้าที่ (Life and Function) เช่น น้ำผักเสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติก เสริมสารต้านอนุมูลอิสระ นมเสริมสารใยอาหาร เสริม DHA เป็นต้น
  2. อาหารที่บริโภคเพื่อความบันเทิงเชิงหน้าที่ (Fun and Function) เช่น กาแฟเสริมสารสกัด น้ำหวานเสริมวิตามิน เป็นต้น

นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม เริ่มตั้งแต่การคิดค้นและสรรหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ เช่น สมุนไพร/สารสกัด ส่วนผสมอาหารใหม่ ตลอดจนวัตถุดิบที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม นอกจากนี้ยังมีการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ๆ เช่น ใช้เอนไซม์ ใช้นาโนเทคโนโลยี เป็นต้น และนำมาพัฒนาให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค นั่นคือ ทำอย่างไรให้สินค้ามีความทันสมัย แตกต่าง และมีมูลค่าทางการตลาด

 

According to the data provided by the Thai Food and Drug Administration in 2016, food and drink products may be categorized into 3 following types:

  1. Food for Life
  2. Food for Fun adhering more to changing trends
  3. Food for Function produced for specific purposes

Presently, food and drink products are developed to address the consumer’s demand, thus resulting in the following new types of food, which are a combination of the three previously mentioned types:

  1. Food for Life and Function such as probiotic vegetable juices with added antioxidants or milk with fortified fibers and DHA
  2. Food for Fun and Function such as coffee with added extracts and soft drinks with fortified vitamins

The innovation of beverage products ranges from the research and sourcing of new raw material sources such as herbs, extracts, novel ingredients, and GMOs to the development of novel production processes such as the use of enzymes or nanotechnology. All of these efforts are aimed at satisfying the consumer’s demand by means of product modernization and differentiation, hence increasing the market value.

Thai Food Export Expected Overcome Risk Factors and Reach Over Target

ส่งออกอาหารปี 61 คาดฝ่าปัจจัยเสี่ยงทะลุล้านล้านบาท

By: สถาบันอาหาร
National Food Institute
Ministry of Industry
www.nfi.or.th

Full article TH-EN

ข้อมูลภาพรวมธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารของไทยครึ่งปีแรก 2561 และแนวโน้มครึ่งปีหลัง จากการแถลงร่วมของตัวแทนหลักจาก 3 องค์กร ประกอบด้วย นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่า การส่งออกสินค้าอาหารของไทยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นมากในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนในรูปเงินบาทขยายตัวต่ำ มีปริมาณ 10.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 มีมูลค่า 318,577 ล้านบาท หรือ 10,103 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และร้อยละ 13.2 ในรูปเงินบาทและในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ สินค้าส่งออกที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ไก่ มันสำปะหลัง เครื่องปรุงรส และผลิตภัณฑ์มะพร้าว สินค้าที่มีการส่งออกหดตัวลงทั้งปริมาณและมูลค่า ได้แก่ กุ้งและผลิตภัณฑ์สับปะรด เนื่องจากตลาดเกิดการแข่งขันที่รุนแรง สหรัฐฯ นำเข้ากุ้งจากอินเดีย อินโดนีเซีย และเอกวาดอร์มากขึ้น ส่วนสับปะรดไทยต้องเผชิญคู่แข่งอย่างฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ขณะที่กลุ่มประเทศ CLMV ยังคงเป็นตลาดส่งออกอาหารอันดับ 1 ของไทย มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 15.4 รองลงมา ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 12.9) อาเซียนเดิม (ร้อยละ 12.5) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 9.8) แอฟริกา (ร้อยละ 9.7) จีน (ร้อยละ 9.7) สหภาพยุโรป (ร้อยละ 6.0) ตะวันออกกลาง (ร้อยละ 3.7) โอเชียเนีย (ร้อยละ 3.2) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 3.0) และเอเชียใต้ (ร้อยละ 2.8) โดยตลาดที่มีการขยายตัวโดดเด่น คือ กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 110.8 จากการส่งออกน้ำมันพืชไปยังประเทศอินเดียเป็นหลัก รองลงมา ได้แก่ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2 จากการกลับมานำเข้ามันสำปะหลังจากไทย แอฟริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 จากการส่งออกข้าวเป็นหลัก และตลาดอาเซียนเดิมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 จากการส่งออกข้าว น้ำตาลทราย และแป้งมันสำปะหลังที่เพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ ยังคาดภาพรวมการส่งออกอาหารไทย 6 เดือนแรกของปี 2561 นั้นน่าจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นมากในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนในรูปเงินบาทขยายตัวต่ำ เพราะการแข็งค่าของเงินบาทยังคงส่งผลกระทบต่อการค้าในช่วงดังกล่าว ประเมินว่าการส่งออกจะมีมูลค่า 507,844 ล้านบาท หรือ 15,850 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และร้อยละ 10.3 ในรูปเงินบาทและในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ

Thai food export in 2018 to break through risk factors and worth beyond one trillion baht According to a press conference on the overall report on Thai agricultural business and food industry in the first half of 2018 and the trend in the second half, which was joined by three organization representatives Mr.Yongvut Saovapruk, President of National Food Institute, Industry Ministry, Mr. Poj Aramwattananont, Vice Chairman to the Board of Trade of Thailand, and Mr. Visit Limruecha, Chairman to the Food Industry Club of the Federation of Thai Industries, it found that Thai food export in the first four months of the year expanded highly in term of US dollar, while increased slightly in term of Thai baht or grew by 1.9 percent in volume to 10.9 million tons, while value was up by 1.5 percent to THB318.57 billion or 13.2 percent to US$10.10 billion, respectively. Major export products that have increased significantly are included rice, chicken, tapioca, seasoning, and coconut products. Products that have decreased in term of both export volume and value are included shrimp and pine-apple products due to high competitiveness in the market as the United States import more shrimp from India, Indonesia, and Ecuador, while Thai pine-apple have to face with high competitiveness from the Philippines and Indonesia, which have high productions as well.
The CLMV countries (Cambodia, Laos, Myanmar, and Vietnam) is remaining as Thailand’s largest export market with export value to those markets are accounted by 15.4 percent from total export value, following by to Japan (12.9%), the US (9.8%), Africa (9.7%), China (9.7%), the EU (6.0%), the Middle East (3.7%), Oceania (3.2%), the UK (3.0%), and South Asia (2.8%). Markets that export have increased considerably were countries in the South Asia, which export was up strongly by 110.8 percent from shipment of vegetable oil to India, following to export to China, which was increased by 27.2 percent, thanks to China backed to import Thai tapioca again, and to Africa was up by 19.7 percent from rice export as main products, and to traditional ASEAN market (Indonesia, Malaysia, the Philippines, and Singapore) rose by 12.3 percent from higher export of rice, sugar, and tapioca starch.
Moreover, it also forecasts that the overall Thai food export in the first half of the year is expected to increase largely in US dollar term, while export in term of baht value will grow in lower rate due to the baht appreciation affect Thai shipment in the period. Export is projected to worth THB507.84 billion or US$15.85 billion, an increase by 1.9 percent and 10.3 percent in term of baht and the US dollar, respectively.

Food Focus Thailand Roadshow: Food Safety Roadshow # 3 @ Ayutthaya

By: Food Focus Thailand Magazine

Full article TH-EN

ประสบความสำเร็จกับพิกัดที่ 3 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นิตยสาร ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างพื้นฐานองค์ความรู้เรื่อง “อาหารปลอดภัย” และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทยให้พร้อมก้าวสู่ตลาดในระดับสากลอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

งาน Food Focus Thailand Roadshow # 3 ต้อนรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในภาคกลาง ซึ่งได้รับฟังการบรรยายเรื่อง “เทรนด์ล่ามาแรงของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม: มุมมองจากทั่วโลก อาเซียน และไทย” โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสิฏฐ์ ธรรมวิถี ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยนวัตกรรมอาหาร ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหัวข้อ “Food Defense: การปกป้องสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร” โดยคุณธวัฒน์ชัย ขำวิจิตราภรณ์ ที่ปรึกษา บริษัท เอ็มที โอเปอเรชั่น จำกัด นอกจากนี้ยังได้พบกับความหลากหลายของสินค้าที่นำมาจัดแสดงและร่วมสนุกกับกิจกรรมและของรางวัลต่างๆ ภายในงาน

โอกาสในการเรียนรู้และสร้างเครือข่าย
งานเดียวที่จะทำให้เข้าใจเรื่อง “อาหารปลอดภัย” แบบเน้นๆ และค้นหาโซลูชันใหม่ๆ เพื่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ติดตามความเคลื่อนไหวในพิกัดต่อไปซึ่งเราได้เดินทางไปที่ “ชลบุรี”… พี่น้องภาคตะวันออกและจังหวัดใกล้เคียงจะได้พบกันภายในงานสัมมนา Food Focus Thailand Roadshow # 4 ณ โรงแรมอไรซ์ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในวันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2561

Successfully ended at the 3rd stop – Ayutthaya, Food Focus Thailand Magazine aims to co-create the fundamental knowledge about “food safety” and increase the competitiveness of Thai food and beverage industry, allowing them to contest in the global level strongly and sustainably.

In our Food Focus Thailand Roadshow # 3, food and beverage entrepreneurs of the Central Thailand were welcomed to attend the seminars “Catch Up the Latest Trend in Food & Beverage Industry: Global, ASEAN and Thailand Overview” hosted by Assistant Professor Dr.Pisit Dhamvithee, Director Product Innovation Research Unit (PIRUN), Department of Product Development, Faculty of Agro-Industry, Kasetsart University and “Food Defense Plan in Food Industry” by Mr.Tawatchai Khamvijitraporn, Consultant, MT Operation Co., Ltd. Moreover, they also had a chance to check out various products showcased in the event, participate in activities and win the prize.

Connect the Great Opportunity by Showing Up!
This one and only event gives you all the comprehensible knowledge about “food safety” and new solutions for food and beverage industry. Our next destination is “Chon Buri” at Arize Hotel Sri Racha. Follow up on the next 4th Food Focus Thailand Roadshow on Wednesday, 18 July 2018.

Improving Internal Warehouse Logistics in the Explosive E-Commerce Market

การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภายในคลังสินค้าสำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโต

By: Stephen Cwiak
Senior Vice President, Head of Subsystems
Interroll

Full article TH-EN

ด้วยยอดขายปลีกที่สูงเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ ผู้ค้าปลีกระดับโลกรายใหญ่ได้บรรลุเป้ายอดขายสูงสุดตามการเติบโตที่แข็งแกร่งของตลาดอีคอมเมิร์ซซึ่งท้าทายความสามารถในการผลิตและการกระจายสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าเพื่อตอบสนองระดับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้จากการคาดการณ์โดยผู้เชี่ยวชาญที่คาดว่ายอดขายอีคอมเมิร์ซในช่วงเทศกาลวันหยุดของปี 2560 จะเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 18 ถึง 21 เมื่อเทียบกับปี 2559 ซึ่งหากบริษัทของคุณพยายามที่จะก้าวเดินต่อไปในช่วงเร่งด่วนของปีนี้ ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการพิจารณาปรับปรุงการผลิตและการจำหน่ายเพื่อให้ประสบความสำเร็จตอบสนองการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซและรองรับช่วงเทศกาลวันหยุดในปีหน้าได้อย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบคลังสินค้านั้นสามารถรวมโซลูชันการจัดการวัสดุอัตโนมัติ อาทิ สายพานลำเลียง เครื่องคัดแยก และสายพานเข้ากับสายการผลิตเพื่อช่วยในการประมวลผลใบสั่งซื้อที่มีปริมาณมากขึ้นและตอบสนองความต้องการของการจัดส่งที่รวดเร็ว โดยมีการควบคุมต้นทุนการดำเนินงานให้อยู่ภายใต้กรอบที่วางไว้ได้

หากคุณกำลังมองหาการปรับปรุงพัฒนาดังกล่าว คู่ค้าและผู้ผลิตคลังสินค้าของคุณ สามารถพิจารณาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดได้ตามข้อปฏิบัติ ดังนี้…

With this year’s peak retail season at an unprecedented high, global retailers witnessed the explosive growth of the e-commerce market unlike ever before, challenging their manufacturing and distribution centers to perform to scale in order to meet demand.

Experts forecasted that e-commerce sales during the 2017 holiday season would increase between 18 to 21 percent over 2016 alone. If your company has struggled to keep pace during this year’s rush, now is a good time to consider how to modernize production and distribution operations in order to successfully face the continuous growth of the e-commerce market and next year’s peak holiday season.

In particular, warehouse manufacturers can integrate automated material handling solutions such as conveyors, sorters and belt drives into the production line to help process higher volumes of orders and meet rapid delivery time requirements, all while keeping operational costs under control.

If you are looking to make these improvements, partner with your warehouse manufacturers and consider the best practices outlined below.

Obesity Situation and Reducing Sugar Intake in Beverage Products

สถานการณ์โรคอ้วนกับการลดการใช้น้ำตาลในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม

By: ฝ่ายบริการเทคนิคและประกันคุณภาพ
Technical Service and Quality Assurance Department
IPS International Co., Ltd.
IPS.TSQA@gmail.com

Full article TH-EN

ปัจจุบันทั่วโลกกำลังรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาน้ำหนักเกิน (Overweight) โรคอ้วน (Obesity) และโรคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง และภาวะไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ทั้งนี้ โรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนก็กำลังเป็นภัยคุกคามประชากรในทั่วโลกและไทย

โรคอ้วน หมายถึง การมีปริมาณไขมันมากกว่าปกติ ไม่ได้หมายถึงการมีน้ำหนักมากอย่างเดียว โรคอ้วนเป็นโรคที่เกิดจากร่างกายสะสมพลังงานจากการรับประทานอาหารมากกว่าการเผาผลาญอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน

สำหรับประเทศไทย พบผู้ที่เป็นโรคอ้วนเฉลี่ยร้อยละ 31.6 หรือประมาณ 21 ล้านคน โดยแบ่งเป็นเพศชายร้อยละ 21.7 (14 ล้านคน) และเพศหญิงร้อยละ 35.4 (24 ล้านคน) เมื่อเปรียบเทียบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยพบผู้ที่เป็นโรคอ้วนมากเป็นอันดับที่สอง รองจากประเทศมาเลเซีย ตามด้วยประเทศสิงคโปร์ และฟิลิปปินส์

สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มการลดการใช้น้ำตาลย่อมส่งผลต่อรสชาติของผลิตภัณฑ์รวมถึงการยอมรับของผู้บริโภค ดังนั้นจึงมีการใช้สารทดแทนความหวานเพื่อจะเติมเต็มปริมาณความหวานที่ขาดหายไปในผลิตภัณฑ์ สารทดแทนความหวานในปัจจุบันมีความหลากหลาย และแตกต่างกันไปในแต่ละประเภท ซึ่งให้รสหวานที่แตกต่างกัน บางประเภทให้รสขมภายหลังรับประทานจึงมีความพยายามในการพัฒนาสารสกัดจากธรรมชาติที่อยู่ลักษณะของสารปรุงแต่งกลิ่นรสที่สามารถทดแทนความหวานจากน้ำตาลได้แทนการใช้สารทดแทนความหวานโดยตรง เนื่องจากสารดังกล่าวจะทำให้การรับรู้ความหวานของผู้บริโภคกลับมาใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้น้ำตาลในสูตรปกติได้อีกด้วย

Nowadays around the world are campaigning to challenge overweight, obesity and related diseases. non-communicable disease, including diabetes, high blood pressure. cardiovascular disease and Chronic kidney disease etc. Obesity-related diseases are threat in people around the world and Thailand as well.

Obesity means having more fat than normal which does not mean the only overweight. Obesity is a disease caused by the body accumulate energy from overeating continuously for a long time.

In Thailand, the total average obese person was 31.6% or approximate 21 million divided into male 21.7% (14 million) and female 35.4% (24 million), respectively. Compared among Southeast Asia country Thailand found the second most obese. The first one is Malaysia, Singapore the third and the fourth Philippines.

By reducing the sugar intake in beverage products, it can affect the taste of the product as well as the consumer acceptance. Therefore, sweeteners are used to replenish lost sweetness in the product. Today’s sweeteners are diverse and different in each category. The sweet taste is different, and some types have the bitter aftertaste. In the development of natural extracts, the natural flavoring agents can be substituted for sugar instead of direct sweeteners used. As a result, the natural flavor can enhance sweetness perception of consumers closer to natural sugarcane.