สรุปสาระสำคัญของการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ Hand in Hand for our Future of Food เพื่อเชื่อมโยงให้ระบบอาหารเราเกื้อกูลกับระบบอาหารโลก

ร่วมไขคำตอบเพื่ออนาคตของอาหารบนแนวคิด Future of Food and Sustainability โดย Mr. Renaud Mayers UNDP Thailand ซึ่งได้กล่าวโดยสรุปว่า เมื่อ 2 ปีที่แล้วมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับโลก เนื่องจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่แม้แต่ตาเปล่าก็ยังมองไม่เห็นอย่าง ‘โคโรนาไวรัส’ ซึ่งกลายเป็นปัญหาสำคัญในระดับโลก นอกจากปัญหาเรื่องของไวรัสแล้ว ยังมีปัญหาระดับโลกที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ สภาพอากาศที่แปรปรวนและสภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อโลกและการดำรงชีวิต รวมไปถึงวิถีการอุปโภคและบริโภคได้ แต่เพราะว่าโลกไม่มีวันเหมือนเดิม (Disruption) จึงต้องแก้ปัญหานี้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่คุ้นชิน (Disrupted from comfort zone) อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์จะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง พยายามเพิกเฉยไม่สนใจต่อปัญหา ดังนั้นจึงต้องการสัญญาณเตือนที่ดังมากพอที่จะให้เกิดความตระหนัก (Awareness) ถึงสิ่งที่ต้องแก้ไข และใช้ Innovation (นวัตกรรม) เพื่อหาทางแก้ไขหรือยับยั้งปัญหานั้น เช่น การเปลี่ยนอาหารจากเนื้อสัตว์กลายเป็นอาหารจากพืช ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า และมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งช่วยแก้ปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนและสภาวะโลกร้อนได้ และสิ่งที่จะช่วยให้นวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นยังคงอยู่ รวมทั้งแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ Mindset (รูปแบบความคิด) ซึ่งเป็นคำสำคัญที่จะเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น อย่างเช่น การทำความเข้าใจว่า การที่เราลดการบริโภคอาหารจากเนื้อสัตว์ และเปลี่ยนมาบริโภคเนื้อสัตว์จากพืชแทน เนื่องจากมีความเกี่ยวโยงกับสภาพแวดล้อมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจากการทำปศุสัตว์  รวมทั้งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะถ่ายทอดความรู้และลงมือปฏิบัติเพื่อให้แก้ปัญหาได้สำเร็จ และทำให้เกิดความยั่งยืน ไม่เช่นนั้นจะมีสิ่งที่น่ากลัวกว่าเชื้อไวรัสโคโรนารออยู่อย่างแน่นอน

Dr. Gijs Theunissen Agricultural Counsellor Netherlands Ambassy ได้เสริมแนวคิดของ Future of Food and Sustainability โดยสรุปว่า อนาคตของอาหาร คือ อาหารที่ใช้นวัตกรรมและเกิดขึ้นในอนาคต หรืออาหารที่พบเจอได้ทั่วไป เช่น แมลง ซึ่งคนไทยมองว่าเป็นเรื่องปกติที่จะใช้แมลงเพื่อทำอาหาร และตอนนี้แมลงก็ได้กลายเป็นอาหารแห่งอนาคตแล้ว หรืออาจจะเป็นอาหารที่ทำจากพืชทดแทนเนื้อสัตว์ ซึ่งดีต่อสุขภาพร่างกายมากกว่า แต่นอกจากเรื่องของสุขภาพแล้วยังต้องคำนึงถึงรสชาติที่จะดึงดูดให้กลับมาบริโภคซ้ำ นอกจากนี้ยังต้องการความร่วมมือเพื่อให้เกิดการหาแหล่งโปรตีนที่แตกต่าง ในราคาที่เหมาะสมเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ พร้อมทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดภัยและมีความยั่งยืน

แนวคิดถัดมาที่จะมาร่วมกันไขคำตอบ คือ Tourism, Local Wisdom, Michelin Star and Future of Food จากคุณศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการด้านการสื่อสารการตลาดและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งท่านได้กล่าวโดยสังเขปว่า ในปี 2562 ก่อนที่จะมีโรคระบาด โคโรนาไวรัสเกิดขึ้น ประเทศไทยประสบความสำเร็จในเรื่องของการท่องเที่ยว และมีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 40 ล้านคน มีรายได้ถึง 2 ล้านล้านบาท โดยหนึ่งในสามมาจากการท่องเที่ยวในประเทศ และรายได้กว่าร้อยละ 25-30 นั้นมาจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์แห่งการรับประทาน ซึ่งโดดเด่นเป็นอย่างมากของประเทศไทย แต่เพราะโรคระบาดที่เกิดขึ้นทำให้นโยบายเปลี่ยนแปลง เกิดการปิดประเทศและมีผลกระทบด้านลบต่อทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทย แต่ในปีนี้นโยบายเริ่มมีการผ่อนปรน จึงมีเป้าหมายที่จะปลุกกระแสการท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทยให้มากยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่การท่องเที่ยวแต่ยังนำอาหารการกินเข้ามาเชื่อมโยง และไม่ใช่แค่การคิดค้นอาหารใหม่ แต่ต้องรวมเอาความยั่งยืนสอดแทรกเข้าไปด้วย ประกอบกับที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีแคมเปญ Amazing new chapters: From A to Z Thailand has it all ตัวอย่างเช่น O – Organic life style, Q – Quest of dining, V- Vegan, T-Thai recipe หรือ Z- Zero food waste ที่ส่งเสริมทั้งการท่องเที่ยวและอาหาร ผนวกกับแคมเปญ SPOT (Soft Power Of Thailand) และ 4F ที่สำคัญของประเทศไทย คือ Food, Film, Festival and Fabric โดยเน้นที่ Food เพราะอุตสาหกรรมอาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งแก่ประเทศไทย

 

และแนวคิดสุดท้ายที่มาร่วมไขคำตอบในหัวข้อนี้ ก็คือ Innovation for Future of Food โดย ดร.ลลานา ธีระนุสรณ์กิจ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสด้านนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) กล่าวถึงปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ นั่นก็คือ จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งภายในปี 2050 จะมีประชากรในโลกประมาณ 10 พันล้านคน หมายความว่ามีประชากรเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 พันล้านคน ความต้องการบริโภคอาหารมีมากขึ้นแต่พื้นที่มีอยู่อย่างจำกัด อีกทั้งแหล่งเพาะปลูก แหล่งน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกและการทำปศุสัตว์ ส่งผลกระทบและเป็นเหตุให้เกิดสภาวะโลกร้อน ประกอบกับสังคมผู้สูงอายุที่อาจมีถึง 2.1 พันล้านคน และผู้สูงอายุมีความต้องการอาหารและสารอาหารที่มีความพิเศษขึ้น เช่น สามารถเคี้ยว กลืน และย่อยง่าย รวมกับผู้ป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน ซึ่งคร่าชีวิตกว่า 41 ล้านคนในแต่ละปี ซึ่งมากกว่าการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เสียอีก สาเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น มีความเกี่ยวข้องกับอาหาร สุขภาพ และความยั่งยืน โดยการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งคือการหาแหล่งอาหารทดแทน ทำให้เกิดคำว่า อาหารแห่งอนาคตขึ้น และอาหารแห่งอนาคตอาจมีการใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยี โดยอาจเป็นอาหารเดิมที่มีเทคโนโลยีใหม่ ในการทำให้อาหารที่ทำจากพืชมีรสชาติและเนื้อสัมผัสเหมือนจริง หรือวัตถุดิบใหม่ และใช้เทคโนโลยีทำให้เป็นอาหารฟังก์ชัน ที่มีราคาจับต้องได้ และได้สุขภาพที่ดี นอกจากนี้ยังต้องมีเรื่องของสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยการลดปริมาณการใช้น้ำ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยใช้ AI, Big data หรือ Co-farming ที่ช่วยให้ใช้พื้นที่น้อยลงแต่ยังได้ผลผลิตเท่าเดิม และอาหารยังคงมีทั้งวิตามิน แร่ธาตุที่ดีต่อสุขภาพ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคซึ่งชื่นชอบอาหารที่มีความสดใหม่ เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป รวมทั้งใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ไม่ได้ทำมาจากพลาสติก ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล  และนำเทคโนโลยีมาลดการเกิด Food waste นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแนวทางที่จะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างบริษัทขนาดใหญ่ SME และ Start up เพื่อให้ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีวัตถุดิบอาหารหลากหลาย สามารถส่งออกสู่ต่างประเทศ และสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่ออุตสาหกรรมอาหารในระดับโลกได้

เมทเล่อร์-โทเลโด ประชาสัมพันธ์ตารางงานสัมมนาออนไลน์ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2565

Continue reading “เมทเล่อร์-โทเลโด ประชาสัมพันธ์ตารางงานสัมมนาออนไลน์ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2565”

ผนึกกำลัง อาร์บีเอฟ อะแวนติกรุ๊ป และไทยยูเนี่ยน ตีตลาดธุรกิจส่วนผสมอาหารในประเทศอินเดีย

Continue reading “ผนึกกำลัง อาร์บีเอฟ อะแวนติกรุ๊ป และไทยยูเนี่ยน ตีตลาดธุรกิจส่วนผสมอาหารในประเทศอินเดีย”

METTLER TOLEDO’ ปรับหน้าเว็บไซต์ พร้อมแนะนำคลังข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ

Continue reading “METTLER TOLEDO’ ปรับหน้าเว็บไซต์ พร้อมแนะนำคลังข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ”

“ภาษีโซเดียม” ใช้เวลา 2 ปีก่อนปรับเปลี่ยนสูตร เพื่อให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย

รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ชี้แจงว่า เพื่อให้ประชาชนลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมลงเฉลี่ยปีละ 100 มิลลิกรัม ต่อคน/ต่อวัน จากเดิมที่บริโภคเฉลี่ย 3600 มิลลิกรัม ต่อคน/ต่อวัน ซึ่งเกินกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเกือบ 2 เท่า โดยจะกำหนดมาตรฐานปริมาณโซเดียมสูงสุดในอาหาร เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ เป็นต้น ถ้าอาหารสูตรใดมีปริมาณโซเดียมไม่เกินมาตรฐานจะไม่ต้องเสียภาษี ส่วนอาหารสูตรที่มีโซเดียมสูงจะถูกเก็บภาษี ซึ่งจะทำให้สินค้าสูตรที่มีโซเดียมต่ำมีราคาถูกกว่า เป็นการชักจูงให้ผู้บริโภคและผู้ผลิตหันมานิยมอาหารโซเดียมต่ำมากขึ้น

ทางด้านนายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต และโฆษกกรมสรรพสามิต กล่าวว่า “ขณะนี้ภาษีโซเดียมยังอยู่ในระหว่างการศึกษาแนวทางและหารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งกรมสรรพสามิตจะดำเนินการพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ อีกทั้งยังมีระยะเวลาให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารได้มีการปรับเปลี่ยนสูตรอาหารก่อนอย่างน้อย 2 ปี”

“มาตรการภาษี ไม่ใช่เรื่องใหม่ อย่างกรณีจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มตามปริมาณความหวานที่ได้มีการดำเนินการมากว่า 4 ปี ทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำเพิ่มขึ้นในร้านสะดวกซื้อ จากเดิมร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 30 ดังนั้น ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า มาตรการภาษีโซเดียมจะเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน” นายณัฐกรกล่าวย้ำ

 

‘มะรุม’ ขึ้นแท่นซูเปอร์ฟู้ดในปี 2565

ในทุกๆ ปีจะเกิดเทรนด์ซูเปอร์ฟู้ดตัวใหม่ๆ ขึ้นมา โดยปีที่ผ่านมานั้น “ถั่วไก่” (Chickpea) เป็นซูเปอร์ฟู้ดที่นิยมนำไปเป็นส่วนประกอบของอาหารประเภทต่างๆ และปีก่อนหน้าคือ “เห็ดหลินจือและโสมอินเดีย” ส่วนในปี 2565 นี้เทรนด์ซูเปอร์ฟู้ดที่เป็นที่พูดถึงคือ “มะรุม”

The Whole Foods Trend Council มีรายงานการคาดการณ์เทรนด์อาหารสำหรับปี 2565 ว่า “มะรุม” จะกลายเป็นเทรนด์ซูเปอร์ฟู้ดของปีหน้าเช่นเดียวกับบริษัท Technavio ซึ่งคาดการณ์การเติบโตของตลาดการบริโภคมะรุมจะเติบโตถึง 2.85 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในระยะเวลา 4 ปี โดยมะรุมมีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดียและมีการปลูกอย่างกว้างขวางทั่วทวีปแอฟริกาและเอเชีย
มะรุมได้ถูกนำไปใช้รักษาโรค ทั้งเบาหวาน อาการอักเสบ ติดเชื้อ อาการเจ็บปวดข้อ โรคหัวใจ หรือแม้แต่การรักษามะเร็ง ใบของมะรุมยังอุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งสูงกว่าส้มถึง 7 เท่า และมีโพแทสเซียมมากกว่าในกล้วยถึง 15 เท่า พร้อมทั้งยังมีแคลเซียม โปรตีน เหล็ก กรดอะมิโน และสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย

Every year, a seemingly new superfood arises from the book of ancient cure-alls. 2021, I would argue, was the year of the chickpea. The year before that, it was reishi mushrooms and ashwagandha. But the superfood trend that everyone will be talking about in 2022 is moringa.

The Whole Foods Trend Council has released its annual report of food trend predictions for 2022, and moringa is one of them. Similarly, global technology research company Technavio reports that the moringa products market is set to grow by 2.85 billion from 2021 to 2025. Moringa is native to India, though it is grown widely across Africa and Asia.
Moringa can help to treat diabetes, inflammation, infection, joint pain, heart problems, and even cancer. The leaves have seven times more vitamin C than oranges and 15 times more potassium than bananas. The plant is also packed with calcium, protein, iron, amino acids, and antioxidants.

Source: https://www.thrillist.com/eat/how-to-host-a-safe-potluck-party
 Ministry of Commerce, Department of International Trade Promotion.
  

The trend of “Meat Alternative Ingredients.”

แนวโน้มของส่วนผสมอาหารสำหรับเนื้อสัตว์ทางเลือก

ตลาดเนื้อสัตว์ทางเลือกคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.1 ในปี 2563 เป็น 17.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2570 การเติบโตของตลาดนี้ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของการแพ้โปรตีนจากสัตว์ ประโยชน์ทางโภชนาการของเนื้อสัตว์ทางเลือก จำนวนประชากรที่บริโภควีแกนเพิ่มมากขึ้น และการลงทุนในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ทางเลือก

โปรตีน เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดและสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ทางเนื้อสัตว์ทางเลือก โปรตีนมีความสำคัญต่อโครงสร้าง โดยสัมพันธ์กับการเติมน้ำและการละลาย, การทำให้เกิดอิมัลชันและการเกิดฟอง การยึดเกาะของกลิ่นรส ความหนืด การเกิดเจล เนื้อสัมผัส และการสร้างโด โปรตีนจากถั่วเหลืองเป็นโปรตีนที่ใช้กันทั่วไปในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทางเลือก ในปัจจุบันโปรตีนถั่วจากถั่วลันเตาเป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจากไม่มีสารก่อภูมิแพ้เหมือนถั่วเหลืองและข้าวสาลี

คาร์โบไฮเดรต สามารถแบ่งออกเป็นสตาร์ชและแป้ง ใช้เพื่อปรับปรุงเนื้อสัมผัสและความสม่ำเสมอของผลิตภัณฑ์ สารที่ช่วยในการยึดเกาะ เช่น เมทิลเซลลูโลส แซนแทนกัม คาราจีแนน

กลิ่นรส ถูกเติมลงในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทางเลือกในรูปแบบของเครื่องปรุงรสและเครื่องเทศ การสร้างสรรค์กลิ่นรสที่ “คล้ายเนื้อสัตว์” ในเนื้อสัตว์ทางเลือกนั้นเป็นสิ่งสำคัญและเป็นที่นิยม

ผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทางเลือกที่มีเนื้อสัมผัสและกลิ่นรสที่ได้มาตรฐานสูง บริษัทผู้ผลิตอาหารที่กำลังมองหาวิธีการปรับปรุงคุณภาพทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีเนื้อสัตว์ในปัจจุบัน CJ TasteNrich® และ FlavourNrichTM ผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีการหมักขั้นสูง สามารถใช้เป็นส่วนผสมที่ให้กลิ่นรสเนื้อสัตว์ที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อปรับปรุงคุณภาพทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทางเลือกได้

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cjbio.net

 

The trend of “Meat Alternative Ingredients.”

The market for meat alternatives is expected to grow at a CAGR of 15.1% from 2020 to reach $17.5 billion by 2027. The growth of this market is mainly attributed to the increasing incidence of intolerance for animal protein, nutritional benefits offered by meat alternatives, increasing vegan population, and venture investments in the meat alternatives industry.

The protein ingredient is one of the most important components for product identity and product differentiation of meat alternative products. Proteins have important structure-function relationships in hydration and solubility, emulsification and foaming, flavor binding, viscosity, gelation, texturization and dough formation. Soy proteins are historically the most common proteins used in meat alternative products but are facing growing pressure from pea proteins. Pea is popular as it has no allergenic shortcomings like soy or wheat.

Carbohydrate ingredients can be categorized as the starches or flours used to improve product texture and consistency or the binding ingredients or gums, like methylcellulose, xanthan gum, carrageenan.

Specific flavor ingredients are added to meat alternative products in the form of seasoning and spices. Creating the “meat-like” flavor in meat alternatives is important and on-trend.

Consumers are demanding meat alternative products, satisfying that their texture and flavor meet high standard. Food companies are looking at ways to improve the functionality and sensory profile of the current meat-free products. CJ TasteNrich® and FlavorNrichTM, fermented products can be considered as key ingredients which unique meaty flavor to improve the sensory profile of meat alternative products.

Find out more information: www.cjbio.net

 

Mintel เปิดตัวรายงานการวิจัยตลาดด้านอาหารและเครื่องดื่ม ในเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2564

Mintel ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยตลาดของผู้บริโภคในกลุ่มสินค้าต่างๆ ได้เปิดตัว Asia Pacific: The Food and Drink Landscape 2021 ซึ่งเป็นรายงานการวิจัยตลาดล่าสุด โดยเจาะข้อมูลเชิงลึกด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และแนวโน้มผู้บริโภคจากทั่วทั้งภูมิภาคในเอเชียแปซิฟิก

เนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้านการบริโภคอาหาร ทั้งการเปลี่ยนไปทำงานที่บ้านในระยะยาว ส่งผลให้ผู้บริโภคนั้นได้รับอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพที่ดีขึ้นเมื่อสามารถทำอาหารด้วยตนเองได้ รวมไปถึงการใช้บริการร้านอาหาร การจัดเลี้ยง รวมไปถึงร้านค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) งานวิจัยล่าสุดจากทีมนักวิเคราะห์อาหารและเครื่องดื่มที่เชี่ยวชาญของ Mintel ได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีแนวโน้มที่ส่งผลที่ดีต่อหลายภาคส่วน และเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจต่างๆ ในอนาคต โดยตัวอย่างผลการวิจัยที่สำคัญจาก APAC Food and Drink Landscape 2021 ของ Mintel ประกอบไปด้วย:

การเพิ่มขึ้นของพฤติกรรมการสนใจด้านสุขภาพทางเดินอาหาร

เมื่อประเมินจากโภชนาการอาหารจากนมพบว่า ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก กำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่ย่อยง่าย ในขณะเดียวกันยังคงตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพที่ดีของพวกเขา ข้อมูลจาก Mintel เปิดเผยว่าร้อยละ 85 ของผู้บริโภคในประเทศไทย สนใจผลิตภัณฑ์จากนมที่ย่อยง่าย เช่น นมที่ปราศจากน้ำตาลแลคโตส ซึ่งบริษัทต่างๆ สามารถเจาะจงถึงคุณประโยชน์ที่มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้ โดยผลิตภัณฑ์นมที่ปราศจากแลคโตสที่เป็นมิตรกับระบบย่อยอาหารของผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ เป็นต้น

อาหารและเครื่องดื่มเปลี่ยนแปลงตามแฟชั่นไปอย่างรวดเร็ว

การค้าปลีกและการสื่อสารแบบดิจิทัล สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่มเข้าสู่โลกแห่งการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ด้วยผลลัพธ์ที่น่าทึ่งและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ แสดงถึงวิธีการใหม่ในการบรรลุเป้าหมายในโลกออนไลน์ที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน

ในโลกของการค้าปลีกและสังคมดิจิทัลนี้ เป้าหมายของแบรนด์คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ เช่น ความสวยงาม ความแปลกใหม่ และ/หรือตอบสนองความต้องการของผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญและการกระตุ้นยอดขาย ยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ โดยหันมารับประทานอาหารและเครื่องดื่มเพื่อช่วยในการผ่อนคลายอารมณ์มากขึ้น อีกทั้งผู้บริโภคชาวเอเชียได้เปลี่ยนลำดับความสำคัญสุขภาพ มากกว่าแค่ราคาของผลิตภัณฑ์หลังจากเกิดสถานการณ์โรคระบาดขึ้น โดยหันมาซื้ออาหารที่ตรงตามความคาดหวังในรสชาติ คุณภาพ และมีผลดีต่อสุขภาพมากขึ้น…

ท่านสามารถดาวน์โหลด Mintel’s Asia Pacific: The Food and Drink Landscape 2021 Report ได้ที่นี่

www.mintel.com/asia-pacific-food-drink-landscape/

 

Mintel launches 2021 APAC Food and Drink Landscape report.

Mintel, the experts in what consumers want and why, has launched Asia Pacific: The Food and Drink Landscape 2021, featuring the latest market research, product innovation insights, and consumer trends from across the region.

The pandemic has caused a seismic shift in calories consumed from foodservice and catering to retail and e-commerce. The long-term shift to home-based working is driving better quality food and drinks made available for home consumption. Latest research from Mintel’s expert food and drink analyst team paints a picture of changing consumer behaviors and attitudes due to COVID-19, trends shaping the sector, and future opportunities for brands.

Key findings from Mintel’s APAC Food and Drink Landscape 2021 include:

Rising interest in digestive health

Considering dairy’s nutrient-rich image, consumers across APAC are looking for products that are easy to digest while still addressing their health needs.

Mintel data shows that, in Thailand, 85% of consumers claim to be interested in digestion-friendly dairy milk, such as lactose-free varieties.

Brands can highlight the perceived health benefits of lactose-free dairy (e.g., digestion-friendly), which play an increasingly prominent role in this category’s strong growth.

Food and drink follow fast fashion

Digitalized retail and communications drives food and drink innovation into the realm of fast fashion with stunning, and fast-changing, results. Fashion is a new frontier for food and drink brands and represents a new way of achieving cut through in the increasingly competitive online world.

In this digitized retail and social world, the goal of the brands is to develop products attuned with the latest fashion trends. Factors such as aesthetics, novelty and/or covetability are vital for brand relevance and driving sales.

What’s more, those stressed-out consumers increasingly turn to indulgent desserts and beverages for emotional relief. And Asian consumers have shifted their value priorities beyond just price in the wake of the pandemic. They will seek value by buying food that meets their taste, quality and health expectations….

 

Mintel’s Asia Pacific: The Food and Drink Landscape 2021 Report is available for free download here: www.mintel.com/asia-pacific-food-drink-landscape/