อย. จับมือกรมศุลกากร พัฒนาธุรกรรมการเชื่อมโยงข้อมูลด้านการนำเข้า และส่งออก สินค้าข้ามแดนทางบก ผ่านระบบ NSW

นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับกรมศุลกากร ได้ดำเนินการพัฒนาธุรกรรมการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า – ส่งออก และโลจิสติกส์ ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ National Single Window (NSW) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ โดยยื่นเอกสารเพียงครั้งเดียว สามารถส่งข้อมูลให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง อย. มี 5 ธุรกรรม ได้แก่

1.คำขอใบแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ

2.ข้อมูลใบแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ

3.ยกเลิกข้อมูลใบแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ

4.ข้อมูลใบขนสินค้าผ่านพิธีการขาเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ

5.ข้อมูลแจ้งผลการตรวจปล่อยผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ในปี 2565 อย. มีแผนการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามแดนทางบก รองรับกลุ่มประเทศตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง หรือ ACMECS ผ่านระบบ NSW โดย อย. มีพิกัดศุลกากร และรหัสสถิติที่ควบคุมสินค้านำเข้าส่งออกผ่านระบบ NSW จำนวน 3,207 รายการพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติ ปัจจุบันได้ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาต/ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ NSW ครบ 100 % ซึ่งระบบดังกล่าวจะช่วยให้ผู้นำเข้า และส่งออกสินค้าได้รับความสะดวกรวดเร็วในการยื่นเรื่องขออนุมัติ/อนุญาตผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสารทางระบบ NSW ซึ่งสามารถลดขั้นตอน ลดระยะเวลา ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ และจัดทำเอกสาร รวมทั้งค่าบริการต่าง ๆ จากการติดต่อผ่านหลายหน่วยงาน และส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสในกระบวนการนำเข้าส่งออกสินค้าของประเทศไทย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเชื่อมโยงระบบของหน่วยงานให้สามารถส่งข้อมูลใบอนุญาตการนำเข้าส่งออก และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพิธีการศุลกากรไปยังระบบ NSW ได้ทางอิเล็กทรอนิกส์

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวเสริมว่า พร้อมที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ เพื่อให้มีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และโปร่งใสมากขึ้น ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถนำเข้า – ส่งออกได้อย่างราบรื่น บนพื้นฐานความปลอดภัยของผู้บริโภค และผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน

 

Source

ไก่ไทยตู้แรกบุกตลาดอาหารซาอุ สร้างประวัติศาสตร์ในรอบ 18 ปี ตั้งเป้าไทยส่งออกไก่ 980,000 ตัน

เมื่อเร็วๆ นี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าซาอุดิอาระเบีย ยินดีเปิดไฟเขียวให้ไก่จากประเทศไทย สามารถส่งออกไปซาอุดิอาระเบียได้ โดยมีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. 2565 ที่ผ่านมา ทั้งไก่แช่เย็น ไก่แช่แข็ง และไก่แปรรูป จาก 11 โรงงาน ซึ่งถือเป็นข่าวดีอย่างมาก หลังจากไม่ได้ส่งออกไก่ไปซาอุฯ มายาวนานถึง 18 ปี

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ถือเป็นข่าวดีด้านการส่งออกปศุสัตว์ไทยอย่างยิ่ง เป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ปี 2565 ของความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบียอีกครั้ง เพราะ SFDA แจ้งผลการพิจารณาว่า จะยกเลิกการห้ามนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากประเทศไทย โดยภายหลังจบการหารือทางเว็บไซต์ SFDA ได้เปลี่ยนสถานะการนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากประเทศไทย จาก “Banned” เป็น “Permitted โดย 11 โรงงาน มีดังนี้
GFPT PUBLIC COMPANY LIMITED
BANGKOK RANCH PUBLIC CO, LTD
SKY FOOD CO. LTD
CENTRAL POULTRY PROCESSING CO, LTD
SUN FOOD INTERNATIONAL CO., LTD
และ 6-11 โรงงาน ได้แก่ CPF (THAILAND) PUBLIC COMPANY

และในวันนี้ 28 มีนาคม 2565 นี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน และคณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมยินดีในการส่งออกไก่แปรรูป “ตู้ปฐมฤกษ์” ของไทย ไปซาอุดิอาระเบีย ที่โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ซีพีเอฟ (มีนบุรี 2)

“วันนี้ส่งมอบไก่ล็อตแรกไปยังประเทศซาอุฯ เป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี ตั้งแต่ปี 2547 และเดือนนี้คาดว่าจะส่งออกได้ 600 ตัน มูลค่า 47 ล้านบาท และภายในสิ้นปีจะส่งออกได้ 300 ตู้ ปริมาณ 6,000 ตัน มูลค่า 400-500 ล้านบาท และคาดว่าเราจะสามารถทำได้ถึง 60,000 ตัน ภายใน 5 ปี หรือมูลค่า 4,200 ล้านบาท ทั้งไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปที่ผ่านกระบวนการมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัดตามหลักศาสนาอิสลาม ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ กล่าว

“ช่วงที่ผ่านมา ซาอุดิอาระเบียนำเข้าไก่จากประเทศบราซิล 75% และนำเข้าจากยูเครนและฝรั่งเศส 25% จากนี้ไปตนคิดว่า ไก่จากประเทศไทยจะเป็นตลาดสำคัญที่ซาอุดิอาระเบียจะนำเข้าในอนาคต โดยปี 64 เราส่งออกไก่ไปทั่วโลกประมาณ 900,000 ตันนำเงินเข้าประเทศประมาณ 100,000 ล้านบาท และปี 65 ตั้งเป้าว่าจะทำได้ 980,000 ตัน การส่งออกไก่ไปซาอุฯ ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าการส่งออกและเพิ่มตัวเลขการส่งออกไก่ของไทยด้วย” นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กล่าวเพิ่มเติม

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศระบุว่า ประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงมีประชากรมากถึง 35.6 ล้านคนและมีสัดส่วนการนำเข้าอาหารสูงที่สุดในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Corporation Council) และปัจจุบันซาอุดิอาระเบียนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่จากทั่วโลกเฉลี่ยปีละ 6.5 แสนตัน โดย 70% เป็นการนำเข้าไก่สดทั้งตัวและ 30% เป็นการนำเข้าไก่ชำแหละและไก่แปรรูป ผู้บริโภคซาอุดิอาระเบียมีอัตราการบริโภคเนื้อไก่ 45 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือทั้งประเทศที่ 1.5 ล้านตันต่อปี

สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169

‘METTLER TOLEDO’ เสริมความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพ ด้วยโปรแกรมสัมมนาออนไลน์ประจำเดือนเมษายน 2565

เมทเล่อร์-โทเลโด ประเทศไทย คัดสรรและรวบรวมมาให้คุณแล้วกับงานสัมมนาออนไลน์ ประจำเดือนเมษายน 2565 โดยขอแนะนำ 3 หัวข้อพิเศษ ที่จะมาช่วยเสริมความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยทั้ง 3 หัวข้อที่จัดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับ เครื่องมือวิเคราะห์ออนไลน์/อินไลน์ (Process Analytics) เครื่องมือวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (Laboratory) และเครื่องชั่งน้ำหนักบนสายพานลำเลียง (Checkweigher) ซึ่งในเนื้อหาสัมมนาที่ได้จัดเตรียมไว้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับทุกอุตสาหกรรมที่มีการใช้เครื่องมือชนิดดังกล่าว และในสัมมนาทุกๆ รอบได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญและความชำนาญด้านเครื่องมือชนิดนั้นๆ ที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนานมาเป็นผู้บรรยายและตอบข้อซักถามในช่วง Q&A ให้ทุกท่านอย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้ยังมีกิจกรรมมากมายเพื่อให้ทุกท่านได้ร่วมสนุกลุ้นชิงรางวัลภายในงานอีกด้วย

หากท่านใดสนใจโปรแกรมงานสัมมนาออนไลน์ของเมทเล่อร์-โทเลโด สามารถสแกน QR Code เพื่อลงทะเบียนสำรองสิทธิ์การเข้าร่วมสัมมนาตามหัวข้อที่ท่านสนใจ หรือสามารถติดตามข้อมูลทาง Line Official Account @mtth, www.mt.com, และทุกช่องทางของ Food Focus Thailand
Link: https://www.mt.com/th/th/home/search/events.html#-249136207(3=true&page=1&products=/products/Process-Analytics)

บีโอไอปรับมาตรการส่งเสริมลงทุนภาคเกษตร ผลักดันไทยก้าวสู่ Bio Hub ในภูมิภาค

บอร์ด บีโอไอ ไฟเขียวมาตรการส่งเสริมการลงทุนภาคเกษตร ผลักดันไทยก้าวสู่ Bio Hub

ในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมศูนย์การค้าผลผลิตทางการเกษตรระบบดิจิทัล ตั้งนิคมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ทบทวนการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย

Continue reading “บีโอไอปรับมาตรการส่งเสริมลงทุนภาคเกษตร ผลักดันไทยก้าวสู่ Bio Hub ในภูมิภาค”

CytoQuant® – Immediate Verification of Cleaning & Disinfection Procedures

Romer Labs, a leading provider of diagnostic solutions for the agricultural, food and feed industries, is announcing the global launch of CytoQuant®, the world’s first mobile flow cytometer. Powered by impedance flow cytometry, CytoQuant® quantifies bacteria and residues on surfaces in 30 seconds, giving food producers instant and actionable information about the efficacy of their cleaning, disinfection and sanitation program.

The food production environment, including equipment for processing food, is known to be a principal source of microbiological contamination. While non-pathogenic bacteria can affect the shelf life and quality of food, pathogens such as Salmonella and Listeria can cause severe illness and even death in humans. Traditional methods of hygiene control, such as the use of agar plates, are time-consuming and can take days to return results. ATP methods, while fast, do not directly detect bacteria. CytoQuant® unites the best of both worlds, enabling the immediate and direct quantification of bacteria and residues without being influenced by factors such as temperature and the presence of disinfectants.

CytoQuant® relies on impedance flow cytometry, a technology that uses electrical impedance to measure the characteristics of cells and particles. Equipped with precise measurements, food producers can respond appropriately according to their HACCP plan.

CytoQuant® brings the power of flow cytometry to the convenience of a hand-held device. CytoQuant® enables the immediate, on-site verification of cleaning procedures in food production facilities or other areas where hygiene is crucial by directly quantifying bacteria and residues on surfaces. Using impedance flow cytometry, CytoQuant® measures bacteria and residue concentrations on surfaces. Separate, precise counts for each are provided in 30 seconds, without the need for pre-treatment, incubation, or chemical reagents.

CytoQuant® is easy to use and does not require a lab or special training.

CytoQuant®: Features and Benefits

• Direct quantification of bacteria and residues enables proper verification of both cleaning and disinfection procedures (IFS 7.1).
• Results in 30 seconds allow for preventive control and pre-operational actions.
• Measurements are not influenced by disinfectants or temperature reducing result variability.
• Simple test procedure does not require a lab or special training.
• Simple connectivity allows you to save, export and document test results with ease.

Learn more at cytoquant.com 

For a free demo and enquiries on how your business can benefit from CytoQuant®, contact us at salesasia@romerlabs.com.

บีโอไอ ส่งเสริมไทยสู่ยุค Future Food หนุนเป็น ‘ซิลิคอน วัลเลย์ อาหารแห่งอนาคต’

Future Food หรืออาหารแห่งอนาคต คืออาหารที่ผลิตด้วยการใช้องค์ความรู้ที่หลากหลายแขนง ร่วมกับการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เพราะอาหารกลุ่มนี้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากกว่า เนื่องจากในปัจจุบันผู้บริโภคมีความต้องการอาหารต่างจากอดีต ไม่ว่าจะเป็นการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สวัสดิภาพสัตว์ และประเด็นอื่นๆ ที่มองไปไกลกว่าแค่การเป็นอาหารเพียงอย่างเดียว โดยสถาบันอาหาร ภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้แบ่งอาหารแห่งอนาคต 4 ประเภท ได้แก่

1. อาหารอินทรีย์ – ปัจจุบันได้รับความสนใจอย่างมาก เช่น ผักปลอดสารพิษ หมูที่ปราศจากจากสารเคมีในการเลี้ยง
2. อาหารเสริมสุขภาพหรืออาหารฟังก์ชัน – เป็นอาหารที่ให้คุณประโยชน์แก่ร่างกาย เช่น ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ชะลอการเสื่อมโทรมของอวัยวะ เป็นต้น
3. อาหารทางการแพทย์ – อาหารเพื่อบำบัดผู้ป่วย เช่น อาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการกลืน
4. อาหารที่ผลิตขึ้นใหม่จากนวัตกรรม – อาหารที่ผลิตใหม่ เช่น โปรตีนทางเลือกจากพืช เป็นต้น Continue reading “บีโอไอ ส่งเสริมไทยสู่ยุค Future Food หนุนเป็น ‘ซิลิคอน วัลเลย์ อาหารแห่งอนาคต’”

คาดการณ์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของไทยปี 2565 ‘ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นสวนทางกับกำลังซื้อที่ลดต่ำลง’


Continue reading “คาดการณ์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของไทยปี 2565 ‘ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นสวนทางกับกำลังซื้อที่ลดต่ำลง’”

‘ไทยวา’ พร้อมเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารระดับภูมิภาค โดยมุ่งเน้นด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน

บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) หนึ่งในบริษัทแป้งมัน และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทางด้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ได้ประกาศความสำเร็จในปี 2564 ด้วยยอดขายกว่า 9,105 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 จากปี 2563 ส่งผลให้คณะกรรมการได้อนุมัติเงินปันผลรวมมูลค่าทั้งหมด 190 ล้านบาท ณ โรงแรมบันยันทรี กรุงเทพ ห้องบอลรูม ชั้น 10 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา

นายโฮ เรน ฮวา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไทยวาเผชิญกับความท้าทายเช่นกัน โดยสิ่งหนึ่งที่สำคัญของเราคือการรักษาคนของเราให้ปลอดภัย  อย่างไรก็ตามผลประกอบการของบริษัทฯ ในปี 2564 ถือว่าแข็งแกร่งมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับใช้นวัตกรรมเพื่อลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาสินค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การบริหารการขายและการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯ มียอดขายรวมอยู่ที่ 9,105 ล้านบาทแบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจแป้งมันสำปะหลัง 4,422 ล้านบาทหรือร้อยละ 49 รายได้จากธุรกิจแป้งมันสำปะหลังมูลค่าเพิ่ม (HVA) 2,910 ล้านบาท หรือร้อยละ 32  และรายได้จากธุรกิจอาหาร 1,767 ล้านบาท หรือร้อยละ 19 โดยมีสัดส่วนรายได้จากในประเทศคิดเป็นร้อยละ 83 และรายได้จากต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 17 เรายังคงมุ่งมั่นส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพให้กับลูกค้าทั้งในรูปแบบ B2B และ B2C ทั่วโลก ผ่านแบรนด์สินค้าอย่าง มังกรคู่ กิเลนคู่ และโรส อย่างต่อเนื่อง สำหรับการทำตลาดในต่างประเทศ ไทยวาได้ทำการส่งออกสินค้าไปแล้วทั่วโลก โดยมีโรงงานและสำนักงานทั้งหมด 15 แห่ง ตั้งอยู่ในประเทศไทย 9 แห่ง ประเทศเวียดนาม 3 แห่ง และยังมีสำนักงานตั้งอยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศกัมพูชา และประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป้าหมายของบริษัทฯ คือการก้าวเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ตั้งเป้าเพิ่มรายได้เป็น 10,000 ล้านบาทในปี 2565

ในส่วนของแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2565 เราจะมุ่งเน้นไปในการขับเคลื่อนธุรกิจที่มีความยั่งยืน และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมของสินค้าที่ทางบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่ระดับสากล นอกจากนี้บริษัทฯ มีการต่อยอดธุรกิจ ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติ หรือไบโอพลาสติก ภายใต้แบรนด์ ROSECO ซึ่งผลิตมาจากแป้งมันสำปะหลัง และสามารถนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ เช่น ภาชนะบรรจุอาหาร บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ ในปีนี้เรามีแผนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่เพิ่มอีก 8-10 รายการเช่น ผลิตภัณฑ์ส่วนผสมที่ปราศจากกลูเตน (gluten free) และโซลูชันด้านอาหาร

บริษัทฯ ยังมุ่งขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องด้วยทุนกว่า 2,000 ล้านบาท ผ่านไทยวาเวนเจอร์ (Thai Wah Ventures) เพื่อลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัป หรือธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง เพื่อต่อยอดและพัฒนาสินค้าเกษตร ที่สามารถช่วยเสริมการเติบโตของธุรกิจหลักได้ ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นวัตกรรมด้านฟาร์มและเทคโนโลยีการเกษตร การวิเคราะห์ข้อมูลตลอดห่วงโซ่อุปทานสำหรับธุรกิจในรูปแบบ B2B พลาสติกชีวภาพและการจัดการของเสียจากกระบวนการผลิต และส่วนผสมในอาหารและเทคโนโลยีการแปรรูปแบบใหม่ๆ ภายในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควบคู่ไปกับการสร้างการเติบโตอย่างมั่นคงให้ธุรกิจในเครือของบริษัทฯ ให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

 

“เรายังมุ่งที่จะขยายตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการขยายฐานการผลิตและการส่งออก รวมถึงการขยายฐานผู้บริโภคให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ผ่านนวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร ทั้งนี้เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน สร้างความมั่นคงทางอาหารและความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการสร้างคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน  ในปี 2564 เราสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง และมั่นใจว่าจะสามารถรักษาการเติบโตต่อไปได้อีกในปี 2565 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เป็นปีที่เราครบรอบ 75 ปี และยังคงมุ่งมั่นที่จะก้าวต่อไปเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ด้วยเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของไทยวา”  นายโฮ เรน ฮวา กล่าวทิ้งท้าย