สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ผนึกกำลัง ซีพีเอฟ-เบทาโกร-ไทยฟู้ดส์ ป้องอหิวาต์แอฟริกาในสุกร สร้างศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อยานพาหนะสำหรับขนส่งปศุสัตว์ให้รัฐ 5 ด่านกักสัตว์ชายแดน

กรุงเทพฯ – นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า สมาคมฯ ร่วมมือกับภาคเอกชนทั้ง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ บริษัท เบทาโกร จำกัด และบริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever; ASF) แก่ด่านกักกันสัตว์ในพื้นที่เสี่ยงที่ติดกับชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยการสร้างศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อยานพาหนะสำหรับขนส่งปศุสัตว์ที่ด่านกักสัตว์ชายแดนใน 5 จังหวัดเป้าหมาย เพื่อสร้างปราการป้องกันโรค ASF ไม่ให้เข้ามาทำลายภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของประเทศไทยได้อย่างเด็ดขาด

ทั้งนี้ สมาคมฯ รับผิดชอบสร้างโรงชำระล้างฯ บริเวณริมทางหลวงใกล้ด่านกักกันสัตว์ จ.หนองคาย ซึ่งสมาคมฯ ได้ขอพื้นที่ริมถนนจากกรมทางหลวง การก่อสร้างใช้วงเงิน 1 ล้านบาทเศษ โดยให้กรมปศุสัตว์รับผิดชอบดำเนินการต่อไป ส่วนซีพีเอฟ รับผิดชอบสร้าง 2 จุด ที่ด่าน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย และด่าน จ.มุกดาหาร สำหรับเบทาโกรรับผิดชอบสร้างที่ด่านกักกันสัตว์ จ.นครพนม และไทยฟู้ดส์ รับผิดชอบสร้างที่ด่านปอยเปต จ.สระแก้ว

“การที่ภาคเอกชนร่วมกันลงขันสร้างศูนย์ทำความสะอาด พร้อมติดตั้งเครื่องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในครั้งนี้ เกิดจากความตื่นตัวและร่วมมือกันสกัดกั้นโรค ASF อย่างเต็มที่ โดยดำเนินควบคู่ไปกับการเข้มงวดในการบริหารจัดการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ยกเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมขออนุมัติงบประมาณบูรณาการป้องกันโรคนี้ให้ดียิ่งขึ้น วันนี้แม้โรคจะยังไม่เข้าสู่ไทย ก็ยิ่งต้องเพิ่มความเข้มงวดให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้อุตสาหกรรมสุกรของไทยตลอดห่วงโซ่ที่มีมูลค่าถึง 2 แสนล้านบาท ได้รับความเสียหาย และขอย้ำว่าโรคนี้ติดต่อเฉพาะสุกรเท่านั้น ไม่ติดต่อคนและสัตว์อื่น ผู้บริโภคสามารถรับประทานเนื้อสุกรได้ 100%” นายสุรชัย กล่าวและเสริมว่า โรคดังกล่าวต้องมีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ในระดับสูง เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการสัมผัสเชื้อ โดยต้องพ่นยาฆ่าเชื้อรถบรรทุกปศุสัตว์ รถขนส่งวัตถุดิบ ฯลฯ ทั้งขาเข้าและภายหลังจากส่งออกที่ชายแดน รวมถึงการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้ออุปกรณ์บรรทุกและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ระยะเวลาขั้นต่ำ 30 นาที นอกจากนี้ ภาครัฐยังต้องกวดขันการลักลอบนำเข้า “หมูกี้” สำหรับทำหมูหัน จากเวียดนาม ผ่าน สปป.ลาว แล้วเข้าชายแดนไทย เพราะอาจเป็นพาหะแพร่กระจายโรคนี้ได้ ขณะที่ด่าน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย จะต้องเข้มงวดตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากสุกรที่ติดเข้ามากับรถบรรทุกจากประเทศจีน รวมถึงรถนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาในไทยผ่านช่องทางดังกล่าวด้วย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ดีเคเอสเอช เปิดตัวศูนย์ความเป็นเลิศ ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) ด้านวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์

กรุงเทพฯ, 4 มีนาคม 2562 – คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับศูนย์ความเป็นเลิศ ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) ด้านวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ (DKSH Center of Excellence in Analytical Science at MUSC) ซึ่งเป็นศูนย์รวมเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ที่ครบครันที่สุดแห่งใหม่ภายใต้ บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด สู่การเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ VentureClub@MUSC ซึ่งเป็นโครงการที่สนองนโยบาย Thailand 4.0 สร้าง Ecosystem ในการส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรสามารถสร้าง Deep Tech Startup ขึ้น รวมทั้งเป็นการสร้างมิติในการทำวิจัยร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคเอกชน ก่อให้เกิดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่อไป และเพื่อให้ครบวงจรในการสร้างนวัตกรรม รวมถึงการทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในภาคอุตสาหกรรมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบและตัวอย่างต่างๆ ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีขั้นสูงที่ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตอบโจทย์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และแก้ไขปัญหาเชิงอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นจุดแข็งและความชำนาญของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด ดังนั้น จึงมีการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ขึ้นในโครงการ VentureClub@MUSC นี้ ซึ่งมีพิธีเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 มีนาคม 2562 เวลา 9.00-11.30 น. โดยได้รับเกียรติจากคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ และคุณมาโค่ ฟารีน่า ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สายธุรกิจเครื่องมือวิทยาศาสตร์ บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมเป็นประธานในพิธีพร้อมกล่าวเปิดงาน กล่าวรายงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร โอสถจันทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ ก่อนจะพาผู้เข้าร่วมงานทุกท่านเยี่ยมชมภายในศูนย์แห่งใหม่นี้

การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศฯ ดังกล่าว เป็นความร่วมมือของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำในการให้บริการด้านการขยายตลาดในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียมาแล้วกว่า 150 ปี เป็นการเพิ่มความสามารถในการบริการด้านโซลูชันการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น ทั้งแก่ลูกค้า ผู้ที่สนใจ และบุคลากรทางการศึกษาต่างๆ ตลอดจนเป็นการสนองนโยบายของภาครัฐในการจัดตั้งโครงการ Yothi Medical Innovation District ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธีอีกด้วย โดย บริษัท ดีเคเอสเอช เห็นสมควรว่า เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย รายได้ส่วนหนึ่งจากการให้บริการจะคืนกำไรให้สู่สังคม โดยบริจาคกลับมาทางคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นทุนการศึกษาหรือเงินทุนพัฒนาศักยภาพของเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาวิจัยของนักศึกษาต่อไป

ศูนย์ความเป็นเลิศ ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) ด้านวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ ตั้งอยู่ที่อาคาร VentureClub@MUSC คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ภายในอาคารนอกจากจะมีพื้นที่สำหรับการจัดตั้ง Startup แล้ว ยังมีพื้นที่เพื่อรองรับการจัดกิจกรรมประเภทอื่น เช่น การสัมมนา การอบรม การฝึกปฏิบัติได้อีกด้วย ผู้ที่สนใจเยี่ยมชมศูนย์ความเป็นเลิศฯ และ โครงการ VentureClub@MUSC สามารถติดต่อได้ที่งานพันธกิจพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หมายเลขโทรศัพท์ 0 2201 5707

ไทย-ฮ่องกง ปักหมุดหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลได้เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ภายหลังความสำเร็จจากการเยือนเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เมื่อเมษายน 2560 และมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจและการค้าการลงทุนระหว่างไทยและฮ่องกง  โดยรัฐบาลให้การต้อนรับนางแครี่ หล่ำ (Carrie Lam)  ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง พร้อมด้วยคณะภาครัฐและเอกชน ที่เดินทางมาไทยในระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2562 และได้ใช้โอกาสนี้ในการเปิดสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกง หรือ Hong Kong Economic and Trade Office (HKETO) ที่กรุงเทพฯ ซึ่งสะท้อนว่าฮ่องกงได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของไทยในการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน จึงได้ให้ความสำคัญในการเข้ามาเปิดสำนักงาน HKETO ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศไทยในด้านการค้าและการลงทุนในสายตาของผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างประเทศ และจะส่งผลดีต่อการขยายการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ ตามมา และหลังจากการเยือนในครั้งนี้ ทางฝ่ายฮ่องกงจะได้มีการจัดคณะผู้แทนการค้าจากภาครัฐและเอกชน เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2562 ตามลำดับ

ทั้งนี้ ไทยยังได้ใช้โอกาสนี้ ในการหารือกับฮ่องกง เพื่อขยายความร่วมมือทางด้านการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยฮ่องกงจะมองไทยในฐานะ Gateway เข้าสู่อาเซียน และไทยจะใช้ฮ่องกง เป็นประตูเจาะเข้าสู่ตลาดจีน ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (ASEAN – Hong Kong Free Trade Agreement: AHKFTA) และความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างอาเซียน-ฮ่องกง (ASEAN – Hong Kong Investment Agreement: AHKIA) ซึ่งเริ่มเจรจามาตั้งแต่ปี 2557 กำลังจะมีผลบังคับใช้ในกลางปี 2562 รวมทั้ง การใช้ประโยชน์จาก Greater Bay Area หรือ GBA ที่เป็นเขตเศรษฐกิจเชื่อมฮ่องกง มาเก๊า และเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงในมณฑลกวางตุ้งรวม 11 เมือง ที่เชื่อมฮ่องกงในฐานะ Super Connector กับเส้นทางสายไหม (Belt & Road Initiative : BRI) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐานของจีน และสามารถเชื่อมโยงด้านการค้าการลงทุนเข้ากับเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของไทย ซึ่งรัฐบาลไทยมุ่งหวังให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน ดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ หรือ S-Curve ทั้งจากไทยและต่างประเทศ เพื่อรองรับกับการเติบโตของเศรษฐกิจสู่การเน้นวิทยาการและนวัตกรรมและนำพาประเทศไทยไปสู่ยุค 4.0 โดยเฉพาะสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงและธุรกิจบริการ และรัฐบาลยังได้ผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างเอเชียตะวันออก – อาเซียน – เอเชียใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและเป็นที่สนใจของนานาประเทศ รวมถึงเพื่อรองรับการขยายตัวทางการค้าทั้งแบบดั้งเดิมและการค้าขายออนไลน์ (E-Commerce) ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย

นอกจากนี้ ในปี 2562 ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนและได้ประกาศแนวคิดหลัก คือ “Advancing Partnership for Sustainability” หรือ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” ซึ่งบ่งบอกถึงทิศทางการขับเคลื่อนอาเซียนที่ในด้านความยั่งยืน ความเชื่อมโยง และการมองไปสู่อนาคต บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันทั้งภาคีภายนอกภูมิภาคและประชาคมโลก ฮ่องกงจึงถือเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่สำคัญของทั้งภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย

นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการเดินทางมาครั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จะจัดกิจกรรมคู่ขนานการสร้างความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจไทย – ฮ่องกง (Thai – Hong Kong Strategic Partnership) ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว โดยได้รับเกียรติจากรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) และ ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (นางแครี่ หล่ำ) กล่าวปาฐกถาพิเศษ ก่อนมีการลงนาม MOU ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย ความร่วมมือด้านการพัฒนา Start Up และ การจัดตั้ง Smart City ซึ่งเป็นผลมาจากการขับเคลื่อนและประสานงานของกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1)  Innospace (Thailand) กับ HKTDC 2) Innospace (Thailand) กับ Hong Kong Cyberport 3) Innospace (Thailand) กับ Ho & Partners Architects Engineers & Development Consultants Limited  (HPA) และฉบับที่ 4 เป็นการลงนามระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)  กับ HKTDC เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสด้านการลงทุน และการจัดกิจกรรมชักจูงการลงทุนระหว่างทั้งสองฝ่าย

ภายหลังการลงนาม MOU จะมีการจัดเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา Start Up และขยายลู่ทางการค้า การลงทุน โดยผู้บริหารชั้นนำจากหน่วยงานของฮ่องกง ได้แก่ Hong Kong Productivity Council, Hong Kong Cyberport และ HPA รวมทั้งการเสวนาเรื่องโอกาสการค้า การลงทุนของไทยในฮ่องกง โดยอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

ฮ่องกงถือเป็นคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียน ในปี 2018 มีมูลค่าการค้าระหว่างกันถึง 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 11 ฮ่องกงถือเป็นคู่ค้าอันดับที่ 9 และเป็นนักลงทุนอันดับที่ 5 ของไทย และคาดว่ามูลค่าการส่งออกไทย-ฮ่องกงในปี 2561 จำนวน 12,563 ล้านเหรียญสหรัฐ จะสามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 12 ในปี 2562

 

Annatto Color Certified Organic for IFF’s Frutarom Division

NEW YORK, N.Y.,

 

With consumer demand for fair trade, sustainable and organic products growing fast, Frutarom Natural Solutions Ltd., a division of International Flavors & Fragrances Inc. (NYSE:IFF) (Euronext Paris: IFF) (TASE: IFF), has received organic certification for that its natural annatto color. The ingredient was granted organic certifications from both the U.S. Department of Agriculture and The European Organic Certifiers Council. Annatto seeds and extracts have been used for more than a century in Europe and North America to provide a yellow to reddish color to foods and beverages, thus becoming the second most economically important natural colorant worldwide.

 

To support the certification, Frutarom registered and trained more than 50 annatto seed farmers in the Quillabamba Valley in Cuzco, Peru and in Codo del Pozuzo in Puerto Inca, Peru. The division also meets all organic regulations while ensuring fair salaries to the growers. Frutarom maintains full traceability on the growing and harvesting processes to provide a pure, organic annatto color.

 

“Organic colors are an integral part of the established clean label trend, meaning that the colors support our customers’ efforts to satisfy consumer needs,” says Yoni Glickman, President, Natural Product Solutions of IFF Frutarom “Organic certification has become the standard of the industry, especially as it involves all aspects of growing, harvesting, extracting, and maintaining full traceability of the ingredient, from seed to final product.”

 

Frutarom has carefully selected agricultural land free of prohibited chemical inputs for its Natural Solutions Products business. The farmers it works with use non-GMO seeds, and do not use synthetic fertilizers, antibiotics, pesticides, or hormones. “It is all about caring and staying loyal to consumers’ expectations for better-for-you products that are also eco-friendly and help us to protect the environment,” notes Ilanit Bar-Zeev, VP, Natural Product Solutions of IFF Frutarom.

 

 

Frutarom works to create natural and organic solutions that are affordable and accessible to the marketplace. “There is a delicate balance in providing natural, organic color with responsible sourcing, while still keeping it cost effective,” explains Bar-Zeev.  Frutarom is committed to expanding its portfolio of better-for-you and better-for-the-Earth ingredients that manufacturers and consumers can trust.

 

www.iff.com

 

Zero Caffeine — Maximum Energy Six-calorie Fit4style Spray n Go Boosts Real-time Sports Performance

Caesarea, Israel—Matok V’Kal, Ltd., launches its new, user-friendly, six-calorie solution to help boost stamina during high-endurance workouts and sports activities.

Revving up sports nutrition, Matok V’Kal Ltd. has created a new category for on-the-go sports nutrition sector with its launch of Fit4style™ Energy Spray. The quick-shot mint-flavored spray is composed of a refreshing formula that gives an extra energy kick to consumers with active lifestyle and to fitness enthusiasts engaged in high-endurance sports. Fit4style energy spray can help maintain stamina for up to 75 minutes, without caffeine and with only six calories.

The innovative oral energy spray comes in a fashionable convenient-to-carry reusable package in either blue or red. It can be clipped to any garment for easy access during running or any other sport activity. All one needs to do is spray it in the mouth to receive a boost of energy.

The minimal calorie count means Fit4style Energy Spray also won’t stress the digestive system during a workout.

The new product contains peppermint extract, which not only contributes a refreshing flavor but contributes to the energy increase. This is based on a double-blind clinical study showing that oral ingestion of peppermint oil incurs instant effects on physiological parameters and exercise performance after 5 minutes, with incremental improvement after one hour.

https://fit4.style/en

Synergy Flavours Expands Thai Manufacturing Hub to Fulfil Increasing Demand

Samut Prakan, 26 February 2019 – Leading international flavour company, Synergy Flavours, a division of Carbery Group, has doubled the size of its Thai operation to meet growing demand for its innovative flavour solutions in Asia-Pacific. Recent expansion at the site in Samut Prakan, has included an additional 2500m2 of space, including 1,500m2 dedicated to manufacturing, plus the creation of five new sensory labs. The additional space will accommodate more than double the current workforce, with investment in human resources across all departments being made over the coming months and years. Further investment in GC/MS analytical equipment will be made in 2019, enhancing local capability.

Entering the South East Asian market in 2008, Synergy’s parent company made further investments in 2013, opening the manufacturing facility in Bangkok. Since then, sales have increased dramatically, with the operation now servicing a growing number of countries beyond South East Asia, including New Zealand, Pakistan, Myanmar and India.

The Thai facility produces sweet and savoury flavours, as well as seasonings in liquid and powder formats. The dairy flavour and lactic yeast extract range from Synergy’s Dairy Taste production facility in Ireland is also warehoused and distributed from Thailand. Through its parent company, Carbery, Synergy has a unique dairy heritage that has inspired an authentic and popular range of cheese, butter and milk flavours, which deliver a fuller and creamier taste to a variety of end products.

Customers in Thailand and across the region can benefit from specialist Asian creation and applications support across categories including beverage, bakery, confectionery, savoury, and dairy.

Geoff Allen, Managing Director, Synergy Flavours (Thailand) Ltd., commented: “Customers rely on us for our technical capabilities, responsiveness and dairy expertise, which all help to ensure we stand out in the dynamic and exciting food and beverage markets of the region. Our global footprint and capabilities are also invaluable and help fuel our continued success.

“An example of an exciting flavour innovation that has captured the attention of the region is our Hokkaido-type milk flavour. By analysing real Hokkaido milk using gas chromatography, we developed a flavour mimicking the profile at our UK facility. We were then able to use our dairy expertise in Ireland to develop a milk flavour that also builds in mouthfeel and creaminess in a variety of applications such as biscuits, cheese and bakery applications. We now sell this product right across Asia to create many on-trend products.”

Steve Morgan, CEO of Synergy Europe & Asia, comments. “Since 2013, we have established a strong and sustainable local business in South East Asia, with a talented team of experts in every discipline. Demand for our quality flavouring solutions across the whole region is booming thanks to their versatility across applications. Synergy’s ability to invest further to meet growing demand reflects this hard work. With export accounting for 60% of sales from the site, our ability to scale-up and serve a broader customer base in the region is going to be key to achieving our growth plans.”

Synergy Flavours Thailand has commercial representation elsewhere across the region, with partners in Indonesia, Malaysia, The Philippines, Taiwan, China, Japan, Australia, New Zealand and Pakistan.

เอ็นไอเอ ผนึกไทยยูเนียนฯ – ม.มหิดล ผุดสเปซ-เอฟ “บิ๊กเซ็นเตอร์ปั้นฟู้ดสตาร์ทอัพระดับโกลบอล” แห่งแรกของไทย พร้อมเสิร์ฟสู่ตลาดโลก

 

กรุงเทพฯ, 4 กุมภาพันธ์ 2562 – สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือ “โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหาร (Foodtech Incubator & Accelerator Program; FIAP)” ภายใต้ชื่อ “SPACE-F” เพื่อบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นด้านธุรกิจนวัตกรรมอาหาร (FoodTech Startup) ตลอดจนเร่งรัดการเติบโตทางธุรกิจสู่ตลาดเอเชีย รวมทั้งยังเป็นแพลตฟอร์มกลางที่ช่วยเชื่อมโยงวิสาหกิจเริ่มต้นด้านธุรกิจนวัตกรรมอาหารเข้ากับผู้เล่นที่สำคัญในระบบนิเวศ เช่น องค์กรภาครัฐ บริษัทขนาดใหญ่ นักลงทุน และสถาบันการศึกษา

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า NIA ได้เล็งเห็นถึงโอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การส่งออก การบริการ การแปรรูป รวมถึงการเป็นที่ยอมรับในแวดวงระดับโลก โดยบริบทเหล่านี้เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการนำไปต่อยอดธุรกิจหลายแขนง ทั้งกลุ่มวิสาหกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี รวมทั้งวิสาหกิจเริ่มต้น (สตาร์ทอัพ) ที่ขณะนี้จำเป็นจะต้องเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการหันมาประยุกต์ใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และธุรกิจ นอกจากนี้ ยังจะต้องเปลี่ยนการแข่งขันจากรูปแบบเดิมๆ มาเป็นการแข่งขันด้วยไอเดียและความแตกต่าง ซึ่งการผลักดันกระบวนการเหล่านี้ถือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมอาหารไทยมีศักยภาพและความยั่งยืนมากขึ้น

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวต่อว่า ล่าสุด NIA ในฐานะผู้เชื่อมโยงระบบนวัตกรรมของประเทศ และผู้ขับเคลื่อนแพลตฟอร์มสตาร์ทอัพไทยแลนด์ ได้เล็งเห็นถึงโอกาสและความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมอาหาร และ FoodTech Startup จึงดำเนินความร่วมมือกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ริเริ่มและดำเนินการพัฒนา FoodTech Incubation and Acceleration Program ภายใต้ชื่อ “SPACE-F: สเปซ-เอฟ” โดยเน้นใน 9 ด้าน ได้แก่ 1. อาหารเพื่อสุขภาพ (Health & Wellness) 2. โปรตีนทางเลือก (Alternative Proteins) 3. กระบวนการผลิตอาหารอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) 4. บรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต (Packaging Solutions) 5. ส่วนผสมและอาหารใหม่ (Novel Food & Ingredients) 6.วัสดุชีวภาพและสารเคมี (Biomaterials & Chemicals) 7. เทคโนโลยีการบริหารจัดการร้านอาหาร (Restaurant Tech) 8. การตรวจสอบควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร (Food Safety & Quality) และ 9. บริการอัจฉริยะด้านอาหาร (Smart Food Services) โดย NIA ตั้งเป้าว่า โครงการ SPACE-F นี้จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มจำนวนวิสาหกิจเริ่มต้นด้านธุรกิจนวัตกรรมอาหารในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 60 ราย ภายในระยะเวลา 3 ปี ตลอดจนตอกย้ำภาพลักษณ์การเป็น “ครัวโลก” และรักษาขีดความสามารถอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยให้ดีได้ยิ่งกว่าเดิม
ด้านนายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไทยยูเนี่ยนในฐานะบริษัทผู้ประกอบการด้านอาหารทะเลระดับโลก นอกจากเราจะมุ่งมั่นกับการพัฒนาบุคลากรแล้ว เรายังให้ความสำคัญด้านนวัตกรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะเราเชื่อว่านี่คือพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างอนาคตของอุตสาหกรรมอาหารทะเล และยังเป็นความแข็งแกร่งของบริษัทในการเดินหน้าสู่ความสำเร็จบนเวทีธุรกิจอาหารโลก เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ไทยยูเนี่ยนได้ริเริ่มความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยนขึ้นที่ประเทศไทย เพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาทั้งในแง่เทคโนโลยี การผลิตและผลิตภัณฑ์ของบริษัทในเครือทั่วโลก วันนี้เรามีความยินดีที่ได้สนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นด้านธุรกิจนวัตกรรมอาหาร ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า SPACE-F จะเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

ขณะที่ รศ. ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า Tech-based startup ทั้งหลายล้วนเกิดจากนวัตกรรมที่มาจากงานวิจัย โดยแนวคิดนี้เริ่มเป็นที่คุ้นเคยของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ซึ่ง Ecosystem ของสถาบันการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมจากการวิจัย ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง SPACE-F เพื่อสร้าง FoodTech startup ผลักดันการสร้างนวัตกรรม และพัฒนาบัณฑิตที่สนใจให้เป็น Enterpreneur ในอนาคต โดยคณะวิทยาศาสตร์จะสนับสนุน Ecosystem ในการทำงานวิจัย อันได้แก่ สถานที่ ห้องปฏิบัติการงานวิจัย นักวิจัย องค์ความรู้ ตลอดจนผลงานวิจัยที่มีอยู่ คณะวิทยาศาสตร์หวังว่าการร่วมมือกันของพันธมิตรทั้ง 3 ฝ่ายจะเพิ่มอัตราความสำเร็จของ Startup เหล่านี้ จนกระทั่งสามารถสร้าง Impact ต่อเศรษฐกิจในระดับประเทศไทยและระดับโลกต่อไป

SPACE-F ตั้งอยู่ในทำเลกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ที่สะดวกต่อการเดินทางทั้งจากสนามบินและการเดินทางเชื่อมต่อไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่อยู่โดยรอบ เช่น กระทรวง โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย/ทดสอบ ฯลฯ จะส่งเสริมให้ SPACE-F เป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมและธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยภายใต้พื้นที่อำนวยความสะดวกกว่า 1,000 ตารางเมตร ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้ถูกจัดสรรให้เป็นพื้นที่สำหรับทำงานร่วมกัน สำนักงานชั่วคราว ห้องประชุม และห้องปฏิบัติการสำหรับการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมอาหาร จะมีการจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตามความจำเป็นและความต้องการของสตาร์ทอัพที่จะเข้ามาใช้บริการพื้นที่ รวมทั้งหลักสูตร บุคลากร และการสนับสนุนทรัพยากรด้านการเงินก็จะถูกรวบรวมไว้ที่นี่อย่างครบครัน

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 0 2017 5555 ต่อ 525 (จิตรภณ) เว็บไซต์ www.nia.or.th หรือ facebook.com/niathailand

เต็ดตรา แพ้ค ร่วมกับ mMilk เปิดตัวขวดกระดาษเจ้าของรางวัลระดับโลกในเมืองไทยเป็นครั้งแรก

กรุงเทพฯ, 31 มกราคม 2562 – เต็ดตรา แพ้ค บริษัทผู้นำเสนอโซลูชันการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารชั้นนำของโลก ร่วมกับ ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม mMilk เปิดตัวบรรจุภัณฑ์ใหม่รุ่นขวดกระดาษ Tetra Top® เจ้าของรางวัลบรรจุภัณฑ์ยอดเยี่ยมระดับโลกเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าสำคัญในวงการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทย การร่วมมือระหว่าง เต็ดตรา แพ้ค และ mMilk ในครั้งนี้ ยังแสดงถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองบริษัทฯ ในการร่วมกันขับเคลื่อนและนำเสนอนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มสู่อนาคต

Tetra Top ขวดกระดาษรุ่นแรกของโลก นอกจากจะถูกส่งผ่านถึงมือผู้บริโภคกว่า 4 พันล้านคนในปีที่ผ่านมา ยังคว้ารางวัลระดับสากล Best Global Packaging Solution จากผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม “JUST Water” ในงาน 2018 Global Bottled Water Congress โดย JUST Water เป็นแบรนด์น้ำดื่มของ เจเดน สมิธ ที่ร่วมก่อตั้งขึ้นกับคุณพ่อนักแสดงภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดชื่อดัง วิลล์ สมิธ โดยทั้งสองมุ่งเป้าตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ให้ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้เลือก Tetra Top ขวดกระดาษรุ่นใหม่ของเต็ดตรา แพ้ค มาเป็นบรรจุภัณฑ์ทางเลือกที่ยั่งยืนเพื่อทดแทนขวดพลาสติกทั่วไป

สำหรับในเมืองไทยแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมอย่าง mMilk เลือกนำเสนอบรรจุภัณฑ์รุ่นนี้สู่มือผู้บริโภคเป็นครั้งแรก mMilk เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากการเป็นผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มที่ปราศจากน้ำตาลแลคโตส และวันนี้ผลิตภัณฑ์ใหม่ของ mMilk หลายชนิด รวมถึงนม A2+ และ Green Milk ได้เลือกใช้ขวดกระดาษ Tetra Top ที่ออกแบบมาให้มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น สะดวกสบายในการดื่มและพกพา รวมทั้งรักษารสชาติและคุณภาพของนมไว้ได้เป็นอย่างดี ขวดกระดาษ Tetra Top สามารถนำไปรีไซเคิลได้ และยังได้รับฉลากมาตราฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน FSC™ (Forest Stewardship Council™) ซึ่งเป็นการรับรองว่าขวดกระดาษนี้ ผลิตจากไม้ในป่าที่มีการบริหารจัดการอย่างรับผิดชอบ

“ผู้บริโภคของ mMilk คือ นักคิดที่มีความพิถีพิถัน พวกเขาต้องการมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ และต้องการดูแลทั้งตัวเองและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน เพราะฉะนั้น เราจึงรู้สึกยินดีที่ได้ร่วมกับเต็ดตรา แพ้ค นำเสนอบรรจุภัณฑ์รุ่นใหม่นี้สู่ผู้บริโภคชาวไทย” คุณอนุวัต บูรพชัยศรี กรรมการบริหาร บริษัท แมรี่ แอน แดรี่ โปรดักส์ จํากัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นม mMilk กล่าว

 

สภาหอการค้าฯ-สภาอุตสาหกรรมฯ-สถาบันอาหาร ชี้ส่งออกอาหารปี 2562 เผชิญปัจจัยเสี่ยง ลุ้นโตตามเป้า 8.5%

 

กรุงเทพฯ – การแถลงข่าวร่วม 3 องค์กรเศรษฐกิจด้านธุรกิจเกษตรและอาหาร โดยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันอาหาร เผยข้อมูลภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทยปี 2561 และแนวโน้มปี 2562 มีตัวแทนหลักของทั้ง 3 องค์กร ประกอบด้วย นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมให้รายละเอียดสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ในการประสานความร่วมมือของ 3 องค์กร ในส่วนของสถาบันอาหารจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินงานของศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร หรือ Food Intelligence Center โดยมีสภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ ร่วมบูรณาการข้อมูล พบว่า การส่งออกอาหารของไทยปี 2561 มีมูลค่า 1,031,956 ล้านบาท หรือมูลค่า 32,190 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และร้อยละ 7.3 ในรูปเงินบาทและดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 385,499 ล้านบาท หรือมูลค่า 11,937 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และร้อยละ 6.2 ในรูปเงินบาทและดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ

สินค้าส่งออกอันดับ 1 ยังคงเป็นข้าว มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 17.5 มูลค่าส่งออก 180,116 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ ไก่ ร้อยละ 10.7 มูลค่าส่งออก 110,116 ล้านบาท อันดับที่ 3 ถึงอันดับที่ 5 คือ น้ำตาลทราย ปลาทูน่าปรุงแต่ง และกุ้ง สัดส่วน ร้อยละ 8.5, 7.1 และ 5.7 ตามลำดับ กลุ่มสินค้าหลักที่มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 มีจำนวน 7 สินค้า ได้แก่ ข้าว (+8.0%) ไก่ (+13.4%) ปลาทูน่าปรุงแต่ง (+9.5%) แป้งมันสำปะหลัง (+33.1%) เครื่องปรุงรส (+12.5%) มะพร้าว (+19.7%) และอาหารพร้อมรับประทาน (+10.6) ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง จำนวน 3 สินค้า ได้แก่ น้ำตาลทราย (-3.0%) กุ้ง (-12.7%) และสับปะรด (-27.8%)

โดยมีญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอาหารของไทยอันดับที่ 1 รองลงมา ได้แก่ จีน (อันดับ 2) เวียดนาม (อันดับ 4), อินโดนีเซีย (อันดับ 5) เมียนมา (อันดับ 6) กัมพูชา (อันดับ 7) มาเลเซีย (อันดับ 8) และฟิลิปปินส์ (อันดับ 9) จะเห็นได้ว่าตลาดอาหารสำคัญของไทย 6 ใน 8 ประเทศตั้งอยู่ในภูมิภาคอาเซียน แต่หากพิจารณาในกลุ่มภูมิภาค จะพบว่าอาเซียนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย มีมูลค่าส่งออก 293,172 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 28.4 ของมูลค่าส่งออกอาหารทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ ร้อยละ 11.8 อันดับ 3 แอฟริการ้อยละ 9.1 อันดับ 4 สหภาพยุโรป ร้อยละ 8.9 และอันดับ 5 โอเชียเนีย ร้อยละ 3.4 ทั้งนี้ หากคิดเฉพาะกลุ่มประเทศมุสลิม (OIC Country 57 ประเทศ) พบว่า มีมูลค่าส่งออก 180,777 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 17.6

“ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 12 ของโลก ปรับตัวดีขึ้น 2 อันดับ จากอันดับที่ 14 ของโลกในปี 2560 โดยพิจารณาจากมูลค่าส่งออกอาหารในรูปดอลลาร์ พบว่าไทยมีส่วนแบ่งตลาดโลกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.36 จากร้อยละ 2.34 ในปีก่อนหน้า ขณะที่ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล และจีน ต่างมีส่วนแบ่งตลาดโลกลดลง ส่วนประเทศผู้ส่งออกอาหารที่สำคัญในภูมิภาคอย่างอินเดียและเวียดนาม ต่างก็มีส่วนแบ่งตลาดโลกลดลงเช่นกัน โดยอินเดียเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 13 ของโลก ตกลงมา 2 อันดับ ขณะที่เวียดนามเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 17 ของโลกดีขึ้น 1 อันดับ”

นายยงวุฒิ กล่าวต่อว่า แนวโน้มการส่งออกอาหารไทยปี 2562 คาดว่าจะมีมูลค่า 1,120,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 จากปี 2561 กลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นมีจำนวน 8 กลุ่ม ได้แก่ ไก่ ปลาทูน่าปรุงแต่ง กุ้ง มันสำปะหลัง เครื่องปรุงรส มะพร้าว สับปะรด และอาหารพร้อมรับประทาน ส่วนกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว และน้ำตาลทราย โดยสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ข้าว ไก่ น้ำตาลทราย ปลาทูน่าปรุงแต่ง และกุ้ง

สำหรับปัจจัยสนับสนุนสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2562 ได้แก่ 1) การปลดล็อคใบเหลืองประมงไทยของสหภาพยุโรป ที่ทำให้ประเทศคู่ค้าเกิดความเชื่อมั่นในสินค้าประมงไทยมากขึ้น 2) สินค้าอาหารของไทยเป็นที่ต้องการของตลาดอาเซียน โดยเฉพาะ CLMV ที่สินค้าไทยครองตลาดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50-60 รวมทั้งตลาดอาเซียนเดิมที่เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าจำพวกข้าว น้ำตาล มันสำปะหลัง อาหารแปรรูป รวมทั้งอาหารฮาลาล 3) ราคาพลังงานอยู่ในระดับต่ำ และมีเสถียรภาพ 4) การเมืองไทยมีความชัดเจน สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจ โดยมีการกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน

“ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบ ได้แก่ 1) ความผันผวนการเมืองระหว่างประเทศ และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศคู่ค้า ส่งกระทบทางอ้อมต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้กำลังซื้อ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อการจับจ่ายใช้สอยลดลงตามไปด้วย 2) แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการประกอบธุรกิจ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวตามทิศทางดอกเบี้ย Fed Fund rate ของสหรัฐอเมริกา 3)การแข็งค่าของเงินบาท กระทบต่อสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป โดยเฉพาะสินค้าที่เน้นตลาดต่างประเทศจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคา รวมถึงรายได้ที่แปลงกลับมาเป็นเงินบาทจะลดลง ทำให้ราคาสินค้าวัตถุดิบการเกษตรลดลงตามไปด้วย 4) รายได้ผู้บริโภคลดลงตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับต่ำตามภาวะเศรษฐกิจ และ 5)สหรัฐอเมริกาตัดสิทธิ GSP สินค้าไทย 11 รายการ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่สินค้าไทยในกลุ่มดังกล่าวมีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 50 ในตลาดสหรัฐอเมริกา โดย 6 ใน 11 รายการ อยู่ในกลุ่มสินค้าอาหาร ประกอบด้วยทุเรียนสด มะละกอตากแห้ง มะละกอแปรรูป มะขามตากแห้ง ข้าวโพดปรุงแต่ง และผลไม้/ถั่วแช่อิ่ม”

มาเลเซียยกเลิกการผูกขาดการนำเข้าน้ำตาลทราย

กรุงกัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย, 28 มกราคม 2562

นางสาวพัดชา วุฒิพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เปิดเผยว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าภายในและกิจการผู้บริโภค (Mr. Chong Chieng Jen) ได้ออกแถลงการรัฐบาลมาเลเซียได้ยกเลิการผูกขาดการนำเข้าน้ำตาลทราย โดยผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มมาเลเซียสามารถยื่นคำขออนุญาตนำเข้าน้ำตาลได้โดยใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งมีผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในรัฐซาราวักได้รับอนุญาตให้นำเข้าน้ำตาลเรียบร้อยแล้ว แสดงให้เห็นความพยายามของรัฐบาลในการยกเลิกการผูกขาดในหลายอุตสาหกรรม เพราะรัฐบาลมองว่าการผูกขาดเป็นผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

นโยบายเปิดเสรีนี้จะส่งผลดีต่อผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในประเทศ โดยเฉพาะในรัฐซาบาห์และซาราวักซึ่งสามารถที่จะนำเข้าน้ำตาลทรายได้โดยตรงในราคาที่ต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับที่ผ่านมาซึ่งมีเพียง 2 บริษัทในมาเลเซียฝั่งตะวันตกที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าน้ำตาลดิบมาเพื่อผลิตเป็นน้ำตาลทราย ก่อนหน้านี้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มต้องซื้อน้ำตาลทรายในราคากิโลกรัมละ 2.8 ริงกิตจากบริษัทในมาเลเซียฝั่งตะวันตกซึ่งมีใบอนุญาตนำเข้า แต่ปัจจุบันสามารถซื้อน้ำตาลทรายจากต่างประเทศไดในราคาต่ำกว่า 2 ริงกิต ต่อกิโลกรัม

นอกจากนี้ นโบยายดังกล่าวยังแสดงถึงความพยายามของภาครัฐในการลดค่าครองชีพของประชาชนอีกด้วย โดยคาดว่าหากผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มสามารถลดต้นทุนการผลิตก็จะสามารถลดราคาสินค้าลงได้ด้วยทั้งนี้ ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในรัฐซาบาห์และซาราวักมีความต้องการใช้น้ำตาลทรายประมาณ 100 – 200 ตันต่อปี ในขณะที่ตัวเลขการบริโภคน้ำตาลของมาเลเซียทั้งหมดอยู่ที่ 1.3 ล้านตันต่อปี

นางสาวพัดชา กล่าวเสริมอยากเชิญชวนผู้ผลิต/ส่งออกน้ำตาลของไทยพิจารณาตลาดมาเลเซียเป็นอีกทางเลือกในการส่งออกน้ำตาลนอกเหนือจากตลาดเดิมที่มีอยู่แล้ว

www.ditp.go.th