Orri Jaffa Mandarins Heading to North America Easy-Peeler Orri Jaffa expected to see 70% sales growth in North American Markets

 

Israel, Tel Aviv, 8 January 2019 –

The Plant Production and Marketing Board of Israel predicts that 2019 will see significant increase in exports of the Orri Jaffa mandarin to the US and Canada. The organization set goals for expanding export of its leading, easy-to-peel mandarin in response to the increased demand for high-quality, easy-peelers.

The Jaffa Orri is a mandarin developed by scientists at the Israeli Volcani Research Center. This easy-to-peel mandarin retains an excellent, fresh, sweet flavor with a fleshy texture, and mouthful juiciness, while bearing virtually no seeds. It also carries a particularly long shelf life and appears later in the season compared to other easy peelers – from January into May.

The American citrus market has been growing significantly in recent years and is composed largely of imports. The mandarin sub-category is the largest in the citrus category, accounting for some 40% of the citrus market. More than 230 thousand tons of easy-to-peel mandarins are shipped into the US annually, at a total value of more than $1 billion. This is in addition the 1 million tons produced locally.

Data from studies conducted in recent years confirm a doubling of per-capita consumption of easy-to-peel mandarins in the past two decades. This coincides to a significant increase in the intake of easy-peelers in the American market, mainly in place of traditional oranges. In recent years, this phenomenon has led to a sharp upsurge in the import of easy-peelers to America, leading to the establishment of new groves.

“The US market for easy-to-peel mandarins is substantial and holds promise as a developing target market for Israeli citrus exports,” says Tal Amit, Director of the Citrus Division in the Plant Production and Marketing Board of Israel. “The success of easy-peeler mandarins in particular can be easily credited to the fruit’s great flavor and unbeatable convenience.”

Over the past five seasons, citrus exports from Israel to North America have increased from 3,000 tons to 9,000 tons last season, of which about 5,300 tons are easy-to-peel mandarins. This season, export of Orri Jaffa mandarin alone is expected to reach 9,000 tons, constituting a potential 70% growth.

In spite of this significant rise in consumption of the mandarins in the US, consumption per capita is among the lowest in the world, about 2.5 kg per year. But based on the rapidly increasing demand, that figure is forecast to double. In Canada that figure is almost doubled exceeding 4.6 Kg per capita.

Orri Jaffa mandarin currently is exported to 45 countries worldwide. Most of the yield is exported to Europe (78%). The most prominent outlets in Europe of the popular fruit are: France (39%), the Netherlands, Scandinavia and Russia (7% each). About 18% of the fruit is shipped to North America, and 4% to Asia Pacific.

www.orrijaffa.com

Italian Packaging Machinery Continues its Growth

Modena, Italy

The Italian packaging machinery manufacturers are expected to see further 6.8% growth this year to a turnover of 7.7 billion euros.

The growth of the Italian packaging machinery manufacturers shows no sign of stopping.

According to the preliminary figures published by the Research Department of Ucima (Italian Automatic Packaging Machinery Manufacturers’ Association), the sector’s turnover is expected to see further 6.8% growth to 7.7 billion euros in 2018.

Both the Italian and international markets have contributed to these results.

In 2018, export sales surpassed a value of 6 billion euros, 6.6% up on the previous year.

According to the latest available disaggregated data relating to the first eight months of the year, the area showing the best performance is North America with 27.2% growth. The USA in particular has remained the largest market for Italian technologies with record growth of +35.4%.

In second place are Africa and Australia (+15.3%), followed by the European Union (+9.6%) and South America (+2.5%). By contrast, there have been falls in exports to non-EU Europe (-5.8%) and Asia (-2.4%).

As for the rankings of individual countries, the USA is followed by France with growth of +3.1% and Germany (+1.5%).

Italy has continued its strong performance in 2018 with revenues of 1.6 billion euros (+7.5%).

“This is in no small part due to the Industry 4.0 Plan, which has boosted the take-up of our companies’ most innovative technologies by Italian customers, although the recovery of the market is another contributing factor,” said Ucima’s Chairman Enrico Aureli.

“However, we are concerned about the economic and social policies pursued by the current Italian government, which pay scant attention to the world of production and risk marginalising Italy on the European stage,” continued Aureli.

“In 2019 we expect to see a slight slowdown in growth,” he said. “According to data processed by our Research Department, orders are expected to grow at a rate of between 1 and 1.5%.”

ไททา เดินหน้าโครงการ ผึ้งปลอดภัย

สมาคมฯ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย หรือ ไททา ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร เดินหน้าโครงการ ผึ้งปลอดภัย พัฒนาความรู้เกษตรกรสวนผลไม้และผู้เลี้ยงผึ้ง และเพิ่มความเข้มข้นร่วมมือกับสารวัตรเกษตรตรวจสอบสินค้าเกษตรปลอม ด้อยคุณภาพ และผิดกฏหมาย

ดร. วรณิกา นาควัชระ ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมฯ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย หรือ ไททา เปิดเผยถึงพันธกิจสำคัญของ ไททา ว่า จะมุ่งเน้นพัฒนาความรู้เกษตรกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตอย่างน้อย ร้อยละ 30 ใช้ทรัพยากรน้อยลงแต่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ใช้ต้นทุนน้อยลงแต่ได้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น ปี พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย 3 แผนงานหลัก ได้แก่ โครงการผึ้งปลอดภัย โครงการอบรมความรู้เกษตรกรด้านการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างถูกต้อง และโครงการตรวจเข้มปัจจัยการผลิตปลอม

โครงการ ผึ้งปลอดภัย เป็นการส่งเสริมและสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อให้การอยู่ร่วมกันของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งกับเกษตรกรสวนผลไม้เป็นไปอย่างสมานสามัคคี อีกทั้งยังผลในการเพิ่มผลผลิตและผึ้งปลอดภัย ผลผลิตที่ได้ไม่ว่าจะเป็นผลไม้หรือน้ำผึ้งจะมีคุณภาพดีขึ้น ผลผลิตสูงขึ้นและที่สำคัญที่สุดคือมีความปลอดภัยสูง ผึ้งหรือแมลงผสมเกสรอื่นๆ มีบทบาทสำคัญสำหรับการผสมเกสรของพืช ช่วยสร้างและเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร ทั้งนี้ น้ำผึ้งคุณภาพสูง ปลอดสารเคมี เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศจำนวนมาก แต่ปัจจุบัน น้ำผึ้งของไทย ประสบปัญหาเรื่องคุณภาพ และปริมาณการผลิต เตรียมประสานงานกับกรมวิชาการเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความรู้และส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งและเกษตรกรสวนผลไม้จำนวน 100 คู่ในจังหวัดเชียงใหม่ แพร่ น่าน และจันทบุรี สามารถทำการเกษตรของตนร่วมกันอย่างสมานสามัคคีนำผลผลิตปลอดภัยสู่ตลาดไทยและต่างประเทศ

การส่งเสริมและช่วยเหลือเกษตรกรให้ลดต้นทุนการผลิต ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณที่เพิ่มขึ้น นอกจากการบริหารจัดการที่ดี เช่น ปลูกพืชเหมาะสมกับสภาพดิน หรือแหล่งน้ำเพียงพอแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย สารเคมีกำจัดวัชพืช ซึ่งจะต้องมีคุณภาพ เกษตรนำมาใช้ในอัตราส่วนที่ถูกต้อง เหมาะสมกับพืช ดังนั้น โครงการอบรมความรู้เกษตรกรด้านการใช้ปัจจัยการผลิต จำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับ โครงการตรวจเข้มปัจจัยการผลิตปลอม ทั้งสองโครงการ เป็นการประสานความร่วมมือกับ กรมวิชาการเกษตร ในการอบรมความรู้และฝึกปฏิบัติให้เกษตรกรให้สามารถใช้ ปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสม เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพต่อเกษตรกร ผู้บริโภค ตั้งเป้าพัฒนาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อไปต่อยอดอบรมเกษตรกร ในแนวคิด Train the Trainer คาดว่าจะผลิต Trainer ได้มากถึง 1,000 รายทั่วประเทศ รวมทั้ง ร่วมดำเนินการและผลักดันบทบาท สารวัตรเกษตร ให้มีความเข้มข้นและจริงจัง เพื่อตรวจสอบปัจจัยการผลิตตามร้านค้าและสถานประกอบการ และหากพบ ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีการปลอมแปลง หมดอายุ หลบเลี่ยงกฎหมาย ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

ทั้งหมดนี้ เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของ ไททา ซึ่งได้รับความไว้วางใจจาก กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร ให้เป็นหนึ่งในองค์กรสนับสนุนความรู้ทางวิชาการและบุคคลากรในกิจกรรมต่างๆ ด้านการฝึกอบรมและการเผยแพร่ความรู้สู่เกษตรกร และเชื่อมั่นว่า แผนการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2562 จะประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดีผ่านความร่วมมือและสนับสนุนจากทุกภาคส่วนเกษตรที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรลุเป้าหมายระดับประเทศตามยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ของไทยที่ว่า “เกษตรกรมั่นคง ภาคการเกษตรมั่งคั่ง ทรัพยากรการเกษตรยั่งยืน” ดร. วรณิกา กล่าวสรุป

Quality is King in China’s Infant Formula Market

4 December 2018

Chinese parents care much more about the quality and nutritional value of infant formula than its price, new research by Advanced Lipids has shown.

China accounts for almost half of all infant formula sales globally. To gain new market insights, Advanced Lipids, manufacturer of the fat ingredient INFAT®, surveyed 211 urban Chinese parents.

All fed their children with infant formula, either exclusively or in combination with breastfeeding. Nearly three in five (59%) named nutritional value as one of the two factors most important to them when choosing formula, while 45% chose quality and 39% chose safety. Only six per cent said price was an important factor.

The survey shows that many Chinese parents are prepared to shop around to find high-quality products. Eight in ten (80%) of the respondents (all of whom lived in major cities and had a joint income above the national average) said they had tried at least two different formulas, with 38% trying at least three.

The most common reasons for switching products were that another formula offered higher quality (75%) and concerns about safety (74%). By far the most common source of information was the internet: 71% of parents searched online before deciding on a product, compared to 49% who consulted friends and 27% who sought the advice of a doctor.

Dr. Sigalit Zchut, Clinical Marketing Manager for Advanced Lipids, said: “Our research shows clearly that Chinese formula consumers are highly quality-focused. They want the very best for their children and are prepared to shop around to find products that offer safety and the best possible nutritional value. Furthermore, they’re prepared to pay for the best, with very few buying decisions influenced by price.”

The parents were much more likely to prefer to buy formula products manufactured overseas than in China (82% v 18%). However, country of origin was not a significant driver of product choice, with only 2% of respondents considering it one of the most important factors when choosing a formula.

Ronald van der Knaap, CEO of Advanced Lipids, added: “After well publicized concerns about the safety of some Chinese formula brands, many consumers turned to formula manufactured overseas. However, it’s interesting to note that country of origin is itself not a big driver of product choice. It’s not enough for Chinese consumers that a product comes from overseas – it has to offer high quality.”

Advanced Lipids is the manufacturer of INFAT®, a high-quality fat ingredient for formula. INFAT® contains high levels of the structured triglyceride SN-2 palmitate (also known as OPO) and mimics the structure of human milk fat, providing a range of health benefits for infants.

www.advancedlipids.com

Interroll is expanding its production capacities for conveyors and sorters by adding a new site in Germany

Sant’Antonino, Switzerland – 12 December 2018

Interroll announces that it is creating additional capacities in order to be well-equipped for a growing customer and user demand for conveyors and sorters, as well as for additional products. A new factory is being developed in Kronau, Germany, in the greater Karlsruhe area, with a production area of approximately 15,000 square meters. The company is investing a total of around €40 million in stages, and completion of the factory is planned by the end of 2020.

In addition to already successful solutions such as the Modular Conveyor Platform (MCP), Interroll will launch innovative products and solutions in the area of conveyors and sorters in the first quarter of 2019, thereby creating a positive outlook.

“Interroll is taking into account the high growth momentum for conveyors and sorters by choosing to develop a second, significantly bigger factory in Kronau. In this way, we are securing fast delivery times for our customers and end users well into the future,” says Jens Strüwing, Executive Vice President Products and Technology in the Interroll Group. Effective emergency measures have been introduced at the Sinsheim site in order to increase production capacities; these measures will remain in place until the new factory opens in Kronau.

The planned investment volume will be provided in stages and will amount to approximately €40 million. The project comprises a new production area of around 15,000 square meters and 1,700 square meters of office space.

“With the new factory, we are not only creating new capacities. We are also completely restructuring our production priorities,” says Strüwing. “This means that we are doubling our production space for conveyors and sorters in Europe and investing specifically in a higher level of automation.”

According to the plan, conveyors, such as the MCP, which has already been extremely successful around the world and is currently assembled in the Sinsheim factory, will be assembled in Kronau. The capacities that this frees up in Sinsheim will then be directed toward the expanded production of sorters. The new factory will also be home to the global Center of Excellence for conveyors.

The new site will be part of the “A5 Quarter” construction area in Kronau. The municipal council in Kronau has already decided in favor of the acquisition of this property. It offers excellent links to the transport network and to international airports and is located close to both the existing Interroll factory in Kronau and the Sinsheim site, which will only have positive effects on the established delivery chains.

“Even though we are moving, our employees will remain in the same region, which offers an excellent environment for us as an industrial company. There is a high level of education and in the market there is a perfect mix of skilled employees for future growth on-site,” says Bernhard Kraus, Managing Director of Interroll Automation GmbH in Sinsheim. Kraus is responsible for planning the new factory.

DITP แนะธุรกิจโลจิสติกส์เจาะลูกค้า B2C

7 ธันวาคม 2561

มูลค่า B2C ในธุรกิจ e-Commerce มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การขนส่งสินค้าขนาดเล็กมีปริมาณเพิ่มขึ้น LSP ไทยควรขยายฐานธุรกิจเจาะตลาด B2C ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า เน้นสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และคุ้มค่า

นางสาวบรรจงจิตต์ อังสุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า การขนส่งสินค้าขนาดเล็ก หรือพัสดุภัณฑ์มีแนวโน้มสูงขึ้นตามทิศทางการเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยกลุ่มลูกค้าที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือกลุ่ม B2C เนื่องจากผู้ค้าจำนวนมากเป็นผู้ค้ารายย่อยที่ต้องการผู้บริหารจัดการสต็อกสินค้า การบรรจุหีบห่อและการจัดส่งหรือกระจายสินค้าในลักษณะของ e-Fulfillment ซึ่งประกอบด้วยการบริการพื้นที่จัดเก็บ (Storage service) บริการค้นหาสินค้าและบรรจุหีบห่อ (Pick & Pack service) รวมถึงบริการจัดส่ง (Delivery service) ระบบสารสนเทศ หรือ e-Logistics จึงมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในคลังสินค้าและการขนส่งสินค้า และสร้างความเชื่อมั่น (ความเชื่อถือ) กับทั้งผู้ขายสินค้าและผู้ซื้อ ที่ต้องการตรวจสถานะการขนส่งสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง หากทั้งผู้ขายสินค้าผู้ให้บริการโลจิสติกส์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า (ต้นทุน ยอดขาย ขนาดกล่องบรรจุ) รวมถึงต้นทุนการให้บริการ เพื่อร่วมกันคำนวณต้นทุนของทั้ง 2 ฝ่าย จะเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และ สามารถพยากรณ์ต้นทุนและกำไรจากการขายได้อย่างแม่นยำ

ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยควรรวมกลุ่มให้ครบทุกกลุ่ม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน สามารถสร้างความแข็งแกร่งร่วมกันในการขยายการให้บริการ หรือลงทุน IT ด้านโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการดำเนินงาน หรืออาจร่วมธุรกิจกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายใหญ่ข้ามชาติ ในรูปแบบJoint Venture ซึ่งแม้ว่าบริษัทเหล่านี้จะมีข้อได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีและการบริหารจัดการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อคำนวณต้นทุนและกำไรเมื่อจะลงทุนให้บริการในแต่ละประเทศแล้วพบว่าไม่คุ้มค่า จึงใช้วิธีจ้างผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในท้องถิ่นที่มีความชำนาญในแต่ละพื้นที่การจัดส่งสินค้าเป็นผู้ดำเนินงานแทน

ทั้งนี้จากรายงานของ EDTA อธิบายว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2559-2561) มูลค่า e-Commerce ในกลุ่มธุรกิจ B2C ขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 23.17 และคาดว่าในปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 16.79 หรือคิดเป็นมูลค่า 949,121.61 ล้านบาท จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย (LSPs) ที่จะเข้ามาให้บริการในตลาดนี้ นอกจากนี้ การมีคู่ค้า (Partner) ที่ดี จะช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้ขายสินค้า ผู้ซื้อสินค้า ผู้ขนส่งสินค้า ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นมาตรฐานและเชื่อถือได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำมาใช้วางแผนบริหารจัดการธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม LSPs ไทยส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่ขนส่งสินค้าในปริมาณมาก หรือในลักษณะตู้คอนเทนเนอร์มากกว่าสินค้าปริมาณไม่เยอะหรือชิ้นเล็ก จึงทำให้ LSPs ต่างชาติเห็นช่องว่างในตลาดนี้ และเข้ามาให้บริการขนส่งสินค้าในประเทศไทยเพิ่มขึ้น

โอกาสส่งออกเครื่องปรุงรสและวัตถุดิบอาหารสู่ชิลี

กรุงซันติอาโก ประเทศชิลี, 4 ธันวาคม 2561

ทูตพาณิชย์ชิลี เผยร้านอาหารไทยสุดบูม ผู้บริโภคนิยม นักท่องเที่ยวชอบ เหตุรสชาติอร่อย ดีต่อสุขภาพ ใช้เครื่องปรุงสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ ทำให้มีจำนวนร้านเปิดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ระบุส่งผลดีต่อการส่งออกเครื่องปรุงและวัตถุดิบอาหารของไทย “บรรจงจิตต์” สั่งการลงพื้นที่สำรวจคุณภาพ มาตรฐาน หากเข้าเกณฑ์ ดันรับตรา Thai Select เพื่อช่วยส่งเสริมประชาสัมพันธ์

น.ส.จุฬาลักษณ์ เข็มทอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซันติอาโก ประเทศชิลี เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมผู้ประกอบธุรกิจอาหารในชิลี ได้รายงานผลการสำรวจตลาดธุรกิจร้านอาหารในประเทศชิลี โดยพบว่ามีการขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะร้านอาหารประเภท Fast Food และร้านที่เปิดในลักษณะ Kiosk ที่ให้บริการส่งอาหารถึงบ้าน แต่ร้านที่เปิดเพิ่มในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นอกเหนือจากร้านข้างต้น ยังมีร้านอาหารนานาชาติที่เปิดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น ร้านอาหารเปรู ร้านอาหารโคลอมเบีย ร้านอาหารจีน ร้านอาหารญี่ปุ่น และร้านอาหารไทย

“จากการเข้าไปสอบถามเจ้าของร้านอาหารไทยในชิลี ได้ทราบข้อมูลว่าตอนนี้ร้านอาหารไทยมาแรง ปัจจุบันชาวชิลีรู้จักและให้ความสนใจในร้านอาหารไทยมากกว่าในอดีต เพราะเดิมเข้าใจว่าอาหารไทยเป็นอาหารที่มีรสเผ็ดจัด จึงไม่กล้าที่จะลองรับประทาน แต่พอได้มาลิ้มลอง จึงมีความเข้าใจและนิยมบริโภคอาหารไทยเพิ่มขึ้น ประกอบกับในชิลีมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไปเที่ยวมากขึ้น และนักท่องเที่ยวเหล่านี้รู้จักอาหารไทยอยู่แล้ว จึงยิ่งทำให้มีการบริโภคอาหารไทยเพิ่มมากขึ้น”

นอกจากนี้ ยังมีนิตยสารหลายฉบับได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับอาหารไทย และมีรายการโทรทัศน์ของชิลีหลายรายการที่ได้เผยแพร่สารคดีท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งพิธีกรที่ดำเนินรายการได้กล่าวถึงอาหารไทยว่าเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยและดีต่อสุขภาพ เพราะใช้เครื่องปรุงสมุนไพรหลายชนิดเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร ก็ยิ่งทำให้คนชิลีนิยมรับประทานอาหารไทยเพิ่มขึ้น

เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างการรับรู้ให้กับอาหารไทย สำนักงานฯ ได้เดินหน้าจัดโครงการประชาสัมพันธ์สินค้าอาหารไทยร่วมกับห้างสรรพสินค้าของชิลี และร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตไทยในชิลี จัดกิจกรรมเผยแพร่อาหารไทยอย่างต่อเนื่อง ก็ยิ่งส่งผลให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในชิลี ทำให้ปัจจุบันมีธุรกิจร้านอาหารไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งการขยายสาขาของผู้ประกอบการรายเดิม และการเปิดสาขาเพิ่มของผู้ประกอบการรายใหม่ ทั้งนี้ ผลจากการที่มีจำนวนร้านอาหารไทยเพิ่มขึ้น ได้ส่งผลดีทำให้มีความต้องการใช้เครื่องปรุงรส และวัตถุดิบอาหารไทยเพิ่มขึ้น โดยผู้ส่งออกที่ต้องการขยายตลาดสินค้าในกลุ่มนี้เข้าสู่ตลาดชิลี สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานฯ ทางอีเมล์ thaitrade@ttcsantiago.cl

Taking Thai Taste Global

เผยรสชาติไทยแท้สู่ตลาดโลกผ่าน 2 ผลิตภัณฑ์รับเทรนด์สุขภาพ

นายภูมิกิจ วราห์สิทธินนท์ ประธานบริษัท แจ็คสันโกลบอล พาร์ทเนอร์ส จำกัด ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมลงนามเป็นพันธมิตรกับ บริษัท สไตล์ บ๊อบ ฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตกาแฟและผลิตภัณฑ์อาหารสไตล์บ๊อบ และ บริษัท จีเอ็ม อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด ในเครือ บริษัท จีเอ็ม มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผักกรอบในรูปแบบขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ แบรนด์ Deedy ภายใต้โครงการ “Taking Thai Taste Global” เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของสองผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในประเทศสหรัฐอเมริกาและตลาดอื่นๆ ทั่วโลก โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อำนวย ยศสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมเป็นประธานภายในงาน

Mr. David Lee Jackson ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาดต่างประเทศ ของบริษัท แจ็คสัน โกลบอลพาร์ทเนอร์ส จำกัด เปิดเผยว่า “การจับมือทางธุรกิจครั้งนี้จะนำมาซึ่งโอกาสในการนำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารของไทยสู่ผู้บริโภคทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอาหารไทยกำลังเป็นที่ต้องการมากในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งในความร่วมมือครั้งนี้เน้นขยายตลาดสินค้า 2 กลุ่ม คือ เมล็ดกาแฟคั่ว บด ภายใต้คอนเซ็ปท์สไตล์บ๊อบคอฟฟี่ และขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ แบรนด์ Deedy เชื่อมั่นว่าจะสามารถเปิดตลาดได้อย่างดีในสหรัฐอเมริกาและสามารถสร้างชื่อเสียงของสินค้าไทยให้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนสร้างโอกาสในการขยายเข้าสู่ตลาดอื่นๆ ทั่วโลกต่อไป”

นายณัฐธีร์ กิติวิบูลย์ชัย นักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงเจ้าของผลิตภัณฑ์เมล็ดกาแฟคั่ว บด ภายใต้คอนเซ็ปท์สไตล์บ๊อบคอฟฟี่ เปิดเผยถึงคอนเซ็ปท์อันแปลกใหม่ของผลิตภัณฑ์ว่า “กาแฟจัดเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงและมีความท้าทายสูงเช่นกัน โดยเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุดเราจึงคัดสรรเมล็ดกาแฟออร์แกนิกที่มีคุณภาพโดยการรับซื้อจากชาวเขาทางภาคเหนือนำมาผ่านกระบวนการคั่วแบบสามขั้นตอน (Triple Roast Process) ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์ในด้านรสชาติ และเพิ่มความแปลกใหม่ของกาแฟด้วยการนำผลผลิตทางการเกษตรของไทยอย่างเช่นพริกมาคั่วผสมเพื่อดึงกลิ่นรสอันเผ็ดร้อนของพริกทำให้ได้กาแฟคั่วกลิ่นหอมเข้มเต็มรสชาติความเป็นไทยแท้ โดยคาดว่าจะสามารถจับกลุ่มผู้บริโภคได้หลากหลายเพิ่มขึ้น”

คุณปกรณ์ พงศ์วราภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็ม อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด ในเครือบริษัท จีเอ็ม มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยที่มาของอีกหนึ่งธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารว่า “เนื่องจากผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น มีความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารที่มีประโยชน์ แปลกใหม่ และดีต่อสุขภาพ ประกอบกับปัจจุบันกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพมีการเติบโตสูงโดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศอย่างยุโรปและสหรัฐอเมริกา จากความต้องการของตลาดกลุ่มนี้เราจึงได้ขยายธุรกิจเข้ามาในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเปิดตัวผลิตภัณฑ์ผักกรอบ 5 สายพันธุ์สูตรผงน้ำสลัด แบรนด์ Deedy ขึ้นเมื่อ 3-4 เดือนที่ผ่านมา ภายใต้คอนเซ็ปท์ขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยการทอดแบบสุญญากาศ (Vacuum fried) จึงช่วยรักษาคุณภาพของอาหาร เช่น สี กลิ่น รสชาติ ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีทั้งหมด 3 รสชาติ คือ ผงน้ำสลัดเทาซันไอส์แลนด์ ผงน้ำสลัดวาซาบิ และผงน้ำสลัดรสซีฟู้ด โดยเริ่มต้นรุกตลาดภายในประเทศผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรดรวมถึงช่องทางออนไลน์ และวางแผนขยายตลาดไปยังจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรปต่อไป”

พาณิชย์ดันสินค้าข้าวไทยรุกตลาดฮ่องกง

ฮ่องกง, 2561

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนางบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีและคณะผู้บริหารระดับสูงกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเดินทางเยือนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงเพื่อต่อยอดกระชับความสัมพันธ์เชิงรูปธรรมในฐานะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ พร้อมพบหารือภาคเอกชนรายสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้ค้าข้าวนำโดย Mr. Kenneth Chan ประธานสมาคมผู้ค้าข้าวฮ่องกง และประธานบริษัท 759 Stores (Ms. Ida Tang) ซึ่งดำเนินกิจการร้านสะดวกซื้อที่มีสาขากว่า 200 แห่งทั่วเกาะฮ่องกง

นายสนธิรัตน์ เปิดเผยว่า “ฮ่องกงถือเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่สำคัญของไทย และมีความสำคัญในฐานะเป็นซูเปอร์คอนเนคเตอร์ที่เชื่อมโยงจีนแผ่นดินใหญ่กับโลกผ่านเขตเศรษฐกิจ PPRD และ GBA โดยที่ผ่านมา ฮ่องกงถือเป็นหนึ่งในตลาดนำเข้าข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงที่สำคัญของไทย ซึ่งการพบหารือกับกลุ่มผู้นำเข้าข้าว รวมถึงเครือข่ายร้านสะดวกซื้อในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการต่อยอดความร่วมมือในการส่งเสริมการตลาดสินค้าข้าวไทยแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อตอกย้ำศักยภาพของไทยในการเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวคุณภาพสูงและมีความหลากหลายของสายพันธุ์ออกสู่ตลาดโลก ซึ่งทั้งประธานสมาคมผู้ค้าข้าวฮ่องกง และประธานบริษัท 759 Stores ต่างก็ให้ความเชื่อมั่นในคุณภาพของข้าวไทยมาโดยตลอด ทั้งนี้ บริษัท 759 Stores ยินดีที่จะพิจารณาเพิ่มการนำเข้าข้าวไทย ทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมนิล และข้าวสังข์หยด ตลอดจนผลิตภัณฑ์จากข้าว อาทิ น้ำมันรำข้าว แป้งข้าวโปรตีนต่ำ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รวมถึงสินค้าอื่นๆ จากไทยเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้า Niche Market ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องอีกด้วย”

“การเติบโตของตลาดกลุ่ม Niche Market ในฮ่องกงถือเป็นสัญญาณที่ดีในการขยายการส่งออกสินค้าข้าวชนิดพิเศษรวมถึงผลิตภัณฑ์จากข้าวไปสู่ตลาดจีน เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนแผ่นดินใหญ่ส่วนใหญ่มองว่าชาวฮ่องกงเป็นกลุ่ม Trend Setter รวมทั้งสินค้าหรือบริการที่เข้าสู่ตลาดฮ่องกงได้ก็มีแนวโน้มว่าจะสามารถตีตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ได้เช่นกัน” นายสนธิรัตน์กล่าวเสริม

นอกจากนี้ บริษัท 759 Stores ยังได้จับมือกับผู้ประกอบการท้องถิ่นในจัวหวัดต่างๆ ของไทยทำ Co-Branding ในหลากหลายสินค้าซึ่งรวมถึงหอมมะลิและข้าวสีต่างๆ ของไทย และได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคฮ่องกง ซึ่งนายสนธิรัตน์ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ผมเห็นว่าการทำ Co-branding เป็นโมเดลที่ดีเพื่อสร้างความยั่งยืนในการส่งออกให้กับสินค้าแบรนด์ไทย ถือเป็นการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจอันจะส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่งในระยะยาวได้อย่างมั่นคง”

ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา ด้วยส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 65 หรือมากกว่า 2 แสนตัน/ปี โดยในปี 2560 การส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยคิดเป็นปริมาณกว่า 1.61 ล้านตัน หรือประมาณ 1245.13 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ยอดการส่งออกข้าวหอมมะลิในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2561 คิดเป็นปริมาณ 8.7 แสนตัน ด้วยมูลค่ากว่า 985.53 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา

CPF Showed Its Innovative Sausage Production with “Smoked System” to Enable TARs Separation

นายณฤกษ์ มางเขียว รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สายธุรกิจอาหารสำเร็จรูป และ นายวิทวัส ตันติเวสส รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านการตลาดกลาง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกันนำคณะสื่อมวลชน เข้าเยี่ยมชมกระบวนการการผลิตไส้กรอก CP อันทันสมัยโดยนวัตกรรมล่าสุด “ระบบรมควัน”ที่สามารถดักแยกสารทาร์ (TARS) ซึ่งมีองค์ประกอบของสารก่อมะเร็งออกจากไส้กรอกได้โดยเด็ดขาด ตอกย้ำนโยบายคุณภาพด้านความปลอดภัยอาหารของไส้กรอก CP ณ โรงงานอาหารสำเร็จรูปหนองจอก ถ.สุวินทวงศ์./

Mr.Narerk Mangkeow, EVP for Processing Food Business, together with Mr. Vittavat Tantivess, EVP for Marketing, welcome reporters who visit to learn modern sausage production process at Nong Jok Food Processing Plant. CPF’s sausage production is equipped with “smoked system” to enable separate TARs from product. This reassure CP sausage are free from carcinogenic substance.