India’s Modern Cold Chain… Enhance Business Opportunity

ระบบห่วงโซ่ความเย็นของอินเดียมาแรง …เติมช่องว่างระหว่างธุรกิจต้นน้ำสู่ปลายน้ำ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
Kasikorn Research Center
www.kasikornresearch.com

Full article TH-EN

การเปิดเสรีธุรกิจ Cold Chain ในอินเดียตั้งแต่ปี2554 ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตจากที่มีมูลค่าราว 3 พันล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นสามเท่าตัวจนมีมูลค่า 9 พันล้านเหรียญ ในปี2558 มีผู้เล่นในตลาดไม่ต่ำกว่า 3,500 ราย แบ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ราว 30 ราย ในจำนวนนี้มีไม่ถึง 10 ราย ที่ให้บริการ Cold Chain ครบวงจร นอกนั้นเป็นธุรกิจรายย่อยของเกษตรกรที่มีคลังสินค้าความเย็นของตนเอง โดยมีไม่กี่รายที่มีรถขนส่งสินค้าด้วยความเย็น จึงมีผลผลิตผักและผลไม้เพียงร้อยละ 3.8 เท่านั้นที่ใช้ระบบขนส่งด้วยห้องเย็น นับว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 85-90 ประเด็นดังกล่าว เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาราคาสินค้าอาหารในประเทศที่เร่งตัวสูงยามเกิดสภาพอากาศแปรปรวน สาเหตุหลักของปัญหาเงินเฟ้อที่หยั่งรากลึกในประเทศมายาวนาน โดยแตะระดับสูงใกล้เคียงร้อยละ 10 มาตั้งแต่ปี2552 แม้ว่าปัจจุบันจะปรับลดลงแต่ก็เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลง

สภาพแวดล้อมดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ธุรกิจ Cold Chain ในอินเดียยังมีช่องว่างให้พัฒนาได้อีกมากจึงจะเพียงพอกับความต้องการในปัจจุบันและเตรียมรับกับความต้องการระลอกใหม่ที่เกิดจากนโยบายกระตุ้นการผลิตภาคเกษตรกรรมตามแผนงบประมาณประจำปี2559-2560 ซึ่งรัฐบาลทุ่ม งบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 77 พร้อมทั้งนโยบาย Make in India ที่ได้เดินหน้ายกระดับการผลิตอาหารให้มีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าธุรกิจ Cold Chain ในอินเดียจะคึกคักมากขึ้นอีกเท่าตัวแตะมูลค่า 18 พันล้านเหรียญ ในปี2561 จากที่มีมูลค่า 9 พันล้านเหรียญ ในปี2558 ซึ่งตลาดจะผลักดันให้เกิดความต้องการธุรกิจห่วงโซ่ความเย็นสมัยใหม่ (Modern Cold Chain) ที่ได้มาตรฐานสากลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่การผลิต

แรงขับเคลื่อนจากภาคการผลิตผลักดันธุรกิจ Modern Cold Chain เร่งตัวแรงต่อเนื่อง
ภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ประมง และการแปรรูปอาหารของอินเดียมีสัดส่วนถึงร้อยละ 18.4 ของเศรษฐกิจ โดยอินเดียส่งออกสินค้าเกษตรอันดับ 6 ของโลก สามารถผลิตผักและผลไม้ได้เป็นอันดับ 2 ของโลก (รองจากจีน) มีกำลังการผลิตแต่ละปีราว 164 ล้านตัน และ 91 ล้านตัน ตามลำดับ ความพร้อมดังกล่าวดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุน ประกอบกับนโยบายปฏิรูปภาคเกษตรกรรมและ Make in India ที่มุ่งเน้นปฏิรูปภาคการผลิตเชิงลึก ตลอดจนการจัดตั้งสวนอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ (Mega Food Parks) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการผลิตอาหารอย่างจริงจัง โน้มนำผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของโลกเข้ามาจับตลาด ปัจจัยต่างๆ ล้วนกระตุ้นให้เกิดความต้องการ Modern Cold Chain อันจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเชื่อมโยงภาคเกษตรกรรมสู่การผลิตอาหารและการบริโภคในระยะข้างหน้า

Since the Cold Chain Industry in India has been liberalised in 2011, this business has developed at a faster pace or rose by three folds in value from US$3 billion to US$9 billion in 2015. Over 3,500 players are in the industry. Of these, about 30 players are large entrepreneurs, which less than 10 entrepreneurs provide integrated cold chain service, while the remaining are small and medium-sized farmers, which have their own cold storage. Only few amounts of these have their own chill transportations. Thus, only 3.8 percent of vegetables and fruits have been shipped through cold storage. The percentage is very low compared to developed countries, which about 85-90 percent of vegetables and fruits have been shipped through cold chain system. This issue has become a beginning of high food price problem amidst the climate change, and main reason for the inflationary problem, which has been the country’s major difficult for so long. Inflation rate in India has climbed up to 10 percent since 2009 and remaining in a rate since then, despite the rate has edged down slightly following lower oil price in the global market.

Kasikorn Research Center foresees that cold chain business in India has wide gap for developing to serve demand of the current market following the India’s government policy to stimulate the production in agriculture sector during the 2016-2017 fiscal year, which the government has allocated more budget or an increase by 77 percent compared to the previous fiscal year. Moreover, the “Make in India” policy to promote and upgrade food production efficiency in India will also supported this business growth. The center expected that the cold chain industry in India will active and grow by another one fold to worth US$18 billion in 2018, from about US$9 billion in 2015. The market will drive up demand for the “Modern Cold Chain” business, which have high international standard to achieve effective management throughout the production chain.

Motivation from the manufacturing sector pushes up the Modern Cold Chain
India’s agricultural, livestock, fisheries and food processing sectors are accounted for 18.4 percent of economy. India is the world’s sixth-largest exporter of vegetables and fruits, and the world’s second largest producer (after China). Each year, the production capacity meets 164 million tonnes and 91 million tonnes, respectively. With this high figure, it can attract foreign investors to invest in the country. The government’s policy to reform the agricultural sector and “Make in India” policy, which focuses on deepening restructure the manufacturing sector as well as the establishment of a Mega Food Parks to strengthen food production, those factors have stimulated the world’s leading food producers enter to the market. Those factors have also increased the demand for modern cold chain, major infrastructure linking agriculture to food production and consumption sectors in the future.

China’s Cold Chain Is Growing to Meet Demand Despite Its Many Broken Links

ธุรกิจห่วงโซ่ความเย็นของจีนกำลังเติบโตท่ามกลางการเชื่อมโยงที่ไร้ประสิทธิภาพ

By: Barry Hochfelder
www.foodlogistics.com

Full article TH-EN

จากการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยการผลิตไปสู่ผู้บริโภคของจีน ตลอดจนการขยายตัวมากขึ้นและแข็งแกร่งขึ้นของประชากรกลุ่มรายได้ปานกลางนั้น ส่งผลให้มีความต้องการบริโภคอาหารทั้งผลิตภัณฑ์อาหารสด ยาและเวชภัณฑ์ และอาหารที่มีอายุการเก็บรักษาสั้นในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย แต่น่าเสียดายที่จีนมีระบบห่วงโซ่ความเย็นที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ อีกทั้งธุรกิจห่วงโซ่ความเย็นในแต่ละพื้นที่ยังกระจัดกระจายและให้บริการได้ไม่ทั่วถึงจึงไม่สามารถเก็บรักษาสินค้าเหล่านั้นให้ดีได้

จีนจัดว่าเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยมีการส่งออกสินค้าเกษตรจากสหรัฐอเมริกามาจีน คิดเป็นร้อยละ 17 ทั้งที่ผลผลิตทางการเกษตรของจีนเองกว่าร้อยละ 10 มีมูลค่าเกือบ 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม การขยายระบบห่วงโซ่ความเย็นไปในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึงในจีนนั้นเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่และมีจำนวนประชากรมาก ประกอบกับการขาดสาธารณูปโภคและการขนส่งพื้นฐานในหลายพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล

ข้อมูลจากที่ปรึกษาด้านธุรกิจและการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ L.E.K. ระบุว่าธุรกิจห่วงโซ่ความเย็นของจีนเติบโตขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าตลาดเติบโตขึ้นจาก 80 พันล้านหยวน (11.73 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในปี 2554 เป็น 160 พันล้านหยวน (23.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในปี 2558 ทั้งนี้ L.E.K. ได้คาดการณ์ว่าว่าอุตสาหกรรมห่วงโซ่ความเย็นของจีนจะมีมูลค่าสูงถึง 400 พันล้านหยวน หรือประมาณ 58.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2563 โดยธุรกิจการขนส่งจะมีมูลค่าการตลาดคิดเป็นร้อยละ 40 ธุรกิจห้องเย็นร้อยละ 30 ส่วนที่เหลือคือมูลค่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคการบริการอื่นๆ ในห่วงโซ่ความเย็น

As China continues its transition from a manufacturing-led to consumer-led economy, and its middle class grows larger and stronger, the desire for fresh foods, pharmaceuticals and other perishables is growing along with it. Unfortunately, the Chinese suffer from a fragmented, inefficient cold chain that can’t keep up.

China accounts for 17 percent of U.S. agriculture exports, making it the largest agriculture export market for the United States. At nearly $1.4 trillion, agriculture comprises more than 10 percent of the Chinese economy, but the country’s massive size and population, along with a lagging infrastructure in some of its more remote areas, make it difficult to expand cold chain.

The Chinese cold chain market has grown more than 20 percent over the past five years, according to research from London-based global management consulting firm, L.E.K. Consulting. The market has grown from 80 billion Ren Min Bi (RMB) or $11.73 billion in 2011 to 160 billion RMB ($23.5 billion) in 2015. L.E.K. forecasts that the cold chain industry will be valued at 400 billion RMB ($58.6 billion) by 2020, with transportation making up 40 percent of the market, cold storage at 30 percent, and the remainder of the market covering other services.

Benefits of Folk Herbs “Khruea Ma Noi”

ประโยชน์ของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน “เครือหมาน้อย”

โดย: อมรรัตน์ เอื้อสลุง
Amornrat Aursalung
Research Assistant

ดร.ยุราพร สหัสกุล
Yuraporn Sahasakul, Ph.D.
Lecturer
Institute of Nutrition, Mahidol University

Full article TH-EN

ผักผลไม้จัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของอาหารเพื่อสุขภาพ การบริโภคผักผลไม้ในปริมาณที่เพียงพอช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีผลป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมอง มะเร็งปอด และมะเร็งทางเดินอาหาร (Dauchet et al., 2006; Boeing et al., 2012) ทั้งนี้ ผักและผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และเส้นใย อีกทั้ง ยังมีสารพฤกษเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง

องค์การอนามัยโลกระบุเกณฑ์การรับประทานผักและผลไม้ที่เหมาะสม คือ 400-600 กรัมต่อวัน (WHO, 2008) โดยผลการศึกษาขององค์การอนามัยโลกชี้ให้เห็นว่า การบริโภคผักผลไม้ตามเกณฑ์ช่วยลดภาวะโรคหัวใจขาดเลือดและโรคเส้นเลือดในสมองตีบได้ถึงร้อยละ 31 และ 19 ตามลำดับ สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้จัดทำบัญชีสารอาหารที่แนะนำให้ควรบริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยกำหนดว่าควรบริโภคใยอาหารวันละ 25 กรัม (Thai Recommended Daily Intakes; Thai RDI) อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจสุขอนามัยของประชาชนไทยของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าคนไทยร้อยละ 82 รับประทานผักผลไม้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานโลก (สำนักงานการสำรวจสภาวะสุขอนามัย, 2552) พฤติกรรมการบริโภคผักผลไม้ต่ำนี้ทำให้ประชากรไทยมีความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้น

ใยอาหาร (Dietary fiber) ตามคำนิยามของสมาคมเคมีธัญพืชแห่งอเมริกา (American Association of Cereal Chemists; AACC) หมายถึง ส่วนที่บริโภคได้ของพืชหรือคาร์โบไฮเดรตที่ทนต่อการย่อยและการดูดซึมในลำไส้เล็กของมนุษย์ แต่อาจถูกย่อยได้บางส่วนหรือย่อยได้ทั้งหมดโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ทั้งนี้ ใยอาหาร หมายรวมถึง พอลิแซคคาไรด์ โอลิโกแซคคาไรด์ ลิกนิน และสารที่พบในพืช โดยใยอาหารเป็นสารอาหารประเภทหนึ่งที่เมื่อบริโภคเข้าไปจะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย และอาจจะช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น ทำให้ระบบทางเดินอาหารและการขับถ่ายทำงานได้สมบูรณ์เป็นปกติ ลดปริมาณคอเลสเทอรอลและน้ำตาลในเลือด

Fruits and vegetables are important components of a healthy diet. Consuming sufficient amount of fruits and vegetables not only helps prevent constipation, but also reduces risks of some non-communicable diseases (NCDs) including ischemic heart disease, stroke, lung cancer, and gastrointestinal cancer (Dauchet et al., 2006; Boeing et al., 2012). These extraordinary benefits come from the fact that fruits and vegetables are rich in vitamins, minerals and fibers, as well as many favorable antioxidant phytochemicals.

World Health Organization (WHO) recommends a minimum consumption of fruits and vegetables at 400-600 g/day (WHO, 2008). Studies by WHO showed that consumption of fruits and vegetables at the suggested amounts can help reduce up to 31% of ischemic heart disease and 19% of stroke. According to the Thai Recommended Daily Intakes (Thai RDI) – by Thai Food and Drug Administration or FDA, a person at the age of/and above 6 years old is recommended to have at least 25 g of fibers daily. Despite this recommendation, report on the 4th National Health Examination survey of Thai people by the Ministry of Public Health indicated that 82% of Thai people consumed less fruits and vegetables in their daily diet than recommended intake levels (National Health Examination Survey Office, 2009). This low-fiber-intake behavior has led to the increased risk of NCD’s among the Thais.

According to the American Association of Cereal Chemists (AACC), dietary fiber is “the edible parts of plants or analogous carbohydrates that are resistant to digestion and absorption in the human small intestine with complete or partial fermentation in the large intestine. Dietary fiber includes polysaccharides, oligosaccharides, lignin, and associated plants substances. Dietary fibers promote beneficial physiological effects including laxation, and/or blood cholesterol attenuation, and/or blood glucose attenuation.”

India’s GST, the biggest tax reform, opens new opportunities for Thai investors.

อินเดียลุย GST ยกเครื่องภาษี … โอกาสดีที่ไทยต้องเหลียวมอง

ยุวาณี อุ้ยนอง
Yuwanee Ouinong
Economic Intelligence Center (EIC)
Siam Commercial Bank Public Company Limited
yuwanee.ouinong@scb.co.th

Full article TH-EN

อินเดีย ประเทศที่ทำให้เราได้นึกถึงความหลากหลายและความซับซ้อนในหลายมิติ ทั้งด้านวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันของคนหลายกลุ่มจนทำให้อินเดียกลายเป็นประเทศขนาดใหญ่ที่มีผู้คนรวมตัวกันมากกว่าพันล้านคน แม้นี่จะเป็นจุดเด่นของอินเดียที่ดึงดูดสายตาจากนักลงทุนทั่วโลก แต่การเข้าไปทำธุรกิจในประเทศนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว เพราะด้วยกฎระเบียบหลายอย่างที่ค่อนข้างหยุมหยิมและมีความแตกต่างกันในแต่ละรัฐ เห็นได้จากอันดับความง่ายในการทำธุรกิจของอินเดียอยู่ที่ 130 จาก 190 ประเทศ แต่วันนี้ อินเดียกาลังเปลี่ยนไปภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Narendra Modi ซึ่งมีหนึ่งนโยบายสำคัญกาลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม นี้ คือ การยกเครื่องระบบภาษีครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ประกาศอิสรภาพเมื่อปี 1947 โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบใหม่ที่เรียกว่า “ระบบ GST” (Goods and Services Tax)

รื้อระบบภาษีสุดยุ่งยาก
ด้วยความที่อินเดียเป็นประเทศขนาดใหญ่ที่มีการกระจายอำนาจการปกครองไปสู่แต่ละรัฐ ทำให้มีทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นของ 29 รัฐที่มีอำนาจกำหนดกฎเกณฑ์ของแต่ละรัฐ รวมถึงอัตราภาษีที่แตกต่างกัน ส่งผลให้อินเดียเป็นประเทศที่มีการเก็บภาษีที่ซับซ้อนมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก! ซึ่งอาจไม่ใช่เป้าหมายที่น่าดึงดูดสาหรับนักลงทุนต่างชาติสักเท่าไหร่ โดยอุปสรรคสำคัญที่เกิดขึ้น ได้แก่ 1. เสียเวลาศึกษาอัตราภาษีจำนวนมาก 2. ตรวจสอบยาก เพราะถูกเก็บภาษีจากหลายหน่วยงาน 3. มีแรงจูงใจมหาศาลให้ติดสินบนเจ้าหน้าที่ 4. การซื้อขายระหว่างรัฐมีต้นทุนสูง และ 5. เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกและการผลิต

ระบบภาษีใหม่ไฉไลกว่าเดิม
GST เป็นระบบที่จะตั้งอัตราภาษีสินค้าและบริการให้มีอัตราเดียวกันทั้งประเทศ ประกอบกับจะยกเลิกภาษีทางอ้อมต่างๆ ประมาณ 15 ประเภท เช่น ภาษีขายระหว่างรัฐ (Central sale tax) ภาษีเข้ารัฐ (Entry tax) ภาษีผ่านแดน (Octori) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีสรรพสามิต ให้มารวมกันอยู่ภายใต้ระบบ GST ทั้งหมด ทั้งนี้ กฎหมายฉบับใหม่จะกำหนดอัตราภาษีของสินค้าและบริการแต่ละประเภทไว้อย่างชัดเจนเป็นอัตราเท่ากันทั่วประเทศ และให้ดาเนินการผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมดเพื่อลดการเผชิญหน้าระหว่างผู้เสียภาษีและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยการขายสินค้าและบริการในรัฐเดียวกันจะต้องเสียภาษีให้รัฐบาลท้องถิ่น (State GST: SGST) และรัฐบาลกลาง (Central GST; CGST) ในสัดส่วน 50:50 ทำให้มีการตรวจสอบที่รัดกุมจากทั้ง 2 หน่วยงาน และสาหรับการซื้อขายระหว่างรัฐจะถูกจัดเก็บภาษีโดยรัฐบาลกลาง (Integrated GST:IGST) เท่ากันทั่วประเทศ

India is a country that brings to mind diversity and complexity in virtually all aspects. Its variety of culture, ways of living between social groups and large population size of over a billion has been key feature attracting the focus of investors all over the world. Yet doing business in India is no easy task. Trivial regulations and inconsistencies between states are only part of the problem that has led India’s to rank 130th in ease of doing business out of 190 countries. Until now, the current government under leadership of Prime Minister Narendra Modi is pursuing an ambitious economic reform in multiple areas. One of the top priorities is the biggest tax reform since the country’s independence in 1947. The new tax system called Goods and Services Tax (GST) is now rolling out across India.

Removing the complex tax system.
India, which is a large country, is administered under a decentralized system composing of one central government and 29 states. Each state would have their own administration and were previously allowed to levy different tax rates. As a result, India had among the most complex tax system in the world, of which has been deterring foreign investors from India. Key obstacles for doing business arose from the old tax system includes 1. Understanding the tax system is too time consuming, 2. Inspection is difficult due to having multiple tax collecting agencies, 3. Huge incentive to bribe officers, 4. State-border trades have high cost in both terms of money and time, and 5. Problems in exports and manufacturing.

The new, unified tax regime
GST (Goods and Services Tax) is a system that will unify tax rate on goods and services within the country. The system is a change from the previous that allowed each state set their own tax rate. The new system would replace approximately 15 categories of indirect tax such as central sale tax, entry tax, Octori, VAT, Excise tax, etc. Each product will be imposed the same rate throughout the country. Furthermore, tax procedures will be required to conduct online in order to avoid contact between tax payers and government officers. For intra-state trading, tax on goods or services will be collected by between the state government (State GST: SGST) and central government (Central GST: CGST) equally. Therefore, assessment procedures is expected to be strictly complied on both governments. For inter-state trading, the tax, called integrated GST (IGST), will be levied solely by central government.

The Most Recent Food Regulations have been Enforced Notification of the Ministry of Public Health (No.378) B.E.2559 (2016) Re: Botanicals, animals or parts of botanicals or animals prohibited when used in food

กฎระเบียบด้านอาหารล่าสุดที่มีผลบังคับใช้
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 378) พ.ศ. 2559 เรื่อง กำหนดพืช สัตว์ หรือส่วนของพืชหรือสัตว์ ที่ห้ามใช้ในอาหาร

โดย: สำนักอาหาร
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

Full article TH-EN

ด้วยปรากฏหลักฐานและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ว่า สารประกอบหรือกลุ่มสารประกอบในพืช สัตว์ หรือส่วนของพืชหรือสัตว์บางชนิดไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค และไม่ควรนำมาใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร ประกอบกับคณะกรรมการด้านวิชาการยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของอาเซียน (ASEAN TMHS Scientific Committee; ATSC) ภายใต้คณะทำงาน ASEAN Consultative Committee on Standard and Quality Traditional Medicines and Health Supplements Product Working Group (ACCSQ-TMHS PWG) ได้จัดทำบัญชีสารสำคัญที่ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Negative List of Substances for Health Supplements) ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคจากการบริโภคอาหาร กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 378) พ.ศ.2559 เรื่อง กำหนดพืช สัตว์ หรือส่วนของพืชหรือสัตว์ ที่ห้ามใช้ในอาหาร ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้

Regarding scientific reasons and evidences which indicate that some compounds or groups of compounds in plants, animals, or parts of plants and animals are not safe for consumption and should not be used as food ingredients as well as the cooperation of The ASEAN TMHS Scientific Committee (ATSC), under the ASEAN Consultative Committee on Standard and Quality Traditional Medicines and Health Supplements Product Working Group (ACCSQ-TMHS PWG) which develop a Negative List of Substances for Health Supplements, Thai FDA therefore has issued the Notification of the Ministry of Public Health (No. 378) B.E. 2559 Re: Botanicals, animals or parts of botanicals or animals prohibited when used in food in order to protect consumers. The detail of the notification is summarized as follow;