Food Safety…Facts and Importance

ความปลอดภัยอาหาร…ข้อมูลและความสำคัญ

โดย: World Health Organization

แปลและเรียบเรียงโดย นิตยสารฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์
Translated by Food Focus Thailand magazine
editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN

เป็นที่ทราบกันดีว่า การรับประทานอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ให้เพียงพอ เป็นกุญแจสำคัญของสุขภาพที่ดีและยืนยาว ในปัจจุบัน อาหารที่ไม่สะอาดและปนเปื้อนด้วยแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต และสารเคมีต่างๆ สามารถก่อให้เกิดโรคได้กว่า 200 โรค ไม่ว่าจะเป็นโรคท้องร่วงไปจนถึงโรคร้ายแรงมากๆ อย่างโรคมะเร็ง ทุกปี ประชากรโลกราว 600 ล้านคน หรือราว 1 ใน 10 ต้องล้มป่วย และอีก 420,000 รายต้องเสียชีวิตจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ส่งผลให้มีการสูญเสียเวลาในการมีสุขภาพดีรวมแล้วถึง 33 ล้านปี (DALYs) เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องเสี่ยงเป็นโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารถึงร้อยละ 40 และเสียชีวิตถึง 125,000 รายต่อปี โดยโรคท้องร่วงเป็นอาการป่วยที่พบมากที่สุดและส่งผลให้มีผู้ป่วยทั่วโลกรวมแล้วถึง 550 ล้านคน เสียชีวิตถึง 230,000 รายในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม ความปลอดภัยทางด้านอาหาร สารอาหาร และความมั่นคงทางอาหารนั้นเชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน อาหารที่ไม่ปลอดภัยก่อให้เกิดวงจรอุบาทว์ของการระบาดของโรคและภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่เป็นทารก เด็กเล็ก คนแก่ และผู้ป่วย โรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารยังเป็นตัวถ่วงความเจริญในด้านการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ เป็นภาระต่อระบบสาธารณะสุข บั่นทอนภาคเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ด้วยภาวะที่ห่วงโซ่การผลิตอาหารโยงใยกันไปในหลายประเทศ ความร่วมมือที่ดีระหว่างรัฐบาล ผู้ผลิต และผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งจำเป็นในสร้างความปลอดภัยทางด้านอาหาร

As we all know that access to sufficient amounts of safe and nutritious food is key to sustaining life and promoting good health. At present, unsafe food containing harmful bacteria, viruses, parasites or chemical substances, causes more than 200 diseases – ranging from diarrhoea to cancers. An estimated 600 million – almost 1 in 10 people in the world – fall ill after eating contaminated food and 420,000 die every year, resulting in the loss of 33 million healthy life years (DALYs). Children under 5 years of age carry 40% of the foodborne disease burden, with 125,000 deaths every year. Diarrhoeal diseases are the most common illnesses resulting from the consumption of contaminated food, causing 550 million people to fall ill and 230, 000 deaths every year. However, food safety, nutrition and food security are inextricably linked. Unsafe food creates a vicious cycle of disease and malnutrition, particularly affecting infants, young children, elderly and the sick. Foodborne diseases impede socioeconomic development by straining health care systems, and harming national economies, tourism and trade. Food supply chains now cross multiple national borders. Good collaboration between governments, producers and consumers helps ensure food safety.

Automatic Test System of Vertical Metal Detector

นวัตกรรมล่าสุดสำหรับเครื่องตรวจจับโลหะในสินค้าที่ไหลตกผ่านตามแนวดิ่ง กับระบบทดสอบอัตโนมัติ

โดย: บริษัท เมทเล่อร์-โทเลโด (ประเทศไทย) จำกัด
Mettler-Toledo (Thailand) Limited
MT-TH.CustomerSupport@mt.com

Full article TH-EN

ระบบทดสอบอัตโนมัติ (The Automatic Test System – ATS) ช่วยย่นระยะเวลาในการทดสอบตรวจจับโลหะได้ถึงร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับกระบวนการที่ทำด้วยคน นอกจากนี้ ผลการทดสอบที่ได้ยังมีความครบถ้วนสมบูรณ์ สม่ำเสมอทุกครั้ง ในการตรวจจับโลหะหลายชนิดเพื่อปรับปรุงคุณภาพของการทำงาน

การทำการทดสอบเป็นประจำถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของผู้ปฏิบัติการบนระบบตรวจจับโลหะแบบแนวตั้ง หรือแบบที่ใช้แรงโน้มถ่วงเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งเป็นระบบที่มีความเร็วสูง การใส่ตัวอย่างโลหะที่ต้องการตรวจจับลงในอาหารตัวอย่าง เช่น แป้ง ขนมขบเคี้ยว หรืออาหารทานเล่น ซึ่งเคลื่อนที่ตามแรงโน้มถ่วงอย่างเสรีและบันทึกผลการทดสอบใช้เวลาและทรัพยากรอย่างมาก ในหลายกรณี ผู้ปฏิบัติการยังต้องทำงานในที่สูง และต้องเอื้อมมือไปหยิบจับอุปกรณ์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ และระบบทดสอบอัตโนมัติสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้

ระบบอัตโนมัติดังกล่าวนี้ยังสามารถช่วยลดต้นทุนและปรับปรุงผลการทดสอบโลหะที่ต้องทำซ้ำเป็นกิจวัตร เนื่องจากถูกออกแบบมาให้ใช้ตรวจจับโลหะในวัสดุที่มีการเคลื่อนที่ตามแรงโน้มถ่วงอย่างเสรีตามแนวตั้ง หรือระบบการผลิตที่ใช้แรงโนมถ่วงเป็นตัวขับเคลื่อน
เมื่อเริ่มใช้ระบบปฏิบัติการ ระบบจะทดสอบเครื่องตรวจจับโลหะเพื่อให้มั่นใจว่าระบบปฏิบัติงานจะเดินหน้าตามที่ผู้ใช้ต้องการ อย่างไรก็ตาม ระบบไม่สามารถตรวจสอบความแม่นยำของระบบคัดแยกสินค้าได้

The Automatic Test System (ATS) can decrease the time it takes to complete metal detector performance monitoring tests by up to 90%, compared to manual testing processes. The ATS ensures tests are completed consistently, every time, for multiple metal types to improve process quality.

Routine performance testing is particularly challenging for operators of high speed, vertical or gravity-fed metal detection systems. Introducing metal test samples into free-falling powders, snack food, or confectionery applications and documenting the results takes considerable time and resource. In many cases the process requires operators to work at height and to reach across equipment which creates potential risk. The ATS addresses each of these challenges.
The ATS is a system that can be used to reduce the cost and improve the repeatability of metal detector routine performance monitoring tests. It is designed for use with metal detectors inspecting free-falling product in vertical packing or gravity-fed applications.
Once activated, the system automatically tests the metal detector to ensure it continues to operate to the customer’s required quality standard. It does not however, verify the effectiveness of the reject control system in place.

Keystone Food Products…one step ahead with turnkey solutions

Keystone Food Products ก้าวล้ำหน้าอีกขั้นกับระบบเทิร์นคีย์

By:Paul Webster
General Manager – Asia
tna
paul.webster@tnasolutions.com
Full article TH-EN

ด้วยฐานการผลิตในเมืองอีสตัน มลรัฐเพนซิลวาเนีย Keystone Food Products (คีย์สโตน) ผู้ผลิตสินค้าและขนมขบเคี้ยวจากข้าวโพดจากธรรมชาติและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น แผ่นตอร์ติญา ป๊อปคอร์น และขนมขบเคี้ยวต่างๆ ต้องการปรับปรุงการใช้พื้นที่การทำงานให้เต็มศักยภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและตอบโจทย์ลูกค้าในอนาคต ทำให้ที่ผ่านมา บริษัทได้พยายามหาเทคโนโลยีการบรรจุแบบอันทันสมัยที่สุดที่มีกระบวนการจากต้นน้ำถึงปลายน้ำเข้ามาปฏิวัติการผลิตของบริษัท

ปรับปรุงระบบแพ็คเกจจิ้ง
ในฐานะผู้ผลิตและรับจ้างบรรจุขนมขบเคี้ยวทำจากข้าวโพดหลากหลายชนิด คีย์สโตนมองหาระบบแพ็คเกจจิ้งที่มีความยืดหยุ่นแต่คงประสิทธิภาพสูง และสามารถปรับเข้ากับกระบวนการผลิตเดิมได้ นอกจากนี้ ความต้องการสินค้าในแพ็คเกจที่มีขนาดเล็กลงยังเป็นความท้าทายใหม่สำหรับคีย์สโตนในการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคพร้อมกับการรักษาผลกำไรของบริษัทอีกด้วย

ระบบการบรรจุครบวงจร1 นวัตกรรมที่ติดตั้งล่าสุดในโรงงานสามารถใช้กับระบบแพ็คเกจจิ้งแบบฟันปลาได้ทุกขนาดและทุกชนิด (แบบเดี่ยว แบบราบ แบบคู่ หรือแบบ 3) ซึ่งเป็นความยืดหยุ่นตามที่คีย์สโตนต้องการในการบรรจุสินค้าหลายประเภท นอกจากนี้ ระบบแพ็คเกจจิ้งแบบพร้อมสรรพยังช่วยให้เครื่องจักรตัวใหม่นี้ประกอบเข้ากับเครื่องมือที่มีอยู่แล้วได้ง่าย จากบริการจัดการระบบการผลิตอย่างเป็นระบบ ผลลัพท์ที่ได้คือประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นถึง 30% ทั้งในแง่ผลลัพท์ที่ได้และการลดจำนวนสินค้าที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ถือว่าระบบการผลิตอย่างเป็นศิลปะเครื่องนี้ช่วยเพิ่มความเร็วและแม่นยำในการทำงาน ซึ่งช่วยให้คีย์สโตนสามารถปรับการทำงานสำหรับแพ็คเกจขนาดเล็กได้

นอกจากนี้ ระบบการบรรจุครบวงจร1 ยังไม่ต้องตั้งค่าทางเทคนิคเมื่อเปลี่ยนสินค้าที่ผลิต หรือฟิล์มที่ใช้ในการผลิต ตรงนี้ถือเป็นจุดสำคัญที่เหมาะสำหรับความต้องการของคีย์สโตน ที่มองหาเครื่องจักรที่เรียบง่ายแต่มีความคุ้มค่า และยังพร้อมรับมือการผลิตที่สลับไปมาระหว่างแพ็คเกจต่างขนาด และสินค้าต่างชนิดกัน ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรชนิดนี้ยังสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกในอนาคต หากมีการปรับปรุงระบบฟันปลา ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตของคีย์สโตนอย่างแท้จริง

Based in Easton, Pennsylvania, Keystone Food Products produces and co-packages a wide variety of natural and healthy, unique corn-based snacks from tortilla chips to snack mixes, popcorn and extruded snacks. In order to maximise workspace, boost productivity and meet further customer demand, Keystone sought several new start-to-finish packaging solutions to revolutionise its production line.
Flexible solutions for expanded capabilities: As a producer and co-packer of a range of corn-based snacks, Keystone needed a flexible, high performance packaging solution that could easily be integrated into its existing production line. In addition, the growing market requirement for smaller bag sizes meant Keystone needed to expand the plant’s manufacturing capabilities to address this customer demand while still maintaining profitability.

Keystone’s new innovative packaging system1 allows for any jaw configuration (single, flat, double or triple) or size, giving Keystone the flexibility it needs for its wide range of packaging services. With performance improvements of up to 30% in both output and the reduction of rejects, this state-of-the art packaging system also significantly increased the speed and precision of the entire production, helping Keystone optimise performance while catering to the demand for smaller bags.

Furthermore, the new packaging system1 does not require any mechanical adjustments when changing product or film. This was a particularly important benefit for Keystone who required a simple, yet efficiently-designed machine to facilitate the switch between different bag formats and products. Additional performance improvements can be achieved by upgrading the jaw setup, leaving Keystone fully prepared for the future.

Modern Trade

ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่

โดย: พูลสุข นิลกิจศรานนท์
Poonsuk Ninkitsaranont
poonsuk.ninkitsaranont@krungsri.com

ปิยะนุช สถาพงศ์ภักดี
Piyanuj Zthapongpakdee
piyanuj.zthapongpakdee@krungsri.com

Banking Analyst
Research Division
Bank of Ayudhya PCL.

Full article TH-EN

ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern trade) เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมค้าปลีกค้าส่งซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 2.2 ล้านล้านบาทในปี 2559 (คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 15 ของ GDP ซึ่งมีมูลค่าเป็นอันดับสองรองจากอุตสาหกรรมการผลิตที่มีสัดส่วนร้อยละ 27.4)

ในอดีต ธุรกิจค้าปลีกในไทยเป็นร้านขายของชำขนาดเล็กที่จัดหาสินค้ามาจำหน่ายโดยผ่านตัวกลาง (ผู้ค้าส่ง) แต่ปัจจุบันรูปแบบร้านค้าปลีกเปลี่ยนแปลงไปเป็นร้านค้าทันสมัย ลดการพึ่งพาผู้ค้าส่ง เนื่องจากผู้ประกอบการมักเป็นนายทุนรายใหญ่ที่มีเครือข่ายสาขาจำนวนมากหรือเป็นผู้ซื้อรายใหญ่จึงมีอํานาจต่อรองเหนือผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายสินค้า1 มีการบริหารจัดการร้านค้าอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ มีการจัดการสต็อกสินค้า ระบบการจัดการขนส่งและศูนย์กระจายสินค้า ตลอดจนนำเทคโนโลยีด้านปฏิบัติการต่างๆ มาใช้ เพื่อสร้างความได้เปรียบด้านการตลาด

กว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และเมืองหลักต่างๆ ที่มีความเป็นสังคมเมืองสูง อานิสงส์จากนโยบายรัฐที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาลงทุนในธุรกิจค้าปลีกในไทยได้2 นอกจากนี้ ลักษณะของร้านค้าที่มีความสะดวกสบาย ทันสมัย มีสินค้าที่มีคุณภาพและหลากหลาย จึงสามารถตอบสนองพฤติกรรมการบริโภคของภาคครัวเรือนได้ดี โดยเฉพาะร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าในชีวิตประจำวัน ใกล้แหล่งชุมชนจะมีการขยายตัวของการลงทุนสูง ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่จึงเริ่มเข้ามาทดแทนธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (Traditional trade) โดยในปี 2557 ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่มีสัดส่วนร้อยละ 61 ของมูลค่าตลาดค้าปลีกค้าส่ง เทียบกับในปี 2544 ที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 253

In 2016, the modern trade sector had a combined value of THB 2.2 trillion, or 15% of GDP, which puts it in second place after the industrial sector, which accounts for 27.4% of GDP.

In the past, the Thai retail sector was dominated by small, family-run grocers which obtained stock from middlemen and distributors. However, the situation has changed considerably and large-scale operators are less dependent on wholesalers as they now own extensive branch networks and are able to occupy favorable bargaining positions when negotiating with producers and wholesalers1. In addition, they have managed to adopt a range of innovations, including shop & stock and distribution management systems, distribution centers, and the widespread use of technology deployed to help in a range of tasks, which allow them to gain various marketing advantages.
Over the previous two decades, the modern trade sector has seen rapid expansion, in particular in Bangkok and in those regional centers where the level of urbanization has been high. This is a result of government opening the domestic market to foreign investors and operators2 and supporting the expansion of existing businesses. Goods sold in modern trade outlets are many and varied and cover the range of items required for daily life and this ability to meet consumer demand effectively is one factor in explaining how modern traders have been able to usurp the position of traditional grocers, a triumph underlined by the fact that currently, modern traders control 61% of the market in 2014, compared with only 25% in 20013.

Food Retail Business

ธุรกิจค้าปลีกอาหารเวียดนามมาแรง โตต่อเนื่อง

By: Food Intelligence Center
National Food Institute
http://fic.nfi.or.th

Full article TH-EN

ธุรกิจค้าปลีกสินค้าอาหารของเวียดนามมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเชิงมูลค่าการตลาด ซึ่งมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 16.9 ต่อปี ตลอดช่วงที่วิเคราะห์ (ปี 2554-2558) โดยใน ปี 2558 สามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายคิดเป็นมูลค่า 1,371.4 ล้านล้านด่ง มีจำนวนสาขารวม 648,900 แห่ง (รูปที่ 1) ส่วนใหญ่เป็นผลจากการขยายตัวของร้านค้าสะดวกซื้อ ซึ่งมีการเติบโตของมูลค่าการตลาดมากกว่า 3 เท่า ตลอดช่วงที่วิเคราะห์ โดยได้รับอานิสงส์จากรูปแบบการใช้ชีวิตของชาวเวียดนามที่ต้องทางานยาวนานขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทางานในออฟฟิศ จึงไม่มีเวลามากนักที่จะออกไปซื้อสินค้าอาหาร ดังนั้น พวกเขามักจะซื้อสินค้าอาหารกักตุนไว้คราวละจานวนมาก โดยเฉพาะอาหารบรรจุเสร็จ เพื่อประหยัดเวลาในการปรุงอาหาร โดยสินค้าดังกล่าวมักจะมีวางจำหน่ายอย่างหลากหลายในห้างค้าปลีกสมัยใหม่ รวมถึงไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นห้างค้าปลีกอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน

สำหรับกาจำหน่ายสินค้าอาหารผ่านอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภคชาวเวียดนาม โดยผู้ค้าปลีกรายใหญ่ อย่าง บริษัท Saigon Union of Trading Cooperatives และบริษัท Casino Guichard-Perrachon ต่างพัฒนาเว็บไซต์เพื่อรองรับพฤติกรรมการบริโภคดังกล่าวของชาวเวียดนามที่ต้องการสั่งซื้อสินค้าจากบ้าน อย่างไรก็ตาม แม่บ้านชาวเวียดนามส่วนใหญ่ยังนิยมมาเลือกซื้อสินค้าอาหารสดที่ร้านค้าปลีกด้วยตนเอง โดยกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองจะเลือกไปจับจ่ายซื้อสินค้าอาหารที่ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ขณะที่กลุ่มผู้ที่อาศัยในเขตชนบทยังคงชื่นชอบการไปเดินเลือกซื้อสินค้าตามตลาดสดหรือร้านขายของชำขนาดเล็กแบบเดิม เนื่องจากพวกเขาเดินทางโดยรถจักรยานยนต์ จึงมีความสะดวกกว่า หากไปซื้อที่ร้านใกล้บ้าน หรือร้านข้างทาง แทนการไปจอดรถที่ซูเปอร์มาร์เก็ตและต้องเสียเวลารอคิวชำระเงิน

ในปี 2558 ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม จัดเป็นรูปแบบการค้าหลักสินค้าอาหารในเวียดนาม ด้วยสัดส่วนร้อยละ 95 ในเชิงมูลค่า และร้อยละ 99.8 ในเชิงจำนวนสาขา โดยร้านขายของชำแบบดั้งเดิมอื่น เช่น ตลาดสด และร้านขายของชำอิสระขนาดเล็ก ครองส่วนแบ่งธุรกิจมากที่สุดร้อยละ 65.3 และ 27.3 ของมูลค่าการค้าปลีกสินค้าอาหารทั้งหมดในเวียดนาม (รูปที่ 2) อย่างไรก็ตาม ทิศทางการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมเริ่มถดถอยลง เนื่องจากผู้บริโภคชาวเวียดนามจำนวนมากเปลี่ยนจากการซื้อสินค้าอาหารจากตลาดสดแบบเดิม และหันไปเลือกซื้อสินค้าอาหารจากซูเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น โดยผู้ประกอบธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตต่างลดราคาสินค้า เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าของตนมากขึ้นเช่นกัน ส่วนร้านค้าลดราคา (discounters) ในเวียดนามยังไม่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน เนื่องจากผู้ค้าปลีกรายใหญ่มักจะมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีกับผู้ผลิตสินค้าอาหารอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาผู้จัดหาสินค้า (Suppliers) เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง
ผู้เล่นสำคัญ

บริษัท Saigon Union of Trading Cooperatives เป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกสินค้าอาหารในเวียดนามอย่างต่อเนื่อง ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดร้อยละ 1.9 ของมูลค่าธุรกิจค้าปลีกสินค้าอาหารทั้งหมดในเวียดนาม ในปี 2558 จำกการดำเนินร้าน “Co.opMart” และร้าน “Co.op Food” ซึ่งมีจำนวนร้านสาขามากถึง 117 และ 80 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยทางร้าน “Co.opMart” ได้พัฒนาแอพพลิเคชันบนมือถือสำหรับกลุ่มลูกค้าเดิมของร้านในการเก็บสะสมคะแนนจากการสั่งซื้อสินค้า รวมทั้งการรับทราบข่าวสารโปรโมชั่นสินค้าต่าง ๆ ของทางร้านด้วย นอกจากนี้ยังมีผู้ค้าปลีกที่จัดเป็นผู้นำในธุรกิจไฮเปอร์มาร์เก็ต ได้แก่ ร้าน “Big C” ของบริษัท Casino Guichard-Perrachon และร้าน “Lotte Mart” ของบริษัท Lotte Shopping มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.5 และ 0.3 ของมูลค่าธุรกิจค้าปลีกสินค้าอาหารทั้งหมดในเวียดนาม ตามลำดับ ทั้งนี้ในปี 2558 ได้มีผู้ค้าปลีกรายใหม่ อย่าง ร้าน “Vinmart” ของบริษัท VinPro เข้ามาเปิดธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อในเวียดนามเป็นครั้งแรกกว่า 100 สาขา ส่งผลให้ร้าน “Fivimart” ของบริษัท TCT Group ต้องสูญเสียส่วนแบ่งธุรกิจไป ซึ่งต่อมาบริษัท Aeon Vietnam ได้เข้ามาซื้อหุ้นส่วน ร้อยละ 30 ของกิจการซูเปอร์มาร์เก็ต “Fivimart” และร้อยละ 49 ของกิจการซูเปอร์มาร์เก็ต “Citimart” ของบริษัท Dong Hung Trading Service เพื่อรักษาสถานะทางธุรกิจนี้ไว้ โดยร้าน “Co.opMart” และร้าน “Big C” จะเน้นกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคาเป็นหลัก ขณะที่ร้าน “Lotte Mart” จะเน้นกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลาง-สูง ส่วนร้าน “Fivimart” และร้าน “Citimart” จะเน้นจำหน่ายสินค้าอาหารนำเข้า โดยเฉพาะสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น

In the current situation, Vietnam’s food retail industry is growing unstoppably, especially the market value which grows averagely 16.9% annually throughout our period of research (2011 – 2015). Only in 2015, the industry earned 1,371.4-trillion-dong profit from sales in 648,900 branches (Figure 1), mostly because of the expansion of convenient store, whose market value growth increased 3 folds during the period. The trend was the result of changing lifestyle, for which many Vietnamese are working longer house, particularly office workers, and they do not have enough time to shop for grocery. Therefore, these consumers are hoarding large amount of food, instant food specifically, to safe cooking time. Such kind of products are often available in modern retail store, hypermarket, and supermarket, which are different types of retail store that are flourishing rapidly during this same period.

Internet retail store is another interesting shopping channel for Vietnamese consumers. Many giant retail stores, for example Saigon Union of Trading Cooperatives and Casino Guichard-Perrachon, are developing their websites in respond to the new consuming behaviour where many prefer to purchase items from their homes. Nonetheless, many Vietnamese housewives still prefer to come to the retail stores. Housewives in urban area are often found shopping at modern retail stores, while those in rural areas are keen to shop from wet markets or small convenience stores. For the provincials, it is easier for them to travel to convenience stores close to home than stop at supermarkets and wait for the queue, because they usually commute on motorcycles.

In 2015, traditional retail store is the main channel for food trade in Vietnam, taking 95% of the total market value, and 99.8% in terms of number of branches. Traditional retail store includes wet market and small independent convenience store, who controls 65.3% and 27.3% of the national market share per volume, respectively. (Figure 2) Nevertheless, traditional retail stores are in decline after many Vietnamese consumers changed from buying food from wet market to buying from supermarket. Supermarkets also run promotion campaign, e.g. price cut, to attract more consumers. Meanwhile, discounters are not yet seen in Vietnam as many large retail chains hold close relationships with food manufacturers, hence, there is no need to rely on suppliers for discounts.

The key player, Saigon Union of Trading and Cooperatives, has long been the leading food retailer in Vietnam, controlling 1.9% of the retail market value. In 2015, its Co.opMart and Co.op Food has 117 branches and 80 branches nationwide, respectively. Co.opMart recently develop a mobile phone application for loyal customers to collect points and receive news and promotions. Not only that, there’s also hypermarket players like Big C (by Casino Guichard-Perrachon) and Lotte Mart (by Lotte Shopping), who control 1.5% and 0.3% of the market share, respectively. We also see a new player in 2015, Vinmart (by VinPro), who kicked off with more than 100 branches and stole some market share from Fivimart (by TCT Group). Eventually, Aeon Vietnam has brought 30% share from Fivimart, and 49% from Citimart (by Dong Hung Trading Service) to maintain these businesses. Co.opMart and Big C focus on price cut strategy, while Lotte Mart targets medium to high income consumers. Fivimart and Citimart, on the other hand, add import foods to their strength, especially with Japanese products.

Thai SME’s Obstacles in New Product Development Process

ปัจจัยที่พึงระวังในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของผู้ประกอบการอาหาร SMEs

โดย: ทรงวิทย์ หงสประภาส
Throngvid Hongsaprabhas
Manager – Food & Beverage Business
Sahapan Century Co., Ltd.
(A Company of Sahapan Group)
throngvid.h@sahapan.co.th

Full article TH-EN

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ภาครัฐและภาคเอกชนมีความพยายามร่วมกันผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นครัวของโลก โดยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าอาหารรายใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร SMEs จึงเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าวให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารแปรรูปถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร SMEs นิยมใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบทางการเกษตร และนำไปประยุกต์ต่อยอดกับผลิตภัณฑ์อาหารที่จะวางจำหน่ายในอนาคตได้

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product development) ให้มีความเป็นนวัตกรรม ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการแปรรูปอาหาร องค์ความรู้ทางวิชาการและการตลาด ตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารแปรรูปที่พัฒนานั้นมีความโดดเด่นและแตกต่าง ที่ผ่านมาผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร SMEs มักไม่ได้ให้ความสำคัญกับการบูรณาการแนวคิดนวัตกรรมเข้ากับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ทำให้เสียโอกาสในการสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันของกิจการ (Competitive advantage) เนื่องจากต้องลงทุนสูง ทั้งในด้านงบประมาณ ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า รวมถึงขาดบุคลากรด้านวิจัยและพัฒนาภายในองค์กร จึงมักมุ่งเน้นแต่การผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความเป็นนวัตกรรมของผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร SMEs อาจไม่ใช่เรื่องยากเท่ากับในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาให้แก่ภาคเอกชนโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยอาศัยแนวคิด “การสร้างนวัตกรรมแบบเปิด (Open innovation)” ที่ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประกอบการอาหาร SMEs ในการวิจัยและพัฒนาในระดับห้องปฏิบัติการ รวมไปถึงการว่าจ้างโรงงานผู้ผลิตอาหารแปรรูปที่ให้บริการรับจ้างผลิต (Original Equipment Manufacturer; OEM) ซึ่งจะช่วยลดการลงทุนในด้านโรงงานและบุคลากรด้านการผลิต ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร SMEs สามารถผลักดันผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารแปรรูปให้ออกสู่ตลาดได้สะดวกยิ่งขึ้น

It has been many years that Thai government and private sectors put their effort on “Kitchen to the world” project, targeting Thailand to be the biggest food producer and exporter country ranked 1 in 5 of the world. Therefore, SMEs food entrepreneur is considered as main factor to bring about the project achievement. Innovative food product development is one of the wise choices of SMEs food entrepreneur applied to add value to agricultural materials or their food products may launch in the future.

The development of new innovative products requires food processing technology, academic and marketing knowledges, including creative ideas contribute to the different and outstanding characteristic of the products. As former times, SMEs food entrepreneur has overlooked the integrity of innovative ideas into new product development. This causes loosing of opportunity to build the business’ competitive advantage. It is due to high investment both in budget and time of study and research, including the lack of research and development (R&D) personnel in their organizations. According to these reasons and limitation, SMEs food entrepreneurs usually focus on manufacturing the existing products just for sale only.

However, the development of new innovative products of the entrepreneur may not facing difficulties as former times. There are many government organizations have been established to particularly provide R&D support for private sectors. This is a new product development by a notion called “open innovation”. These could help SMEs food entrepreneurs to alleviate them in researching and developing their products in lab-scale including hiring food manufacturing factory (Original Equipment Manufacturer; OEM) to produce food products supplied for their business. As aforesaid, it would help to reduce factorial and producing personnel investment leads to increasing more opportunity for them to launch their innovative processed food products to the market successfully.

Food Export Growth to Continue in 2018 in Pace with the World Economy

คาดการณ์การส่งออกอาหาร ปี 2561 เติบโตต่อเนื่องตามเศรษฐกิจโลก

โดย: สถาบันอาหาร
National Food Institute
www.nfi.or.th

Full article TH-EN

 

การแถลงข่าวร่วม 3 องค์กรเศรษฐกิจด้านธุรกิจเกษตรและอาหาร โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสถาบันอาหาร เผยส่งออกอาหารไทย 9 เดือนแรก ปี 2560 (มกราคม-กันยายน) มีปริมาณ 25.26 ล้านตัน มูลค่า 768,797 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8.3 และร้อยละ 9.4 ตามลำดับ โดยเติบโตดีในตลาดตะวันออกกลาง (+ ร้อยละ 25.2) จีน (+ ร้อยละ 22.2) กลุ่มประเทศ CLMV (+ ร้อยละ 19.9) และแอฟริกา (+ ร้อยละ 17.1) ภาพรวมการส่งออกอาหารไทยในปี 2560 คาดว่าจะมีมูลค่า 1.03 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ชี้ไตรมาสสุดท้ายยังโตต่อเนื่อง ตามแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า ทั้งต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น และเป็นช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองปลายปี ส่วนปี 2561 ประเมินว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8.7 มีมูลค่าส่งออก 1.12 ล้านล้านบาท

การแถลงข่าวร่วม 3 องค์กร โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง สถานการณ์ธุรกิจเกษตรและอาหารของไทยในปี 2560 และแนวโน้มในปี 2561 มีตัวแทนหลักของทั้ง 3 องค์กร ประกอบด้วย นายสัตวแพทย์บุญเพ็ง สันติวัฒนธรรม ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ กรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และคุณยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมให้รายละเอียดสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ในการประสานความร่วมมือของ 3 องค์กร ในส่วนของสถาบันอาหารจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินงานของศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร หรือ Food Intelligence Center พบว่า ภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2560 (มกราคม-กันยายน) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ส่วนภาคการส่งออกสินค้าอาหารไทย มีปริมาณ 25.26 ล้านตัน มูลค่า 768,797 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8.3 และร้อยละ 9.4 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น หลังจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น รวมถึงจีน ขณะที่เศรษฐกิจและการค้าในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาก็เริ่มปรับตัวดีขึ้น

A joint press conference, held by 3 agricultural and food business organizations which include The Federation of Thai Industries, Board of Trade of Thailand, and National Food Institute, revealed that Thailand’s food export in the first 9 months of 2017 (January-September) reached 25.26 million tons, valued at THB 768,797 million, growing by 8.3% and 9.4% respectively. The export performed well in the markets such as the Middle East (+ 25.2%), China (+ 22.2%), CLMV (+19.9%) and Africa (+ 17.1%). The country’s overall food export values in 2017 are set to reach THB 1.03 trillion, with an increase of 8.4% which is expected to continue in the last quarter thanks to the stronger global economy as well as those of partner countries, lower production costs, higher quantity of domestic agricultural products and end-of-year celebrations. As for 2018, the export is projected to roll up by 8.7%, with a total value at THB 1.12 trillion.

The press conference, jointly held by The Federation of Thai Industries, Board of Trade of Thailand, and National Food Institute under the theme of “Agricultural and food business situation in 2017 and the 2018 trends”, was headed by the main representatives of the aforementioned organizations; Dr.Boonpeng Santiwattanatam, Chairman of Food Processing Industry Club of The Federation of Thai Industries, Dr.Chanintr Chalisarapong, Committee of Board of Trade of Thailand and Mr.Yongvut Saovapruk, President of National Food Institute.

Mr.Yongvut Saovapruk, President of National Food Institute, revealed that in this joint collaboration, National Food Institute is responsible for collecting data from all involved parties through Food Intelligence Center. According to the collected data, in the first 9 months of 2017 (January-September) Thai food manufacturing industry grew by 2.9% while food export industry totaled 25.26 million tons, valued at THB 768,797 million, moving up by 8.3% and 9.4% respectively, thanks to the rising global demand, the economic recovery of Thailand’s main trading partners such as USA, European Union, Japan and China as well as the trade upturn of the Middle Eastern and African countries.