Continue reading “COVID-19 sparks fear among Brazilian consumer”
Category: News
BOT issued additional measures to assist private enterprises affected by COVID-19 pandemic
“โปรติโอไกลแคน” องค์ประกอบที่สำคัญต่อสุขภาพข้อต่อและความงาม สกัดจากกระดูกอ่อนสันจมูกของปลาแซลมอน
“โปรติโอไกลแคน” องค์ประกอบที่สำคัญต่อสุขภาพข้อต่อและความงาม สกัดจากกระดูกอ่อนสันจมูกของปลาแซลมอน
โปรติโอไกลแคน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในโครงสร้างของข้อต่อและผิวหนัง ซึ่งโปรติโอไกลแคนเป็นไกลโคโปรตีนชนิดหนึ่ง โดยโปรติโอไกลแคนนี้มีประวัติเริ่มต้นมาจากอาหารพื้นเมืองของชาวฮอกไกโดที่ชื่อว่า “Hizu Namasu” ที่ชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคกันโดยทั่วไป อาหารนี้เกิดจากการนำกระดูกอ่อนจากสันจมูกของส่วนหัวแซลมอนมาหั่นบางๆ ดองร่วมกับหัวไชเท้าผสมกับน้ำส้มสายชู เป็นหนึ่งในเคล็ดลับความแข็งแรงและอ่อนเยาว์ แซลมอนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบจะพบมากที่ เมืองฮอกไกโดและอาโอโมริ จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ยังคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์
เมื่อพูดถึงกลไกการทำงานของสารสำคัญนี้ ในส่วนของข้อต่อ โปรติโอไกลแคนจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นการสร้างเซลล์ข้อต่อ เสริมสร้างเซลล์คอลลาเจนชนิดที่ 2 รวมถึงลดอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากโรคไขข้อเสื่อม โดยที่สารนี้ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงต่อข้อต่อ เช่น ความยืดหยุ่นและความต้านทานต่อการกระแทก
หน้าที่สำคัญอีกหน้าที่ของโปรติโอไกลแคน คือกระตุ้นการทำงานของเซลล์ผิวหนัง รวมถึงการผลิตคอลลาเจน และกรดไฮยาลูโรนิค ยิ่งไปกว่านั้นยังเพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นให้แก่ผิวหนัง อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อความอ่อนเยาว์ และเคล็ดลับความงามของผู้หญิงชาวญี่ปุ่น
——————————————————————————————————————-
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและสินค้าของทางบริษัทได้ทาง https://www.unifychemical.com/portfolio/food-supplement-th/ หรือทาง บริษัท สเปเชียล เทค คอร์ปอเรชั่น จำกัด เบอร์ติดต่อ: 02-084-4890, 02-962-6441 ext.416, 099-323-9703 Email: stc.t301@gmail.com
เมทเล่อร์-โทเลโด ย้ายที่ตั้งสำนักงานใหม่! ยึดคอนเซ็ปท์ความทันสมัยสไตล์ Office Campus
บริษัท เมทเล่อร์-โทเลโด (ประเทศไทย) จำกัด ได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานใหม่ จากพระราม 9 ไปยังโครงการซัมเมอร์ลาซาล ถนนลาซาล ย่านสุขุมวิท-บางนา ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 เป็นต้นไป
สำนักงานแห่งใหม่ของบริษัทฯ ตั้งอยู่ในโครงการซัมเมอร์ลาซาล บนพื้นที่ที่มีความทันสมัยตามคอนเซ็ปท์ของ Office Campus ภายนอกสำนักงานรายล้อมด้วยพื้นที่สีเขียวสำหรับการทำกิจกรรมและพักผ่อนหลังเลิกงาน บริเวณภายในมีการออกแบบพื้นที่ให้ใช้งานได้หลายรูปแบบ เพื่อตอบรับพฤติกรรมการทำงานของคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ยังมีโชว์รูมสินค้าที่ทันสมัย และสะดุดตา เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้มาเยือน โดยเป็นไปตามแนวคิดที่คุณอรวรรณ์ คงสมบูรณ์ ผู้บริหาร บริษัท เมทเล่อร์-โทเลโด (ประเทศไทย) จำกัด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของบรรยากาศในสถานที่ทำงานที่ควรสอดคล้องกับการใช้งาน และพักผ่อน เพื่อให้พนักงานทุกคนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความอิสระในการทำงาน
ทางบริษัทฯ จึงมีความประสงค์จะแจ้งให้ทราบอย่างเป็นทางการมา ณ ที่นี้ โดยที่อยู่ที่ตั้งสำนักงานใหม่ คือ
846/4 – 846/5 ถนนลาซาล แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
โทรศัพท์ 02 723 0300 (กทม), 038 609 561-2 (ระยอง), 043 227 230 (ขอนแก่น)
หากลูกค้าท่านใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบได้บนหน้าเว็ปไซต์ของทางบริษัทฯ www.mt.com
วีเอ็นยูฯ ประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่สาหรับธุรกิจค้าปลีกอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ
กลุ่มอาหาร Free Form หรืออาหารที่ปราศจากสารปรุงแต่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิภาคเอเชีย ผลการวิจัยของ Mintel ชี้ว่ากลุ่มผู้บริโภคชาวเอเชียมีการแพ้สารแลคโตสที่อยู่ในอาหารและผลิตภัณฑ์จากนมเพิ่มมากขึ้น และด้วยจำนวนผู้บริโภคนับล้านที่ใช้บริการร้านอาหารและบริการจัดส่งอาหารเป็นประจำ วีแกน (Vagan) จึงกลายมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สาคัญและกำลังเป็นกระแสที่น่าจับตาอย่างมากในประเทศแถบเอเชียและตะวันออกกลาง อีกทั้งสถิติล่าสุดจาก Euromonitor ยังระบุว่า 31% ของผู้บริโภคเป็นกลุ่มที่เลือกรับประทานอาหารที่ปราศจากการปรุงแต่ง วีแกน และอาหารเกษตรอินทรีย์
จากผลวิจัยดังกล่าวจึงนำมาสู่แนวคิดการจัดงาน ‘Free From Food Asia’ ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าและงานประชุมสัมมนาสำหรับอุตสาหกรรมอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะจัดเป็นประจำทุกปี งานครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในเอเชีย โดยกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 มีนาคม 2563 ณ อิมแพ็ค กรุงเทพฯ ประเทศไทย โดย EBCEXPO ผู้จัดงานแสดงสินค้าจากประเทศเนเธอร์แลนด์ และ วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จากประเทศไทย ซึ่งงาน Free From Food Asia 2021 จะถูกจัดขึ้นพร้อมกับงาน วิฟ เอเชีย 2021 ที่ประกาศเลือกอิมแพ็คเป็นสภานที่จัดงาน ในปี 2564
‘Free From Food Expo’ นับเป็นอีกหนึ่งงานแสดงสินค้าที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยถูกจัดขึ้นในหลากหลายเมืองในยุโรปนับตั้งแต่ปี 2013 โดยมีการเวียนไปจัดในเมืองต่างๆ ทั้ง ไฟรบูร์ก บรัสเซลส์ บาร์เซโลนา สตอกโฮล์ม และกำลังจะจัดในกรุงอัมสเตอร์ดัม และบาร์เซโลนาในปี 2020 และ 2021 นี้
Ronald Holman ผู้อำนวยการการจัดงานแสดงสินค้า บริษัท EBCEXPO ได้กล่าวว่า “ที่มาของการใช้ชื่องาน Free From Food มีแนวคิดมาจากฉลากอาหารที่ระบุข้อมูลโภชนาการต่างๆ ทั้งอาหารปราศจากส่วนผสมของนม อาหารปราศจากกลูเตน และอาหารปราศจากสารเติมแต่ง ซึ่งนับเป็นกระแสที่กำลังมาแรงในอุตสาหกรรมอาหารระดับโลกในปัจจุบัน”
Ronald ยังกล่าวเสริมอีกว่า “การใส่ใจในสุขภาพ การป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยต่อชีวิตของผู้คนนั้นส่งผลในการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดอาหารที่ปราศจากสารปรุงแต่ง (Free Form) และอาหารเกษตรอินทรีย์ ในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับอาหารประเภทนี้กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคและร้านค้าปลีกต่างๆ โดยการสร้างเวทีเจรจาการค้าอย่าง Free From Food Asia จะสามารถรวบรวมผู้ให้บริการอาหารทางเลือกเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ขยายโอกาสพบกลุ่มผู้ซื้อหลัก และเป็นมากกว่างานอาหารทั่วไป”
Heiko M.Stutzinger กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ได้กล่าวว่า “ความคิดริเริ่มของงาน Free From Food Asia มาจากความสัมพันธ์อันยาวนานและความเชื่อมั่นระหว่าง EBCEXPO และ Jaarbeurs ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มบริษัท วีเอ็นยู ในเนเธอร์แลนด์”
“วีเอ็นยูฯ ได้ดาเนินธุรกิจด้านการจัดงานแสดงสินค้าเพื่อธุรกิจและงานประชุมสัมมนาทั่วโลกเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจในภาคการผลิตอาหารทั้งเกษตรและปศุสัตว์ โดยมีงานหลักอย่าง VIV Asia (วิฟ เอเชีย) ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพ ประเทศไทย โดยเป็นงานที่สะท้อนความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิตอาหารโดยเน้นโปรตีนจากสัตว์ตั้งแต่การคัดเมล็ดพันธุ์ไปจนถึงการแปรรูปอาหาร (Feed to Food) สำหรับภูมิภาคเอเชีย และงานใหม่อย่าง Free From Food Asia จะเป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญในการสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจอาหารภาคเกษตรและยังเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างธุรกิจอาหารและธุรกิจค้าปลีก ซึ่งงานนี้จะเป็นเวทีเจรจาการค้าที่สำคัญของการจัดหาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่น่าจับตามากที่สุดงานหนึ่งของผู้ซื้อทั่วโลก” Heiko กล่าว
งาน Free From Food Asia จะจัดขึ้นตลอด 3 วัน ระหว่างวันที่ 10-12 มีนาคม 2564 ณ อิมแพ็ค ประเทศไทย ภายในงานจะมีการเชิญผู้ซื้อรายสำคัญจากทั่วโลก ตัวแทนจำหน่าย ร้านค้าปลีก โรงแรม โรงพยาบาล และกลุ่มธุรกิจที่ให้บริการด้านอาหารและเครื่องดื่มทั้งจากภูมิภาคอาเซียนแลตะวันออกกลางมารวมกันไว้ในงานเดียว
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานแสดงสินค้าระดับโลกที่จะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด เสริมสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ และสร้างโอกาสทางธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย ผ่านงาน Free From Food Asia กลุ่มผู้ซื้อใหม่ๆ รอท่านอยู่ รายละเอียดเพิ่มเติม www.bangkok.freefromfoodexpo.com
Research your way out of a crisis: COVID-19’s effect on consumer behaviour
19th-century diplomat Klemens von Metternich is credited with quipping: “When France sneezes, Europe catches a cold”. In the 20th century, this mutated into: “When America sneezes, the world catches a cold”. Scant surprise then that, in the wake of China’s meteoric economic rise in the 21st century, some economic journalists began paraphrasing this into: “When China sneezes, the world catches a cold”.
So we watch with concern the spread of COVID-19. Epidemiology aside, the effects of COVID-19 spreading will have wider implications, not just on how economies function, but also on how consumers behave, across China, Asia-Pacific, and around the world. Another effect of China’s economic rise is its influence in the adoption of and adaptation to new technologies and behaviour patterns that percolate out into the wider consumer sphere.
Mintel analysts have amassed many years of building expertise in understanding Chinese consumers, which allows us to monitor and measure the spread of the influence of Chinese consumer behaviour into the wider Asia-Pacific region. Consider the adoption of online-offline shopping; think of the huge influence on regional travel; recall China’s adoption and propulsion of Asian fashion and media; or its’ trendsetting in social commerce and crowd-sourced content consumption. China has had, and will continue to have, a huge influence on the region’s consumer behaviour.
COVID-19-induced changes in behaviour could well prove a new tide-change in the direction of China’s influence. The need for millions to retreat into self-quarantine, caused by the outbreak, has forced changes in the way many people have behaved for over a month now. Being cooped up at home for such an extended period will leave an indelible (if subtle) shift in how consumers in China – and through its influence, Asia-Pacific – behave in the future.
What will result from consumers being home-bound for a month (or more)?
The pace of life slows. The need for new routines emerge. Working from home becomes a necessity. Planning rationed shopping expeditions alters shopping lists. Couples, forced to stay in the same space day after day, learn to accommodate each other’s need for space (or perhaps not). Elders, previously reticent to shop online, find that new, easier-to-use apps and social media make shopping a breeze.
But what to do with all that extra time at home? Will China’s middle classes discover the joys of do-it-yourself (DIY) projects, to the elation of furnishings and decoration manufacturers across the region? Certainly, there is enough time for a thorough Spring clean, getting into otherwise neglected corners, or shifting the furniture to try new layouts. Hygiene is high on the agenda, so opportunities are opening up for more cleaning products, new ways to clean, and new home hacks from online videos. Will consumers spend more time on their wellness or beauty routines? Maybe.
Bored with reading the same old news or watching short-attention-span videos over-and-over, will people seek the long-read, discover long-unread books on their bookshelves, find work for idle hands in drawing, painting, puzzles, games or crafts? Even while online shopping has been boosted, and food delivery carries on (despite delivery restrictions), will the slow-it-all-down zeitgeist lead to a furthering of the shift towards consumers seeking more meaningful experiences, rather than just accumulating things? Based on Mintel’s 2030 Global Consumer Trends, we think so.
With limited shopping, China’s home-bound families are renewing their joy in-home cooking, finding creative ways to concoct meals with “what’s in the larder”. Online cooking videos are helping with the discovery of new recipes, new ways to create dishes, and new influences. What else is there to do when stuck at home, once the meals are cooked, the dishes washed, the floor scrubbed, and the kids safely tucked up in bed? More babies? Perhaps boredom, forced proximity, and patriotic stirrings to rejuvenate aging populations will bring extra stress to the bedspring.
How about less waste as an interesting angle? More home cooking and consideration of shopping strategies might lead to consumers to better appreciate using what they have, leading to less waste. Fewer home-delivery meals perhaps, and less throw-away packaging. Fewer trips to the mall might end with fewer impulse purchases of fast-fashion, and a reverse of the throw-away culture that has predominated.
Why will these behaviours persist?
In war, a victorious army keeps its strategic aims the same but adapts its tactics in the field to suit the changing needs of the situation. So brands also need to keep marketing their products and services but must innovate their way through changes in the consumer market, such as changes created by an epidemic.
There are benefits to both consumers and brands in having consumers’ time, technology, and attention. In China, we’re seeing:
- Chefs give live-stream cooking tutorials in restaurant kitchens;
- Gym instructors live stream work out classes;
- Club DJs live stream mixes for “cloud clubbing” sessions;
- Real estate agents give live stream tours of apartments for sale;
- Movies premiere via live stream while cinemas remain closed;
- Performers give live-stream performances from their homes;
- Farmers live stream produce in-the-field in order to sell to buyers;
- Auto dealers live stream the interiors of luxury cars;
- Retailers’ temporarily-redundant store staff sell online via live stream.
One of the criticisms of online shopping is the lack of service and human interaction. One of the key appeals of massive multiplayer online games (MMOGs) is the ability to compete and communicate with other people within the game environment. What the above examples of innovation-through-crisis show us is that businesses can still connect with their consumers via massive multi-participant online showrooming.
But, if necessity is the mother of invention, plagiarism is the mother of adoption. The key lesson here is that you don’t need the crisis to adopt and adapt a good idea to your own ends – that being better engagement with your existing and potential customers. JD.com was already developing AI-enabled vending machines, but the COVID-19 crisis gave it a reason to trial these to sell fresh produce to home-bound shoppers in China.
More importantly, if the innovation works to fulfill a basic human need, then it has the potential for longevity – for as long as the need persists. People still need to eat, sleep, work, and do all the things they normally do, which is why the economies of Asia-Pacific will rebound from the COVID-19 crisis. And if innovation has longevity in solving human need, you can potentially apply it wherever there are humans – especially if they are likely to be stuck at home for long periods of time in the coming months. As China now begins its economic reboot and supply chains regain traction, we will witness a reconfiguration of industries into new consumer behaviours. A change of key, perhaps, but the song remains the same.
Why will these behaviours spread throughout Asia-Pacific?
First, Mintel research shows that the majority of consumers across Asia-Pacific are active online in a vast array of ways. Of the 12,500+ consumers who owned any digital device surveyed by Mintel across 13 Asia-Pacific countries, the vast majority were already active across many spheres of digital engagement, indicating they are open to brand engagement, especially when they have extra time on their hands:
There is no reason that brands can’t use these kinds of live stream, online, and interactive ways to engage with their customers whether they are home-bound or not.
Mintel research also shows that three-quarters of consumers across Asia-Pacific agree that they find themselves wanting to learn more about things than they used to (eg brands, social matters, etc). This indicates a need for reliable sources of news and information and fighting fake news. This is where brands can step in to be the experts and offer not just human interaction, but also authoritative expertise. As consumers seek more community cooperation to get through any crisis, they will also expect more brands to work with (and within) their communities to create solutions to social problems – from virus outbreaks to climate change to food safety.
What we think
The same drivers of consumer behaviour apply to wider Asia-Pacific just as much as they do in China, whether there is a crisis or not. The key is to take any opportunity – crisis-induced or otherwise – and use innovative thinking to identify new ways to use technology to solve life’s issues. To understand what consumers want and why is the key, of course. That is why, following the logic that you need to advertise your way out of a recession, we believe you need to research your way out of a crisis.
Note:
The author of this thought piece is Matthew Crabbe, Mintel Trends Regional Director, Asia-Pacific.
ส่องธุรกิจค้าปลีก…รับมืออย่างไรจาก Covid-19
EIC พบว่าการแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์การระบาดในแต่ละระยะ โดยในช่วงแรกที่เริ่มมีการระบาด ผู้บริโภคจะมีความต้องการสินค้าในการป้องกันสุขภาพเพิ่มขึ้น และต่อมาเมื่อถึงระยะที่เริ่มมีการระบาดกันเองภายในประเทศ ผู้บริโภคจะมีความต้องการกักตุนสินค้า
จำเป็นพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก และเมื่อถึงระยะที่การระบาดเพิ่มมากขึ้นเป็นวงกว้างจนภาครัฐต้องนำมาตรการต่างๆ อาทิ การปิดเมือง การจำกัดการเดินทางมาใช้ ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าและบริการออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ ทาง EIC ยังรายงานต่อว่า สถานการณ์ Covid-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคในประเทศ ทั้งจากความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของผู้บริโภค รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงมาก ซึ่ง EIC คาดการณ์มูลค่าตลาดค้าปลีกปี 2563 จะหดตัวที่ -14% หรือคิดเป็นเม็ดเงินที่หายไปราว 5 แสนล้านบาท (สมมติฐานว่าธุรกิจค้าปลีกปิดดำเนินการประมาณ 2 เดือนและสถานการณ์การติดเชื้อเริ่มคลี่คลายจนสามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้ตามปกติในไตรมาส 3 แต่ยอดขายยังอาจชะลอตัวในช่วงแรกจากความไม่มั่นใจของผู้บริโภค แต่จะเริ่มกลับมาเร่งตัวได้มากขึ้นในไตรมาส 4)
ทั้งนี้ EIC ยังเสนอแนะกลยุทธ์สำคัญในการรับมือของผู้ประกอบการค้าปลีก คือ
1) เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าและโลจิสติกส์ เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยเฉพาะเรื่องการจัดหาสินค้าให้เพียงพอ จากกรณีศึกษาผลสำรวจของ Nielsen เกี่ยวกับความท้าทายของผู้ประกอบการจีนจากผลกระทบ Covid-19 พบว่าปัญหาสินค้าคงคลังไม่เพียงพอและการบริหารจัดการ Supply chain เป็นปัญหาหลักของผู้ประกอบการค้าปลีก ดังนั้นในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดยังไม่รุนแรงมากที่ผู้บริโภคยังสามารถเดินทางออกมาซื้อสินค้านอกบ้านได้ ผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่ม Grocery จึงควรเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ Panic buy โดยเน้นปรับ Product mix ภายในร้านค้าตามพฤติกรรมของผู้บริโภคและเพิ่มสต็อกสินค้าในคลังโดยเฉพาะสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพ อุปกรณ์ป้องกันและทำความสะอาด อาหารแห้ง เน้นการบริหารห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างในต่างประเทศเช่น Walmart มีการจ้างพนักงานชั่วคราวเพิ่มขึ้นทั้งในร้านและศูนย์กระจายสินค้าเพื่อให้มั่นใจว่าสินค้ามีเพียงพอสำหรับจำหน่ายในช่วงที่มีความต้องเร่งตัวมาก นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยในการบริหารภายในร้านค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสต็อกสินค้า ระบบโลจิสติกส์ ทั้งนี้ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการที่จะผ่านพ้นวิกฤติไปได้อย่างดี สะท้อนได้จากผลสำรวจความคาดหวังของผู้ประกอบการที่ราว 46% มองว่าธุรกิจจะกลับมาฟื้นตัวหลังวิกฤติ โดยกว่า 38% มองว่าสามารถบริหารจัดการได้ดีกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ
รูปแสดงความท้าทายสำคัญของผู้ประกอบการจีนการบริหารจัดการสต็อกสินค้า (ซ้าย) และ ผู้ประกอบการจีนยังมีความมั่นใจในการรับมือกับสถานการณ์ความผันผวนในช่วงวิกฤติ (ขวา)
2) เน้นขายออนไลน์และเพิ่ม Customer engagement ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยที่ผู้ที่ยังไม่เคยขายผ่านช่องทางออนไลน์อาจต้องเริ่มหาลู่ทางการขายออนไลน์หรือผู้ที่มีช่องทางอยู่แล้วอาจต้องเตรียมรับมือกับการเพิ่มขึ้นของยอดขายอย่างฉับพลันโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าจำเป็น ทั้งนี้จากตัวอย่างของจีนจะพบว่า 80% ของผู้บริโภคจีนหันมาซื้อสินค้า Grocery ผ่านทางช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดย JD.Com ยังรายงานด้วยเลขยอดขายหลังจากการระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้ยอดขายสินค้า Grocery ผ่านช่องทางออนไลน์ในจีนเติบโตแบบก้าวกระโดดถึงราว 215% YOY ในช่วงปลายมกราคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมความพร้อมเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ให้สามารถรองรับปริมาณ Traffic ของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นมาก รวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งสินค้า โดยอาจเพิ่มจำนวนผู้จัดส่งสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาซื้อสินค้าออนไลน์จะเป็นโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคได้ตลอดเวลา ผู้ประกอบการจึงควรอาศัยโอกาสนี้นำข้อมูลผู้บริโภคมาวิเคราะห์ให้ตอบโจทย์และหันมาทาการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยี อาทิ AR หรือ VR มาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ในการ Shopping ให้กับผู้บริโภคและสร้าง Customer engagement ให้ดียิ่งขึ้น
3) ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้บริโภคและพนักงานเป็นอันดับแรก โดยเน้นปรับปรุงการบริการต่างๆ เพื่อแสดงออกถึงความเอาใจใส่และห่วงใยต่อทั้งผู้บริโภคและพนักงาน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอาจปรับเวลาทำการของร้านค้า เสริมสร้างภาพลักษณ์ของร้านค้าเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและความประทับใจจากผู้บริโภค โดยอาจนำเอาบริการต่างๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงอย่างเช่น ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ตัวอย่างเช่น ในอังกฤษ ผู้ประกอบการ อาทิ Whole Foods และ Tesco ได้จัดให้มีเวลาที่เปิดให้บริการสำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้โดยเฉพาะเพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อและป้องกันการขาดแคลนสินค้าจำเป็น ขณะที่ผู้ประกอบการจีน อาทิ Meituan Hema และ Dada ได้มีการพัฒนารูปแบบการส่งสินค้าแบบไร้การสัมผัส (Contactless delivery) โดยพนักงานจะยืนห่างจากลูกค้าและนำสินค้าไปวางไว้และให้ลูกค้ามาหยิบเอง ซึ่งสอดรับกับสถานการณ์และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
4) เตรียมความพร้อมสำหรับการให้บริการภายหลังจากที่สถานการณ์คลี่คลาย โดยผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมทั้งในส่วนของการบริหารจัดการสต็อกสินค้าและ Supply chain เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะกลับมาฟื้นตัวภายหลังวิกฤติ นอกจากนี้ ในกลุ่มของศูนย์การค้าหรือร้านค้าปลีกรายใหญ่ๆ อาจใช้โอกาสที่มีผู้เข้าใช้บริการน้อยหรือในช่วงที่ต้องปิดการให้บริการในการปรับปรุงพื้นที่เพื่อรองรับการกลับมาเข้าใช้บริการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น ภายหลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลาย
อ่านบทวิเคราะห์ ฉบับเต็มที่ Economic Intelligence Center (EIC)
ไทย โคโคนัท มอบเครื่องมือช่วยหายใจและวัดความดัน แก่นักรบชุดขาว ร่วมพิชิตไวรัสโควิด-19



Corona Virus: interpack 2020 Postponed – New date 25 February to 3 March 2021
Messe Düsseldorf is postponing the leading international trade fair interpack. It will now take place from 25 February to 3 March 2021.
In doing so, Messe Düsseldorf is following the recommendation of the crisis management team of the German Federal Government to take into account the principles of the Robert Koch Institute when assessing the risk of major events. Based on this recommendation and the recent significant increase in the number of people infected with the new corona virus (SARS-CoV-2), including in Europe, Messe Düsseldorf has reassessed the situation. In addition, there is the general ruling issued by the city of Düsseldorf on 11 March 2020, in which major events with more than 1,000 participants present at the same time are generally prohibited.
“The decision was taken in close consultation with our advisory board and sponsoring associations,” emphasises Werner M. Dornscheidt, Chairman of the Board of Management of Messe Düsseldorf GmbH. It also reflects the wishes of individual industries: “As their partner, we are currently doing everything in our power to reduce the economic losses suffered by our exhibitors”.
“The city of Düsseldorf is following the instructions of the state government. Our aim is to slow down the spread of the corona virus so that the health system can continue to function properly,” emphasises Thomas Geisel, Lord Mayor of the state capital of Düsseldorf and Chairman of the Supervisory Board of the Düsseldorf trade fair company.
Delaying the spread of the virus as much as possible is also a declared goal according to the Robert Koch Institute (RKI). In order to fulfil Messe Düsseldorf’s responsibility for risk prevention, the company primarily had to minimise the increased risk of infection at major events. Measures to reduce the risk of transmission at major events, which the Robert Koch Institute has clearly defined – such as ventilation of the venue appropriate to the risk of infection, the exclusion of persons from risk groups and the comprehensive installation of entrance screening, were practically impossible to implement. Also comparable measures were and are unreasonable in view of the unforeseeable rapid development and the size of the various events with up to 60,000 participants.
interpack’s industry partners support the decision to postpone the fair and together with those responsible, are counting on a successful event next year. “interpack is the absolute top event for the international packaging industry and related processing industries. The trade fair thrives on personal encounters and direct exchange between people from all over the world. This is only possible if there are no health risks involved. Therefore, the postponement is responsible and right. We are looking forward to next year’s event to discuss the issues that are defining the industry, such as sustainability, and to present appropriate solutions,” comments Christian Traumann, President of interpack 2020 and Managing Director & Group President at Multivac Sepp Haggenmüller SE & Co. KG.
“The corona virus and the associated restrictions now represent a major challenge for the entire mechanical engineering sector. The possible and currently unforeseeable effects of the pathogen with an incalculable risk of infection, the threat of quarantine for returnees, general travel restrictions in some countries, but also considerable travel restrictions on the part of many companies unfortunately make it impossible to successfully hold the interpack in May. The VDMA, as a supporting association of interpack, welcomes a postponement under the given exceptional circumstances. The new date now ensures reliability in planning” says Richard Clemens, Managing Director of the VDMA Food Processing and Packaging Machinery Association.
The Düsseldorf hotel industry is also sending out an important signal through its umbrella organisation DEHOGA (Trade Association for the Hospitality Industry): “We appeal to our members and the entire industry to be flexible when it comes to rebooking by exhibitors and visitors. The Düsseldorf trade fairs such as interpack play an enormously important role for the city, the hotel industry and the catering trade. It would be counterproductive not to show goodwill in this situation,” as both DEHOGA-Representatives Giuseppe Saitta (Chairman Düsseldorf/District Group Rhein-Kreis Neuss) and Rolf D. Steinert (Düsseldorf/Rhein-Kreis Neuss Hotels and Tourism Group) emphasise.
Werner M. Dornscheidt is pleased about the general consensus and encouragement in this special situation: “We would like to thank all our partners for their excellent cooperation in making these difficult and time sensitive decisions. We are pleased that together a date was found so quickly in order to allow all those affected to reliably plan.”
——————————————————————————————————————-
More information: www.interpack.de
โคคา-โคล่า ฉลองความสำเร็จในฐานะผู้นำตลาดน้ำอัดลมในไทยเดินหน้าเปิดตัวแคมเปญ ‘ร้อนนี้ ส่งโค้กให้…’ ให้ผู้บริโภคส่งต่อความรู้สึกในแบบของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น
กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความสำเร็จในฐานะผู้นำตลาดน้ำอัดลมในประเทศไทยด้วยผลการดำเนินงานประจำปี 2562 ที่แข็งแกร่ง และครองใจผู้บริโภคต่อเนื่องขึ้นแท่นแบรนด์น้ำอัดลมที่ผู้บริโภคชื่นชอบมากที่สุด จากผลสำรวจ Thailand’s Most Admired Brands เป็นระยะเวลาถึง 19 ปี และเพื่อเป็นการต่อยอดตำแหน่งผู้นำตลาด โคคา-โคล่าเดินหน้าเปิดตัวแคมเปญฤดูร้อน “ร้อนนี้ ส่งโค้กให้…” นำแคมเปญระดับโลกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของ “โค้ก” กลับมาอีกครั้ง พร้อมกิจกรรมการตลาดเน้นมอบประสบการณ์น่าตื่นเต้นมากมายให้ผู้บริโภคได้ส่งต่อความรู้สึกในแบบฉบับของตัวเองให้คนใกล้ชิดได้มากยิ่งขึ้นผ่านบรรจุภัณฑ์ที่พิมพ์ชื่อเล่นยอดฮิตและข้อความบอกความรู้สึกที่ทันสมัยโดนใจ กว่า 400 แบบ
จากรายงานดัชนีค้าปลีกของบริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ในปีที่ผ่านมา ตลาดน้ำอัดลมเป็นเซ็กเม้นต์ที่มีการเติบโตถึงร้อยละ 11.7 และจากตลาดที่มีมูลค่ากว่า 56,000 ล้านบาทนี้ ผลิตภัณฑ์โคล่ามีสัดส่วนมากที่สุด ด้วยอัตราการเติบโต ร้อยละ 12.9 คิดเป็นมูลค่าเกือบ 40,000 ล้านบาท โดยแบรนด์โค้กยังคงครองความเป็นผู้นำอันดับ 1 ในตลาดด้วยส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 35.7 และที่สำคัญ โคคา-โคล่า ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นแบรนด์น้ำอัดลมที่ผู้บริโภคชื่นชอบมากที่สุด จากผลสำรวจ Thailand’s Most Admired Brands ประจำปี 2563 ในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งนับเป็นการได้รับรางวัลนี้เป็นปีที่ 19 แล้ว
นางสาวมัณฑนา หล่อไกรเลิศ ผู้อำนวยการการตลาด บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “โคคา-โคล่า ยึดถือความต้องการของผู้บริโภคเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจอยู่เสมอ ซึ่งผลความสำเร็จดังกล่าวถือเป็นข้อพิสูจน์ถึงความไว้วางใจที่ผู้บริโภคมอบให้แก่แบรนด์อย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากความสำเร็จของ “โค้ก” แล้ว “แฟนต้า” และ “สไปร์ท” เองก็ถูกจัดเป็นแบรนด์ชั้นนำในตลาดน้ำอัดลมเช่นกัน”
เพื่อสานต่อความสำเร็จในฐานะผู้นำตลาดน้ำอัดลมต่อเนื่องในปี 2563 นี้ โคคา-โคล่า เตรียมเขย่าตลาดอีกครั้งด้วยการนำแคมเปญระดับโลกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของ “โค้ก” อย่าง “ร้อนนี้ ส่งโค้กให้…” กลับมาชวนผู้บริโภคชาวไทยส่งผลิตภัณฑ์โค้กสานความสัมพันธ์ทั้งในหมู่เพื่อน ครอบครัว และคนรักตลอดหน้าร้อนอีกครั้ง โดยในประเทศไทยเริ่มต้นเป็นครั้งแรกในปี 2556 และเป็นปรากฎการณ์ที่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคอย่างร้อนแรง
“ฤดูร้อนถือเป็นช่วงเวลาที่มีค่าสำหรับคนไทย โดยเฉพาะช่วงวันหยุดยาว ซึ่งเป็นโอกาสในการใช้ช่วงเวลาดีๆ ร่วมกัน และส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้แก่กัน แคมเปญ “ร้อนนี้ ส่งโค้กให้…” ในปีนี้จึงถูกมาในรูปแบบที่เข้ากับยุคดิจิทัลมากขึ้น และยิ่งใหญ่มากกว่าเดิมด้วยการชวนผู้บริโภคส่งกระป๋องผลิตภัณฑ์ “โค้ก” ที่ออกแบบมาเพื่อส่งมอบประสบการณ์เฉพาะบุคคลได้มากกว่าที่เคย ด้วยชื่อเล่นยอดฮิตและข้อความบอกความรู้สึกที่ทันสมัยโดนใจ กว่า 400 แบบ พร้อมกิจกรรมการตลาดเต็มรูปแบบเน้นประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้บริโภคได้สร้างสรรค์กระป๋อง “โค้ก” และส่งต่อความรู้สึกในแบบของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น” นางสาวมัณฑนา กล่าว
“โค้ก” ได้เตรียมกิจกรรมการตลาดพร้อมสร้างการรับรู้แบบ 360 องศาสำหรับแคมเปญ “ร้อนนี้ ส่งโค้กให้…” ตลอดฤดูร้อนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการฉลอง Share a Coke Day ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีมาช่วยทำให้วัยรุ่นได้ส่งโค้กให้กันง่ายและสนุกมากยิ่งขึ้นผ่านโลกดิจิตัลโดยโค้กได้ส่งเพลง #ชื่อเราอยู่ไหน ผลงานของศิลปินฮิปฮอปชื่อดังขวัญใจวัยรุ่นอย่าง UrboyTJ ประกอบภาพยนตร์โฆษณา ให้วัยรุ่นได้ลองส่ง “โค้ก” ให้กันผ่านวิดีโอ โดยร่วมมือกับ Tiktok จัด #ShareACokeChallenge ในวัน Share A Coke Day วันที่ 14 มีนาคม การสื่อสารผ่านสื่อนอกบ้าน OOH ใจกลางกรุงเทพฯ และกิจกรรม Light and Sound Show ทุกวัน ที่ centralwOrld Connect อีกด้วย
นอกจากนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ครอบคลุมและพิเศษมากยิ่งขึ้น โคคา-โคล่า ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรร้านค้าปลีกชั้นนำ ในการจัดกิจกรรมพิเศษอย่าง “Share A Coke Roaming Booth พื้นที่ออกแบบ “โค้ก” ในสไตล์ของคุณ ที่พร้อมเดินทางไปพบผู้บริโภคทั่วประเทศ ผู้บริโภคยังสามารถออกแบบข้อความที่อยากแชร์ในช่วงฤดูร้อนให้กับคนที่รัก ด้วยการสั่ง เซ็ต e-commerce limited edition ที่มาพร้อมเครื่องดื่ม “โค้ก” จำนวน 3 กระป๋อง สั่งชื่อและข้อความในแบบของคุณได้ ในเคสรูปตู้เย็น “โค้ก” สไตล์ Retro สีแดงสุดน่ารักได้ทาง Lazada, JD ,Tops Online และ Shopee ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม เป็นต้นไปได้อีกด้วย ผู้บริโภคสามารถเป็นเจ้าของกระป๋องและขวด “โค้ก” ที่มาพร้อมกับชื่อเล่นยอดฮิตและข้อความบอกความรู้สึกที่ทันสมัยโดนใจในขนาดที่หลากหลาย ได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ที่ร้านค้าชั้นนำใกล้คุณ
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและตารางกิจกรรมของแคมเปญ “ร้อนนี้ ส่งโค้กให้…” ได้ที่ https://www.facebook.com/cocacolaTH
ข้อมูลเพิ่มเติม
*การคำนวณข้อมูลตลาดเครื่องดื่มน้ำอัดลมซึ่งรวมผลิตภัณฑ์ประเภทมิกเซอร์ ของโคคา-โคล่า ส่วนหนึ่งอ้างอิงจากข้อมูลดัชนีค้าปลีกรายเดือน ที่รายงานโดย Nielsen สำหรับตลาดเครื่องดื่มน้ำอัดลม ในช่วงเวลา 12 เดือน สิ้นสุด ณ เดือนธันวาคม พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นข้อมูลของตลาดในประเทศไทยคลอบคลุมถึงซุปเปอร์มาร์เกต ไฮเปอร์มาร์เกต ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำแบบดั้งเดิม และร้านอาหาร/ภัตตาคาร ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของ Nielsen (Copyright © 2020, Nielsen)
* ผลการสำรวจ Thailand’s Most Admired Brands ประจำปี 2563 โดยนิตยสารแบรนด์เอจ (BrandAge)