FHA-Food & Beverage and ProWine Asia (Singapore) 2020 to be postponed

Informa Markets is postponing the inaugural FHA-Food & Beverage event to a later date due to global travel concerns in light of the latest developments regarding the Novel Coronavirus (COVID-19) situation.

The event was originally scheduled to take place from 31 March – 3 April 2020 at Singapore Expo. ProWine Asia (Singapore) 2020, held alongside FHA-Food & Beverage, co-organised by Messe Dusseldorf Asia and Informa Markets, will also be postponed. The decision, which was taken after extensive industry consultations, aims to safeguard the safety and well-being of industry players and employees.

Mr. Martyn Cox, Event Director, Hospitality, Food & Beverage – Singapore, Informa Markets, said, “The safety and well-being of our exhibitors, event attendees and staff are our top priority. There has been signs of community spread and local authorities have issued advisories to avoid large crowds, as a result we expect event attendance to be affected. With these concerns in mind, we have made the decision to postpone FHA-Food & Beverage and ProWine Asia (Singapore) 2020.

“Our focus now is to provide our exhibitors, event partners and registered visitors with the support they require as a result of this decision. We will continue to work in partnership with the relevant government authorities and agencies and take all further measures in accordance with the latest advisories published by the Singapore Ministry of Health (MOH), the Ministry of Manpower and the Singapore Tourism Board.”

Ms. Beattrice J. Ho, Project Director, ProWine Asia (Singapore), Messe Düsseldorf Asia, added, “We would also like to take this opportunity to thank all exhibitors and partners for supporting the exhibitions and are committed to working towards the best possible outcome. We are working actively with all partners to find a suitable alternative date.”

Mr. Alvin Lim, Executive Director, Brand and Customer Experience, SingEx Holdings, said, “Given the latest developments on COVID-19 in Singapore, and the health and safety risk concerns among the community thereof, Singapore EXPO & MAX Atria respects the decision made to postpone FHA-Food & Beverage and ProWine Asia (Singapore) 2020. Customer-centricity is at the heart of our business; we will continue to work together with Informa Markets, Messe Düsseldorf Asia, and our valued event partners to see through this predicament. We are part of a global meetings, incentives, conferences and exhibitions (MICE) industry that has always stood together and shown great support for each other – and it is with this that we trust in the industry’s resilience and ability to bounce back from whatever setbacks this outbreak may bring.”

“We understand the decision by Informa Markets to postpone FHA-Food & Beverage and ProWine Asia (Singapore) 2020 in light of the COVID-19 situation. During this challenging period, the health and safety of locals, visitors and industry partners remain our priority. We are staying vigilant, strengthening our defences and monitoring the situation closely. STB stands firmly by our MICE industry, and we will work closely with organisers, industry stakeholders and relevant government agencies to support the continued success of both events,” said Mr. Andrew Phua, Director, Exhibitions and Conferences, Singapore Tourism Board.

We will announce the new dates shortly and will be in touch with all confirmed exhibitors to discuss their participation at FHA-Food & Beverage and ProWine Asia (Singapore). The FHA and ProWine Asia (Singapore) team will reach out to all participants regarding further logistics and planning.

Participants may also contact enquiry@foodnhotelasia.com and info@prowineasia.com for urgent assistance.

“We seek industry’s understanding and support of this decision. Safety is our first priority followed by creating the best possible environment for our industry and partners to conduct business, which includes carefully timing the best revised arrangements. In working with Singapore Expo & MAX Atria and other event partners to confirm revised dates, we stay focused on our goal to deliver a great customer experience for both the rescheduled events,” said Mr. Cox.

 

More information: www.fhafnb.com/event-notice-140220

 

Food & Drink Trends and New Opportunities for Cheese (Ep.2) Cheese Brands Starting Green Conversations

เทรนด์อาหารและการประยุกต์ใช้ชีสให้ออกรส! (ตอนที่ 2) นำเสนออีกด้านหนึ่งของการปรับตัวของอุตสาหกรรมชีสเพื่อตอบรับกับเทรนด์ Sustainability  ที่มาแรงต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยเทรนด์ Sustainability เป็นเทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความยั่งยืนซึ่งต้องการความร่วมมือกันทุกภาคส่วนตลอดทั้งซัพพลายเชน

จากรายงานในวารสารทางด้านวิทยาศาสตร์โดย Ellen Mac, Arthur Foundation แห่งวารสาร Science Magazine ให้ข้อมูลว่าทั่วโลกจะมีขยะพลาสติกโดยเฉลี่ยทิ้งลงทะเลมากถึง 8 ล้านตันต่อปีเลยทีเดียว และภายในปี 2050 จะมีปริมาณขยะพลาสติกสะสมมากขึ้นๆ ซึ่งอาจจะมากกว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในมหาสมุทรเลยก็ว่าได้

จากความน่ากังวลด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ทุกภูมิภาคทั่วโลกได้ให้ความสนใจและตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น รวมถึงประเทศไทยด้วย ความตระหนักที่สำคัญอย่างเห็นได้ชัดก็คือ อย่างน้อยผลิตภัณฑ์ต้องไม่ไปสิ้นสุดที่การทำลายสิ่งแวดล้อม โดยในหลายประเทศได้พยายามลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกลง หรืออย่างบ้านเราก็มีมาตรการไม่แจกถุงพลาสติกในห้างค้าปลีกหรือร้านค้า และผู้ผลิตหลายรายก็หันมาเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติมากขึ้น เช่น การใช้ใบตองห่ออาหาร หรือภาชนะที่ทำจากพืช เป็นต้น

It’s banana leaves (Thailand) ในซูเปอร์มาร์เก็ต Rimping Supermarket มีการใช้ใบตองมาห่อผักที่ขายภายในห้าง

Yakult ditches straw (Malaysia, Singapore) ยาคูลท์ที่จำหน่ายในมาเลเซียและสิงคโปร์ได้ยกเลิกการแพ็กหลอดพลาสติกไปพร้อมกับผลิตภัณฑ์ โดยส่งเสริมให้ผู้บริโภคดื่มนมจากขวดแทนการใช้หลอด

การสำรวจโดยมินเทลพบว่าผู้บริโภคคนไทยร้อยละ 46 ตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ในขณะที่ประเทศอินโดนีเซียผู้บริโภคร้อยละ 64 เลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตในท้องถิ่นมากกว่าเพราะลดมลภาวะด้านการขนส่ง ด้านผู้บริโภคออสเตรเลียร้อยละ 34 ก็ให้ความสำคัญกับการพิจารณาแหล่งผลิตที่มีความยั่งยืนด้วย

Cheese Brands Starting Green Conversations

สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตชีสในช่วงปีที่ผานมา ผู้ผลิตประมาณร้อยละ 4 เริ่มมีการพูดถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่การไม่ใช้สารเคมีในการผลิต การใช้ส่วนผสมที่เป็นของท้องถิ่นเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ หรือโรงงานสีเขียว รวมถึงการหันมาใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์ ซึ่งสะท้อนถึงการปลูกและการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สหกรณ์ Organic Valley หรือสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาซึ่งมีชาวนาเป็นเจ้าของนั้นได้เป็นผู้ริเริ่มสร้างแนวทางของสินค้าอินทรีย์ที่ทรงอิทธิพล ทั้งยีงมีแบรนด์สินค้าที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ปัจจุบันมีสมาชิกเป็นครอบครัวเกษตรกรที่ผลิตผลิตผลอินทรีย์หลายประเภท และเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าอินทรีย์มากมาย อาทิ ผลิตภัณฑ์นม และชีส

นอกจากนี้ ผู้ผลิตชีสทั่วโลกก็ต่างมีแนวทางด้านสิ่งแวดล้อมและสามารถกล่าวอ้างไปกับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ทั้งยังเป็นทางเลือกด้านความยั่งยืนที่มีแนวโน้มได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น อาทิ

“Do Less Harm” แนวทางการลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ผลิตภัณฑ์ชีส Edeka Bio ซึ่งเป็นแบรนด์ชีสชื่อดังจากเยอรมนีนั้นเป็นหนึ่งในผู้ผลิตชีสที่หันมาให้ความสนใจกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ในกระบวนการผลิตระดับต้นน้ำที่ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ในฟาร์มโคนม และในกระบวนการผลิตชีสก็ยังมีการลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

“Going Local” แนวทางการผลิตที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ผู้ผลิตชีสหลายแบรนด์เริ่มต้นใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วยการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นเพื่อลดมลภาวะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างการขนส่ง Grünländer Cheese แบรนด์ผู้ผลิตชีสจากประเทศเยอรมนีก็เช่นกันได้มีนโยบายในการใช้น้ำนมภายในภูมิภาคมากขึ้นเพื่อละระยะทางการขนส่งวัตถุดิบจากที่ไกลๆ

“100% Green Energy” แนวทางการใช้พลังงานสีเขียวเต็มรูปแบบ ผู้ผลิตชีสจากประเทศอังกฤษ Wyke Farms Cheddar เป็นหนึ่งในผู้ผลิตชีสที่มีแนวทางการใช้พลังงานที่ยั่งยืนในกระบวนการผลิต โดยแนวทางดังกล่าวเป็นรูปแบบการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน และของเสียที่เกิดขึ้นสามารถนำมาผลิตและใช้เป็นแหล่งพลังงานใหม่ได้ ทำให้สามารถผลิตพลังงานสีเขียวได้ 100%

อันที่จริงแล้วแนวทางด้านความยั่งยืนถือเป็นเทรนด์หนึ่งที่จะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตแทบทุกกลุ่ม เนื่องจากมีความเกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริโภคมีการตอบรับกับเทรนด์ดังกล่าวนี้ที่เห็นได้ชัดก็คือเรื่องการลดการใช้พลาสติก อย่างไรก็ตาม แนวทางด้านความยั่งยืนก็อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มโดยรวมไม่น้อยเนื่องจากพลาสติกนั้นเป็นวัสดุบรรภัณฑ์ที่ให้ผลดีในด้านการปกป้องและรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารได้อย่างดี นวัตกรรมของพลาสติกย่อยสลายได้ หรือพลาสติกชีวภาพจึงดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ได้รับการยอมรับจากทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งแนวทางดังกล่าวก่อให้เกิดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกมากมายในปัจจุบัน เชื่อว่าในไม่ช้านวัตกรรมบรรจุภัณฑ์จะช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและนำพาความยั่งยืนมาสู่โลกเราต่อไป


Special thanks to U.S. Cheeses – Effective Cheese Application Ideas for Successful New Product Development. Food & Drink Trends and New Opportunities for Cheese by Mintel. U.S. Dairy Export Council.

Compiled and Translated By: Pimchanok Kanoklawan

 

“Foodtech” ธรรมศาสตร์ ผนึก KCG เปิดตัวนวัตกรรมซูเปอร์ฟู้ด Riceberry Spread

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SCI-TU) จับมือกับ บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (KCG) เปิดตัวนวัตกรรมซูเปอร์ฟู้ด “ไรซ์เบอร์รีสเปรด” (Riceberry Spread) แยมข้าวไรซ์เบอร์รีน้ำตาลต่ำที่มาพร้อมคุณประโยชน์ทางโภชนาการสูงและกระตุ้นระบบขับถ่าย

จากแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่เร่งรีบและอาจจะพลาดมื้ออาหารที่สำคัญ ทีมวิจัยนำโดย ดร.สุธีรา วัฒนกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้พัฒนาซูเปอร์ฟู้ด “ไรซ์เบอร์รีสเปรด” หรือแยมข้าวไรซ์เบอร์รีน้ำตาลต่ำ โดยมีส่วนผสมของวัตถุดิบหลัก 4 ชนิด คือ 1) แป้งข้าวไรซ์เบอร์รีทำจากข้าวไรซ์เบอร์รีออร์แกนิก โดยมูลนิธิโครงการเพื่อนพึ่งภาฯ 2) น้ำมัลเบอร์รีที่อุดมด้วยสารแอนโธไซยานินซึ่งช่วยในเรื่องต้านอนุมูลอิสระ 3) น้ำเชื่อมพรีไบโอติกจากแก่นตะวันที่มีคุณสมบัติให้พลังงานน้อย ประกอบด้วยฟรุกโทโอลิโกแซคคาไรด์ (Fructo-oligosaccharides; FOS) ซึ่งเป็นใยอาหารและพรีไบโอติก และ 4) นมสดช่วยเพิ่มกลิ่นรสและเนื้อสัมผัส

ทั้งนี้ แยมข้าวดังกล่าวมีลักษณะคล้ายแยมทั่วไป มีความข้นหนืด แต่มีกลิ่นหอมของแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี และมัลเบอร์รี พร้อมบรรจุผลิตภัณฑ์ในขวดหรือถุงและฆ่าเชื้อด้วยวิธีการ Pasteurization ทำให้สามารถเก็บได้นานมากกว่า 6 เดือนที่อุณหภูมิห้อง เพื่อให้สะดวกต่อการเก็บรักษา พกพาและรับประทาน ผลิตภัณฑ์มีทั้งในรูปแบบทาขนมปัง/แซนด์วิชเพื่อเป็นมื้อเช้า หรือรับประทานเป็นอาหารว่างคู่กับกล้วย หรือเลือกดื่มคู่กับนมร้อนสักแก้ว

ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังได้รับความร่วมมือจากทีมนักวิจัยร่วมสาขาฯ คือ ดร.กฤติยา เขื่อนเพชร อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และทีมนักวิจัยของ รศ.ดร.สาโรจน์ ศิริศันสนียกุล คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการสนับสนุนองค์ความรู้และวัตถุดิบ คือ น้ำเชื่อมพรีไบโอติกจากแก่นตะวันเพื่อทำการวิจัยและพัฒนา

ทั้งนี้ได้มีพิธีลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย เรื่อง “สูตรและกระบวนการผลิตไรซ์เบอร์รีสเปรด” ระหว่าง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีผู้บริหารทั้ง 2 หน่วยงานและพันธมิตรเข้าร่วมจำนวนมาก ณ อาคารโดมบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ในโอกาสนี้ได้แนะนำผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารตอบโจทย์ผู้บริโภคภายใต้โครงการ “ทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารทางประสาทสัมผัส” โดยความร่วมมือกับศูนย์ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และ KCG การประเมินคุณภาพอาหารตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญจะทำการวิเคราะห์ผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5 มิติ คือ การมองเห็น การได้กลิ่น การรับรส การสัมผัส และการได้ยิน เพื่อแยกแยะผลิตภัณฑ์ว่ามีความเหมือนหรือต่าง ค้นหาความต้องการผู้บริโภคได้ วิเคราะห์ข้อมูลความชอบและการยอมรับผลิตภัณฑ์อาหารของผู้บริโภค ฯลฯ เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยภาคธุรกิจตัดสินใจ และนำไปสู่แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค สร้างโอกาสทางการตลาดที่เหนือกว่าบริษัทคู่แข่ง ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้ในอนาคต

FHA-HoReCa 2020 Postponed to Later Date in Light of Ongoing Coronavirus Situation but FHA-Food & Beverage to Take Place as Planned

Informa Markets, the organiser of FHA-HoReCa, today announced that it will postpone the event to 13-16 July 2020 at Singapore Expo due to the evolving 2019 novel coronavirus situation. The decision was made following extensive consultations with exhibitors & industry partners and considering the knock-on effects on the wider HoReCa industry as a direct consequence of the significant impact to international travel during this period. FHA-HoReCa was scheduled to be held at Singapore Expo from 3-6 March 2020.

The event is an expansion from the comprehensive international food and hospitality biennial trade event in the region, Food&HotelAsia (FHA). FHA is returning to Singapore this year as two dedicated shows – FHA-HoReCa and FHA-Food & Beverage. The former seeks to bring together an extensive line-up of leading hospitality suppliers in the region while the latter is Asia’s largest international event for the food and beverage industry.

FHA-Food & Beverage will take place as planned from 31 March – 3 April 2020 at Singapore Expo. Serving a wide range of industry segments including retail, wholesale, e-commerce and foodservice, the FHA-Food & Beverage event remains robust in the current climate and visitor pre-registrations continue to pour in.

Mr Martyn Cox, Event Director for FHA-HoReCa and FHA-Food & Beverage at Informa Markets, said, “Postponing FHA-HoReCa was a difficult decision but a necessary one, considering the effects on the wider HoReCa industry in Asia. We are now focused on working closely with our exhibitors, event partners and registered visitors to ensure that we offer them the necessary support required as a result of this decision.”

“Moving forward, we will continue to work with the local authorities and take all measures in accordance with the latest advisories published by the Singapore Ministry of Health, the Ministry of Manpower and the Singapore Tourism Board. Our sole focus remains, that is to deliver high quality experiences for our participants attending FHA-HoReCa and FHA-Food & Beverage,” Mr Cox added.

“We are working closely with Informa Markets, industry stakeholders and the relevant government agencies, and are committed to supporting the continued success of both FHA-HoReCa and FHA-Food & Beverage. There is as yet no evidence of widespread community transmission of the novel coronavirus in Singapore and most of our events are still proceeding as planned with added precautions, which is in line with the latest advisory from MOH. Our MICE industry continues to operate and remains open for business. Nonetheless, we will continue to stay vigilant, strengthen our defences, and prepare for all scenarios. The health and safety of locals, visitors and industry partners remain a priority and we are monitoring the situation closely,” said Mr Andrew Phua, Director of Exhibitions and Conferences, Singapore Tourism Board.

Safe Seeds for Healthy Sprouts

Vegetable sprouts are extremely healthy and contain lots of power, because they are full of concentrated vitamins and minerals.

Yet sprouts can also be dangerous to the consumer if the seeds are contaminated. That is why the brand SunGarden® Seed has developed what it calls the world’s safest seed output.

With its specially developed and validated process, SunGarden® Seed can deliver a bacterial reduction factor of Log6, while current industry standards can only achieve a reduction of Log3.

This innovation thus not only drastically eliminates pathogens, but also uses an organic and non-thermal process that does not impair germination and the seeds’ nutritional values.

——————————————————————————————————————–

Source: https://www.fruitlogistica.de/en/TradeVisitors/Spotlight/

ขึ้นทะเบียนสินค้า GI อีก 2 รายการ “มะพร้าวทับสะแก” และ “ข้าวไร่ดอกข่าพังงา”

กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) อีก 2 รายการ คือ “มะพร้าวทับสะแก” และ “ข้าวไร่ดอกข่าพังงา”

โดยมะพร้าวทับสะแกถือเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และข้าวไร่ดอกข่าพังงา ของจังหวัดพังงา ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI แล้ว 118 รายการ จาก 75 จังหวัด และขณะนี้ยังมีสินค้าอีก 3 รายการที่อยู่ระหว่างพิจารณาคำขอ ได้แก่ ข้าวหอมปทุมธานี กล้วยหอมทองปทุม จังหวัดปทุมธานี และกลองเอกราช จังหวัดอ่างทอง

เมื่อพิจารณาถึงลักษณะความเป็นเอกลักษณ์สำหรับสินค้า GI 2 รายการล่าสุดที่ได้รับการขึ้นทะเบียน พบว่ามะพร้าวทับสะแกมีลักษณะเอกลักษณ์คือมีผลขนาดใหญ่ เปลือกหนา เนื้อมะพร้าวสีขาวหนา 2 ชั้น ให้เปอร์เซ็นน้ำมันสูง รสชาติ (กะทิ) หอมและมัน ส่วนข้าวไร่ดอกข่าพังงาเป็นข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองที่มีสีน้ำตาลแดงอมม่วง สีแดง หรือสีแดงแกมขาว เมล็ดเรียวยาว เมื่อหุงสุกจะมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย หุงขึ้นหม้อ ไม่แข็ง รสชาติอร่อย

ทั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ดำเนินการเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับสินค้า GI ทั้ง 2 รายการเพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายภายในประเทศ และเพื่อสร้างโอกาสจำหน่ายให้กับสินค้า ตลอดจนเพื่อให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสบริโภคสินค้าท้องถิ่นซึ่งมีคุณภาพ เป็นของดี ของแท้ ของหายาก และเพิ่มโอกาสจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ ซึ่งจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเพิ่มการจดทะเบียนคุ้มครอง GI โดยมีตลาดเป้าหมายอย่างจีน สหภาพยุโรป (อียู) และอินเดีย

Food Allergen Workshop by the Romer Labs APAC Solutions Centre

A Workshop by the Romer Labs APAC Solutions Centre, the exclusive event for customers was held in Bangkok with the topic “Allergen free? The role of testing in your food allergen management program”.

At this workshop, customers could learn about allergen risk assessment in the production workflow and some practical ways to carry out analysis in their food allergen management plan. The workshop also provides a unique knowledge-sharing platform for food manufacturers to exchange knowledge and experience in food allergen management with professional speakers from Romer Labs.

The seminar session featured on global regulations providing insightful food allergen situation in global, covering a prevalence, regulation issues, trends of food allergen, labeling as well as introducing a special promotion on allergen analytical service from Romer Labs APAC Solutions Centre to food manufactures in Thailand. Moreover, allergen management, allergen analysis and risk review scenario as well as product recall case study were also discussed with highly interested from more than 40 attendees together with speakers coming from abroad.

เครือเบทาโกรเดินหน้าเติมเต็มอุตสาหกรรมอาหาร เปิดโรงงานแปรรูปไก่มหาสารคาม มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพความปลอดภัย

เบทาโกรขยายตลาดสู่ภูมิภาคสำคัญในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เปิดโรงงานแปรรูปไก่แห่งแรกและใหญ่ที่สุดในจังหวัดมหาสารคาม  เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหาร

เครือเบทาโกร จัดพิธีเปิดโรงงานแปรรูปไก่มหาสารคาม บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด  อย่างเป็นทางการ ณ ตำบลนาโพธิ์  อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม โดยมี นายเกียรติศักดิ์ จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเครือเบทาโกร นำโดย นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  และแขกผู้มีเกียรติ   ตลอดจนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม เดินทางมาร่วมแสดงความยินดีอย่างคับคั่ง

นายสมศักดิ์ บุญลาภ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร สายงานปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจอาหาร เครือเบทาโกร เปิดเผยว่า เบทาโกรมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ประชาชนและชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยอาหารที่มีคุณภาพมากขึ้น  ปลอดภัยมากขึ้น ในราคาที่เป็นธรรม จึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างโรงงานแปรรูปไก่แห่งใหม่ที่จังหวัดมหาสารคาม  ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีที่ตั้งเป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถเชื่อมโยงด้านการคมนาคมขนส่งและการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และการศึกษา จึงเหมาะสมในการเป็นจุดยุทธศาสตร์ เพื่อขยายตลาดไปสู่ผู้บริโภคในภูมิภาคที่ต้องการอาหารคุณภาพ และมีทางเลือกมากขึ้น

ผลิตภัณฑ์จากโรงงานแปรรูปไก่แห่งใหม่นี้ จัดจำหน่ายในชื่อแบรนด์เบทาโกร ส่งจำหน่ายในจังหวัดมหาสารคามและพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหลัก ทั้งผ่านช่องทางในร้านเบทาโกร ช็อป และตลาดสด  รวมทั้งส่งให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร  ภัตตาคาร โรงแรม โรงพยาบาล และสถานศึกษาในพื้นที่

สำหรับโรงงานแปรรูปไก่มหาสารคาม นับเป็นโรงงานแปรรูปไก่แห่งที่ 5 ของเครือเบทาโกร เริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนมกราคม พ.ศ 2562  แล้วเสร็จสมบูรณ์และดำเนินการผลิตได้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 โดยมีมูลค่าการลงทุน 180 ล้านบาท มีกำลังการผลิตจำนวน 40,000 ตัวต่อวัน  หรือประมาณ 1,000,000 ตัวต่อเดือน ปัจจุบันถือเป็นโรงงานแปรรูปไก่แห่งแรกและใหญ่ที่สุดในจังหวัดมหาสารคาม

โรงงานแปรรูปไก่แห่งนี้เป็นไปตามมาตรฐานกรมปศุสัตว์  ขับเคลื่อนโดยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจปศุสัตว์และการแปรรูปเนื้อสัตว์ ใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ทันสมัย มีระบบการผลิตและการจัดการด้วยมาตรฐานและคุณภาพ ภายใต้นโยบายอาหารคุณภาพและปลอดภัยของเครือเบทาโกร   จึงมั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่และชิ้นส่วนไก่ที่ผลิตจากโรงงานแปรรูปไก่มหาสารคาม สด สะอาด มีคุณภาพสูงและปลอดภัยต่อผู้บริโภค

“ นอกจากนี้ ผมหวังว่าการดำเนินงานของโรงงานแปรรูปไก่มหาสารคาม จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน  ทั้งยังเป็นการสร้างงาน ส่งเสริมด้านอาชีพให้แก่คนท้องถิ่นให้เกิดการเพิ่มผลผลิตและมูลค่าเพิ่ม การกระจายรายได้  ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม  ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน  และดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนรอบโรงงาน  ซึ่งถือเป็นแนวทางในการขยายธุรกิจของเครือเบทาโกรตลอดเวลาที่ผ่านมา” นายสมศักดิ์กล่าวในตอนท้าย

ความท้าทายที่ซูเปอร์มาร์เก็ตเตรียมรับมือปี 2020

ธนาคาร TD แคนาดาได้ทำการสำรวจข้อมูลความท้าทายที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มควรรับมือซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้าและบริการในปี 2020 ภายในงานสัมมนา 2019 Groceryshop เมืองลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา พบว่าการค้าขายรูปแบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ภายใต้ช่องทางใหม่ๆ เป็นสิ่งที่น่าจับตามองที่สุดตามด้วยการใช้เทคโนโลยีในธุรกิจค้าปลีกและศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อหาช่องทางขยายตลาดสินค้าตนเองให้มากที่สุด โดยเทรนด์รูปแบบทางการค้าและบริการในปี 2020 ที่น่าจับตามอง มีดังนี้

เทรนด์ 1 แบรนด์ธุรกิจจะเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนได้จากข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ในยุคนี้ โดยสอดคล้องกับกลยุทธ์ห้าง Loblaw ห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งของแคนาดาที่มองว่า เทคโนโลยีปัจจุบันนี้เปิดโอกาสให้เกิดการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกกันมากขึ้น ผู้บริโภคเองสามารถเปรียบเทียบการให้บริการขายสินค้าออนไลน์จากทุกเซกเมนต์ได้ (ไม่ใช่เฉพาะผู้จำหน่ายค้าปลีกเท่านั้น) โดยผู้บริหาร Loblaw มีการวางแผนที่จะให้แบรนด์ธุรกิจของตนเองกว่าร้อยละ 70 อยู่บนแพลตฟอร์มมือถือ ซึ่งก็เพื่อความสะดวกของผู้บริโภคในการจับจ่ายสินค้ามากขึ้น และปีที่ผ่านมาได้มีการจัดหาบุคลากรอีก 1,000 ตำแหน่งสำหรับการเก็บข้อมูลลูกค้าต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมค้าปลีกในวันข้างหน้านี้

เทรนด์ 2 กลยุทธ์ด้านเวลาเป็นสิ่งจำเป็น จากพฤติกรรมความเร่งรีบในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคทำให้หลายคนรู้สึกว่าการเดินซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตกลายเป็นสิ่งที่ไม่น่าสนใจอีกต่อไป โดย Ms. Kathrine Black หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ร้านค้าปลีกและผู้บริโภคบริษัท KPMG ได้กล่าวถึงข้อมูลการจับจ่ายของผู้บริโภคในงาน 2019 Groceryshop ว่าปัจจัยด้านเวลาและราคาสินค้าเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการค้าปลีกควรคำนึงให้มากต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องเดินทางไปซื้อสินค้าที่ซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะผลการสำรวจทัศนคติผู้บริโภคยุคปัจจุบันต่อการไปเลือกซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต พบว่าสิ่งที่สร้างความไม่พอใจ ได้แก่

– ผู้บริโภคร้อยละ 29 พบว่าการค้นหาสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตนั้นค่อนข้างยาก

– ผู้บริโภคร้อยละ 29 รู้สึกว่าการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก เพราะสินค้าที่วางจำหน่ายมีความหลากหลายเกินไป

– ผู้บริโภคร้อยละ 60 พบว่ามีการขาดสต๊อกสินค้าที่ต้องการบนชั้นวาง ทำให้ต้องกลับไปอีกครั้ง

– ผู้บริโภคร้อยละ 59 พบว่า ต้องมีการรอชำระเงินนานเกินไป ซึ่งค่อนข้างเสียเวลาตนเอง

ดังนั้นแล้วหากผู้ประกอบการคำนึงถึงปัจจัยด้านเวลาที่ผู้บริโภคเผชิญดังกล่าวข้างต้น ก็อาจจำเป็นสร้างกลยุทธ์การขายต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าที่ต้องการประหยัดเวลาในการเดินทางมาซูเปอร์มาร์เก็ตให้ได้

เทรนด์ 3 ประสบการณ์ช้อปปิ้งใหม่ๆ ในยุดดิจิทัล ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้บริโภคทุกวันนี้มีความคาดหวังถึงประสบการณ์ซื้อสินค้าที่ดีสะดวกสบายมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยช่องทางจำหน่ายทางออนไลน์ มือถือหรือแม้แต่การขายหน้าร้าน (Off-line) ดังเช่นบริษัท Coca-Cola ผู้ผลิตเครื่องดื่มขนาดใหญ่ของโลกพยายามที่จะหากลยุทธ์เชื่อมต่อกับลูกค้าให้มากที่สุด โดยล่าสุดได้มีการออกแอพพลิเคชัน Sip N Scan เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคให้รับข่าวสาร รางวัล กิจกรรรมโปรโมชั่นสินค้าและอื่นๆ อีกมากมาย โดยเชื่อว่าการใช้เทคโนโลยีดิจิตัลจะสามารถเข้าถึง Mindset ของผู้บริโภคยุคนี้ได้ดีที่สุด ในการนี้ Coca-Cola ภูมิภาคอเมริกาเหนือยังออกแบบระบบดิจิตัลที่เชื่อมโยงกับร้านค้าปลีกที่จำหน่ายและพาร์ทเนอร์ที่ให้บริการอาหารและสินค้าของบริษัท เพื่อเก็บข้อมูลและศึกษาการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค อันนำมาซึ่งโอกาสการขยายตัวสินค้าของบริษัทต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในปี 2020 นี้เชื่อว่าการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกค้าปลีกจะมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและจะเกิดการแข่งขันข้ามเซกเมนต์มากขึ้น รวมถึงการแข่งขันด้านราคา การเพิ่มความหลากหลาย และสร้างความแตกต่างในสินค้า โดยเฉพาะการที่ห้างค้าปลีกรายใหญ่จะเข้ามาออกจำหน่ายสินค้าแบรนด์ตัวเอง (Private Brand) กันมากขึ้นเพราะสามารถสร้างกำไรและทำโฆษณาการตลาดได้ง่ายกว่าแบรนด์ทั่วไป ทั้งนี้จุดแข็งของซูเปอร์แห่งอนาคตนี้จะอยู่ที่การใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มทางมือถือที่กลมกลืนไปกับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ ดังนั้นแล้วในส่วนของผู้ประกอบการไทยในฐานะเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าอาหารที่ต้องปรับตัวรับมือคือการพัฒนาช่องทางสินค้าออนไลน์และข้อมูลสินค้าบนบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคสามารถสแกนบาร์โค้ดหรือ QR โค้ด เพื่อรับข้อมูลที่มาสินค้าได้อย่างรวดเร็ว อันจะทำไปสู่ความสามารถการแข่งขันได้ทันท่วงทีต่อไป

 ——————————————————————————————————————–

ที่มา: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ขนทัพอาหารทะเลสดใหม่ ร่วมงาน “Seafood under the Stars” ประจำปี 2563

หอการค้าไทย-นอร์เวย์ ร่วมกับสถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทยจัดงานรับประทานอาหารค่ำ “Seafood under the Stars” ประจำปี 2563 ณ บ้านพักเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 13 ด้วยจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนอร์เวย์และผลักดันให้นอร์เวย์เป็นที่รู้จักในฐานะประเทศแห่งอาหารทะเล

ในงานนี้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ตัวแทนอุตสาหกรรมอาหารทะเลของประเทศนอร์เวย์ เป็นผู้สนับสนุนอาหารทะเลสดใหม่คุณภาพเยี่ยมส่งตรงจากนอร์เวย์ โดยมีอาหารทะเลที่เป็นตัวหลักในงานคือสัตว์น้ำทะเลที่มีเปลือกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปูจักรพรรดิ (King Crabs) ที่เลื่องชื่อในรสชาติหวานอร่อยและก้ามเนื้อนุ่มฉ่ำ กุ้งลังกู้สตีน (Langoustines หรือ Norwegian Lobsters) กุ้งเปลือกสีชมพูอ่อนจากทะเลน้ำลึกอย่าง กุ้งกรีนแลนด์ (Cold Water Prawns) ที่มีรสชาติออกหวานและเค็ม หอยรสหวานเนื้อนุ่ม อาทิ หอยเชลล์ (Scallops) หอยมะฮอกกานี (Mahogany Clams) และ หอยแมลงภู่สีน้ำเงิน (Blue Mussels) รวมไปถึงเหล่าปลายอดนิยมอย่าง แซลมอน ฟยอร์ดเทราต์ และคอด (Atlantic Cod) ปลารสอร่อยที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์นอร์เวย์ และฮาลิบัต (Halibut) ปลาเนื้อขาวเนื้อแน่นและนุ่มฉ่ำ

 

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ได้เผยถึงมูลค่าการส่งออกอาหารทะเลนอร์เวย์สู่ไทยในปี 2563 ที่ผ่านมานั้น มีมูลค่าสูงถึง 5.2 พันล้านบาท สัดส่วนของแซลมอนและฟยอร์ดเทราต์นับเป็น 87% ของมูลค่าการส่งออกนี้ ในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมาแซลมอนสดมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ 25% และแตะ 32% เป็นครั้งแรกในปีที่แล้ว ปัจจัยหลักมาจากความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นของร้านอาหารญี่ปุ่นและร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ในไทยที่ใช้แซลมอนสดจากนอร์เวย์เป็นวัตถุดิบหลัก

ดร.อัสบีเยิร์น วาร์วิค เรอร์ทเว็ท ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) เผยว่า “ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่มีการเติบโตของการส่งออกอาหารทะเลสูงมาก โดยเฉพาะตลาดไทย นอกเหนือจากแซลมอนแล้ว ฟยอร์ดเทราต์มีการเติบโตที่สูงและเป็นที่น่าจับตามองที่สุดในหมู่อาหารทะเลนอร์เวย์ อยู่ที่ 68% โดยรวมแล้วตลาดไทยมีโอกาสขยายการส่งออกที่สูงมาก ครั้งนี้เราจึงนำเสนออาหารทะเลจากนอร์เวย์ชนิดอื่นๆ อย่างสัตว์น้ำทะเลที่มีเปลือกต่างๆ ภายในงาน ‘Seafood under the Stars’ ปี 2563 จะเป็นปีที่น่าติดตามของอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์อย่างแน่นอน”

งาน “Seafood under the Stars” ปี 2563 มีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมกว่า 320 ราย ซึ่งล้วนเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของประเทศนอร์เวย์ เจ้าของร้านอาหารชั้นนำ เชฟชื่อดัง และผู้ประกอบการค้าปลีกในประเทศไทย ถือเป็นงานสานสัมพันธ์เชิงธุรกิจที่สำคัญสำหรับบริษัทในไทยและนอร์เวย์ และเป็นการต่อยอดความสัมพันธ์อันดีที่มีมาอย่างยาวนานของทั้งสองประเทศ เชฟอาหารนอร์ดิกชื่อดัง เชฟเฟ-รุ่งทิวา ชุ่มมงคล หัวหน้าเชฟประจำห้องอาหาร ฟร้อนท์ รูม ณ โรงแรม วอลดอร์ฟ แอสโทเรีย ได้ให้เกียรติมารังสรรค์เมนูอาหารมื้อค่ำสุดพิเศษที่ผสมผสานอาหารสไตล์นอร์ดิกกับรสชาติความเป็นไทยได้อย่างลงตัว โดยใช้อาหารทะเลสดใหม่คุณภาพสูงส่งตรงจากนอร์เวย์

ความโดดเด่นของอาหารทะเลนอร์เวย์ เกิดจากการเติบโตในน้ำเย็นเฉียบ ใส สะอาดของนอร์เวย์และได้รับการเพาะเลี้ยงด้วยความเชี่ยวชาญในด้านการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำสมัย ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์เป็นที่เลื่องชื่อในด้านการใช้อาหารสัตว์น้ำจากวัตถุดิบธรรมชาติตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปทีปราศจากพยาธิ และมีการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคทำให้แทบจะปราศจากการใช้ยาปฏิชีวนะในปลา กระบวนการผลิตอาหารทะลที่มีมาตรฐานสากลเป็นเครื่องการันตีถึงคุณภาพที่สดใหม่และปลอดภัยของอาหารทะเลจากนอร์เวย์ ประเทศนอร์เวย์ยังเป็นที่รู้จักในด้านการผลิตอาหารโดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการทำฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาตามแนวทางปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์น้ำและใส่ใจในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การผลิตอาหารทะเลที่ยั่งยืนของนอร์เวยจึงสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกของโลกได้อีกด้วย

“ชาวนอร์เวย์ขึ้นชื่อในเรื่องของความใส่ใจและเข้าใจในธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง ส่งผลให้นอร์เวย์เป็นประเทศผู้ผลิตอาหารทะเลที่ยั่งยืนที่สุดเจ้าหนึ่งและยังเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่อันดับสองของโลก นอร์เวย์มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมอาหารทะเลและสร้างมาตรฐานที่ดีให้แก่ผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างโลกที่น่าอยู่ขึ้นผ่านอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่ยั่งยืน” ดร. อัสบีเยิร์น กล่าวทิ้งท้าย