New Dates for FHA-Food & Beverage – 2 to 5 March 2021

We are pleased to announce that the new dates for the FHA-Food & Beverage event are 2-5 March 2021 at Singapore EXPO & MAX Atria.

FHA’s rich history of collaboration with our longstanding partners and attendees is a huge contributor to our success today. After much deliberation with our partners and industry associations we have concluded the new dates for FHA will provide the all-around best conditions for our community and optimal business performance for our exhibitors and buyers.

We thank you for your understanding and look forward to welcoming the international F&B community back next year, where we will continue to break new ground at the largest food and beverage showcase in Asia.

Statement from Singapore Tourism Board

“We understand Informa Markets’ decision to reschedule FHA-Food & Beverage to 2021, and are committed to working closely with them and our valued partners towards a successful show next year. We remain confident in Singapore’s strong reputation as a preferred destination for MICE events. FHA-Food & Beverage is a key highlight in Singapore’s event calendar, and we look forward to welcoming all attendees and exhibitors in 2021,” said Mr. Andrew Phua, Director of Exhibitions and Conferences, Singapore Tourism Board.

Statement from Singapore EXPO & MAX Atria

Mr. Alvin Lim, Executive Director for Brand and Customer Experience at SingEx Holdings, said, “We are honoured to host one of the world’s largest food and beverage platforms at Singapore EXPO & MAX Atria. FHA-Food & Beverage is an essential business and networking driver for the global F&B industry, and we share Informa Markets’ commitment to making well-being a top priority. Together with our other partners, we will continue our ongoing engagement on building an enhanced experience for the F&B community when they return next year.”

See you at FHA-Food & Beverage on 2-5 March 2021!

VISITOR PRE-REGISTRATION

Pre-register your visit to FHA-Food & Beverage to enjoy a full waiver of the admission few amongst other perks!

  • Full waiver of the SGD 80 admission fee
  • Access the online business matching portal to pre-arrange meetings
  • Full access to the online show directory and floorplans
  • Print your own admission badge from the comfort of your home/office

Online pre-registration for visitors to FHA-Food & Beverage will resume in August 2020.

Join our mailing list to get the latest updates and important developments about the show. www.foodnhotelasia.com/join-mailing-list

BENEO Showcases Sugar-Free Confectionery with Authentic Flavours from Around the World at ISM

At this year’s ISM trade fair, BENEO is taking visitors on a sensorial journey. The company unveils its latest Sweets Collection, a compilation of inspirational, sugar-free candies that contains authentic flavours from around the world. Designed to bring excitement and authenticity to every moment in the mouth, the collection embraces both the “healthy indulgence” and “sensorial immersion” trends that are currently driving sales of confectionery.

Recent research has shown that consumers want an emotional connection to what they eat. In order to revitalise confectionery sales in established markets, brands are being encouraged to develop confectionery flavours and textures which offer a memorable consumption occasion[i]. Meanwhile a quarter of consumers worldwide are influenced by products containing low/no sugar when buying sugar confectionery[ii]. With this in mind, BENEO’s new combination of exciting flavours and sugar-free candies gives confectionery producers inspiration that will satisfy even the most adventurous snacker and drive commercial success.

To find the perfect flavours from around the world BENEO worked with the company’s flavour development partner, Symrise. Local experts in Europe, North America and Asia tasted and identified flavour-combinations in line with consumer trends in each region. By bringing together exotic and ‘hyper-local’ ingredients, the end result is an innovative range of sweets that really delivers in terms of appeal and impact.

Amongst others, the BENEO Sweets Collection includes:

Garden Chills: A two coloured stamped candy in green and yellow that offers a refreshing taste of lemon, lime and garden-mint and reminds the consumer of warm summer days in an Italian garden

Yuzu Candy: This hard-boiled candy contains the refreshing, tropical taste of the Asian fruit Yuzu, reminding consumers of their far-flung travels across the world

Tropical Blossom: This swirl candy combines the fruity flavours of orange blossom, hibiscus and blood orange, enabling the consumer to sense the summer breeze from America’s Deep South.

Rudy Wouters, Vice President BENEO-Technology Center: “We all know that taste is key for re-purchasing food products and using authentic flavours can allow consumers to experience memorable key moments again. Bringing the two elements taste and flavour together creates a winning combination that is crucial for experiencing emotional memories. This is why BENEO is working closely with its local partners and customers around the world to ensure the recipes and samples developed meet regional taste preferences. With our most recent collection of sugar-free candies, we have brought sensorial immersion to life and made authentic flavours perceptible, to help our customers tap into the latest trends driving the category.”

The Sweets Collection contains BENEO’s ISOMALT, a naturally-sourced sugar replacer and the only one of its kind made from pure beet sugar. With a sweetening profile almost equal to sucrose – but with half the calories – it is ideal for confectioners looking for sugar-free alternatives.

Arjuna Introduces Certified Organic Turmeric Extracts

Kerala, India

Arjuna Natural Pvt, Ltd., introduces a range of certified organic turmeric extracts, including clinically studied, bioavailable BCM-95® (Curcugreen®). In addition to  BCM-95 and Turmeric Extract 95%, the line of products will include Arjuna’s full range of water-dispersible, oil-dispersible, and customizable turmeric extracts.

Organic certification is granted by the National Programme for Organic Production (NPOP) and National Organic Program (NOP), as well as the organic standard equivalent with EC834/2007 & 889/2008 for EU certification.

The rise in consumer demand for organic forms of supplements has been dramatic. Research by Innova Market Insights revealed an 18% jump in sales in that class over just the past five years (2015-2019), with continued growth predicted. The top five health categories for these supplements are: General Health & Wellness, Energy & Stamina, Brain Health & Mood, Immune Health, and, in the lead, Digestive/Liver health.

The US Department of Agriculture (USDA) and The European Union (EU) Regulation on Organic Production have recognized India’s National Standards for Organic Production as meeting the strict standards of the U.S. National Organic Program (NOP) and European Union regulations 2092/91.

“The new organic certifications in Europe, US, and India help maintain BCM-95’s leading position globally, but also establishes Arjuna as a trusted source for organic turmeric extracts,” says Chase Johnston, Director of the Dallas, Texas-based US operations for Arjuna Natural. “Now more than ever, consumers are educating themselves on natural products before purchasing. Arjuna is committed to transparent, sustainable & organic practices that align with consumer values.”

“We work in India in collaboration with Kerala Agricultural University, Thrissur, to identify the best sustainable farming procedures and the right turmeric variety,” says Benny Anthony, PhD, Joint Managing Director for Arjuna. “The organic turmeric is grown and cultivated on local, organic-certified farms. Moreover, the organic nature of the product is cross-verified through both an independent certifying agency as well as via appropriate chemical analysis.”

The traceability of BCM-95 is a farm-to-shelf enterprise. Arjuna works with skilled farmers to cultivate and harvest turmeric with the highest efficiency. The production process ensures the ingredient is completely clean and safe for use, with zero contamination, allowing Arjuna to guarantee a pure, clean, and safe product with complete traceability through BCM-95’s supply chain.

Efficacy of BCM-95 is backed by more than 60 scientific studies, and protected by 52 patents (33 in Europe, 17 in the US, and 2 in Japan) supporting the composition and manufacturing processes of this potent curcumin extract. With superior bioactivity and proven efficacy, reinforced by clinical support and continuous research, BCM-95 has become a leading industry standard for bioavailable curcumin.

Organic BCM-95 is a versatile product, available for all formulations and in all forms standard BCM-95 has been available, including softgels, tablets, and foods and beverages. The experts at Arjuna are available to work with customers to create any custom requirements for emerging applications using this organic, highly bioavailable curcumin.

BCM-95® and Bio-curcumin® are trademarks exclusively licensed to Arjuna Natural Pvt Ltd. Curcugreen® is a registered trademarks of Arjuna Natural Pvt. Ltd.

เบทาโกร จับมือ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง สร้างนวัตกรรมเติมเต็มมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร

เครือเบทาโกรลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาบรรจุภัณฑ์และด้านวิศวกรรม/การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร กับ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) โดยมีเป้าหมายเพื่อการวิจัยและพัฒนา สร้างนวัตกรรม ต่อยอดไปสู่การยกระดับอุตสาหกรรมอาหาร

เครือเบทาโกรร่วมกับ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และด้านวิศวกรรม/ การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอาหาร  และด้านวิศวกรรม/ การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรในการผลิตอาหาร  โดยมีนายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร และ นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด  (มหาชน) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง พร้อมด้วยผู้บริหารเครือเบทาโกร และเอสซีจี แพคเกจจิ้ง เข้าร่วมในพิธี ณ อาคารเบทาโกร ทาวเวอร์ นอร์ธปาร์ค กรุงเทพฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้

นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร กล่าวว่าการร่วมมือในครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันทำงานแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการวิจัยและพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ เพื่อต่อยอดไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้า และนวัตกรรมการผลิต ที่จะเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและผู้บริโภค  ส่วนความร่วมมือด้านวิศวกรรม/ การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร จะเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัย เพื่อให้ทำงานอย่างมืออาชีพและสามารถวัดผลในทางปฏิบัติได้  ซึ่งเบทาโกรในฐานะองค์กรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอาหาร พร้อมที่จะนำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญมาช่วยเติมเต็มและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารให้ดีขึ้น เพื่อให้ทุกคนในสังคมมีสุขภาพ และความสุขที่ยั่งยืนมากขึ้น และเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด  (มหาชน) กล่าวว่า ในฐานะองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจร  เอสซีจี แพคเกจจิ้ง มีองค์ความรู้ในด้านนวัตกรรม และความพร้อมของบุคลากรในการวิจัยพัฒนา การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และด้านวิศวกรรม/ การซ่อมบำรุงเครื่องจักร ในการทำงานร่วมกันครั้งนี้ จะเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกันผ่านโครงการในลักษณะต่างๆ  รวมทั้งสนับสนุนด้านเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ เทคนิคใหม่ๆ ตลอดจนร่วมกันพัฒนาเพิ่มศักยภาพความสามารถด้านการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบคาดคะเนล่วงหน้า (Predictive Maintenance) โดยใช้ฐานข้อมูลที่มากขึ้น (Big Data) และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น เช่น AI  (Artificial Intelligence) และ Machine Learning มาใช้ พร้อมกับการพัฒนาบุคลากรให้รองรับในด้าน Data Science และหวังว่าความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างของการทำงานวิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่างสององค์กรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่สามารถต่อยอดไปสู่รากฐานที่แข็งแกร่งในการพัฒนาประเทศให้เจริญเติบโตก้าวหน้าต่อไป

 

โพรไบโอติกส์สายเดี่ยวรุ่นใหม่…ความหวังของการลดน้ำหนักด้วยการควบคุมความอยากอาหาร

บริษัทด้านชีววิทยาสัญชาติฝรั่งเศส TargEDys® ประกาศผลลัพธ์ที่เป็นบวกในการทดลองทางคลินิกกับโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ Hafnia alvei HA4597™ เพื่อการลดน้ำหนักด้วยการควบคุมความอยากอาหาร

ปารีส – TargEDys® ประกาศความสำเร็จในการศึกษาวิจัยทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดข้อมูลสองทาง และควบคุมด้วยยาหลอกในศูนย์วิจัยหลายแห่งเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งทดลองในผู้เข้าร่วมการศึกษา 229 ราย เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ Hafnia alvei HA4597™ ในการลดน้ำหนักด้วยการควบคุมความอยากอาหาร โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรูอ็องนอร์มังดี โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยรูอ็อง และ INSERM ค้นพบว่า เอนเทอร์โรแบคทีเรีย เช่น Hafnia alvei HA4597™ สามารถผลิตโปรตีน (ClpB) ซึ่งเลียนแบบฮอร์โมนความอิ่ม alpha-MSH เนื่องจากโปรตีนดังกล่าวสามารถชักนำกลไกการควบคุมความอยากอาหารได้ที่ระดับรอบนอกและระดับศูนย์กลาง การศึกษาวิจัยก่อนการทดสอบในมนุษย์กับ Hafnia alvei HA4597™ แสดงให้เห็นถึงผลการป้องกันโรคอ้วน เช่น ลดน้ำหนัก ลดมวลไขมัน รวมถึงลดการรับประทานอาหาร และมีผลบวกต่อระดับน้ำตาลในเลือดและภาวะดื้อต่ออินซูลิน

ทีมวิจัยได้ยืนยันข้อมูลก่อนการทดลองในมนุษย์นี้ด้วยการทดลองทางคลินิก โดยการศึกษาวิจัยนี้ดำเนินการศึกษากับผู้เข้าร่วมการวิจัยที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งกำหนดด้วยดัชนีมวลกายระหว่าง 25 และ 30 กก./ตร.ม. ผู้เข้าร่วมการวิจัยได้รับการแบ่งเป็นสองกลุ่ม ทั้งคู่ได้รับอาหารแบบแคลอรีต่ำ โดยกลุ่มหนึ่งได้รับโพรไบโอติกส์ Hafnia alvei HA4597™ ส่วนอีกกลุ่มได้รับยาหลอก การวิจัยนี้บรรลุผลลัพธ์หลักที่เกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนัก โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในเชิงสถิติเป็นประโยชน์ต่อโพรไบโอติกส์ เมื่อเทียบสัดส่วนของผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ลดน้ำหนักร่างกายได้อย่างน้อย 3% ใน 12 สัปดาห์ สำหรับผลลัพธ์รองอื่นๆ กลไกการออกฤทธิ์ที่เสนอได้รับการยืนยันโดยการเพิ่มความรู้สึกอิ่มอย่างมีนัยสำคัญในเชิงสถิติ นอกจากนี้ โพรไบโอติกส์ให้ผลลดรอบสะโพกได้มากกว่ายาหลอกอีกด้วย เฉพาะ Hafnia alvei HA4597™ เท่านั้นที่ส่งผลต่อระดับคลอเลสเตอรอลและลดภาวะน้ำตาลในเลือดได้มากขึ้นมากกว่าผู้ที่ได้รับยาหลอก สุดท้าย Hafnia alvei HA4597™ แสดงผลที่เหนือกว่ายาหลอกจากการประเมินสรรพคุณโดยรวมที่ทั้งแพทย์ผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมการวิจัยรับรู้

“ผลลัพธ์เหล่านี้แสดงประสิทธิผลที่มีนัยสำคัญหลังจากผ่านไป 2 เดือน ซึ่งได้รับการสนับสนุนในเดือนที่ 3 กลไกการออกฤทธิ์ที่อธิบายในการวิจัยก่อนการทดลองในมนุษย์ได้รับการยืนยัน” Pierre Dechelotte ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษาทางคลินิกแสดงความเห็น

Gregory Lambert ซีอีโอและรองประธานฝ่ายวิจัยและพัฒนาของ TargEDys® กล่าวว่า “นี่คือผลผลิตแรกของโพรไบโอติกส์สายเดี่ยวรุ่นใหม่ ที่สนับสนุนด้วยกลไกการออกฤทธิ์ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ของไมโครไบโอมในแกนลำไส้และสมอง และได้รับการพิสูจน์ประสิทธิผลทางคลินิกในระยะสั้น

“ความสำเร็จของการศึกษาวิจัยทางคลินิกนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำหรับ TargEDys® การยืนยันทางคลินิกของการค้นพบในระยะก่อนการทดลองในมนุษย์ทั้งหมดจะส่งเสริมการเปิดตัวเครือข่ายพันธมิตรทางการค้าระหว่างประเทศสำหรับการส่งเสริมการค้าโซลูชันเชิงโภชนาการที่ไม่เหมือนใครของเรา ซึ่งมีวางจำหน่ายแล้วในชื่อ EnteroSatys™” Jean-Frederic Laville ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่ง กล่าว

ทั้งนี้ ผลการศึกษาวิจัยจะได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม: www.targedys.com

แก้กฎหมายอนุญาตใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลเพื่อลดปริมาณพลาสติกเกิดใหม่

ผู้แทนกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย เข้าพบ นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข- เพื่อหารือแนวทางในการร่วมผลักดันปรับปรุงกฏหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้มีการนำพลาสติกรีไซเคิล Recycled PET (rPET) มาใช้ในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มได้ พร้อมเผยผลวิจัยโดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่พบว่าประเทศไทยสามารถดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ หากใช้แนวทางการประเมินความปลอดภัยที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น แนวทางของสหรัฐอเมริกาหรือสหภาพยุโรป ร่วมกับการมีกฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตต้องผ่านการทดสอบเพื่อพิสูจน์ว่า กระบวนการผลิตสามารถขจัดสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางกลุ่มฯ เชื่อมั่นว่าแนวทางดังกล่าวจะช่วยลดการใช้พลาสติกเกิดใหม่ ส่งเสริมการรีไซเคิล และแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกได้อย่างยั่งยืน

จากการที่สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยได้ขานรับหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางในการส่งเสริมให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้เนื่องจากมีข้อห้ามตามกฎหมายนั้น นายวีระ อัครพุทธิพร อุปนายก และ ประธานกรรมการบริหาร สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย ได้เปิดเผยว่า “จากการทำงานในช่วงที่ผ่านมา สมาคมฯ พบว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนหนึ่งยังไม่มั่นใจถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค สืบเนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการคัดแยกวัสดุรีไซเคิลออกจากขยะทั่วไปอย่างเป็นระบบ และผู้บริโภคส่วนหนึ่งนำเอาขวดเครื่องดื่มที่ใช้แล้วไปบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food products)  ทำให้เกิดข้อกังวลว่าจะเกิดการปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ฉะนั้น สมาคมฯ จึงสนับสนุนให้สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินความปลอดภัยในเรื่องนี้  ซึ่งน่ายินดีที่ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าพฤติกรรมการใช้ขวด PET ซ้ำของคนไทยมิได้น่าเป็นห่วงอย่างที่คิดกัน หากภาครัฐสามารถปรับเปลี่ยนกฎหมายให้มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยที่ชัดเจน รวมถึงกำกับดูแลให้ผู้ผลิตทุกรายต้องผ่านการทดสอบเพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่ากระบวนการผลิตขวดจากพลาสติกรีไซเคิลสามารถขจัดสิ่งปนเปื้อนได้ ก็จะช่วยลดการใช้พลาสติกเกิดใหม่และส่งเสริมการรีไซเคิลให้มากขึ้นอีกด้วย”

ผศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้าโครงการการศึกษาข้อมูลสำหรับการประเมินความปลอดภัย เพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก กล่าวถึงรายงานผลการศึกษาว่า ทางคณะผู้วิจัยได้สำรวจพฤติกรรมการนำขวดเครื่องดื่มไปใช้หลังการบริโภคของคนไทยที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ 70% มักนำขวด PET มาใช้ซ้ำ โดยเติมน้ำดื่มหรือเครื่องดื่ม (69%)  สำหรับประเด็นสารอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหาร ที่อาจปนเปื้อนในขวด PET นั้น เห็นว่า ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีที่สามารถกำจัดสารปนเปื้อนเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับการนำกลับมาบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งรายงานฉบับนี้ ได้มีการแนะนำแนวทางการกำหนดค่าประเมินความปลอดภัยไว้แล้ว ทั้งนี้ เสนอว่าในเบื้องต้นผู้ผลิตรีไซเคิลพลาสติก (rPET) ควรมีการควบคุมแหล่งที่มา (Feedstock) และประเภทของพลาสติกที่จะนำมารีไซเคิล เพื่อผลิตเป็นขวดเครื่องดื่ม และภาชนะบรรจุอาหาร โดยจะต้องสามารถแสดงที่มาของพลาสติก ผลการทดสอบการกำจัดสารปนเปื้อนในกระบวนการรีไซเคิล ซึ่งอ้างอิงแนวทางการประเมินความปลอดภัยและการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก rPET ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (USFDA) หรือหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority – EFSA)

ขณะนี้ทางสถาบันฯ ได้นำเสนอข้อเสนอ (ร่าง) แนวทางการประเมินความปลอดภัย และการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกสำหรับประเทศไทยดังกล่าว ให้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และคณะทำงานของ อย.  เพื่อใช้เป็นแนวทางพิจารณาแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 295 พ.ศ.2548 ข้อ 8 ที่ระบุว่า “ห้ามมิให้ใช้ภาชนะบรรจุที่ทำขึ้นจากพลาสติกที่ใช้แล้วบรรจุอาหาร เว้นแต่ใช้เพื่อบรรจุผลไม้ชนิดที่ไม่รับประทานเปลือก” ทั้งนี้เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้สามารถใช้ขวดบรรจุเครื่องดื่มที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล (Recycled PET) ได้

นายสมศักดิ์ สิทธิชาญคุณะ เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกฯ มุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกตามโรดแมปการจัดการขยะพลาสติกปี 2561-2573 ของรัฐบาล ที่ต้องการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 100% ภายในปี 2570 โดยนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือ Circular Economy  ไปปรับใช้ มุ่งเน้น “Reduce-Reuse-Recycle” เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งการรีไซเคิล ถือเป็นหัวใจหลัก ดังนั้นหากมีการผลักดันให้เกิดการนำพลาสติกรีไซเคิลกลับมาใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหารหรือเครื่องดื่ม ก็จะเป็นการลดขยะพลาสติกได้อย่างแท้จริง เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีการใช้พลาสติกประเภท PET เป็นจำนวนมาก คิดเป็นสัดส่วน 80-90% ของปริมาณการใช้พลาสติก PET ทั้งหมด ซึ่งในหลายๆ ประเทศได้มีการนำพลาสติกรีไซเคิล (rPET) มาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มได้สำเร็จแล้ว แต่ว่าในประเทศไทย ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีข้อห้ามตามกฎหมาย ทั้งที่เรามีโรงงานผู้ผลิตพลาสติกรีไซเคิล (rPET) และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัยได้มาตรฐานระดับสากล กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกฯ จึงเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การเปิดโอกาสให้สามารถนำพลาสติกรีไซเคิลมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่มจะเป็นการลดขยะจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว และเป็นอีกก้าวสำคัญของประเทศไทยในการขับเคลื่อนการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ซึ่งจะสอดคล้องกับสิ่งที่รัฐบาลได้วางโรดแมปไว้ในการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน”

สำหรับโครงการศึกษาประเมินความปลอดภัยเพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก พร้อมการสำรวจพฤติกรรมหลังการบริโภคของผู้บริโภคชาวไทย ซึ่งจัดทำโดยสถาบันโภชนการ มหาวิทยาลัยมหิดลนั้นได้รับการสนับสนุนจากสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย โดยการสนับสนุนจาก กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ร่วมกับ บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส

EU Rules Applicable to the Authorization and Placing on the Market of Novel Foods and Traditional Foods Coming from non-EU Countries

ทางกระทรวงสุขภาพและการคุ้มครองผู้บริโภคประจำคณะกรรมาธิการยุโรปจัดการอบรมระดับภูมิภาคขึ้น เมื่อวันที่ 1821 กุมภาพันธ์ 2563 ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ภายใต้โครงการ “Better Training for Safer Food” โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎระเบียบว่าด้วยการขออนุญาตและการวางจำหน่ายอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ (Novel Foods) รวมถึงอาหารท้องถิ่นซึ่งนำเข้ามาจากประเทศนอกกลุ่มสมาชิก

คณะกรรมาธิการยุโรปได้พัฒนาชุดกฎหมายที่มีความครอบคลุม ซึ่งควบคุมกระบวนการการขออนุญาตสำหรับอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ มีการให้คำจำกัดความอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่หรือ Novel Foods ว่าเป็นอาหารที่ไม่มีประวัติการบริโภคภายในภูมิภาคยุโรปก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายสำหรับอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ (Regulation (EC) No 258/97)

กระทรวงสุขภาพและความปลอดภัยด้านอาหารประจำคณะกรรมาธิการยุโรป (DG SANTE) ได้จัดการอบรมระดับภูมิภาคขึ้นเป็นระยะเวลาสามวัน โดยมีตัวแทนผู้เข้าร่วมงานจำนวน 34 คน จาก 10 ประเทศภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (กัมพูชา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย เวียดนาม) ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการอบรมนั้นจะเป็นเจ้าหน้าที่จากองค์กรระดับประเทศที่ยืนยันถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยการวางจำหน่ายอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่และอาหารท้องถิ่น

คณะผู้เชี่ยวชาญระดับโลกและระดับภูมิภาคจำนวนห้าท่านจะรับหน้าที่เป็นผู้จัดการอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้เกิดกิจกรรมที่ประสานความร่วมมือกับคู่ค้าที่มิใช่ประเทศสมาชิกในเรื่องของอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ ทำให้ผู้คนทราบถึงกฎระเบียบของสหภาพยุโรปที่มีอยู่เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นเข้าใจมากยิ่งขึ้น และสามารถนำกฎระเบียบดังกล่าวไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกฎระเบียบดังกล่าวนี้จะนำมาบังคับใช้กับการขออนุญาตและการวางจำหน่ายอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ในตลาดของสหภาพยุโรป

โดยการอบรมนี้ถือเป็นชุดการอบรมเริ่มต้นของการอบรมในระดับภูมิภาคที่จัดขึ้นเก้าครั้ง เริ่มตั้งแต่ปี 2563 ไปจนถึง 2564 ในแอฟริกา (เซเนกัลและเอธิโอเปีย) ละตินอเมริกา (อาร์เจนตินาและคอสตาริกา) เอเชีย (อินเดีย ไทย และจีน) ตะวันออกกลาง (จอร์แดน) และยุโรป (มอลโดวา) ภายใต้โครงการ BTSF ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมจำนวน 300 คนจาก 68 ประเทศ

กฎระเบียบเกี่ยวกับอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ (EU) 2015/2283 (NFR) ที่แก้ไขในครั้งนี้ครอบคลุมหมวดหมู่อาหารที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น (เพิ่มขึ้นจาก 4 ประเภทในกฎระเบียบเก่าเป็น 10 ประเภท) หมวดหมู่ใหม่ที่กำหนดไว้ภายใต้ข้อ 3 ของ NFR ได้แก่ อาหารที่มีหรือประกอบด้วยสัตว์ หรือชิ้นส่วนของสัตว์ (เช่น แมลง) วัตถุดิบที่มาจากแร่ จุลินทรีย์ที่มาจากการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ สัตว์และพืช และอนุภาคนาโนเชิงวิศวกรรม ลักษณะใหม่อีกอย่างหนึ่งของ NFR คือขั้นตอนที่ระบุในข้อ 4 ที่ว่าผู้ประกอบธุรกิจอาหารต่างๆ จะสามารถยื่นคำร้องขอการลงความเห็นจากประเทศสมาชิกเกี่ยวกับสถานะอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ของอาหารหรือส่วนผสมชนิดหนึ่งได้ โดยกระบวนการดังกล่าวนี้มีรายละเอียดอยู่ใน Commission Implementing Regulation (EU) 2018/456

NFR ได้ขับเคลื่อนกระบวนการขออนุญาตอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ให้เป็นขั้นตอนแบบรวมศูนย์ ซึ่งทำให้เกิดกระบวนการที่ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ประกอบธุรกิจอาหารต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎระเบียบสามารถเข้าใจได้โดยง่าย อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ข้อกำหนดทางวิทยาศาสตร์และการจัดการสำหรับการขอวางจำหน่ายอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่นั้นได้ระบุไว้ใน Commission Implementing Regulation (EU) 2017/2469

นอกจากนี้ อีกเรื่องหนึ่งที่ NFR ได้กล่าวถึงคือกระบวนการ “ยื่นความประสงค์” สำหรับอาหารท้องถิ่นที่มาจากประเทศนอกกลุ่มสมาชิก กระบวนการนี้มีการชี้แจงรายละเอียดไว้ใน Commission Implementing Regulation (EU) 2017/2468 ทำให้ผู้สมัครสามารถส่งเอกสารผ่านระบบการส่งเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ของคณะกรรมาธิการได้ โดยเอกสารดังกล่าวจะแสดงถึงอาหารท้องถิ่นที่บริโภคโดยประเทศนอกกลุ่มสมาชิกมาเป็นเวลาอย่างน้อย 25 ปี ในกรณีที่ EFSA หรือประเทศสมาชิกไม่มีข้อโต้แย้งด้านความปลอดภัยแล้ว คณะกรรมาธิการจะรับเรื่องและอนุญาตให้มีการวางจำหน่าย รวมถึงเพิ่มรายชื่ออาหารดังกล่าวเข้าในยูเนียนลิสต์ (Union List) อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งด้านความปลอดภัยแล้ว ผู้สมัครอาจถอนการยื่นความประสงค์ดังกล่าว หรือนำส่งเอกสารฉบับเต็มผ่านขั้นตอนปกติแทนก็ได้ ทั้งนี้ EFSA ได้จัดทำข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดเตรียม และการยื่นความประสงค์ หรือเอกสารสมัครที่จะยื่นเพิ่มเติมสำหรับอาหารท้องถิ่นที่มาจากประเทศนอกกลุ่มสมาชิกไว้แล้ว

——————————————————————————————————————–

เกี่ยวกับ BTSF

BTSF คือ โครงการอบรมที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการยุโรป โดยมีเนื้อหาครอบคลุมกฎหมายทางด้านอาหารและอาหารสัตว์ สุขภาพและสวัสดิภาพของสัตว์ รวมถึงกฎระเบียบด้านความสมบูรณ์ของพรรณพืชที่บังคับใช้ทั้งในประเทศสมาชิกและในประเทศนอกกลุ่มสมาชิก ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ec.europa.eu/food/safety/btsf_en

The Yoom tomato is the FRUIT LOGISTICA Innovation Award of the Year

This year’s FRUIT LOGISTICA Innovation Award (FLIA) goes to the tomato “Yoom™” from the company Syngenta Seeds. With around 30 per cent of the votes, it is the clear winner in the competition to determine the best innovation in the international fruit and vegetable industry. Visitors to FRUIT LOGISTICA had two days to vote on the award.

The Dutch company Syngenta won the FLIA before in 2012, for its red snack pepper “Angello”. The Yoom tomato won voters over with its outer and inner values: depending on the hours of sunlight, its colour ranges from purple to black. What remains constant is its high vitamin, mineral and antioxidant content as well as its sweet-sour and tangy flavour, also known as “umami”.

“We are very pleased to have won this award again, because FRUIT LOGISTICA is the most important convention for the fresh fruit industry. In five minutes the world will know more about our product, because everyone follows the information from FRUIT LOGISTICA. This will be a major boost for our product. And the award is a great acknowledgment of our work as well as a wonderful motivation for our team,” says Jérémie Chabanis, EAME Food Chain Manager Vegetable and Specialties at Syngenta.

The silver FLIA goes to Polish company Silbo for its certified fruit and vegetable packaging with water-based dyes and adhesives (“Compostable, Flexible, Printed, Packaging”). It is completely compostable, making it especially sustainable.

The bronze FLIA was also awarded to sustainable packaging: the “SoFruMiniPak® Eco View” from SoFruPak Witold Gai from Poland. It seals quickly, is made from renewable resources, ensures good ventilation and optimised cooling, and is 100 per cent biodegradable.

 

 

กสอ. – สถาบันอาหาร – จ.มิเอะ ฉลอง 1 ปี ศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ-ประเทศไทย เร่งต่อยอดเทคโนโลยีรับเกษตรอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปโต

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมกับสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม และจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น จัดสัมมนาใหญ่ “ผ่าความลับอาหารมิเอะ เสน่ห์เติมเต็มประสบการณ์ผู้บริโภคไทย” ฉลองความสำเร็จ 1 ปี “ศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ-ประเทศไทย” ณ ศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย สถาบันอาหาร ยกขบวนวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารแปรรูป และผู้ประกอบธุรกิจอาหารชื่อดังจากจังหวัดมิเอะ ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ผู้ประกอบการไทยแบบครบวงจร พร้อมนำสินค้าอาหารขึ้นชื่อมาให้ชิม และสาธิตการปรุง เดินหน้าชูจุดแข็งด้านวัตถุดิบของ 2 ประเทศ ตั้งเป้าดันผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารร่วมกัน หวังสร้างเครือข่ายทางธุรกิจในอนาคต สอดรับแนวโน้มตลาดส่งออกอาหารแปรรูปพุ่ง เผยปี 2562 ไทยมีสัดส่วนส่งออกกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50.5 มีมูลค่า 517,877 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 5.2  ขณะที่กลุ่มสินค้าเกษตรวัตถุดิบมีสัดส่วนลดลงอยู่ที่ร้อยละ 49.5  มีมูลค่า 507,623 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 11.5

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวในพิธีเปิดงานสัมมนา “ผ่าความลับอาหารมิเอะ เสน่ห์เติมเต็มประสบการณ์ผู้บริโภคไทย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการฉลองความสำเร็จ 1 ปีของการจัดตั้ง “ศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ-ประเทศไทย” ว่า งานวันนี้ถือเป็นการสานต่อความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่าง 3 หน่วยงานด้วยกัน ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) สถาบันอาหาร และจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มต้นจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ-ประเทศไทย (Mie-Thailand Innovation Center) เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา โดยได้ติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับการแปรรูปอาหารที่ได้รับจากบริษัท ซูเอฮิโระ อีพีเอ็ม (SUEHIRO EPM) ประเทศญี่ปุ่น เพื่อช่วยยกระดับผู้ประกอบการไทยในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารต้นแบบ ให้มีศักยภาพและเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน สามารถมุ่งไปสู่เวทีระดับโลกได้ แม้ปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกจะมีความผันผวน แต่สินค้าอาหารก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต เพียงแต่ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวให้ทันความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค ซึ่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีจะสามารถเข้ามาตอบโจทย์ดังกล่าวได้

“ความร่วมมือระหว่างจังหวัดมิเอะกับประเทศไทยในครั้งนี้ จะเป็นการสนับสนุนให้การส่งออกกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปของไทยมีความหลากหลายด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดียิ่งขึ้น เชื่อว่าจะมีส่วนผลักดันให้การส่งออกกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปของไทยเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ในอนาคตทางศูนย์ฯ มีแผนช่วยเหลือผู้ประกอบการในด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอย่างต่อเนื่อง  เตรียมเปิดให้บริการเช่าใช้เครื่องมือต่างๆ ภายในศูนย์ฯ รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารร่วมกัน โดยอาศัยจุดแข็งของกันและกัน เช่น การแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยี  การแลกเปลี่ยนวัตถุดิบของไทยและจ.มิเอะ ญี่ปุ่น เพื่อยกระดับการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น”

นายวะตะรุ มุระคามิ อธิบดีกรมการจัดหางานและเศรษฐกิจ จังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ-ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นฐานในความร่วมมือทางอุตสาหกรรมระหว่างไทยและจังหวัดมิเอะ และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของกันและกัน ในวันพิธีเปิดศูนย์ฯ ได้มีการมอบเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ (Twin Screw Extruder) ซึ่งใช้สำหรับแปรรูปอาหาร ให้แก่สถาบันอาหาร เพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยได้

โดยภายในงานผู้แทนจากจังหวัดมิเอะได้บรรยายเกี่ยวกับสิ่งที่น่าสนใจและการแปรรูปอาหารของจังหวัดมิเอะ ส่วนในช่วงบ่าย มีการสาธิตและชิมสินค้าอาหารของจังหวัดมิเอะ เช่น เนื้อวัวอิกะ (Iga beef) หอยนางรมอุระมุระ (Uramura oyster) ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อปลา (Ise kamaboko) และอาหารจานเคียงสำหรับร้านอาหาร นอกจากนี้ยังจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของจังหวัดมิเอะ อาทิ ผลิตภัณฑ์ซอสถั่วเหลือง จากบริษัท ยามาโมริ (Yamamori) ส้ม Nanki Mie Mandarin และนอกจากนั้น ยังมีผลิตภัณฑ์น้ำส้ม ชาอิเสะ (Ise tea) สาหร่ายทะเลอาโอะสะ (Aosa nori) ที่มีการผลิตมากที่สุดในญี่ปุ่น  และเหล้าสาเก เป็นต้น

ความร่วมมือระหว่างจังหวัดมิเอะกับประเทศไทย จะช่วยยกระดับและพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม และจะเป็นจุดสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรมของทั้ง 2 ประเทศ ที่จะช่วยให้เกิดความร่วมมือที่ขยายวงไปในด้านการค้า การลงทุน รวมถึงการท่องเที่ยวระหว่างกันได้ต่อไปในอนาคต

นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในระยะ 1  ปีที่ผ่านมา ศูนย์นวัตกรรมจังหวัดมิเอะ-ประเทศไทย หนึ่งในเครือข่ายของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) ได้ให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปอาหารจากวัตถุดิบของไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในหลากหลายรูปแบบ ให้บริการทดลองผลิตสินค้าต้นแบบ ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารแปรรูปมาอย่างต่อเนื่อง โดยสถาบันอาหารได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป จำนวน 120 ราย สร้างมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยให้แก่วัตถุดิบทางการเกษตรได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ได้จัดให้มีกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) โดยนำคณะผู้ประกอบการไปร่วมกิจกรรมที่จังหวัดมิเอะ และสร้างเครือข่ายกับผู้ซื้อของประเทศญี่ปุ่น

“นอกจากนี้สถาบันอาหารยังได้ทดลอง วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับนักวิจัยของ บริษัท ซูเอฮิโระ  อีพีเอ็ม (SUEHIRO EPM) ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เครื่องจักรแปรรูปอาหารภายในศูนย์ฯ นำข้าวหอมมะลิมาพัฒนาเป็นขนมขบเคี้ยวข้าวหอมมะลิอบกรอบรสชาติต่างๆ เช่น รสต้มยำกุ้ง รสมะม่วง รสธัญพืช และนำไปจัดแสดง พร้อมทดสอบชิมในงาน THAIFEX 2019 ซึ่งได้รับผลตอบรับดีจากผู้ที่มาเยี่ยมชม”

งาน “ผ่าความลับอาหารมิเอะ เสน่ห์เติมเต็มประสบการณ์ผู้บริโภคไทย” ครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อฉลองความร่วมมือครบรอบ 1 ปี ในการดำเนินงานของศูนย์ฯ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และร้านอาหาร เข้าร่วมงานเป็นจำนวน 150 คน จาก 94 หน่วยงาน

อนึ่ง ในปี 2562 ทีผ่านมา ไทยมีการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการส่งออกสินค้าเกษตรวัตถุดิบที่มีสัดส่วนลดลง พบว่า ไทยส่งออกสินค้าในกลุ่มอาหารแปรรูปมูลค่า 517,877 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 จากปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.5 เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนร้อยละ 46.2 ขณะที่การส่งออกอาหารในกลุ่มสินค้าเกษตรวัตถุดิบมีมูลค่า 507,623 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.5 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.5 ลดลงจากสัดส่วนร้อยละ 53.8  เฉพาะกลุ่มสินค้าอาหารพร้อมรับประทาน ในปี 2562 การส่งออกมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 คาดว่าในปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 5.5 และจะมีมูลค่าการส่งออกราว 7,086 ล้านบาท