Bangkok Workshop – Safety Evaluation and Use of Food Flavourings

The senior officers of Thai FDA, led by Secretary-General greeting with the President of the International Organization of the Flavor Industry (IOFI), Jean Mane & Teams to stay and participate throughout the meeting. A clear demonstration of recognition of successfully meeting on 25 June 2019 at Chainartnarenthorn Room, Ministry of Public Health, Thailand.

 

(Left to Right) Voranuch Sirivanasan, Jing Yi, Kok Sian Ng, Dr.Poonlarp Chantavichitwong (Deputy Secretary-General), Dr.Phikul Tanskul, Dr.Tares Krassanairawiwong (Secretary-General), Supattra Boonserm (Deputy Secretary-General), Malee Jirawongsy, Wanchart Yingvilasprasert, and Dusadee Thongprasurt.

 

(Left to Right) Dr.Jürgen Schnabel (IOFI), Sven Ballschmiede (IOFI), Jean Mane (President of IOFI), Sean Taylor (IOFI), David Lefebvre, and Donald Wilkes (IOFI).

ซีอีโอ “ซีพีเอฟ” สานต่อครัวโลกยั่งยืน ชูนวัตกรรมรับเทรนด์สากล พร้อมสร้างบรรยากาศทำงานแบบผู้นำ

กรุงเทพฯ, 4 กรกฎาคม 2562 – ซีอีโอ ซีพีเอฟ เผยทิศทางนำบริษัทเดินหน้าสานต่อวิสัยทัศน์องค์กรสู่ “ครัวของโลก” โดยเน้นเทคโนโลยีสมัยใหม่ สร้างสรรค์นวัตกรรมตอบโจทย์ความต้องการของกระแสโลกทั้งในเชิงธุรกิจและสังคม ควบคู่การบริหารจัดการภายในองค์กรที่เน้นการสร้างคนภายใต้บรรยากาศ Leadership at all level

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ซีพีเอฟมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการมุ่งสู่ครัวของโลก ภายใต้ความท้าทายใหม่ๆ ในการบริหารธุรกิจยุคดิจิทัล ซึ่งจะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด ทันสมัยที่สุด เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยยังคงดำเนินธุรกิจด้วยปรัชญา 3 ประโยชน์เช่นที่ผ่านมา”

ทั้งนี้ กลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรยุค 4.0 คือ การนำแนวคิดนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน (Innovation towards Sustainability) เข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและทุกๆ ผลิตภัณฑ์ของซีพีเอฟ โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence; AI) คลาวด์ (Cloud Computing) บิ๊กดาต้า(Big Data) ไอโอที (Internet of Things; IOT) ตลอดจนระบบอัตโนมัติมาใช้ในการยกระดับและเชื่อมโยงกระบวนการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่ เช่น การพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ-โรงงานอัจฉริยะ (Smart Farm-Smart Factory) หรือระบบการตลาดดิจิทัลและช่องทางการจำหน่ายสินค้า e-Commerce ซึ่งจะช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพธุรกิจ สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า และรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการบริโภค

“นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันให้แก่ซีพีเอฟทั้งในประเทศไทยและในเวทีโลกได้อย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาเราประสบความสำเร็จในการวิจัยพัฒนานวัตกรรมอาหารสัตว์-พันธุ์สัตว์-อาหารเพื่อการบริโภค สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมอาหารครั้งใหม่ของโลก เช่น ไก่เบญจา ได้สำเร็จ รวมถึงคิดค้นอาหารสุขภาพ กลุ่ม Smart อาทิ อาหารเพื่อผู้ป่วยและผู้สูงวัยอย่าง Smart Soup อาหารมังสวิรัติ Smart Meal และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ Smart Drink อาหารและเครื่องดื่มจากนวัตกรรมเหล่านี้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบันได้อย่างลงตัว และด้วยประสิทธิภาพของศูนย์ RD Center มาตรฐานระดับโลกของเราจะทำให้ซีพีเอฟสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมอาหารสู่ตลาดโลกได้อย่างต่อเนื่อง” นายประสิทธิ์กล่าว

ขณะที่ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่สังคมโลกให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ซีพีเอฟจึงนำแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” หรือ Circular Economy เข้ามาใช้ในการผลักดันความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด รวมถึงการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ตลอดกระบวนการผลิต เพื่อให้การทำธุรกิจของซีพีเอฟสร้างผลกระทบแก่ทรัพยากรโลกให้น้อยที่สุด ดังเช่น โครงการจัดหาวัตถุดิบยั่งยืน โครงการ Solar Rooftop โครงการ CPF Coal Free 2022 โครงการฟาร์มสีเขียว หรือการประกาศใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน เพื่อร่วมบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

สำหรับการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างต่อเนื่องนั้น ซีพีเอฟจะยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนา “คน” โดยสร้างบรรยากาศให้พนักงานทุกคนมีความกล้าแสดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรค์ กล้าพูด กล้าทำ และลงมือทำในสิ่งใหม่ๆ ที่จะเพิ่มคุณค่าให้แก่ตัวเอง ลูกค้า ชุมชน ฯลฯ อันจะช่วยส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีความเป็นผู้นำ ภายใต้บรรยากาศการทำงานที่เรียกว่า Leadership at all level ซึ่งจะสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า พร้อมจะนำองค์กรให้เติบโตต่อไป

ด้วยความแข็งแกร่งของกระบวนการผลิตอาหารปลอดภัย ตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต ทั้ง Feed-Farm-Food ผนวกกับการที่ซีพีเอฟมีการลงทุนใน 17 ประเทศ และส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก เมื่อเสริมกลยุทธ์ด้านการบริหารยุคดิจิทัลเข้าด้วยกัน เชื่อว่าจะสนับสนุนให้ซีพีเอฟ ก้าวสู่ “ครัวของโลก” ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

นายประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ซีพีเอฟจะยังคงดำเนินธุรกิจภายใต้ปรัชญา “3 ประโยชน์” ที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ยึดมั่นปฏิบัติมาโดยตลอดร่วมศตวรรษ นั่นคือ การคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ประโยชน์ของประชาชน และสุดท้ายคือประโยชน์ของบริษัท โดยมุ่งมั่นที่จะนำองค์กรให้เติบโตต่อเนื่องในเวทีโลกอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม โปร่งใส และมีธรรมาภิบาล ซึ่งจะเอื้อให้ซีพีเอฟยืนหยัดในสังคมโลกได้อย่างสง่างามเช่นที่ผ่านมา

สถาบันอาหาร เร่งยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารด้วยนวัตกรรม

สถาบันอาหาร เร่งยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารด้วยนวัตกรรม

ชู 2 โครงการเด่น พุ่งเป้าตลาดอาหารอนาคต (Future Food) มูลค่า 1.96 แสนล้านบาท

 

สถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม เผยความคืบหน้า 2 โครงการเด่นช่วงครึ่งปีแรก 2562 หนุนผู้ประกอบการยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มุ่งพัฒนาผู้ประกอบการ 250 ราย สู่นักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ (New Food Warrior 2019) อย่างต่อเนื่อง ผ่าน “โครงการยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร โดยนำมาตรฐาน ผลิตภาพ และนวัตกรรม เป็นเครื่องมือในการเพิ่มขีดความสามารถนักรบอุตสาหกรรมพันธุ์ใหม่ ประจำปี 2562” เน้นส่งเสริมกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารอนาคต(Future Food)  ชี้ปี 62 คาดมีมูลค่าตลาดในประเทศไม่น้อยกว่า 1.96 แสนล้านบาทต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.3 ทั้งจัดกิจกรรมโรดโชว์ต่อยอดสร้างโอกาสทางการตลาดผลักดัน 4 ผลิตภัณฑ์ไฮไลต์ ทอดมันกุ้งไข่ขาว ขนมธัญพืช 7 ชนิด ข้าวหุงสุกเร็วผสมธัญพืช และผงกล้วยผสมผงถั่วขาวพร้อมดื่ม ภายใต้ “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ” แจงภาพรวมส่งออกอาหารของไทย 5 เดือนแรกปี2562(ม.ค.–พ.ค.) มีมูลค่า 435,217 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ด้านนำเข้ามีมูลค่า 166,581 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.9

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า ในช่วงครึ่งปีแรก 2562 ที่ผ่านมา สถาบันอาหาร ได้ร่วมกับ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) ดำเนินโครงการยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร โดยนำมาตรฐาน ผลิตภาพ และนวัตกรรม เป็นเครื่องมือในการเพิ่มขีดความสามารถนักรบอุตสาหกรรมพันธุ์ใหม่ ประจำปี 2562 โดยมีวัตถุประสงค์ในการยกระดับผลิตภาพการผลิต และส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ได้เริ่มดำเนินกิจกรรมดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนก.พ. ที่ผ่านมา จากการเปิดรับสมัครผู้ประกอบการอาหารทั่วประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี ให้เข้าร่วมโครงการจำนวน 250 ราย เพื่อเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านการบริหารจัดการธุรกิจแนวใหม่ แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ การปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อการออกแบบธุรกิจยุคดิจิทัล การออกแบบคุณค่า รวมถึงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้วยการยกระดับองค์ความรู้สู่อุตสาหกรรม 4.0 และกระบวนการเพื่อการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การยกระดับผลิตภาพด้วยกระบวนการ Lean Process และเทคนิคกลยุทธ์การตลาดในยุค Cashless Society เป็นต้น

 

ขณะนี้ได้คัดเลือกผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาต่อยอดเชิงลึกสู่นักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่จำนวน 25 กิจการเพื่อเข้ารับคำปรึกษาในการยกระดับผลิตภาพและปรับกระบวนการดำเนินธุรกิจในประเด็นที่ยังเป็นจุดอ่อนของกิจการโดยทีมที่ปรึกษาเข้าดำเนินการให้คำปรึกษารายกิจการ ณ สถานประกอบการ  และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้หลักสูตรการพัฒนานักรบผู้สร้างคุณค่าเพิ่ม(Creating Value Warriors) โดยมีกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายนักรบ ได้แก่ Team Building, Study Visit และ Knowledge Sharing เป็นต้น

“ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกในปี 2562 จำนวน 25 ราย เป็นผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารอนาคต (Future food) 4 กลุ่มสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ (Health Food / Functional Food) 19 กิจการ กลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารอินทรีย์ (Organics) 4 กิจการ กลุ่มผู้ผลิตอาหารทางการแพทย์ (Medical food) 1 กิจการ และกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสารสกัดสมุนไพร (Food Supplementary & Herb Extract) 1 กิจการ โดยแต่ละรายจะได้รับการยกระดับในด้านต่างๆ เพื่อให้พร้อมแข่งขันในระดับสากลมากขึ้น เช่น บริษัท บ้านโป่งโนวิเทจ จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารทางแพทย์ ยกระดับด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง (Digital Marketing) เพื่อขยายช่องทางการจำหน่ายให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มมากขึ้น บริษัท นราห์ อินดัสตรี จำกัด ผู้ผลิตชาและอาหารเสริมจากพืชสมุนไพรออร์แกนิค ยกระดับด้านกระบวนการผลิตด้วย Lean Process การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร บริษัท อินทัชธนกร จำกัด ผู้ผลิตบิสกิตเพื่อสุขภาพ จากน้ำนมถั่วเหลืองเพื่อทดแทนเนย และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากถั่วเหลือง ยกระดับด้านการเพิ่มมูลค่าจากถั่วเหลือง บริษัท ซีซ่า ฟูดส์ จำกัด ยกระดับด้านกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้อบแห้ง บริษัท ไทยอินโนฟู้ด จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แหนม ไส้กรอก พรีไบโอติก ยกระดับด้านการจัดการกระบวนการผลิตด้วย Lean Process เพื่อลดความสูญเสีย เป็นต้น ซึ่งจะดำเนินกิจกรรมดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2562 นี้”

 

นายยงวุฒิ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้สถาบันอาหารยังได้จัดทำ “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ” โดยร่วมกับผู้ประกอบการยกระดับอาหารแปรรูปและเกษตรแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้นวัตกรรมใหม่(Food Innovation for Anti-Aging) มุ่งให้ได้รับการพัฒนาในเชิงพาณิชย์ จัดทำผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบเสร็จเรียบร้อยแล้วรวม 4 ผลิตภัณฑ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเป้าหมายหลายแห่งเพื่อจัด “กิจกรรมต่อยอดเพิ่มโอกาสทางการตลาดและสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภคเป้าหมาย”  ล่าสุดได้นำผลิตภัณฑ์ไปแนะนำในงานประชุมที่รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ในโครงการโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังและสัปดาห์โภชนาการให้ความรู้ผู้ป่วย ญาติ และผู้สนใจ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด  สามารถสนองตอบความต้องการของผู้สูงอายุ และผู้ใส่ใจดูแลสุขภาพได้เป็นอย่างดี  ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ “ทอดมันกุ้งไข่ขาว” โดยบริษัท บีเลิฟเนอร์สซิ่งโฮม  จำกัด จ.นครสวรรค์ เก็บรักษาแบบแช่เย็น/แช่เยือกแข็ง เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการโปรตีนในมื้ออาหารหลัก ย่อยง่าย ได้พลังงาน รับประทานง่ายไม่มีกลิ่นคาว ในอนาคตมีแผนจะจับมือกับศูนย์ดูแลสุขภาพ/ผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศ และเปิดเป็นร้านอาหารให้บริการอาหารไข่ขาวที่มีความหลากหลายทั้งคาว-หวาน

ผลิตภัณฑ์ “ขนมธัญพืช 7 ชนิด” โดยบริษัท ไทยฟู้ดส์ทูโก  จำกัด จ.กำแพงเพชร อาหารว่างที่ประกอบด้วยธัญพืช รวม 7 ชนิด ได้แก่ ถั่วแดงเมล็ดเล็ก ถั่วแดงเมล็ดใหญ่ ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วดำ ลูกเดือยและข้าวเหนียวดำ ผ่านกระบวนการให้ความร้อนต้มเคี่ยวทั้งวันจนได้เนื้อสัมผัสนุ่ม เคี้ยวง่าย อุดมด้วยโปรตีนและใยอาหารสูง เก็บรักษาแบบแช่เยือกแข็ง มีแผนจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทานแบบเย็นคล้ายไอศกรีมต่อไป แนวโน้มมุ่งทำตลาดกลุ่มลูกค้าที่ให้บริการ catering ฟิตเนส ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และร้านค้าสุขภาพ  ผลิตภัณฑ์ “ข้าวหุงสุกเร็วผสมธัญพืช” โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดกมลไท เกษตรภัณฑ์  จ.อุทัยธานี ผลิตจากข้าวไรซ์เบอร์รี่  เผือกหอม มันแครอท และฟักทองที่ปลูกโดยเกษตรกร ปลอดสารเคมี  ผ่านการทำให้สุกและอบแห้งเหมาะสำหรับหุงเป็นทั้งข้าวสวยและข้าวต้มใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ก็หอม นุ่ม พร้อมรับประทาน ได้คุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งผู้ประกอบการได้พัฒนาต่อยอดปรับเปลี่ยนเป็นการใช้ข้าว กข.43 ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมากยิ่งขึ้น เพราะเป็น Low GI และผลิตภัณฑ์ “ผงกล้วยผสมผงถั่วขาวพร้อมดื่ม” โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดทุ่งโพธิ์พืชผล จ.พิจิตร เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดผง  ที่มีส่วนผสมหลักคือผงกล้วยและถั่วขาวผง ที่ชงดื่มง่าย ได้ประโยชน์  สามารถผสมกับเครื่องดื่มที่ชื่นชอบ  แทนครีมเทียม แต่ได้ประโยชน์ด้านการเคลือบกระเพาะ ช่วยระบบขับถ่ายและควบคุมน้ำหนัก ซึ่งได้รับการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี หลังจากนี้จะทยอยแนะนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปสู่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายในวงกว้างต่อไป

“สำหรับภาพรวมการส่งออกอาหารของไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2562 (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่า 435,217 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 166,581 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.9  ในส่วนของตลาดอาหารอนาคต (Future Food) ในประเทศ คาดว่าในปี 2562 จะมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1.96 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จากปี 2561 และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยอาหารฟังก์ชันนัลคือกลุ่มหลักที่มีส่วนแบ่งตลาดกว่าร้อยละ 60 รองลงมาคือกลุ่มผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพ กลุ่มอาหาร free-from เช่น ปราศจากเนื้อสัตว์ ปราศจากกลูเตน  และอาหารอินทรีย์ แนวโน้มการเติบโตของอาหารอนาคตในตลาดส่งออกที่มีศักยภาพสูงในหลายประเทศ  เช่น ญี่ปุ่น และจีน ก็มีทิศทางเดียวกัน ผู้ประกอบการจึงไม่ควรมองข้ามการผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ โดยการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารต่างๆ มาใช้ในการผลิต เพื่อเป็นการยกระดับสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรสู่อาหารแปรรูปในรูปแบบอาหารอนาคตอย่างมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในตลาดส่งออกต่อไป”

 

Europe’s Most Comprehensive Platform for Natural Solutions and Organic Ingredients Now Bigger than Ever

This year’s Food ingredients Europe & Natural ingredients, Europe’s leading trade show for food and beverage ingredients, will reflect the “green” consumer trend even stronger than before. As more and more companies focus on natural ingredients and organic provenance, exhibition organiser Informa Markets has more than doubled the size of the event’s Organic Pavilion. In addition, the natural ingredients zone has grown by more than 50 percent. Fi Europe & Ni 2019 will take place from 3 to 5 December in Paris.

Currently, around 100 companies from all over the world have secured their spot for Fi Europe & Ni natural ingredients zone – including the agar specialist Setexam (Morocco), natural vanilla expert Eurovanille (France), the flavour house Enrico Giotti (Italy) and plant ingredients manufacturer Peruvian Nature (Peru). Trade visitors looking for natural alternatives will find what they are looking for both in this specialised area – and beyond.

The Organic Pavilion, with over 50 exhibitors already confirmed such as oleoresins and extracts producer Jean Gazignaire (France), import/export trader DO-IT (Netherlands) and natural fibre specialist Interfiber (Poland), offers an excellent overview of the immense diversity of organic quality alternatives that now exist.

In addition, Fi Europe & Ni will provide an extensive range of information and education opportunities on a variety of natural and organic topics. For instance, within the free-to-access Organic Spotlight trade visitors can gain insights into the latest trends in the organic sector, as well as regulatory issues and market analyses. The “Plant-based Experience” will focus on plant alternatives in particular: together with NGO ProVeg International, an extensive programme featuring live cooking events, lectures and innovation tours has been created. Meanwhile, the Fi Conference will focus on innovative concepts for clean labels, amongst other key areas.

The “green consumer” as an engine for the market

In 2019, the “green consumer” has already influenced two categories of Innova Market Insights’ top ten trends: while the “The Plant Kingdom” charts the increasing market for plant alternatives, “The Green Appeal” outlines current consumer demand for sustainability – stretching from responsible sourcing via upcycling ingredients and strategies against food waste to eco-friendly packaging solutions.

 

Although the claim “natural” has no exact definition – contrary to the term “organic” – all major analysts agree that there is growing market for natural alternatives.

 

Besides products that are free from artificial additives, colourants and flavours, and minimally processed foods and drinks, this also includes GMO-free solutions. According to the Mintel Global New Products Database, natural product claims appeared on 29% of global food and drink launches between September 2016 and September 2017.

Julien Bonvallet, Brand Director of Fi Europe & Ni comments: “When the first exhibitors ventured into the arena of natural alternatives – at that time primarily in the field of colours and flavours – we knew straightaway that this was a major trend and created dedicated specialised zones and content hubs to showcase the latest developments. In 2007, we officially added an integrated natural ingredients exhibition to our show: since then, Fi Europe has added the Ni to its name. Now, we can justifiably say that for almost any challenge they face, visitors to Paris will be able to choose between a standard and a natural solution.”

 

 

www.figlobal.com/

สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย จับมือ อินโดรามา เวนเจอร์ส และสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล สำรวจพฤติกรรมการใช้ขวดพลาสติกของคนไทยเพื่อส่งเสริมการใช้ขวดพลาสติกรีไซเคิลอย่างปลอดภัย

กรุงเทพฯ, 1 กรกฎาคม 2562

สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย โดยการสนับสนุนจาก กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ร่วมกับ บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส ประกาศความร่วมมือเร่งผลักดันให้มีการพิจารณาแก้กฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้สามารถนำขวดบรรจุเครื่องดื่มที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล หรือ Recycled PET (rPET) มาใช้ได้ในประเทศไทย โดยล่าสุดได้ร่วมมือกับศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทย มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการสำรวจพฤติกรรมการใช้ขวดเครื่องดื่มพลาสติกของผู้บริโภคชาวไทย โดยเฉพาะพฤติกรรมการนำขวดเครื่องดื่มไปใช้หลังการบริโภคที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาแนวทางที่เหมาะสมในการกำกับดูแล เก็บรวบรวม การผลิตและใช้ขวด rPET อันจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน โดยที่ผู้บริโภคยังสามารถมั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ขวด rPET ได้

นายวีระ อัครพุทธิพร อุปนายก และ ประธานกรรมการบริหาร ของ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย กล่าวถึงความร่วมมือดังกล่าวว่า “ในฐานะศูนย์กลางการประสานความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สมาคมฯ ตระหนักถึงบทบาทในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก โดยเฉพาะในส่วนของบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ซึ่งแม้จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เครื่องดื่มต่างๆ ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างสะอาด ปลอดภัย และได้คุณภาพมาตรฐาน แต่หากไม่ได้รับการจัดการหลังการบริโภคที่เหมาะสมแล้ว บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ก็จะกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบในวงกว้างได้ ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์จำเป็นต้องใช้ขวดพลาสติกที่ผลิตใหม่ทั้งหมด เนื่องจากกฎหมายห้ามไม่ให้นำพลาสติกใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่กับบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสกับอาหาร ซึ่งข้อห้ามนี้ครอบคลุมถึงพลาสติกที่ผ่านการกระบวนการรีไซเคิลอย่าง rPET แล้ว อันทำให้สมาชิกของเราไม่สามารถลดปริมาณการใช้พลาสติกผลิตใหม่ในส่วนนี้ลงได้”

ปัจจุบัน กฎหมายในประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล หรือ rPET อย่างไรก็ตาม ในช่วงปีที่ผ่านมา หลายภาคส่วนได้ตื่นตัวถึงความจำเป็นและประโยชน์ของการผลิตและใช้ขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มที่ทำจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลในไทยกันมากขึ้น โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้แต่งตั้งคณะทำงานทบทวนแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปัจจุบัน ฉบับที่ 295 พ.ศ.2548 ข้อ 8 ที่ระบุว่า “ห้ามมิให้ใช้ภาชนะบรรจุที่ทำขึ้นจากพลาสติกที่ใช้แล้วบรรจุอาหาร เว้นแต่ใช้เพื่อบรรจุผลไม้ชนิดที่ไม่รับประทานเปลือก” ทั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้ศึกษาข้อมูลทางวิชาการและแนวปฏิบัติในต่างประเทศเกี่ยวกับการนำเม็ดพลาสติกรีไซเคิลมาผลิตเป็นขวดเครื่องดื่มใหม่มาได้ระดับหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะทำงานฯ มีความเห็นว่า การกำกับดูแลในส่วนนี้จำเป็นจะต้องมีการศึกษาสภาพปัญหาและพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยอย่างแท้จริง จึงได้เห็นชอบให้ศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทย มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล รับหน้าที่เป็นผู้ศึกษาในเรื่องนี้ ภายใต้การสนับสนุนของสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสมาชิกอันได้แก่ กลุ่มธุรกิจ
โคคา-โคล่า ในประเทศไทย บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ตลอดจนพันธมิตรของสมาคมฯ คือ บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส ซึ่งเป็นผู้ผลิตขวด PET รายใหญ่ที่สุดในโลกด้วย

รศ. ดร. ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต ที่ปรึกษา ศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทย (TRAC) และที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ขยะพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก โดยสถานการณ์ในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียนอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติก โดยเฉพาะขวดเครื่องดื่มที่เป็นพลาสติก PET นั้น มีสมบัติที่ดีหลายประการ ทั้งทนทาน น้ำหนักเบา และราคาถูก เราจึงพบว่าผู้บริโภคส่วนหนึ่งมักนำขวด PET เหล่านี้กลับมาใช้ซ้ำหลังการบริโภคเครื่องดื่ม ซึ่งบางครั้งก็นำไปใส่น้ำยาทำความสะอาดหรือสารเคมีอื่นๆ ที่เป็นอันตราย อันอาจทำให้เกิดความกังวลในการนำขวดดังกล่าวมารีไซเคิลได้ ดังนั้นการจะอนุญาตให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลในไทย จึงต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อให้ทราบข้อมูลว่าความเสี่ยงในการปนเปื้อนมีมากน้อยเท่าใดและมีสารชนิดใดที่จำเป็นต้องมีการตรวจประเมินบ้าง โดยทีมวิจัยของสถาบันฯ นำโดย ผศ.ดร. ชนิพรรณ บุตรยี่ จะเข้ามาดำเนินการศึกษาในเรื่องนี้ ตลอดจนประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก rPET สำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากประเทศชั้นนำที่ใช้พลาสติกรีไซเคิลอย่างแพร่หลาย หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการพิจารณา เพื่อพัฒนาเป็นแนวทางการประเมินความปลอดภัยของเม็ดพลาสติกรีไซเคิล rPET เพื่อนำมาผลิตเป็นขวดเครื่องดื่มใหม่ในไทยต่อไป”

นายริชาร์ด โจนส์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร ความยั่งยืน และทรัพยากรบุคคล บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวเสริมว่า “ในฐานะผู้ผลิตพลาสติก PET รายใหญ่ที่สุดของโลก อินโดรามา เวนเจอร์ส ตระหนักดีถึงบทบาทในการส่งเสริมการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืนและปลอดภัย เราสนับสนุนความร่วมมือครั้งนี้ เพราะเราเชื่อมั่นเช่นกันว่าบรรจุภัณฑ์ PET มีส่วนสำคัญในการทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มถึงมือผู้บริโภคได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ด้วยคุณสมบัตินี้เองจึงทำให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้อย่างกว้างขวาง และการใช้บรรจุภัณฑ์จาก rPET จะมีส่วนช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการต้องพึ่งพิงพลาสติกที่ผลิตใหม่แต่เพียงอย่างเดียว ในฐานะผู้ส่งออก rPET เราสามารถยืนยันได้ว่าเทคโนโลยีในการทำความสะอาดและกำจัดสิ่งสกปรกในกระบวนการรีไซเคิลในปัจจุบันมีความก้าวหน้ามาก ได้มาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก และหลายประเทศมีการใช้บรรจุภัณฑ์ผลิตจาก rPET อย่างปลอดภัยมาเป็นเวลานานแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา หลายประเทศในสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ฉะนั้น ประเทศไทยเองก็น่าจะได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราเห็นด้วยว่าการพิจารณาแก้กฎหมายจะต้องดำเนินงานตามหลักวิชาการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะเกิดความปลอดภัยกับผู้บริโภคอย่างแท้จริง”

ในปี 2561 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการผลิตขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มออกสู่ตลาดในประเทศมากกว่า 185,000 ตัน และมีเพียงไม่ถึงครึ่งที่ถูกจัดเก็บ และนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างเหมาะสม ส่วนขวดพลาสติกที่เหลือต้องถูกนำไปฝังกลบ และบางส่วนก็เล็ดลอดออกสู่สภาวะแวดล้อม จนทำให้ปัญหาขยะพลาสติกเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมลำดับต้นๆ ของโลกในปัจจุบัน การอนุญาตให้สามารถใช้ rPET ในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจึงเป็นหนึ่งในหลายๆ มาตรการที่ประเทศไทยสามารถดำเนินการเพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้ได้

“ความร่วมมือกันของผู้ผลิตเครื่องดื่มระดับแนวหน้าซึ่งอันที่จริงก็เป็นคู่แข่งกันในตลาด กับผู้ผลิตขวดพลาสติกระดับโลก และสถาบันการศึกษาชั้นนำถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงจุดยืนและความมุ่งมั่นที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น สมาคมฯ มั่นใจว่าหากการปรับเปลี่ยนกฎหมายตามแนวทางดังกล่าวแล้ว จะทำให้เกิดการตื่นตัวของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยครั้งใหญ่ และหวังว่าจะมีหลากหลายภาคส่วนเข้ามาให้การสนับสนุนเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกผลิตใหม่ แก้ไขปัญหาขยะพลาสติกได้อย่างยั่งยืนต่อไป” นายวีระ กล่าวสรุป

ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลการผลิตขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่ม จากรายงานเกี่ยวกับห่วงโซ่คุณค่า หรือแวลูเชนของขวดพลาสติก PET และกระป๋องอะลูมิเนียม ในประเทศไทย โดย จีเอ เซอร์คูลาร์

FAO ชื่นชมแนวคิดตัด Contact transmission ของเชื้อ ผ่านการสร้างศูนย์ฆ่าเชื้อ ส่วน OIE ให้การยอมรับความร่วมมือ Pubic Private Partnership ของไทย ในการร่วมเปิดศูนย์ฆ่าเชื้อสระแก้ว

สระแก้ว, 7 มิถุนายน 2562 – พิธีเปิด “ศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะบรรทุกสินค้าปศุสัตว์” ตามความร่วมมือระหว่างสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริเวณด่านกักกันสัตว์ กรมปศุสัตว์ จุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน ตำบลคลองหาด อำเภอคลอง จังหวัดสระแก้ว

กรมปศุสัตว์ นำโดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตว์แพทย์สรวิศ ธานีโต เป็นประธานในพิธีและรับมอบศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะบรรทุกสินค้าปศุสัตว์ ตามโครงการความร่วมมือกรมปศุสัตว์และภาคเอกชนผู้เลี้ยงสุกร โดยมีตัวแทนจากทั้งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การโรคระบาดสัตว์เข้าร่วมในพิธี

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้กล่าวในพิธีเปิดว่า “วันนี้นับเป็นการบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างยอดเยี่ยม ขอบคุณทั้ง FAO และ OIE ที่สนับสนุนความช่วยเหลือทางวิชาการและคำแนะนำต่างๆ ในการเฝ้าระวังป้องกัน ด้วยดีเสมอมา”

คุณสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้กล่าวถึงการระบาดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา มีการระบาดจากจีนตอนเหนือ ไล่ลงมาที่ประเทศเวียดนามและกัมพูชา โดยตลอดเวลา สมาคมฯ และกรมปศุสัตว์ร่วมมือกันมาตลอด ให้ความรู้เรื่องโรค ระบบ Bio-security ตลอดจนความร่วมมือจากภาคเอกชนในการสร้างศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะขนส่งสินค้าปศุสัตว์ ขอบคุณสมาคมผู้เลี้ยงสัตว์กัมพูชา และที่ต้องขอบคุณอย่างยิ่ง คือ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่สนับสนุนทุนในการสร้างศูนย์ที่สระแก้วแห่งนี้ พวกเราจะต้องร่วมมือกันต่อไปเพื่อความยั่งยืนของผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศ

ดร.วันทนีย์ กัลล์ประวิทธ์ จาก FAO ได้กล่าวว่า “การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของโลกอย่างมาก ยินดีที่เห็นความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนในเมืองไทย ขอบคุณกรมปศุสัตว์ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ราชการส่วนท้องถิ่น กองกำลังทุกภาคส่วน ที่ร่วมมือกันป้องกันโรค นับตั้งแต่การระบาดครั้งแรกในเอเชีย”

Dr.Ronello Abila จาก OIE กล่าวว่า “ยินดีที่ได้มาพบเห็นความร่วมมือกันในลักษณะของ Public Private Partnership ที่มีประสิทธิภาพสูงมากของทั้งภาครัฐและเอกชนไทยในครั้งนี้ นับเป็นแบบอย่างที่ดีในระดับนานาชาติสำหรับประเทศที่ยังไม่มีการระบาด”

ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ดังกล่าวจะเป็นจุดผ่านแดนหลักในการส่งสุกรมีชีวิตสู่ประเทศกัมพูชา ปัจจุบันเฉลี่ยวันละ 1,500-2,000 ตัว ซึ่งการผลิตสุกรของกัมพูชาในปัจจุบันยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภค(โดยประมาณ 8,000-10,000 ตัวต่อวัน ตามการประเมินของสมาคมผู้เลี้ยงสัตว์กัมพูชา)

ปัจจุบัน นโยบายกรมปศุสัตว์ได้ให้ความสำคัญต่อระบบความปลอดภัยทางชีวภาพกับฟาร์มสุกรในทุกขนาดในประเทศไทย และยังให้การสนับสนุนการเฝ้าระวังป้องกันกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยการระบาดในประเทศกัมพูชาถือว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมพื้นที่ในการระบาดได้อย่างยอดเยี่ยมที่สามารถควบคุมการระบาดและจำกัดพื้นที่เพียงจังหวัดรัตนคีรีซึ่งมีพื้นที่ติดชายแดนตอนใต้ของประเทศเวียดนาม เท่านั้น

จากการรายงานล่าสุดขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน – 3 มิถุนายน 2562 ประเทศกัมพูชามีการระบาดเพียง 9 ครั้ง ในพื้นที่ 2 เขต 1 จังหวัด เท่านั้น

สำหรับศูนย์ฯ ในลักษณะเดียวกันตามโครงการความร่วมมือระหว่างกรมปศุสัตว์กับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ อีก 3 แห่ง จะมีการเปิดอย่างเป็นทางการที่จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดนครพนม ในวันที่ 13 และ 14 มิถุนายน 2562 ตามลำดับ ส่วนที่ด่านเชียงแสน จังหวัดเชียงรายจะเปิดเป็นลำดับสุดท้าย

ดร.วันทนีย์ จาก FAO ได้ฝาก 3 ประเด็นให้กับผู้เลี้ยงสุกรสำหรับหนึ่งสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น และเกิดขึ้นแล้ว ที่อาจจะเป็นความเสี่ยงที่หลายคนคิด แต่ยังไม่ดำเนินการ ประกอบด้วย
1. เตรียมพื้นที่ Compartment เพื่อรองรับกรณี “เกิด” ในสิ่งที่ไม่อยากให้เกิด เพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหารทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
2. อยากให้ติดตามเครือข่ายการใช้เศษอาหารเลี้ยงสุกร ที่ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ไม่อาจมองข้ามได้
3. การเลี้ยงหมูป่าที่กลายเป็นหมูพเนจร อาจเป็นสาเหตุแห่งการฝังตัวของเชื้ออย่างยาวนานได้

Italian Networking Dinner

กรุงเทพฯ, 14 มิถุนายน 2562 – สถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์อิตาเลียน จัดงานเลี้ยงรับประทานอาหารอิตาลีในมื้อค่ำสุดพิเศษเป็นครั้งแรก ณ บ้านพักเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย

ในโอกาสนี้ H.E.Lorenzo Galanti เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย และ Mr.Giuseppe Lamacchia ทูตพาณิชย์ ร่วมให้การต้อนรับนักธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารและสื่อมวลชนที่เข้าร่วมงาน ProPak Asia 2019 & PrinTech Asia 2019 อย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง นับเป็นโอกาสอันดีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสานสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อไป

 

 

Bangkok, 14 June 2019 – Embassy of Italy, in collaboration with Italian Trade Agency (ITA) exclusively hosted the first-time “Italian Networking Dinner” at the Italian Ambassador’s Residence.

H.E.Lorenzo Galanti, the Ambassador of Italy to Thailand and Mr.Giuseppe Lamacchia, the Italian Trade Commissioner gave special guests and press who participate ProPak Asia 2019 & PrinTech Asia 2019 a warm welcome and enjoy Italian cuisine. The fascinating dinner was also the great event networking food and beverage professionals to share their experiences and network the business partnership.

 

FILTEC Brings Innovative Inspection Solutions to ProPak Asia 2019 in Thailand

FILTEC ผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชันการตรวจสอบสินค้าในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค และยา โดยมีสำนักงานและหน่วยสนับสนุนในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ให้บริการแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกมานานกว่า 60 ปี และเป็นอีกครั้งสำหรับการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า ProPak Asia 2019 งานแสดงสินค้าสำคัญที่ FILTEC เข้าร่วมเพื่อนำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชันด้านการตรวจสอบออกสู่ตลาดในภูมิภาค โดยประเทศไทยถือเป็นผู้นำในตลาดเอเชีย ทั้งยังเป็นตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่องรวดเร็วที่สุดในโลกสำหรับสินค้าประเภทเครื่องดื่ม

James Kearbey, President/CEO (Left) Christian Beck, Senior Product Manager (Right)

“ประสิทธิภาพของแพลตฟอร์ม INTELLECT ที่ FILTEC นำเสนอล่าสุดนี้น่าจะเป็นที่สนใจของบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค และเครื่องสำอางในประเทศไทยและทั่วเอเชีย ด้วยความแม่นยำและความน่าเชื่อถือ โซลูชันการตรวจสอบของ FILTEC สามารถลดปริมาณของเสียทั้งในแง่ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ทั้งยังลดต้นทุนได้ทั้งกระบวนการผลิต เนื่องจากสามารถระบุหาสารปนเปื้อนและความเสียหายแบบเรียลไทม์ ณ ตำแหน่งที่เกิดความผิดพลาดของกระบวนการผลิตได้ โซลูชันการตรวจสอบเป็นกรรมสิทธิ์ของทางบริษัทและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในไทยและเอเชียได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามข้อกำหนดหรือความต้องการด้านการตรวจสอบของลูกค้าแต่ละรายได้” นายคริสเตียน เบ็ก ผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์อาวุโสกล่าว

ด้วยอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชีย ผู้ผลิตจึงต้องการโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมอันทันสมัย เชื่อถือได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการผลิต รวมทั้งให้ผลวิเคราะห์ที่จำเป็นเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิต ทั้งนี้แพลตฟอร์ม INTELLECT ถือเป็นสมองของโซลูชันการตรวจสอบของเครื่องจักรแต่ละชนิด ซึ่งให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ทางปฏิบัติที่ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถระบุและแยกแยะปัญหาในสายการผลิตและแก้ไขได้ทันที ข้อมูลรายละเอียดดังกล่าวยังช่วยให้ทีมงานฝ่ายผลิตสามารถกำหนดตารางการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันก่อนที่จะเกิดปัญหาวิกฤต ดังนั้นจึงช่วยลดอัตราการเกิดปัญหาการขัดข้องทางเทคนิคและไม่สามารถดำเนินการผลิตต่อไป รวมทั้งลดอัตราการสูญเสียด้านการผลิตอีกด้วย

โซลูชันของ FILTEC นั้นไม่ว่าจะเป็นแบบที่ทำงานโดยอิสระ (Stand-alone) หรือทำงานเป็นระบบที่สมบูรณ์ล้วนมีลักษณะที่เป็นแบบโมดูลาร์หรือประกอบด้วยหน่วยแยกต่างๆ ที่สามารถรวมกันได้ รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนได้เต็มที่ โซลูชันดังกล่าวสามารถตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ที่ปิดผนึกสนิทแล้วเพื่อหาข้อบกพร่องได้โดยมีความแม่นยำสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และทำงานโดยปราศจากการประนีประนอมให้กับข้อบกพร่องต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงทำให้แบรนด์ของผู้ผลิตได้รับความน่าเชื่อถือทั้งในด้านความซื่อสัตย์และความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

เครื่องตรวจสอบกระป๋องเปล่า (ECI) เครื่องตรวจสอบด้วยระบบกล้องที่กำหนดค่าได้
โซลูชันการตรวจสอบ ECI ที่ได้รับการออกแบบมาใหม่มีขนาดของเครื่องจักรที่กะทัดรัด โดยทำหน้าที่ตรวจสอบข้อบกพร่องของกระป๋องเปล่าตรงบริเวณปากกระป๋อง ผนังด้านในและฐานกระป๋องที่ความเร็วสูงสุด 2,400 กระป๋องต่อนาที โซลูชันนี้สามารถผนวกเข้ากับสายการผลิตที่มีอยู่และพร้อมใช้งานได้อย่างง่ายดาย ECI ช่วยลดอัตราการเกิดปัญหาการขัดข้องทางเทคนิคและไม่สามารถดำเนินการผลิตต่อไป พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตโดยลดปัญหาการติดขัดที่เครื่องบรรจุและเครื่องปิดผนึกฝากระป๋อง นอกจากนี้ ECI ยังเป็นโซลูชันการตรวจสอบขนาดกะทัดรัดที่มาพร้อมกลไกการออกแบบขั้นสูงซึ่งอนุญาตให้กระป๋องที่สะอาด ปราศจากความเสียหายและไร้สิ่งปนเปื้อนเท่านั้นที่สามารถเดินทางต่อไปยังเครื่องบรรจุได้

AURATEC Pressure ระบบตรวจจับแบบสุญญากาศที่รับประกันความน่าเชื่อถือของบรรจุภัณฑ์
AURATEC เป็นโซลูชันการตรวจสอบอัจฉริยะที่น่าเชื่อถือ ซึ่งให้การรับประกันด้านการตรวจจับแรงดันได้อย่างแม่นยำและสม่ำเสมอ รับประกันความละเอียดในการตรวจสอบขั้นสูง พร้อมช่วยลดการรีเจคที่ผิดพลาดอันเกิดจากการตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ไม่ตรงตามแนวคอนเวเยอร์ อัลกอริทึมวิธีการตรวจวัดแบบหลากหลายสามารถประเมินข้อมูลภาพของผลิตภัณฑ์เป็นแบบ 3 มิติหรือแบบดาต้าเรียลไทม์ภาพเสมือนจริงที่ความเร็วถึง 1,200 กระป๋องต่อนาที

QUADVIEW— มุมมอง 720 องศา
QUADVIEW เป็นระบบอิสระที่มีขนาดกะทัดรัดซึ่งใช้เทคนิคการมองเห็นขั้นสูงด้วยมุมมองการตรวจสอบ 720 องศา อัลกอริทึมการตรวจสอบที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ FILTEC ทำการวิเคราะห์ฝา ฝาจีบ และช่วงจีบข้างของฝาจีบ เพื่อหาข้อบกพร่องต่างๆ เช่น ฝาเผยอ ฝาพับ ฝาเอียง นอกจากนี้ QUADVIEW ยังสามารถระบุสีและรูปแบบได้อีกด้วย เมื่อผนวกเข้ากับ AURATEC โซลูชันแบบครบวงจรนี้จึงรับประกันความสมบูรณ์ของบรรจุภัณฑ์ให้แก่ผู้ผลิตได้

เทคโนโลยีชั้นนำใหม่เหล่านี้รวมถึง INTELLECT ได้รับการพัฒนาโดย FILTEC ซึ่งทุ่มทุนมากมายสำหรับการวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนลูกค้าอย่างต่อเนื่องท่ามกลางตามความต้องการของภาคธุรกิจที่วิวัฒนาการและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง

www.FILTEC.com

Food Trends that Matter: 10 เทรนด์ที่น่าสนใจของอุตสาหกรรมอาหารในมุมมองของ Innova Market Insights

10 เทรนด์ที่น่าสนใจของอุตสาหกรรมอาหารในมุมมองของ Innova Market Insights มีดังนี้

1. Discovery: The Adventurous Consumer

ผู้บริโภคจะเริ่มพาตัวเองออกจากคอมฟอร์ทโซน ค้นหาประสบการณ์ที่แปลกใหม่ เช่น กลิ่นรส รสชาติ ลักษณะทางประสาทสัมผัสที่แตกต่าง ตัวอย่างที่ดีของเทรนด์นี้ คือ KIT KAT Ruby Cocoa Chocolate จากเนสท์เล่

2.The Plant Kingdom

กระแสรักสุขภาพส่งผลให้อาหารที่มีส่วนประกอบจากพืชได้รับความนิยมและไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัว โดยอาจเป็นการทดแทนเนื้อสัตว์ทั้งหมด หรือไฮบริดแบบผสมผสานของอาหารจากพืชและสัตว์ที่ลงตัว อย่างเช่น Carrefour ได้นำเสนอ Le Palet Boeuf Et Vegetal ซึ่งเป็นการผสมผสานของเบอร์เกอร์ที่มีส่วนประกอบจากพืชและเนื้อวัว

       

3.Alternatives to All

ผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่ๆ ในกลุ่ม Dairy free กลุ่ม Meat substitutes และกลุ่มอาหารวีแกนที่วางจำหน่ายทั่วโลกในช่วงปี พ.ศ.2556-2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ร้อยละ 11 และร้อยละ 46 ตามลำดับ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ เรื่องโปรตีน ที่ไม่ได้อยู่เพียงเนื้อสัตว์อย่างที่เราเคยนึกถึงอีกต่อไป แต่โปรตีนจากพืชได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น รวมทั้งโปรตีนจากแมลงที่มาแรงไม่แพ้กัน

     

4.Green Appeal

ผู้บริโภคชาวอเมริกัน ชาวอังกฤษ และชาวจีน 2 ใน 3 ต่างคาดหวังว่าผู้ผลิตอาหารจะลงทุนกับเรื่องของความยั่งยืน แบรนด์ต่างๆ ก็ได้ตอบรับกับกระแสของความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น การลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ตลอดจนการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ

         

5.Snacking: The Definitive Occasion

ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวอาจจะไม่ใช่ผลิตภัณฑ์สำหรับอาหารมื้อว่างเสมอไป เส้นแบ่งของอาหารมื้อหลักและมื้อว่างเริ่มจะรวมเข้าด้วยกัน ส่วนหนึ่งก็เพราะวิถีการใช้ชีวิตของผู้บริโภคยุคดิจิทัลที่ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น อย่างเช่น ผู้บริโภคมิลเลนเนียล ร้อยละ 63 เลือกบริโภคขนมขบเคี้ยวแทนอาหารมื้อหลักเพราะมีความสะดวก

6.Eating for Me

เรื่องอาหารก็สามารถปรับให้เข้ากับเฉพาะบุคคล หรือ Personalized ได้ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์นั่นเอง อย่างเช่น อาหารสำหรับผู้ที่มีวิถีการกินแบบคีโต ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์อาหารคีโตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นร้อยละ 76

 

7.A Fresh Look at Fiber

เมื่อพูดถึงไฟเบอร์จะไม่ใช่แค่เรื่องประโยชน์ต่อระบบขับถ่ายเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์อื่นๆ ที่หลากหลาย จากการศึกษาในปี 2561 พบว่าชาวอเมริกันร้อยละ 44 และชาวอังกฤษร้อยละ 33 บริโภคไฟเบอร์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ระบุการกล่าวอ้างเรื่องไฟเบอร์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21

8.I Feel Good

เรื่องของโภชนาการไม่ได้ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพของจิตใจ ผู้บริโภคชาวอเมริกัน ชาวอังกฤษ และชาวจีน 1 ใน 4 กล่าวว่า ความรู้สึกผ่อนคลาย เป็นอีกมุมหนึ่งที่พวกเขานึกถึงในยามรับประทานอาหาร และมีผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มมากกว่าร้อยละ 36 ที่ออกมาในช่วงปี พ.ศ.2559-2560 ต่างกล่าวอ้างถึงเรื่อง ‘feel good’

9.Small Player Mindset

สตาร์ทอัพเริ่มเขย่าวงการอุตสาหกรรมอาหาร ผู้บริโภคชาวอเมริกัน ชาวอังกฤษ และชาวจีน 2 ใน 5 ชอบซื้อสินค้าจากผู้ผลิตแบรนด์เล็กๆ เนื่องจากพวกเขามองว่าแบรนด์เล็กจะใส่ใจและให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้ามากกว่า รวมทั้งมีเรื่องราวความเป็นมาในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ

10.Connected to the Plate

ชีวิตติดโซเชียลดูจะมีอิทธิพลต่อเทรนด์นี้ ผู้บริโภควัย 26-35 ปี ชาวจีน (ร้อยละ 55) ชาวอเมริกัน (ร้อยละ 43) และชาวอังกฤษ (ร้อยละ 24) กล่าวว่า สิ่งที่พวกเขาไม่ลืมทำก่อนลงมือกินอาหารจานโปรด คือ การถ่ายรูปอาหาร แล้วโพสต์ลงโซเชียลมีเดียอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง จากเทรนด์นี้ทางโอรีโอได้เปิดให้ผู้บริโภคโพสต์ว่าอยากจะสร้างสรรค์โอรีโอรสใดบ้าง แล้วลง #myoreocreation ผลสรุปว่ารส Cherry Cola มายืนหนึ่ง และได้ผลิตออกสู่ตลาดจริง

Leadership in Food Innovation Conference Series in THAIFEX – World of Food Asia 2019

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า เทรนด์ของอุตสาหกรรมอาหารมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน เนื่องจากผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และเลือกอาหารที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความตื่นตัวในการผลิตสินค้าที่คำนึงถึงความต้องการในด้านดังกล่าวเพิ่มขึ้น ซึ่งในปีนี้ หอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และโคโลญเมสเซ่ ประเทศเยอรมนี ได้ร่วมกันจัดสัมมนาให้ความรู้ด้านนวัตกรรมอาหารและเทคโนโลยีที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารและบริการมีมูลค่าสูงขึ้น ภายในงาน “THAIFEX – World of Food ASIA 2019”

 

Inspiring the Food of Tomorrow

ทิศทางของผลิตภัณฑ์อาหารในวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร งานสัมมนาภายใต้แนวคิด Leadership in Food Innovation Conference Series เป็นคำตอบที่หลากหลายให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยแบ่งเป็น 5 ประเด็นหลักๆ ได้แก่

1. Fuelling Innovation and Growth in 2019
2. Accelerating Business in Food and Technology
3. Food Trends that Matter
4. Consumer Insights and Marketing Strategies
5. New Horizons of Improved Nutrition and Formulation

 

การขับเคลื่อนในเรื่องนวัตกรรมของประเทศไทย รัฐบาลให้ความสำคัญกับการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Model) ในทุกมิติ ทั้งภาคธุรกิจ เกษตร การศึกษา ไปสู่โมเดล Thailand 4.0 เพื่อมุ่งเน้นการแก้ปัญหาให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่จากระบบเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตโดยใช้แรงงาน เครื่องจักร และทรัพยากร มาผลิตบนฐานความรู้และเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม ต่อยอดเศรษฐกิจไทยไปสู่เศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า และขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

ทิศทางของอุตสาหกรรมอาหารก็ได้รับอิทธิพลมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ด้วย องค์การสหประชาชาติได้ประเมินว่า ปี พ.ศ.2544-2643 จะเป็นศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ สำหรับประเทศไทยเอง ทางสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ระบุว่า ไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 โดยมีประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ 10.4 ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าเราจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในช่วงปี พ.ศ.2567-2568 นับเป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมอาหารไม่น้อย

ติดตามอัปเดตเทรนด์ที่น่าสนใจของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในงานปีหน้าซึ่งยิ่งใหญ่กว่าเดิม กับการผนึกกำลังเป็น THAIFEX-Anuga Asia 2020 ในวันที่ 26-30 พฤษภาคม 2563 ณ เมืองทองธานี