กรรมการผู้จัดการใหญ่เบทาโกรรับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

เชียงใหม่, 18 กุมภาพันธ์ 2561 –

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการนี้ นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร เข้ารับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการ) คณะบริหารธุรกิจ ณ อาคารศูนย์กีฬากาญจนาภิเษก รัชกาลที่ ๙ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้

“Pook Coconut Chips” wins the 2018 FRUIT LOGISTICA Innovation Award

Berlin, 9 February 2018 – This year’s FRUIT LOGISTICA Innovation Award (FLIA) goes to “Pook Coconut Chips” from PookSpaFoods in Germany. That is what the trade visitors, who voted over a two-day period at FRUIT LOGISTICA 2018, decided. Three new products made it to the podium in Berlin this afternoon.

Pook Coconut Chips, the crispy crisps, made from Thai coconut without any oil or fat, are available in Original Sea Salt, Mango Sea Salt and Chocolate Sea Salt flavours. They are vegan, gluten-free and free from preservatives. The manufacturer recommends them as a snack or as a topping for salads, cereal, yogurt, ice cream, and much more.

“We are a small company which set up only recently in September 2016. This award is a big surprise and especially important for us“, said the company’s founder and managing director Kanokporn Holtsch.

Silver went to the dark brown tomato “Adora” from HM Clause from Spain. This tomato is a variant of the variety Marmande, a particularly robust old ribbed beef tomato variety that ripens very early. What sets the new Adora apart is its balanced, intensely sweet and sour taste, excellent shelf-life, firmness and good nutritional values.

The bronze FLIA went to the grass paper from the German paper mill Scheufelen. This organic packaging material consists of up to 50 percent fresh grass fibre and is completely recyclable and biodegradable. The use of grass fibres, a renewable raw material, should help reduce energy and water consumption. Conventional pulp fibres require 30,000 litres of water and 6,000 kW/h of energy per tonne – compared to zero litres and 150 kW/h for grass fibres.

FRUIT LOGISTICA is the leading trade fair for the global fruit trade and has been held annually since 1993. In 2018, over 3,100 exhibitors from more than 80 countries and more than 75,000 buyers and trade visitors from 130 countries attended. The FRUIT LOGISTICA Innovation Award (FLIA) was presented for the thirteenth time in 2018. It is the most important award in the industry.

www.fruitlogistica.com

DITP จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการครบวงจร Start Up complex เชียงใหม่ พร้อมยกระดับสินค้ามาตรฐานออร์แกนิคสู่ตลาดไฮเอนด์

ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการครบวงจร Start Up complex ณ จังหวัดเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนแนวคิดการดำเนินธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการ Start Up เน้นการให้บริการเชิงสร้างสรรค์ (Creative Service) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่ ให้มีจุดขายในการเป็น One-Stop Integrated Exhibition and Business Destination ที่สามารถรวบรวมสินค้าจากผู้ประกอบการในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ผู้ประกอบการส่งออก 17 จังหวัดภาคเหนือและผู้ประกอบการจากประเทศอาเซียน มานำเสนอในที่เดียว ตลอดจนผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกทางการค้าและการตลาดให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ รวมทั้งนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ และเกิดการขับเคลื่อนผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ ผู้มาใช้บริการสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว ในการสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงทางการค้าระหว่างกัน ซึ่งจะก่อให้การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกทางการค้าและการตลาดอย่างเป็นรูปธรรมตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

โดยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้กำหนดจัดกิจกรรมพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาค ภายใต้โครงการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการครบวงจร Start Up complex ดังกล่าว เพื่อยกระดับสินค้ามาตรฐานออร์แกนิคภาคเหนือ โดยการต่อยอด สินค้าเกษตรอินทรีย์ สู่ตลาดไฮเอนด์ เพื่อเป็นการจุดประกายแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ ได้พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และแบบบรรจุภัณฑ์ของตนเอง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรอินทรีย์จากภาคเหนือ และยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าออร์แกนิคของประเทศไทย หลังจากผ่านความสำเร็จอย่างดีไปเมื่อปลายปีที่แล้ว กับโครงการ Organic Lanna : From Organic Farms to Organic Foods โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานพันธมิตร ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ โครงการเกษตรเพื่ออาหารสุขภาพดีวิถีล้านนา โครงการที่คัดเลือกผู้ประกอบการสินค้าเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือที่ได้รับมาตรฐานเพื่อรับการพัฒนาแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

โดยในครั้งนี้โครงการได้เริ่มดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการโดยจัดกิจกรรมมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการสัมมนา สินค้าเกษตรอินทรีย์ สู่ตลาดไฮเอนด์ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด – ECOTOPIA ห้างสรรพสินค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ โดยคุณชัยโรจน์ ศรีเดชะรินทร์กุล Managing Director International Brand Retail พร้อมด้วยคุณณฐมน ตัณฑ์เกยูร Assistant Vice President และคุณอำพร ภูธรรม Department Manager ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง แนวทางการเตรียมตัวของผู้ประกอบการเพื่อนำสินค้าเกษตรอินทรีย์ออกสู่ตลาดระดับประเทศและนานาชาติโดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการสินค้าเกษตรอินทรีย์กว่า 20 แบรนด์ มารับฟังข้อคิดเห็น การแนะแนวทาง และร่วมแลกเปลี่ยนทรรศนะในการนำสินค้าจากท้องถิ่นก้าวเข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรดและตลาดโลกไปพร้อมกับการเจรจาธุรกิจเพื่อสร้างความเชื่อมโยงทางธุรกิจโดยตรงระหว่างผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ผลิตและบริษัทธุรกิจค้าปลีกผู้นำด้านกิจการศูนย์การค้าชั้นนำใจกลางกรุงเทพมหานคร และได้รับการยอมรับในตลาดระดับนานาชาติ

ครั้งที่ 2 เป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนารูปแบบการนำเสนอบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด โดยวิทยากร คุณพัทธมน นิศาบดี Creative Director จาก PASSA มาเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรและกิจกรรม เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการในการเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรอินทรีย์ในเชิงสร้างสรรค์ต่อไปในตลาดโลก

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจะมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องในอนาคตโดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้เข้าใจวิธีการทำการค้าขายยุคใหม่ในด้านดิจิทัล ด้านบริหารจัดการธุรกิจสู่สากล และความรู้เฉพาะทางด้านการตลาดระหว่างประเทศต่างๆ โดยสามารถติดตามข่าวสารได้ที่ ศูนย์กลางการเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและอาเซียน (ASEAN DESIGN & BUSINESS CENTER) สำนักพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ สาขาถนนสิงหราช โทร. 053 112 668 หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

 

ขอเชิญธุรกิจอุตสาหกรรมสมัครเข้ารับรางวัล “อุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี 2561 ประเภทการเพิ่มผลผลิต”

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ขอเชิญผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมสมัครเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเพื่อรับรางวัล “อุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี 2561 ประเภทการเพิ่มผลผลิต” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกำลังใจและประกาศเกียรติคุณผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความคิดริเริ่มและมีความวิริยอุตสาหะในการสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับผู้ประกอบการ ซึ่งผู้สมัครจะต้องได้รับการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ 6 หมวด ได้แก่ ความเป็นผู้นำ การวางแผนการเพิ่มผลผลิต การตอบสนองต่อความพึงพอใจของลูกค้า การบริหารทรัพยากรบุคคล การจัดการกระบวนการ และผลลัพธ์ทางธุรกิจ  ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดใบสมัครและหลักฐานในการยื่นเอกสารประกอบในการสมัครแต่ละประเภทรางวัลได้ที่ www.industry.go.th/industry_award โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึง 16 มีนาคม 2561

 

Interroll Thailand ขยายสู่โรงงานแห่งใหม่ทีใหญ่และทันสมัยกว่า

แซนต์ แอนโตนิโอ, สวิตเซอร์แลนด์, 8 มกราคม 2561 – เนื่องด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นของระบบขนถ่ายและลำเลียงวัสดุจากกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้อินเตอร์โรลต้องเพิ่มกิจกรรมธุรกิจในประเทศไทยในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ ล่าสุดอินเตอร์โรลได้ประกาศเพิ่มพื้นที่การผลิตและพื้นที่สำนักงานในประเทศไทยซึ่งมีโครงการขยายให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 15 เดือนนับจากนี้ โดยจะย้ายจากโรงงานในปัจจุบันที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เฟส 8 ไปยังสถานที่ใหม่ในเฟส 10 ซึ่งการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่จะเริ่มขึ้นในไตรมาสแรกของปี พศ.2561 และจะแล้วเสร็จในต้นไตรมาสที่สองของปี พศ.2562

“โรงงานแห่งใหม่นี้จะเป็นโรงงานที่ทันสมัย เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีระดับสูง และมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น การขยับขยายครั้งนี้จะทำให้เราสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อย่างมากด้วยการนำระบบการผลิต One Piece Flow มาใช้” คุณไกรสร นาคะพงศ์ กรรมการผู้จัดการของ อินเตอร์โรล (ประเทศไทย) กล่าวพร้อมเสริมว่า “ตลาดที่เติบโตขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเมียนมา ได้แสดงให้เห็นถึงความต้องการอย่างชัดเจนในผลิตภัณฑ์ของเรา สำหรับลูกค้าและผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา การขยับขยายโรงงานครั้งนี้หมายถึง การให้บริการที่ดียิ่งขึ้นและการส่งมอบสินค้าที่รวดเร็วขึ้น สำหรับพนักงานของเราทั้งในปัจจุบันและในอนาคต มันคือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น”

ทั้งนี้ โรงงานแห่งใหม่จะประกอบไปด้วยพื้นที่การผลิตประมาณ 4,800 ตารางเมตร และพื้นที่สำหรับสำนักงานอีกราว 700 ตารางเมตร

 

www.interroll.co.th

 

อย.จับมือ ดูปองค์ เปิดตัวคลิปออนไลน์ครั้งแรกหวังส่งเสริม SMEs ไทยใช้วัตถุเจือปนอาหารอย่างถูกต้อง

กรุงเทพฯ, 10 มกราคม 2561 – สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข นำโดย ดร.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร ร่วมกับ Yongjing Li, Ph.D., Regional President, Asia Pacifc, DuPont Nutrition & Health จัดทำและเผยแพร่คลิปออนไลน์ หวังให้ SMEs ไทยใส่ใจการใช้วัตถุเจือปนอาหารอย่างเหมาะสม

ดร.ทิพย์วรรณ เปิดเผยถึงสถานการณ์การใช้วัตถุเจือปนอาหารในประเทศว่า “อย. ได้มีแผนการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพของอาหาร ในส่วนของวัตถุกันเสียที่ใช้ในอาหาร พบว่าในปี 2556 และ 2557 จำนวนทั้งสิ้น 900 และ 825 ตัวอย่าง พบข้อบกพร่องเรื่องวัตถุกันเสียจำนวน 90 และ 88 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 10 และ 11 ตามลำดับ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการทางกฎหมายพร้อมทั้งแนะนำผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องแล้ว ทั้งนี้ อย. ได้อนุญาตให้มีการใช้วัตถุกันเสียในอาหารบางชนิด เพื่อป้องกันความเสื่อมเสียของอาหารเนื่องจากการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยีสต์ และรา โดยผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้วัตถุกันเสียตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม นอกจากนี้ อาหารทั่วไปจะต้องมีการแสดงฉลากตามประกาศ

กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ”

“เนื่องจากความปลอดภัยของอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อผู้บริโภค บริษัท ดูปองท์ จำกัด นำโดยแผนกอาหารและสุขภาพเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับ อย. ผลิตสื่อความรู้เกี่ยวกับการใช้วัตถุเจือปนอาหารอย่างปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขยาดย่อม โดยหวังว่าสื่อคลิปออนไลน์ดังกล่าวนี้จะช่วยสร้างความตระหนักในความปลอดภัยของอาหารอันจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอาหารต่อไปในอนาคต” คุณสิทธิเดช ศรีประเทศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดูปองท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

คลิปดังกล่าวได้รวบรวมประเด็นด้านความปลอดภัยที่ผู้ประกอบการควรทราบซึ่งเปิดตัวด้วยเรื่อง “การใช้วัตถุกันเสีย” และ “การแสดงฉลากของอาหาร” โดยมีแผนการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ โทรทัศน์ และสื่อนิตยสารอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนการขยายความร่วมมือไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เพื่อหวังให้เกิดความตระหนักรู้และส่งเสริมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่ปลอดภัยทั่วทั้งภูมิภาค

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าชมคลิปทั้งสองเรื่องได้แล้วที่ YouTube โดยใส่คำค้นหาว่า “Food additive using for THAI SME”

www.fda.moph.go.th, www.dupont.co.th, www.danisco.com

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จับมือสถาบันอาหาร ติวเข้ม SMEs เพิ่มผลิตภาพ – ยกระดับมาตรฐานอาหารแปรรูป

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม จัดอบรมเอสเอ็มอีอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป หวังเพิ่มผลิตภาพให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีความพร้อมขอยื่นรับรองมาตรฐานด้านอาหารได้ในระดับสากล

 

นางอารยา ดำรงศักดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการจัดการธุรกิจ กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิด “กิจกรรมการพัฒนาเอสเอ็มอีเพื่อเพิ่มผลิตภาพหรือเตรียมความพร้อมการขอการรับรองมาตรฐานสากล” ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ร่วมกับสถาบันอาหารจัดขึ้น ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ปีงบประมาณ 2561 ในช่วงเช้ามีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “บทบาทของ อย. กับมาตรฐานเชิงพาณิชย์ผลิตภัณฑ์อาหารแห่งอนาคต” โดยนางสาวจิรารัตน์  เทศะศิลป์ นักวิชาการอาหารและยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกำหนดมาตรฐานสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และชี้แจงข้อมูลรายละเอียดโครงการโดยผู้เกี่ยวข้อง มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสาขาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ทั้งในภาคการผลิต การบริการ และการค้าของไทย เข้ารับการอบรมจำนวน 92 คน โดยมี ดร.วิเชียร ฤกษ์พัฒนกิจ ที่ปรึกษาสถาบันอาหาร และคณะให้การต้อนรับ ณ ศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย ถนนอรุณอมรินทร์

 

นางอารยา ดำรงศักดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการจัดการธุรกิจ กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและสถาบันอาหาร ได้จัดทำกิจกรรมดังกล่าวขึ้น เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาเอสเอ็มอีในสาขาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ให้มีผลิตภาพเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ขณะเดียวกันก็เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของสถานประกอบการในการขอรับรองมาตรฐานสากลทางด้านอาหาร โดยอาศัยกระบวนการให้คำปรึกษาเชิงลึก จากทีมที่ปรึกษาที่มีความรู้และประสบการณ์เฉพาะทางจากสถาบันอาหาร  มีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิต การบรรจุภัณฑ์ และการตลาด

 

กิจกรรมดังกล่าวหวังสร้างเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการให้มีผลิตภาพเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถขอรับรองมาตรฐานสากลทางด้านอาหาร อาทิ ลดของเสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 3  ลดต้นทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 6  เพิ่มมูลค่ายอดขายไม่น้อยกว่าร้อยละ 9 และเตรียมความพร้อมให้เอสเอ็มอีในการยื่นขอการรับรองมาตรฐานสากลทางด้านอาหาร ได้แก่ GMP, HACCP, IFS, ISO 22000 หรือ FSSC 22000 เป็นต้น

 

www.nfi.or.th

หยั่น หว่อ หยุ่น รับมอบใบรับรองผ่านมาตรฐานนานาชาติจาก BSI

สถาบันมาตรฐานอังกฤษ BSI มอบใบรับรองระบบมาตรฐาน ISO 14001:2015, OHSAS 18001:2007 และ ISO 50001:2011 ให้แก่ บริษัท หยั่น หว่อ หยุ่น จำกัด ผู้ผลิตซอสถั่วเหลืองที่มีคุณภาพและได้รับการยอมรับไปทั่วโลกรายแรกของไทย ภายใต้แบรนด์ “เด็กสมบูรณ์” โดยทั้งสองโรงงานผลิตที่ผ่านการรับรองในครั้งนี้คือโรงงานสมุทรสาคร และโรงงานระยอง

มาตรฐานสากลสำหรับระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐานสากลสำหรับสถานประกอบการนี้จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรเกิดการจัดการพลังงานอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร และเพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก

www.bsigroup.com/en-th

นักลงทุนไทยเล็ง “เขตเศรษฐกิจพิเศษจูไห่”

13 ธันวาคม 2560

“พาณิชย์” แนะนักลงทุนไทย ศึกษาลู่ทางทำการค้าและลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจูไห่ เพื่อเป็นฐานส่งออกสินค้าเจาะตลาดฮ่องกง มาเก๊า และจีน หลังสะพานเชื่อม 3 เมืองกำลังจะเปิดให้บริการ คาดจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการขนส่งสินค้า และทำให้การกระจายสินค้าทำได้ง่ายขึ้น

นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ศึกษาโอกาสในการเข้าไปทำการค้าและลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจูไห่ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียง โดยพบว่ามีโอกาสในการเข้าไปทำการค้าและลงทุนสูง และอยากจะแนะนำให้นักลงทุนไทยศึกษาโอกาสและลู่ทางในการเข้าไป เพราะขณะนี้นักลงทุนต่างชาติจากประเทศต่างๆ ได้เริ่มมองและให้ความสำคัญกับเมืองนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากมองเห็นโอกาส ซึ่งไทยก็ควรที่จะศึกษาและเข้าไป โดยกระทรวงพาณิชย์พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ประกอบการและนักลงทุนของไทยที่สนใจ

สาเหตุที่จูไห่เป็นเมืองที่มีอนาคตในด้านการค้าและการลงทุน เนื่องจากขณะนี้จะมีการเปิดสะพานเชื่อม 3 เมืองสำคัญ คือ ฮ่องกง มาเก๊า และจูไห่ ทำให้ระบบการเดินทางและการขนส่งสินค้าทำได้ดีขึ้น เพราะจากเดิมจะเป็นการขนส่งผ่านท่าเรือขนส่งขนาดใหญ่ ไม่มีระบบขนส่งทางรถยนต์ แต่เมื่อมีการเชื่อมสะพาน จะทำให้การขนส่งทางรถยนต์ขยายตัวขึ้น และกระจายสินค้าไปยัง 3 เมืองได้ดีขึ้น รวมถึงกระจายเข้าสู่ตลาดจีน

“อนาคต เมืองจูไห่ จะเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจเทียบเท่าได้กับเมืองกวางโจวและเมืองเซินเจิ้น หากไทยเข้าไปทำการค้าและการลงทุนก่อน ก็จะตักตวงผลประโยชน์ได้ก่อน โดยผู้ที่สนใจเข้าไป สามารถเข้ามาปรึกษาได้กับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ที่พร้อมจะสนับสนุนผู้ประกอบการในการออกไปค้าขายและออกไปลงทุนในต่างประเทศ” นางจันทิรากล่าว

สำหรับสะพานเชื่อม 3 เมือง ฮ่องกง มาเก๊า จูไห่ เริ่มเปิดให้บริการเมื่อเดือน พ.ย. 2560 โดยสะพานมีความยาวทั้งหมด 55 กิโลเมตรและถูกแบ่งออกเป็น 4 ช่วง โดยช่วงที่ 1 เป็นสะพานจากจูไห่ไปถึงสามแยกไปมาเก๊าหรือฮ่องกง ช่วงที่ 2 เป็นสะพานจากมาเก๊าไปถึงสามแยกไปจูไห่หรือฮ่องกง ช่วงที่ 3 เป็นสะพานที่แยกช่องทางการเดินทางไปฮ่องกง มาเก๊า จูไห่ และช่วงที่ 4 เป็นสะพานจากฮ่องกงไปถึงสามแยกไปจูไห่หรือมาเก๊า ซึ่งจากการทดลองเดินทางสรุปได้ว่าจากจูไห่เดินทางไปถึงฮ่องกงใช้เวลาแค่ 30 นาทีเท่านั้น

www.ditp.go.th

นวัตกรรมด้านคมนาคมก้าวไกลเพื่อวิถีชีวิตและเศรษฐกิจ 4.0

กรุงเทพฯ –

สำนักงานวิจัยทางเรือของโลกแห่งสหรัฐเยี่ยมชมและมอบทุนวิจัยทางเรือแก่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. โดย รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.ต้อนรับ ดร.ซิมิน เฟง ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ สำนักงานวิจัยทางเรือของโลกแห่งสหรัฐอเมริกา (The U.S. Office of Naval Research Global) หรือ ONR กองทัพเรือแห่งสหรัฐอเมริกาในโอกาสเดินทางมาเยี่ยมชมคณะวิศวกรรมศาสตร์ และหารือแนวทางความร่วมมือ พร้อมมอบทุนวิจัยแก่ ศาสตราจารย์ ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. พร้อมด้วย รศ.ดร.ชูวงค์ พงศ์เจริญพาณิชย์ รองคณบดี ดร.รัชนี กุลยานนท์ ผู้ช่วยคณบดี และ รศ.ดร.ยุทธพงษ์ รังสรรค์เสรี หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม

รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า องค์กร ONR หรือสำนักงานวิจัยทางเรือของโลกแห่งสหรัฐ ก่อตั้งในปี 1946 ดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการเดินเรือในอนาคต มีผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยีและวิศวกรเพื่อดำเนินงานใน 5 ทวีปทั่วโลกและประสานความร่วมมือกับนานาประเทศ นับเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยและองค์กร ONR ได้ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิดเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

www.engineer.kmitl.ac.th