Global Frozen Fruits and Vegetables Market

ตลาดผักและผลไม้แช่แข็งทั่วโลก

 

กองบรรณาธิการ

Editorial Team

Food Focus Thailand Magazine

editor@foodfocusthailand.com

 Full article TH-EN 

 

ข้อมูลจาก PR Newswire ระบุว่าตลาดผักและผลไม้แช่แข็งทั่วโลกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น อันเป็นผลมาจากรูปแบบการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนความต้องการวัตถุดิบหรือส่วนผสม รวมทั้งกลิ่นรสใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้น ความต้องการผลิตภัณฑ์ในรูปแบบพร้อมรับประทานและเอื้อต่อความสะดวกสบายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นนี้มีส่วนขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดผักและผลไม้แช่แข็ง โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดผักและผลไม้แช่แข็งทั่วโลกมีความต้องการเพิ่มขึ้น และคาดว่าภายในปี 2570 จะแตะยอดถึง 751 ล้านตัน โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ร้อยละ 5.34 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2559-2570

 

ทางด้านข้อมูลการศึกษาตลาดผลไม้แช่แข็งจาก Persistence Market Research ระบุว่าผลไม้เมืองร้อนมาแรง ขยายตัวด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีสูงสุดตั้งแต่ปี 2559-2565

 

เบอร์รีและผลไม้สีแดง…ยังคงแรงฤทธิ์ฉุดไม่อยู่

กลุ่มของเบอร์รีและผลไม้สีแดงคาดว่าจะมีมูลค่าส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 53 ในปี 2565 โดยมีก็อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมร้อยละ 4.8 ต่อปี ในปี 2558 กลุ่มเบอร์รีและผลไม้สีแดงมีมูลค่าสูงกว่า 965 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นกว่า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2565 ในด้านเชิงปริมาณพบว่าในปี 2558 เบอร์รีและผลไม้สีแดงมีปริมาณผลผลิตเกือบ 849,000 ตัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกมากกว่า 1,000 ตันภายในปี 2565 การเติบโตในเชิงปริมาณของเบอร์รีและผลไม้สีแดงจะอยู่ที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมร้อยละ 3.7 ต่อปีในระหว่างช่วงปี 2559-2565

 

กล้วยและแตงโมโชว์ศักยภาพคลื่นลูกใหม่ เติบโตสูงสุดในเชิงมูลค่าในช่วงปี 25592565

คาดว่าตลาดกล้วยจะเติบโตในเชิงมูลค่าซึ่งน้อยกว่า 77 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 ไปเป็นเกือบ 107 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ร้อยละ 5.6 ต่อปีอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนแตงโมคาดว่ามีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีใกล้เคียงกันที่ร้อยละ 5.6 โดยในปี 2559 นั้นมีมูลค่าตลาดน้อยกว่า 61 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะก้าวกระโดดไปเป็นมากกว่า 84 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 ส่วนสตรอว์เบอร์รีมีมูลค่าตลาดสูงอยู่แล้ว โดยอยู่ที่มากกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559

 

สตรอว์เบอร์รีครองแชมป์ในเชิงปริมาณ

สตรอว์เบอร์รีมีการเติบโตในเชิงปริมาณสูงสุด อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ร้อยละ 3.9 ต่อปี โดยในปี 2559 มีผลผลิตน้อยกว่า 351,000 ตันเล็กน้อย และคาดว่าจะขยับขึ้นเป็นมากกว่า 441,000 ตันภายในสิ้นปี 2565

 

เบอร์รีและผลไม้สีแดง แผลงฤทธิ์การเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีสูงสุดของตลาดผลไม้แช่แข็งในเอเชียแปซิฟิก

คาดว่ามูลค่าตลาดของเบอร์รีและผลไม้สีแดงแช่แข็งในเอเชียแปซิฟิกจะใกล้เคียง 95 ล้านเหรียญสหรัฐภายในสิ้นปี 2565 โดยขยับขึ้นจากน้อยกว่า 65 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 สำหรับในตลาดอเมริกาเหนือ เบอร์รีและผลไม้สีแดงแช่แข็งมีมูลค่ามากกว่า 376 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 และคาดว่าจะก้าวกระโดดมาเป็นมากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐภายในสิ้นปี 2565 โดยมีมูลค่าการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 5.3

 

 

Globally, referred to the data from PR Newswire, the market for frozen fruits and vegetables has been increasing due to changing consumption patterns and growing demand for new ingredients and flavors. Improved consumer’s preference towards convenience foods is driving the market for frozen fruits and vegetables. Hence, the global market for frozen fruits and vegetables has witnessed continued demand during the last few years and is projected to reach 751 million tons by 2027, at a CAGR of 5.34% from 2016 to 2027.

 

For global market study on frozen fruits from Persistence Market Research, tropical fruits segment anticipated to expand at the highest CAGR during 2016-2022.

 

Red Fruits & Berries to Remain King throughout the Forecast Period

The red fruits & berries segment by fruit type is expected to reach around 53% market value share in 2022. Even though red fruits & berries is already the largest segment, it should still record a substantial CAGR of 4.8% in terms of value during the period of assessment. At the end of the year 2015, the red fruits & berries segment was valued at just over USD 965 Mn and this is predicted to rise to above USD 1.3 Bn by the end of the forecast period. In terms of volume, the red fruits & berries segment was pegged at almost 849 thousand tons in the year 2015, and this is widely anticipated to grow to above 1000 tons by the end of the year 2022. The CAGR for the red fruits & berries segment in terms of volume is 3.7% over the forecast period.

 

Banana and Watermelon Show the Greatest CAGR Potential in Value Terms

For the period 2016-2022, the Banana sub segment is expected to grow from a market value of under USD 77 Mn in the year 2016 to almost USD 107 Mn in the year 2022 with a significant CAGR of 5.6%. The Watermelon sub segment is also anticipated to record a similar CAGR of 5.6% that will allow it to jump from a market value of slightly under USD 61 Mn in 2016 to over USD 84 Mn at the end of the forecast period. It seems quite unlikely though that either the Banana or the Watermelon sub segments will be able to surpass the Strawberry sub segment in value terms as the latter was already worth more than USD 400 Mn in the year 2016 itself.

 

Strawberry is the Most Lucrative sub Segment in Terms of Volume

With respect to consumption, the Strawberry sub segment is anticipated to record the highest CAGR of 3.9% in terms of volume. From a volume of slightly under 351,000 tons in 2016, the Strawberry sub segment is predicted to rise to above 441,000 tons by the end of the year 2022.

 

Red Fruits & Berries Segment to Register the Highest CAGR in the Asia Pacific Frozen Fruits Market

The red fruits & berries segment will reach a market value of nearly USD 95 Mn in the Asia Pacific frozen fruits market by the end of the year 2022 from just under USD 65 Mn in 2016. The red fruits & berries segment in the North America frozen fruits market was already worth a little more than USD 376 Mn in 2016, and should jump to more than half a billion dollars by the end of the forecast period, with a value CAGR of 5.3%.

Do Export Business in Myanmar…What Need To Know

 

เดินหน้าส่งออกตลาดเมียนมา สิ่งสำคัญที่ต้องทราบก่อนลงทุน

 

กองบรรณาธิการ

Editorial Team

Food Focus Thailand Magazine

editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN  

 

จะเห็นได้ว่าเมียนมามีศักยภาพด้านตลาดมาก โดยเฉพาะกับคนไทยและสินค้าไทย แต่ปัญหามีอยู่ว่า ผู้ประกอบการเข้าใจตลาดเมียนมาหรือไม่ เข้าใจเมียนมาด้านไหนบ้าง เหมือนกับว่าหากเราเข้าใจโจทย์ผิด คำตอบก็มีแนวโน้มผิดค่อนข้างสูง ดังนั้นวิธีการที่จะทำธุรกิจในเมียนมา สิ่งแรกที่ควรทำ คือ การปรับหรือการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับตลาดเมียนมาก่อน เมื่อเข้าใจตลาดเมียนมาแล้ว สิ่งที่เป็นคำถามตามมา คือ ตัวเราสนใจทำธุรกิจแบบไหนในตลาดเมียนมา เนื่องจากโครงสร้างของตลาดเมียนมาจะมีความคล้ายกับประเทศไทยย้อนกลับไปประมาณ 40-50 ปี ซึ่งช่วงดังกล่าว ประเทศไทยอยู่ในยุคของการนิยมสินค้าจากต่างชาติ ระบบการผลิตสินค้าไทยยังไม่ได้มาตรฐาน สำหรับเมียนมาในขณะนี้ก็มีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกัน คือ ต้องการซื้อสินค้าที่มาจากต่างประเทศเท่านั้น เพราะเชื่อว่าสินค้ามีมาตรฐานที่ดีกว่า มีคุณภาพดีกว่า ทั้งนี้ ความต้องการดังกล่าวของเมียนมา ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่สินค้าปัจจัย 4 ซึ่งเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพอยู่แล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าสินค้าที่เรามีนั้นสามารถแข่งขันกับคนอื่นๆ ได้หรือไม่ เพราะอย่าลืมว่า สภาพของประเทศเมียนมา กำลังการซื้อของประชาชนส่วนใหญ่ ก็ยังหนีไม่พ้นในเรื่องความต้องการสินค้าราคาถูก ดังนั้นสินค้าของไทยที่สามารถขายได้ในเมืองไทย ก็อาจจะมีราคาแพงในสายตาคนเมียนมา

 

การเริ่มทำธุรกิจในตลาดเมียนมา

ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มกันที่ซื้อมาขายไป คือ เมื่อเราทราบความต้องการของตลาดแล้ว ก็จะนำสินค้าตามความต้องการมาเสนอขาย จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด และก็ลดความเสี่ยงมากที่สุดในการเริ่มต้นทำธุรกิจ และจะเริ่มอย่างไร ตอบแบบง่ายๆ คือ ก็ไปหาคนที่ต้องการซื้อ ก็ต้องถามต่อว่าแล้วหาที่ไหน ซึ่งการหาคนซื้อ เป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง ซึ่งมีภารกิจหลัก คือ ทำอย่างไรให้สินค้าไทยสามารถขายในประเทศเมียนมาให้ได้มากที่สุดและยั่งยืนที่สุด ซึ่งในระบบของเราก็จะมีการติดต่อนักธุรกิจเมียนมาไว้อยู่แล้ว ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถให้เราแนะนำผู้ซื้อ หรือนักธุรกิจเมียนมาเพื่อการติดต่อเจรจาการค้าได้

 

 

Myanmar is proven to be a potential market, especially for Thai products, but the problem yet relies on how much does enterprise understand it and in which dimension. It is likely that the wrong answer will come up, if we start with the wrong question. Therefore, to conduct a business in Myanmar, the first thing you do is to adapt or create an accurate understanding about the market. The next question to follow is what kind of business we are interested in doing in Myanmar. The structure of the market is similar to Thailand roughly 40-50 years ago. And during that time, Thailand is keen to consume import products because the country’s manufacturing standard wasn’t yet in placed. The same trend is happening in Myanmar, too, and the demand for foreign products are defined as many believe that imported goods are in higher standard and of better quality. Nonetheless, such demand from Myanmar revolves around the four requisites, which Thailand has quite a potential. The problem remains whether Thai enterprises can compete with others. It is unforgettable that the consumption power Myanmar now is focusing on cheap prices. Hence, items sold easily in Thailand could be perceived as expensive goods in Myanmar.

 

Starting a Business in Myanmar

Most of the time, people often start with trading business and once we recognise the market demand, we can bring the products that answer to the requirement. This is possibly the best way and the least risking business practice for beginners. How do we start? Easily, we look for those who want to buy our products. From where? Finding buyers is among many services offered by Thailand’s Office of International Trade Promotion (OITP) based in Yangon. The main mission of the office is to do whatever it takes to maximize sales of Thai products in Myanmar both in terms of quality and sustainability. We have some Myanmar business-people in our contact system and Thai entrepreneurs can ask us to introduce buyers or Myanmar businesses for further negotiations.

Food Safety Culture: Creating Sustainability Based Food Safety Management System

Food Safety Culture เพื่อสร้างระบบการจัดการความปลอดภัยอาหารอย่างยั่งยืน

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดสาย ตรีวานิช

Assistant Professor Sudsai Trevanich, Ph.D.

Department of Food Science and Technology

Faculty of Agro-Industry, Kasetsart University

fagisstn@ku.ac.th

Full article TH-EN 

 

Food Safety Culture  ในโรงงานอาหาร หมายถึง การที่ทุกคน ไม่ว่าเจ้าของ ผู้จัดการ หรือพนักงาน คิดและปฏิบัติอะไรและอย่างไรต่องานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อประกันได้ว่าอาหารที่ผลิตมีความปลอดภัย และเกิดความภาคภูมิใจต่อตนเองในการเป็นส่วนร่วมของการผลิตอาหารปลอดภัยในทุกครั้ง ทั้งยังมีความตระหนักถึงคุณภาพอาหารที่ผลิตมีความปลอดภัยต่อการบริโภค การมี Food Safety Culture ที่เข้มแข็งย่อมส่งเสริมให้โรงงานอาหารบรรลุเป้าหมายทางความปลอดภัยอาหาร ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภค การสร้าง Food Safety Culture ให้เกิดขึ้น พนักงานทุกคนในโรงงานอาหารต้องมีส่วนร่วม เข้าใจถึงความสำคัญของการผลิตอาหารปลอดภัย และมีพันธะสัญญาในการปฏิบัติเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา

 

อย่างไรก็ตาม การทำให้พนักงานเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของความไม่ปลอดภัยอาหารจากการปฏิบัติหรือพฤติกรรมที่เคยชิน เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนไปสู่การปฏิบัติหรือพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อการผลิตอาหารปลอดภัย และพฤติกรรมดังกล่าวยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างยั่งยืนตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีการตรวจติดตามอยู่หรือไม่ก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานทุกคน โดยเฉพาะพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับสุขภาพและความปลอดภัย ไม่ใช่เรื่องง่ายที่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว มีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการปฏิบัติของพนักงาน เพื่อสร้าง Food Safety Culture ให้เกิดขึ้น ทำให้เข้มแข็งขึ้น และรักษาให้คงอยู่ตลอดเวลา อาทิเช่น เจ้าของหรือผู้บริหารสูงสุดของโรงงาน ผู้จัดการ และพนักงานทุกคน เป็นต้น

 

Food safety culture in a food factory means that whether the owner, manager, or employee thinks and how they respond to assigned task to ensure that food is safe for consumption, and pride of themselves on being involved in the production of food safety at all times. Moreover, they also have an awareness of food quality which is safe for consumption (Food Standards Australia New Zealand). To have strong food safety culture can encourage food factory to achieve the goal of food safety, while also effect on consumer confidence and their satisfaction. To create food safety culture, all employees in food factory must be involved, understand the importance of food safety production, as well as have a practice commitment to produce safe food at all times.

 

Nevertheless, to make employees aware of the importance of non-food safety from their practice or familiar behavior in order to encourage them to change their inappropriate practice or behavior to appropriate manner for safety food production and in sustainably way, whether there are monitoring measure or not. It is not easy to change employee’s behavior, in particularly behavior that related to health and safety. Many factors such as, owner or top executive, manager or supervisor and all employees are involved with the change of behavior and employee’s practice to create food safety culture, make it strong and be sustainable.

Blockchain … Level Up Consumer Confidence and Marketing Opportunities

 

กองบรรณาธิการ

Editorial Team

Food Focus Thailand Magazine

editor@foodfocusthailand.com

 Full article TH-EN 

 

 

Blockchain (บล็อกเชน) นับเป็นอัลกอริทึมประเภทหนึ่งสำหรับการสร้างฉันทามติ (Consensus) และเป็นหนึ่งในรูปแบบของ Distributed ledger ซึ่งบล็อกเชนจะบรรจุข้อมูลดิจิทัลที่ไม่สามารถทำการแก้ไขได้ โดย

ข้อมูลจะถูกนำมารวมกันในบล็อก (Block) แล้วแต่ละบล็อกก็จะร้อยเรียงต่อกันเป็นสายโซ่ (Chain)

 

บล็อกเชนได้ถูกพูดถึงกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร แต่ในต่างประเทศหลายประเทศเทคโนโลยีที่ให้ความปลอดภัยแก่ข้อมูลอย่างสูงสุดนี้นั้นได้ถูกนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม และแน่นอนว่าอุตสาหกรรมอาหารซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ก็มีการนำไปใช้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการนำมาใช้เพื่อเพิ่มความมั่นใจของผู้บริโภคในความปลอดภัยของอาหารตลอดห่วงโซ่ และอาจรวมไปถึงการใช้เพื่อการตลาดด้วย

 

บล็อกเชนคืออะไร

บล็อกเชนถือเป็น Distributed ledger technology ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนที่อยู่ในกระบวนการผลิตอาหารสามารถบันทึกธุรกรรมต่างๆ ไว้ให้อยู่ในคลังข้อมูลที่ไม่ผูกขาดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นศูนย์กลาง โดยข้อมูลเหล่านั้นจะถูกบันทึกไว้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แทนการจดลงทันทึกไว้ในที่เดียว ธุรกรรมต่างๆ จะต้องได้รับการอนุมัติผ่านฉันทามติและคุ้มครองผ่านการเข้ารหัส รวมทั้งไม่สามารถปกปิดเป็นความลับได้ภายในระบบบล็อกเชน ซึ่งป้องกันไม่ให้มีคนใดคนหนึ่งแก้ไขหรือดัดแปลงข้อมูล ผู้ที่อยู่ในระบบบล็อกเชนก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลในระบบการผลิตทั้งหมดได้ เช่น เมื่อชาวไร่ข้าวสาลีบันทึกการขายข้าวสาลี จนเมื่อวันหนึ่งข้าวนั้นถูกนำไปดัดแปลงเป็นซีเรียลผ่านโรงสี ร้านค้าที่ซีเรียลนั้นจัดจำหน่ายอยู่ก็จะทราบข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำ

 

Blockchain is perceived an algorithm to create consensus and a kind of distributed ledger. It contains digital data that cannot be edited in a block that chains up altogether.

 

Blockchain has been increasingly talked about in Thailand especially in financial sector, but in many countries, this ultimately safe data system has been applied to various industries already, not to mention a huge industry like the food industry. The technology has been used to ensure consumers about the safety of their food throughout the chain as well as to marketize the product.

 

What is Blockchain?

Blockchain is a distributed ledger technology that allows all members of a supply chain to record transactions in a decentralized data log maintained on a network of computers, rather than a physical ledger or a single database. Transactions must be approved through consensus, and everything is secured through cryptography. A transaction is immutable once added to the blockchain, which prevents participants from manipulating or altering the records. Participants also all gain access to data across the supply chain. For example, as soon as a wheat farmer records a transfer of wheat — that will one day become cereal — to the mill, the grocery store will know about it.

Authentic Japanese Soy Sauce Defined by JAS

ซอสถั่วเหลืองญี่ปุ่นแท้ตามมาตรฐาน JAS

 

หทัยภัทร ธีรศรัณย์

Hathaiphat Terasarun

Researcher

Yamamori R&D Center

hathaiphat@yamamoritrading.com

 

Full article TH-EN 

 JAS (Japanese Agricultural Standard) มาตรฐานการเกษตรของญี่ปุ่น จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) ประเทศญี่ปุ่น เป็นระบบการตรวจรับรองผลิตภัณฑ์โดยหน่วยงาน เช่น ผู้ผลิต ผู้ประกอบการหรือบุคคลที่สามที่ให้บริการตรวจประเมินและรับรองระบบตามข้อกำหนด เพื่ออนุญาตให้สินค้าที่ผ่านการรับรองสามารถใช้เครื่องหมายมาตรฐาน JAS ติดบนฉลากของผลิตภัณฑ์ได้

 

ซอสถั่วเหลืองญี่ปุ่น…หนึ่งในรายการสินค้ามาตรฐาน JAS

มาตรฐาน JAS ระบุว่าซอสถั่วเหลืองญี่ปุ่น หรือ “โชยุ” นั้นมีหลากหลายประเภท อาทิ “โคอิคุชิโชยุ” ซอสถั่วเหลืองแบบทั่วไป “อุซุคุจิโชยุ” ซอสถั่วเหลืองชนิดสีอ่อน “ทามาริโชยุ” ซอสถั่วเหลืองที่ใช้ข้าวสาลีเป็นวัตถุดิบในปริมาณต่ำหรือไม่ใช้เลย “ซาอิชิโคมิโชยุ” ซอสถั่วเหลืองที่ถูกนำกลับมาหมักซ้ำ “ชิโรโชยุ” ซอสถั่วเหลืองที่มีสีอ่อนกว่าอุซุคุจิโชยุ และ “คิอาเกะ” ซอสถั่วเหลืองดิบ โดยซอสถั่วเหลืองแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกันและยังใช้สำหรับอาหารที่แตกต่างกันด้วย

 

“คิอาเกะ” ซอสถั่วเหลืองดิบ

คือ โชยุที่ผลิตโดยไม่ผ่านกระบวนการให้ความร้อน ทำให้ซอสถั่วเหลืองมีรสชาติและกลิ่นน้อยกว่าปกติ รวมถึงยังส่งผลให้มีจุลินทรีย์ที่มีชีวิตและเอนไซม์ที่ทำงานได้คงเหลืออยู่อีกด้วย โชยุชนิดดังกล่าวจึงค่อนข้างมีความเป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจ เนื่องจากเอนไซม์ที่เหลืออยู่นั้นเป็นประโยชน์ในการปรุงอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ที่หมักด้วย “คิอาเกะ” ประมาณ 30 นาที สามารถลดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของเนื้อ และยังให้เนื้อสัมผัสที่นุ่มและชุ่มฉ่ำเมื่อเทียบกับการหมักด้วยซอสถั่วเหลืองประเภทอื่น

 

 

JAS (Japanese Agricultural Standard) was established by the Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries of Japan. The JAS system is the certification system to allow to attach the JAS marks to the products which are produced and inspected by the only certified business entities such as producers, manufacturers or the others certified by the Registered Certifying Bodies of third party organization.  

 

Japanese Soy Sauce: One of the Items Listed in JAS Products

In terms of Japanese soy sauce, in JAS, “Shoyu” means soy sauce in Japanese which is classified into various types: Koikuchi shoyu (Common soy sauce), Usukuchi shoyu (Light color soy sauce), Tamari shoyu, Saishikomi shoyu (Refermented soy sauce), Shiro shoyu (Extra light color soy sauce) and Kiage (Raw soy sauce). Each type of soy sauce has its unique character and is selected to use for specific cuisines.

 

Raw Soy Sauce (Kiage)

Kiage (Raw soy sauce), on the other hand, is literally produced without heating process, microbes still remain as same as active enzymes, which cause particular soy sauce aroma and taste are less than common. Kiage is quite unique and interesting if the remaining enzymes usefully work on food stuff for cooking, for example, 30-minute marinated meat by Kiage can reduce unexpected meat smell together with enhance tender and juicy texture compare to another type of soy sauce.

The Top 10 Frozen Food Trends

10 เทรนด์โดนๆ ของผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็ง

 

กองบรรณาธิการ

Editorial Team

Food Focus Thailand Magazine

editor@foodfocusthailand.com

Full article TH-EN 

 

ข้อมูลจาก Alliedmarketresearch คาดการณ์ว่า ภายในปี 2563 ตลาดอาหารแช่เยือกแข็งทั่วโลกจะมีมูลค่า 306 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.1 ต่อปีในช่วงปี 2558-2563 ผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งที่ได้รับความนิยม ได้แก่ อาหารพร้อมรับประทาน ผักและผลไม้ เนื้อสัตว์และสัตว์ปีก อาหารทะเล ซุป เป็นต้น เรามาดูกันว่า 10 เทรนด์โดนๆ ของผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งมีอะไรกันบ้าง

 

เทรนด์ที่ 1: ใส่ใจสุขภาพ

Nestle ได้ออกแคมเปญ ‘Kitchen Cupboard’ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการใช้ส่วนผสมและวัตถุเจือปนอาหารลง นอกจากนี้ยังมีการใช้สตาร์ชธรรมชาติทดแทนการใช้สตาร์ชดัดแปรอีกด้วย

 

เทรนด์ที่ 2: ส่งมอบสินค้าพรีเมียม

แคมเปญ ‘Power of Frozen’ ในประเทศไอซ์แลนด์ที่ได้สื่อสารข้อมูลไปสู่ผู้บริโภค และสร้างยอดขายได้ปังเลยทีเดียว

 

เทรนด์ที่ 3: สร้างสรรค์นวัตกรรมโซลูชันการจัดเก็บ

ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ส่วนใหญ่ได้ลงทุนไปกับระบบออโตเมชันและมีการนำเทคโนโลยีล่าสุดมาประยุกต์ใช้

 

เทรนด์ที่ 4: ปรับเปลี่ยนมุมมองต่ออาหารแช่เยือกแข็ง

มุมมองของผู้บริโภคที่มีต่ออาหารแช่เยือกแข็งได้เปลี่ยนไป หมดยุคกับความคิดที่ว่าต้องเลือกระหว่างการกินของที่มีคุณภาพดีกับการได้มาซึ่งความสะดวกสบายเสียแล้ว

 

เทรนด์ที่ 5: รับประทานผักและผลไม้วันละ 5 อย่าง   

ข้อมูลการศึกษาจาก Global Industry Analytics Inc. ระบุว่าตลาดผักและผลไม้แช่เยือกแข็งทั่วโลกจะแตะยอดถึง 28.2 ล้านตันภายในปี 2563

 

เทรนด์ที่ 6: เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

ท่ามกลางสังคมที่เร่งรีบ ผู้คนต่างมีเวลาในการเตรียมและปรุงอาหารเองน้อยลงทุกที ผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งจึงเข้ามาตอบโจทย์นี้

 

เทรนด์ที่ 7: มุ่งสู่ออนไลน์

ปัจจุบันเราซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น ทาง Tesco และ Bird’s Eye ก็ได้ตอบรับกระแสนี้โดยใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียเพื่อเพิ่มยอดขายในช่องทางออนไลน์

 

เทรนด์ที่ 8: ไม่ได้มาเล่นๆ

Kantar Worldpanel ได้รายงานว่า ในช่วงปีที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ขนมหวานแช่เยือกแข็งเติบโตขึ้นอย่างมาก โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 สร้างยอดขายโดยรวมถึง 300 ล้านปอนด์ ด้านยอดขายผลิตภัณฑ์ปลาแช่เยือกแข็งก็เติบโตขึ้นร้อยละ 1.5 คิดเป็นมูลค่า 760 ล้านปอนด์

 

เทรนด์ที่ 9: ตื่นตากับการลงทุน

ตอกย้ำด้วยผู้ผลิตแซนด์วิชรายใหญ่ของโลกอย่าง Greencore ที่ได้เข้าซื้อกิจการของ Peacock Foods ผู้ผลิตแซนด์วิชแช่เยือกแข็งในสหรัฐอเมริกาด้วยงบถึง 747.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 594.3 ล้านปอนด์

 

เทรนด์ที่ 10: ไม่มีสัญญาณของการชะลอตัว

การคาดการณ์จากบริษัทวิจัยตลาดรายใหญ่อย่าง Technavio ระบุว่าขนาดตลาดของอาหารแช่เยือกแข็งจะขยับเข้าใกล้ตัวเลข 290 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2562 นี้

 

 

Referred to Alliedmarketresearch, global frozen food market is expected to garner USD 306 billion by 2020, registering a CAGR of 4.1% during the forecast period 2015-2020. The most widely used frozen food products include frozen ready-to-eat meals, fruits & vegetables, meat & poultry, seafood, soups and similar array of products. Let’s see what the top 10 frozen food trends are.

 

TREND 1: A Focus on Health

Nestle whose ‘Kitchen Cupboard’ campaign aims to reduce ingredients and additives and to replace modified food starch with native starch; all whilst retaining the benefits of frozen food.

 

TREND 2: Premium Products

Campaigns such as Iceland’s ‘Power of Frozen’ have communicated this change and it has resulted in an increase in sales.

 

TREND 3: Innovative Storage Solutions

Most of logistics providers continue to invest heavily in automation and the latest technology.

 

TREND 4: Changing Perceptions towards Frozen Food

It is no longer guaranteed that there has to be a trade-off between eating well and convenience and this is supported by better quality frozen food products.

 

TREND 5: Part of your 5-a-day

According to a study by Global Industry Analytics Inc., the “frozen fruits and vegetables market is projected to reach 28.2 million tons by 2020”.

 

TREND 6: Lifestyle Changes

In an increasingly hectic society, people are finding it more difficult to find the time to prepare meals. Frozen food offers flexibility when cooking.

 

TREND 7: Going Online

The way we buy products is rapidly moving online and the frozen food market is no different. Tesco and Bird’s Eye have sought to capitalize on this trend by utilizing social media to drive ecommerce sales.

 

TREND 8: Frozen Food is Big Business

Consumer knowledge company Kantar Worldpanel reported that frozen confectionery has seen huge growth over the past year, with sales increasing by 7% helping total sales reach £ 300 million. Coupled with the rising sales of frozen fish products (a 1.5% rise to £ 760 million).

 

TREND 9: Investment

This is underlined by Greencore, the world’s largest sandwich manufacturer, confirming the purchase of US frozen sandwich makers Peacock Foods for USD 747.5 million (£ 594.3 million).

 

TREND 10: Showing No Signs of Slowing

Technavio, a leading market research company, predicts that the size of the frozen food market will near USD 290 billion by 2019.

Import and Export Regulations of the Federation of Malaysia

กฎระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกของประเทศมาเลเซีย

 

ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทย ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

AEC Business Support Center

Thai Trade Center at Kuala Lumpur, Malaysia

 Full article TH-EN  

ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าของมาเลเซีย

กรมศุลกากรและกรมสรรพสามิตของมาเลเซียเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการเก็บภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีศุลกากร (ภาษีนำเข้าและส่งออก) ภาษีสรรพสามิต ภาษีการขาย ภาษีบริการ ภาษีรถยนต์ รวมทั้งควบคุมการส่งสินค้าและสิ่งของที่เข้ามายังมาเลเซียหรือส่งออกจากมาเลเซีย

 

กรมศุลกากรและกรมสรรพสามิตจะร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตสำหรับการนำเข้าสินค้า ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก

 

สินค้านำเข้าที่ส่งมาถึงมาเลเซียทั้งภาคพื้นดินและด่านศุลกากรที่ท่าอากาศยานจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรโดยกรอบแบบฟอร์ม Customs No.1 ไม่ว่าสินค้านั้นจะเสียภาษีนำเข้าหรือไม่ โดยจะต้องแจ้งจำนวนและลักษณะของสินค้า และบรรจุหีบห่อ มูลค่า น้ำหนัก ปริมาณหรือหน่วยวัด แหล่งกำเนิดสินค้า จุดหมายปลายทางของสินค้า โดยจะต้องยื่นแบบฟอร์มดังกล่าวแก่ด่านศุลกากรที่สินค้านั้นถูกนำเข้ามา

 

กฎหมายด้านอาหาร

กฎหมาย Food Act 1983 และ Food Regulations 1985 ของมาเลเซียว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของอาหารและการควบคุมคุณภาพอาหาร รวมทั้งมาตรฐานอาหาร อนามัยอาหาร การนำเข้าและส่งออกอาหาร การโฆษณาอาหารและรับรองห้องปฏิบัติการ โดยมีหน่วยงาน Food Safety and Quality Division (FSQD) ของกระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบในการปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมาย เช่น การสุ่มตรวจสอบแหล่งที่ตั้งของอาหาร การออกใบอนุญาต การเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้ ส่วนประกอบและการติดฉลากจะกำหนดไว้สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีความเข้มงวดมากสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากเนื้อหมูและแอลกอฮอล์ ซึ่งจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษตามข้อกำหนดของมาเลเซียเรื่องการติดฉลาก

 

ขั้นตอนการยื่นขอตราฮาลาลของมาเลเซีย

สินค้าไทยที่ส่งออกมาวางจำหน่ายในตลาดมาเลเซียควรมีเครื่องหมายฮาลาลที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยซึ่งได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน JAKIM (Department of Islamic Development Malaysia) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองฮาลาลของมาเลเซียแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการต่างประเทศสามารถขอใบรับรองฮาลาลจาก JAKIM ได้ แต่จะยื่นสมัครได้เฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอางเท่านั้น

 

 

Malaysia’s Import Procedure

Malaysia’s Department of Customs and Department of Excise are organizations responsible for collecting indirect taxes such as custom tax (import and export tariffs), excise tax, sales tax, service tax, vehicle tax, as well as controlling import and export of goods and items to and from Malaysia.

 

The Customs Department and the Excise Department will cooperate with various agencies including those responsible for the authorization of import permits for alcoholic beverage, animal and animal products, healthy foods, meat and meat products, plants and plants products, poultry and poultry products.

 

As imported goods arriving in Malaysia, both by land and by air, must be declared in writing using Customs Form No.1, regardless of whether the goods are subjected to tax. The products’ number, characteristic, packages, value, weight, unit, source of origin, and destination must be declared in the form, which must be submitted to the custom checkpoint at a place where the goods are being brought into Malaysia.

 

Food Related Laws

Malaysia’s Food Act 1983 and Food Regulations 1985 on food safety and food quality control, food standard, food hygiene and sanitation, food import and export, food advertising, and laboratory accreditation, are enforced by the Food Safety and Quality Division (FSQD), the Ministry of Public Health. The FSQD will conduct several missions including random surveys on location and facilities, licensing, and food contamination monitoring. However, ingredients declaration and labeling are designated for some products and are very strict for products containing pork and alcohol. Special care is required when following Malaysia’s regulation on food labeling.

 

Application Process for Halal Certification in Malaysia

Thai products that are exported for sale in the Malaysian market should obtain Halal label certified by the Central Islamic Council of Thailand, which is recognized by JAKIM (Department of Islamic Development Malaysia). Nevertheless, foreign enterprises can apply for Halal certification directly from JAKIM, though only for food products and cosmetics.