เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น แต่งตั้งนักวิทยาศาสตร์ด้านโภชนาการชาวมาเลเซียคนแรก เป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการ

กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย, 26 กรกฎาคม 2561 – เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น บริษัทโภชนาการระดับโลก ประกาศแต่งตั้ง ดร.ฮามิด จัน บิน จัน โมฮาเหม็ด ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ เป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการ (NAB) คนแรกในมาเลเซีย โดย ดร.ฮามิด จัน บิน จัน โมฮาเหม็ด เป็นประธานโครงการโภชนาการและการกำหนดอาหารแห่งมหาวิทยาลัยซายน์มาเลเซีย และเป็นรองศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและโรคอ้วน
ดร.จอห์น อักวูโนบี ประธานร่วมและประธานเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพและโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น กล่าวว่า “เรายินดีให้การต้อนรับ ดร.ฮามิด สู่คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ ดร.ฮามิด คือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและการกำหนดอาหารที่เป็นที่รู้จักในวงการ จึงถือเป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่าสำหรับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ วิทยาศาสตร์ และสุขภาพของเรา เราตั้งตารอที่จะทำงานร่วมกับเขา เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนหันมาใส่ใจกับโภชนาการที่ดีและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงช่วยรับมือกับแนวโน้มสุขภาพที่กำลังเกิดขึ้น เช่น อัตราโรคอ้วนที่พุ่งสูง และจำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว”
ดร.ฮามิด จัน ได้รับรางวัลมาแล้วมากมายตลอดการทำงาน ซึ่งรวมถึงรางวัล Malaspina Scholar Travel Award จากสถาบันชีววิทยาศาสตร์นานาชาติสหรัฐอเมริกาในปี 2558 และยังเป็นสมาชิกของสมาคมโภชนาการแห่งมาเลเซียด้วย
คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากทั่วโลกทั้งในด้านโภชนาการ วิทยาศาสตร์ และสุขภาพ โดยมีหน้าที่ให้ความรู้และฝึกอบรมสมาชิกอิสระของเฮอร์บาไลฟ์ในเรื่องของการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีและกระฉับกระเฉง รวมถึงโภชนาการที่เหมาะสมอีกด้วย
การแต่งตั้ง ดร.ฮามิด จัน เป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทของบริษัทในการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมด้านโภชนาการที่ดีในเอเชียแปซิฟิก ผ่านการสร้างความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการระดับแนวหน้าในภูมิภาค

การประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ACID 2018

กรุงเทพฯ, 7 สิงหาคม 2561 – ACID 2018 THAILAND EXCELLENT COFFEE เผย 11 รายชื่อเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟไทยคุณภาพที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในโครงการประชุมการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟในอาเซียน ครั้งที่ 1

เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟไทยคุณภาพสนใจส่งเมล็ดกาแฟเข้าร่วมประกวดรายการการประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ACID 2018 คึกคักกว่า 70 ตัวอย่าง ล่าสุดคณะกรรมการตัดสินการประกวดฯ ประกาศ 11 รายชื่อเกษตรกรและกลุ่มเกษตรที่เข้ารอบ เพื่อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งจะมีการประกาศผลผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศในการจัดงานโครงการประชุมการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟในอาเซียน ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดเชียงใหม่

นายอนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะอำนวยการจัดประชุมการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟในอาเซียน ครั้งที่ 1 หรือ 1st ASEAN Coffee Industry Development Conference (ACID 2018) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ACID 2018 (ACID 2018 THAILAND EXCELLENT COFFEE) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพกาแฟไทยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำว่า กิจกรรมการประกวดฯ นับว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ เนื่องจากในเบื้องต้นทางคณะผู้จัดงานฯ ตั้งเป้าผู้ส่งผลผลิตเมล็ดกาแฟเข้าประกวดเพียง 40 ตัวอย่าง แต่ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจในการพัฒนาคุณภาพเมล็ดกาแฟของเกษตรกร ประกอบกับการประกวดรายการนี้เป็นรายการใหญ่ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในการพระราชทานถ้วยรางวัล ทำให้เกษตรกรเกิดการตื่นตัวในการส่งเมล็ดกาแฟเข้าร่วมประกวดจำนวนมากถึง 70 ตัวอย่าง

แม้การจัดการประกวดฯ ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรก แต่การคัดเลือกและการตัดสินถือว่ามีความเข้มข้นสูง โดยในการคัดเลือกรอบแรกคณะกรรมการได้ใช้เกณฑ์การให้คะแนนตามมาตรฐานของสมาคมกาแฟพิเศษสหรัฐอเมริกา (Specialty Coffee Association of America; SCAA) ในการคัดเลือกเมล็ดกาแฟ และประเมินคุณภาพกาแฟโดยใช้ประสาทสัมผัส (Cupping) ในส่วนของรสชาติ กลิ่น และความรู้สึกที่มีต่อกาแฟ จากนั้นในการคัดเลือกเมล็ดกาแฟที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ทางคณะกรรมการได้ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพกาแฟตามมาตรฐาน COE (Cup of Excellence) ของกลุ่มพันธมิตรเพื่อความเป็นเลิศทางกาแฟ (Alliance of Coffee Excellence; ACE) ซึ่งคณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อต้องการค้นหาสุดยอดเมล็ดกาแฟไทยที่มีความโดดเด่นและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติอย่างแท้จริง

ล่าสุดคณะกรรมการการประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ACID 2018 ได้มีการประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายที่มีคะแนนรวมสูงกว่า 82 คะแนน จำนวน 11 ราย ได้แก่
– กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจากโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนา
อมก๋อย บ้านขุนอมแฮดใน ตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ (Honey Process)
– กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจากโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนา
อมก๋อย บ้านขุนอมแฮดใน ตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ (Dry Process)
– นางสาวบงกชษศฏา ไชยพรหม ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ (Wet Process)
– นายบัญชา ยั่งยืนกุล บ้านขุนช่างเคี่ยน ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (Wet Process)
– นางสาวปนิดา คิดงาม ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (Wet Process)
– นายไพศาล โซ่เซ ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย (Wet Process)
– นางภัทรานิษฐ์ พรอิทธิกิจ บ้านผาฮี้ ตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (Wet Process)
– นายสิรวิชญ์ สิริโชควัฒนกุล บ้านแม่จันใต้ ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย (Wet Process)
– นายศิวกร โอ่โดเชา หมู่บ้านหนองเต่า ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ (Wet Process)
– ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย ตำบลดอยช้าง อำเภอวาวี จังหวัดเชียงราย (Dry Process)
– ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย ตำบลดอยช้าง อำเภอวาวี จังหวัดเชียงราย (Wet Process)
โดยการประกาศอันดับและผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศนั้นจะมีขึ้นในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 และมีพิธีรับมอบรางวัลถ้วยพระราชทานในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 ในการจัดงานโครงการประชุมการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟในอาเซียน ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดเชียงใหม่

ด้าน Mr.Shieh Chen Hsiao, International Jury Cup of Excellence, Taiwan ในฐานะประธานกรรมการการตัดสินการประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ACID 2018 และกรรมการการตัดสิน COE ระดับนานาชาติ กล่าวว่า กาแฟที่ผลิตได้จากประเทศไทยนับว่ามีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราพบว่ากาแฟไทยที่สามารถทำคะแนนได้เกิน 80 คะแนนมีปริมาณมากขึ้น จนถึงวันนี้มีกาแฟไทยจำนวนหนึ่งสามารถทำคะแนนได้สูงกว่า 85 คะแนน ทำให้ก้าวขึ้นสู่กาแฟที่เรียกได้ว่าเป็นกาแฟพิเศษ หรือ Cup of Excellence อย่างแท้จริง ถือเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมกาแฟของไทยในระดับสากล

ผลที่เกิดขึ้นจากการประกวดฯ ครั้งนี้ นอกจากจะแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ปลูกกาแฟของไทย ความสามารถในการปลูก การดูแลต้นกาแฟ ผลผลิตกาแฟ และกระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟของเกษตรกรไทยแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือและความมุ่งมั่นของผู้อยู่ในอุตสาหกรรมกาแฟและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องของไทย ซึ่งร่วมมือกันพัฒนาและผลักดันให้ประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตกาแฟชั้นนำของโลกอีกด้วย

SATO Provides Resort Hotel with RFID Wine Cellar Inventory Solution

Tokyo, 2 August 2018 – SATO, a leading global provider of Auto-ID solutions that empower workforces and streamline operations announced a new inventory management solution for Tokyo Baycourt Club Hotel & Spa Resort (hereafter, Tokyo Baycourt Club) using an RFID-enabled inventory management system. The system drastically optimized stocktaking operations of the hotel staff and boosted inventory management accuracy. This is the first system of its kind used by Japan’s hotel industry.

Tokyo Baycourt Club is a resort hotel in Tokyo’s Odaiba entertainment district operated by RESORTTRUST, INC. The stocktaking operations of its roughly 5,000 bottles of wine for its restaurants, bars and lounges previously required sommeliers to carefully and laboriously handle each bottle separately and enter details manually into the purchasing system. The hotel sought a faster and more accurate system to streamline operations.

After switching to RFID, Tokyo Baycourt Club can now scan multiple bottles with contactless operation and automatically register inventory in its purchasing system, drastically reducing time spent for stocktaking. At one restaurant in the resort, two workers previously spent eight hours apiece (16 hours total which includes total time spent for stocktaking including items not yet RFID tagged) before switching to RFID. After the upgrade, the operation only required one staff and two hours, for an 88% labor savings.

Tokyo Baycourt Club head of operations Katsuhiro Kawamura said, “Thanks to the RFID system, we were able to both streamline our painstaking stocktaking processes and reduce the number of mistakes from human error. It also improves accuracy of inventory management by allowing us to see inventory right away, which minimizes our risk of lost bottles. We are looking at using RFID for other products and expanding the system to hotels in the future.”

Tokyo Baycourt Club beverages head Katsuhiko Aihara said, “We implemented RFID as a way to strengthen our internal controls. By utilizing RFID in our stocktaking, we digitized our wine list which ensures inventory management transparency. If successful, it will allow us to go paperless and provide labor savings for refreshing our wine stocks, speeding up our response time for customers and reducing total working hours. I expect the system to provide a good return on investment.”

อย. จับมือเอกชน ถก “ลดเค็ม” นำร่องอาหารกลุ่มเสี่ยง 4 ชนิด

กรุงเทพฯ, สิงหาคม 2561 – อย.จับมือผู้ประกอบการ หนุนขับเคลื่อนมาตรการรณรงค์ลดบริโภคเกลือและโซเดียมในอาหารสำเร็จรูป หลังพบเกือบร้อยละ 30 ของการตายในประเทศไทยมาจากการกินเค็ม ตั้งเป้าให้คนไทยกินเค็มลดลงร้อยละ 30 ภายในปี 2573

ในการประชุมชี้แจงหารือเพื่อจัดทำเป้าหมายเชิงสมัครใจในการลดปริมาณโซเดียมในอาหารสำเร็จรูป ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับองค์การอนามัยโลก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายลดบริโภคเค็ม โดยมีภาคเอกชน และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมเสนอแนะและรับฟังข้อคิดเห็น

นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ประเทศไทยมีการบริโภคเกลือสูงเกือบ 2 เท่าของที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ 5 กรัม หรือ 1 ช้อนชาต่อวัน และจากการรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาล ไขมัน เกลือ หรือโซเดียม มากเกินกว่าปริมาณที่กำหนดในแต่ละวัน ส่งผลให้คนไทยป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และเป็นสาเหตุการตายเกือบร้อยละ 30 ของการเสียชีวิตทั้งหมดในประเทศไทย

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับเครือข่ายลดการบริโภคเกลือ สสส. และองค์การอนามัยโลก จึงร่วมกันผลักดันการลดการบริโภคเกลือหรือโซเดียม ตามกรอบยุทธศาสตร์นโยบายลดเกลือและโซเดียมของประเทศไทย ปี 2559-2568 โดยมาตรการแรก คือ ขอความร่วมมือกับผู้ผลิตอาหารในการลดปริมาณเกลือหรือโซเดียมลง เพื่อให้ปลอดภัยต่อสุขภาพของคนไทย มุ่งเน้นอาหารกลุ่มเสี่ยง 4 ชนิด ได้แก่ ขนมขบเคี้ยว อาหารกึ่งสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแช่เย็นและแช่เข็ง โดยเฉพาะอาหารกลุ่มสำเร็จรูป บะหมี่และก๋วยเตี๋ยวสำเร็จรูป รวมทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์โจ๊กข้าวต้มสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูปยอดฮิตของคนไทย ซึ่งมีโซเดียมอยู่ในปริมาณที่สูงมากเมื่อเทียบต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

ส่วนมาตรการทางด้านฉลากอาหาร ทาง อย. ได้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอาหารที่สามารถลดหวาน มัน เค็ม ติดฉลาก “ทางเลือกสุขภาพ” บนบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคทราบว่า อาหารดังกล่าวนั้นอยู่ในเกณฑ์ไม่เป็นอันตรายและเหมาะกับสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจำนวน 633 ผลิตภัณฑ์ หากมาตรการต่างๆ ที่ออกมาแล้วยังไม่ได้ผล ภายใน 2-3 ปี ก็ต้องมาพิจารณาว่าควรจะออกกฎหมายมาบังคับใช้ได้หรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องของภาษีเกลือและโซเดียม เหมือนอย่างประเทศทางยุโรปที่สามารถนำมาใช้ได้แล้ว

“อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ให้คนไทยลดการบริโภคเกลือและโซเดียมให้ประสบผลสำเร็จนั้น จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภคได้รับรู้ตระหนักถึงอันตรายของการบริโภคเกลือและโซเดียมมากเกินไป และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ในที่สุด อาจจะเริ่มตั้งแต่การสอนในรั้วโรงเรียน ซึ่งเป็นแนวทางทางที่เรากำลังบูรณาการร่วมกันกับกระทรวงศึกษาธิการ เพราะถือเป็นยุทธศาสตร์ของชาติเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่ต้องการลดการบริโภคโซเดียมในอาหารลงร้อยละ 20 ภายในปี ค.ศ.2030” รองเลขาธิการ อย. กล่าว

ด้าน ผศ. นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายลดบริโภคเกลือและโซเดียม เพื่อลดโรคไม่ติดต่อระดับชาติ ได้มีนโยบายในการปรับลดค่าปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมในการบริโภคจากเดิม 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน เป็น 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อลดสาเหตุการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

“เราไม่ได้ห้ามให้เลิกทานเค็ม แต่ต้องรู้จักเฉลี่ยการบริโภคเกลือหรือโซเดียมต่อมื้อให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมของแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานอาหารจากร้านปรุงสด ซึ่งในส่วนนี้จะต้องรณรงค์ขอความร่วมมือไปยังร้านค้าให้ช่วยลดความเค็มลงด้วย” ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าว

“พาณิชย์” แนะโอกาสทองส่งออกปลาหมึก “ซึรึเมะอิกะ” ไทยเข้าสู่ญี่ปุ่น

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.) กระทรวงพาณิชย์ เผยประมงญี่ปุ่นจับปลาหมึก “ซึรึเมะอิกะ” ได้น้อยลง และรัฐบาลยังกำหนดโควต้าจับจนทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลน แนะไทยใช้โอกาสนี้ผลักดันส่งออกปลาหมึกไทยเข้าไปเพิ่มส่วนแบ่งตลาด พร้อมขอให้เข้มงวดเรื่อง IUU เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อสินค้าไทย

นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ได้รายงานถึงโอกาสการส่งออกปลาหมึก “ซึรึเมะอิกะ” หรือปลาหมึกบิน ของไทยเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น หลังจากได้สำรวจความต้องการในตลาดแล้วพบว่า ขณะนี้ญี่ปุ่นประสบปัญหาการขาดแคลนปลากหมึกซึรึเมะอิกะ เพราะชาวประมงญี่ปุ่นจับปลาหมึกชนิดนี้ได้ลดลง เพราะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล ทำให้ปลาหมึกโตช้า และยังมีการเข้ามาจับปลาหมึกของเรือประมงต่างชาติทั้งเกาหลีเหนือและจีนเพิ่มขึ้น ทำให้ประมงญี่ปุ่นจับได้น้อยลง

ทั้งนี้ ผลจากการที่ปลาหมึกซึรึเมะอิกะเข้าสู่ตลาดน้อยลงทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาขายส่งอยู่ที่ 564 เยนต่อกิโลกรัม (กก.) หรือประมาณ 164 บาทต่อ กก. เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 80 จากเมื่อ 2 ปีก่อนหน้า และยังส่งผลให้ร้านอาหารที่ใช้ปลาหมึกในการประกอบอาหารมีรายได้ลดลง และหันไปใช้สัตว์น้ำประเภทอื่นทดแทน

ขณะเดียวกัน กรมประมงญี่ปุ่น ยังได้มีมาตรการกำหนดโควต้าจับปลาหมึกซึรึเมะอิกะ ปีงบประมาณ 2561 (เม.ย. 2561-มี.ค. 2562) ให้เหลือเพียง 97,000 ตัน เพื่อให้ปลาหมึกได้มีโอกาสแพร่พันธุ์มากขึ้น และเพิ่มปริมาณการนำเข้าปลาหมึกซึรึเมะอิกะจากต่างประเทศในปี 2561 เป็น 87,000 ตัน เพื่อลดผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบ และยังมีแนวโน้มว่าญี่ปุ่นอาจต้องเพิ่มโควต้านำเข้าอีกในเร็วๆ นี้

“ผลจากความต้องการปลาหมึกซึรึเมะอิกะที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ทำให้เป็นโอกาสสำหรับปลาหมึกไทย โดยไทยสามารถส่งออกปลาหมึกมงโกอิกะหรือหมึกกระดองไปยังญี่ปุ่น ภายใต้ความตกลง JTEPA (ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น) ได้ เพราะญี่ปุ่นเก็บภาษีนำเข้าเป็นศูนย์แล้ว แต่สำหรับปลาหมึกซึรึเมะอิกะและปลาหมึกอื่นๆ ญี่ปุ่นเก็บภาษีนำเข้าระหว่างร้อยละ 3.5-5 ซึ่งขณะนี้ ไทยกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาให้ญี่ปุ่นลดภาษีนำเข้าในกลุ่มปลาหมึกเพิ่มเติมอยู่ หากทำสำเร็จจะช่วยสนับสนุนการส่งออกและสร้างแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการไทย”

อย่างไรก็ตาม ในการส่งออกปลาหมึกไปยังตลาดญี่ปุ่น ผู้ประกอบการไทยต้องมีการกำกับดูแลเกี่ยวกับการประมง เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการทำประมงที่ผิดกฎหมาย การประมงที่ขาดการรายงาน และการประมงที่ขาดการควบคุม (IUU) เพราะนอกจากจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการส่งออกของอุตสาหกรรมประมงของไทยแล้ว ยังเป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีความยั่งยืนต่อไปด้วย

ในปี 2560 ญี่ปุ่นมีการนำเข้าปลาหมึกซึรึเมะอิกะ ปริมาณ 93,069 ตัน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ชิลี และเปรู ปริมาณ 44,744 ตัน , 14,744 ตัน และ 11,593 ตันตามลำดับ และนำเข้าจากไทยเป็นลำดับที่ 9 ปริมาณ 85 ตัน โดยปลาหมึกซึรึเมะอิกะที่ไทยส่งออกไปยังญี่ปุ่น มีทั้งรูปแบบปลาหมึกสดและปลาหมึกแปรรูป

หนุน SME คลัสเตอร์มะพร้าวในงาน TI Expo 2018

3 สิงหาคม 2561

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) นายวชิระ แก้วกอ ผู้อำนวยการฝ่ายประสานเครือข่ายผู้ให้บริการ SMEs สสว. ร่วมด้วยนางนิตยา พิระภัทรุ่งสุริยา รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร และนางอรวรรณ แก้วประกายแสงกูล ที่ปรึกษาสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมเครือข่าย SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าวที่เข้าร่วมงาน Thailand Industry Expo 2018 (TI Expo2018) ณ บูธสถาบันอาหาร อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ภายในงานมีผู้แทนเครือข่ายจากกลุ่มคลัสเตอร์ Best Coconut (สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี) กลุ่มคลัสเตอร์พร้าวหอมสามพราน (นครปฐม) และกลุ่มคลัสเตอร์ Coco Inter Prachin (ปราจีนบุรี) นำสินค้ามาจัดแสดงและจำหน่าย เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2561 ในกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าวและกล้วย ซึ่งสถาบันอาหารได้รับมอบหมายจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ดำเนินการ

Steinecker Brew Center: the world’s most sophisticated research brewery has been inaugurated

Germany, 17 July 2018

 

The fact that Krones offers its clients everything from a single source is nothing new. But now the group even has a brewery of its own at its facility in Freising: the Steinecker Brew Center provides both clients and Krones itself with an option for collaborative brewing, conducting trials, and testing new technologies.

 

The heart of the new brewing pilot plant is a five-hectolitre brewhouse comprising five different vessels. “The system is small, that’s true, but it offers maximum flexibility all the same: here we can combine different technologies, and are able to demonstrate the large bandwidth of solutions offered by Krones. We can, for example, reproduce an ultra-wide range of internationally employed processes on the one hand while also familiarising our own commissioning engineers and clients’ staff with the technologies concerned on the other,” explained Dr. Konrad Müller-Auffermann, who was responsible for this project, at the inauguration ceremony held on 19 June 2018.

 

To justify the appellation of “the world’s most sophisticated research brewery”, the high-tech facility has been networked using IT to the very latest state of the art. For this purpose, the Brew Center continues to liaise very closely with Krones’ subsidiary Syskron, which has integrated its ReadyKit and Share2Act products into the Steinecker Brew Center. The added value? In the brewing pilot plant at Freising, both clients and Krones staff can now run practical trials to find out which process-engineering solutions are most efficiently suited to beverage production and how digital interfacing can assist the brewer in his daily work. What’s more, thanks to the Brew Center, it will in future be possible to develop new products faster and test them under realistic conditions.

 

During the inauguration ceremony, attended by Krones clients, academics and other experts from the sector, plus Krones’ Executive Board and staff, Heiko Feuring who heads the Steinecker Plant and the Breweries business line, especially emphasised the swift progress of the project: “We were able to translate this investment project worth 2.6 million euros into hands-on reality within one year. So we’re delighted that we’re now able to use our Brew Center.”

สผ. ร่วมกับ GIZ ขับเคลื่อนนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไปสู่การดำเนินการในพื้นที่เพิ่มอีก 60 จังหวัด

Horti ASIA 2018 นวัตกรรมพืชสวนแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์: ผู้นำในด้านการรับมือความท้าทายของกลุ่มอุตสาหกรรม

19 กรกฎาคม 2561 –

บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด ร่วมกับรัฐบาลสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ แถลงข่าวการจัดงาน ฮอร์ติ เอเชีย 2018 ณ สถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย โดยมี มร.เกส ปีเตอร์ ราเดอ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย กล่าวเปิดงาน และมีการอภิปรายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมพืชสวนในประเทศเนเธอแลนด์ เรื่องโอกาสในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและจะกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมพืชสวนของโลกได้อย่างไร

ภายในงาน ยังได้รับเกียรติจาก กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย และผู้สนับสนุนหลักในการจัดงาน สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ ร่วมพูดคุยถึงบทบาทของภาครัฐและเอกชนที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านของอุตสาหกรรมพืชสวนในประเทศไทยแข็งแกร่งขึ้น ผ่านงานฮอร์ติ เอเชีย 2018 นำเสนอปัจจัยการผลิตทางการเกษตรและนวัตกรรมด้านการปลูกพืชผัก ไม้ผล และดอกไม้แห่งภูมิภาคเอเชีย ระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2561 ณ ฮอลล์ 98 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ร่วมกับ งานอะกริเทคนิก้า เอเชีย 2018 งานแสดงนวัตกรรม เทคโนโลยีด้านเครื่องจักรกลการเกษตร

คุณนิชาภา ยศวีร์ ผู้อำนวยการอาวุโสของสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐบาลรับผิดชอบด้านการสนับสนุนอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทย และยังเป็นผู้สนับสนุนงานแสดงสินค้า ฮอร์ติ เอเชีย นับตั้งแต่ครั้งแรก ได้กล่าวว่าในปีนี้ “เรามีความยินดีที่แคมเปญของเรา “Exhibiz in Market” ได้มีส่วนร่วมในการดึงดูดพาวิลเลียนใหญ่จาก 7 ประเทศในงานฮอร์ติ เอเชีย และงานอะกริเทคนิก้า เอเชีย 2018 การให้ความสนับสนุนของ สสปน. เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับนโยบายของรัฐบาลไทย ซึ่งก็คือการใช้งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0 เนื่องจากงานแสดงสินค้าทั้งสองงานนี้มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและยกระดับภาคส่วนเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบอุตสาหกรรมอนาคต (S-curve) ในนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยองค์กรยังมีความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยเป็นเป้าหมายในการทำธุรกิจด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารให้สำเร็จที่เหมาะสมที่สุดในภูมิภาค เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการส่งออกผลผลิตจากทั้งสองอุตสาหกรรมนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ที่ตั้งของประเทศไทยนับว่าเป็นใจกลางของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เป็นสามารถยกเป็นศูนย์กลางเพื่อพร้อมรับเศรษฐกิจที่กำลังเกิดใหม่ของภูมิภาคได้ และเพื่อเสริมสร้างศักยภาพดังกล่าวนี้ สสปน. ได้สนับสนุนแนวทางเพื่อให้มั่นใจว่าอุตสาหกรรมจัดแสดงสินค้าของประเทศไทยนั้นพร้อมเสมอที่จะกระตุ้นความสำเร็จในการจัดงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ

“เราต้องการแสดงถึงความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ของเรา ซึ่งประกอบไปด้วยทั้งพืชผลเขตร้อนและเฉพาะถิ่นที่สามารถเพาะปลูกได้ในประเทศไทยและทวีปเอเชีย” กล่าวโดย นายไมเคิล เดวาร์รีแวร์ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท East-West Seed ซึ่งบริษัทนี้ได้นำเสนอนวัตกรรมปรับปรุงพันธุ์พืชผักใหม่ล่าสุด “ส้มตำ F1” ซึ่งเป็นมะละกอที่ไม่ได้เกิดการการตัดแต่งพันธุกรรม ในโชว์พิเศษ “ส้มตำ” โดยมีท่านเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยได้เข้ามาร่วมตำส้มตำด้วย

สำหรับผู้จัดงานฮอร์ติ เอเชีย นายมานูเอล มาดานิ ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า “สิ่งที่ทำให้เรามารวมกันได้นั้นคือความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น เช่น ความปลอดภัยของอาหาร การผลิตพืชชีวภาพ กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาด้วยความเย็น งานฮอร์ติ เอเชีย 2018 จะกลายเป็นงานที่รวมวิสัยทัศน์ของผู้เชี่ยวชาญของอุตสาหกรรม รวมถึงบริษัทชั้นนำอีกมากกว่า 300 บริษัท จาก 25 ประเทศทั่วโลก เช่น เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี ตุรกี เกาหลีใต้ มาเลเซีย และไทย ในงานนี้จะครอบคลุมความต้องการด้านพืชสวนทุกอย่าง เริ่มตั้งแต่การเตรียมวัสดุปลูก การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การปรับปรุงพันธุ์ การดูแลใส่ปุ๋ยปุ๋ย การปรับปรุงคุณภาพดิน การระบายอากาศ และเทคโนโลยีโรงเรือน”

หากท่านสนใจเยี่ยมชมงานแสดงสินค้า ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ www.horti-asia.com โดยใช้รหัสลงทะเบียน VMB 20014 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ +662-670-0900 ต่อ 209, 212

KH Roberts 50th Anniversary & Integrated Manufacturing Facility Official Opening Launch of a New Automated and Smart Flavour Manufacturing Facility

Singapore, 18 July 2018

 KH Roberts (KHR) will be commemorating their 50th Anniversary with the official opening of its new state-of-the-art integrated flavour manufacturing facility. The facility spans over 100,000 square feet and was built on a total investment of more than $20 million. The opening of KHR’s new facility will be graced by Mr.Chan Chun Sing, Minister for Trade & Industry.

 

Employing smart technologies, automation and digitisation at their new integrated flavour manufacturing facility, KHR is proud to announce the successful commissioning of a state-of-the-art automated liquid distribution and dispensing system, a core capability in their new facility. The customised automated system is the first-of its-kind in the industry, synergising both automation and scalability of production batch sizes. It works to reduce reliance on manual labour, extend production uptime, minimise risk of product defects and consistently meet stringent food safety requirements.

 

The new facility also includes a full-fledged flavours R&D centre, equipped with flavour creation, sensory evaluation, analytical testing, product development and bench-top chemistry capabilities. Integrated to the facility is a dedicated pilot plant space for small scale product development and test production, enabling customers and collaborators to test new pre-commercial and new technology-based products prior to commercial production. These capabilities help KHR to enhance their agility and speed to market.

 

CEO of KHR, Dr.Peter K.C. Ong says “The adoption of automation helps us to achieve production capacity scalability without physical space limitation or labour constraints. With the integration of R&D and pilot production, we will be able to continually innovate and broaden our portfolio by offering customers with best-in-class flavour solutions and a seamless customer experience.”

 

KHR’s strategic partnerships with Enterprise Singapore and SkillsFuture Singapore have helped their employees adapt to the innovative automation and digitisation processes in the new work environment. Ms Chua Xinyi, a Quality Control Executive was among those selected for the SkillsFuture Earn and Learn Programme, allowing her to build on her skills and knowledge while transiting to the new work environment.

 

For more information on KHR 50th Anniversary, please visit www.khr50.com.

 

———————————————————————-

KH Roberts ฉลองครบรอบ 50 ปี เปิดตัวโรงงานผลิตกลิ่นรสแห่งใหม่

เปิดตัวระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการผลิตที่สมบูรณ์แบบ

 

สิงคโปร์, 18 กรกฎาคม 2561

 

KH Roberts (KHR) ฉลองครบรอบ 50 ปี เปิดตัวโรงงานผลิตกลิ่นรสแห่งใหม่อย่างเป็นทางการ ซึ่งโรงงานแห่งนี้พรั่งพร้อมด้วยนวัตกรรมแห่งการผลิตอันสมบูรณ์แบบ ครอบคลุมบนพื้นที่กว่า 100,000 ตารางฟุต ด้วยงบการลงทุนสร้างรวมกว่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยพิธีเปิดครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก Mr.Chan Chun Sing รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิด

 

โรงงานผลิตกลิ่นรสแห่งใหม่นี้มีการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะที่มาพร้อมด้วยระบบอัตโนมัติและระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบมาใช้ในกระบวนการผลิต โดยบริษัทฯ มีความภูมิใจที่จะประกาศความสำเร็จของการใช้นวัตกรรมระบบการจัดการของเหลวในกระบวนการผลิต (Liquid distribution and dispensing system) ซึ่งถือเป็นความสามารถด้านการผลิตหลักของโรงงานแห่งใหม่นี้ ทั้งนี้ เทคโนโลยีการผลิตได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะและมีการใช้ในอุตสาหกรรมประเภทกลิ่นรสที่นี่เป็นแห่งแรก โดยมีความพร้อมสำหรับการผลิตทั้งระบบอัตโนมัติและความสามารถในการปรับขยายปริมาณการผลิตได้ตามต้องการ จึงลดการพึ่งพาการใช้แรงงานคน เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบและต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงของการเกิดข้อผิดพลาดในสินค้าที่ผลิต และเป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยอาหารที่เข้มงวด

 

นอกจากในส่วนของโรงงานผลิตแล้วยังมีศูนย์วิจัยและพัฒนากลิ่นรสแบบครบวงจร ทั้งการสร้างสรรค์กลิ่นรสใหม่ๆ การทดสอบทางประสาทสัมผัส การวิเคราะห์ทดสอบ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และงานวิจัยด้านเคมีระดับแนวหน้า โดยการบูรณาการด้านการผลิตและการวิจัยนี้ยังรองรับการผลิตระดับทดลองเพื่อการพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์ของลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่ก่อนจำหน่ายจริงรวมถึงได้ทดลองใช้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ก่อนที่จะนำไปใช้ผลิตจริงในระดับต่อไป

 

Dr.Peter K.C. Ong, CEO บริษัท KHR เปิดเผยว่า “การใช้ระบบอัตโนมัตินั้นช่วยให้บริษัทฯ ประสบความสำเร็จด้านความสามารถในการผลิตได้โดยปราศจากข้อจำกัดด้านพื้นที่และกำลังแรงงาน การทำงานร่วมกันทั้งฝ่ายผลิตและฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นทำให้บริษัทฯ สามารถคิดค้นและพัฒนากลิ่นรสใหม่ๆ ออกมาได้อย่างหลากหลายเพื่อตอบรับความต้องการและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า”

 

นอกจากนี้ KHR ยังได้สร้างความร่วมมือด้านกลยุทธ์ร่วมกับ Enterprise Singapore และ SkillsFuture Singapore ซึ่งจะยิ่งช่วยให้พนักงานสามารถปรับตัวให้เข้ากับนวัตกรรมของระบบอัตโนมัติและระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานใหม่ทั้งหมด โดยมี Ms.Chua Xinyi ผู้บริหารด้านการควบคุมคุณภาพเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน SkillsFuture Earn and Learn ครั้งนี้ ซึ่งทำให้เธอสามารถพัฒนาทักษะและความรู้ความสามารถได้ในระหว่างเข้าร่วมโครงการครั้งนี้

 

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ KHR ครบรอบ 50 ปี ได้ที่เว็บไซต์ www.khr50.com.