ธุรกิจร้านกาแฟสร้างจุดขายชูคุณภาพกาแฟ บาริสต้า ชิงตลาด 17,000 ล้านบาท

กรุงเทพฯ, กรกฎาคม 2561 – ธุรกิจร้านกาแฟโตต่อเนื่องมูลค่าพุ่งกว่า 17,000 ล้านบาท ส่งผลให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับคุณภาพกาแฟและความสามารถบาริสต้า หวังใช้เป็นจุดขาย ล่าสุด ยูบีเอ็ม เอเซีย จับมือ สมาคมบาริสต้าไทย จัดการแข่งขันศิลปะบนถ้วยกาแฟ 2019 (Thailand National Latte Art Championship (TNLAC) 2019) และการแข่งขันการสร้างสรรค์เครื่องดื่มจากกาแฟ 2019 (Thailand National Coffee in Good Spirits Championship (TNCIGS) 2019) ในงานฟู้ดแอนด์โฮเทล ไทยแลนด์ 2018 เพื่อพัฒนาความสามารถบาริสต้าไทย พร้อมหาตัวแทนเข้าแข่งขันระดับโลก หวังสร้างแชมป์โลกคนที่สอง

นายจัสติน พาว ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงการเติบโตของธุรกิจร้านกาแฟว่า ปัจจุบันมูลค่าธุรกิจร้านกาแฟพุ่งขึ้นสูงถึง 17,000 ล้านบาท เติบโตปีละร้อยละ15-20 จากปัจจัยสำคัญคือ วัฒนธรรมการดื่มกาแฟที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันคนไทย โดยอัตราเฉลี่ยในการบริโภคกาแฟของคนไทยอยู่ที่ปีละ 300 แก้ว/คน/ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อีกมาก เมื่อเทียบกับปริมาณการบริโภคกาแฟจากหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่นที่บริโภคกาแฟเฉลี่ยอยู่ที่ 400 แก้ว/คน/ปี ยุโรปบริโภคกาแฟเฉลี่ยอยู่ที่ 600 แก้ว/คน/ปี หรือฟินแลนด์บริโภคกาแฟเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 แก้ว/คน/ปี

จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ธุรกิจร้านกาแฟมีการแข่งขันที่สูงขึ้น แต่ละร้านต้องสร้างจุดเด่นและความแตกต่างเพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งนอกจากการออกแบบและตกแต่งร้านแล้ว ยังมีการนำเสนอถึงคุณภาพของกาแฟและความสามารถของบาริสต้าควบคู่ไปด้วย ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากกลุ่มผู้ดื่มกาแฟรุ่นใหม่ให้ความใส่ใจกับรสชาติและคุณภาพของกาแฟมากขึ้น โดยการชงกาแฟให้ได้รสชาติและคุณภาพดีนั้นต้องอาศัยทักษะ ความรู้ ความสามารถของบาริสต้า ซึ่งต้องใส่ใจตั้งแต่การเลือกเมล็ดกาแฟ วิธีการชงกาแฟ และการสร้างสรรค์เมนูกาแฟให้เป็นที่ถูกใจลูกค้า โดยในหลายปีที่ผ่านมาต้องถือว่าบาริสต้าไทยมีการพัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสามารถคว้าตำแหน่งแชมป์โลก ลาเต้อาร์ตมาเป็นชาติแรกของอาเซียนได้อีกด้วย

เพื่อเป็นการผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาความสามารถของบาริสต้าไทยให้เพิ่มสูงขึ้น ยูบีเอ็ม เอเชีย ผู้จัดงานฟู้ดแอนด์โฮเทล ไทยแลนด์ 2018 งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีด้านอาหาร เครื่องดื่ม อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับโรงแรม ภัตตาคาร การจัดเลี้ยง และการบริการนานาชาติ จึงได้ร่วมมือกับสมาคมบาริสต้า จัดการแข่งขันศิลปะบนถ้วยกาแฟ 2019 และการแข่งขันการสร้างสรรค์เครื่องดื่มจากกาแฟ 2019 ขึ้น เพื่อหาตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมการเข้าแข่งขันในระดับโลกต่อไป

การแข่งขันศิลปะบนถ้วยกาแฟเป็นการแข่งขันศิลปะโฟมนมบนถ้วยกาแฟที่ท้าทาย เพราะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และทักษะเฉพาะตัวในการสร้างลวดลาย ด้วยการเทลายลาเต้อาร์ตที่ใช้เพียงอุปกรณ์พิชเชอร์และถ้วยกาแฟเท่านั้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเทลายทั้งในรูปแบบไม่ใช้อุปกรณ์เพิ่ม (Free-Pour Lattes) และ การเทรูปแบบใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมและสี (Designer Lattes) ซึ่งคณะกรรมการจะตัดสินจากลักษณะภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ความคมชัด และความเหมือนกันของลายในถ้วยกาแฟที่นำเสนอ

ส่วนการแข่งขันการสร้างสรรค์เครื่องดื่มจากกาแฟ เป็นการแข่งขันรายการใหม่ครั้งแรกของประเทศไทย โดยจะเน้นทักษะการผสมผสานกาแฟกับส่วนผสมอื่นให้เกิดเป็นเมนูเครื่องดื่มที่ลงตัว สามารถนำเสนอได้ทั้งในรูปแบบร้อน อุ่น และเย็น ซึ่งการตัดสินคณะกรรมการจะพิจารณาจากทักษะการทำกาแฟ รสชาติที่สร้างสรรค์ ความลงตัวของเครื่องดื่ม และรูปแบบการนำเสนอ

ผู้ชนะการแข่งขันทั้งสองรายการจะได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันในเวที World Latte Art Championship (WLAC) 2019 และเวที World Coffee in Good Spirits Championship (WCIGS) 2019 ซึ่งผู้จัดการแข่งขันฯ มีความมุ่งหวังอย่างยิ่งที่จะใช้เวทีระดับโลกสร้างชื่อเสียงให้แก่บาริสต้า ธุรกิจกาแฟ และ อุตสาหกรรมกาแฟของไทย หลังจากเวทีนี้เคยส่งให้ อานนท์ ธิติประเสริฐ เป็นแชมป์โลก ลาเต้อาร์ต มาแล้ว เราจึงหวังว่าเวทีนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นอีกครั้งในการสร้างแชมป์โลกคนต่อไปให้กับประเทศไทย

สำหรับการแข่งขันศิลปะบนถ้วยกาแฟ 2019 และการแข่งขันการสร้างสรรค์เครื่องดื่มจากกาแฟ 2019 นั้น จะจัดขึ้นในงานฟู้ดแอนด์โฮเทล ไทยแลนด์ 2018 ระหว่างวันที่ 5-8 กันยายน 2561 ณ ไบเทค บางนา ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขันฯ สามารถสมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 22 สิงหาคม 2561 เข้าดูข้อมูลและรายละเอียดการแข่งขันฯ ที่ คุณวิษณุ อีเมลล์ info@thaibarista.org, wisanu@k2.co.th หรือ โทรศัพท์ 0 2276 5170

“ไทย” ประกาศเจตนารมณ์เดินหน้าปฏิรูปภาคการประมงอย่างจริงจังบนเวทีระดับโลก พร้อมให้ความร่วมมือกับทุกประเทศเพื่อขจัด IUU

อิตาลี, 9 กรกฎาคม 2561 – ดร.อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสนำคณะผู้แทนประเทศไทยเดินทางเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการประมง (COFI) ณ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กรุงโรม ประเทศอิตาลี ซึ่งมีประเทศสมาชิกและหน่วยงานด้านการประมงเข้าร่วมประชุมกว่า 700 คน จาก 194 ประเทศทั่วโลก โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญ ดังนี้ (1) การจัดการทรัพยากรทางทะเล (2) การแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ขาดการควบคุม (3) การบริหารจัดการการทำประมงขนาดเล็กและประมงพื้นบ้าน (4) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมต่อการประมง โดยประเทศไทยได้ใช้โอกาสดังกล่าวในการประกาศเจตนารมณ์บนเวทีระดับโลก เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย โดยแจ้งต่อที่ประชุมถึงการประกาศให้การปฏิรูปภาคการประมงของไทยเป็นวาระแห่งชาติ และพร้อมที่จะเดินหน้าส่งเสริมให้มีการจัดการประมงอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ ยินดีให้ความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้าน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย พร้อมปรับกลไกการปฏิบัติงานให้มีศักยภาพอย่างเต็มรูปแบบ เช่น เข้าไปมีส่วนร่วมและปฏิบัติตามข้อตกลงในระดับภูมิภาค มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการควบคุมกิจกรรมการทำประมงด้วยเครื่องมือประมงที่ทำลายล้าง (Destructive fishing gears) ส่งผลให้การจับสัตว์น้ำจากธรรมชาติลดลง และเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร พร้อมทั้งเร่งพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มอาหารสำหรับบริโภค ตลอดจนลดการใช้ปลาป่นในการผลิตอาหารสัตว์น้ำ เป็นต้น
ในโอกาสนี้ ประเทศไทยยังได้เสนอให้ FAO รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลผู้ประสานงานหลักของภาคีที่ไม่ได้เป็นสมาชิก เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการตามข้อตกลงของรัฐเจ้าของท่าทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก พร้อมทั้งพิจารณาจัดทำแนวทางในการตรวจสอบเรือประมงในทะเล เพื่อให้สามารถเฝ้าระวังและควบคุมเรือประมงที่ทำประมงเกินขนาดได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะบริเวณทะเลหลวง และขอให้ FAO สนับสนุนส่งเสริมประเทศสมาชิกร่วมกันลดการสูญเสียอาหาร และหันมาใช้วัตถุดิบที่เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมประมงกันมากขึ้นด้วย

รางวัลผู้สนับสนุนการลดการบริโภคโซเดียมในประเทศไทย

กรุงเทพฯ, กรกฎาคม 2561 – เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ขอเชิญหน่วยงาน องค์กร บริษัท ที่เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพผู้บริโภค และมีผลิตภัณฑ์ลดโซเดียม หรือมีกิจกรรม หรือโครงการสนับสนุนการลดบริโภคโซเดียม เสนอชื่อหน่วยงานเข้าร่วมพิจารณา เพื่อรับรางวัลผู้สนับสนุนการลดการบริโภคโซเดียมในประเทศไทย โดยจะมีพิธีมอบรางวัลในวันที่ 1 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุม 201 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

SMEs ไทยรุกตลาดไต้หวัน ยอดขายพุ่งกว่า 200 ล้านบาท

สสว. ร่วมกับ สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม นำเอสเอ็มอีอาหารแปรรูปของไทยเข้าร่วมแนะนำสินค้าและเจรจาธุรกิจในงาน FOOD TAIPEI 2018 พร้อมศึกษาดูงานโรงงานอุตสาหกรรมที่ทันสมัย และรับฟังการสัมมนาแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยและไต้หวันในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้จัดกิจกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารแปรูปของไทยให้มีโอกาสลงพื้นที่จริง เรียนรู้พฤติกรรมการบริโภค การเลือกซื้อ และความต้องการจากคนไต้หวัน นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนากลยุทธ์ สร้างคุณค่าใหม่ให้เกิดขึ้น และต่อยอดธุรกิจในตลาดไต้หวันต่อไป โดยได้นำคณะผู้ประกอบการจำนวน 18 ราย ร่วมจัดแสดงสินค้า ศึกษาดูงาน รับฟังการสัมมนา และเจรจาธุรกิจในงาน FOOD TAIPEI 2018 ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน

โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยจำนวน 18 รายที่เข้าร่วมงาน นำผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ได้รับมาตรฐานการผลิตในระดับสากลไปจัดแสดงและเจรจาธุรกิจเพื่อเปิดตลาดในไต้หวัน อาทิ เนื้อจระเข้ทุบ หมู-เนื้อทุบ และอบแห้ง ชาสมุนไพรออแกนิค ผลไม้อบกรอบ พุดดิ้งมะพร้าวอ่อน มันหวานอบแห้ง ข้าวโพดกระป๋อง กระทิกระป๋อง น้ำอโลเวร่า แมงกะพรุนแปรรูป กุ้งต้มแช่แข็ง ซอสปรุงรสต่างๆ ผลไม้อบแห้งนานาชนิด ไอศกรีมมะม่วง มะม่วง/ทุเรียนอบกรอบดิปน้ำกะทิ หนังไก่ทอดกรอบ บัวลอยเผือก ทับทิมกรอบแช่แข็ง และหนังปลากะพงทอดกรอบ เป็นต้น ซึ่งสามารถสร้างการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ และเกิดการเจรจาซื้อขายจำนวน 460 คู่เจรจาจากคู่ค้าหลายประเทศ ประมาณการว่าภายในระยะเวลาหนึ่งปีต่อจากนี้จะสามารถสร้างมูลค่าการค้ารวมกันได้ราว 205 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ที่มีคำสั่งซื้อสูงสุด ได้แก่ ไอศกรีมมะม่วง ของบริษัท พีพี เอส ฟู้ดส์ โปรดักส์ จำกัด มูลค่า 44 ล้านบาท รองลงมา คือ มะม่วง/ทุเรียนอบกรอบดิปน้ำกะทิ ของบริษัท ไอเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด มูลค่า 27 ล้านบาท แมงกะพรุนแปรรูป และกุ้งต้มแช่แข็ง ของบริษัท โชคดี ซี โปรดักส์ จำกัด มูลค่า 21.4 ล้านบาท ผลไม้อบกรอบ ของบริษัท ฉันทพัฒน์ โซลูชั่น พลัส จำกัด มูลค่า 20 ล้านบาท เป็นต้น

นอกจากนี้ คณะผู้ประกอบการไทยทั้ง 18 ราย ยังได้มีโอกาสศึกษาดูงานที่ บริษัท Namchow Chemical Holdings Co., Ltd ของไต้หวัน ซึ่งเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 6 ชนิดหลัก ได้แก่ น้ำมัน ผลิตภัณฑ์นม แป้ง ข้าว ผงซักฟอกและเทคโนโลยีชีวภาพ ตลอดจนได้มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนา “แนวทางการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยและไต้หวันในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ” ซึ่งมีวิทยากรจากประเทศไทยเข้าร่วมด้วย ได้แก่ ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และนางสาวกฤษณา แซ่เฮ้ง นักวิชาการส่งเสริมการลงทุนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดย ดร.วิเชียร ฤกษ์พัฒนกิจ ที่ปรึกษาสถาบันอาหาร เป็นตัวแทนสถาบันอาหารเข้าร่วมงานในครั้งนี้

ทั้งนี้ งาน FOOD TAIPEI 2018 เป็นงานแสดงสินค้าอาหารที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน มีผู้ประกอบการร่วมจัดแสดงสินค้าจำนวน 1,628 ราย จาก 40 ประเทศ และมีผู้เข้าชมงานกว่า 60,000 คน จากทุกทวีปทั่วโลก

บูห์เล่อร์โชว์จุดแข็งครอบคลุมเทคโนโลยีเพื่อกระบวนการผลิตอาหารครบวงจร ณ ProPak Asia 2018

 

บูห์เล่อร์นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาใหม่ที่น่าสนใจเพื่อตอบโจทย์กระบวนการการผลิตที่หลากหลาย ภายในงาน ProPak Asia 2018 ซึ่งจัดขึ้นภายหลังจากการรวมกิจการอย่างเป็นทางการระหว่างบูห์เล่อร์และฮาสส์ (Hass) เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

บูห์เล่อร์พร้อมเริ่มบทใหม่กับการควบรวมกิจการฮาสส์
ฮาสส์ (Hass) เป็นธุรกิจที่มีประวัติมานานนับศตวรรษ นับว่าเป็นผู้พัฒนาและผู้นำของระบบการผลิตเวเฟอร์ บิสกิตชนิดกรอบและชนิดนุ่ม โคนไอศกรีม เค้ก และขนบอบต่างๆ ทั้งนี้ภายในงาน ProPak Asia 2018 ประเทศไทย ณ บูธบูห์เล่อร์ ฮาสส์ได้ร่วมแสดงสินค้าเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชีย
มร.มาร์ค เลดสัน กรรมการผู้จัดการบริษัท บูห์เล่อร์ (ไทยแลนด์) จำกัด และผู้อำนวยการฝ่ายขายภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เราตื่นเต้นที่มีโอกาสได้ร่วมงานกับฮาสส์ในงาน ProPak Asia ในปีนี้ เราเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของกลุ่มบริษัทฮาสส์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ ในฐานะที่ฮาสส์เป็นผู้เชี่ยวชาญการผลิตลูกกวาดขนมหวานในแถบยุโรป บวกกับความแข็งแกร่งของบูห์เล่อร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะช่วยเพิ่มประโยชน์ต่อธุรกิจเกิดใหม่ในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียเพื่อให้ผู้ผลิตบิสกิตและเวเฟอร์ท้องถิ่นสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากนวัตกรรมใหม่ๆ และสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดได้”

บูห์เล่อร์ย้ำจุดยืนการพัฒนาอย่างยั่งยืน คุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร
มร.เอเดรียน โบวิซาจ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก กล่าวว่า “เราอยากให้ทุกคนเข้าถึงอาหารที่สะอาดและปลอดภัย แม้ว่าเทคโนโลยีของเราและเครื่องจักรกระบวนการผลิตด้านธัญพืชและอาหาร จะมีหลากหลายและแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ก็มีจุดเห็นพ้องต้องกันคือ การพัฒนาด้านวิศวกรรมเพื่อผลผลิตที่มีคุณภาพสูงและบริโภคได้อย่างปลอดภัย” ทุกวันนี้บูห์เล่อร์มีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตอาหารเพื่อประชากรกว่าสองพันล้านคน” มร.เอเดรียน ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืนคือกุญแจสำคัญของเรา และเพื่อการดูแลรักษ์โลก เรายิ่งต้องพัฒนากระบวนการผลิตอาหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยของเสีย ด้วยนวัตกรรมดิจิทัลของเรา บูห์เล่อร์นับว่าเป็นแนวหน้าของการปฏิวัติ ซึ่งจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายและการวางแผนธุรกิจเพื่อความสำเร็จของลูกค้า

Bühler is offering new and exciting solutions for various process chains at the ProPak Asia 2018. The event is held a few months after Bühler and Haas officially teamed up in January 2018, opening new possibilities for customers around the globe.

Bühler opens a new chapter with the acquisition of Haas
Haas, a family owned company with a history spanning more than a century, evolved to be the pace setter in the field of production systems for wafers, hard and soft biscuits, ice cream cones, cakes, and baked goods. In Asia, Haas will be present at Bühler’s booth for the first time at the ProPak Asia in Thailand.
“We are excited to have the opportunity to feature Haas at ProPak Asia this year. We believe in the strength of the Haas Group, an expert and strong leader in its field. Their European confectionary expertise, together with the strength of Bühler in South East Asia, will greatly benefit start-up companies in Thailand and Asia, allowing local biscuit and wafer producers to create new innovative products and gain market shares,” says Mark Ledson – Sales Director South East Asia at Bühler and Managing Director of Bühler.
Focus on sustainability, food quality and safety
“We want everyone to have access to healthy and safe food. Although our technologies and solutions in grain and food processing are diverse and wide ranges, they all share the same engineering focus – delivering high quality and safe-to-eat products,” says Adrien Beauvisage, Head of Region South East Asia & Pacific. Today, Bühler solutions produce food for more than two billion people each day. “Sustainability is key for us: to feed the planet, we need to become more efficient at producing food, using less energy and reducing waste. With our digital innovations, Bühler is at the forefront of this revolution. Digitalization will help us reach our goals and engineer customer success,” Adrien Beauvisage adds.

สัมมนาการสร้างมาตรฐานอาหารไทย ‘รสไทยแท้’

ชลบุรี, มิถุนายน 2561

 

นางนิตยา พิระภัทรุ่งสุริยา รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในงานสัมมนา “การสร้างมาตรฐานอาหารไทย ‘รสไทยแท้’ สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร และธุรกิจบริการ” ภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานรสไทยแท้อุตสาหกรรมอาหารไทยในตลาดโลก (Authentic of Thai Food for the World) ณ โรงแรมเดอะซายน์ พัทยา โดยมีเชฟ พ่อครัว แม่ครัวจากโรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคาร ผู้ประกอบการร้านอาหาร และโรงงานในภาคอุตสาหกรรมอาหารกว่า 400 คนเข้าร่วม ซึ่งสถาบันอาหารจัดขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) พร้อมมอบเกียรติบัตรให้กับผู้ประกอบการร้านอาหาร 33 ร้าน และโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุง/พร้อมรับประทาน 50 แห่งที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ โดยได้รับคำปรึกษาด้านวัตถุดิบ รสชาติอาหาร เทคนิคการปรุง สุขลักษณะที่ดีในการปรุง กระบวนการควบคุมคุณภาพ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพตามมาตรฐานรสไทยแท้ และตรวจวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยในอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้

 

สค.ชี้ทั่วโลกมั่นใจสินค้าไทยเพิ่มขึ้นหลังสหรัฐยกระดับเทียร์2

3 กรกฎาคม 2561, กรุงเทพฯ

 

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เผยสหรัฐยกระดับเทียร์2 ไทย สร้างแรงหนุนภาพลักษณ์สินค้าอาหารทะเลแปรรูป กระตุ้นตลาดส่งออกในตลาดโลกเพิ่มขึ้น นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้นำเข้าและผู้บริโภคทั่วโลกมีความมั่นใจสินค้าจากประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานจำนวนมาก หลังจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศในรายงานการค้ามนุษย์หรือทิบรีพอร์ต 2018 (Trafficking in Persons Report 2018 หรือ TIP Report 2018) ด้วยการจัดอันดับให้ไทยดีขึ้นจากเทียร์ 2 ที่เป็นประเทศที่ถูกจับตาเฝ้าระวังพิเศษ เป็นระดับเทียร์ 2 ปกติ ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของสินค้าดีขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มอาหารทะเล ทั้งอาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป ที่จะได้รับอานิสงส์มาก

 

โดยในปี 2560 ไทยส่งออกสินค้าดังกล่าวไปสหรัฐอเมริกา มูลค่า 997 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.45% และในช่วง 5 เดือนแรกปี 2561 มีมูลค่าส่งออกเป็น 343 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.99% และหลังจากไทยถูกปรับสถานการณ์ดูแลการค้ามนุษย์ที่ดีขึ้นมาอยู่ในระดับเทียร์2 จึงเชื่อมั่นว่าการส่งออกสินค้าเกี่ยวกับประมงจะปรับเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ไม่ใช่แค่เฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา ยังรวมถึงตลาดในแถบยุโรป และตลาดอื่นๆ ทั่วโลกอีกด้วย

 

นางจันทิรา กล่าวต่อว่า “ถือเป็นข่าวดีของประเทศไทยอย่างมากที่สหรัฐอเมริกา ปรับสถานะไทยขึ้นมาอยู่ที่ระดับเทียร์ 2 ซึ่งเป็นผลมาจากความมุ่งมั่นตั้งใจของรัฐบาลนำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยจัดให้ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นสากล พร้อมทั้งยังได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมเร่งแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง นอกจากนี้เหตุผลอีกประการคือ สหรัฐอเมริกา ต้องการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ให้กลับมาดีขึ้น ลดช่องว่างความสัมพันธ์ที่เป็นปัญหามาอย่างยาวนาน ซึ่งผลดังกล่าวจะส่งผลดีต่อประเทศไทยในภาพรวม ทั้งภาพลักษณ์ของประเทศ และระดับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา อันจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในสินค้าอาหารทะเลจากประเทศไทย และยังช่วยกระตุ้นความต้องการสินค้าของไทย เพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารทะเลไทยไปสหรัฐอเมริกาอีกทางหนึ่ง”

 

ที่ผ่านมาได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต.) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้ง 5 สำนักงาน ได้แก่ วอชิงตันดีซี นิวยอร์ก ลอสแอนเจลิส ชิคาโก และไมอามี เดินสายชี้แจงในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของรัฐบาลไทยต่อบริษัทผู้นำเข้ารายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเร่งเสริมสร้างการบูรณาการกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการชี้แจงประเด็นที่ถูกกล่าวหา และประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมของไทยให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง จนทำให้ผู้นำเข้าสหรัฐอเมริกา เกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของรัฐบาล ภาคเอกชนไทย และคุณภาพอาหารทะเลจากประเทศไทย

 

“นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ประชาสัมพันธ์แก่ผู้นำเข้าสินค้าอาหารทะเลของไทย ถึงกรณีที่สหรัฐอเมริกา ได้ปรับระดับให้ไทยดีขึ้นมาอยู่ในระดับเทียร์2 เนื่องจากจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และสร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้าไทยในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ยังสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือ ความตระหนัก และการให้ความสำคัญในการเร่งแก้ไขปัญหาระดับโลกของประเทศไทย เช่น ปัญหาการค้ามนุษย์นี้ นอกเหนือจากเรื่องการค้า และการรักษามาตรฐานสินค้าของไทยที่เป็นที่ยอมรับจากต่างชาติในขณะนี้อีกด้วย” นางจันทิรา กล่าว

 

 

Sidel Showcases Advanced Performance Systems at ProPak Asia 2018

Bangkok

“Exhibiting as part of the Sidel Group – along with Gebo Cermex – we presented the complete solutions and equipment for the beverage industry at ProPak Asia to help Asian producers react successfully to changing market demands.” Introduced by Guido Ceresole, Gebo Cermex, Vice President South East Asia & Pacific Region, Gebo Cermex (Thailand) Co., Ltd.

Mr. Ceresole continued that “As we are a solution provider in the beverage industry and non-beverage industry who suppliers a complete service ranging from equipment, engineering services, after sales service, and spare parts. With a head quarter for Asia Pacific region in Bangkok, the company has many Thai staffs who have a good understanding about the market, which is very important.”

The food and beverage production in the Asia Pacific region continues to record strong growth and will fortify the region’s leading position globally. Urbanisation, income growth, and the sugar tax in combination with the increasing health-consciousness are changing consumer habits. These developments increase the demand for dairy products, the focus on premium products, and support the performance of bottled water and juices due to consumer’s cautiousness about sugar and calorie intake. In this growing and changing market place, Asian manufacturers, co-packers and brand owners need to be able to react flexibly to new demands and opportunities.

“Drink Tech zone of ProPak Asia this year, we are showcasing some top labelling and packaging innovations, end-of-line solutions, collaborative robot solutions and the latest product handling technology. Precise application of high-quality labels is a critical component of an excellent brand experience, as this allows manufacturers to differentiate their products, while giving end consumers the information they need. At the same time, a growing variety of beverage types and bottle formats has made labelling increasingly challenging, making flexibility a valuable benefit to beverage producers.” Said Mr. Ceresole

Another important thing that is improving working conditions while maintaining high safety standards. Collaborative robots solution CoboAccess Pal™ is an industrial, advanced and modular cobotic palletizer, ideal when looking for a robust, easy to use and affordable palletizing solution for a low speed line. Embedding Gebo Cermex’s usual high safety and industrial standards, this ultra-compact fenceless cell is designed to perfectly match the needs of very demanding environments.

“Collaborative robotics advance production line efficiency and reliability by improving working conditions and highly productive robotic can work closely with operators. CoboAccess Pal™ can be easily adjusted to adapt the machine with different pallets, allowing users to flexibly use the machine with any size and any type of the package and pallets. Not only that, the machine will answer to human safety in the production line, as it stops immediately when something goes wrong. It can also close the gap by replacing operators while the cost of manpower is increasing, particularly in Southeast Asia. The technology used in cobotic palletizer is also considered a brand-new technology that will be a revolution for the future.” Said Mr. Ceresole

Another machine he showed is AQFlex®, a brand-new breakthrough intelligent and all-in-one product handling solution that delivers unique agility and the fastest contactless product conveying and accumulation. AQFlex® supplies smooth single-lane conveying with full automatic changeover capability. Designed to fully respect fragile and premium containers, it gives you greater freedom to design attractive packaging shapes. An ideal solution for high-output production of unusually shaped or thin-wall containers.

“Thanks to fast single-lane product handling from 1,000-100,000 containers/hour at 95.5% efficiency, AQFlex® delivers continuous performance, greater efficiency and controlled production quality for maximized profitability, whatever the speed in FIFO mode. The machine was launched in Europe by the end of last year, and now being launched in Thailand.” Said Mr. Ceresole

www.sidel.com

SWU ร่วมกับ UCC Network เปิดตัว CCI และ Innovation Hubs ในงาน SMEs Springboard: Success through Creative Economy

30 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2561, กรุงเทพฯ

 

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒร่วมกับ UCC Network จัดสัมมนา “SMEs Springboard: Success through Creative Economy” พร้อมเปิดตัว ‘วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์’ (College of Creative Industry – CCI) และโครงการ Innovation Hubs เพื่อตอกย้ำแนวทางการพัฒนาบุคลากรให้สามารถต่อยอดความคิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ระดับสากล โดยมีกลุ่มผู้ประกอบการ คณาจารย์ สื่อมวลชน และบุคคลทั่วไปให้ความสนใจเข้าร่วมงานกว่า 200 ท่าน ณ โรงแรม Bangkok Marriott Marquis Queen’s Park

 

วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีให้กับผู้ที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมนวัตกรรมสร้างสรรค์และผู้ที่สนใจทั้งภาครัฐและเอกชนได้เข้าใจภาพรวมของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) แนวทางการพัฒนาบุคลากร และการต่อยอดความคิดเพื่อสร้างธุรกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งแนะนำ ‘วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์’ (College of Creative Industry – CCI) ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดยมี นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานเปิดงาน และบรรยายในหัวข้อ “ส่งออกสินค้าสร้างสรรค์อย่างไรให้ได้ใจชาวโลก และนโยบายของรัฐในการส่งเสริมธุรกิจ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ บรรยายหัวข้อ “ปลูกหัวใจ SE (Social Enterprise) ขับเคลื่อน Creative Economy อย่างยั่งยืน” พร้อมทั้ง รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวรายงานความเป็นมาของวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และกิจกรรมสัมมนา SMEs Springboard: Success through Creative Economy ภายใต้โครงการ Innovation Hubs ดำเนินงานโดยวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (College of Creative Industry – CCI) ร่วมกับ UCC Network และเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน

 

ภายในงานได้รับเกียรติจากวิทยากรชั้นนำในกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มาร่วมแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์มากมาย ได้แก่ 1) คุณกิตติรัตน์ ปิติพานิช รักษาการผู้อานวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 2) คุณณัฐพล อร่ามเมือง จาก ZICO LAW (Thailand) Limited 3) คุณเปรมนภา โชติญาณพิทักษ์ โครงการ MIND Credit สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ 4) คุณธีรเมศร์ เลิศเศวตพงศ์ CEO Ragazze 5) คุณปฏิพัทธ์ ชัยภักดี CEO Dry Clean Only 6) ดร.ศิริกุล เลากัยกุล Brand Strategist & Sustainability Advisor 7) ดร.วรงค์ สุกโชติรัตน์ รองผู้จัดการกองทุน TED Fund 8) คุณอลิสา นภาทิวาอำนวย CEO Social Giver

 

เนื้อหาสัมมนาครอบคลุมตั้งแต่ภาพรวมของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) หลักเกณฑ์และสิทธิของงานความคิดสร้างสรรค์ การสนับสนุนด้านการเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาดและการสร้างแบรนด์ เกร็ดการค้าและส่งออก แง่มุมการทำกิจการเพื่อสังคม และนโยบายของรัฐในการส่งเสริมธุรกิจสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ไฮไลต์ในงานยังมีการจัดแสดงสินค้าจากผู้เข้าร่วมโครงการ ‘9 Creative Hubs’ ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือที่ต่อยอดงานวิจัยจากภาคการศึกษาในโครงการสู่การพัฒนาในท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม

New Sormac Ingredient Assembly Conveyors and Weighing Belts More Grip and Optimum Results

June 2018

Sormac has recently launched a new automated ingredient assembly conveyor as well as a new type of weighing belt. These innovative weighing solutions enable vegetable processors to optimize their operations and lift their product quality to a higher level. The key to the success of a good production line is having full control of the product ratio’s. The new RBA automated ingredient assembly conveyor has been designed to weigh and mix all kinds of leafy and cut vegetables. Its principle is quite simple: weighing hoppers dose weighed amounts of ingredients onto the central conveyor under the hoppers. The product is then loaded onto the loading belts from where vibrating decks fill the weighing belts.

The new weighing belts can be used for batch weighing and also for the continuous weighing of a wide range of products. Loose leafy products are unloaded onto the weighing belt manually or by means of a supply conveyor after which the weighing belt transports them further down the line.

Sormac has noted that there is great demand in the vegetable-processing industry for these weighing belts and ingredient assembly conveyors that can be integrated into all types of processing lines. “Weighing and monitoring products is becoming ever more important,” said
Sales Director Roy Lemmen. “This is also due to the fact that the software collects all the relevant data which can be shared with the customer‘s ERP system.”

This data enables customers to improve their processes leading to optimized production capacity and less waste. All this enables Sormac to help their customers to continuously improve their processes. ‘Let the numbers tell the truth’ is the guiding principle here. Knowing what is happening, more up-to-date information about business processes, and having that extra grip on operations; all this leads to a top product and an optimum result.